ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

สถูปสาญจี


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 21 March 2006 - 11:25 PM

โดย พระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ
*** คัดลอกมาบางส่วน

บทนำ
นยอดเขาแห่งภาคกลางของชมพูทวีป ได้มีมหานุสรณ์แห่งความศรัทธาอย่างแรงกล้าของพระเจ้าจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลก
ที่มีต่อพระพุทธศาสนา และ ณสถานที่แห่งนี้พระเจ้าจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่นี้

ได้ส่งพระพระราชโอรสและพระธิดาผู้เป็นที่รักดุจดังแก้วตาและดวงใจไปยังดินแดนที่อยู่ห่างไกล
ถึงแม้จะรู้เต็มอกว่า พระราชโอรสและพระธิดาจะไม่ได้กลับมาอีก
แต่เพื่อความสุขของมวลมนุษย์บนพื้นพิภพแล้ว อย่าว่าแต่พระราชโอรสหรือพระธิดาเลย
แม้ชีวิตของพระองค์ก็ทรงเสียสละได้
และการเสียสละของพระองค์ก็นำความสุขมาให้แก่มวลมนุษยชาติทั่วทั้งโลก

ณ ที่แห่งนี้ พระองค์ได้ทรงสร้างมหานุสรณ์ทียิ่งใหญ่
เพื่อบูชาพระพุทธองค์พร้อมเหล่าพระสาวก
และเพื่อเป็นที่ระลึกแก่พระราชโอรสและธิดา

และภายหลังจากนั้นกว่า 2000 ปี มหานุสรณ์ยังคงปรากฏชัดต่อสายตาของคนทั้งโลก
และกลายเป็นสถานที่สำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา สถานที่แห่งนี้ คือ


มหาสถูปสาญจี

ที่ตั้งของพระมหาสถูปสาญจี
ั้งอยู่บนเนินเขา (มีความสูงประมาณ 91 เมตร)
ในเขตหมู่บ้านสาญจี (Sanchi) อำเภอไรเซ่น (Raisen)
แคว้นมัธยมประเทศ( Madhya Pradesh) ประเทศอินเดีย

ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองวทิสา (Vidisha)
ประมาณ ๙ กิโลเมตร และห่างจากเมืองโภปาล (Bhopal) เมืองของแคว้นมัธยมประเทศ
ทางทิศตะวันตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๔๖ กิโลเมตร
ตั้งอยู่ในเขตการเดินรถไฟเขตภาคกลาง


การเดินทางไปมหาสถูปสาญจี
การเดินทางที่ดีที่สุดต้องเริ่มต้นที่เมืองโภปาล
เพราะเป็นเมืองหลวงของแคว้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย
และสามารถเดินทางจากเมืองโภปาลไปสถูปสาญจีได้สะดวก
ทั้งทางรถไฟและรถยนต์ประจำทางและเช่าในราคาที่ย่อมเยาว์

ที่มาของชื่อสาญจี
คำว่า “สาญจี” เป็นชื่อของหมู่บ้านที่องค์สถูปตั้งอยู่
รวมทั้งเป็นชื่อของสถานีรถไฟขนาดเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง
(รถไฟขบวนยาวไม่จอดสถานีนี้ ยกเว้นเป็นสายสั้นและรถขนาดเล็กวิ่งระหว่างเมืองต่อเมือง) เมื่อมีการค้นพบองค์พระสถูปและโบราณสถานต่างๆ มากมายบนยอดเขา
จึงเรียกชื่อตามหมู่บ้านนั้นว่า “สาญจี”

แต่ถ้าพูดถึงคำว่า “สาญจี”แล้ว
คนอินเดียทั่วไปจะหมายถึง องค์สถูป มากกว่าหมู่บ้านและสถานีรถไฟ
ในคัมภีร์ปฐมสมันตปาสาทิกา ภาคที่ ๑ เรียกยอดเขา ที่พระสถูปตั้งอยู่ว่า เจติยคีรี


พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างสถูปสาญจี

ในพรรษาสุดท้ายของพระพุทธองค์ พระเจ้าวิทูฑภะ กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล
ได้ยกทัพไปทำลายเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ซึ่งเป็นเมืองของพระพุทธองค์
พวกเจ้าศากยะถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก
และยังมีอีกหลายพวกได้อพยพหลบหนีภัยสงครามไปยังเมืองต่างๆ

และมีพวกหนึ่งได้ไปยังเมือง เวทีสา แคว้นอวันตี (ปัจจุบัน คือ รัฐมัธยประเทศ)
ได้พากันสร้างบ้านเมืองขึ้นมาใหม่จนมีความเจริญรุ่งเรือง
และได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญของอินเดียโบราณ

ภายหลังพุทธกาลประมาณ ๒๐๐ ปี อาณาจักรแห่งแคว้นมคธได้กลายเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่
และมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาฏลิบุตร (ปัจจุบันคือ เมืองปัตนะ เมืองหลวงของรัฐพิหาร)
พระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์ โมริยะ(บางทีก็เรียกว่า เมารยะ แปลว่า นกยูง)
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์
และพระองค์ได้ส่งพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า


“อโศก”


ซึ่งดำรงตำแหน่งอุปราชแห่งเมืองปาฏลีบุตร ให้มาดำรงตำแหน่งที่เมืองอุชเชนี
(ปัจจุบันคือ เมือง อุชเชน UJJAIN รัฐมัธยประเทศ) เมื่อพระเจ้าอโศกเสด็จมาถึงเมืองเวทิสา
ได้ทรงพบกับลูกสาวของเศรษฐีชาวเมืองเวทิสา ชื่อว่า เวทีสาคีรี และได้สมรสกับนาง
และได้มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์พระนามว่า “มหินทะ” และพระธิดาพระนามว่า “สังฆมิตตา”

ใน พ.ศ. ๒๑๔ พระเจ้าพินทุสารทรงชราภาพมาก
(พระเจ้าพินทุสารมีพระราชโอรส ๑๐๑ พระองค์)

พระเจ้าอโศกได้เสด็จกลับมายังเมืองปาฏลีบุตรและทรงยึดราชสมบัติทรงใช้เวลาถึง ๔ ปี
ในการปลงพระชนม์พระเชษฐา(พี่ชาย) และพระอนุชา (น้องชาย)
เป็นจำนวนถึง 99 พระองค์ผู้มีความแตกต่างจากพระองค์
(ยกเว้นแต่พระติสสะกุมาร ซึ่งเกิดจากพระมารดาองค์เดียวกันเท่านั้น)
และต่อมาจึงได้เป็นกษัตริย์แห่งเมืองปาฏลีบุตร


พ.ศ. ๒๑๘ เมื่อได้ครองราชสมบัติแล้วทรงใช้ระยะเวลา ๓ ปีในการปราบปรามเมืองต่างๆ
ที่ไม่ยอมสยบต่อพระองค์ ทำให้พระอาณาจักรปาฏลีบุตรมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดใ
นประวัติศาสตร์ของอินเดีย พอสรุปได้ดังนี้ (เทียบในปัจจุบัน)

ใน พ.ศ. ๒๒๑ พระองค์ได้เสด็จไปปราบเมืองกลิงค (ปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐโอริสสา อินเดีย)
ชาวเมืองไม่ยอมแพ้เกิดการต่อสู้กันขึ้น ทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
ดังปรากฏในศิลาจารึก ฉบับที่ ๑๓ สรุปใจความได้ ดังนี้

“ในปีที่ ๘ (นับจากปีที่ทรงปราบปรามและยึดเมืองปาฏลิบุตร)
เสด็จไปปราบแคว้นกาลิงคะ และได้ชัยชนะ
มีประชาชนชาวแคว้นกาลิงคะจำนวนถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นคนถูกจับเป็นเชลย
และประมาณหนึ่งแสนคนถูกฆ่า และอีกหลายเท่าของจำนวนนั้นได้ล้มตายไป”


เพราะสงครามครั้งนี้เอง พระองค์ได้เห็นคนตายมากมาย จึงทรงสลดพระทัย
และได้ตัดสินพระทัยไม่ทำสงครามขยายดินแดนอีกต่อไป
ในเริ่มแรก พระองค์ได้เลื่อมใสในนักบวชนอกพระพุทธศาสนาตามพระราชบิดา

ภายหลังสงครามครั้งนี้ไม่นานนักพระองค์ได้พบกับสามเณรอายุ ๗ ขวบรูปหนึ่ง
ที่มีกิริยามารยาทเรียบร้อย ชื่อว่า นิโรธ
(เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุมน ซึ่งพระเจ้าสุมนะนี้เป็นพี่ชายของพระองค์เอง
และพระองค์ได้ปลงพระชนม์แล้ว

ดังนั้นนิโครธสามเณรจึงเป็นหลานของพระองค์)
จึงทรงรับสิ่งให้นิมน์เข้ามาในพระราชวังและสามเณรได้แสดงพระธรรมเทศนาให้ฟัง
จึงทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้สร้างพระอารามถวายแห่งหนึ่ง
คืออโศกราราม (ปัจจุบัน เรียกว่า อยู่ในเมืองปัตนะ)


หลังจากนั้นพระองค์ทรงสร้างพระอารามจำนวน ๘๔๐๐๐ แห่ง
พร้อมทั้งอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ที่ประดิษฐานที่เมืองราขชคฤห์
พร้อมทั้งพระธาตุของพระอัครสาวกทั้ง ๒
มาประดิษฐานในพระอารามเหล่านั้นด้วย (ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง ๓ ปี)
ถวายในพระพุทธศาสนา และได้สร้างเสาศิลาจารึกไปปักไว้ตามพระอารามเหล่านั้นด้วย
(สถูปสาญจีก็นับรวมเข้าในพระอารามเหล่านั้นด้วย)


เมื่อพระองค์ทรงสร้างพระอารามเสร็จแล้ว ได้ถามภิกษุสงฆ์ว่า
“บัดนี้พระองค์เป็นทายาทของพระพุทธศาสนาแล้วหรือยัง”

พระมหาโมคคัลลานะติสสะเถระ ถวายพระพรตอบว่า
“ บุคคลไม่ว่ายากดีมีจนสักปานใดก็ตาม ถ้าให้บุตรหลานบวชในพระพุทธศาสนา
ก็ชื่อว่า เป็นทายาทขอพระพุทธศาสนา”

เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์จึงทรงอนุญาตให้พระราชโอรสพระนามว่า มหินทะ บวชในพระพุทธศาสนา
และพระนางสังฆมิตตา บวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา

ใน พ.ศ. ๒๓๕ (ครองราชย์ปีที่ ๒๐) พระองค์ได้ทรงถวายความอุปถัมภ์ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๓
(จัดระเบียบความประพฤติของสงฆ์ และตรวจสอบคำสอนของพระพุทธศาสา
ให้มีความบริสุทธิ์มิให้คำสอนภายนอกเข้ามาปน)
และได้ส่งพระธรรมทูต ๙ สาย
(ส่งไปเป็นคณะเพื่อจะสามารถให้การบรรพชาและอุปสมบทแก่ผู้มีจิตศรัทธาได้)
ออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ต่างประเทศ ดังต่อไปนี้

๑. พระมัชฌิมติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์และคันธาระ (ปัจจุบันคือ แคชเมียร์,กรุงอิสลามาบัด )

๒. พระมหาเทวะ ไปมหิสกมณฑล (รัฐกานาตกะ หรือชื่อเดิมว่า ไมซอร์)

๓. พระมหารักขิตตะ ไปวนวาสี (รัฐมหาราษฎร ทางตอนใต้แถบเมืองปูเน่ ตลอดจนชายฝั่งด้านตะวันตก)

๔. พระโยนกธรรมรักขิต ไปอปรันตกชนบท (รัฐคุชราช รวมทั้งชายแดนปากีสถาน และรัฐราชาสถาน)

๕. พระมหาธรรมรักขิต ไปมหารัฐ (รัฐมหาราษฎร)

๖. พระมหารรักขิตเถระ ไปโยนก (กรีก เปอร์เซีย อียิปต์ ซีเรีย และเอเชียกลาง)

๗. พระมัชฌิมเถระ ไปหิมวันประเทศ (เนปาล ภูมิภาคแถบเทือกเขาหิมาลัย )

๘. พระโสณะและพระอุตรเถระ ไปสุวรรณภูมิ (พม่า ไทย หรือกลุ่มประเทศอาเซียน)

๙. พระมหินทเถระ และพระนางสังฆมิตตาเถรี(ซึ่งเป็นพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าอโศก)

ไปเกาะสีหล (ศรีลังกา)


ใน พ.ศ. ๒๓๖ ก่อนที่พระมหินทเถระ และพระนางสังฆมิตตาเถรี พร้อมคณะ จะเดินทางไปเกาะสีหล ท่านทั้งสองจึงได้เดินทางมายังเมืองเวทิสา เพื่อเยี่ยมพระราชมารดาและพระประยูรญาติ ที่เมืองเวทิสานี้เอง
พระนางเวทิสาคีรีได้สร้างวัดชื่อว่า เวทิสาคีรีมหาวิหารถวายแก่พระเถระ
เมื่อพระเถระได้เดินทางไปยังเกาะสีหลแล้ว ก็นิพพานที่เกาะสีหล ไม่ได้กลับมาที่อินเดียอีกเลย

ดังนั้นพระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ทรงสร้างพระสถูปและพระวิหารที่ยิ่งใหญ่สวยงามบนยอดเขา
ซึ่งพระราชโอรสแลพระราชธิดาได้มาเยี่ยมพระราชมารดาครั้งสุดท้าย
พระเจ้าอโศกได้สร้างสถูปที่สาญจีอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุผลที่สำคัญ ๓ อย่างคือ

๑. เพื่อประดิษฐานพระรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์

๒. เพื่อบรรจุพระธาตุของพระอัครสาวกทั้งสอง รวมทั้งพระธาตุของพระสงฆ์ที่พระองค์
ส่งไปประกาศพระศาสนาในการทำสังคายนาครั้งที่ ๓

๓. เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระราชโอรสธิดาที่พระสงฆ์ไปประกาศพระศาสนาที่เกาะสีหล

๔. เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระนางเวทิสา พระอัครมเหสีของพระองค์


สิ่งก่อสร้างในสมัยพระเจ้าอโศกที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน


ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันดีว่า พระเจ้าอโศกทรงสร้างสถูปสาญจี
แต่องค์สถูปมีการซ่อมแซมหลายครั้งทำให้ไม่ทราบว่า สถูปองค์เดิมมีขนาดเท่าใด สร้างด้วยวัสดุอะไร
แต่หลักฐานชิ้นสำคัญที่สร้างในสมัยของพระองค์ยังคงเหลืออยู่คือซุ้มประตู ทั้ง ๔ ทิศ
และเสาศิลาจารึก ตั้งอยู่ข้างซุ้มประตูด้านทิศใต้เมื่อนายพลคันนิ่งแฮมมาสำรวจที่สาญจี พบว่า
เสาศิลาจารึก มีสภาพสมบูรณ์ บนยอดเสามีสิงโต ๔ ตัวอยู่บนปลายเสา

หลังจากนั้นไม่นาน พวกคนเก็บภาษีที่ดินในท้องถิ่นได้มาทุบเอาไปทำเป็นแท่นบดอ้อย (เอาไปทำเป็นเครื่องหีบอ้อย) ท่านนายพลจึงไปนำเอามาไว้ที่เดิม แต่เนื่องจากเสียหายมาก ไม่สามารถจะต่อได้ จึงวางไว้ใกล้ๆ กัน
เสาศิลาจารึกนี้ ได้มีพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช จารึกด้วยภาษาปรากฤต
อักษรพราหมมี มีเนื้อความดังต่อไปนี้

“สมเด็จพระเจ้าปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักของทวยเทพ ได้มีพระบรมราชโองการให้ประกาศแก่มหาอำมาตย์ทั้งหลาย
ณ พระนครปาฏลีบุตร และ ณ นครอื่นๆ ว่า
ข้า ฯ ได้กระทำให้สงฆ์มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว
บุคคลใดๆ จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ก็ไม่สามารถทำลายสงฆ์ได้ ก็แล
หากบุคคลผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม จักทำสงฆ์ให้แตกกัน
บุคคลนั้นจักต้องถูกบังคับให้นุ่งขาวห่มขาว และไปอยู่ ณ สถานที่อื่น(นอกวัด)
พึงแจ้งสาส์นพระบรมราชโองการนี้ให้ทราบทั่วกัน ทั้งในภิกษุสงฆ์และในภิกษุณีด้วยประการฉะนี้


สถูปสาญจีภายหลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

พ.ศ. ๒๖๐ พระเจ้าอโศกมหาราชสวรรคต กษัตริย์ที่ครองราชสืบต่อมาไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา
จึงได้ทำลายวัดวาอาราม และสถูปเจดีย์ของพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ไม่ยกเว้นแม้ที่สาญจีเอง
แต่พุทธศาสนิกชนชาวเมืองเวทิสาและเมืองต่างๆ ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์พระสถูปขึ้นมาใหม่ (ชื่อของผู้มีจิตศรัทธาได้สลักไว้ที่รั้วศิลารอบองค์สถูป)
ในการบูรณะครั้งนี้ ทำให้รูปทรงและขนาดของพระสถูปใหญ่ขึ้นกว่าเดิมถึง ๒ เท่า

ในพุทธศตวรรษที่ ๖ ราชวงศ์สตวาหนะ
ได้บูรณะซ่อมแซมซุ้มประตูจำนวน ๔ ซุ้ม(ประจำทิศทั้ง ๔)
ประมาณ พ.ศ. ๙๙๓ ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์สถูปเพิ่มเติม พระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์
ที่ประดิษฐานภายในซุ้มประตูทั้ง ๔ เป็นศิลปะแบบมหายาน

องค์สถูปและบริเวณโดยรอบได้มีการซ่อมแซม วิหาร กุฏิ
เสาศิลาจารึกเพิ่มขึ้นมากมายเป็นลำดับครอบคลุมระยะเวลาประมาณ ๑๕๐๐ ปี
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘


ยุคมืดของพระพุทธศาสนาและสถูปสาญจี
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ประมาณ พ.ศ.๑๗๐๐ เป็นต้นไป)

พระพุทธศาสนาได้เสื่อมไปจากอินเดีย พุทธสถานเป็นจำนวนมากถูกปล่อยทิ้งให้ชำรุดทรุดโทรม
หรือถูกทำลายจากพวกนอกศาสนา
สถูปสาญจีได้ถูกป่าไม้และเถาวัลย์ขึ้นปกคลุม จนมองไม่เห็น
ไม่มีใครรู้เลยว่า สถานที่ตรงนี้ ครั้งหนึ่งเลยเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุด

สถูปสาญจีหายไปในความทรงจำของคนอินเดียกว่า ๖๐๐ ปี
ทุกคนลืมสถูปสาญจีไปจนหมดสิ้นแล้ว อนิจจา………..


แต่………..ในปี พ.ศ. ๒๓๖๑ (ค.ศ.๑๘๑๘) นายพลเทย์เลอร์ (Gen. Taylor) อังกฤษ
ได้ค้นพบสถูปองค์ที่ ๑ องค์ที่ ๒ และ ๓ และวิหาร กุฏิในบริเวณรอบๆ แต่ทุกอย่างอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมเพราะถูกปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน
และถูกชาวบ้านพากันมาขุดหาสมบัติ

พ.ศ. ๒๓๖๕ (ค.ศ.๑๘๒๒) ผู้ปกครองแห่งเมืองโภปาล
ได้ขุดเจาะพระสถูปองค์ใหญ่จากยอดจนถึงฐาน
ทำให้พังทลบายลงมาทับซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกและระเบียงบางส่วนพังลงมา
ต่อมาท่านนายพลคันนิ่งแฮม(Gen Canningham) และท่าน ไมเซย์ ( F.C.Maisey)
ได้เจาะอุโมงค์ใต้ฐานพระสถูป ก็มีส่วนทำให้พระสถูปพังลงมาเหมือนกัน

พ.ศ.๒๔๒๔ (ค.ศ.๑๘๘๑) ผู้พันโคล (Major Cole)
ได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระสถูปองค์ใหญ่
และได้ซ่อมแซมรอยร้าวจากฐานล่างถึงยอด ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย ได้ซ่อมแซมซุ้มประตูทางทิสใต้และทิศตะวันตกที่ล้มลงให้ตั้งตระหง่านสวยงาม
พร้อมทั้งซ่อมแซมกำแพงแก้วบางส่วน

ท่านอัศวิน จอห์น มาร์แซล (Sir John Marshall)
ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมโบราณคดีของอินเดีย
ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๕–๒๔๖๒ (ค.ศ.๑๙๑๒–๑๙๑๗)
ได้ทำการสำรวจขุดค้นและซ่อมแซมองค์พระสถูปเป็นการใหญ่ อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และปรากฏว่าองค์สถูปได้มีสภาพสวยงามมั่นคงถาวรเหมือนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

บริเวณเขตโบราณสถานสาญจี นอกจากจะมีพระสถูปองค์ใหญ่แล้ว
ยังมีสิ่งก่อสร้างอีกมากมาย เช่น วิหาร กุฏิ ศาลาการเปรียญ
และพระเจดีย์ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองที่มีมาแต่อดีตกาลเมื่อ ๒๐๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา
.....

ไฟล์แนบ


ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#2 laity

laity
  • Members
  • 214 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 March 2006 - 08:54 AM

ขอบคุณครับ และสาธุครับ
อย่าให้อุปสรรคใด ๆ มาขัดขวางในชีวิตการสร้างบารมี และ
อย่าให้ความตั้งใจที่ดี เปลี่ยนแปลงไป กับกาลเวลา
เพราะเราไม่รู้ว่า่วันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร เราอาจจะอยู่หรือตาย
สิ่งที่เอาไปได้มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น ฉนั้น เราต้องอยู่กับวันนี้
วันที่เราบอกตัวเองว่า วันนี้เป็นวันที่ดีที่สุด ในวันหนึ่งของชีวิตการสร้างบารมีของเรา

โอไดบะ
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

#3 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 22 March 2006 - 12:09 PM

ในวีซีดี ตามรอยพระพุทธเจ้า ก็ พูดถึง สถูปสาญจี ด้วยครับ
- - ไม่กล้า แคปรูปโดยรอบสถูปในวีดีโอมาให้ดู แงง - - * กลัวละเมิดลิขสิทธิ์

DMC The only one

ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี้แหละเป็นตัวสำเร็จ
ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย


คติธรรม พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

#4 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 March 2006 - 01:30 PM

สาธุครับ...เคยได้ยินมาว่า แต่เดิมสถูปสาญจินั้นเป็นทรงกลม แสดงถึงสภาวะธรรมภายใน คือ ดวงธรรม แต่ต่อมา เมื่อมีการบูรณะก็มีการแต่งเสริมเพิ่มเติมโดยมีการต่อยอดขึ้นไปและนำฉัตรไปประดิษฐานไว้ข้างบนแบบในรูปน่ะครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#5 gioia

gioia
  • Members
  • 593 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 March 2006 - 11:38 PM

อนุโมทนาบุญค่ะ

#6 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 28 March 2006 - 03:18 AM

QUOTE
แต่เดิมสถูปสาญจินั้นเป็นทรงกลม แสดงถึงสภาวะธรรมภายใน คือ ดวงธรรม

ถูกต้องครับ นักเจดีย์วิทยาก็มีศัพท์เรียกลักษณะรูปทรงของสถูปดังกล่าวว่า "ตถาคตคัพภะ"


#7 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 19 March 2007 - 04:54 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ