ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

มารยาทในการรับอนุโมทนาบุญ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Pro

Pro
  • Members
  • 134 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 December 2005 - 01:31 PM

1.อยากทราบว่า โมทนา กับ อนุโมทนา ต่างกันอย่างไรครับ
2.ถ้าเราทำบุญแล้วมีคนมา อนุโมทนาบุญเรา เราควรตอบกลับไปว่าอะไรครับ

#2 crystal.mind

crystal.mind
  • Members
  • 280 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:BKK
  • Interests:Book Music

โพสต์เมื่อ 26 December 2005 - 02:47 PM

เหมือนกันค่ะ "แบบว่า ประหยัดเวลาน่ะ"

ไหว้สวยๆ + ยิ้ม ด้วยใจที่แช่มชื่นในบุญที่ตนได้กระทำ แล้วกล่าวว่า

"สาธุ ขอให้ได้บุญไปเท่าๆ กันเลยนะคะ/ครับ"

เพราะเวลามี ผู้มาอนุโมทนาบุญกับเรา แสดงว่าเราได้กระทำความดีบางอย่างใน บุญกิริยาวัตถุ10"

เมื่อเราทำบุญ เราก็ได้บุญ เน็ทๆ
ผู้มาอนุโมทนาบุญ ก็ได้บุญแบบ
"น้ำหยดทีละติ๋ง อีกหน่อยก็เต็มตุ่ม(บุญ) ค่า+++++

และมีผู้เห็น และอยากจะแสดงความชื่มชม ในสิ่งที่เรากระทำ

#3 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 26 December 2005 - 02:53 PM

โมทนาบุญ ย่อ มาจาก อนุโมทนาบุญ นะครับ พูดกันในกลุ่มคนที่สนิทคุ้นเคยกันแล้ว

เช่น วันดีเห็นสมศรีทำบุญตักบาตร ก็เดินเข้าไป แล้วพูดว่า "โมทนาบุญด้วยนะ" ซึ่งแสดงว่า วันดีกับสมศรีมีความสนิทกันพอสมควร แต่ที่จริงแล้ว ก็ไม่ควรจะพูดว่า โมทนาบุญเท่าไร มันดูเหมือนไม่ค่อยเต็มใจ ในเมื่ออยากยินดีและอยากมีส่วนร่วมในบุญกับเค้าแล้วก็น่าจะพูดเต็ม

#4 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 26 December 2005 - 03:13 PM

ต่อจากข้างบน นะครับ
น่าจะพูดเต็มว่า ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ/คะ ส่วนผู้ที่เป็นฝ่ายตอบรับการอนุโมทนาบุญ ก็ควรตอบกลับไปด้วยใจที่ปิติเบิกบานด้วยความที่อยากให้เขามีส่วนร่วมในบุญกับเราจริงๆ ไม่ใช่เพราะเป็นการทำแบบเสียมิได้ ว่า สาธุครับ/คะ
หรือถ้าต่างฝ่ายต่างทำบุญมาด้วยกัน เมื่อเสร็จงานบุญนั้นแล้วก็อาจจะพูดว่า อนุโมทนาบุญร่วมกันนะครับ/คะ

ที่สำคัญการอนุโมทนาบุญนั้นเป็นบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาเอาไว้ คือทำแล้วได้บุญ อานิสงค์ก็คือ เราจะมีเพื่อนที่เป็นคนดีเป็นกัลยาณมิตรไปทุกชาติ นั้นคือการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งเป็นการดี เพราะเป็นการฝึกให้ใจของเราไม่มีปกติขี้อิจฉา แต่มีปกติมุทิตา ซึ่งแปลว่า การพลอยยินดีในความดี หรือการประสบความสำเร็จของคนอื่นๆ เพราะคนที่ขี้อิจฉานั้นมักจะเป็นทุกข์และเดือดร้อนด้วยประการทั้งปวง นอกจากนี้การที่เราแสดงความยินดีกับคนอื่น ที่ไม่ใช่คนวัดในการที่เขาไปทำบุญหรือไปทำความดีอะไรมา ก็ถือเป็นการอนุโมทนาบุญด้วยเช่นกัน อาจจะกล่าวเป็นคำในลักษณะอื่นๆ ที่ทำให้คนฟังมีความปลื้มใจ ชื่นใจ เบิกบานใจ สาระสำคัญอยู่ทีความจริงใจเป็นหลัก เมื่อทำบ่อยๆ เข้า คนที่จะมาคิดอิจฉาริษยาเราก็ไม่มีเพราะเราได้สั่งสมบุญ ที่เรียกเป็นทางการ ว่าปัตตานุโมทนามัย คือ บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ ซึ่งถูกสรุปลงในหมวดการทำบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ คือ เรื่องของ ทาน นั่นคือเป็นการฆ่าความอิจฉาริษยา ความตระหนี่ออกจากใจ เพราะถ้าเรามีจิตยินดีในบุญหรือความดีของคนอื่นแล้ว ความโลภ ความตระหนึ่ ความอิจฉาริษยาใครมันก็จะลดลงไปเรื่อยๆ

พวกเรามีบุญมาก ที่เข้าวัดพระธรรมกาย หมายถึง เข้าวัดทุกวัดก็มีบุญมาก ส่วนนี้ในทัศนะของผมนะ เพราะว่า หลวงพ่อและหมู่คณะอบรม ทำเป็นต้นแบบ และเชิญชวน พวกเราให้เรียนรู้การอนุโมทนาบุญ ร่วมทั้งยังฟื้นฟูแบบแผนดั้งเดิมของการอนุโมทนาบุญให้กลับมาเหมือนในกาลก่อนของบรรบุรุษไทย จนพวกเราทำกันคุ้นเคย สร้างทั้งความประหลาดใจและประทับใจ และแปลกใจ จนทำให้เกิดการสนทนาธรรมเกิดขึ้น ว่าทำไมต้องทำแบบนี้ แล้วก็เกิดปัญญาบารมี แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ทำให้เกิดความปลื้มใจนั่นเอง

พวกเราทำกันจนชินตา และชินมือ แต่อย่าลืมทำให้ชินใจด้วยนะครับ คือ การที่เราจะยกมือของเราไปอนุโมทนาใครได้นั้น แสดงว่าเราก็กำลังฝึกลดทิฐิในใจของเราด้วย ดังนั้น ไหนๆ จะยกมือแล้วก็ยกใจให้สูงขึ้นด้วย การทำใจใสๆ ในเวลาก่อน, ระหว่าง หลัง การอนุโมทนาบุญ ก็จะได้บุญครบทั้ง 3 วาระ ครับ ถึงแม้การอนุโมทนาบุญจะมีอานิสงค์ไม่เหมือนการทำบุญด้วยตัวเองแต่เราก็ได้ทรัพย์ที่ดีในการเกื้อหนุนการสร้างบารมีอที่สำคัญอย่างหนึ่งนั่นคือ บริวารสมบัติ หรือ การมีเพื่อนที่ดีไปทุกชาตินั่นเองครับ

ถ้าสงสัยอะไรเพิ่มเติมก็สามารถ เมลล์ มาได้ที่ [email protected] ครับ อนุโมทนาบุญครับ (บุญจาการสนทนาธรรม)

#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 26 December 2005 - 04:16 PM

เหมือนกับ "หวัดดี" กับ "สวัสดี" นั่นแหละครับ

"มหาวิทยาลัย" กลายเป็น "มหาลัย" นั่นแหละครับ จริงๆ "มหาลัย" นี่ยังพอฟังไหว แต่บางที เพี้ยนไป เป็น "หมาลัย" เลยนี่ ทำใจยากเหมือนกัน

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#6 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 December 2005 - 05:34 PM

คำถามดีจังครับ....ปกติผมก็ไม่เคยคิดเหมือนกันว่าโมทนา กับอนุโมทนามันต่างกันยังงัย
ถือเป็นคำถามที่ดีมากครับ
ถ้าถอดความหมายของภาษาไทย อนุโมทนามาจากคำ 2 คำครับ คือคำว่า อนุ + โมทนา
แปลตรงตัวตามพจนานุกรม
อนุ แปลว่า เล็กๆ เช่น อนุชา(น้อง),อนุชาต(เกิดมาไม่ดีกว่าหรือเลวกว่าพ่อแม่)
โมทนา แปลว่า บันเทิง,ยินดี,พลอยยินดี
รวมความหมาย อนุโมทนา จึงหมายถึง การเริ่มยินดี,การยินดีเล็กๆ
เมื่อยินดีหนักเข้าพ้นความเล็กๆๆ อนุจึงหายไปครับ กลายเป็น โมทนา คือ ยินดีจังเลย,ยินดีมากกว่าตอนแรก
แถมเพิ่มครับ ถ้ายินดีสุดๆๆ น่าใช้คำว่า มหาโมทนา อภิมหาโมทนาบุญครับทุกๆๆ ท่านสาธุ

หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#7 ปาลินารี

ปาลินารี
  • Members
  • 258 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 December 2005 - 06:35 PM

เพิ่มเติมค่ะ

อนุ แปลว่า น้อย / ภายหลัง / ตาม

โมทนา แปลว่า ยินดี

อนุโมทนา แปลว่า ตามยินดี

อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่เข้ามาให้ความรู้นะคะ

สาธุ แปลว่า ดีล่ะ

#8 Pro

Pro
  • Members
  • 134 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 December 2005 - 06:52 PM

ครับ ขอบคุณทุกท่านนะครับ อภิมหาโมทนาบุญครับ
ยิ้มแล้วรวย อ่านกระทู้อยู่ก็ยิ้มได้ครับ

#9 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 28 December 2005 - 01:34 PM

ตอบว่า"สาาาาาาาธุ"

ถ้าเป็นคนมักคุ้นก็"ให้หมดเลย"เขามักจะยิ้มให้เรา

บุญเป็นธาตุบริสุทธิ์ที่ทับทวีได้ ไม่หมดหรอก สำคัญคือ"อย่าลืมทำใจให้ตั้งจรดศูนย์"ไว้นะ

#10 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 28 December 2005 - 01:57 PM

ขอบคุณสำหรับคำอธิบายของคุณปาลินารีด้วย ที่แปลความหมายคำว่า อนุโมทนาบุญ ว่า การตามยินดี(ในบุญที่คุณได้ทำไปแล้วนั้น แม้จะเล็กน้อยเพียงใด ก็เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีนั้นด้วย) รู้สึกว่าความหมายยกใจดีครับ เพราะถ้าแปลว่า การยินดีเล็กๆ รู้สึกว่าใจเราเองก็ไม่ค่อยสูงขึ้น และผู้ฟังก็คงใจเหี่ยวไปนิดนึงเหมือนกัน (ถ้ารู้ว่าเราคิดอย่างนั้น)

#11 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 05 February 2007 - 05:11 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ