ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

แบบทดสอบที่ 1


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 18 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 03:27 PM

nerd_smile.gif คำถามที่ ๑ บทบาทและความสำคัญของคำว่า "ศรัทธา" ที่มีต่อศาสนาต่างๆ ในโลกเป็นเช่นไร? ศรัทธาแบ่งออกเป็นกี่ระดับ? อะไรบ้าง? (10 คะแนน)

nerd_smile.gif คำถามที่ ๒ คำว่า "ทุกข์" ในนิทเทสแห่งอริยสัจนั้น แบ่งออกเป็นกี่ประเภท? แต่ละประเภทได้แก่อะไรบ้าง? (5 คะแนน)

nerd_smile.gif คำถามที่ ๓ เพราะเหตุใดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงคุณวิเศษด้วยการไม่ถูกประหารด้วยน้ำมือของผู้อื่น? (5 คะแนน)

"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#2 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 05:41 PM

_/\_
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#3 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 05:46 PM

QUOTE
คำถามที่ ๑ บทบาทและความสำคัญของคำว่า "ศรัทธา" ที่มีต่อศาสนาต่างๆ ในโลกเป็นเช่นไร? ศรัทธาแบ่งออกเป็นกี่ระดับ? อะไรบ้าง? (10 คะแนน)


ศรัทธาแบ่งออกเป็น

1 กัมมสัทธา เชื่อกรรม

2 วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม

3 กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

4 ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต

ศรัทธาที่มีต่อศาสนาต่างๆน่าจะจัดอยู่ในข้อ 3 กัมมัสสกตาสัทธา ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วครับ


QUOTE
คำถามที่ ๒ คำว่า "ทุกข์" ในนิทเทสแห่งอริยสัจนั้น แบ่งออกเป็นกี่ประเภท? แต่ละประเภทได้แก่อะไรบ้าง? (5 คะแนน)



ทุกข์ คือสภาพที่ทนได้ยากครับ แบ่งออกเป็น

1 นิพัทธทุกข์ ทุกข์ประจำ
2 ปกิณณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด
3 พาหิรทุกข์ ทุกข์ภายนอก
4 วิปากทุกข์ ทุกข์ที่เป็นผลของกรรมชั่ว
5 วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์เกิดเพราะการทะเลาะกันเป็นเหตุ
6 สงสารทุกข์ ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด
7 สภาวทุกข์ ทุกข์ที่เป็นเองตามคติแห่งธรรมดา คือเกิดแก่เจ็บตาย
8 สหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกันกับลาภยศสุขสรรเสริญ หรือทุขลาภ
9 สังขารทุกข์ ทุกข์เพราะเป็นสังขาร
10 สันตาปทุกข์ ทุกข์ คือความร้อนรุ่ม เพราะไฟกิเลส
11 อาหารปริเยฏฐิ ทุกข์ ทุกข์เกี่ยวกับการหาอาหาร
12 อาชีวทุกข์ ทุกข์เกี่ยวเนื่องด้วยการเลี้ยงชีพ

สำหรับทุกข์ในนิเทสแห่งอริยสัจได้แก่
ทุกขอริยสัจจ์ ทุกขสมุทัยอริยสัจจ์ ทุกขนิโรธอริยสัจจ์ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์ หมายถึงความจริงอันประเสริฐในความทุกข์ในอริยสัจทั้งหลาย
ไม่แน่ใจว่าถูกหรือป่าวครับ


QUOTE
คำถามที่ ๓ เพราะเหตุใดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงคุณวิเศษด้วยการไม่ถูกประหารด้วยน้ำมือของผู้อื่น? (5 คะแนน)


กายของพระองค์ เป็นกายที่เรียกว่าอเภทกาย แปลว่ากายไม่แตก ด้วยอานิสงค์ที่พระ องค์สั่งสมบุญบารมี30ทัศ ครบถ้วน ตลอดทั่วโลกธาตุแสนโกฏอนันตจักรวาล พระองค์ย่อมไม่ดับขันท์ปรินิพานด้วยผู้ใดทั้งสิ้น


ถ้าผิดพลาดอย่างไร รอเซียนหัดฝัน กับเซียนมิราเคิล มาตอบอีกครั้งดีกว่าครับ สาธุ




#4 gioia

gioia
  • Members
  • 593 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 06:21 PM

กว่าจะตอบได้คงต้องค้นอีกนานค่ะ
ขอรอติดตามคำเฉลยนะคะ
คงไม่ว่ากัน

#5 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 04 July 2006 - 06:29 PM

นู๋ยังเด็กได้แต่ศึกษาก่อนนะคะ รอดูคำตอบเหมือนกันค่ะ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#6 อ้วน บ่อโยก

อ้วน บ่อโยก
  • Members
  • 646 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:rayong

โพสต์เมื่อ 05 July 2006 - 08:20 AM

รอคำตอบครับ

#7 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 July 2006 - 09:34 AM

ขอมาทดสอบด้วยคน

ค้นมาตอบวันนี้ เอาข้อ ๑ ก่อนนะ

ศรัทธา หรือความเชื่อนับเป็นจุดเริ่มต้นทางศาสนาทั้งปวง
ซึ่งศรัทธาในทางศาสนานั้นมีอยู่ ๒ ประเภท
ได้แก่ ศรัทธาอันเป็นญาณสัมปยุต คือ ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา รู้เหตุ รู้ผล
และศรัทธาอันเป็นญาณวิปปยุต คือ ความเชื่ออันเกิดจากความไม่รู้เหตุรู้ผล


หากจะแยกให้เห็นมูลเหตุของศาสนาตามวิวัฒนาการทางความคิดของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยโบราณ
จนถึงปัจจุบันสามารถแยกได้ดังนี้ (เสฐียร พันธรังสี, ๒๕๑๓:๑๘)

๑. เกิดจากอวิชชา : อวิชชา คือ ความไม่รู้ ในที่นี้ได้แก่ความไม่รู้เหตุรู้ผล
เริ่มแต่ความไม่รู้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ทางดาราศาสตร์ ไม่รู้ชีววิทยา และไม่รู้จักธรรมชาติอื่น ๆ
ที่อยู่รอบตัวเรา เมื่อมีความไม่รู้เหตุผลก็เกิดความกลัวในพลังทางธรรมชาติ
ต้องการความช่วยเหลือจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งมีอำนาจเหนือตน จึงมีการส้รางขนบธรรมเนียมประเพณี
เพื่อบูชาเอาใจสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เพื่อที่จะสามารถช่วยให้มนุษย์มีความอยู่รอดไม่มีภัยต่อ ๆ ไป

๒. เกิดจากความกลัว : มนุษย์จะอยู่ในโลกได้ต้องมีหน้าที่ คือ การต่อสู้กับธรรมชาติ
และสู้สัตว์ร้ายนานาชนิด และโดยเฉพาะกับมนุษย์ด้วยกันเอง ยามใดที่เราสามารถเอาชนะธรรมชาติหรือคนได้
ความเกรงกลัวธรรมชาติ สัตว์ร้าย หรือมนุษย์ย่อมไม่มี แต่ถ้าไม่สามารถต่อสู้ได้
มนุษย์จะเกิดความกลวต่อสิ่งเหล่านั้น และในยามนั้นเอง ที่มนุษย์ต้องพากันกราบไหว้บูชา
และแสดงความจงรักภักดี ทำพิธีสังเวยเซ่นไหว้ต่อธรรมชาติดังกล่าว
ด้วยความหวังหรืออ้อนวอนขอให้สำเร็จตามความปรารถนาอันเป็นผลตอบแทนขึ้นมาเป็นความสุข
ความปลอดภัย และอยู่ได้ในโลก

๓. เกิดจากความจงรักภักดี :
ความจงรักภักดีเป็นศรัทธาครั้งแรกที่
มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยยอมเชื่อว่า
เป็นกำลังก่อให้เกิดความสำเร็จได้ทุกเมื่อ
ในกลุ่มศาสนาที่นับถือพระเจ้า
(ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม)
มุ่งเอาความภักดีต่อพระเจ้าเป็นหลักใหญ่ในศาสน
า ในกลุ่มชาวอารยันมีสาสนาพราหมณ์ (ฮินดู)
มีคำสอนถึงภักติมรรค คือ ทางแห่งความภักดี
อันจะยังบุคคลให้ถึงโมกษะ คือหลุดพ้นได้

แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็ยอมรับว่าศรัทธา
หรือความเชื่อ ความเลื่อมใสเท่านั้นที่จะพาข้ามโอฆสงสารได้
เมื่อเป็นดังนี้แสดงว่ามนุษย์ยอมตนให้อยู่ใต้
อำนาจของธรรมชาติเหนือตน อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง
ซึ่งเรียกว่าเทพเจ้า หรือพระเจ้า อย่างไรก็ตาม
ผลที่เกิดตามมาคือมนุษย์ยอมให้เครื่องเซ่นสังเวย
แก่ธรรมชาตินั้น ๆ ด้วย ลักษณะนี้จึงเท่ากับมนุษย์เสียความเป็นใหญ่ในตน
ยอมอยู่ใต้อำนาจของสิ่งที่ตนคิดว่ามีอำนาจเหนือตน

๔. เกิดจากปัญญา :
ศรัทธาอันเกิดจากปัญญาคือมูลเหตุให้เกิดศาสนา
อีกทางหนึ่ง แต่ศาสนาประเภทนี้มักเป็นฝ่ายอเทวนิยม
คือไม่สอนเรื่องเทพเจ้าสร้างโลก
ไม่ถือเทพเจ้าเป็นศูนย์กลางแห่งศาสนา
หากแต่ถือความรู้ประจักษ์จริงเป็นสำคัญ
เช่น พระพุทธศาสนา ความเน้นหนักของพระพุทธศาสนา คือ ญาณหรือปัญญาชั้นสูงสุด[color=#3333FF]
ที่ทำให้รู้แจ้งประจักษ์ความจริง และหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

๕. เกิดจากอิทธิพลของบุคคลสำคัญ :
ศาสนาหรือลัทธิที่เกิดจากความสำคัญของ
บุคคลเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทุกแห่งหน ที่มีเรื่องราว หรือความสำคัญของบุคคลที่อยู่
ณ ที่นั้น ความสำคัญของบุคคลที่เป็นเหตุเริ่มต้นของศาสนา หรือลัทธิ โดยมากมักมีเหตุเริ่มต้น
โดยความบริสุทธิ์จากจิตใจของมนุษย์ ไม่มีใครบังคับ ไม่มีใครวางหลัก
อีกทั้งเมื่อใครนับถือความสำคัญของบุคคลผู้ใดก็จะพากันกราบไหว้ และเคารพบูชา

๖. เกิดจากลัทธิการเมือง :
ลัทธิการเมืองอันเป็นมูลเหตุของศาสนาเป็นเรื่องสมัยใหม่
อันสืบเนื่องจากการที่ลัทธิการเมืองเฟื่องฟูขึ้นมา และลัทธิการเมืองนั้น
ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อคนลางกลุ่ม เป็นต้นว่า กลุ่มคนยากจน
ซึ่งคนเหล่านั้นก็ได้ละทิ้งศาสนาเดิมที่ตนเองนับถืออยู่
แล้วหันมานับถือลัทธิการเมืองดังกล่าวเป็นศาสนาประจำสังคม
หรือชาตินิยมลัทธิการเมือง เป็นต้นว่า ลัทธินาซี ลัทธิฟาสซิสม์ และลัทธิคอมมิวนิสต์

อ้างอิง http://www.duangden....eligious.html#2

ศรัทธา ๔ อันเป็นส่วนที่จะส่งเสริม สัมมาทิฏฐิ ๑๐ ประการ ศรัทธา
ต้องประกอบด้วยปัญญา(ระดับโลกียะ) เรียกว่า ศรัทธา ๔ คือ

๑. กัมมสัทธา เชื่อเรื่องกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์โลกทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อในความตรัสรู้และคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า


หยุดคือตัวสำเร็จ

#8 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 July 2006 - 08:59 PM

QUOTE
ถ้าผิดพลาดอย่างไร รอเซียนหัดฝัน กับเซียนมิราเคิล มาตอบอีกครั้งดีกว่าครับ สาธุ

อย่าเรียกผมว่า เซียนเลยครับ ความรู้ทางธรรมของผมนิดเดียวเองครับ สำหรับคำถามนั้น ผมขอผ่านละกันครับ
สารภาพว่า ตอบไม่ได้ครับ เพราะผมไม่ได้ศึกษาธรรมะลึกซึ้งถึงขนาดนั้น
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#9 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 06 July 2006 - 01:07 AM

nerd_smile.gif ยากไปไหมเอ่ย? คุณสามารถใช้ตัวช่วยแบบค้นหา อาทิ Google หรือถามเพื่อนของคุณก็ได้นะครับ
"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#10 ใสแจ๋ว

ใสแจ๋ว
  • Members
  • 49 โพสต์
  • Interests:ใสในใส ดับหยาบไปหาละเอียด

โพสต์เมื่อ 06 July 2006 - 11:02 AM

เข้ามาอ่าน

#11 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 06 July 2006 - 11:41 AM

ohmy.gif คิดอยู่ 2 วันเต็ม ๆ ยังหาคำตอบไม่ได้เลยค่ะ cry_smile.gif


#12 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 July 2006 - 12:32 PM

ใช้ google ค้นหา เสียเวลาเหมือนกันเพราะไม่รู้หน้าไหนมีคำตอบ
แต่ก็ทำได้และได้ความรู้ด้วย

QUOTE
คำถามที่ ๒ คำว่า "ทุกข์" ในนิทเทสแห่งอริยสัจนั้น แบ่งออกเป็นกี่ประเภท? แต่ละประเภทได้แก่อะไรบ้าง?





ทุกข์ ( suffering ) หรือ ทุกข์อริยสัจ คือ สภาพที่ทนได้ยากหรือสภาพที่บีบคั้น
ขัดแย้ง บกพร่องขาดแก่นสาร และการไม่ให้ความพึงพอใจ ที่แท้จริง เช่น สภาวะที่ต้องเรียนหนังสือนาน ๆ
โดยมิได้เปลี่ยนอิริยาบถทำให้เราทนต่อสภาวะ นั้น ๆ ได้ยาก จึงมักจะหลีกจากสภาวะอันยากจะต่อการที่
จะทนอยู่เช่นนั้นไปสู่สภาวะที่น่าปรารถนากว่าแล้วก็เรียกสภาพวะที่ทนได้ยากนี้ว่า "ทุกข์ "
และเรียกสภาวะที่น่าปรารถนาว่า"สุข" ซึ่งแท้จริงแล้วความสุขก็คือ ความทุกข์ที่เบาบางกว่าหรือทุกข์
ที่คลายได้แล้วนั่นเองทุกข์มีหลายชนิด คือ ทุกข์ที่มาจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย
ความเศร้าโศก ความระทมใจ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความน้อยอกน้อยใจ ความคับแค้นใจ
ตลอดจนรวมไปถึงการเห็นสิ่งที่ไม่รักใคร่การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และการปรารถนาในสิ่งใด
ก็ไม่สามารถได้สิ่งนั้น

ในพระธรรมจักกัปวัฒนสูตร ได้จำแนกทุกข์ไว้ ๑๑ ชนิด มีดังนี้ คือ

...............๑. ชาติคือ ความเกิด
...............๒. ชรา คือ ความแก่
...............๓. มรณะคือ ความตาย
...............๔. โสกะคือ ความแห้งใจ ความเศร้าใจ
...............๕. ปริเทวะคือ ความระทมใจพิไรรำพัน หรือความบ่นเพ้อ
...............๖. ทุกข์คือ ความไม่สบายใจ ไม่สบายตัว
...............๗. โทมนัสคือ ความไม่สบายใจ ความไม่น้อยใจ
...............๘. อุปายาสคือ ความคับแค้นใจ ความตรอมใจ
...............๙. อัปปิยสัมปโยคคือ การเห็นสิ่งที่ไม่รักใคร่
...............๑๐. ปิยวิปปโยคคือ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักใคร
...............๑๑. อิจฉิตาลาภะ คือ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น

ทุกข์ทั้ง ๑๑ ชนิดนี้ สามารถจัดแบ่งออกได้เป็นประเภท ใหญ่ ๆ ๒ ประเภทคือ

สภาวทุกข์ หรือทุกข์ประจำ คือ ทุกข์อันเป็นสภาพธรรมดาของสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้
ได้แก่ ชาติ ชรา และมรณะ

ปกิณณทุกข์ หรือทุกข์ขจร คือ ทุกข์ที่เกิดเป็นครั้วคราวขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยปรุง
แต่งให้เกิดขึ้น ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส อัปปิยสัมปโยค ปิยวิปปโยค และอิจฉิตาลาภะ

...............สรุปได้ว่า ความทุกข์ที่เกิดทางกายก็คือหรือทางใจก็ดี ล้วนเกิดขึ้นมิได้นอกเหนือไปจาก
ขันธ์ 5 รูปและนามยังมีอยู่ ตราบใดตราบนั้นทุกข์ย่อมเกิดปรากฎที่รูปและนามไม่มีที่สิ้นสุด
รูปและนามเป็นตัวทุกข์เพราะจะต้องบำรุงให้มากทั้งยังเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ไม่นานมีความแปรปรวนแตกสลาย
ตัวรับทุกข์อื่น ๆ คือ ทุกข์กายและใจอีกด้วย รูปและนามนี้จึงเป็นทั้งตัวทุกข์และตัวรับทุกข์
สมุทัย ( origin of suffering ) บ่อเกิดแห่งความทุกข์ ซึ่งมาจากตัณหาหรือความทะยานอยาก( craving )
ทำให้เราเกิดความเพลิดเพลินใจเป็นอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ทำให้เกิดผลอันเกิดจากการปฏิบัติ
และเริ่มมีความยากใหม่ในรอบใหม่ เป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะดับตัณหาได้


อ้างอิง
http://religion.m-cu...a/buddha_22.asp






หยุดคือตัวสำเร็จ

#13 นับดาว

นับดาว
  • Members
  • 422 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 July 2006 - 12:49 PM

โห..ยากมากๆนะคะเนี่ย

อ่านแล้วอึ้งไปเลย

ต้องรอดูเฉลยดีกว่าค่ะ
ถ้าใจใส

เรื่องดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน

#14 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 06 July 2006 - 12:57 PM

คำถามที่ ๑ บทบาทและความสำคัญของคำว่า "ศรัทธา" ที่มีต่อศาสนาต่างๆ ในโลกเป็นเช่นไร? ศรัทธาแบ่งออกเป็นกี่ระดับ? อะไรบ้าง? (10 คะแนน)

.................................ขอตอบโดยดึงมาจากพระไตรปิฏกเล่ม 24 ข้อ 8 ดังนี้ค่ะ....................................

ผู้มี"ศรัทธา" แต่ ไม่มีศีล ถือว่าเป็นศรัทธาที่ไม่บริบูรณ์ตั้งแต่ระดับที่ ๑ ...ดังนั้น ผู้มีศรัทธา จึงต้องศึกษาบำเพ็ญตนให้มี"ศีล" จึงจะเป็นศรัทธาที่มีความบริบูรณ์ในความเป็น"ศรัทธา"

สูงขึ้นสู่ระดับที่ ๒ เห็นได้ชัดว่า "ศรัทธา"ที่มีทิศทาง มีเงื่อนไข มีองค์ประกอบกำกับ จึงจะเป็น"ศรัทธา"ของอาริยชน แต่ถ้าเชื่ออะไร อย่างไรก็ได้ สะเปะสะปะ ไม่มีทิศไม่มีทาง คือ เชื่อไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์ ไม่มีอะไรเป็นเครื่องชี้ เครื่องยืนยันถึงคุณลักษณะใดๆ เชื่อดายๆ เชื่อทั่วๆไป นั่นไม่ใช่ "ศรัทธา" หรือ ความเชื่อที่เป็นอาริยะ
ทีนี้ก็ต่อเรื่อง"ศรัทธา"ที่บริบูรณ์จากระดับที่ ๒ ขึ้นไปอีก

จาก ๑. "ศรัทธา" ๒. มี"ศีล"แล้ว แต่ถ้า ไม่มีพหูสูต ก็ถือว่าเป็นศรัทธา ที่ไม่บริบูรณ์ ขั้นต่อไป ผู้มีศรัทธามีศีลแล้วจึงต้องศึกษาบำเพ็ญตนให้มีพหูสูต จึงจะเป็น ศรัทธาที่มีความบริบูรณ์ระดับที่ ๓

สูงขึ้นไปอีกและแม้ศรัทธาที่มีศีลมีพหูสูตแล้วแต่ถ้า ไม่เป็นธรรมกถึก(ผู้สามารถแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟัง) ก็ถือว่า เป็นศรัทธาที่ไม่บริบูรณ์ขั้นต่อไปอีก ผู้มีศีล มีพหูสูต แล้วจึงต้องศึกษาฝึกฝนตนให้เป็นธรรมกถึก จึงจะเป็นศรัทธา ที่มีความบริบูรณ์ระดับที่ ๔

สูงขึ้นต่อไปๆ และศรัทธาที่จะบริบูรณ์สูงขึ้นต่อๆไปอีก ก็คือ ต้องศึกษาฝึกฝนตนให้เป็นผู้ เข้าสู่บริษัท (ต้องทำตนเข้าสู่สังคม ไม่ใช่หลบลี้อออกห่างสังคม) จึงจะเป็นศรัทธา ที่มีความบริบูรณ์ระดับที่ ๕

สูงขึ้นต่อไปอีกต้องศึกษาฝึกฝนตนให้เป็นผู้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท (เจริญขึ้นกว่าเป็นธรรมกถึก กว่าเข้าสู่บริษัท อาจหาญแสดงธรรม ต่อสังคมกว้างเก่งเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น) จึงจะเป็นศรัทธาที่มีความบริบูรณ์ระดับที่ ๖

สูงขึ้น ต่อๆไปต้องศึกษาฝึกฝนตนให้เป็นผู้ ทรงวินัย (เมื่อสู่สังคมกว้างขึ้นก็ยิ่งต้องรอบรู้แม่นยำไม่ผิดกฎผิดวินัย) จึงจะเป็น ศรัทธาที่มีความบริบูรณ์ระดับที่ ๗

สูงขึ้นต่อๆไปอีก ต้องศึกษาฝึกฝนถึงการ อยู่ป่าเป็นวัตร (เพื่อให้ครบถ้วนถึงความสมบูรณ์ทั้งภายนอกและภายใน ก็ต้องตรวจสอบ ทั้งด้านสังคม ทั้งด้านมิใช่สังคมคือป่าที่ไม่สัมพันธ์กับสังคม) จึงจะเป็นศรัทธา ที่มีความบริบูรณ์ ระดับที่ ๘

สูงยิ่งๆขึ้นต้องศึกษาฝึกฝนตนจนมีจิตสามารถเป็นผู้ ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ จึงจะเป็นศรัทธา ที่มีความบริบูรณ์ ระดับที่ ๙

สูงยิ่งๆ ขึ้นยืนยัน ปรมัตถธรรม ต้องศึกษาฝึกฝนตนให้เป็นผู้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ จึงจะเป็นศรัทธา ที่มีความบริบูรณ์ระดับที่ ๑๐ ครบจบสูงสุด

"ศรัทธา" ซึ่งเกิดจากอาหารที่เป็นสัทธรรม อันได้ฟังจากสัตบุรุษ จึงต่างกันแน่นอนกับ ศรัทธา ที่เกิดจาก อาหารที่ ไม่เป็นสัทธรรม อันได้ฟังจาก ผู้มิจฉาทิฏฐิ ย่อมไม่บริบูรณ์ เหมือนสัทธรรมจากสัตบุรุษเด็ดขาด

แฮ๊ก ๆ ๆ เหนื่อย...สรุป น่าจะมี 10 ระดับค่ะ...

#15 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 July 2006 - 01:23 PM

อ่านของคุณสายน้ำทิพย์ ผมต้องกลับไปค้นใหม่เสียแล้ว
ศรัทธาน่าจะมีอยู่ ๑๐ ระดับ แต่มี ๔ ประเภท เก่งมากครับอุตส่าห์
ไปค้นจากพระไตรปิฏกมาได้

และคำตอบข้อ ๓ ก็ไม่ง่ายเลยถ้าจะตอบให้ถูกต้องครบถ้วน
ขอยอมก่อนแล้วกัน แล้วกลับมาใหม่

หยุดคือตัวสำเร็จ

#16 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 06 July 2006 - 02:52 PM

QUOTE
คำถามที่ ๒ คำว่า "ทุกข์" ในนิทเทสแห่งอริยสัจนั้น แบ่งออกเป็นกี่ประเภท? แต่ละประเภทได้แก่อะไรบ้าง? (5 คะแนน)


ทุกข์มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.) ทุกข์ในอริยสัจ 4
2.) ทุกข์ในไตรลักษณ์

...(ตอบคำถาม) dont_tell_anyone_smile.gif 1. ทุกข์ในอริยสัจ 4 ก็คือทุกขเวทนาหรือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ซึ่งก็คือความทุกข์ในความหมายของคนทั่ว ๆ ไปนั่นเอง ทุกขเวทนามี 2 ทางคือ ทุกข์ทางกาย กับทุกข์ทางใจ

ทุกข์ทางกาย หมายถึงทุกข์ที่มีกายเป็นเหตุ ได้แก่ ทุกข์ที่เกิดจากความหนาว ความร้อน ความป่วยไข้ ความบาดเจ็บ ความหิวกระหาย ความเสื่อมสภาพของร่างกาย ทุกข์ที่เกิดจากการที่ต้องคอยประคบประหงม ดูแลบำรุงรักษาทำความสะอาดร่างกาย และความทุกข์อื่น ๆ อันมีกายเป็นต้นเหตุอีกเป็นจำนวนมาก ทุกข์ทางกายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กับร่างกาย เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก ตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ต้องทนกับทุกข์ทางกายนี้เรื่อยไปไม่มีวันพ้นไปได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ที่สร้างสมบุญบารมีมาอย่างมากมาย มากกว่ามนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ก็ยังต้องทนทุกข์ทางกายนี้จนกระทั่งถึงวันปรินิพพาน สมกับคำที่ว่า การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป

ทุกข์ทางใจ หมายถึงทุกข์ที่เกิดจากการปรุงแต่งของใจ ทุกข์ทางใจนี้ส่วนหนึ่งมีทุกข์ทางกายเป็นสิ่งเร้าให้เกิด เช่น เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือป่วยไข้ขึ้นมาทำให้เกิดทุกข์ทางกายขึ้นแล้ว ต่อมาก็เกิดความกังวลใจ ความหวาดกลัวขึ้นมาอีกว่าอาจจะรักษาไม่หาย อาจจะต้องสูญเสียอวัยวะไป หรืออาจจะต้องถึงตาย ซึ่งความกังวลความหวาดกลัวเหล่านี้จะก่อให้เกิดทุกข์ทางใจขึ้นมา ทุกข์ทางใจอีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีทุกข์ทางกายเป็นต้นเหตุ เช่น ความทุกข์จากการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความทุกข์จากการพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ทุกข์จากการไม่ได้ในสิ่งที่ปรารถนา ทุกข์จากความโกรธความขัดเคืองใจ ทุกข์จากความกลัว ทุกข์จากความกังวลใจ ความคับแค้นใจ ทุกข์จากความกลัวว่าความสุขที่มีอยู่จะต้องหมดไป ทุกข์จากความกลัวความทุกข์ยากลำบากที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต ทุกข์จากการกลัวความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสื่อมสรรเสริญ และทุกข์ทางใจอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน

กล่าวโดยสรุป ทุกข์ทางใจทั้งหมดล้วนมีต้นเหตุมาจากความโลภ ความโกรธ และความยึดมั่นถือมั่น .

(เพิ่มเติม) mad.gif ทุกข์จากความโลภ ตามหลักอภิธรรมแล้วความโลภจะไม่ประกอบด้วยความทุกข์ เพราะความโลภจะเกิดขึ้นพร้อมกับความดีใจ หรือเกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉย ๆ ( อุเบกขา ) เท่านั้น ที่กล่าวว่าความทุกข์ที่มีต้นเหตุมาจากความโลภในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าความทุกข์นั้นเกิดพร้อมกับความโลภ แต่เป็นความทุกข์อันมีความโลภเป็นเบื้องต้น และมีความทุกข์เป็นเบื้องปลาย อันได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากความกลัวจะไม่ได้ในสิ่งที่ตนอยากได้ ทุกข์จากการที่ต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนอยากได้ เป็นต้น

mad.gif ทุกข์จากความโกรธ ความโกรธนั้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็นำทุกข์มาให้เมื่อนั้น เพราะความโกรธจะทำให้จิตใจต้องเร่าร้อนดิ้นรน เกิดความกระทบกระทั่งภายในใจ ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ความโลภนั้นในเบื้องต้นยังพอจะนำความสุขมาให้ได้บ้าง ( ในขณะที่เกิดความเพลิดเพลินยินดี ) แต่ความโกรธนั้นนำมาแต่ความทุกข์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่างของความทุกข์จากความโกรธเช่น ทุกข์จากความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ คับแค้นใจ กังวลใจ ความกลัว ความหวาดระแวง ความมองโลกในแง่ร้าย ความไม่สบายใจ ความอิจฉาริษยา ความพยาบาทอาฆาตแค้น เป็นต้น

mad.gif ทุกข์จากความยึดมั่นถือมั่น สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรูปธรรมหรือนามธรรม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายจิตใจก็ตาม ถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นเข้าแล้วก็ล้วนนำทุกข์มาให้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะยึดว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ยึดว่าเป็นเขา เป็นของของเขา ยึดว่าเป็นสิ่งที่เราชอบใจ เป็นสิ่งที่เราไม่ชอบใจ ยึดว่าเป็นคนที่เคยทำร้ายเรา เคยด่าเรา ยึดว่าเป็นญาติพี่น้อง เป็นศัตรู เป็นครูอาจารย์ เป็นผู้ที่เราเคารพนับถือ ยึดว่าเป็นนาย เป็นบ่าว เป็นเพื่อน เป็นหน้าที่การงาน ฯลฯ ไม่มีสิ่งใดเลยที่ยึดมั่นถือมั่นแล้วจะไม่นำทุกข์มาให้ แม้แต่ยึดในบุญกุศล ความดี มรรค ผล นิพพาน ก็ตามที ( อริยบุคคลนั้นไม่ยึดในรูปนามทั้งหลาย ไม่ยินดีในการเกิดก็จริง แต่ก็ไม่ได้ยึดมั่นในมรรค ผล นิพพาน ) เพราะการยึดในสิ่งที่เราไม่ชอบใจก็ย่อมจะทำให้เกิดความขัดเคืองใจ โกรธ ไม่พอใจ คับแค้นใจ กลัว ฯลฯ พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นต้นเหตุของความทุกข์จากความโกรธนั่นเอง ส่วนการยึดในสิ่งที่เราชอบใจก็จะทำให้เกิดทุกข์อันมีต้นเหตุมาจากความโลภ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดทุกข์จากความกลัวการพลัดพรากสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไป ทุกข์จากการต้องคอยทนุถนอม บำรุงรักษา เก็บรักษาไว้ ต้องคอยปกป้อง ห่วงใย ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ไม่เป็นอิสระ และถ้าต้องสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไปก็จะยิ่งเป็นทุกข์ขึ้นไปอีกมากมายนัก ส่วนการยึดในบุญนั้นก็ต้องเป็นทุกข์จากการรอคอยว่าเมื่อไรผลบุญถึงจะตอบสนอง ยึดในบาปก็เป็นทุกข์กลัวกรรมจะตามสนอง
กล่าวโดยสรุปก็คือ ยึดสิ่งไหนก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น ถ้าเราไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดเลยความทุกข์ทางใจทั้งหลายก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นกับเราได้เลย .

dont_tell_anyone_smile.gif 2. ทุกข์ในไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ก็คือสามัญลักษณะ 3 ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คำว่าทุกข์ในไตรลักษณ์ก็หมายถึงทุกขัง ในไตรลักษณ์หรือที่เรียกว่าทุกขลักษณะนั่นเอง ซึ่งหมายถึงการที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงยกเว้นนิพพาน ล้วนอยู่ในสภาวะที่ถูกเหตุถูกปัจจัยทั้งหลาย บีบคั้นให้แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป (ดูเรื่องทุกขเวทนากับทุกข์ในไตรลักษณ์ ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ)
ทุกข์ในไตรลักษณ์นี้เป็นลักษณะอันเป็นสามัญ คือเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารธรรมทั้งหลายที่จะต้องเป็นไปอย่างนั้น เป็นกฎอันเป็นพื้นฐานของธรรมชาติ เพราะสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นเพียงผลของเหตุของปัจจัยเท่านั้นเอง ไม่มีสิ่งใดเลยที่มีอำนาจเหนือตน ตราบใดที่ยังไม่เข้าสู่สภาวะแห่งนิพพานแล้ว ก็จะต้องเผชิญกับทุกข์ในไตรลักษณ์นี้ด้วยกันทั้งสิ้น
ทุกข์ในอริยสัจ 4 ก็อยู่ในสภาวะทุกข์ในไตรลักษณ์ด้วย นอกจากนี้สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนาก็ยังไม่พ้นจากทุกข์ในไตรลักษณ์ เพราะทั้งสุขและอุเบกขาก็ล้วนถูกเหตุปัจจัยต่าง ๆ บีบคั้นให้แปรปรวนไปอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

******************
สรุป ทุกข์แห่งอริยสัจ มี 2 ประเภทค่ะ คือ ทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ

#17 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 06 July 2006 - 03:24 PM

QUOTE
คำถามที่ ๓ เพราะเหตุใดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงคุณวิเศษด้วยการไม่ถูกประหารด้วยน้ำมือของผู้อื่น? (5 คะแนน)

ขออนุญาติตอบแบบมั่วนิ่ม...นะเจ้าคะ laugh.gif

ได้รับการคุ้มกันอย่างแน่นหนาจากพลังจักรวาลอันยิ่งใหญ่ ( ฆ่าไม่ได้ ทำร้ายไม่ได้ ป่วยไม่ได้ ประสพอุบัติเหตุไม่ได้ วิธีตายของพระพุทธเจ้ามีแบบเดียวเท่านั้นคือแก่ปรินิพาน ปรินิพานแบบอื่นไม่ได้ ) red_smile.gif

...ขอโทษค่ะ...ไม่แน่ใจว่าใช้คำว่า ปรินิพาน หรือปล่าว...

#18 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 07 July 2006 - 03:50 PM

QUOTE
...ขอโทษค่ะ...ไม่แน่ใจว่าใช้คำว่า ปรินิพาน หรือปล่าว...

ปรินิพพานค่ะ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#19 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 07 July 2006 - 04:17 PM

nerd_smile.gif ขอขอบคุณและชื่นชมในความพากเพียรของทุกท่าน แล้วผมจะมาเฉลยให้นะครับ เพราะผมต้องทำการตรวจทานให้เสร็จทั้งหมดก่อนครับ
"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี