ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

อธิษฐานบารมี


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ชินจัง

ชินจัง
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 November 2005 - 01:41 PM

สงสัยมานานแล้ว แต่ไม่ทราบจะหาคำตอบได้ที่ไหน เมื่อก่อนเข้าวัดเวลาทำบุญไม่เคยอธิษฐาน
หลังจากเข้าวัดได้ 1 ปี เริ่มเข้าใจมากขึ้น แต่เมื่ออ่านหนังสือแล้วพบว่า การอธิษฐาน เป็นบารมีอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าท่านสั่งสม จึงเกิดความสงสัยว่า อธิษฐานอย่างไรจึงเกิดเป็นบารมีได้ และเมื่อเกิดบารมีนี้ขึ้นมาแล้ว
จะเกิดอานิสงส์ อย่างไร ช่วยไขข้อข้องใจให้ที

#2 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 30 November 2005 - 05:45 PM

เป็นการส่งความตั้งใจของตนเองให้แน่วแน่ ว่าเราต้องการให้บุญที่เราทำไปส่งผลอย่างไร
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#3 เป็นหนึ่ง

เป็นหนึ่ง
  • Members
  • 354 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 November 2005 - 07:44 PM

_____________________________________________________________________

อธิษฐาน
1. ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำตัวชนิดนั้นๆ
เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน
ส่วนของชนิดนั้น ที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร,
คำอธิษฐาน เช่น “อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺฐามิ”
(ถ้าอธิษฐานของอื่น ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้น เช่น เป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น)
2. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐),
ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา

ที่มา http://84000.org/tip...hp?text=อธิษฐาน

_____________________________________________________________________

ดังนั้น การตั้งจิตอธิษฐาน คือการตั้งใจมั่นในสิ่งที่เรากระทำครับ เหมือนพระโพธิสัตว์ที่ท่านตั้งใจมั่นในการสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้า การอธิษฐานจึงเป็นบารมีสำคัญข้อหนึ่งในบารมีทั้ง ๑๐ ทัศ อานิสงค์ของบารมีข้อนี้ คือ ทำให้เราตั้งมั่น ไม่ออกนอกลู่นอกทางในการสร้างบารมีครับ การอธิษฐานจึงไม่ใช่การขอนู่นขอนี่ แต่เป็นการตั้งจิตเพื่อให้สิ่งที่เรากระทำลงไป ตรงตามเป้าหมายที่เราต้องการ คือ พระนิพพานและที่สุดแห่งธรรมครับ

#4 **

**
  • Guests

โพสต์เมื่อ 30 November 2005 - 07:49 PM

การอธิษฐาน ถือเป็นบารมี 1 ใน 10 ทัศที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ต้องสั่งสมให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้

การอธิษฐานนั้น ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนหางเสือเรือ ที่จะคัดท้ายนาวาชีวิตให้ไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัยและรวดเร็ว ถ้าปราศจากการอธิษฐานเสียแล้ว ชีวิตก็เหมือนเรือที่ขาดหางเสือ ไม่มีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน ได้แต่ลอยตามน้ำ ตามกระแสกิเลส ยากที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้

ดังนั้นการอธิษฐานที่เรียกว่าเป็นอธิษฐานบารมีคือ การอธิษฐานเพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน ให้มีสิ่งดีๆ บังเกิดขึ้นในชีวิตเพื่อเกื้อหนุนในการสร้างบารมี สร้างความดี ได้ยิ่งๆ ขึ้นไป

สำหรับข้อดีของการอธิษฐานบารมีก็เหมือนกับที่ผมบอกข้างบน คือ เป็นหางเสือชีวิต เป็นการตั้งผังชีวิตในภพชาติต่อไป ว่าต้องการให้มีชีวิตเป็นอย่างไร หรือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ การอธิษฐานก็เหมือนกับการตั้งผังชีวิตที่ชัดเจนว่า การเกิดมาแต่ละภพแต่ละชาติ เราต้องการให้ชีวิตเราเป็นอย่างไร

แต่สิ่งที่อธิษฐานจะสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่า สิ่งทีเราปรารถนานั้นยิ่งใหญ่เพียงไหน ถ้าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่อย่างการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณหรือการบรรลุธรรม ก็ต้องใช้บุญมาก การทำบุญเพียงนิดๆ หน่อยๆ ไม่อาจจะทำให้เราบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณหรือบรรลุธรรมได้ เราจำเป็นต้องสั่งสมบุญบ่อยๆ แล้วอธิษฐานตอกย้ำในเรื่องเดิม สิ่งที่เราปรารถนาจึงจะสำเร็จ ถ้าชาตินี้ยังไม่สำเร็จ สิ่งทีเราอธิษฐานเอาไว้ก็จะเป็นเชื้อให้ภพชาติต่อไป เมื่อเรามาเกิดสร้างความดี สิ่งที่เราอธิษฐานเอาไว้ในชาติก่อนจะกระตุ้นเตือนให้เราอยากจะสร้างความดีเพิ่มขึ้น แล้วก็มาอธิษฐานในสิ่งที่ยังไม่สมหวังในชาติที่แล้ว

ถ้าจะให้อุปมา บุญเปรียบเสมือนเงิน สิ่งที่เราปรารถนาเปรียบเสมือนสิ่งของที่เราอยากได้ ถ้าสิ่งที่เราอยากได้ราคายิ่งแพง (คำอธิษฐาน) เราก็ต้องยิ่งเก็บเงินมากๆ (มีบุญมากๆ) เพื่อที่จะได้มีเงินไปซื้อของสิ่งนั้น (คำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผล)

แต่ผู้ฉลาดในการลงทุน แทนที่เอาแต่เก็บเงินทีละนิดๆ จนมีเงินพอไปซื้อของ ก็จะเอาเงินไปลงทุนเพิ่มเติม ขยายกิจการ ให้มีทางมาของเงินมากขึ้น จะได้ซื้อของที่อยากได้แต่ราคาแพงได้เร็วขึ้น ถ้าจะให้อุปมาก็เหมือน พอเราทำบุญแล้วเราอธิษฐานให้เราได้มี รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ มรรคผล นิพพาน ที่สุดแห่งธรรม คือ เราอธิษฐานให้บุญที่เรามีส่งผลให้เรามีรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ดีขึ้นในภพชาติต่อไป (คือ การลงทุนเพิ่มเติม ขยายกิจการ) แล้วเราก็นำรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ดีขึ้นในภพชาติต่อไป มาสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปกว่าภพชาติก่อน (คือ เรามีทางมาแห่งเงินมากขึ้น เหมือน เปลี่ยนฐานะจากมนุษย์เงินเดือนเป็นเจ้าของกิจการ) แล้วเราก็ตั้งจุดหมายปลายทางให้ชัดเจนว่า ให้มรรคผล นิพพาน ที่สุดแห่งธรรม (คือ สามารถซื้อสิ่งของราคาแพงทีเราอยากได้)

ดังนั้นคนในยุคปัจจุบันที่บอกว่า ทำบุญแล้วอธิษฐานเป็นการโลภนั้น เค้าไม่เข้าใจหลักการดำเนินชีวิตในวัฏฏสงสาร แต่ถ้าเราทำบุญแล้วอธิษฐานในสิ่งที่ผิด บุญก็จะบันดาลให้สำเร็จเหมือนกัน แต่จะทำให้ชีวิตแย่ลง เพราะเราจะหลงไปสร้างบาปเพิ่มเติมได้ครับ

#5 extra

extra
  • Members
  • 409 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 December 2005 - 06:34 PM

อนุโมทนาบุญกับผู้ที่ช่วยไขปัญหาด้วยค่ะ สาธุ
การอธิษฐาน เป็นการสร้างผังสำเร็จตามที่หลวงพ่อสอนนั่นเอง
หากไม่สร้างผัง ก็ไม่มีทางมีผัง
เหมือนเงินที่หามาได้ แต่ขาดการวางแผนใช้เงินที่ดี
เงินก็จะหมดไป โดยไม่เกิดประโยชน์เต็มที่
ทีนี้ ก็ขึ้นกับผู้มีบุญแล้วล่ะค่ะ
ว่าจะสร้างผังที่สร้างยากหรือง่าย จะได้วางแผนทำบุญได้ถูก
ที่สำคัญคือต้องอธิษฐานในสิ่งที่ดีนะคะ จะได้ไม่ไปอบาย
และไปถึงนิพพานได้โดยง่ายค่ะ happy.gif

#6 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 09 December 2005 - 06:27 AM

Ok, let's see it from this point of view smile.gif
การอธิษฐานนั้น เปรียบเหมือน blueprint of our life...when you build a house you have to design it and have a blue print for it, so you know what you get and where and when you want things be...
the same as our life...we have to design it and therefor การ อธิษฐาน is very important.
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#7 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 02:09 AM

QUOTE
ดังนั้น การตั้งจิตอธิษฐาน คือการตั้งใจมั่นในสิ่งที่เรากระทำครับ เหมือนพระโพธิสัตว์ที่ท่านตั้งใจมั่นในการสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้า การอธิษฐานจึงเป็นบารมีสำคัญข้อหนึ่งในบารมีทั้ง ๑๐ ทัศ อานิสงค์ของบารมีข้อนี้ คือ ทำให้เราตั้งมั่น ไม่ออกนอกลู่นอกทางในการสร้างบารมีครับ การอธิษฐานจึงไม่ใช่การขอนู่นขอนี่ แต่เป็นการตั้งจิตเพื่อให้สิ่งที่เรากระทำลงไป ตรงตามเป้าหมายที่เราต้องการ คือ พระนิพพานและที่สุดแห่งธรรมครับ


อธิฐานเป็นเช่นนั้นแล ขอโมทนาสาธุการด้วยครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#8 JOYSA

JOYSA
  • Members
  • 234 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 07:40 AM

คำว่า "อธิษฐาน" เป็นคำศัพท์บาลี ท่านหมายถึง "ความตั้งใจมั่น เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้บรรลุความมุ่งหมายของตน" ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า หมายถึง "การตั้งความปรารถนา มุ่งที่จะให้ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา" โดยกล่าวออกไปเป็นวาจา หรือ นึกอยู่ในใจต่อหน้าพระพุทธรูป พระพรหม เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเชื่อมั่น เคารพ สักการะบูชา ขอให้ช่วยเหลือ ดลบันดาลให้ตน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับตนได้ในสิ่งที่พึงปรารถนา เช่น ขอให้ลูกสอบเอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยได้ ขอให้ตนเองหายเจ็บป่วย พ้นจากความทุกข์ทรมานจากโรคาพยาธิ ขอให้ถูกล็อตเตอรี่ เป็นต้น การอธิษฐานในลักษณะนี้ ผู้อธิษฐานยังได้เสนอให้ผลประโยชน์ตอบแทนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในลักษณะถวายเครื่องสักการะที่เข้าใจว่า ท่านชอบเป็นพิเศษ ที่เรียกว่า "บนบาน ศาลกล่าว" เช่น การอธิษฐานกับท่านท้าวมหาพรหม ที่หน้าโรงแรมเอราวัณ ผู้อธิษฐานก็จะ(ให้สิน)บนด้วยการถวายช้างจำลองเมื่อสิ่งที่ตนได้อธิษฐานไว้ประสบความสำเร็จสมความปรารถนาเป็นต้น


แต่คำว่า "อธิษฐาน" ในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านได้เน้นไปในเรื่องการบำเพ็ญคุณธรรม คือ ความดีที่เป็นบุญกุศลเท่านั้น จึงจัดเป็นบารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความตั้งใจจริง มีความเด็ดเดี่ยว แน่วแน่ ที่จะมุ่งหน้า ค้นคว้าหาแก่นแท้ที่สุดของความเป็นจริง คือ "ปรมัตถธรรม" ที่เรียกว่า "อธิษฐานบารมี" ซึ่งเป็นบารมีหนึ่งในทศบารมีที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญมาก่อนที่จะทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณเช่นกัน นอกจาก "อธิษฐานบารมี" แล้ว ยังมีอีกบารมีหนึ่งที่จำเป็นต้องบำเพ็ญควบคู่กันเสมือนพี่น้องฝาแฝด คือ "สัจจบารมี"
"สัจจบารมี" เป็นอีกบารมีหนึ่งในทศบารมี คำว่า "สัจจะ" หมายถึง "จริงใจ คือ ความซื่อสัตย์", "จริงวาจา คือ พูดจริง" และ "จริงการ คือ ทำจริง" ส่วนคำว่า "บารมี" หรือ "ปารมี" มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ "อย่างยิ่ง, เลิศประเสริฐที่สุด" และ "คุณธรรมที่ได้สั่งสมกันมาโดยลำดับ หรือ การสะสมคุณงามความดี ทำบุญกุศลกันโดยลำดับต่อเนื่อง"
"สัจจบารมี" จึงหมายความว่า "บารมีที่เกิดขึ้นโดยวิธีการฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีความจริงใจ มีความซื่อสัตย์ พูดจริง กระทำจริง"

#9 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 05 February 2007 - 02:06 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ เพื่อล้อมกรอบ เหมือนมีน้ำมันคือบุญ แต่ต้องมีทิศทางเพื่อการใช้น้ำมันในการขับรถ ใช้เส้นทางที่สั้นที่สุด ไม่เถลไถลไปไหนกลาง เผื่อว่าหลงทางกลางป่า น้ำมันหมดจะแย่