ไปที่เนื้อหา


- - - - -

น้ำปานะ??? คือ อะไรบ้างค่ะ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 13 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 *ภมรมาศ*

*ภมรมาศ*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 30 March 2005 - 06:31 PM

ขอเรียนถาม ท่าน ผู้รู้ ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ

1. น้ำปานะ หมายถึงน้ำทุกอย่าง เช่น น้ำนม น้ำหวาน น้ำอัดลม ฯลฯ ใช่ไม๊ค่ะ

2. ไอติม ต่างๆ ทานได้ ถือเป็นน้ำปานะ ใช่ไม๊ค่ะ

3. ผลไม้ที่ไม่ใหญ่เกิด กำมือ ทานได้หมด ใช่ไม๊ค่ะ

4. มะขาม ถือเป็นผลไม้ ที่ทานได้เพราะถือเป็น ยา ด้วยใช่ไม๊ค่ะ

ขอรบกวน ด้วยนะค่ะ จะรอ ฟังคำตอบค่ะ

#2 *Guest*

*Guest*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 30 March 2005 - 08:17 PM

ปานะ เครื่องดื่ม,น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้๘ ชนิด คือ
๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
๒. ชมฺพุหานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น
๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)

วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุด เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้าเติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร)แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี

ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ(ข้อนี้พระมิตสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรฐาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำจึงควรฉันในเวลาวิกาล (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้
มาใช้ (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)

#3 *z*

*z*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 31 March 2005 - 06:40 AM

ถ. อัฏฐปานะ คืออะไร ? ทำอย่างไร ควรฉันและไม่ควรฉัน
น้ำแอปเปิ้ล น้ำสับปะรด ภิกษุฉันในวิกาลควรหรือไม่ ?
ต. น้ำมะม่วง ๑ น้ำชมพู่หรือหว้า ๑ น้ำกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำ
กล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำมะซาง ๑ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น ๑ น้ำเง่าอุบล ๑
น้ำลิ้นจี่ ๑ น้ำปานะนี้ให้ใช้ของสด ห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ เป็นของที่อนุปสัม-
บันทำจึงควรฉันในเวลาวิกาล เป็นของอันภิกษุทำไม่ควรฉัน เพราะรับ
ประเคนทั้งผล ของที่ใช้ประกอบเป็นต้นว่าน้ำตาล ท่านห้ามไม่ให้ใช้ของ
ที่รับประเคนค้างคืนไว้. น้ำปานะนี้เป็นยามกาลิก ล่วงกำหนด ๑ คืน
ฉันเป็นอาบัติทุกกฏ. น้ำแอปเปิ้ล ถ้าทำถูกต้องตามวิธีดังกล่าวแล้ว
ฉันก็ควรแท้, ส่วนน้ำสับปะรดเป็นชนิดมหาผล จึงไม่ควรฉัน.
๒๕๑๘


ถ. น้ำมะพร้าวอ่อนก็ดี น้ำมะขามก็ดี ต่างไม่มีชื่อระบุไว้ใน
พระบาลี ภิกษุจะฉันเป็นปานะในเวลาวิกาลควรหรือไม่ เหตุไรจึงแถลง
เช่นนั้น ?
ต. น้ำมะพร้าวอ่อน ไม่ควร เพราะมะพร้าวเป็นชนิดมหาผล
ท่านห้าม ส่วนน้ำมะขาม ถ้าทำถูกต้องด้วยวิธีแล้วฉันควรแท้ ที่แถลง
เช่นนั้น อนุโลมตามมหาปเทส ๔.
๒๖/๑๑/๒๔๖๓


ถ. ยามกาลิกเก็บไว้ล่วงเวลา ย่อมกลายเป็นเมรัยมิใช่หรือ ภิกษุ
ดื่มยามกาลิกเช่นนั้น จะมีโทษอย่างไร ?
ต. ภิกษุดื่มยามกาลิกล่วงกาล ถ้าไม่ถึงกับกลายเป็นเมรัย ต้อง
อาบัติทุกกฏ ถ้าดื่มยามกาลิกกลายเป็นเมรัยแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ราชกวี


ถ. น้ำตาลและน้ำอ้อย จัดเป็นกาลิกอะไร เพราะเหตุอะไร ?
ต. น้ำตาลสดและน้ำอ้อยสด จัดเป็นยามกาลิก เพราะล่วงกาล
แล้วย่อมกลายเป็นเมรัย น้ำตาลและน้ำอ้อยที่เคี่ยวไฟงวดแล้ว เป็น
สัตตหกาลิก เพราะเก็บไว้ได้นาน.
ราชกวี

#4 *z*

*z*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 31 March 2005 - 06:43 AM

ถ. ของเช่นไร ที่ท่านจัดเป็นยาวชีวิก ? ในบาลีท่านจำแนก
ประเภทไว้เท่าใด คืออะไร ?
ต. ของที่ใช้ประกอบเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ อย่าง คือ
ยาวกาลิก ๑ ยามกาลิก ๑ สัตตหกาลิก ๑ จัดเป็นยาวชีวิก. ในบาลี
ท่านจำแนกประเภทไว้ ๖ อย่าง คือ รากไม้ เรียกว่า มูลเภสัช ๑ น้ำ
ฝาด เรียกว่า กาสาวเภสัช ๑ ใบไม้ เรียกว่า ปัณณเภสัช ๑ ผลไม้
เรียกว่า ผลเภสัช ๑ ยางไม้ เรียกว่า ชตุเภสัช ๑ เกลือ เรียกว่า
โสณเภสัช ๑.

#5 *z*

*z*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 31 March 2005 - 06:51 AM

จักพรรณนาในข้อที่ ๔ ชื่อกาลิกบัพพะ ว่าด้วยกาลิกของ
ประกอบด้วยกาล กาลิกมี ๔ คือ ยาวกาลิก ยามกาลิก สัตตาหกาลิก
ยาวชีวิก ลำดับดังนี้ตามบุพพสิกขา แต่จะกล่าวยาวชีวิกก่อน เพื่อจัก
ให้วินิจฉัยง่าย เพราะจักกล่าวให้พิสดารกว่าบุพพสิกขาสักหน่อยหนึ่ง
ยาเกิดแต่ต้นไม้ต้นหญ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้เป็น
เค้าเดิม ๕ คือ ราก น้ำฝาด ใน ผล ยาง เป็น ๖ ทั้งเกลือด้วย ชื่อว่า
ยาวชีวิก
รากไม้เป็นยาที่ทรงอนุญาตนั้น หลิทฺทํ ขมิ้น สิงฺคเวรํ ขิง วจํ
ว่านน้ำ วจตฺถํ ว่านเปราะ อติวิสํ อุตพิด กฏฺกโรหิณี ข่า อุสีรํ แฝก
ภทฺทมุตฺตกํ แห้วหมู เป็น ๘ สิ่ง ใช่แต่หัวรากเถาแห่งของ ๘ สิ่ง
นั้นอย่างเดียวหาไม่ แม้ต้น และเปลือก และดอก และผลแห่งของ
๘ สิ่งนั้น ก็เป็นยาวชีวิกด้วย
น้ำฝากเป็นยาที่ทรงอนุญาตนั้น คือ นิมฺพกสาโว น้ำฝาดสะเดา
กุฏชกสาโว น้ำฝาดมูกมัน ปโตลกสาโว น้ำฝากกระดอมก็ว่า ขี้กาก็ว่า
ปคฺควกสาโว น้ำฝาดบอระเพ็ดก็ว่า ขี้เหล็กก็ว่า นคฺคมาลกสาโว
น้ำฝาดกระถินพิมาน เป็น ๕ สิ่ง
ใบไม้เป็นยาที่ทรงอนุญาตนั้น คือ นิมฺพปณฺณํ ใบสะเดา กุฏช-
ปณฺณํ ใบมูกมัน ปโตลปณฺณํ ใบกระดอมก็ว่า ขี้กาก็ว่า ตุลสิปณฺณํ
ใบกะเพราก็ว่า แมงลักก็ว่า กปฺปาสิกปณฺณํ ในฝ้าย เป็น ๕ สิ่ง ใช่
แต่ใบแห่งของ ๕ สิ่งนี้อย่างเดียวก็หาไม่ แม้ดอกและผลเป็นต้น
แห่งของ ๕ สิ่งนี้ ก็เป็นยาวชีวิตด้วย
ผลไม้ที่เป็นยาทรงอนุญาต คือ วิลํคํ ลูกพิลังกาสา ปิปฺผลิ ดีปลี
มริจํ พริก หรีตกี สมอไทย วิเภตกํ สมอพิเภก อามลกํ มะขามป้อม
โกฐผลํ ผลแห่งโกฐ เป็น ๗ สิ่ง
ยางไม้เป็นยาที่ทรงอนุญาตนั้น คือ หิงฺคุ ยางไม้ที่ไหลออกจาก
ต้นหิงคุ หิงฺคุชตุ ยางไม้ที่เขาเอาก้านและใบแห่งต้นหิงคุมาเคี่ยวออก
หิงฺคุสิปาฏิกา ยางที่เขาเอาใบหิงคุมาเคี่ยวออกก็ว่า และยางที่เขาเอา
ใบหิงคุเยวออกแล้วเจือด้วยของอื่นก็ว่า ตกฺกํ ยางอันไหลออกแต่
ยอดไม้ ตกฺกปตฺติ ยางอันไหลออกแต่ใบไม้ ตกฺกปณฺณิ ยางไม้เขาคั่ว
ใบไม้ไหลออกก็ว่า ยางไม้อันไหลออกจากก้านก็ว่า สชฺชุลสํ กำยาน
เป็น ๗ สิ่ง
เกลือที่ทรงอนุญาตนั้น คือ สามุทฺทิกํ เกลือเกิดด้วยน้ำเค็ม
ริมทะเล กาฬโลณํ เกลือดำ สินฺธวํ เกลือสินเธาว์ ท่านว่าเกลือเกิด
ริมภูเขา สีขาว อุพฺภิทํ เกลือทำด้วยดินฝุ่น ที่เค็มแตกขึ้นจากแผ่นดิน
วิลํ เกลือวิเศษ ท่านว่าเกลือหุงด้วยสัมภาระทั้งปวง สีแดง
ก็แลยา ๖ สิ่ง มีรากไม้เป็นต้น พระองค์ทรงอนุญาตชี้ชื่อดังนี้
แล้ว ต่อไปพระองค์ปรารถนาจะแสดงลักษณะแห่งรากไม้เป็นต้น
อันอื่น ซึ่งไม่มาในบาลีที่เป็นยาได้ จึ่งกล่าวบาลีว่า ยานิ วา ปนญฺ-
ญานิปิ อตฺถิ มูลานิ กสาวานิ ปณฺณานิ ผลานิ ชตูนิ โลณานิ
เภสชฺชานิ เนว ขาทนีเย ขาทนียตฺถํ ผรนฺติ น โภชนีเย โภชนียตฺถํ
ผรนฺติ. ความว่า หรือ รากไม้ น้ำฝาด ใบไม้ ผลไม้ ยางไม้ เกลือ
อันใด สิ่งอื่นซึ่งไม่ได้ออกชื่อในบาลี ย่อมไม่แผ่ไปเพื่อเป็นของเคี้ยว
ในของเคี้ยว ย่อมไม่แผ่ไปเพื่อของกิน ในของกิน เป็นยาได้ มีอยู่
คือว่า รากไม้เป็นต้นอันอื่น ที่ไม่สำเร็จอาหารกิจกินเป็นอาหาร
โดยปกติของมนุษย์ในชนบทใดได้ รากไม้เป็นต้นนั้น ชื่อว่าเป็น
เภสัชในชนบทนั้น หัว ราก เง่า หน่อ ลำต้น เปลือก ดอก ผล เมล็ด
แป้ง ยาง แห่งต้นไม้เถาวัลย์ ต้นหญ้า สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี และเกลือ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี ซึ่งไม่มาในบาลี และไม่สำเร็จอาหารกิจของมนุษย์
ในประเทศนั้น ๆ ชื่อว่าเป็นเภสัชในประเทศนั้น ๆ ดังหัวกระดาษแดง
หัวกระดาษขาว รากตาล รากมะพร้าว ใบพลู ใบบัว ดอกบุนนาค
ดอกจำปา ลูกจันทน์ ลูกกระวาน เป็นต้น เป็นเภสัชในสยามประเทศนี้
รากไม้เป็นต้นดังกล่าวมานี้ ชื่อว่ายาวชีวิก รับประเคนแล้วเมื่อเจ็บไข้
ไม่สบาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ฉันได้ตราบเท่าสิ้นชีพในกาลทั้งปวง ถ้า
ทำสันนิธิไว้ หรือฉันในเวลาวิกาล เพื่อเป็นอาหาร ไม่ฉันเพื่อเป็นยา
ต้องทุกกฏ เพราะบาลีพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ในเบื้องปลายทุก ๆ เภสัช
ว่า ตานิ ปฏิคฺคเหตฺวา ยาวชีวํ ปริหริตุ สติ ปจฺจเย ปริภุญฺชิตุ อสติ
ปจฺจเย ปริภุญฺชนฺตสฺส อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เราตถาคต
อนุญาตให้รับรากไม้ น้ำฝาก ใบไม้ ผลไม้ ยางไม้ เกลือ และสิ่ง ๆ
ทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว บริหารรักษาไว้กว่าจะสิ้นชีพ เมื่อมีปัจจัย
คือเหตุ ให้บริโภคฉันเถิด เมื่อไม่มีปัจจัยคือเหตุ ฉันต้องทุกกฏ
ดังนี้แล.
ยาวชีวิกํ จบ

#6 *z*

*z*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 31 March 2005 - 06:51 AM

จักแสดงในยาวกาลิก ของฉันที่มีอายุเพียงกาล คือเช้าชั่วเที่ยง
เมื่อกล่าวยาวกาลิกแล้ว ยาวชีวิกก็จักรู้ด้วยอีก ขาทนียํ ของเคี้ยว
โภชนียํ ของกิน ชื่อว่ายาวกาลิก โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส
ข้าวสตู ปลา เนื้อ ชื่อว่าโภชนียะของกิน ยกโภชนะ ๕ ยามกาลิก
สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกเสีย อามิสนอกนั้น ชื่อว่า ขาทนียะของเคี้ยวสิ้น
ในของเคี้ยวที่ทำด้วยบุพพัณชาติคือข้าว และด้วยอปรัณชาติคือถั่วงา
ขึ้นเป็นขนมต้นเป็นต้น เหล่านี้ไม่ต้องกล่าว แม้ศีรษะ และเง่า และ
ราก หน่อ ลำต้น เปลือก ใบ ดอก ผล เมล็ด แป้ง ยาง แห่งต้นไม้
และกอไม้ เถาวัลย์ ต้นหญ้าอันใดซึ่งมีคติแห่งอามิส แม้ของเหล่านี้
ก็สงเคราะห์ว่าเป็นขาทนียะด้วยแท้
จักแสดงในของเคี้ยว คือศีรษะก่อน ศีรษะมันอ้อน มันอ้อ มัน
กระชาก มันแดง มันพร้าว เผือก ผักกาด เป็นต้น และมันมีใบควร
ต้นแกงได้ ชื่อว่าเป็นคติแห่งอามิส รากฝอยในศีรษะเผือกที่เขาตัดทิ้ง
เสีย เป็นยาวชีวิก แม้รากฝอยเช่นนี้อันอื่น ก็ให้พึงรู้โดยนัยนั้นเถิด
แต่รากฝอยแห่งผักกาด ท่านว่าเป็นคติแห่งอามิส ศีรษะขมิ้นเป็นต้น
ซึ่งเป็นยาวชีวิก ดังกล่าวก่อนนั้น จะนับว่ารากเล็ก รากใหญ่ไป ก็ไม่มี
ที่สุด ที่ไม่สำเร็จกิจเป็นของเคี้ยวของกินได้นั้นแล เป็นลักษณะแห่ง
ยาวชีวิก เพราะเหตุนั้น ศีรษะรากอันใด สำเร็จเป็นของเคี้ยวของ
กินแห่งมนุษย์ โดยเป็นอาหารปกติ ไม่ต้องประกอบด้วยยาวกาลิกอื่น
ในชนบทนั้น ๆ ศีรษะ รากนั้น ชื่อว่าเป็นยาวกาลิก ในชนบทนั้น ๆ
รากหัวนอกนั้นพึงรู้ว่าเป็นยาวชีวิกเถิด ด้วยว่าแม้ถึงกล่าวไปมาก ก็
ต้องตั้งอยู่ในลักษณะอันนี้เอง ครั้นยกชื่อขึ้นกล่าว เมื่อไม่รู้จักชื่อก็หลง
เพราะเหตุนั้น จะไม่เอื้อเฟื้อในชื่อ จะแสดงแต่ลักษณะอย่างเดียว
ในศีรษะมันฉันใด แม้ในเง่าไม้เป็นต้น ก็พึงรู้วินิจฉัยตามลักษณะ
นี้เหมือนกัน เง่ามี ๒ คือยาว และกลม เง่ายาว และสั้น คือเง่าบัว
หลวง และทองกวาว เป็นต้น เง่ากลม คือเง่าอุบล และแห้ว เป็นต้น
หัวเก่า แลเปลือก และรากฝอย แห่งเง่าเหล่านั้น เป็นยาวชีวิต แต่เง่า
อ่อนจะพึงเคี้ยวกินได้ดังเง่าขานาง ทองกวาว มะกอก และเง่ากลอย
เป็นต้น เง่าอันใดที่สำเร็จอาหารกิจปกติได้ เป็นยาวกาลิก ถ้ากลอยที่
เขายังไม่ได้เอารสร้ายออกเสีย เป็นยาวชีวิก สงเคราะห์ในมูลเภสัช
จะว่าในรากเล็ก รากบัวหลวง รากบัวขาว เหมือนกัน รากตะไคร้น้ำ
ก็ดี รากอื่นที่สำเร็จอาหารกิจได้ ก็ดี เป็นยาวกาลิก รากขมิ้น ขิง
บอระเพ็ด เพชรสังฆาต รากหมาก เป็นต้น เป็นยาวชีวิก สงเคราะห์
ในมูลเภสัช จะว่าในหน่อและยอด หน่อตาลเต่าร้าง จาก เป็นต้น
หน่ออ้อย หน่อผักกาด หน่อแห่งข้าวเปลือก ๗ และหน่อยอดแห่งต้น
ไม้และเถาวัลย์เป็นต้น สิ่งใดที่สำเร็จอาหารกิจได้ เป็นยาวกาลิก โคน
หน่อเก่าแห่งหน่อขมิ้นขิง กระเทียมก็ดี แห่งตาลเต่าร้างหมาก มะพร้าว
ก็ดี เป็นโคนหน่อเก่าเขาตัดทิ้งเสีย เป็นยาวชีวิต จะว่าในลำต้น ลำต้น
ขานางที่หยั่งลงไปในดิน ต้นอ้อย ต้นแห่งอุบลเขียวแดง กุมุท จงกลนี
และลำต้นอันใดที่สำเร็จอาหารกิจได้ เป็นยาวกาลิก ก้านใบแห่งอุบล
ชาติ และก้านใบแห่งปทุมชาติทั้งปวงก็ดี และลำต้นทั้งปวงอันเศษ
นอกนั้น ที่ไม่สำเร็จอาหารกิจได้ เป็นยาวชีวิก จะว่าในเปลือก ๆ
อ้อยสิ่งเดียวที่มีรสติดอยู่ เป็นยาวกาลิก เปลือกไม้นอกนั้นทั้งปวง
เป็นยาวชีวิก สงเคราะห์ในกสาวะ คือน้ำฝาด จะว่าในใบ ๆ มันอ้อน
เป็นต้น และใบผักกาด และใบมะรุม ใบถั่วเขียว ใบถั่วขาว ใบยอป่า
ใบตำลึง และใบอันใดที่สำเร็จอาหารกินได้ เป็นยาวกาลิก ชาวลังกา
ว่า ใบพรมมิ เป็นยาวชีวิก ใบมะม่วงอ่อน เป็นยาวกาลิก ใบโศกอ่อน
เป็นยาวชีวิก จะว่าในดอก ๆ มันอ้อนเป็นต้น และดอกผักกาด ดอก
ยอป่า ยอบ้าน ดอกอ่อนแห่งมะพร้าวและตาลและเกด ดอกอุบล ดอก
บัว และดอกไม้ใดที่สำเร็จอาหารกิจได้ เป็นยาวกาลิก ดอกโศก ดอก
พิกุล บุนนาค จำปา เป็นต้น เป็นยาวชีวิก สงเคราะห์ในกสาวะเภสัช
จะว่าในผล ๆ ขนุน สาเก ตาล มะพร้าว มะม่วง ชมพู่ เป็นต้น และ
ผลอื่นที่สำเร็จอาหารกิจได้ เป็นยาวกาลิก ผลแห่งลูกจันทน์ และลูก
กราย และผลที่ไม่สำเร็จอาหารกิจได้ เป็นยาวชีวิก จะว่าในเมล็ด ๆ
สำมะลอ และเมล็ดขนุน และเมล็ดมะกอกเป็นต้น และเมล็ดอื่นที่
สำเร็จอาหารกิจได้ เป็นยาวกาลิก เมล็ดบุนนาค สมอ เป็นต้น และ
เมล็ดอื่นที่ไม่สำเร็จอาหารกิจได้ เป็นยาวชีวิก สงเคราะห์ในผลเภสัช
จะว่าในแป้ง ๆ แห่งข้าวเปลือก ๗ กับทั้งอนุโลมและแห้งแห่งถั่ว งา
เป็นต้น และแป้งแห่งขนุน แห้งสาเก มะกอก แป้งตาล แป้งกลอย
ที่ชำระแล้ว และแห้งอื่นที่สำเร็จอาหารกิจได้ เป็นยาวกาลิก แป้ง
ตาล แป้งกลอยที่ยังไม่ได้ชำระรสร้าย เป็นยาวชีวิก สงเคราะห์ในน้ำ
ฝาดและรากและผล ซึ่งมาในบาลี จะว่าในยาง ๆ อ้อยอย่างเดียว
เป็นสัตตาหกาลิก ยางไม้นอกนั้น เป็นยาวชีวิกสิ้น สงเคราะห์ใน
ชตุเภสัช ศีรษะและเง่าเป็นต้น ซึ่งเป็นยาวกาลิกดังกล่าวมานี้
สงเคราะห์ในขาทนียะ ของเคี้ยว ๆ และโภชนียะของกินนี้ชื่อว่า
ยาวกาลิก ฉันได้เช้าชั่วเที่ยง บ่ายแล้วไป ฉัน เป็นปาจิตตีย์ รับ
ประเคนแรมคืนไว้ เป็นสันนิธิ ฉัน เป็นปาจิตตีย์.
ยาวกาลิก จบ

#7 *z*

*z*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 31 March 2005 - 06:52 AM

จะแสดงในยาวกาลิก น้ำดื่ม ๘ คือ อมฺพปานํ น้ำทำด้วยผล
มะม่วงดิบ หรือสุก ชมฺพุปานํ น้ำทำด้วยผลหว้าก็ว่า ผลชมพู่ก็ว่า
โจจปานํ น้ำทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด โมจปานํ น้ำทำด้วยผลกล้วย
ไม่มีเมล็ด มธุปานํ น้ำทำด้วยชาติรสแห่งมะซาง มุทฺทิกปานํ น้ำ
ทำด้วยผลจันทน์ก็ว่า ผลองุ่นก็ว่า สารุกปานํ น้ำทำด้วยรากเง่าแห่ง
อุบลแดง อุบลขาว เป็นต้น ผารุสกปานํ น้ำทำด้วยมะปรางก็ว่า ลิ้นจี่
ก็ว่า อัฏฐบานน้ำดื่ม ๘ อย่างนี้ ชื่อว่า ยามกาลิก มียาวหนึ่งเป็นกาล
คือมีอายุเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่งเท่านั้น
จะว่าด้วยวิธีทำน้ำมะม่วงก่อน เมื่อจะทำด้วยมะม่วง พึงทุบต่อย
มะม่วงอ่อนแช่ลงในนำแล้ว พึงผึ่งแดดไว้ให้สุกด้วยแสงอาทิตย์แล้ว
กรองเสีย ประกอบน้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด การบูร เป็นต้น ที่รับประเคน
ในวันนั้นเข้าด้วยแล้ว ทำเถิด ทำเองควรในปุเรภัต คือเช้าอย่างเดียว
แต่อนุปสัมบันทำได้มา รับประเคนในปุเรภัต แม้บริโภคกับอามิส
ในปุเรภัตก็ควร ในปัจฉาภัตควรบริโภคปราศจากอามิสตราบเท่า
อรุณขึ้นมา ในน้ำชมพู่เป็นต้น ก็เหมือนกันอย่างนั้น แต่มธุบานทำ
ด้วยมะซางน้ำ เจือด้วยน้ำท่าจึงควร แต่น้ำมะซางล้วนไม่ควร ด้วย
ในอรรถกถาว่า มธุปานนฺติ มุทฺทิกานํ ชาติรเสน กตปานํ. ตํ ปน
อุทกสมฺภินฺนํ วตฺตติม สุทฺธํ น วตฺตติ. ดังนี้ มุทฺทิกปานํ โบราณว่า
น้ำลูกจันทน์ แต่ชาวลังกาว่า น้ำลูกองุ่น ถ้าเป็นน้ำลูกองุ่นแล้วไซร้
ควรแต่น้ำสด น้ำองุ่น เช่นชาวยุโรปมีอังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นต้น
เขากินอยู่ เป็นเมรัย ไม่ควร ควรแต่น้ำสด สมกับคำในอรรถกถาว่า
มุทฺทิกปานนฺติ มุทฺทิกา อุทเก มทฺทิตฺวา อมฺพปานํ วิย กตปานํ .
ดังนี้ อัฏฐบานเหล่านั้น แม้เย็นหรือสุกด้วยอาทิตย์ควรอยู่ สุกด้วยไฟ
ไม่ควร
อนึ่ง พระองค์ทรงอนุญาตว่า อนุ ฯเปฯ สพฺพํ ผลรสํ
ฐเปตฺวา ธญฺญผลรสํ. อนุ ฯเปฯ สพฺพํ ปตฺตรสํ ฐเปตฺวา ฑากรสํ.
อนุ ฯเปฯ สพฺพํ ปุปฺผรสํ ฐเปตฺวา มฑุกปุปฺผรสํ. อนุ ฯเปฯ
อุจฺฉุรสํ. ความว่า เราตถาคตอนุญาตรสแห่งผลไม้ทั้งปวง ยกเสีย
แต่ผลข้าวเปลือก ๗ เสีย อนึ่ง เราตถาคตอนุญาตรสแห่งใบไม้
ทั้งปวง ยกรสแห่งผักสุกเสีย อนึ่ง เราตถาคตอนุญาตรสแห่งดอกไม้
ทั้งปวง ยกแต่ดอกมะซางเสีย อนึ่ง เราตถาคตอนุญาตรสแห่งน้ำ
อ้อยสด ข้อซึ่งอนุญาตรสแห่งผลทั้งปวง ยกแต่รสแห่งผลข้าวเปลือก
เสียนั้น จักรู้แจ้งในมหาปเทศ ๔ ข้างหน้า ข้อซึ่งอนุญาตรสใบไม้
ทั้งปวง ยกแต่ใบผักสุกเสียนั้น ด้วยว่ารสแห่งใบไม้ที่เป็นยาวกาลิก
ควรแต่ปุเรภัตอย่างเดียว รสแห่งใบไม้เป็นยาวชีวิก เขาทำให้สุกปน
กับเนยใสเป็นต้น ที่รับประเคนเก็บไว้นี้ ควร ๗ วัน ถ้าแลเขาให้
สุกด้วยน้ำท่าล้วน ควรตราบเท่าสิ้นชีพ จะต้มรสแห่งใบไม้เป็น
ยาวชีวิกกับน้ำนมสดเป็นต้นไม่ควร แม้เขาต้มกับด้วยของอื่นถึงซึ่ง
เรียกว่าเป็นรสแห่งใบผักสุก แต่ในกุรุนทีกล่าวว่า รสแห่งใบไม้แม้
เป็นยาวกาลิก เขาขยำด้วยน้ำเย็นทำมา หรือให้สุกด้วยอาทิตย์ก็ดี ควร
อยู่ ข้อซึ่งอนุญาตรสแห่งดอกไม้ทั้งปวง ยกรสแห่งดอกมะซางเสีย
นั้น รสแห่งดอกมะซางจะสุกด้วยไฟ หรือสุกด้วยอาทิตย์ก็ตาม ไม่
ควรในแต่เดิมไป แม้ในปุเรภัตก็ไม่ควร แต่ดอกมะซางจะสดหรือ
แห้งหรือเขาคั่วแล้วก็ดี หรือผาณิตเขาทำด้วยดอกมะซาง คือ ดอก
มะซางแผ่น แต่สิ่งใดไป เขาไม่ได้ทำน้ำเมา สิ่งทั้งปวงนั้นย่อม
ควรในปุเรภัตอย่างเดียว น้ำอ้อยสดซึ่งทรงอนุญาตนั้นไม่มีกาก ควร
ในปัจฉาภัต พระองค์เมื่อทรงอนุญาตปานะน้ำดื่ม พระองค์ได้ทรง
อนุญาตรสแห่งผล และใบ และดอก และอ้อย ๔ นี้ด้วย ด้วยอประการ
ดังนี้ ในวิมติวิโนทนีว่า ซึ่งกล่าวน้ำอ้อยสดไม่มีกาก ในยามกาลิก-
กถานั้น กล่าวโดยสามัญว่าเป็นของจะพึงดื่ม แต่ให้พึงถือเอาว่า
น้ำอ้อยสดนั้นเป็นสัตตาหกาลิก เถิด
ยามกาลิกนี้ รับประเคนแล้ว ฉันได้แต่วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
อรุณใหม่ขึ้นมา เป็นสันนิธิ ฉันเป็นทุกกฏ.
ยามกาลิกํ จบ

#8 *z*

*z*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 31 March 2005 - 06:53 AM

จักแสดงในสัตตาหกาลิก ยามีอายุกาลเพียง ๗ วัน สปฺปิ เนยใส
นวนีตํ เนยข้น เตลํ น้ำมัน มธุ น้ำผึ้ง ผาณิตํ น้ำอ้อย ยา ๕ สิ่งนี้
ชื่อว่า สัตตาหกาลิก รับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน เกิน ๗
วันไปถึงอรุณที่ ๘ ขึ้นมา เป็นนิสสัคคีย์ ต้องปาจิตตีย์ เป็นนิสสัคคีย์
แล้ว ฉันต้องทุกกฏ บริโภคในกายไม่ควร
เนยโค เนยแพะ เนยกระบือ เนื้อแห่งสัตว์จำพวกใดควร
เนยแห่งสัตว์จำพวกนั้น ก็ชื่อว่าสัปปิด้วย เนยข้นแห่งสัตว์เหล่านั้น
เอง ชื่อว่า นวนีต พึงรู้จักโครส ๕ ก่อน น้ำนมแห่งโค แห่งแพะ
แห่งกระบือ แห่งสัตว์ที่มีเนื้อควร ชื่อว่า ขีรํ ว่านมสด น้ำนมนั้น
ทิ้งไว้นานจนเปรี้ยว ชื่อว่า ทธิ ว่านมส้ม ๆ นั้น เขเจียวขึ้น ชื่อว่า
ตกฺกํ ว่าเปรียง ๆ นั้นเขาเจียวขึ้น ชื่อว่า นวนีตํ ว่าเนยข้น ๆ นั้น
เขาเจียวขึ้นอีก ชื่อ สปฺปิ ว่าเนยใส นมส้มเปรียงเป็นยาวกาลิก
ควรแต่ในเช้า เนยข้น เนยใส เป็นสัตตาหกาลิก เนยทั้ง ๒ นี้ ใน
สยามประเทศมีน้อยใช้น้อย เพราะเหตุนั้น จักไม่วินิจฉัยพิสดาร จัก
วินิจฉัยแต่ยา ๓ สิ่งนอกนั้น เนยใส เนยข้น รับประเคนในเข้าควร
ฉันกับอามิสได้ในเช้า บ่ายแล้ว ไม่ควร ฉันปราศจากอามิสได้
๗ วัน ล่วง ๗ วันไป เป็นนิสสัคคีย์ นับตามวัตถุและภาชนะที่เก็บ
ไว้
น้ำมันเกิดแต่งา เกิดแต่พันธุ์ผักกาด มะซาง ละหุ่ง และเกิด
แต่เปลวสัตว์ เหล่านี้ มาแต่บาลี เมล็ดงา เมล็ดมะซาง เมล็ดละหุ่ง
มันเหลว เป็นยาวกาลิก เมล็ดนอกนั้น เป็นยาวชีวก จักว่าในน้ำมันงา
ก่อน น้ำมันงารับประเคนในเช้า แม้ฉันกับอามิสในเช้าวันนั้น ก็ควร
แต่บ่ายไป ฉันปราศจากอามิสอย่างเดียว จึ่งควร ล่วง ๗ วันไป เป็น
นิสสัคคีย์ นับตามภาชนะที่เก็บไว้ น้ำมันงารับประเคนในปัจฉาภัต
หรือเวลาบ่าย ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียวได้ ๗ วัน ทำให้
เป็นอุคคหิตแล้วเก็บไว้ จะกลืนกินไม่ควร พึงน้อมเข้าไปในกิจอื่น
เป็นต้นว่าทาศีรษะ แม้ล่วง ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติ รับประเคนงา
ในปุเรภัต คือเช้าแล้วทำเป็นน้ำมัน ควรฉันได้แม้กับอามิสในปุเรภัต
แต่ปัจฉาภัตไป เป็นของไม่ควรจะกลืนกิน พึงน้อมเข้าไปในกิจ
เป็นต้นว่าทาศีรษะ แม้ล่วง ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติ รับประเคน
เมล็ดงาในปัจฏาภัตทำขึ้นเป็นน้ำมัน เป็นของไม่ควรกลืนกินเลย
เพราะรับทั้งวัตถุ แม้ล่วง ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติ พึงน้อมเข้าไป
ในกิจ เป็นต้นว่าทาศีรษะ แม้ในน้ำมันที่ทำด้วยเมล็ดงาเป็นอุคคหิต
ในปุเรภัตหรือปัจฉาภัต ก็เหมือนกันอย่างนั้น น้ำมันซึ่งคั่วเมล็ดงา
หรือนึ่งแป้งงาซึ่งรับประเคนในปุเรภัต หรือให้ชุ่มด้วยน้ำร้อนกระทำ
ก็ดี ถ้าอนุปสัมบันทำไซร้ ควรฉันแม้กับอามิสได้ในปุเรภัต ตนทำ
เอง ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียวในปุรภัต เพราะภิกษุปล้อน
เอง ฉันกับอามิสไม่ควร เพราะเหตุให้สุกเอง แต่ปัจฉาภัตไป
น้ำมันทั้ง ๒ อย่างนั้น ไม่ควรจะกลืนกิน เพราะรับทั้งวัตถุ พึงน้อม
เข้าไปในกิจเป็นต้นว่าทาศีรษะ แม้ล่วง ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติ ผิแล
ว่าน้ำร้อนน้อยเป็นสักแต่ว่าพรมลงเท่านั้น ย่อมเป็นอัพโพหาริก ไม่
ถึงซึ่งอันนับว่าเป็นสามปากะ แม้ในน้ำมันพันธุ์ผักกาดเป็นต้นที่รับทั้ง
วัตถุ ก็วินิจฉันเหมือนกล่าวแล้วในน้ำมันงาที่ไม่ได้รับทั้งวัตถุ แต่
ถ้าว่าอาจเอาจุรณแห่งพันธุ์ผักกาดเป็นต้น ซึ่งรับประเคนแล้วใน
ปุเรภัตมาทำเป็นน้ำมัน ด้วยให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ น้ำมันนั้นควรฉัน
แม้กับอามิสได้ในปุเรภัต แต่ปัจฉาภัตไป ควรฉันปราศจากอามิส
อย่างเดียว แม้ล่วง ๗ วันไป คงเป็นนิสสัคคีย์ เขานึ่งจุรณพันธุ์
ผักกาด และมะซางเป็นต้น และคั่วเมล็ดละหุ่ง ทำเป็นน้ำมัน
ก็อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น น้ำมันแห่งของเหล่านี้ อนุปสัมบันทำ
ควรฉันแม้กับอามิสได้ในปุเรภัต แต่จะเป็นโทษเพราะรับทั้งวัตถุ
ก็หาไม่ เพราะเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้น เป็นยาวชีวิก ตนทำเอง พึง
บริโภคปราศจากอามิสอย่างเดียว น้ำมันซึ่งทำด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด
เป็นต้นซึ่งเป็นอุคคหิต ไม่ควรจะกลืนกิน ควรบริโภคในภายนอก
แม้ล่วง ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติ รับประเคนเมล็ดพันธุ์ผักกาด
มะซาง ละหุ่ง เพื่อจะทำเป็นน้ำมันแล้วทำขึ้นเป็นน้ำมัน ในวันนั้น
ควร ๗ วัน ทำในวันที่ ๒ ควร ๖ วัน ทำในวันที่ ๓ ควร ๕ วัน
ทำในวันที่ ๔ ควร ๔ วัน ทำในวันที่ ๕ ควร ๓ วัน ทำในวันที่ ๖
ควร ๒ วัน ทำในวันที่ ๗ ควรแต่ในวันนั้นวันเดียว ถ้าเอาไว้จน
อรุณขึ้นมา เป็นนิสสัคคีย์ ทำในวันที่ ๘ เป็นของไม่ควรจะกลืนกิน
แต่ควรบริโภคในภายนอก เพราะไม่เป็นนิสสัคคีย์ ถ้าแม้ไม่ทำ
เมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นต้นที่รับไว้เพื่อทำเป็นน้ำมันนั้น ล่วง ๗ วันไป
เป็นทุกกฏแท้ แต่น้ำมันแห่งมะพร้าว และสะเดา ตะคร้อ เล็บเยี่ยว
สำโรง เป็นต้นอันอื่น ซึ่งไม่มาในบาลี รับประเคนไว้ให้เกิน ๗ วัน
เป็นทุกกฏ นี่แลเป็นความแปลกกันในน้ำมันเหล่านั้น พึงกำหนด
น้ำมันนอกนั้น มีวัตถุเป็นยาวกาลิก และมีวัตถุเป็นยาวชีวิกแล้ว พึง
รู้โดยวิธีทั้งปวง คือ สามปากะ และรับทั้งวัตถุ รับในเช้าและบ่าย
และมีวัตถุเป็นอุคคหิต โดยนัยดังกล่าวแล้วเถิด น้ำมันแห่งเปลวสัตว์
ที่พระองค์ทรงอนุญาตไว้ ๕ คือ เปลวหมี เปลวปลา เปลวปลาฉลาม
เปลวหมู เปลวลา ด้วยอนุญาตเปลวหมี เปลวแห่งสัตว์มีเนื้อเป็น
อกัปปิยะทั้งปวง เป็นอันอนุญาตด้วย เว้นแต่เปลวมนุษย์ ด้วยถือ
เอาปลาขึ้นกล่าว แม้ปลาฉลามก็เป็นอันถือขึ้นกล่าวด้วย แต่พระองค์
กล่าวปลาฉลามแปลกออกไป เพราะเป็นปลาร้าย ด้วยถือเอาปลา
เป็นต้นขึ้นกล่าว มันเหลวแห่งสัตว์มีเนื้อเป็นกัปปิยะทั้งปวง ชื่อว่า
ทรงอนุญาต ด้วยว่าในเนื้อสัตว์ทั้งหลาย เนื้อแห่งมนุษย์ และช้าง
ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว ๑๐ นี้
เป็นอกัปปิยะ ส่วนในมันเปลว ๆ แห่งมนุษย์อย่างเดียวเป็นอกัปปิยะ
ส่วนในนมสดเป็นต้น สิ่งซึ่งเป็นอกัปปิยะไม่มี น้ำมันแห่งเปลวที่
อนุปสัมบันทำและกรอง รับประเคนในเช้า ควรฉันแม้กับอามิสในเช้า
ได้ แต่บ่ายแล้วไป ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียวได้ ๗ วัน ก็
แต่เนื้อ หรือเอ็น หรือกระดูก เลือด อันใดที่ละเอียด ดังผงอันละเอียด
มีในน้ำมันนั้น ของเหล่านั้นเป็นอัพโพหาริก ถ้าแลรับประเคนมัน
เปลวทำเองไซร้ รับ และเจียว และกรองในเช้า พึงบริโภคปราศจาก
อามิส ๗ วัน ข้อซึ่งพระองค์ทรงอนุญาตให้รับมันเปลวในกาล เจียว
ในกาล กรองในกาล บริโภคน้ำมันนั้น อาศัยบริโภคปราศจากอามิส
แม้ในน้ำมันนั้น เนื้อเป็นต้นที่ละเอียดก็เป็นอัพโพหาริกแท้ แต่จะรับ
หรือเจียวในปัจฉาภัตรไม่ควรเลย ด้วยทรงห้ามไว้ว่า ถ้ารับมันเปลว
ในวิกาล เจียวในวิกาล กรองในวิกาล บริโภคไซร้ ต้องทุกกฏ ๓ ตัว
ถ้ารับในเช้า เจียวในบ่าย กรองในบ่าย บริโภคไซร้ ต้องทุกกฏ
๒ ตัว ถ้ารับในเช้า เจียวในเช้า กรองในบ่าย บริโภคไซร้ ต้อง
ทุกกฏตัว ๑ ถ้ารับ และเจียว และกรองในกาล บริโภค ไม่เป็น
อาบัติ เนยใส เนยข้น มันเปลวปนกัน เจียวกรองด้วยกัน มีเดชกล้า
ข่มโรคได้ ควรอยู่ แม้น้ำมันหมีและสุกรแทรกลงในข้าวต้มที่เจือด้วย
รากไม้ ๕ และน้ำฝาดฉัน มีเดชกล้าข่มโรคลมได้ ก็ควร
จะว่าในน้ำผึ้ง ๆ ที่ผึ้งเล็ก และผึ้งใหญ่ทำ ชื่อว่ามธุ น้ำผึ้งนั้น
รับประเคนในเช้า ควรฉันกับอามิสได้ในเช้า แต่บ่ายไปแล้ว
ควรฉันปราศจากอามิสได้ ๗ วัน ล่วง ๗ วันไป ถ้าเป็นน้ำผึ้งใหญ่
เหนียวดังยางไม้ ทำเป็นก้อน ๆ ตั้งไว้ หรือว่าน้ำผึ้งเหลวตั้งอยู่ใน
ภาชนะต่าง ๆ เป็นนิสสัคคีย์ นับตามวัตถุ ถ้าเป็นก้อนเดียวเท่านั้น
หรือเหลวอยู่ในภาชนะอันเดียว เป็นนิสสัคคีย์ตัวเดียวเท่านั้น น้ำผึ้ง
เป็นอุคคหิต พึงรู้โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล พึงน้อมเข้าไปในกิจ
มีทาแผลเป็นต้น รวงผึ้ง หรือขี้ผึ้ง ถ้าไม่เปื้อนน้ำผึ้ง บริสุทธิ์อยู่
เป็นยาวชีวิก แต่เปื้อนน้ำผึ้ง เป็นคติแห่งน้ำผึ้งแท้ ผึ้งยาวมีปีก
อย่างหนึ่ง ชื่อจิริกะ แมลงภู่ใหญ่สีดำอย่างหนึ่ง มีกระดูกเป็นปีก ชื่อ
ตุมพละ ในที่อยู่แห่งสัตว์เหล่านั้น มีน้ำผึ้งเหนียวดังยางไม้ น้ำผึ้ง
นั้นเป็นยาวชีวิก
จะว่าในผาณิต ๆ เกิดแต่อ้อย ตั้งแต่น้ำอ้อยสดไป จะดิบหรือสุก
ไม่ปนด้วยกาก น้ำอ้อยเขาทำวิเศษทั้งปวงไม่ปนด้วยกาก พึงรู้ว่า
เป็นผาณิตเถิด น้ำอ้อยรับประเคนในเช้า ควรฉันแม้กับอามิสได้
ในเช้า แต่บ่ายแล้วไป ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียวได้ ๗ วัน
ล่วง ๗ วัน เป็นนิสสัคคีย์ นับตามวัตถุ ก้อนน้ำอ้อยแม้มาก เขาป่น
ละเอียดเอาไว้ในภาชนะอันเดียวแน่นเนื่องกันอยู่ เป็นนิสสัคคีย์
ตัวเดียวเท่านั้น น้ำอ้อยเป็นอุคคหิต มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล พึง
น้อมเข้าไปในกิจ เป็นต้นว่าอบกุฎี น้ำอ้อยงบทำด้วยอ้อยยังไม่ได้
กรอง รับประเคนในเช้า ถ้าอนุปสัมบันทำ ควรฉันแม้กับอามิสได้
ทำเอง ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียว แต่บ่ายแล้วไป เป็นของ
ไม่ควรกลืนกิน เพราะรับทั้งวัตถุ แม้ล่วง ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติ
น้ำอ้อยงบที่เขาทำด้วยอ้อยสดที่ยังไม่ได้กรอง รับประเคนในบ่าย
เป็นของไม่ควรกินเลย แม้ล่วง ๗ วัน ก็ไม่เป็นอาบัติ แม้ในผาณิต
รับลำอ้อยมาทำก็เหมือนกันอย่างนั้น ผาณิตที่ทำด้วยน้ำอ้อยสดกรอง
แล้ว รับประเคนในเช้า ถ้าอนุปสัมบันทำ ควรฉันแม้กับอามิสได้
ในเช้า แต่บ่ายแล้วไป ควรฉันปราศจากอามิสได้ ๗ วัน ทำเอง
แม้ในเช้า ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียว แต่บ่ายแล้วไป ก็ควร
ฉันปราศจากอามิสอย่างเดียวได้ ๗ วัน แต่ผาณิตทำด้วยน้ำอ้อยสด
ที่กรองแล้ว รับประเคนในบ่าย ควรฉันปราศจากอามิสอย่างเดียวได้
๗ วัน ผาณิตเป็นอุคคหิต มีอย่างดังกล่าวแล้วนั้นแล ในมหาอรรถ-
กถากล่าวว่า ผาณิตทำด้วยอ้อยเผา หรือด้วยอ้อยคั่ว อ้อยต้ม ควร
ในเช้าอย่างเดียว แต่ในมหาปัจจรี ถามว่า ผาณิตสุกทั้งวัตถุ จะควร
หรือไม่ควร แล้วกล่าวว่า ผาณิตทำด้วยอ้อย ซึ่งว่าจะไม่ควรในบ่าย
นั้น ไม่มี ดังนี้ คำนั้นชอบ ผาณิตดอกมะซางทำด้วยน้ำเย็น ควรฉัน
แม้กับอามิสได้ในเช้า แต่บ่ายแล้วไป ควรฉันปราศจากอามิสอย่าง
เดียวได้ ๗ วัน ล่วง ๗ วันไป เป็นทุกกฏ นับด้วยวัตถุ แต่ผาณิต
ดอกมะซาง เขาเจือนมสดลงด้วย เป็นยาวกาลิก แต่ขัณฑสกร เขา
เอานมสดออกเสียทำให้บริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น ขัณฑสกรนั้นควร
แต่ดอกมะซางสดและเขาคั่วแล้ว ตำเจือด้วยของอื่น หรือไม่เจือก็ตาม
ควรแม้ในเช้า ถ้าหากเขาถือเอาดอกมะซางนั้นประกอบเพื่อเป็นเมรัย
เขาประกอบแล้ว แต่พืชไปไม่ควร ผาณิตแห่งผลไม้ เป็นยาวกาลิก
ทั้งปวง เป็นต้นว่า กล้วย ผลอินทผลัม มะม่วง สาเก ขนุนแผ่น
มะขามแผ่น เป็นยาวกาลิกแท้ คนทั้งหลายเขาทำผาณิตด้วยพริกสุก
ผาณิต คือพริกแผ่นนั้น เป็นยาวชีวิก อนึ่ง น้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย
น้ำตาลหม้อ น้ำตาลปึก สงเคราะห์ในผาณิต
ยา ๕ อย่างนี้ รับประเคนแล้วไม่ให้ล่วง ๗ วันไป แม้เป็น
ไข้หรือไม่เป็นไข้ก็ตาม พึงฉันตามสบายเถิด ด้วยของที่พระองค์
ทรงเฉพาะอนุญาตมี ๗ ประการ คือเฉพาะพยาธิ ๑ เฉพาะบุคคล ๑
เฉพาะกาล ๑ เฉพาะสมัย ๑ เฉพาะประเทศ ๑ เฉพาะมันเปลว ๑
เฉพาะยา ๑ อนุญาตเฉพาะพยาธินั้น ดังทรงอนุญาตให้ภิกษุอัน
อมนุษย์สิงกาย ฉันเนื้อดิบฉันเลือดดิบ เนื้อดิบเลือดดิบนั้นควรแก่
ภิกษุผู้อาพาธ เช่นนั้นอย่างเดียว ไม่ควรแก่ภิกษุอื่น เนื้อเลือดนั้น
เป็นกัปปิยะ หรืออกัปปิยะ ควรแก่ภิกษุอาพาธนั้นแท้ ทั้งเช้าและบ่าย
อนุญาตเฉพาะบุคคลนั้น ดังอนุญาตอาหารที่เรออ้วกถึงลำคอแล้ว
กลับเข้าไป ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มักเรออ้วก อนุญาตนั้นควรแก่
ภิกษุผู้มักเรออ้วกพวกเดียว ไม่ควรแก่ภิกษุอื่น แต่นำออกมาถึงนอก
ปากแล้ว อย่ากลับกลืนเข้าไป อนุญาตเฉพาะกาลนั้น ดังทรงอนุญาต
ยามหาวิกัฏ ๔ คือ มูตร คูถ เถ้า ดิน เฉพาะในกาลภิกษุงูกัดอย่าง
เดียว แม้ไม่รับประเคนฉันก็ควร ในกาลอื่นไม่ควร อนุญาตเฉพาะ
สมัยนั้น ดังอนุญาตไม่ให้เป็นอาบัติ เพราะฉันคณโภชนะในสมัย
เป็นต้นว่าเป็นไข้ ไม่เป็นอาบัติแต่ในสมัยเช่นนั้นอย่างเดียว ในคราว
อื่นเป็นอาบัติ อนุญาตเฉพาะประเทศนั้น ตั้งทรงอนุญาตอุปสมบท
ด้วยคณะสงฆ์มีวินัยธรเป็นที่ ๕ เป็นต้น ในปัจจันตประเทศอย่างเดียว
ในมัชฌิมประเทศไม่ควร อนุญาตเฉพาะมันเปลวนั้น ดังอนุญาติมัน
เปลว ๕ ให้เป็นยาด้วย ชื่อแห่งมันเปลว ๆ นั้นรับกรองเจียวในกาล
ฉันได้แต่น้ำมัน ก็แลอนุญาตนั้น ควรแก่ภิกษุผู้ต้องการด้วยมันเปลว
เอามันเปลวแห่งสัตว์มีเนื้อเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะทั้งปวง เว้นแต่
มันเปลวแห่งมนุษย์เสีย นอกนั้นมาทำเป็นน้ำมันฉันได้ อนุญาต
เฉพาะยานั้น ดังเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แม้สำเร็จอาหาร
กิจได้ ทรงอนุญาต ด้วยชื่อว่าเป็นเภสัช ยานั้นรับประเคนแล้ว พึง
ฉันตามสบายในเช้าวันนั้น แต่บ่ายแล้วไป เมื่อมีเหตุพึงฉันได้ ๗ วัน
แต่น้ำอ้อยงบ น้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย น้ำตาลหม้อ ที่แข็งข้นอยู่
ถ้าเป็นไข้ เคี้ยวกินได้ ไม่เป็นไข้ ไม่ควร พึงละลายน้ำฉัน ด้วยทรง
อนุญาตไว้ว่า อนุ ฯ เป ฯ คิลานสฺส คุฬํ อคิลานสฺส คุโฬทกํ ดังนี้
ยา ๕ อย่างนี้ จะไม่ฉัน จะเอาไว้บริโภคภายนอก เป็นต้นว่า
ทาศีรษะและตามตะเกียง พึงอธิษฐานเสียว่า จะไว้บริโภคภายนอก
ในภายใน ๗ วัน ถ้าจะเอาน้ำมันที่อธิษฐานเทลงในภาชนะน้ำมัน
ที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ถ้าในภาชนะช่องเล็กละเอียด น้ำมันใหม่ค่อย ๆ
เข้าไป น้ำมันเก่าทับท่วมได้ พึงอธิษฐานเสียใหม่ ถ้าช่องปากกว้าง
น้ำมันมากเข้าไปเร็วทับน้ำมันเก่าได้ กิจที่จะต้องอธิษฐานอีกไม่มี
ด้วยว่าน้ำมันใหม่ก็เป็นของมีคติแห่งน้ำมันที่อธิษฐานแล้วแท้ แม้เท
น้ำมันที่ยังไม่ได้อธิษฐานลงในภาชนะน้ำมันที่อธิษฐานแล้ว ก็พึงรู้
โดยนัยนั้นเถิด
อนึ่ง ยา ๕ สิ่งนี้ รับประเคนไว้ฉันไม่หมด พึงสละเสียในภาย
ใน ๗ วัน ถ้าเป็นของสองเจ้าของ ผู้หนึ่งรับประเคนไว้ ยังไม่ได้
แบ่งกัน ล่วง ๗ วันไป ไม่เป็นอาบัติด้วยกันทั้งสอง แต่จะฉันไม่ควร
แม้ผู้รับประเคนบอกให้ผู้หนึ่งฉัน ผู้นั้นไม่ฉัน ล่วง ๗ วันไป ก็ไม่
เป็นอาบัติด้วยกันทั้งสอง เพราะผู้รับก็สละเสียแล้ว ผู้หนึ่งนั้นก็ไม่
ได้รับ.
สตฺตาหกาลิกํ จบ

#9 ลูกพระธัมฯ Merry Ma

ลูกพระธัมฯ Merry Ma

    The STRONGEST is the GENTLEST!!!

  • Members
  • 891 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok, Thailand

โพสต์เมื่อ 13 April 2006 - 01:00 AM

โอ้โห สาาาาาาธุค่ะ
The Strongest is The Gentlest!

ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด

#10 ป่าน072

ป่าน072
  • Members
  • 371 โพสต์
  • Location:โคราช
  • Interests:การศึกษาต่อในวิชา วิทยาศาสตร์<br />วิศวะปิโตรเคมี

โพสต์เมื่อ 23 August 2006 - 04:55 PM

ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างเพิ่มขึ้นนะคะ สาธุ
เมื่อดวงตาปิดสนิมอย่างละมุน
ไม่มีลุ้นเร่งจองมองที่หมาย
ก็จะพบผู้รู้อยู่กลางกาย
ธาตุอ่อนแก่มากมายถึงปลายทาง

#11 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 08:20 AM

Complete กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ สาธุ สาธุ

#12 Suk072

Suk072
  • Members
  • 430 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 23 June 2008 - 03:43 PM

กราบอนุโมทนาบุญค่ะ สุดค้มจริงๆค่ะ

#13 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 July 2008 - 10:50 PM

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ สา่ธุ

#14 Brighten The Mind

Brighten The Mind
  • Members
  • 6 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 January 2009 - 02:34 AM

มีใครช่วยสรุปย่อให้หน่อยได้ไม๊ครับมันยาวมากเลย ขอบคุณล่วงหน้าครับ