ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

นักแสดงเป็นสัมมาอาชีวะหรือเปล่าครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 12 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 อยากมีคนอยู่กลางกาย

อยากมีคนอยู่กลางกาย
  • Members
  • 68 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 May 2008 - 06:50 PM

คือ ผมได้อ่านกระทู้หนึ่ง แล้วผมก็เกิดความคิดจะถามว่า

การเป็นนักแสดง ซึ่งเป็นการให้ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ

ไม่ได้มีสิ่งใดร้ายเลย

เป็นสัมมาอาชีวะหรือเปล่า

เพราะผมเป็นนักแสดงด้วย

กลัวเอาเงินทำบุญจะได้บุญน้อยอะครับ

๑.กุศลธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายกุศล เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีขาวใส กายในกายขาวใสทั้งหมด เรียกว่าภาคพระ ภาคขาว ภาคบุญ

๒.อกุศลาธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีดำ กายในกายดำทั้งหมด เรียกว่า ภาคมาร ภาคดำ ภาคบาป

๓.อัพยากตาธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายอัพยากตา เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีตะกั่วตัด กายในกายสีตะกั่วตัดทั้งหมด เรียกว่า ภาคกลาง ภาคไม่บูญไม่บาป


ทั้ง ๓ ธาตุธรรมนี้ ย่อมมีต้นธาตุ ทำหน้าที่ปกครองธาตุธรรมตลอดสาย
ต้นธาตุถือเป็นผู้บัญชาการในธาตุธรรมนั้นๆ ทำหน้าที่ปกครองธาตุธรรมในนิพพาน


#2 crystalkids

crystalkids
  • Members
  • 110 โพสต์
  • Location:1341 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนงเหนือ กรุงเทพฯ 10110

โพสต์เมื่อ 27 May 2008 - 11:08 PM

จริงหรอครับที่เป็นนักแสดง 555+ ผมก็เป็นนักแสดงครับแต่เป็นละครฟื้นฟูศีลธรรมโลก เคยกราบเรียนถามพระอาจารย์แล้วก็พี่ๆหลายๆท่านอะครับ ก็พอจะได้คำตอบว่าเป็นสัมมาอาชีวะแต่จะติดเศษกรรมถ้าทำให้คนดูเกิดกิเลส แล้วยิ่งถ้าคนดูใจหมองเวลาดูเราก็มีผลเหมือนกันครับ
ให้เธอเพียรทำใจนิ่งสงบ
ไม่คาดหวังได้พบอะไรใหม่
เป็นใจเพียงไม่อยากได้ต่อสิ่งใด
ก็จะได้ทุกสิ่งที่ต้องการ


#3 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 10:31 AM

เป็นสัมมาอาชีวะครับ แต่ไม่เต็มร้อย% เพราะการแสดงในปัจจุบันเปรียบเสมือนสื่อการสอนในเชิงสร้างสรร แต่จะเป็นการสร้างสรรในเชิงบวกหรือลบก็ขึ้นอยู่กับบทที่เราได้รับ หากเป็นการสร้างสรรในเชิงบวกก็อาจจะจัดได้ว่าเป็นสัมมาอาชีวะเต็มร้อย อาจจะนะครับ ที่ใช้คำว่าอาจจะนั้นก็ต้องดูว่าคนที่ได้รับสื่อจะเข้าใจจุดมุ่งหมายในการแสดงหรือเปล่า แต่ถ้าหากเป็นการสร้างสรรในเชิงลบ แม้จะเป็นสัมมาอาชีวะก็อาจมีเศษกรรมหรือเป็นการปูพื้นผังสำเร็จติดตัวไปก็ได้ ยกตัวอย่าง ละครไทยในปัจจุบัน เกือบจะแทบทุกเรื่องเป็นการสร้างสรรในเชิงลบทั้งสิ้น เช่นบทตัวอิจฉา บทตัวร้าย จนทำให้คนดูอินไปกับบทละครก่อให้เกิดอารมณ์ที่รุนแรงตามไปด้วย ดังนั้นหากจะยึดอาชีพเป้นนักแสดงจริงให้ระวังตรงจุดนี้ด้วยนะครับ จะได้ไม่มีเศษกรรมติดตัวไปในภายภาคหน้า

ส่วนเรื่องการนำเงินจากการแสดงมาทำบุญนั้น หากเป็นกังวลเรื่องนี้มาก ก็ให้คัดเลือกเอาจากบทละครที่เรารับแสดงก็ได้ครับ หากบทไหนที่เราพิจารณาแล้วดูแล้วว่ามันจะส่งผลไม่ดีกับผุ้อื่น เงินส่วนนั้นเราก็เก็บไว้ใช้เอง แต่หากบทไหนที่ดูแล้วส่งเสริมในเชิงสร้างสรรในทางบวกเราก็เก็บเอาไว้ทำบุญก็ได้ครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#4 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 28 May 2008 - 12:56 PM

ในอดีตนักแสดง ได้บรรลุธรรมเป็น พระโสดาบัน ก็มีมาแล้วเช่นกันครับ เขาเป็นนักกายกรรมที่แสดงได้เก่งมาก มีอยู่วันหนึ่ง ผู้คนไม่มาชมเขาแสดง เพราะได้ข่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมา เขาก็แปลกใจ ทุกทีคนจะมาชมเขาแสดงเป็นจำนวนมาก จากนั้น เขาก็เลยลองตามผู้คนไปฟังธรรม แล้วก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันด้วยล่ะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#5 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 May 2008 - 11:10 AM

ยกตัวอย่างได้ดีมากครับคุณหัดฝัน คุณโน้ตก็เป็นนักแสดงที่เป็นคนดี เป็นต้น รวมถึงผู้แสดงในละครฟื้นฟูศีลธรรมโลก
บทคนไม่ดี อย่ารับแสดง
อย่าเชื่อที่เขาหลอกว่า นักแสดงต้องเล่นได้ทุกบท
เรากำหนดชีวิตตนเอง

#6 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 May 2008 - 11:24 AM

อาชีพนักแสดง ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม แต่อาจมีส่วนทำให้คนเกิด กิเลส ตัณหา " โลภ โกรธ หลง "

กิริยา ท่าทาง ที่แสดงออกไป รวมถึง การแต่งกาย ถ้าไม่มีจุดขาย ก็ ไม่มีคนดู ถ้าการแสดงของเรา ทำให้คนอื่น ลอกเลียนแบบไปใช้ ในทางที่ไม่ดี เราอาจมีส่วนแห่งเวรนั้นๆ

แต่หาก การแสดง ที่สื่อ และ ชักนำ ให้ คนดู มีสติ รู้คิด กระตุ้นจิตสำนึก เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เราก็จะได้รับอานิสงส์นั้นๆไปด้วย ค่ะ

วิธีลดผลกระทบ หากจำเป็นต้องทำ

1. อย่า มีจิต คิดยินดี ในการแสดง นั้นๆ ( หากได้รับบทไม่ดี )
2. อธิษฐานขอให้ ผู้ที่จะทำตามเลียนแบบวิธีที่ไม่ดีนี้ มีอุปสรรค ทำไม่สำเร็จ
3. พยายาม ทำกุศล บุญ อื่นๆ เพิ่มทับทวี
4. เป็นกัลยาณมิตร ชักชวนผู้อื่น ทำความดี



#7 boomy072

boomy072
  • Members
  • 45 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:ที่อยู่ในอนาคตคือ ดุสิตบุรีวงบุญพิเศษเขตบรมโพธิสัตว์เจ้าค่า

โพสต์เมื่อ 30 May 2008 - 11:24 AM

รบกวนสอบถามต่อหน่อยค่ะว่า ถ้าเป็นพวกมิวสิกวีดีโอล่ะคะ บาปรึเปล่า นอกจากคนแสดงแล้ว คนที่เป็นคนทำจะบาปมั้ยคะ ขอบพระคุณค่ะ

#8 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 May 2008 - 02:42 PM

ปัญหานี้ในครั้งพุทธกาลก็เคยมีคนมาถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกันครับ
ท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำ (นฎ; นฎก; นาฏก; นฎา; นโฎ=คนฟ้อนรำ, ตัวละคร)
(นาฏฺย = การฟ้อนรำ, การแสดงละคร, การขับร้องบรรเลงดนตรี) (นาฏฺยสาลา=โรงละคร)
ชื่อตาลบุตร ท่านมีความเชื่อว่า ผู้เป็นนักฟ้อนรำทำการแสดง ตายแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์
จริงๆ แล้ว ปัญหานี้พระพุทธเจ้าไม่สู้เต็มใจตอบนัก สังเกตจากพระองค์ทรงห้ามอยู่ถึง ๒ ครั้ง
และผู้ใหญ่นักฟ้อนรำต้องตื้อถามถึง ๓ ครั้ง พระองค์จึงทรงตรัสตอบให้

ซึ่งก็เข้าเค้าอย่างที่คุณ ฮ่องกง สาวซ่า (hk_girlza) ว่าไว้ละครับ
คือ หากเป็นไปเพื่อเพิ่มพูน ราคะ โทสะ โมหะ ก็เป็นบาปกรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ว่า หนักหนาขั้น ‘ตกนรกชื่อปหาสะ’ เชียวนะครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการแสดงนั้นๆ ท่านว่าเป็นเรื่องจริงบ้าง เท็จบ้าง ปนๆกัน ทั้งยังตนและผู้อื่นให้มัวเมาประมาท จึงจะเข้าข่ายนี้ครับ
ผมว่าท่านๆ ทั้งหลาย ลองมาศึกษาดูเรื่องนี้จากพระสูตรนี้ดีกว่าครับ


#9 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 May 2008 - 02:52 PM

นักแสดงอย่างไรเสี่ยงบาปกรรม(ตกนรก)

[๕๘๙] เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป ฯ
อถ โข ตาลปุตฺโต นฏคามณี เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา
ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ
เอกมนฺต นิสินฺโน โข ตาลปุตฺโต นฏคามณี ภควนฺต เอตทโวจ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำ ชื่อตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

สุต เมต ภนฺเต ปุพฺพกาน อาจริยปาจริยาน นฏาน ภาสมานาน
โย โส นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ สจฺจาลิเกน ชน หาเสติ รเมติ
โส กายสฺส เภทา ปร มรณา ปหาสาน เทวาน สหพฺยต อุปปชฺชตีติ ฯ
อิธ ภควา กิมาหาติ ฯ

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนักฟ้อนรำ ผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า
‘นักฟ้อนรำคนใดทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
นักฟ้อนรำคนนั้น หลังจากตายแล้ว จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ’
ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”

อล คามณิ ติฏฺเตต มา ม เอต ปุจฺฉีติ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
“อย่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย”

[๕๙๐] ทุติยมฺปิ โข ตาลปุตฺโต นฏคามณี ภควนฺต เอตทโวจ
สุตมฺเมต ภนฺเต ปุพฺพกาน อาจริยปาจริยาน นฏาน ภาสมานาน
โย โส นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ สจฺจาลิเกน ชน หาเสติ รเมติ
โส กายสฺส เภทา ปร มรณา ปหาสาน เทวาน สหพฺยต อุปปชฺชตีติ ฯ
อิธ ภควา กิมาหาติ ฯ  

แม้ครั้งที่ ๒ ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำ ชื่อตาลบุตร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนักฟ้อนรำ ผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า
‘นักฟ้อนรำคนใดทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
นักฟ้อนรำคนนั้น หลังจากตายแล้ว จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ’
ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”

อล คามณิ ติฏฺเตต มา ม เอต ปุจฺฉีติ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
“อย่าเลย ผู้ใหญ่บ้าน จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย”

ตติยมฺปิ โข ตาลปุตฺโต นฏคามณี ภควนฺต เอตทโวจ
สุตมฺเมต ภนฺเต ปุพฺพกาน อาจริยปาจริยาน นฏาน ภาสมานาน
โย โส นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ สจฺจาลิเกน ชน หาเสติ รเมติ
โส กายสฺส เภทา ปร มรณา ปหาสาน เทวาน สหพฺยต อุปปชฺชตีติ ฯ
อิธ ภควา กิมาหาติ ฯ

แม้ครั้งที่ ๓ ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำ ชื่อตาลบุตร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำของพวกนักฟ้อนรำ ผู้เคยเป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า
‘นักฟ้อนรำคนใดทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
นักฟ้อนรำคนนั้น หลังจากตายแล้ว จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ’
ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างไร”

[๕๙๑] อทฺธา โข ตฺยาห คามณิ นาลตฺถ อล คามณิ ติฏฺเตต มา ม เอต ปุจฺฉีติ ฯ
อปิจ ตฺยาห พฺยากริสฺสามิ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
“ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย’
แต่เอาเถิด เราจักตอบแก่ท่าน



ปุพฺเพ โข คามณิ สตฺตา อวีตราคา ราคพนฺธนพนฺธา
เตส นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ เย ธมฺมา รชนิยา
เต อุปสหรติ ภิยฺโย สราคาย ฯ  

เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากราคะ ถูกเครื่องผูกคือราคะผูกไว้
นักฟ้อนรำย่อมรวบรวมธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
เข้าไปกลางโรงละคร กลางงานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นโดยประมาณยิ่ง

ปุพฺเพ โข คามณิ สตฺตา อวีตโทสา โทสพนฺธนพนฺธา
เตส นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ เย ธมฺมา โทสนิยา
เต อุปสหรติ ภิยฺโย สโทสาย ฯ

เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากโทสะ ถูกเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้
นักฟ้อนรำย่อมรวบรวมธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
เข้าไปกลางโรงละคร กลางงานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นโดยประมาณยิ่ง

ปุพฺเพ โข คามณิ สตฺตา อวีตโมหา โมหพนฺธนพนฺธา
เตส นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ เย ธมฺมา โมหนิยา
เต อุปสหรติ ภิยฺโย สโมหาย ฯ

เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากโมหะ ถูกเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้
นักฟ้อนรำย่อมรวบรวมธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง
เข้าไปกลางโรงละคร กลางงานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นโดยประมาณยิ่ง

โส อตฺตนา มตฺโต ปมตฺโต ปมาเท ตฺวา
กายสฺส เภทา ปร มรณา ปหาโส นาม นิรโย ตตฺถ อุปปชฺชติ ฯ

นักฟ้อนรำนั้นตนเองก็มัวเมาประมาท ทั้งทำให้ผู้อื่นมัวเมาประมาทด้วย
หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในนรกชื่อปหาสะ


#10 ศรีวยาฆร

ศรีวยาฆร
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 May 2008 - 02:59 PM

สเจ โข ปนสฺส เอว ทิฏฺิ โหติ
โย โส นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ สจฺจาลิเกน ชน หาเสติ รเมติ
โส กายสฺส เภทา ปร มรณา ปหาสาน เทวาน สหพฺยต อุปปชฺชตีติ ฯ
สาสฺส จ โหติ มิจฺฉาทิฏฺิ
มิจฺฉาทิฏฺิกสฺส โข ปนาห คามณิ ปุริสปุคฺคลสฺส ทฺวินฺน คตีน อฺตร คตึ วทามิ
นิรย วา ติรจฺฉานโยนึ วาติ ฯ

แต่ถ้าเขามีความเห็นว่า
‘นักฟ้อนรำคนใดทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
นักฟ้อนรำคนนั้น หลังจากตายแล้ว จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ
ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
และผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เรากล่าวว่ามีคติอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ
นรก หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน


[๕๙๒] เอว วุตฺเต ตาลปุตฺโต นฏคามณี ปโรทิ อสฺสูนิ ปวตฺเตสิ ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำ ชื่อตาลบุตรได้ร้องไห้ น้ำตาไหลพราก

เอต โข ตฺยาห คามณิ นาลตฺถ อล คามณิ ติฏฺเตต มา ม เอต ปุจฺฉีติ ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ผู้ใหญ่บ้าน เราได้ห้ามท่านแล้วว่า ‘อย่าเลย จงพักปัญหาข้อนี้ไว้ อย่าถามเราเลย”

นาห ภนฺเต เอต โรทามิ ย ม ภควา เอวมาห ฯ
อปิ จาห ภนฺเต ปุพฺพเกหิ อาจริยปาจริเยหิ นเฏหิ ทีฆรตฺต นิกโต วฺจิโต ปลุทฺโธ
โย โส นโฏ รงฺคมชฺเฌ สมชฺชมชฺเฌ สจฺจาลิเกน ชน หาเสติ รเมติ
โส กายสฺส เภทา ปร มรณา ปหาสาน เทวาน สหพฺยต อุปปชฺชตีติ ฯ

ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำกราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้เพราะพระองค์ตรัสอย่างนั้นกับข้าพระองค์
แต่ข้าพระองค์ถูกพวกนักฟ้อนรำผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ หลอกลวงให้หลงมานานว่า
‘นักฟ้อนรำคนใด ทำให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำจริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ
นักฟ้อนรำคนนั้น หลังจากตายแล้ว จะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ

อภิกฺกนฺต ภนฺเต อภิกฺกนฺต ภนฺเต
เสยฺยถาปิ ภนฺเต นิกฺกุชฺชิต วา อุกฺกุชฺเชยฺย ปฏิจฺฉนฺน วา วิวเรยฺย มูฬฺหสฺส วา มคฺค อาจิกฺเขยฺย
อนฺธกาเร วา เตลปฺปชฺโชต ธาเรยฺย จกฺขุมนฺโต รูปานิ ทกฺขนฺตีติ ฯ
เอวเมว ภควตา อเนกปริยาเยน ธมฺโม ปกาสิโต ฯ
เอสาห ภนฺเต ภควนฺต สรณ คจฺฉามิ ธมฺมฺจ ภิกฺขุสงฺฆฺจ
ลเภยฺยาห ภนฺเต ภควโต สนฺติเก ปพฺพชฺช ลเภยฺย อุปสมฺปทนฺติ ฯ  

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนตาดีจักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ
ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค”

อลตฺถ โข ตาลปุตฺโต นฏคามณี ภควโต สนฺติเก ปพฺพชฺช อลตฺถ อุปสมฺปท ฯ
อจิรูปสมฺปนฺโน จ ปนายสฺมา ตาลปุตฺโต เอโก วูปกฏฺโ
อปฺปมตฺโต อาตาปี ปหิตตฺโต วิหรนฺโต ฯเปฯ
อฺตโร จ ปนายสฺมา ตาลปุตฺโต อรหต อโหสีติ ฯ

ผู้ใหญ่บ้านนักฟ้อนรำ ชื่อตาลบุตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค
และท่านพระตาลบุตรอุปสมบทได้ไม่นาน ก็หลีกออกไปอยู่คนเดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ฯลฯ
อนึ่ง ท่านพระตาลบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย


อ้างอิงจาก-พระไตรปิฎก เล่มที่่ ๑๘ ข้อที่ ๕๘๙-๕๙๒ หน้าที่ ๓๗๗-๓๘๐.

*อ่านจบครบแล้ว พิจารณาใคร่ครวญถี่ถ้วนละเอียดดีแล้ว มีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ*

ส่วนผมคิดว่า ถ้าเรื่องที่แสดงเป็นเรื่องจริง และไม่ยั่วยุให้คนเกิด ราคะ โทสะ และโมหะ จนประมาท ก็ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ.


#11 Bruce Wayne

Bruce Wayne
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 May 2008 - 01:31 PM

ประเด็นสำคัญคือ ให้ดูความเห็นของคุณ shivayaghr ในความคิดเห็นที่ 9 ช่วง 2บรรทัดสุดท้าย
คือ นักฟ้อนรำนั้นตนเองก็มัวเมาประมาท มัวเมาใน ราคะ โทสะ โมหะ แล้วยังทำให้ผู้อื่นมัวเมา
ประมาทไปด้วย หลังจากตายจึงจะตกนรกปหาสะ ครับ

ถ้าหากว่านักเเสดงไม่มัวเมาประมาท ทั้งยังไม่ได้ทำให้ผู้อื่นมัวเมาประมาท ก็ไม่ตกนรกขุมปหาสะ
และก็จะไม่ตกนรกขุมอื่นด้วยครับ

บางคนเขาเอาไปตีความแบบครอบจักรวาลว่า นักแสดงจะต้องตกนรกขุมปหาสะทุกคน ซึ่งไม่ใช่ ให้พิจารณาอย่างรอบคอบด้วยนะครับทุกท่าน


#12 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 02:02 PM

อนึ่ง ท่านพระตาลบุตรได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย สาธุ

พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#13 เด็กอนุบาลหน้าใสใจดี

เด็กอนุบาลหน้าใสใจดี
  • Members
  • 938 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 June 2008 - 09:25 PM

สาธุ.. สาธุ.. สาธุ.. happy.gif
ชีวิตคือการเข้ากลาง..
ที่สุดแห่งธรรมนั้นเป็นเป้าหมาย..
โลกจะสุขสันต์เมื่อท่านเข้าถึงธรรมกาย..
สว่างไสวทั่วทุกธาตุธรรม..