ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ศิริมานนทสูตร: การวางใจก็คือการวางสุขวางทุกข์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Torres

Torres
  • Members
  • 49 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 July 2010 - 11:05 AM

ในศิริมานนทสูตร ตามลิงค์นี้ http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=8546

QUOTE
ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายผู้ปรารถนาเข้าสู่พระนิพพานจงวางเสียซึ่งใจ
อย่าอาลัยความสุข การวางใจก็คือการวางสุขวางทุกข์ และบาปบุญคุณโทษร้ายดี
ซึ่งเป็นของสำหรับโลกนี้เสียให้สิ้น สิ่งเหล่านี้สร้างไว้สำหรับโลกนี้เท่านั้น
เมื่อต้องการพระนิพพานแล้วต้องปล่อยวางไว้ในโลกนี้สิ้นทั้งนั้น
จึงจะได้ความสุขในพระนิพพาน ซึ่งเป็นสุขอย่างยิ่ง
เป็นความสุขอันหาส่วนเปรียบมิได้


เมื่อต้งการไปนิพพาน
การวางสุขวางทุกข์ พอนึกออก
แต่การวางบุญ หมายถึงไม่ต้องทำบุญหรือครับ

ช่วยอธิบายหน่อยครับ


#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 23 July 2010 - 01:11 AM

ได้ตามไปอ่านเนื้อหา ในกระทู้แล้ว
ทราบว่า เป็นการขยายความมาจาก อาพาธสูตร โดย อรรถกถาจารย์ ?

เชิญเจ้าของกระทู้
ลองศึกษา เนื้อหาพระสูตร ก่อนมีการอธิบาย ขยายความ ด้วยนะครับ
ว่ามี พุทธวจนะ ตอนไหน ทรงกล่าวถึง การวางบุญบาป หรือไม่ จะได้เทียบเคียงได้
และเข้าใจในเบื้องต้นว่า ตอนไหน คือ พุทธวจนะ ตอนไหน คือ อรรถกถาธิบายเพิ่มเติม

คิริมานนทสูตร หรือ อาพาธสูตร
http://board.palungj.....
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#3 ธาตุล้วนธรรมล้วน

ธาตุล้วนธรรมล้วน
  • Members
  • 255 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 July 2010 - 12:01 PM

เคยศึกษาอยู่เหมือนกัน บทความที่ยกมานั้น ก็ยังไม่ทราบว่า เป็นอรรถกาธิบายในระดับไหน ระดับอรรถกถาพระไตรปิฎก ฎีกา ปกรณ์วิเสส หรือัตตโนมติ หรือเป็นเป็นเพียงบทความที่ประพันธ์ขึ้นโดยครูบาอาจารย์ยุคใหม่กันแน่


หากจะกล่าวถึงการปล่อยวางบุญ ก็อาจจะหมายถึง การปล่อยวางจากการปรุงแต่งทั้ง 3

ได้แก่ อภิสังขาร 3 คือ

ปุญญาภิสังขาร การปรุงแต่งด้วยบุญ

อปุญญาภิสังขาร การปรุงแต่งที่ไม่ใช่บุญ

อเนญชาภิสังขาร การปรุงแต่งที่ไม่หวั่นไหว เช่นปรุงแต่งด้วยกำลังของฌาณสมาบัติ

ซึ่งสังขารทั้งสามอย่างนี้ ถึงที่สุดแล้วก็จำต้องละวาง ปล่อยวางทั้งหมด จึงจะเข้าถึงพระนิพพาน

แต่การปล่อยวางบุญเป็นคุณธรรมเบื้องสูง และมิใช่เป็นการปฏิเสธบุญ เราต้องบำเพ็ญบารมีให้บุญบารมีเต็มก่อน แล้วจึงจะสามารถมีกำลังหลุดพ้นไปสู่พระนิพพาน

เสมือนขั้นบันได ที่เราต้องอาศัยเหยียบเพื่อเดินขึ้นไปสู่ชั้นดาดฟ้านั้นเอง พอถึงชั้นดาดฟ้าแล้วก็ละจากบันได้ขั้นสูงสุด ขึ้นไปยืนอยู่บนดาดฟ้า ครับ

ยังมีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า " พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า"

แต่ขอย้ำนะครับ ว่านี่เป็นธรรมะเบื้องสูงครับ ระดับปรมัตถ์ ไม่ควรใช้ปัญญาปุถุชนคิดเอาง่ายๆ ต้องสิกขาให้ดีๆ และต้องปฏิบัติด้วยครับ


[๑๒๘] อภิสังขาร ๓

(สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม — volitional formation; formation; activity)

๑. ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร — formation of merit; meritorious formation)

๒. อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย — formation of demerit; demeritorious formation)

๓. อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน — formation of the imperturbable; imperturbability-producing volition)

อภิสังขาร ๓ นี้ เป็นความหมายของสังขารในหลักปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงไว้อีกนัยหนึ่งเพิ่มจากนัยว่าสังขาร ๓ ดู (๑๑๙) สังขาร ๓

Ps.II.206; Vbh.135. ขุ.ปฏิ.๓๑/๒๘๐/๑๘๑; อภิ.วิ.๓๕/๒๕๗/๑๘๑.



พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อลคัททูปมสูตร ข้อ 280 หน้า 187

[๒๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล .....
..... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรม มีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือ ฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยแพที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า.

ภาษาบาลีว่า

[๒๘๐] ภควา เอตทโวจ เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ปุริโส อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน .....
..... เอวเมว โข ภิกฺขเว กุลฺลูปโม มยา ธมฺโม เทสิโต นิตฺถรณตฺถาย โน คหณตฺถาย กุลฺลูปมํ
โว ภิกฺขเว ธมฺมํ เทสิตํ อาชานนฺเตหิ ธมฺมาปิ โว ปหาตพฺพา ปเคว อธมฺมา ฯ


อันนี้เป็นธรรมะเบื้องสูง เราจะถึงขั้นนั้นได้ เปรียบเสมือนคนข้ามฟากฟั่ง ต้องอาศัยแพข้ามฟากก่อน เมื่อถึงฝั่งแล้วจึงค่อยละไป

มิใช่ละแพไปตามอารมณ์แบบปุถุชน นอกจากจะข้ามฟั่งไม่ได้แล้ว จำต้องจมน้ำตายด้วย


ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ

ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ

เราตถาคต คือธรรมกาย

#4 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 17 November 2014 - 09:31 PM

สาธุ ๆ ๆ

 

เคลีย ชัดเจน  หายสงสัย สับสน



#5 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 November 2014 - 08:46 AM

http://health.dmc.tv...มานันทสูตร.html

ไฟล์แนบ


ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#6 kotchapornda

kotchapornda
  • Members
  • 649 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 18 November 2014 - 09:01 PM

อนุโมทนาสาธุ   ^_^