ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

***เราประเคน ของแบบผิดๆ ทำให้พระต้องอาบัติ ***


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 October 2009 - 06:56 PM

การประเคนที่ไม่ถูกต้องตามพระวินัย เราลองมาดูกัน
บางวัด บอกว่า ญาติโยมนำอาหารมาวางใว้บนโต๊ะแล้วพูดว่า นำอาหารมาถวายครับ ไม่ต้องประเคน ถือว่าให้แล้วหรือประเคนแล้ว
บางอาจารย์ สอนว่าผู้ประเคน ต้องยกของขึ้นสูงจากพื้นพอแมวลอดได้ หรือสูงจากพื้น ประมาณ 1 กำมือ จึงจะถือว่าประเคนแล้ว
บางอาจารย์ ให้เอา อาหารคาวหวาน ทั้งหมดที่จะประเคน มาต่อกันหรือจับชนกัน โยมอยู่ข้างหนึ่ง พระอยู่อีกข้างหนึ่ง ถือว่าประเคนแล้ว
บางอาจารย์ บอกว่าหาคนประเคนยาก ถ้าอยาก ฉันมะม่วง ก็ให้ประเคน ทั้งต้นเลย อยากฉันเมื่อไหร่ก็ไป สอยเอาได้เลย

การประเคนที่ถูกต้องตามพระวินัยมีองค์5คือ
1.สิ่งของนั้นไม่ใหญ่จนเกินไป บุรุษมีกำลังปานกลางพอยกได้
2.เข้ามาในหัตถบาตร
3.น้อมเข้ามาถวาย
4.ผู้ประเคนจะเป็นมนุษย์เทวดาหรือสัตว์เดรัจฉานก็ได้
5.ภิกษุรับประเคนสิ่งของ นั้นด้วยกายหรือของเนื่องด้วยกาย(อรรถกถามหาวิภังค์1/562

อธิบาย องค์ของการประเคน

ข้อ1.โยมจัดอาหารคาวหวานมาถวายจำนวนมากใว้บนโต๊ะ ที่ไม่ใหญ่และไม่ยาวนัก อาหารรวมบนโต๊ะนั้น บุรุษผู้มีกำลังปานกลางสามารถยกขึ้นได้ลำพังเพียงคนเดียว เวลาประเคน โยมหลายๆคน พร้อมกันยกประเคนไช้ได้ แต่ถ้าโต๊ะใหญ่และยาว อาหารก็มาก จนบุรุษผู้มีกำลังปานกลาง ยกขึ้นไม่ไหว ถึงแม้โยมหลายคนช่วยกันยกประเคน การประเคนนั้น
ถือว่าผิดใช้ไม่ได้ (อรรถกถามหาวิภังค์2/564)

ข้อ2.หัตถบาส 1 เท่ากับ 2 ศอกคืบดังที่ท่านกล่าวใว้ว่า 2 ศอกคืบ พึงทราบว่า หัตถบาส ถ้าภิกษุนั่งกำหนดตั้งแต่ริมสุดด้านหลังของอาสนะไป(จากเข่าไป1ศอกคืบ)ถ้ายืน กำหนดตั้งแต่ที่สุดส้นเท้าไป ถ้านอน กำหนดตั้งแต่ที่สุดด้านนอกแห่งสีข้างที่นอนไป ด้วยที่สุดด้านในแห่งอวัยวะ ที่ใกล้กว่าของทายกผู้นั่งอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็ตามยกเว้นมือที่เหยียดออก(อรรถกถาวิภังค์2/511)

นกเอาปากคาบดอกไม้หรือผลไม้มาถวาย ช้างเอางวงจับดอกไม้หรือผลไม้ อยู่ในหัตถบาส พระรับประเคน การรับประเคนนั้นใช้ได้ พระนั่งอยู่บนคอช้างสูง 7 ศอกคืบ จะรับของที่ช้างนั้นถวายด้วย งวง ก็ควรเหมือนกัน(2/562)
คนทั้งหลายโยนของข้ามรั้วหรือกำแพงไม่หนามากกว่า หัตถบาส เพียงพอแก่ผู้ยืนอยู่ใน กำแพงและภายนอกกำแพง(ไม่เลยหัตถบาส)ภิกษุจะรับของที่โยนขึนสูงแม้ตั้งร้อยศอก แล้วตกลงมาถึง ก็ควรเหมือนกัน(อรรถกถามหาวิภังค์2/571)

ข้อ3.การน้อมเข้ามาถวาย เป็นการให้ด้วยความเคารพและอ่อนน้อม เวลาโยมมาถวายอาหาร ถ้าการน้อมถวายยังไม่ปรากฎไม่ควรรับ ถ้าโยมน้อมกายหรือศรีษะ ลงมาเพียงเล็กน้อย ก็รับประเคนได้ ท่านกล่าวไว้ว่า "ทายกคนหนึ่งทูนภาชนะข้าวสวยและกับข้าวเป็นอันมากไว้บนศรีษะมาที่วัด ยืนพูดว่า นิมนต์ท่านรับเถิด การน้อมถวายยังไม่ปรากฎ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรรับ แต่ถ้าเขาน้อมมาเพียงเล็กน้อย ภิกษุ เหยียดแขนออกรับภาชนะอันล่าง ด้วยอาการรับเพียงเท่านี้ ภาชนะทั้งหมดเป็นอันประเคนแล้ว"(อรรถกถาวิภังค์2/563)

ข้อ4.ผู้ประเคนเป็นใครก็ได้ จะเป็น พระพรหม พระอินทร์ เทวดา นาค ครุฑ ยักษ์ เปรต อสุรกาย ภูตผีปีศาจ มนุษย์ชายหญิง และสัตว์เดรัจฉานมี ช้าง ลิง นก สุนัข เป็นต้น ประเคนได้ทั้งหมด

ข้อ5.ภิกษุรับประเคนสิ่งของนั้นด้วยกาย หรือของเนื่องด้วยกาย รับสิ่งของด้วยกาย เช่น เวลาโยมผู้หญิงหรือผู้ชาย นำเอาอาหารมาถวาย พระใช้รับด้วยมือได้ แต่ประเทศไทยไม่นิยมรับอาหารจากมือโยม ผู้หญิงโดยตรง เพราะเกรงว่ามือจะไปโดนกันเข้า แลดูไม่งามหรือเพราะเกรงว่า เมื่อภิกษุมีจิตยินดีด้วยราคะอาจทำให้ต้อง อาบัติถุลลัจจัยได้

จึงรับด้วยของเนื่องด้วยกาย คือใช้วัตถุรับประเคนแทนกาย เช่น บาตร ถาด ถ้วยโถ จาน ผ้า แผ่นหนัง กระดาน ใช้ใบไม้ใหญ่พอที่จะวางของได้มีใบบัว ใบบอน ใบทองกวาวเป็นต้น ถ้าใบไม้เล็กๆเช่น ใบพุทรา ใบมะขาม เป็นต้นใช้รับประเคนไม่ได้ เพราะไม่สามารถ จะวางของประเคนได้ พระใช้วัตถุเหล่านั้นรับประเคนของจากมือโยมผู้หญิงหรือผู้ชายได้ทั้งนั้น(อรรถกถามหาวิภังค์2/564)

โยมถวายสิ่งของด้วยกายหรือของเนื่องด้วยกายก็ได้ ถวายสิ่งของด้วยกาย เช่น ใช้มือจับอาหารยกถวายเลย ถวายของเนื่องด้วยกายเช่น ใช้กระบวยหรือทัพพีเป็นต้น ตักข้าวปลาอาหารถวาย ถ้าโยมผู้ถวายนั่งหรือยืนเลย หัตถบาส ประเคนสิ่งของ การประเคนนั้นใช้ไม่ได้ พระจะต้องบอกให้โยมเข้ามาใกล้ๆในหัตถบาส แล้วค่อยประเคนจึงจะใช้ได้ ดังท่านกล่าวไว้ว่า"ถ้าทายกยืนเลย หัตถบาสไป เอากระบวยคันยาวตักถวาย พระควรบอกเขาว่า "เข้ามาใกล้ๆหน่อยโยม" ถ้าเขาไม่ได้ยินหรือไม่สนใจ เทลงไปในบาตร พระต้องรับประเคนใหม่ แม้ในคนผู้ยืนอยู่ห่างโยนก้อนข้าวไปถวาย ก็เช่นกัน(อรรถกถามหาวิภังค์2/564)
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#2 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 October 2009 - 07:42 PM

สาธุ...กับธรรมทานครับ _/i\_
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#3 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 17 October 2009 - 09:32 PM

รู้สึกปลื้มใจไปกับคุณสาครด้วย เพราะตอนแรกๆ คุณสาครจะเริ่มกระทู้ด้วยการเรียนรู้ คือ ถามคำถามเป็นหลัก

แต่ตอนนี้ คุณสาครได้นำสิ่งที่เรียนรู้มาถ่ายทอดให้คนอื่นๆ ได้เรียนรู้ต่อไป

ความรู้นั้นก็จะถูกส่งต่อๆกันไป ไม่สิ้นสุด
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#4 กลางสายหมอก

กลางสายหมอก
  • Members
  • 41 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 October 2009 - 01:55 PM

สาธุ ค่ะ สำหรับธรรมทาน happy.gif

ครั้งต่อไปจะต้องประเคนด้วยความระมัดระวังมากขึ้น

#5 calliope

calliope
  • Members
  • 7 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 October 2009 - 10:53 PM

สาะธุค่ะ
ไม่ค่อยเข้าใจ ภาษายากไปหน่อยน่ะค่ะ

หัตถบาส แปลว่าอะไรหรอคะ

#6 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 October 2009 - 09:55 AM

ขอบคุณกับ คำชมของคุณหัดฝัน

อธิบายเกี่ยวกับคำว่า หัตถบาส อยู่ในข้อ 2

1หัตถบาส=ประมาณ 1เมตรกับอีก 15 เซ็นติเมตร

ที่บอกว่าอ่านแล้วเข้าใจยาก ก็เพราะ ไม่กล้าตัดทอน จากข้อความเดิมของ อรรถกถามหาวิภังค์ เขานะครับ

แต่ถ้าอ่านบ่อยๆจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#7 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 21 October 2009 - 11:56 AM

หัตถ์ แปลว่า มือ น่ะครับ
หัตถบาส ถ้าเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ระยะที่มือเื้อื้อมถึง
ถ้าหากอยู่เลยหัตถ์บาส พระท่านก็จะรับลำบาก เพราะต้องเอื้อมมากเกินเหตุไงล่ะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร