ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

กรุงกบิลพัสดุ์ นครพุทธบิดา


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 2 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 17 January 2006 - 11:48 PM


คัดลอกมา


กรุงกบิลพัสดุ์ นครพุทธบิดา

กรุงกบิลพัสดุ์ แม้ว่าจะไม่เป็นสังเวชนียสถาน แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์เป็นอย่างมาก

เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่เมื่อเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และเป็นเมืองพุทธบิดาและเจ้าศากยะทั้งหลาย มีเรื่องราวต่างๆ

เกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งพระธรรมเทศนาที่สำคัญหลายๆ กัณฑ์

พระสาวกที่มีชาติภูมิในเมืองนี้ก็เป็นหลักสำคัญในการสืบต่อพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน

ถึงแม้ว่า ตอนสุดท้ายจะถูกทำลายอย่างหนักจากผู้ที่มีเชื้อสายเดียวกัน แต่ถือเรื่องชาติวรรณะเป็นใหญ่ จึงเห็นชีวิตคนเป็นผักปลา

แต่ในที่สุดก็ไม่พ้นกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว


กบิลพัสดุ์ในสมัยพุทธกาล (กรุงกบิลพัสดุ์ในประเทศเนปาล)

เป็นเมืองเล็กๆ และเป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบันกากา(Bangaga) แม่น้ำสายนี้ในสมัยพุทธกาลมีชื่อว่าอย่างไร ไม่ปรากฏ

กรุงกบิลพัสดุ์อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นโกศล กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า เจ้าศากยะ มีการปกครองระบอบสามัคคีธรรม (รัฐสภา)

มีการเลือกตั้งผู้มาตำรงตำแหน่งหัวหน้า และผลัดเปลี่ยนกันปกครองตามวาระ อาชีพของชาวเมืองคือ การทำนาเป็นหลัก

สังเกตได้จากชื่อลูกกษัตริย์จะตั้งลงท้ายด้วยคำว่า ข้าว (โอทนะ) และมีการแย่งน้ำทำนาจนพระพุทธองค์ทรงเสด็จไปห้าม

และในปลายพระชนม์ชีพของพระพุทธองค์กรุงกบิลพัสดุ์ถูกทำลายอย่างมาก ผู้คนจำนวนมากถูกฆ่าตาย

เพราะมีสาเหตุมาจากการดูถูกเหยียดหยามชิงชังซึ่งกันและกัน


หลวงจีนเฮี่ยนจาง นมัสการกรุงกบิลพัสดุ์

เมื่อหลวงจีนเฮี่ยนจางเดินทางจากกรุงสาวัตถีไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ สิ้นระยะทางประมาณ ๘๐๐ ลี้ อาณาเขตโดยรอบประมาณ ๔๐๐๐ ลี้

เขตนครหลวง วัดโดยรอบ ๑๐๐๐ ลี้ แต่ในตัวเมืองมีแต่ซากปรักหัดพัง กำแพงเมืองยาวโดยรอบ ๑๕ ลี้

แต่เหลือเพียงฐานเท่านั้นก่อด้วยอิฐแข็งแรงมาก


กรุงกบิลพัสดุ์ในปัจจุบัน

ปัจจุบันเหลือเพียงซากที่เป็นเนินดินสูงประมาณ ๒ เมตร มีเนื้อที่กว้างขวางพอสมควร (ประมาณ ยาว ๑.๕ กม. กว้าง ๑ กม. คำนวณจากการเดินไปสำรวจ ผู้เรียบเรียง)

ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ติเลาโกฏ(Tiluarakot) อยู่ห่างจากอำเภอ เตาลิฮาวา (Tualihawa) ประมาณ ๒ กิโลเมตร

และห่างจากสวนลุมพินีประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ภายในเขตโบราณสถานมีการขุดสำรวจเล็กน้อย

และมีต้นไม้ใหญ่และหญ้าแผกขึ้นปกคลุมจนเต็ม เห็นแล้วค่อนข้างเศร้าใจในความไม่แน่นอนของสรรพสิ่งในโลก

ซากปรักหักพังที่ยังคงปรากฏให้เห็นมีเพียง ซุ้มประตูทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตกที่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า

เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช และมีซากวิหารขนาดเล็กหนึ่งหลัง และสระน้ำขนาดย่อมๆ

อาจจะเป็นสระน้าที่เจ้าชายสิทธัตถะเคยสรงสนานในสมัยพุทธกาลก็ได้

ในบริเวณใกล้เคียงมีพิพิธภัณฑ์เล็กที่รวบรวมสิ่งของที่ขุดได้จากซากเมืองโบราณ แต่ไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่เท่าไรหนัก

แต่ที่ค่อนข้างดีใจคือมีวัดพุทธของชาวญี่ปุ่นตั้งอยู่ใกล้ๆ ห่างจากซากเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เรียกว่า

นิคลิฮาวา(Niglihawa) จะพบเสาหินพระเจ้าอโศก ๑ ต้น แต่มี ๒ ท่อน ท่อนยาวประมาณ ๔.๕๐ เมตร นอนอยู่กับพื้น

อีกท่อนหนึ่งยังผังอยู่ที่ดินและมีอักษรพรามมี สมัยพระเจ้าอโศกสลักอยู่ บอกว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากนกพุทธเจ้า

และพระเจ้าอโศกได้เสด็จมาสถานที่นี้หลังจากเสด็จครองราชสมบัติได้ ๒๐ ปีและปักเสาศิลาจารึกไว้ เห็นสถานที่แห่งนี้แล้วค้อนข้างเศร้าใจ

เพราะไม่ได้รับการเอาใจใส่จากรัฐบาลเนปาล ถนนที่ตรงไปยังสถานที่แห่งนี้ ก็แคบและลาดยางไม่เสร็จ ห่างจากซากเมืองไปทางทิศใต้

ประมาณ ๓ กิโลเมตรปรากฏซากวัดนิโครธาราม ซึ่งพระประยูรญาติสร้างถวายเมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์

หลังจากการตรัสรู้แล้ว แต่อยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมมีหญ้าขึ้นปกคลุม ปรากฏเพียงซากพระสถูปขนาดใหญ่ และสระน้ำเท่านั้น

ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า กุดาน(Kudan) ห่างจากวัดนิโครธรามไปตามถนนแคบๆ ที่ตัดผ่านทุ่งนาประมาณ ๓ กิโลเมตร

บริเวณหมู่บ้านโกติหวา(Gotihawa) จะมีเสาหินพระเจ้าอโศกปักอยู่แต่ถูกทุบทำลายหักครึ่ง บริเวณรอบๆ

เสาหินก็ไม่รับการเอาใจใส่เหมือนกับทุกๆ ที่ มีป้ายปักบอกว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ


กำเนิดคำว่า ศากยะกุมาร เมืองกบิลพัสดุ์ และแคว้นสักกะ

คำว่า ศากยะ เขียนตามแบบภาษาไทย เขียนตามแบบภาษาบาลี คือ สากยะ มีความหมาย ๒ ประการ คือ

ประการที่ ๑
ในอัมพัฏฐสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ สีลขันธวรรค พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงกำเนิดของคำว่า เจ้าศากยะดังต่อไปนี้

เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าอุกกากราชทรงพระประสงค์จะพระราชทานสมบัติให้แก่พระโอรสของพระมเหสีผู้ที่ทรงรักใคร่โปรดปราน

จึงทรงรับสั่งให้พระเชฏฐกุมาร คือพระอุกกามุขราชกุมาร พระกรกัณฑุราชกุมาร พระหัตถินีกราชกุมาร

และพระสีนิปุระราชกุมารออกจากพระราชอาณาเขต พระกุมารเหล่านั้น เสด็จออกจากพระราชอาณาเขตแล้ว จึงไปตั้งสำนักอาศัยอยู่

ณ ราวป่าไม้สากะใหญ่ริมฝั่งสระโปกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์ พระราชกุมารเหล่านั้น

ทรงสำเร็จการอยู่ร่วมกับพวกพระภคินีของพระองค์เอง เพราะกลัวพระชาติจะระคนปนกัน.

ต่อมาพระเจ้าอุกกากราชตรัสถามหมู่อำมาตย์ราชบริษัทว่า บัดนี้พวกกุมาร อยู่กัน ณ ที่ไหน?.

พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ มีราวป่าไม้สากะใหญ่อยู่ริมฝั่งสระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์ บัดนี้ พระราชกุมารทั้งหลายอยู่ ณ ที่นั้น

พระราชกุมารเหล่านั้นทรงสำเร็จการอยู่ร่วมกับพวกพระภคินีของพระองค์เอง เพราะกลัวพระชาติจะระคนปนกัน.

ทีนั้นพระเจ้าอุกกากราชทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านทั้งหลาย พวกกุมารสามารถหนอ พวกกุมารสามารถยอดเยี่ยมหนอ.

(อถโข ราชา อุกฺกาโก อุทานํ อุทาเนสิ สกฺยา วต โภ กุมารา ปรมสกฺยา วต โภ กุมาราติ ฯ)

ก็พวกที่ชื่อว่าศากยะปรากฏตั้งแต่กาลครั้งนั้นเป็นต้นมา และพระเจ้าอุกกากราชพระองค์นั้น เป็นบรรพบุรุษของพวกศากยะ

(ตทคฺเค โข ปน สกฺยา ปญญายนฺติ)

จากคำอุทานของพระเจ้าอุกกากราช ว่า “สกฺยา วต โภ กุมารา ปรมสกฺยา วต โภ กุมาราติ” นี้เอง

จึงกลายมาเป็นชื่อของกษัตริย์ที่ปกครองเมืองนั้นสืบมา และต่อมาก็เรียกว่า เจ้าศากยะ แปลว่า ผู้มีความสามารถ

คำว่า สักกะ มาจากคำว่า

มหาสากวนสณฺโฑ วนสณฺโฑ ตตฺถ วาสํ กปฺเปสุ แปลว่า

พระกุมารเหล่านั้นพากันอยู่ในป่าไม้สักกะใหญ่นั้น

คำว่า กบิสพัสดุ์ มาจาก
ชื่อของกบิลฤาษี เพราะพวกกุมารสร้างเมืองตรงที่พระฤาษีเคยอยู่ จึงตั้งขื่อเพื่อเป็นทีระลึกแก่พระฤาษี


ประการที่ ๒

ในโธตกมาณวกปัญหานิทเทส ว่าด้วยปัญหาของท่านโธตกะ แห่งจูฬนิเทส ขุททนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ข้อ ๒๐๓

ได้ให้ความหมายของคำว่า สักกะ ดังต่อไปนี้

พระผู้มีพระภาคทรงผนวชจากศากยสกุล แม้เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่าสักกะ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ แม้เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงชื่อว่าสักกะ.

พระองค์มีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา

ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล

ทรัพย์คือนิพพาน.

พระผู้มีพระภาคมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก นับว่ามีทรัพย์ ด้วยรัตนทรัพย์ทั้งหลายอย่างนี้ แม้เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่าสักกะ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเป็นผู้อาจ ผู้องอาจ อาจหาญ มีความสามารถ ผู้กล้า ผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า

ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่หวาดเสียว ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ละความกลัวความขลาดเสียแล้ว ปราศจาก ความเป็นผู้มีขนลุกขนพอง

แม้เพราะเหตุนี้ จึงชื่อว่า สักกะ.


#2 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 January 2006 - 02:41 PM

QUOTE
พระองค์มีทรัพย์เหล่านี้ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา


QUOTE
ทรัพย์คือสติปัฏฐาน ทรัพย์คือสัมมัปปธาน ทรัพย์คืออิทธิบาท ทรัพย์คืออินทรีย์ ทรัพย์คือพละ ทรัพย์คือโพชฌงค์ ทรัพย์คือมรรค ทรัพย์คือผล


พระองค์จึงชื่อว่าสักกะ เพราะมีโลกุตรทรัพย์มากนี่เอง สาธุกับบทความดีๆ อีกเช่นเคยครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#3 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 03:40 PM

สาธุ