ไปที่เนื้อหา


Killy

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 Jan 2009
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Feb 10 2009 04:59 PM
-----

โพสต์ที่ฉันโพสต์

ในกระทู้: อยากเป็นคนดีครับ

08 February 2009 - 09:35 AM

ปัญหาของคุณที่เกิดขึ้นในตอนนี้นั้น เกิดจากกรรมที่คุณเคยทำมาในอดีต
(กรรม หมายถึง การกระทำที่ประกอบไปด้วยการตั้งใจ ในกรณีของคุณคือการมีเมียน้อย)
ทำให้ตอนนี้ต้องรับผลของกรรมคือมีความทุกข์เหมือนกับตกนรกอยู่
ซึ่งเมื่อดูแล้วปัญหาของคุณฐิตวังโสนั้นไม่สามารถใช้ปัญญาในทางธรรมแก้ได้ทั้งหมดครับ
จำเป็นจะต้องใช้ปัญญาทางโลกด้วย เราลองมาพิจารณาเหตุของความทุกข์นี้ดูนะครับ

เหตุคุณฐิตวังโสเป็นทุกข์ เนื่องจากมีเมียน้อย
เหตุที่มีเมียน้อย ก็เนื่องมาจากคุณขาดสติและไปมีอะไรกับผู้หญิงอื่น
เหตุที่มีอะไรกับผู้หญิงอื่น ก็เนื่องมาจากคุณเกิดตัณหา (ความอยาก)
เหตุที่เกิดความอยาก ก็เนื่องมาจากเกิดตัวตน ของคุณเองขึ้นมา
คือเกิดความยึดมั่นว่าร่างกายนั้นมันเป็นของคุณ จึงพยายามหาทางให้ร่างกายนั้น
มันมีความสุขในรูปแบบต่างๆ ขึ้นมา และที่สำคัญคือ
เมื่อเกิดความอยากขึ้นมาแล้ว คุณกลับไม่มีสติที่จะยั้งคิดได้ทัน จึงทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น

ดังนั้นทางแก้ที่ผมแนะนำคือ ไม่ต้องไปสวดมนต์ไหว้พระอะไรหรอกครับ เราทำอะไรมา
ก็ยอมรับสิ่งที่เราทำ ให้มองว่ามันเป็นบทเรียน และต้องไม่ทำอะไรให้แย่ไปมากกว่านี้อีก
คือให้ลองลดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ลง พิจารณาว่าร่างกายนั้นไม่เที่ยง ผู้หญิงที่ว่าสวยๆ
พอนานไป ก็เป็นยายแก่หนังเหี่ยวเหมือนกันทุกคน สิ่งที่อยู่ในร่างกายของคนนั้นก็เป็นสิ่งที่
สกปรกทั้งนั้น ทั้งเลือด และน้ำเหลือง หลังจากที่คิดได้อย่างนี้แล้วก็ขอให้มีสติ และอยู่กับ
ปัจจุบันเสมอ อย่าไปคิดว่าเราทำผิดมาแล้ว และจมอยู่กับความผิดนั้นครับ
วิธีนี้จะช่วยทำให้ลดความทุกข์ในใจคุณได้ระดับหนึ่ง

หลังจากที่ใจสงบแล้ว จึงค่อยๆเริ่มคิดว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรดี? ลองดูว่าผู้หญิงคนดังกล่าว
มาติดคุณเพราะอะไรกันแน่? อะไรเป็นเหตุ? โมหะ หรือความหลงในตัวคุณ? โลภะ ความโลภในอะไรบางอย่าง?
ลองคิดถึงเหตุที่เกิดขึ้นครับ แล้วพิจารณาดูว่าจะแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร อย่าลืมว่าต้องไม่ยึดติดนะครับ ผู้หญิง
ที่เป็นเมียน้อยก็ไม่ใช่ของๆเรา ผู้หญิงที่เป็นเมียหลวงก็ไม่ใช่ของๆเรา ลูกที่เกิดขึ้นมาก็ไม่ใช่ของๆเรา
คิดอย่างไม่มีอคติแล้วปัญญาจะเกิดครับ

ขอโทษด้วยที่ไม่สามารถบอกได้เลยว่าต้องแก้ปัญหาอย่างไร เนื่องจากเรื่องนี้ไม่มีสูตรตายตัว
ต้องคิดหาเอาเองครับ เพราะเป็นเรื่องของแต่ละคน ที่แนะนำได้ก็คือให้มันเป็นบทเรียน
แล้วต่อไปให้ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ เมื่อทำได้แล้วจึงค่อยๆกลับมาแก้ปัญหาทีละนิดครับ

เป็นกำลังใจช่วยอยู่นะครับ

"ปัญหาทุกอย่างต้องมีทางแก้ แต่ถ้าแก้ไม่ได้มันก็ไม่ใช่ปัญหา"

happy.gif

ในกระทู้: ทำอย่างไรสามีไม่ชอบเข้าวัดทำบุญ

08 February 2009 - 12:02 AM

ในความคิดของผมนะครับ
ถ้าหากสามีแอนตี้แล้วจะไปบังคับเขาทำไม?
เราเจอกันครึ่งทางดีกว่าไหม? คืออยากให้สามีได้บุญ และไม่อยากขัดใจสามี
ดังนั้นทำไมถึงไม่ลองพาไปวัดอื่นๆที่ปฏิบัติดีๆบ้างล่ะครับ?

ลองให้โอกาสกับวัดอื่นๆ ที่มีคำสอนดีๆบ้างครับ
บางทีคุณอาจจะได้เริ่มคิดได้ว่าพระพุทธศาสนาจริงๆแล้วสอนอะไร?
ใช่การสะสมบุญหรือไม่?

หลังจากที่อ่านข้อความของคุณ coconutyoung แล้วทำให้ผมคิดว่า
คุณยังคงยึดติดอยู่กับบุญและผลของบุญที่ทำได้ แต่เนื้อหาของพุทธศาสนาจริงๆแล้ว
ไม่ได้อยู่ที่การทำบุญมากหรือน้อย ทำแล้วได้เยอะหรือไม่นะครับ
หลักการสูงสุดของพระพุทธศาสนาก็คือการที่เราสามารถดับทุกข์ทางใจได้
และสามารถใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้อย่างคนมีสติ ไม่เบียดเบียนใครครับ
การทำบุญนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในเส้นทางที่ทำให้ดับทุกข์ทางใจได้เท่านั้นเอง
และการทำบุญก็ไม่ใช่จะต้องมาวัดเสมอไปนะครับ ลองดูได้ในบุญกิริยา 10
การให้อภัยก็เป็นบุญ การสอนสิ่งดีๆแก่คนอื่นก็เป็นบุญ การมีสติอยู่กับตัวเองตลอดเวลาก็เป็นบุญ
หากยังทำบุญแบบต้องการสิ่งตอบแทน คือ ต้องการเกิดในสวรรค์ ต้องการรวย หรือต้องการนิพพาน
ก็ยังหมายความว่าใจยังคงยึดติดกับบุญเหล่านั้น และจะก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นมาได้นะครับ

เช่นตัวอย่างเหมือนกับที่คุณกำลังเจออยู่คือมมีตัณหา (ความอยาก) ที่จะให้สามีมาร่วมทำบุญด้วย
จึงต้องเป็นทุกข์ เพราะไม่สามารถชักชวนสามีมาได้เป็นต้น

ผมแนะนำวิธีพบกันครึ่งทางนะครับคือสอนธรรมะจริงๆให้กับสามี พาไปวัดอื่นๆที่สอนดีๆก่อน เพื่อให้เขาได้รู้ว่า
คำสอนของพุทธศาสนานั้นเป็นจริงทั้งนั้น ไม่ใช่สิ่งงมงาย และลองนำคำสอนของทาง
วัดธรรมกายไปให้เขาฟังดูครับ ซึ่งเขาจะคิดว่าวัดธรรมกายเป็นทางนิพพานหรือไม่ก็เป็นวิจารณญาณของเขา
เราไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงได้หรอกครับ

happy.gif

ในกระทู้: ความผูกพัน

07 February 2009 - 08:36 PM

สาธุ~
เห็นด้วยมากๆครับว่าเราต้องไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆก็ตามที่เข้ามา
ซึ่งมันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว

หากมีสุขก็อย่าไปมัวเมาอยู่กับความสุขนั้น
หากมีทุกข์ก็อย่ามัวไปจมอยู่กับทุกข์นั้น

อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกได้นะครับ
เราจำเป็นจะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอ

ขอให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักเถอะครับ
แต่ก็อย่าไปยึดติดกับความสัมพันธ์เหล่านั้นมากจนเกินไปจนทำให้ใจเราทุกข์

ขอเสริมนิดนะครับ ในความคิดผมนั้นไม่เห็นด้วยกับคำพูดประโยคสุดท้ายที่ว่า

"ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงเลือกที่จะผูกพันโดยการนำใจมาผูกไว้กับศูนย์กลางกาย พันไว้กับธรรมะภายใน
การผูกพันอย่างนี้จะทำให้เรามีอิสระอันไม่มีประมาณ และเป็นหนทางแห่งความหลุดพ้นอย่างแท้จริง"

เพราะหากใจเราไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆแล้ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนๆก็เป็นหนทางแห่งความหลุดพ้นทั้งนั้นครับ
ไม่จำเป็นจะต้องผูกใจไว้กับศูนย์กลางกายตลอดเวลา
บางคนอาจถนัดผูกใจไว้กับจิตทำให้มีสติอยู่ตลอดเวลา
บางคนอาจถนัดผูกใจไว้กับลมหายใจ
บางคนอาจถนัดผูกใจไว้กับท้องว่ายุบหนอพองหนอ
ดังนั้นในความคิดของผมการฝึกเพื่อหลุดพ้นสามารถทำได้โดยไม่เลือกวิธีครับขึ้นอยู่กับต้วผู้ปฏิบัติเอง

^-^

ในกระทู้: ถวายทาน

30 January 2009 - 05:20 PM

ตามความคิดของผมนะครับ

ถ้ายังมีคำถามว่าบริจาคทานแบบไหนแล้วได้บุญมาก แปลว่ายังไม่ได้นำ
หลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้จริงในชีวิตประจำวันนะครับ
คำถามทีว่าบริจาคทานแบบไหนแล้วได้บุญมากนั้น เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น
ได้เลยในหมู่ชาวพุทธ เนื่องจากพระพุทธศาสนานั้นมีหลักสำคัญคือการลด
ตัวตนของตัวเองออกไป
ดังนั้นความคิดที่ว่าทำบุญแบบไหนได้บุญมากจึงเป็นคำถามที่เต็มไปด้วย
กิเลสและตัณหาครับ หมายความว่า ผู้ถามเองเมื่อไปทำบุญแล้วจะต้อง
คิดอยู่เสมอว่าจะได้อะไรกลับมา ซึ่งจะยิ่งเพิ่มกิเลส (หรือโลภะ) ให้กับคนๆ นั้นเอง

การที่เราคิดว่าเมื่อเราบริจาคทานแบบนี้แล้วได้อะไรกลับมานั้น เป็นการปรุงแต่งให้เกิด
เป็นตัวเราขึ้นมา คือตัวเราต้องการที่จะบริจาคทาน และตัวเราก็ต้องการสิ่งตอบแทนมา
เพื่อให้ได้กลับมาเป็นของๆเรา เช่นต้องการให้มีวิมานทองคำ เป็นต้น

ดังนั้นการให้ทานนั้นจึงไม่ควรจะมีการคิดไปว่าทำทานแบบนี้แล้วได้ผลตอบแทนเป็นอะไร
แต่ควรทำไปเพราะเป็นกิจประจำวัน เป็นสิ่งที่เราจะต้องทำเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จะดีกว่า
ซึ่งเมื่อเราคิดได้อย่างนี้ขณะให้ทานก็จะเป็นการช่วยเหลือสัตว์โลกเหล่านั้น และช่วยลดกิเลส
ที่อยู่ในตัวเราได้อีกด้วย

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือเราต้องทำบุญโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ครับ ทำบุญเพื่อลดโลภในตัว
และเพื่อจะลดตัวเองออกไป

ถ้าอยากจะให้ทานล่ะก็สามารถทำได้ง่ายๆ ครับและเป็นทานที่ประเสริฐที่สุดนั่นคืออภัยทาน
หลังจากอ่านดูแล้วก็ขอให้ตั้งใจให้แน่วแน่ ว่าจะให้อภัยแก่ทุกสิ่งที่เข้ามาเป็นตัวเร้าอารมณ์เราดูสิครับ
อันนี้จะเห็นอานิสงค์แน่นอนโดยไม่จำเป็นต้องเข้าวัดเลยเสียด้วยซ้ำไป
หากตั้งใจไว้แล้ว แต่กลัวว่าจะทำไม่ได้ก็ให้ลองคิดเสียว่าสิ่งต่างๆ มันเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา)
เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรมันได้ เหมือนกับคำกล่าวที่ว่าเราจะเปลี่ยนแปลงโลกหรือ
เปลี่ยนแปลงตัวเองล่ะถึงจะอยู่ในโลกได้? ดังนั้นถ้าอยากเริ่มทำทานละก็เริ่มกับทานที่ดีที่สุด
นั่นคืออภัยทานนั่นแหละครับ

อย่าไปมีอารมณ์ยินดียินร้ายกับสุนัขที่มาฉี่หน้าบ้านเรา เพราะ สุนัขมันก็ต้องฉี่เป็นธรรมชาติมันเป็นเช่นนั้นเอง
อย่าไปมีอารมณ์ยินดียินร้ายกับเพื่อนที่โทรมาขณะเรากำลังนั่งสมาธิ เพราะเขาไม่รู้ได้ว่าขณะนั้นเรากำลังทำอะไรอยู่
อย่าไปมีอารมณ์ยินดียินร้ายกับทุกสิ่ง เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ แต่เราเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ครับ

happy.gif

ในกระทู้: ...แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์...

30 January 2009 - 04:32 PM

เป็นตัวอย่างที่ดีมากครับ แต่กว่าจะพอเข้าใจก็เสียเวลาไปหลายชั่วโมงเลยทีเดียว

ตามความคิดของผมนะครับ

คำว่าแม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์นี้มีความหมายเดียวกับจุดมุ่งหมายสูงสุดของ
พระพุทธศาสนานั่นคือการดับทุกข์ทางใจครับ ทำอย่างไรจึงจะดับทุกข์ดังกล่าวลงได้?
คำตอบก็คือความไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตนเองครับ
ถ้าดูแล้วจะเข้ากันกับคำกล่าวที่ว่า ละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดครับ

ในการปฏิบัติธรรมนั้นขั้นแรกคือเราต้องสำรวจตัวเองก่อนแล้วรู้ให้ได้ว่าอันไหนเป็นสิ่งชั่ว
ไม่ดี และพยายามละ ลด สิ่งเหล่านั้นเสีย
หลังจากนั้นจึงค่อยๆประกอบการทำดีควบคู่กันไป เช่น การทำบุญกิริยา 10 ซึ่ง
การทำบุญนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการบริจาคทานให้กับทางวัดอย่างเดียวก็ได้
แต่สามารถทำบุญได้อีกหลายวิธีในชีวิตประจำวันของเรา เช่น การให้ความรู้เป็นทานแก่เพื่อน,
การให้อภัยกับสิ่งต่างๆที่ทำให้เราไม่พอใจ, การมีสติแก่ตนเองเสมอ โดยการทำบุญที่จะทำให้
ได้บุญมากนั้นคือ การทำบุญโดยคิดว่าเป็นการช่วยบำบัดทุกข์คนอื่น และเป็นการทำเพื่อ
ละกิเลสในใจเราพร้อมๆกันครับ

เมื่อเราทำได้ถึงขั้นนี้ก็จะเป็นเหมือนกับในเรื่องของเซ็นดังกล่าวคือเราได้ทำการสร้าง
ความเป็นหนึ่งขึ้นมาแล้ว เช่น ตัวอย่างของชินเชาที่บอกว่าจิตเหมือนกระจกต้องปัดกวาด
ทุกวัน นั่นก็คือเราต้องหมั่นสำรวจใจตนเองและทำดีเพื่อเป็นการปัดกวาดกิลสเหล่านั้นเสมอ

แต่ถ้าเกิดความคิดเราหยุดอยู่แค่นั้นแล้วจะไม่สามารถเป็นการดับทุกข์ ทางใจได้ทั้งหมด
เนื่องจากเรายังมีความอยาก (ตัณหา) ที่จะทำบุญเพื่อชำระจิตใจเราอยู่ดี จึงต้องมีความคิด
ในขั้นถัดไปของเว่ยหลาง ที่บอกว่าไม่มีทั้งตั้นโพธิ์ และกระจกเงา นั่นก็เพราะเราจะต้อง
ทำดีให้ได้เป็นนิสัย และทำได้เองโดยไม่ต้องนึกถึงผลแห่งบุญที่ได้ทำแล้ว (ทำได้เองโดยอัตโนมัติ)
หรือแปลว่าการทำบุญไปโดยไม่นึกว่าทำเพื่อตนเองโดยสิ้นเชิง เพราะในสภาพวะที่ดับทุกข์ได้แล้ว
นั้นไม่มีทั้งจิต และกายของตัวเองอยู่เลย มันเป็นสิ่งที่เราปรุงแต่งขึ้นมาทั้งสิ้น

ดังนั้นคำว่า แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์ ได้อธิบายความหมายของพระพุทธศาสนาไว้ลึกซื้งทีเดียวครับ

happy.gif