ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 3 คะแนน

วันอัฎฐมีบูชา วันถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 22 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 26 May 2008 - 03:22 PM

วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

ความหมาย
เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา"


ประวัติความเป็นมา

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่


ความสำคัญ
โดยที่วันอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล


พิธีอัฏฐมีบูชา
การประกอบพิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น


คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง, ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา, โย โน ภะคะวา สัตถา, ยัสสะ จะ มะยัง, ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ, อะโหสิ โข โส ภะคะวา, มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ, อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน, ขัตติโย ชาติยา, โคตะโม โคตเตนะ, สักยะปุตโต สักยะกุลา ปัพพะชิโต, สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ, นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต โลกะวิทู, อนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ, สัตถา เทวะมะนุสสานัง, พุทโธ ภะคะวา สวากขาโต โข ปะนะ, เตนะ ภะคะวา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ, ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ, อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย. อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. อะยัง โข ปะนะ ถูโป(ปฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กโต (อุททิสสิ กตา) ยาวะเทวะ ทัสสะเนนะ, ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริตวา, ปะสาทะสังเวคะปะฏิลาภายะ, มะยัง โข เอตะระหิ, อิมัง วิสาขะปุณณะมิโตปะรัง อัฏฐะมีกาลัง, ตัสสะ ภะคะวะโต สรีรัชฌาปะนะกาละสัมมะตัง ปัตวา, อิมัง ฐานัง สัมปัตตา, อิเม ทัณฑะทีปะธูปะ-, ปุปผาทิสักกาเร คะเหตวา, อัตตะโน กายัง สักการุปะธานัง กะริตวา, ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา, อิมัง ถูปัง(ปะฏิมาฆะรัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ, ยะถาคะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา.

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา, สุจิระปะรินิพพุโตปิ, ญาตัพเพหิ คุเณหิ, อะตีตารัมมะณะตายะ ปัญญายะมาโน, อิเม อัมเหหิ คะหิเต, สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง, ฑีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ.





#2 Jeabka

Jeabka
  • Members
  • 248 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 May 2008 - 03:51 PM

สาธุคะ ^/\^

#3 บรรพต

บรรพต
  • Members
  • 22 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 May 2008 - 04:36 PM

สาธุครับ

#4 ~po poy~ happy

~po poy~ happy
  • Members
  • 44 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 May 2008 - 05:33 PM

สาธุค่ะ ได้ความรู้มากมายเลย

บุญกับบาปเท่านั้นที่บังคับเราอยู่
ถ้าสั่งสมบุญ ชีวิตก็รุ่งเรือง
ถ้าสั่งสมบาป ชีวิตก็ร่วงโรย


#5 เด็กอนุบาลหน้าใสใจดี

เด็กอนุบาลหน้าใสใจดี
  • Members
  • 938 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 May 2008 - 09:37 PM

เรื่องนี้ไม่เคยรู้มาก่อนเลย
โหวตให้ 5 ดาวเลยจ้า
ขอบพระคุณท่านมากๆที่นำสิ่งดีดีมาบอกกัน
สาธุ.. สาธุ.. สาธุ.. happy.gif
ชีวิตคือการเข้ากลาง..
ที่สุดแห่งธรรมนั้นเป็นเป้าหมาย..
โลกจะสุขสันต์เมื่อท่านเข้าถึงธรรมกาย..
สว่างไสวทั่วทุกธาตุธรรม..

#6 สุรชัย (กัปตัน)

สุรชัย (กัปตัน)
  • Members
  • 407 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 May 2008 - 09:56 PM

ขออนุโมทนาสาธุครับ

#7 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 27 May 2008 - 08:26 AM

อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ สาธุ

#8 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 May 2008 - 11:07 AM

Sa Thu Krub

#9 pp_dmc

pp_dmc
  • Members
  • 93 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 May 2008 - 12:54 PM

สาธุ

#10 JJ.

JJ.
  • Members
  • 129 โพสต์
  • Location:คลอง4 ปทุมธานี
  • Interests:สมาธิ ความสงบ โลกหน้า

โพสต์เมื่อ 27 May 2008 - 02:17 PM

สาธุ
...โปรดพิจารณา...นี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว... ถ้าผิดพลาดประการใด...วอนผู้รู้ หรือ คิดแตกต่างช่วยแก้ไขให้ด้วย _/I\_ ขอบคุณครับ

#11 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 27 May 2008 - 04:17 PM

อนุโมทนา สาธุเจ้าของกระทู้ ครับ

อยากเห็นทุกวัดในเมืองไทยให้ความสำคัญวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ซึ่งเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวช ,อัปปมาทธรรม
และระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นพุทธานุสสติ ภาวนามัยกุศล

เหมือนวันสำคัญอื่น ๆ ทางพุทธศาสนานะครับ

#12 usr21276

usr21276
  • Members
  • 9 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 May 2008 - 05:35 PM

สาธุ


#13 eq072

eq072
  • Members
  • 504 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 May 2008 - 09:36 PM

วันอัฐมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘ วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว ๘ วัน เป็นที่น่าเสียดายว่า วันอัฏฐมีบูชานี้ ในเมืองไทยเรามักลืมเลือนกันไปแล้ว จะมีเพียงบางวัดเท่านั้น ที่จัดให้มีการประกอบกุศลพิธีในวันนี้

ประวัติความเป็นมา
พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด ๗ วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๘ คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิง

พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๔ คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ ๕๐๐ รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี

ครั้งนั้นพระมหากัสสปะเถระและหมู่ภิกษุเดินทางจากเมืองปาวา หมายจะเข้าเฝ้าพระศาสดา ระหว่างทาง ได้พบกับพราหมณ์คนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพสวนทางมา พระมหากัสสปะได้เห็นดอกมณฑารพก็ทราบว่า มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น ดอกไม้นี้มีเพียงในทิพย์โลก ไม่มีในเมืองมนุษย์ การที่มีดอกมณฑารพอยู่ แสดงว่าจะต้องมีอะไร เกิดขึ้นกับพระศาสดา พระมหากัสสปะถามพราหมณ์นั้นว่า ได้ข่าวอะไรเกี่ยวกับพระศาสดาบ้างหรือไม่ พราหมณ์นั้นตอบว่า พระสมณโคดมได้ปรินิพพานไป ล่วงเจ็ดวัน แล้ว "พระศาสดาปรินิพพานแล้ว" คำนี้เสียดแทงใจของพระภิกษุปุถุชนยิ่งนัก พระภิกษุศิษย์ของพระมหากัสสปะบางรูป ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็กลิ้งเกลือกไปบนพื้น บ้างก็คร่ำครวญร่ำไห้ ว่า "พระศาสดาปรินิพพานเสียเร็วนัก" ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมเกิดธรรมสังเวชว่า "แม้พระศาสดา ผู้เป็นดวงตาของโลก ยังต้องปรินิพพาน สังขารธรรมไม่เที่ยงแท้เสียจริงหนอ"

แต่ในหมู่ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น เสียงของสุภัททะ วุฑฒบรรพชิตก็ดังขึ้น "ท่านทั้งหลายอย่าไปเสียใจเลย พระสมณโคดมนิพพานไปซะได้ก็ดีแล้ว จะได้ไม่มีคนมาคอยจ้ำจี้จ้ำไช ว่าสิ่งนี้สมควรกับเรา สิ่งนี้ไม่สมควรกับเรา"
คำพูดของหลวงตาสุภัททะ เป็นที่สังเวชต่อ พระมหากัสสปะยิ่งนัก ท่านคิดว่า "พระผู้มีพระภาคยังนิพพานไปได้ไม่นาน ก็มีภิกษุบาปชนกล่าวจาบจ้วงพระศาสดา จาบจ้วงพระธรรมวินัยเช่นนี้ ถ้าเวลาผ่านไป ก็คงมีภิกษุบาปชนเช่นนี้ กล่าวจาบจวงพระธรรมวินัยเกิดขึ้นเป็นอันมาก" แต่ท่านก็ยั้งความคิดเช่นนี้ไว้ก่อน เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะกระทำสิ่งใดๆ นอกจากจะต้องจัดการ ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสียก่อน

เมื่อพระมหากัสสปะ และภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางมาถึงสถานที่ถวายพระเพลิงมกุฏพันธนเจดีย์แล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ รอบเชิง ตะกอน ๓ รอบ พระมหากัสสปะเปิดผ้าทางพระบาทแล้ว ถวายบังคมพระบาททั้งสองด้วยเศียรเกล้า โดยท่านกำหนดว่าตรงนี้เป็นพระบาทแล้ว เข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากฌานแล้วอธิษฐานว่า "ขอพระยุคลบาท ของพระองค์ที่มีลักษณะเป็นจักรอันประกอบด้วยซี่พันซี่ ขอจงชำแรกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ พร้อมทั้งสำลี ไม้จันทน์ ออกเป็นช่อง ประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าของข้าพระองค์ด้วยเถิด" เมื่ออธิษฐานเสร็จ พระยุคลบาทก็แหวกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ออกมา พระเถระจับยุคลบาทไว้มั่น และน้อมนมัสการเหนือเศียรเกล้าของตน มหาชนต่างเห็นความอัศจรรย์นั้น ก็ส่งเสียงแสดงความอัศจรรย์ใจ เมื่อพระเถระและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายบังคมแล้ว ฝ่าพระยุคลบาทก็เข้าประดิษฐานในที่เดิม ครั้นแล้วเปลวเพลิงก็ลุกโพลงท่วมพระสรีระของพระศาสดา ด้วยอำนาจของเทวดา ในการเผาไหม้นี้ ไม่มีควันหรือเขม่าใดๆฟุ้งขึ้นเลย เมื่อเพลิงใกล้จะดับ ก็มีท่อน้ำไหลหลั่งลงมาจากอากาศ และมีน้ำพุ่งขึ้นจากกองไม้สาละ ดับไฟที่ยังเหลืออยู่นั้น เหล่าเจ้ามัลละก็ปะพรมพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยของ หอม ๔ ชนิด รอบๆบริเวณ ก็โปรยข้าวตอกเป็นต้น แล้วจัดกองกำลังอารักขา จัดทำสัตติบัญชร (ซี่กรงทำด้วยหอก) เพื่อป้องกันภัย แล้วให้ขึงเพดานผ้าไว้เบื้องบน ห้อยพวง ของหอม พวงมาลัย พวงแก้ว ให้ล้อมม่านและเสื่อลำแพนไว้ทั้งสองข้าง ตั้งแต่มกุฏพันธนเจดีย์ จนถึงศาลาด้านล่าง ให้ติดเพดานไว้เบื้องบน ตลอดทางติดธง ๕ สีโดยรอบ ให้ตั้งต้นกล้วย และหม้อน้ำ พร้อมกับตามประทีปมีด้ามไว้ตามถนนทุกสาย พวกเจ้ามัลละนำพระธาตุทั้งหลายวางลงในรางทองแล้ว อัญเชิญไว้บนคอช้าง นำพระธาตุเข้าพระนครประดิษฐานไว้บนบัลลังก์ที่ทำด้วยรัตนะ ๗ อย่าง กั้นเศวตร ฉัตรไว้เบื้องบน แล้วจัดกองกำลังอารักขาอย่างนี้คือ "จัดเหล่าทหารถือหอกล้อมพระธาตุไว้ จากนั้นจัดเหล่าช้างเรียงลำดับกระพองต่อกันล้อมไว้ พ้นจากเหล่าช้างก็เป็น เหล่า ม้าเรียงลำดับคอต่อกัน จากนั้นเป็นเหล่ารถ เหล่าราบรอบนอกสุดเป็นทหารธนูล้อมอยู่" พวกเจ้ามัลละจะจัดฉลองพระบรมธาตุตคลอด ๗ วัน ต้องการความมั่นใจว่า ๗ วัน นี้แม้จะมีการละเล่นก็เป็นการละเล่นที่ไม่ประมาท

หลังจากนั้น เมื่อข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พระสรีระกลายเป็นพระบรมสารีริกธาตุแล้ว เหล่ากษัตริยน์ในนครต่างๆ เมื่อทราบข่าวก็ปรารถนาจะได้พระบรมธาตุไปบูชา จึงส่งสาสน์ ส่งฑูตมาขอพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคของเรา" "พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น กษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราจึงมีส่วนที่จะได้พระบรมธาตุบ้าง" เหล่ามัลละกษัตริย์ก็ไม่ยอมยกให้ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองของเรา" ดังนั้น กษัตริย์ในพระนครต่างๆ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู จอมกษัตริย์แคว้นมคธ และกษัตริย์เหล่าอื่นๆ จึงยกกองทัพมาด้วยหวังว่า จะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อยกกองทัพ มาถึงหน้าประตูเมือง ทำท่าจะเกิดศึกสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุ ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ใหญ่คนหนึ่ง คือ โทณพราหมณ์ หวั่นเกรงว่าจะเกิดสงครามใหญ่ จึงขึ้นไปยืน บนป้อมประตูเมือง ประกาศว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทรงสรรเสริญขันติ สรรเสริญสามัคคีธรรม การที่เราจะมาประหัตประหารเพราะแย่งชิง พระบรมธาตุ ของพระองค์ผู้ประเสริฐ ย่อมไม่สมควร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงยินดีในการที่จะแบ่งกันไปเป็น ๘ ส่วน และนำไปบูชายังบ้านเมืองของท่านทั้งหลายเถิด เพราะ ผู้ศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมาก"

ในพระไตรปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตรได้กล่าวถึงเหตุการณ์ขณะที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ว่า หมู่คณะเหล่านั้นตอบว่า ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นขอท่าน นั่นแหละจงแบ่ง พระสรีระพระผู้มีพระภาคออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เรียบร้อย เถิด โทณ พราหมณ์ รับคำของ หมู่คณะเหล่านั้นแล้ว แบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาค ออกเป็น ๘ ส่วนเท่ากันเรียบร้อย จึงกล่าว กะหมู่คณะเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ขอพวกท่าน จงให้ตุมพะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้า จักกระทำพระสถูป และกระทำการฉลองตุมพะบ้าง ทูตเหล่านั้นได้ให้ตุมพะแก่โทณพราหมณ์ ฯ

พวกเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวัน ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพาน ในเมืองกุสินารา จึงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาค เป็นกษัตริย์ แม้ เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระ พระผู้มีพระภาคบ้าง จักได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละ เมือง กุสินาราตอบว่า ส่วนพระสรีระพระผู้มี พระภาคไม่มี เราได้ แบ่งกันเสียแล้ว พวกท่านจงนำพระอังคารไปแต่ที่นี่เถิด พวกทูตนั้น นำ พระ อังคารไปจากที่นั้นแล้ว ฯ

ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ได้กระทำ พระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในพระนครราชคฤห์ พวก กษัตริย์ ลิจฉวีเมืองเวสาลี ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มี พระภาคในเมืองเวสาลี พวกกษัตริย์ ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ก็ได้กระทำพระสถูป และการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกบิลพัสดุ์ พวกกษัตริย์ถูลีเมือง อัลกัปปะ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมือง อัลกัปปะ พวกกษัตริย์ โกลิยะเมืองรามคาม ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง พระสรีระพระผู้มี พระภาคในเมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ ก็ได้ กระทำพระสถูป และการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวฏฐทีปกะ พวก เจ้ามัลละเมืองปาวา ก็ได้กระทำพระสถูปและ การฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในเมืองปาวา พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา ก็ได้กระทำพระสถูป และการ ฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ ก็ได้กระทำสถูปและ การฉลอง ตุมพะ พวกกษัตริย์โมริยะ เมืองปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระอังคารในเมือง ปิปผลิวัน ฯ พระสถูปบรรจุพระสรีระมีแปดแห่ง เป็นเก้าแห่งทั้งสถูปบรรจุตุมพะ เป็นสิบแห่ง ทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร ด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุและการก่อ พระสถูปเช่นนี้ เป็นแบบอย่างมาแล้ว ฯ

พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ แปดทะนาน เจ็ดทะนาน บูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีระอีกทะนาน หนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษที่ ประเสริฐ อันสูงสุด พวก นาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม พระเขี้ยวองค์หนึ่งเทวดา ชาวไตรทิพย์บูชาแล้ว ส่วนอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ใน คันธารบุรี อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ใน แคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีก องค์หนึ่ง พระยานาคบูชากันอยู่ ฯ ด้วยพระเดชแห่งพระสรีระพระพุทธเจ้า นั้นแหละ แผ่นดินนี้ ชื่อว่า ทรงไว้ซึ่งแก้วประดับแล้วด้วยนักพรตผู้ ประเสริฐที่สุด พระสรีระของพระพุทธเจ้า ผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่าอันเขาผู้สักการะๆ สักการะดีแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันจอมเทพจอมนาคและจอมนระบูชาแล้ว อัน จอมมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ขอท่านทั้งหลาย จงประนม มือ ถวายบังคมพระสรีระนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นพระพุทธเจ้า ทั้งหลายหาได้ยากโดยร้อยแห่งกัป ฯ พระทนต์ ๔๐ องค์ บริบูรณ์ พระเกศา และ พระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานำไปองค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆ กันไปในจักรวาล ดังนี้แล ฯ
( พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ข้อที่ ๑๕๙-๑๖๒)

#14 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 07:41 PM

มาชมฉากช่วงปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากันครับ


หลังจากพระพุทธองค์ได้ตรัสสั่ง(ดี) เรื่องการใช้คำเรียก อาวุโส, ภันเต, อายัสมา, ของสงฆ์แล้ว
สั่งลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะแล้ว
เปิดโอกาสให้ภิกษุทั้งหลายถามข้อสงสัย
ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในข้อปฏิบัติแล้ว


[๑๔๓] อถโข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ
หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ ฯ
อย ตถาคตสฺส ปจฺฉิมา วาจา ฯ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เธอทั้งหลายจงทำหน้าที่ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด”
นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต
อ้างอิงจาก-พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ข้อที่ ๑๔๓ หน้าที่ ๑๘๐.

นี่คือคำสั่งสอนสุดท้ายจริงๆ ที่ออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์
หลังจากนี้ก็ไม่่ทรงตรัสอะไรออกมาอีกเลย

ปกติคำสั่ง(ดี)ครั้งสุดท้ายของคนเป็นพ่อแม่ที่มีต่อลูกหลานก่อนจะละโลกนี้ไป
ย่อมเป็นเรื่องสำคัญมาก ลูกหลานที่ดีจึงมักทำตามอย่างเคร่งครัด

แต่เรื่องที่พระบรมศาสดาของเราตรัสสั่ง(ดี)เป็นครั้่งสุดท้ายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือความไม่ประมาท
แสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้ต้องมีความสำคัญเอามากๆ ทีเดียว
เพราะจะเป็น บาป บุญ คุณ โทษ ดี ชั่ว ควร ไม่ควร เรารู้ตามคำสอนของพระองค์แล้ว
แต่คนเป็นอันมากเมื่อเวลาชักล่วงไปนานเข้า ก็มักประมาท มัวเมา ลืมหน้าที่ และวัตถุประสงค์ของราที่ลงมาเกิดกันบนโลกนี้
หรือที่หนักหน่อย ก็ประเภทดี-ชั่วรู้หมด แต่อดไม่ได้นั่นละครับ ซึ่งมีเยอะๆ มากๆ
เหตุนั้นพระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับความไม่ประมาท ถึงขั้นนำมาเป็น 'ปัจฉิมาวาจา' ดังนี้แล ครับ


#15 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 08:55 PM

ขณะที่พระองค์ทรงประทับนอนนิ่งอยู่นั้น ไม่ได้นอนเฉยๆนะครับ
แต่พระองค์เข้าฌานอยู่่ พระองค์เข้าฌานอะไรบ้าง มาดูกันเลยครับ

[๑๔๔] อถโข ภควา
ปมชฺฌาน สมาปชฺชิ ปมชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา
ทุติยชฺฌาน สมาปชฺชิ ทุติยชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา
ตติยชฺฌาน สมาปชฺชิ ตติยชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา
จตุตฺถชฺฌาน สมาปชฺชิ จตุตฺถชฺฌานา วุฏฺหิตฺวา
อากาสานฺจายตน สมาปชฺชิ อากาสานฺจายตนสมาปตฺติยา วุฏฺหิตฺวา
วิฺาณฺจายตน สมาปชฺชิ วิฺาณฺจายตนสมาปตฺติยา วุฏฺหิตฺวา
อากิฺจฺายตน สมาปชฺชิ อากิฺจฺายตนสมาปตฺติยา วุฏฺหิตฺวา
เนวสฺานาสฺาตยน สมาปชฺชิ เนวสฺานาสฺายตนสมาปตฺติยา วุฏฺหิตฺวา
สฺาเวทยิตนิโรธ สมาปชฺชิ ฯ

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาค
(๑) ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน
(๒) ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน
(๓) ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน
(๔) ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌาน
(๕) ทรงเข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติ
(๖) ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
(๗) ทรงเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติ
(๘) ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
(๙) ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

อถโข อายสฺมา อานนฺโท อายสฺมนฺต อนุรุทฺธ เอตทโวจ
ปรินิพฺพุโต ภนฺเต อนุรุทฺธ ภควาติ ฯ

ขณะนั้น ท่านพระอานนท์เรียนถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วหรือ”

นาวุโส อานนฺท ภควา ปรินิพฺพุโต สฺาเวทยิตนิโรธ สมาปนฺโนติ ฯ
ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านอานนท์ผู้มีอายุ
พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่”

ที่พระอานนท์ต้องถามพระอนุรุทธะอย่างนั้น
เพราะคนที่เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธนี้
จะดูเหมือนคนที่ตายแล้ว คือไม่หายใจ
ไม่มีความรู้สึกใดๆ แม้นำไปเผาไฟก็ไม่ไหม้
จะไม่มีการรับรู้ หรือตอบสนองต่อโลกภายนอกเลยแม้แต่น้อย
ก็ผู้เป็นเลิศทางทิพยจักษุ จึงจะรู้ลำดับการเดินฌานของพระพุทธเ้จ้าได้
ว่าไปถึงไหนแล้ว หรือกำลังหยุดอยู่ที่ฌานใด เป็นบารมีของท่านพระอนุรุทธะครับ


#16 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 09:12 PM

การเดินฌานยังไม่หยุดแค่นั้นครับ มาดูต่อดีกว่า

อถโข ภควา สฺาเวทยิตนิโรธสมาปตฺติยา วุฏฺหิตฺวา
เนวสฺานาสฺายตน สมาปชฺชิ เนวสฺานาสฺายตนสมาปตฺติยา วุฏฺหิตฺวา
อากิฺจฺายตน สมาปชฺชิ อากิฺจฺายตนสมาปตฺติยา วุฏฺหิตฺวา
วิฺาณฺจายตน สมาปชฺชิ วิฺาณฺจายตนสมาปตฺติยา วุฏฺหิตฺวา
อากาสานฺจายตน สมาปชฺชิ อากาสานฺจายตนสมาปตฺติยา วุฏฺหิตฺวา
จตุตฺถ ฌาน สมาปชฺชิ จตุตฺถา ฌานา วุฏฺหิตฺวา
ตติย ฌาน สมาปชฺชิ ตติยา ฌานา วุฏฺหิตฺวา
ทุติย ฌาน สมาปชฺชิ ทุติยา ฌานา วุฏฺหิตฺวา
ปม ฌาน สมาปชฺชิ ปมา ฌานา วุฏฺหิตฺวา
ทุติย ฌาน สมาปชฺชิ ทุติยา ฌานา วุฏฺหิตฺวา
ตติย ฌาน สมาปชฺชิ ตติยา ฌานา วุฏฺหิตฺวา
จตุตฺถ ฌาน สมาปชฺชิ ฯ จตุตฺถา ฌานา วุฏฺหิตฺวา
สมนนฺตรา ภควา ปรินิพฺพายิ ฯ

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
(๑๐) ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
(๑๑) ทรงเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติ
(๑๒) ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
(๑๓) ทรงเข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติ
(๑๔) ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌาน
(๑๕) ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน
(๑๖) ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน
(๑๗) ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน
(๑๘) ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน
(๑๙) ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน
(๒๐) ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌาน
แล้วได้เสด็จดับขันธปรินิพพานในลำดับถัดมา

เป็นการเดินฌานถอยลำดับลงมาครับ
ที่น่าสังเกตุคือ การดับขันธปรินิพพาน หลังจากพระองค์ออกจากจตุุุตถฌาน
หรือฌานที่ ๔ ซึ่่งเป็นฌานที่สูงสุดในบรรดา'รูปฌาน'ด้วยกัน?


#17 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 09:26 PM

มาดูกันครับว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง หลังวินาทีที่พุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน
และมีใครพูด หรือกล่าวอะไรไว้บ้าง

[๑๔๕] ปรินิพฺพุเต ภควติ สห ปรินิพฺพานา
มหาภูมิจาโล อโหสิ ภึสนโก โลมหโส เทวทุนฺทภิโย จ ผลึสุ ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ได้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงน่ากลัวขนพองสยองเกล้า
ทั้งกลองทิพย์ก็ดังกึกก้องขึ้นพร้อมกับการเสด็จดับขันธปรินิพาน

[๑๔๖] ปรินิพฺพุเต ภควติ สห ปรินิพฺพานา พฺรหฺมา สหมฺปติ อิม คาถ อภาสิ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ท้าวสหัมบดีพรหม กล่าวคาถานี้ขึ้นพร้อมกับการเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า

สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสย
ยตฺถ เอตาทิโส สตฺถา โลเก อปฺปฏิปุคฺคโล
ตถาคโต พลปฺปตฺโต สมฺพุทฺโธ ปรินิพฺพุโตติ ฯ

“สรรพสัตว์จะต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก
พระศาสดาผู้หาใครเปรียบเทียบไม่ได้ในโลก
ผู้เข้าถึงสภาวะตามความเป็นจริง ผู้บรรลุพลธรรม
ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบเช่นนี้ ก็ยังปรินิพพาน”

[๑๔๗] ปรินิพฺพุเต ภควติ สห ปรินิพฺพานา สกฺโก เทวานมินฺโท อิม คาถ อภาสิ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ท้าวสักกะจอมเทพ กล่าวคาถานี้ขึ้นพร้อมกับการเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า

อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตส วูปสโม สุโขติ ฯ

“สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบแห่งสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข”

[๑๔๘] ปรินิพฺพุเต ภควติ สห ปรินิพฺพานา อายสฺมา อนุรุทฺโธ อิมา คาถา อภาสิ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ท่านพระอนุรุทธะ กล่าวคาถาเหล่านี้ขึ้นพร้อมกับการเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า

นาหุ อสฺสาสปสฺสาโส ิตจิตฺตสฺส ตาทิโน
อเนชฺโช สนฺติมารพฺภ ย กาลมกรี มุนิ ฯ

“ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ของพระผู้มีพระภาคผู้มีพระทัยมั่นคง ผู้คงที่ ไม่มีแล้ว
พระมุนีผู้ไม่หวั่นไหว ทรงมุ่งใฝ่สันติ ปรินิพพานเสียแล้ว

อสลฺลีเนน จิตฺเตน เวทน อชฺฌวาสยิ
ปชฺโชตสฺเสว นิพฺพาน วิโมกฺโข เจตโส อหูติ ฯ

พระองค์ผู้มีพระทัยไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาได้
มีพระทัยหลุดพ้นแล้ว ดุจดวงประทีปที่เคยโชติช่วงดับไปฉะนั้น”

[๑๔๙] ปรินิพฺพุเต ภควติ สห ปรินิพฺพานา อายสฺมา อานนฺโท อิม คาถ อภาสิ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ท่านพระอานนท์ กล่าวคาถานี้ขึ้นพร้อมกับการเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า

ตทาสิ ย ภึสนก ตทาสิ โลมหสน
สพฺพาการวรูเปเต สมฺพุทฺเธ ปรินิพฺพุเตติ ฯ

“เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระอาการอันล้ำเลิศทุกอย่าง ปรินิพพานแล้ว
ได้เกิดเหตุอัศจรรย์น่ากลัวขนพองสยองเกล้า


#18 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 09:39 PM

บรรดาพระภิกษุท่านมีอาการอย่างไรกันบ้าง ณ นาทีที่รู้ว่าพระบรมศาสดาเสด็จดับขันธปรินิพพานเสียแล้ว
บรรยากาศจะมีความน่าเศร้าโศก หรือน่าสลดสังเวชอย่างไร ลองนึกสภาพตอนนั้นดูครับ

[๑๕๐] ปรินิพฺพุเต ภควติ
เย เตตฺถ ภิกฺขู อวีตราคา อปฺเปกจฺเจ พาหา ปคฺคยฺห กนฺทนฺติ
ฉินฺนปาท วิย ปปตนฺติ อาวฏฺฏนฺติ วิวฏฺฏนฺติ
อติขิปฺป ภควา ปรินิพฺพุโต อติขิปฺป สุคโต ปรินิพฺพุโต อติขิปฺป จกฺขุมา โลเก อนฺตรหิโตติ ฯ
เย ปน เต ภิกฺขู วีตราคา เต สตา สมฺปชานา อธิวาเสนฺติ
อนิจฺจา วต สงฺขารา ต กุเตตฺถ ลพฺภาติ ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
บรรดาภิกษุเหล่านั้นพวกที่ยังมีราคะ พากันประคองแขนคร่ำครวญ
ล้มเกลือกกลิ้งไปมา เหมือนคนเท้าขาด เพ้อรำพันว่า
“พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกด่วนอันตรธานไปแล้ว”
ส่วนภิกษุผู้ไม่มีราคะ มีสติสัมปชัญญะ ก็อดกลั้นได้ว่า
“สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหล่าสัตว์จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้”

[๑๕๑] อถโข อายสฺมา อนุรุทฺโธ ภิกฺขู อามนฺเตสิ
อล อาวุโส มา โสจิตฺถ มา ปริเทวิตฺถ
น นุ เอต อาวุโส ภควตา ปฏิกจฺเจว
อกฺขาต สพฺเพเหว ปิเยหิ มนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว อฺถาภาโว
ต กุเตตฺถ อาวุโส ลพฺภา ยนฺต ชาต ภูต สงฺขต ปโลกธมฺม
ต วต มา ปลุชฺชีติ เนต าน วิชฺชติ
เทวตา อาวุโส อุชฺฌายนฺตีติ ฯ

ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเตือนภิกษุทั้งหลายว่า
“อย่าเลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย
เรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเคยตรัสสอนไว้มิใช่หรือว่า
ความพลัดพราก ความทอดทิ้ง ความแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
จากของรักของชอบใจทุกอย่าง จะต้องมี
ฉะนั้น จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้
สิ่งที่เกิดขึ้น มีขึ้น ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ล้วนแตกสลายเป็นธรรมดา
เป็นไปไม่ได้ทีจะปรารถนาว่า ‘ขอสิ่งนี้อย่าเสื่อมสลายไปเลย’
ท่านผู้มีอายุทั้งหลายพวกเทวดากำลังตำหนิอยู่”


#19 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 09:45 PM

มาดูฝ่ายเทวดากันบ้างครับว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

กถภูตา ปน ภนฺเต อนุรุทฺธ เทวตา มนสิกโรนฺตีติ ฯ
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านอนุรุทธะ พวกเทวดาเป็นอย่างไร ทำใจได้หรือ”

สนฺตาวุโส อานนฺท
เทวตา อากาเส ปวีสฺินิโย
เกเส ปกิริย กนฺทนฺติ พาหา ปคฺคยฺห กนฺทนฺติ ฉินฺนปาท วิย ปปตนฺติ อาวฏฺฏนฺติ วิวฏฺฏนฺติ
อติขิปฺป ภควา ปรินิพฺพุโต อติขิปฺป สุคโต ปรินิพฺพุโต อติขิปฺป จกฺขุมา โลเก อนฺตรหิโตติ

ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า “ท่านอานนท์
มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กำหนดแผ่นดินขึ้นบนอากาศ
สยายผม ประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนคนเท้าขาด เพ้อรำพันว่า
“พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกด่วนอันตรธานไปแล้ว”

สนฺตาวุโส อานนฺท เทวตา ปวิยา ปวีสฺินิโย
เกเส ปกิริย กนฺทนฺติ ฯเปฯ อนฺตรหิโตติ ฯ

มีเทวดาบางพวกเป็นผู้กำหนดแผ่นดินขึ้นบนแผ่นดิน
สยายผม ประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญ ล้มกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนคนเท้าขาด ฯลฯ

ยา ปน เทวตา วีตราคา ตา สตา สมฺปชานา อธิวาเสนฺติ
อนิจฺจา สงฺขารา ต กุเตตฺถ ลพฺภาติ ฯ

ส่วนเทวดาที่ไม่มีราคะ มีสติสัมปชัญญะ ก็อดกลั้นได้ว่า
“สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหล่าสัตว์จะพึงหาได้อะไรจากที่ไหนในสังขารนี้”

อถโข อายสฺมา จ อนุรุทฺโธ อายสฺมา จ อานนฺโท ต รตฺตาวเสส ธมฺมิยา กถาย วีตินาเมสุ ฯ
ท่านพระอนุรุทธะกับท่านพระอานนท์ ให้เวลาผ่านไปด้วยการแสดงธรรมีกถาตลอดคืนยันรุ่ง

คืนนั้นผ่านไปด้วยสภาพเช่นนี้ละครับ


#20 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 10:09 PM

มาดูฝ่ายฆารวาสบ้าง ไม่เหลือละครับ
ขนาดพระกับเทวดายังถึงกับนอนกลิ้งเกลือกร่ำไห้
มีก็แต่พระอนาคามี(หมดราคะ)ขึ้นไป จึงจะอดกลั้นกับสภาพความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่นี้ไว้ได้ครับ

อถโข อายสฺมา อนุรุทฺโธ อายสฺมนฺต อานนฺท อามนฺเตสิ
คจฺฉ อาวุโส อานนฺท กุสินาร
ปวิสิตฺวา โกสินารกาน มลฺลาน อาโรเจหิ
ปรินิพฺพุโต วาสิฏฺา ภควา
ยสฺสทานิ กาล มฺถาติ ฯ
เอว ภนฺเตติ โข อายสฺมา อานนฺโท อายสฺมโต อนุรุทฺธสฺส ปฏิสฺสุตฺวา
ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวร อาทาย อทุติโย กุสินาร ปาวิสิ ฯ

ต่อมา ท่านพระอนุรุทธะสั่งท่านพระอานนท์ว่า
“ไปเถิด อานนท์ผู้มีอายุ ท่านจงเข้าไปยังกรุงกุสินารา
แจ้งแก่เจ้ามัลละทั้งหลายผู้ครองกรุงกุสินาราว่า
‘วาเสฏฐะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว
ขอท่านทั้งหลายจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด’
ท่านพระอานนท์รับคำแล้ว
ตอนเช้าจึงครองอันตรวาสกถือบาตและจีวร เข้าไปยังกรุงกุสินาราเพียงผู้เดียว

[๑๕๒] เตน โข ปน สมเยน โกสินารกา มลฺลา
สณฺาคาเร สนฺนิปติตา โหนฺติ เกน กรณีเยน ฯ
อถโข อายสฺมา อานนฺโท เยน โกสินารกาน มลฺลาน สณฺาคาร
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา โกสินารกาน มลฺลาน อาโรเจสิ
ปรินิพฺพุโต วาสิฏฺา ภควา ยสฺสทานิ กาล มฺถาติ ฯ

ขณะนั้น พวกเจ้ามัลละผู้ครองกรุงกุสินารา
กำลังประชุมกันอยู่ที่สันฐาคารเกี่ยวกับเรื่องปรินิพพาน
ท่านพระอานนท์เข้าไปที่สัณฐาคารของพวกเจ้ามัลละแล้วถวายพระพรว่า
“วาเสฏฐะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว
ขอท่านทั้งหลายจงกำหนดเวลาที่สมควร ณ บัดนี้เถิด”

อิทมายสฺมโต อานนฺทสฺส สุตฺวา มลฺลา จ มลฺลปุตฺตา จ มลฺลสุณิสา จ มลฺลปชาปติโย จ
อฆาวิโน ทุมฺมนา เจโตทุกฺขสมปฺปิตา
อปฺเปกจฺเจ เกเส ปกิริย กนฺทนฺติ พาหา ปคฺคยฺห กนฺทนฺติ
ฉินฺนปาท วิย ปปตนฺติ อาวฏฺฏนฺติ วิวฏฺฏนฺติ
อติขิปฺป ภควา ปรินิพฺพุโต อติขิปฺป สุคโต ปรินิพฺพุโต อติขิปฺป จกฺขุมา โลเก อนฺตรหิโตติ ฯ

พวกเจ้ามัลละ โอรส สุณิสา และปชาบดีของพวกเจ้ามัลละ
พอได้สดับข่าว(จาก)ท่านพระอานนท์อย่างนี้แล้ว ทรงโศกเสียพระทัย เปี่ยมไปด้วยโทมนัส
บางพวกสยายพระเกศา ทรงประคองพระพาหา ทรงกันแสงคร่ำครวญ
ล้มกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนคนเท้าขาด ทรงเพ้อรำพันว่า
“พระผู้มีพระภาคด่วนปรินิพพาน พระสุคตด่วนปรินิพพานเสีย จักษุของโลกด่วนอันตรธานไปแล้ว”

นี่แหละครับคือฉากช่วงการดับขันธปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา
สง่างามสมพระเกียรติสมศักดิ์แห่งศาสดาเอกของโลกแล้ว น่าประทับใจมากๆ ครับ
ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ คราวหน้ามีอะำรดีๆ จะเอามาฝากชาวเว็บ DMC อีก
สมาชิกที่นี่มีจิตใจดีกันมากครับ อนุโมทนาบุญทั้งหลายทั้งปวงที่ท่านร่วมแรงร่วมใจทำกันมาด้วยดีตลอดครับ
สาธุครับ.


#21 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 May 2008 - 08:08 AM

ฝากบทกวีส่งท้ายครับ

dry.gif สุริยาไลยล่วงแล้ว -----อัษฎง
ปรมุธาญชลี --------------มุนิเจ้า
ข้าข้อยจิตผจง -----------รักภักดิ กัลปนา
เวยยชิวิตรข้าเฝ้า ---------สัตถวาร

dry.gif คือมณีเนตรเศร้า ------เสียแสง
คือระแหงดินเดือน --------อกร้าว
คือสูรยยามแลง -----------ลงดับ
คือโลกยฟ้าฟ้าว ----------ฟาดเศียร

dry.gif ถวิลมนัสเถ้า ----------โลกมลาย
ปางปิ่นชิเนนทร -----------ทอดหล้า
ฤทยางคจรจราย ----------จอมนิพ พานนา
ศรีอริย์เจ้าข้า --------------บาทคัล

ศรีวยาฆร ประพันธ์.


#22 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 30 May 2008 - 12:18 PM

อนุโมทนา นรอ. shivayaghr
ที่นำธรรมะส่วนขยายความเพิ่มช่วงพุทธปรินิพพานมาแบ่งปันครับ


#23 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 June 2008 - 03:37 AM

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ