ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ขอประสบการณ์การกำจัดนิวรณ์ ๕ หน่อยครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 22 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 08:12 AM

ขอวิธีแก้นิวรณ์ อาจจะเป็นแบบให้กับผมได้ ขอขอบคุณครับ
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#2 nut33

nut33
  • Members
  • 142 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Bangkok
  • Interests:http://www.dhammakaya.tv
    http://www.dhammakaya.biz

    android Application ธรรมกาย
    https://play.google.com/store/apps/details?id=com.conduit.app_96f25c33fb1b4867b3b98cc85a26a854.app

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 09:03 AM

งง นิวรณ์ คือไรอะ
ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
http://www.dhammakaya.tv

#3 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 09:10 AM

นิวรณ์ ๕ เป็นสิ่งที่กางกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี เป็นอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมอง ทำให้ปัญญาอ่อนกำลังลง

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ ๑
นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ๑

1. กามฉันทะ แปลว่า ความพอใจในกาม แต่ความหมาย หมายถึง ความกลัดกลุ้ม อยู่ด้วยความกำหนัดในกาม จนมืดมัว ไม่แจ่มใสไม่เห็นแจ้งในธรรมตามที่เป็นจริง ท่านเปรียบอุปมาเหมือนน้ำใส แต่มีสี ต่างๆ มาเจือปน จนหมดความใส

2. พยาบาท หมายถึง ความกลัดกลุ้ม อยู่ด้วยความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง เป็นต้น ...ซึ่งทำความมืดมัวให้อีกในลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่าน เปรียบด้วยน้ำที่ใส แต่ถูกทำให้เดือดพลุ่งพล่านอยู่ก็ไม่อาจทำให้ผู้มอง มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายใต้น้ำนั้นได้

3. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ไม่ร่าเริงแจ่มใส ทำให้จิตไม่มีสมรรถภาพ ในการที่จะเห็นแจ้งในธรรม ท่านเปรียบเหมือนน้ำใสแต่มีพืช เช่น ตะไคร่ หรือ สาหร่าย เกิด อยู่เต็ม ก็ไม่อาจจะ มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ใต้น้ำ ได้เช่นเดียวกัน

4. อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย ในลักษณะที่ตรงกันข้ามจาก...ถีนมิทธะ.. ท่านเปรียบอุปมาไว้เหมือนน้ำใสแต่ถูกทำให้เป็นละลอกคลื่นหรือกระเพื่อม อยู่เป็นนิจ ทำให้ไม่สามารถ จะมองเห็นสิ่งใต้น้ำ เช่น กรวด ปลา และ หอย ได้เช่นเดียวกัน

5. วิจิกิจฉา หมายถึง ความสงสัยเพราะไม่รู้ หรือ มีอะไรมารบกวนความอยากรู้ ไม่มีความสงบลงได้ ทำให้เกิดความมืดมัวแก่จิต ไม่อาจจะเห็นแจ้งในสิ่งที่ควรเห็น ท่านเปรียบเหมือนน้ำใสอยู่ในที่มืด ย่อมไม่อำนวยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำนั้นได้

.............................Copy ข้อมูลจากพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์.......................

455 นิวรณ์ ๕ ระงับเมื่อใด

ปัญหา ทำอย่างไรนิวรณ์ ๕ จึงจะระงับ ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดอริยสาวกมุ่งต่อพระธรรม ใส่ใจพิจารณาด้วยใจทั้งหมดโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ โพชฌงค์ ๗ ย่อมพึงความเจริญบริบูรณ์”

อาวรณานิวรณ์สูตร มหา. สํ. (๔๙๒)
ตบ. ๑๙ : ๑๓๔ ตท. ๑๙ : ๑๓๖
ตอ. K.S. ๕ : ๗๙
...........................................................
สำหรับตนเองก็ รักษาศีล ทำทาน ทำสมาธิ อย่างต่อเนื่อง...ทุกอย่างดีขึ้นเป็นลำดับค่ะ
..............................................................
หรือว่าแก้เป็นข้อ ๆ อย่างนี้ดีมั๊ยค่ะ

1. ให้พิจารณา(หาดูภาพ)ในทาง อสุภะ(ภาพปลง) และปฏิกูล...ซึ่งจะกำจัดกามฉันทะได้

2. ให้เจริญเมตตาให้เห็นการ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จะช่วยกำจัดพยาบาท

3. ทำในใจให้แสงสว่าง วางใจไว้ศูนย์กลางกาย จะช่วยกำจัด...ถีนมิทธะ (ทำด้วยความเลื่อมใส ศรัทธา)

4. ทำจิตจดจ่ออยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งง่ายแก่การ จดจ่อ (ทำเหมือนข้อ 3) ก็จะช่วยกำจัดอุทธัจจะกุกกุจจะได้เช่นกัน

5. ให้ทำความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ แน่ใจในสิ่งที่ควรแน่ใจ ทำให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้ เช่น เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อในเรื่องกรรม...จะช่วยกำจัดวิจิกิจฉาได้.......................(ข้อ 5 นี้ปฏิบัติตนอย่างไรดีค่ะ...ผู้รู้ช่วยหน่อยค่ะ)

#4 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 09:23 AM

ขอบคุณ คุณสายน้ำทิพย์นะครับ แต่ที่อยากได้ก็คือ วิธีกำจัดนิวรณ์ของพี่ๆเพื่อนๆครับ อาจจะได้ผลกับผม ขอแบบอย่างและวิธีหน่อยครับ
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#5 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 09:36 AM

อ๋อออออ....ตกลงหมายถึงเราจะไปกำจัดให้คนอื่นเขา

#6 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 09:50 AM

ม่ายช่ายยยย คือตัวอย่างที่ผมพูดหมายถึงว่า ยกตัวอย่างถีนมิทธะ ผมจะใช้วิธีเดินให้หายง่วงแต่มันก็ไม่หาย จึงขอแบบอย่างทั้ง5ข้อของพวกพี่ๆนะครับอาจจะมีวิธีที่ดีกว่านี้อ่ะคับ
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#7 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 10:30 AM

ความจริงแล้วนิวรณ์ 5 ตามตำราท่านว่า เป็นคู่ปรับกับ อินทรีย์ 5 หรือ พละ 5 ครับ ได้แก่ สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร โอ 5 ต่อ 5 พอดี อย่างนี้สูสี หากเราฝึกฝนพละ 5 ของเราให้เข้มแข็งมีกำลัง ก็สามารถเอาชนะ นิวรณ์ หรือ เครื่องกั้นความดีทั้ง 5 ได้ครับ ดังนี้

1. ฝึกพลังศรัทธาของเรา (มีฉันทะ ความพอใจนั่นเอง) โดยเริ่มต้นเราต้องเชื่อมั่นก่อนว่า ผู้เอาชนะนิวรณ์ได้ในอดีตนั้นมีอยู่ เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหลาย แม้ในปัจจุบันก็มีอยู่ เช่น คุณครูไม่ใหญ่และทีมงาน หรือแม้แต่คนปัญญาอ่อนบางคน เขายังทำได้เลย แล้วเราก็เป็นมนุษย์ ไม่ได้เป็นใบ้ บ้า และปัญญาอ่อน ทำไมจะทำไม่ได้ เริ่มปลูกฝังศรัทธาในความเป็นมนุษย์ของเราก่อน
ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนแต่งตั้งพระราชา ผู้นำทัพ ให้สามารถปลุกใจคนในกองทัพให้ฮึกเหิม พร้อมรบทัพจับศึก ต่อต้านภัยที่จะมาทำลายประเทศชาติ ว่าเข้าไปนั่น

2. จากนั้น เราก็ฝึกสติของเรา ไว้คอยตรวจสอบเฝ้าระวังว่า นิวรณ์ไหนกำลังจะเข้ามารุกรานในใจเรา เช่น กามกำเริบหรือไม่ พยาบาทหรือไม่ ง่วงหรือไม่ ฟุ้งซ่านหรือไม่ ลังเลสงสัยหรือไม่ หากตรวจสอบแล้วเห็นว่านิวรณ์เกิดขึ้นก็ระงับไว้ แต่ถ้านิวรณ์นั้นมีกำลังกล้าแข็ง เช่น กำลังฟุ้งอย่างหนักเลย ก็ต้องใช้กำลังอื่นเข้ามาช่วยต่อไป
ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนสรรหา ยาม ผู้มีความสามารถมาคอยตรวจตราระวังป้องกันเมือง หากโจรผู้ร้าย 4-5 คนเข้ามาก่อก่วนความสงบ ยามก็ใช้กำลังจัดการเลย แต่หากศัตรูยกมาเป็นกองทัพ ยามก็จะต้องไปแจ้งกำลังทหารต่อไป

3. ตอนนี้ก็มาถึงกำลังสมาธิ สมาธิคือ ความมีใจตั้งมั่น หากหมั่นฝึกประจำก็จะมีกำลังกล้าแข็ง ดังเช่น ขันติวาทีดาบส ฝึกสมาธิแบบเจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ ทำให้แม้ถูกพระราชาประทุษร้าย ตัดหู ตัดจมูก ตัดแขนขา กระทืบอกซ้ำ ท่านดาบสยังไม่โกรธ พยาบาทแม้แต่น้อย ด้วยอำนาจสมาธิที่ฝึกมาดี
ขั้นตอนนี้ เปรียบเสมือน กำลังทหารของพระราชา ที่ยามสงบฝึกฝนตนเองประจำ ทำให้เมื่อยามรบก็พร้อมลุยกับศัตรูทุกๆ รูปแบบ

4. ต่อมาแน่นอน ก็มาถึงกำลังปัญญา สามารถฝึกฝนโดย ฟัง อ่านเรื่องราว ข้อมูล ของคนเก่งและดี ที่เขาสู้ชีวิต เช่น คุณคำน้อย ขาขาด 2 ข้างยังเข้าถึงองค์พระ เขามีเทคนิคอย่างไร หรือ มีสติปัญญาแยบคาย เช่น อากาศร้อน เกิดความหงุดหงิดฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็คิดว่า ไฟนรกร้อนกว่านี้ตั้งหลายเท่า แล้วทำความเพียรต่อไป หรือกามกำเริบขึ้นมา ก็คิดว่า ชาติก่อนเราก็เป็นแบบนี้ เราเป็นแบบนี้มานับชาติไม่ถ้วนแล้ว จึงยังคงเวียนว่ายอยู่ เราจะยังคงเป็นต่อไปอีกหรือ
ขั้นตอนนี้ เปรียบเสมือน สรรหาเสนาบดี ผู้เป็นมันสมองของกองทัพ เพราะลำพังกองทัพที่มีแต่กำลังทหาร แต่ไร้ปัญญา ก็ย่อมยากจะเอาชนะศัตรูที่เก่งๆ ได้

5. สุดท้ายก็คือ กำลังความเพียร ฝึกฝนให้เรามีความเพียรจนเป็นนิสัย อย่าเห็นใจความเกียจคร้าน เมื่อเพียรจนเป็นนิสัยก็จะหายง่วงได้เอง ในเวลาที่เราต้องการ แต่หากเกียจคร้านเป็นนิสัย เราก็ไม่อาจชนะความง่วง หรืออื่นๆ ได้
ขั้นตอนนี้ เปรียบเสมือน ทหารกองหนุน เมื่อศัตรูมีกำลังมากๆ ลำพังกองทัพปรกติย่อมไม่เพียงพอ ก็ต้องนำกองหนุนมาช่วยป้องกันศัตรู

หากฝึกฝนได้อย่างนี กองทัพของเรา เอ้ยไม่ใช่ กองกำลังแห่งจิตใจของเรา ก็จะเข้มแข็งมีกำลัง สามารถเอาชนะนิวรณ์ทั้งหลายได้ ตั้งแต่นิวรณ์ตัวเล็ก ไปจนถึงนิวรณ์ตัวใหญ่ ชนะได้ชั่วคราว ไปจนถึงชนะได้ตลอดไป

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#8 sun of peace

sun of peace
  • Members
  • 101 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 10:53 AM

สาธุกับพี่หัดฝัน กับพี่สายน้ำทิพย์ด้วยนะครับ ให้รายละเอียดชัดเจนดีทีเดียว
จะครองเรือนไปสักกี่ร้อยปีก็ครองไปเถิด งานเรื่องของคนอื่นเค้าทั้งนั้น เรื่องของพญามารทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องของตัว ไม่ใช่งานของตัว ไปทำงานให้พญามารเค้าทั้งวันทั้งคืน เอาเรื่องอะไรไม่ได้

#9 IQ0

IQ0
  • Members
  • 366 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:MS16
  • Interests:อยากสร้่างบ้านพักคนชราไว้รองรับจนทให้อยู่ใกล้ๆวัด

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 12:04 PM

ดีจัง สาธุครับ
ไม้ต้นเดียว ...........ไม่เป็นผืนป่า
ด้ายเส้นเดียว .........ไม่เป็นผืนผ้า
อิฐก้อนเดียว .... ไม่เป็นบ้านเรือน
ทำบุญคนเดียว ...ไม่เป็นกัลยาณมิตร

#10 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 12:18 PM

nerd_smile.gif nerd_smile.gif nerd_smile.gif กระทู้สำหรับอ่านประกอบและทบทวนความรู้
=> http://www.kalyanami...p?showtopic=263
"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#11 Nida49

Nida49
  • Members
  • 456 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 12:32 PM

เป็นคำถามที่อยากรู้เหมือนกัน
ขออนุโมทนาบุญทั้งผู้ตั้งคำถาม และ ผู้ตอบ

#12 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 01:04 PM

ถ้าจะว่ากันตามประสบการ ก็อาจจะแนะนำกันได้ครับ

การกำจัดนิวรณ์นั้น จะว่ายากก็ไม่ยาก จะว่าง่ายก็ไม่งาย มันละเอียดอ่อนตามกาลน่ะครับ แต่ทว่า นิวรณ์นับว่าเป็นอุปสรรค์สำคัญทีเดียว ในการทำใจให้หยุด หากใครที่กำจัดนิวรณ์ไม่ได้ อย่าหวังเลย ว่าจะทำหยุดทำนิ่งได้ บางท่านเคยผิดศีล5บางข้อมา บุญบารมีถึง อาจจะยังพอทำให้ใจหยุดได้บ้าง แต่ใครที่ยังมีนิวรณ์เคลือบใจอยู่ในขณะนั่งสมาธิ หรือแม้เวลาปรกติเป็นประจำ ต่อให้นั่งทั้งชาติก็ยังทำใจหยุดไม่ได้ครับ

การกำจัดนิวรณ์ ที่ว่าไม่ยากไม่ง่ายก็คือ ปรกติคนเรามักจะประสบกับอารมต่างๆ เป็นปรกติ บางท่านอาจจะทั้งวันทั้งคืนก็มี อารมที่ว่าก็คือ หงุดหงิด ฝุ้งซ่าน งุ่นง่านรำคาญใจไม่สบอารม หลงไหลเพลิดเพลิน ง่วงเหงาหาวนอน ท้อแท้สิ้นหวัง อารมเหล่านี้ จัดว่าเป็นนิวรณืทั้งนั้น วิธีกำจัดง่ายๆก็คือ "ต้องรู้ทัน" มันครับ พอมันมาปุ๊บ ให้เรารีบออกจากมันทันที สลัดมันทิ้งออกไปจากใจทันที ครูท่านเคยแนะนำว่า ให้สลัดสั่งลมหายใจทิ้งออกมาเหมือนสั่งน้ำมูก เดี๋ยวก็หายจากอารมนั้นๆครับ
เราต้องหัดใช้คำว่า ช่างมัน ปล่อยมัน ให้คล่องปากครับ ที่ว่า จะว่าง่ายก็ง่ายจะว่ายากก็ยาก มันอยู่ที่ตรงนี้ แรกแรก อาจจะยากหน่อยครับ พออะไรมันมาทำไห้ไม่สบอารมทีไร มักจะระเบิดออกมาเป็นนิสัยทันที แบบนี้ต้องค่อยๆนะครับ ค่อยๆเก็บไว้ในอก (แต่ไม่ใช่แบบภูเขาไฟนะครับ) แล้วลืมมันซะโดยใช้คำว่า ปล่อยมัน ช่างมัน ทำไห้บ่อยๆ ให้เป็นนิสัยครับ จากเดิม มันมา100ระเบิดกลับไป100 หัดไปเรื่อยๆจนถึงมา100ระเบิด80จนเหลือ -70-50-10-5-0 จนในที่สุด เราจะสลัดอารมทั้งหลายได้โดยง่าย เมื่อสลัดอารมได้ง่ายๆแล้ว เวลาเราไปทำใจให้หยุด เราก็จะหยุดได้โดยง่ายๆครับ

ส่วนนิวรณ์ในข้ออื่นๆ เช่น ง่วง ท้อ ลังเล อาจใช้เทคนิคนี้ได้เหมือนกันคือ ทำบ่อยๆค่อยๆทำ แรกๆยาก แต่ต่อไปจะง่ายนิดเดียวครับ




#13 น้อมเศียรเกล้า

น้อมเศียรเกล้า
  • Members
  • 365 โพสต์
  • Location:ถ.ลาดพร้าว
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย การรักษาโรคด้วยวิธีธรรมชาติ <br />รำนาฏศิลป์ เล่นดนตรีไทย เล่นดนตรีสากล

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 01:06 PM

พยายามทำบุญมากๆค่ะ ทำแบบทุ่มดวงใจ อาราธนาอานุภาพแห่งพรรัตนตรัยมากๆ ให้ท่านช่วยเมตตาสั่งสอนดวงใจของเราให้เป็นมรรค เป็นผล เป็นพระนิพพาน ให้รู้แจ้งในธรรมที่ท่านได้รู้แจ้งดีแล้ว ขอขมาพระรัตนตรัยบ่อยๆ เพราะในอดีตเราก็เคยได้ล่วงเกินต่อพระรัตนตรัยมาไม่มากก็น้อย ทำบุญมากๆ ขอขมามากๆ อธิษฐานมากๆ แล้วอานุภาพและพระรัตนตรัยและความดี จะสั่งสอนเราเองค่ะ

#14 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 02:19 PM

ขอบคุณคุณขุนศึกฯ และสาธุกับคำตอบคุณสิริปโภค่ะ

สำหรับตนเองประสบการณ์ตนเองก็ยังไม่ดีเลยค่ะ wacko.gif แต่อ่านไปเจอข้อความนี้มาค่ะ...เผื่อดึงอะไรไปใช้ได้บ้าง laugh.gif

ต้องวิเคราะห์สังเกตตัวเองก่อน แล้วบอกได้หรือไม่ว่าตนเองเป็นคนฟุ้งซ่าน เป็นคนช่างคิด เป็นคนชอบพินิจพิจารณาสิ่งต่าง ๆ รอบตัว หรือว่าเป็นคนชอบรับสัมผัสจากโลกภายนอก บางคนช่างคิดช่างย้ำเรื่องขุ่น เรื่องเคือง เมื่อย้ำคิดก่อทุกข์ ก่อความคับข้องให้ ก็ยิ่งทวีความเกลียดความโกรธ....หาวิธีเหนี่ยวใจให้ใฝ่ดี พัฒนาตัวพุ่งหาที่สูง

ความสุขจากสมาธิอันเหมือนกระแสทิพย์นั้น ประจักษ์ได้จริงแก่ผู้อบรมจิตสมาธิ มีสุขเย็นอันแปลกประหลาด เหมือนอยู่คนละโลกกับตัวตนเดิม...

ส่วนทุกข์อันสาหัสนั้นอาจเกิดได้จากความรวนแห่งจิต และกายตนเอง จิตและกายทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ครอง อาจเป็นทัณฑ์ จากกรรมเก่าหรือกรรมใหม่อันล้วนแล้วแต่เกิดจากความไม่รู้บุญ ไม่รู้บาป....

การทำสมาธิอาจจะไม่ได้อยู่ที่ท่านั่งแต่เพียงอย่างเดียวจะยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม กิน ถ่าย ทำงาน หรือไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดเอาใจไปไว้ที่ฐานที่อยู่ ถ้าเห็นว่าขั้นตอนที่เคยทำไว้มันไม่ดีจะค่อยปรับปรุงก็ได้(หรือปล่าวค่ะ) เพราะเวลาที่เราไปใช้ชีวิตปกติกับการทำงานของชีวิตประจำวันจะได้ชิน ไม่ต้องปรับตัวและจิตไม่หนีหายไปไหน

#15 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 02:45 PM

ขอบคุณมากครับและขออนุโมทนาบุญกับท่านด้วยที่ให้ความกระจ่าง สาธุ สาธุ สาธุ
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#16 นับดาว

นับดาว
  • Members
  • 422 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 03:24 PM

ตอบจากประสบการณ์ละกันนะคะ

ไม่แม่นทฤษฎีค่ะ red_smile.gif

ในการปฏิบัติธรรมของตัวเองใช้วิธีต่างๆในการกำจัดนิวรณ์แต่ละข้อดังนี้ค่ะ

1.กามฉันทะ ทั้งในเรื่องรูป รส กลิ่น เสียง กำจัดโดยรักษาศีล 8 หมั่นทบทวนศีลให้บริสุทธิ์

2.พยาบาท ก็นึกอุบายเตือนตัวเองว่า ความพยาบาทจะทำให้ใจเศร้าหมอง และอารมณ์เช่นนี้

คนดีๆเช่นเราไม่น่าจะนำมาเก็บไว้กับตัว wink.gif

3.
QUOTE
ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ไม่ร่าเริงแจ่มใส ทำให้จิตไม่มีสมรรถภาพ

จะหาเรื่องดีๆมาคิด บางทีก็จะเล่นกับหลานๆค่ะ เพราะเวลาหลานๆพูดไม่ชัดจะตลก

ฟังแล้วอารมณ์ดี จิตใจหายหดหู่ อยู่ใกล้คนใจใส..เราก็ใสตาม

ความจริงเรื่องนี้รวมถึงความง่วงเวลานั่งสมาธิด้วยนะคะ

ถ้าเราทานเยอะ ก็ง่วงง่ายค่ะ ...ต้องพอดีๆ

4.
QUOTE
อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย

กรณีของฟุ้งจากสมาธิ เป็นเพราะมีเรื่องมากระทบจิตในแต่ละวันมาก

คนเยอะก็เรื่องแยะ คุยมากก็ฟุ้งมาก ลองสังเกตุดูสิคะ วันไหนคุยมาก

กลับบ้านมานั่งสมาธิ..ฟุ้งแหลกราญเลย


5.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยwacko.gif

ต้องหมั่นบอกกับตัวเองว่า

สงสัยตอนนี้ก็ยังจะไม่มีคำตอบหรอก

จนกว่าจะได้เห็นธรรม ทำใจให้อินโนเซนท์เหมือนเด็ก

ถ้าเปิดเทปนำนั่ง..หลวงพ่อท่านนำอย่างไรก็ไปตามนั้น

ใหม่ๆอาจจะยาก แต่พอทำสักพัก สติจะช่วยประคับประคองให้เราไม่สงสัย

ไม่ฟุ้ง ไม่หลับ..

แนะนำประมาณนี้..น่าจะพอนำไปใช้ได้บ้างนะคะ happy.gif
ถ้าใจใส

เรื่องดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน

#17 ฉันจะติดตามเธอ

ฉันจะติดตามเธอ
  • Members
  • 135 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:วัดครับ
  • Interests:การฝึกตัวครับผม เรื่องน่ารู้ก็น่าสนใจนะ

โพสต์เมื่อ 23 August 2006 - 11:48 AM

ทดสอบๆๆครับ
เราก็เหมือนเด็กคนหนึ่ง ที่เพิ่งคลาน

#18 ลูกพระธัมฯ Merry Ma

ลูกพระธัมฯ Merry Ma

    The STRONGEST is the GENTLEST!!!

  • Members
  • 891 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok, Thailand

โพสต์เมื่อ 31 August 2006 - 04:33 AM

สาธุ กระทู้นี้ความรู้แน่นดีจังค่ะ
The Strongest is The Gentlest!

ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด

#19 คนรักวัด

คนรักวัด
  • Members
  • 626 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 September 2006 - 09:03 PM

นิวรณ์ คือสิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ มี 5 อย่างคือ

กามฉันทะ คือความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คำว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น)

พยาปาทะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ

ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอย และมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอน
ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป มิทธะนี้ไม่จัดเป็นกิเลส (พระอรหันต์ไม่มีถีนะแล้ว แต่ยังมีมิทธะได้เป็นบางครั้ง)

อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้

วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น

นิวรณ์ทั้ง 5 ตัวนี้ มีเฉพาะอุทธัจจะเท่านั้นที่เกิดขึ้นตัวเดียวได้ ส่วนนิวรณ์ตัวอื่น ๆ นอกนั้น เมื่อเกิดจะเกิดขึ้นร่วมกับอุทธัจจะเสมอ

นิวรณ์ทั้ง5 เป็นอุปสรรคสำคัญในการทำสมาธิ ถ้านิวรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือหลายตัวเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย แต่นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ไม่เป็นตัวขวางกั้นวิปัสสนาเลย ทั้งยังเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอีกด้วย เพราะวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่ว่าขณะนั้นอะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นประโยชน์ให้เรียนรู้ได้เสมอ นิวรณ์ทั้ง 5 นี้ก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ๆ ของจิตที่เป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอำนาจ ของจิตเช่นกัน


๏ วิธีแก้ไขนิวรณ์ 5

เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้นมีวิธีแก้ดังนี้คือ

1.) กามฉันทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของกามฉันทะที่เกิดขึ้น ดังนี้

พิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก คือให้ความสุขในช่วงที่ได้มาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้น ๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนำความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหาเพื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

พิจารณาถึงความที่สิ่งทั้งหลายมีความแปรปรวนไปตลอดเวลา สิ่งที่ให้ความสุขในวันนี้ ก็อาจจะนำความทุกข์มาให้ได้ในวันข้างหน้า เช่น คนที่ทำดีกับเราในวันนี้ ต่อไปถ้าเขาเบื่อ หรือไม่พอใจอะไรเราขึ้นมา เขาก็อาจจะร้ายกับเราอย่างมากก็ได้

พิจารณาถึงความเป็นอสุภะ คือเป็นของไม่สวยไม่งาม เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ร่างกายที่เห็นว่าสวยงามในตอนนี้ จะคงสภาพอยู่ได้นานสักเท่าใด พอแก่ตัวขึ้นก็ย่อมจะหย่อนยาน เหี่ยวย่นไม่น่าดู ถึงแม้ในตอนนี้เอง ก็เต็มไปด้วยของสกปรกไปทั้งตัว ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า (ไม่เชื่อก็ลองไม่อาบน้ำดูสักวันสองวันก็จะรู้เอง) ลองพิจารณาดูเถิด ว่ามีส่วนไหนที่ไม่ต้องคอยทำความสะอาดบ้าง และถ้าถึงเวลาที่กลายสภาพเป็นเพียงซากศพแล้วจะขนาดไหน

พิจารณาถึงคุณของการออกจากกาม หรือประโยชน์ของสมาธิ เช่น

เป็นความสุขที่ประณีต ละเอียดอ่อน เบาสบายไม่หนักอึ้งเหมือนกาม คนที่ได้สัมผัสกับความสุขจากสมาธิสักครั้ง ก็จะรู้ได้เองว่าเหนือกว่าความสุขจากกามมากเพียงใด

เป็นความสุขที่ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก เพราะเกิดจากความสงบภายใน จึงไม่ต้องมีการแย่งชิง ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขัน ไม่ต้องกลัวถูกลักขโมย

เป็นความสุขที่ไม่ต้องมีวัตถุใดๆ มาเป็นเครื่องล่อ จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

2.) พยาปาทะ มีวิธีแก้ดังนี้

มองโลกในแง่ดีให้เห็นว่าคนที่ทำให้เราไม่พอใจนั้น เขาคงไม่ได้ตั้งใจหรอก เขาคงทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด หรือถูกเหตุการณ์บังคับ ถ้าเขารู้หรือเลือกได้เขาคงไม่ทำอย่างนั้น

คิดถึงหลักความจริงที่ว่า คนเราเมื่ออยู่ใกล้กัน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกใจคนอื่น ได้เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เพราะคงไม่มีใครสามารถทำให้ถูกใจคนอื่นได้ตลอดเวลา แม้ตัวเราเองก็ยังเคยทำให้คนอื่นไม่พอใจเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อคนอื่นทำไม่ถูกใจเราบ้าง ก็ย่อมจะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรจะถือโทษโกรธกันให้เป็นทุกข์กันไปเปล่าๆ

พิจารณาถึงคุณของการให้อภัย ว่าอภัยทานนั้นเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นการทำบุญโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย

คิดเสียว่าเป็นการฝึกจิตของตัวเราเองให้เข้มแข็งขึ้น โดยการพยายามเอาชนะใจตนเอง เอาชนะความโกรธ และขอบคุณผู้ที่ทำให้เราโกรธที่ให้โอกาสในการฝึกจิตแก่เรา ให้เราได้สร้างและเพิ่มพูนขันติบารมี

คิดถึงเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของของตน ใครสร้างกรรมอันใดไว้ ย่อมต้องรับผลกรรมนั้นๆ สืบไป การที่เราเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในครั้งนี้ ก็คงเป็นเพราะกรรมเก่าที่เราได้ทำเอาไว้ สำหรับคนที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้นั้น เขาก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองในวันข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ให้ความรู้สึกสงสารผู้ที่ทำไม่ดีกับเราในครั้งนี้ ว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย เพราะเมื่อเขาทำแล้ว ต่อไปเมื่อกรรมนั้นส่งผล เขาก็จะต้องเป็นทุกข์ทรมานเพราะกรรมนั้น

พิจารณาโทษของความโกรธ ว่าคนที่โกรธก็เหมือนกับจุดไฟเผาตัวเอง ทำให้ต้องเป็นทุกข์เร่าร้อน หน้าตาก็ไม่น่าดู แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็มีแต่คนโง่ กับคนบ้าเท่านั้นที่ผูกโกรธเอาไว้

แผ่เมตตาให้กับคนที่เราโกรธ ถ้าทำได้นอกจากจะดับทุกข์จากความโกรธได้แล้ว ยังทำให้มีความสุขจากการแผ่เมตตานั้นอีกด้วย และยังจะเป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปด้วย

3.) ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะคือความหดหู่ท้อถอยนั้นแก้โดย

พิจารณาถึงโทษของกามและคุณของสมาธิ เพื่อทำให้เกิดความเพียร ในการปฏิบัติให้พ้นจากโทษของกามเหล่านั้น

คบหากับคนที่มีความเพียร ฝักใฝ่ยินดีในการทำสมาธิ

หลีกเว้นจากคนที่ไม่ชอบทำสมาธิ หรือคนที่เบื่อหน่ายในสมาธิ

ส่วนมิทธะคือความง่วงเหงาหาวนอนนั้น มีวิธีแก้หลายวิธี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระโมคคัลลานะ สรุปได้เป็นขั้นๆ ดังนี้

ในขณะที่เพ่งจิตในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เพื่อทำสมาธิหรือวิปัสสนาก็ตาม แล้วเกิดความง่วงขึ้นมา ให้เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นขึ้นไปอีก ก็จะทำให้หายง่วงได้

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ตรึกตรอง พิจารณาธรรมที่ได้อ่าน หรือได้ฟัง ได้เรียนมาแล้ว โดยนึกในใจ

ถ้ายังไม่หายง่วงให้สาธยายธรรมที่ได้อ่าน ได้ฟัง หรือได้เรียนมาแล้ว คือให้พูดออกเสียงด้วย

ถ้ายังไม่หายง่วงให้ยอนช่องหูทั้งสองข้าง (เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู) เอามือลูบตัว

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ (คือให้มองไปทางโน้นทีทางนี้ที บิดคอไปมา)

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้ทำในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง) ตั้งความสำคัญในกลางวัน ว่ากลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด (คือให้ทำความรู้สึกเหมือนกับว่า กลางคืนนั้นสว่างราวกับเป็นกลางวัน)

ถ้ายังไม่หายง่วง ให้เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก (ควรเดินเร็วๆ ให้หายง่วง)

ถ้ายังไม่หายง่วงอีก ให้สำเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปนอน) มีสติสัมปชัญญะ โดยบอกกับตัวเองว่า ทันทีที่รู้สึกตัวตื่นแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที ด้วยตั้งใจว่า เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ

4.) อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต แก้โดย
ใช้เทคนิคกลั้นลมหายใจ (เทคนิคนี้นอกจากจะใช้แก้ความฟุ้งซ่านได้แล้ว ยังใช้ในการแก้ความง่วงได้อีกด้วย) โดยการทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
เริ่มจากการหายใจเข้าออกให้ลึกที่สุด โดยทำเหมือนถอนหายใจแรงๆ สัก 3 รอบ จากนั้นทำสิ่งต่อไปนี้พร้อมกันคือ ใช้ลิ้นดุนเพดานปากอย่างแรง หลับตาปี๋ เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และกล้ามเนื้อทั่วร่างกายให้มากที่สุด กลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับทำสมาธิ โดยกำหนดจิตไว้ที่การกลั้นลมหายใจนั้น เพิ่มความหนักแน่น หรือความถี่ของสิ่งที่ใช้ยึดจิตขึ้นไปอีก เพื่อให้สามารถประคองจิตได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือลดโอกาสในการฟุ้งให้น้อยลง เช่น ถ้าตอนแรกใช้กำหนดลมหายใจเข้า/ออก โดยบริกรรมว่าพุทธ/โธ หรือ เข้า/ออก ซ้ำไปซ้ำมา ก็เปลี่ยนเป็นนับลมหายใจแทน โดยหายใจเข้านับ 1 ออกนับ 1 เข้า-2 ออก-2 ... จนถึง เข้า-10 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่ การนับนี้ให้ลากเสียง(ในใจ) ให้ยาวตั้งแต่เริ่มหายใจเข้าหรือออก จนกระทั่งสุดลมหายใจ เพื่อให้จิตเกาะติดกับเสียงนั้นไปตลอด

ถ้ายังไม่หายก็เปลี่ยนเป็น เข้า-1 ออก-2 เข้า-3 ออก-4 ...... เข้า-9 ออก-10 แล้วเริ่มนับ 1 ใหม่

ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นรอบแรกนับจาก 1จนถึง 10 (เหมือนครั้งที่แล้ว) รอบที่สองนับจาก 1 - 9 ลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลือนับ 1 - 5 แล้วค่อยเพิ่มขึ้นเป็น 1 - 6 ...... จนถึง 1 - 10 แล้วลดลงใหม่จนเหลือ 1 - 5 แล้วเพิ่มขึ้นจนถึง 1 - 10 กลับไปกลับมาเรื่อยๆ เพื่อให้ต้องเพิ่มความตั้งใจขึ้นอีก

ถ้ายังไม่หายอีกก็เปลี่ยนเป็นนับเลขอย่างเร็ว คือขณะหายใจเข้าแต่ละครั้งก็นับเลข 1,2,3,... อย่างรวดเร็วจนกว่าจะสุดลมหายใจ พอเริ่มหายใจออกก็เริ่มนับ 1,2,3,... ใหม่จนสุดลมหายใจเช่นกัน ทั้งนี้ไม่ต้องไปกำหนดว่าตอนหายใจเข้า/ออกแต่ละครั้งจะต้องนับได้ถึงเลขอะไร เช่น หายใจเข้าครั้งแรกอาจจะนับได้ถึง 12 พอหายใจออกอาจจะได้แค่ 10 หายใจเข้าครั้งต่อไปอาจจะได้แค่ 9 ก็ได้

*** ในการหายใจนั้นที่สำคัญคือให้หายใจให้เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด อย่าไปบังคับลมหายใจให้ยาวหรือสั้น บางขณะอาจหายใจยาว บางขณะอาจสั้นก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมัน เรามีหน้าที่เพียงแค่สังเกตดูเท่านั้น

*** ทำใจให้สบาย อย่ามุ่งมั่นมากเกินไปจนเครียด จะทำให้ฟุ้งซ่านหนักขึ้น ค่อยๆ ฝึกไปเรื่อยๆ แล้วจะดีขึ้นเอง อย่าหวัง อย่ากำหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนี้จะต้องได้อย่างนั้นอย่างนี้ ปล่อยวางให้มากที่สุด ทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน คือเพียงแค่สังเกตว่าตอนนี้เป็นอย่างไรก็พอแล้ว อย่าคิดบังคับให้สมาธิเกิด ยิ่งบีบแน่นมันจะยิ่งทะลักออกมา ยิ่งฟุ้งไปกันใหญ่

*** ถ้านับเลขผิดให้เริ่มต้นนับ 1 ใหม่ แล้วดูว่าวันนี้จะนับได้มากที่สุดถึงแค่ไหน

*** เมื่อนับถี่ที่สุดถึงขั้นไหนแล้วเอาจิตให้อยู่ได้ก็หยุดอยู่แค่ขั้นนั้น พอฝึกจิตได้นิ่งพอสมควรแล้ว ก็ลองลดการนับไปใช้ขั้นที่เบาลงเรื่อยๆ จิตจะได้ประณีตขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนกุกกุจจะคือความรำคาญใจ นั้นแก้ได้โดย
พยายามปล่อยวางในสิ่งนั้นๆ โดยคิดว่าอดีตก็ผ่านไปแล้ว คิดมากไปก็เท่านั้น อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เรามาทำปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า ตอนนี้เป็นเวลาทำกรรมฐาน เพราะฉะนั้นอย่างอื่นพักไว้ก่อน ยังไม่ถึงเวลาคิดเรื่องเหล่านั้น
ถ้าแก้ไม่หายจริงๆ ก็ไปจัดการเรื่องเหล่านั้นให้เรียบร้อย แล้วถึงกลับมาทำกรรมฐานใหม่ก็ได้

5.) วิจิกิจฉา แก้ได้โดย พยายามศึกษาหาความรู้ให้มากที่สุด
ถ้ายังไม่แน่ใจก็คิดว่าเราจะลองทางนี้ดูก่อน ถ้าถูกก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าผิดเราก็จะได้รู้ว่าผิด จะได้หายสงสัย แล้วจะได้พิจารณาหาทางอื่นที่ถูกได้ ยังไงก็ดีกว่ามัวแต่สงสัยอยู่ แล้วไม่ได้ลองทำอะไรเลย ซึ่งจะทำให้ต้องสงสัยตลอดไป


อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain

#20 R.J.

R.J.
  • Members
  • 4 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 09:43 PM

ดีจังเลยค่ะที่ได้อ่าน อนุโมทนากับธรรมทานนี้ด้วยนะคะ
พอดีมีประสบการณ์การนั่งสมาธิที่ยังติดขัดอยู่อยากให้ช่วยแนะนำหน่อยคะว่าควรจะทำอย่างไรดี
คือเวลานั่งสมาธิจะนั่งหลับเป็นประจำ ซึ่งบางครั้งก็ไม่มีอาการง่วงนอนมาก่อน แต่สังเกตได้ว่าพอใจเริ่มนิ่งแล้วรู้สึกว่าเผลอประคองใจไม่ดีจะหลับไปเลยค่ะ
ควรจะแก้ไขอย่างไรดีค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่ดิฉันจะไม่ค่อยนึกนิมิตเพราะนึกแล้วรู้สึกว่าตึง ใจจะไม่สบายเลยปล่อยใจสบาย ๆ ภาวนา สัมมา อรหัง เรื่อย ๆ เท่านั้นค่ะ

#21 Talent_book

Talent_book
  • Members
  • 95 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:นั่งสมาธิ

โพสต์เมื่อ 09 October 2006 - 05:47 PM

ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหุสัจะ วิริยารัมพะ สติ สมาธิ ไม่รู้ถูกรึเปล่าครับ สิ่งที่ป้องกันกิเลสเข้ามาในใจ
ดุจแสงเทียนแสงธรรมนำชีวิต
พระอุทิศกายใจทำไมหนอ
เพียงลำพังพระเองก็สุขพอ
ใยต้องรอผองเราเข้าถึงธรรม

สุนทรพ่อ

I Love You หลายเด้อ

#22 จะว่าง่ายค่ะ

จะว่าง่ายค่ะ
  • Members
  • 25 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 March 2007 - 03:20 PM

happy.gif อนุโมทนาสาธุ


#23 No Torayot

No Torayot
  • Members
  • 44 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 March 2007 - 10:05 PM

When its come I say to myself many many times...


---------------------------------------------------------AWAKE

SINCERE------------------------------------------------------

--------------------Do nothing for others wife and child

FORGIVE------------------------------------------------------

---------------------------------------------------CONFIDENT


266WAT Coin is waitting for you.
Anumotana boooooooooooooon!