ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

วิธีใช้ทรัพย์สำหรับการสร้างบุญบารมี


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
ไม่มีการตอบกลับในกระทู้นี้

#1 phani

phani
  • Admin_Article_VDO
  • 425 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 04 January 2015 - 09:09 AM

วิธีใช้ทรัพย์สำหรับการสร้างบุญบารมี
 
แนบไฟล์  2548-04-16-13.jpg   37.59K   11 ดาวน์โหลด
 
 
พระพุทธองค์ทรงสอนวิธีใช้ทรัพย์ออกเป็น 2 ระดับ
 
ระดับพื้นฐาน :ระดับจิตเดียวกับปุถุชนทั่วไป
 
เมื่อระดับจิตของเรายังไม่ถึงกับระดับจิตของพระโพธิสัตว์ ท่านจะสอนให้บริหารการใช้ทรัพย์ดังนี้
 
เมื่อได้ทรัพย์มาแล้วจำนวนหนึ่ง ก็ให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน
 
1.ส่วนที่ใช้สำหรับ ส่วนตัว ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ค่ารถ ค่าน้ำมันรถ ฯลฯ
 
2.ส่วนที่ใช้สำหรับ ลงทุน  ได้แก่ ค่าศึกษาเล่าเรียน ค่าดำเนินการธุรกิจ
 
3.ส่วนที่ใช้สำหรับ สำรอง  ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บไข้  ค่าซ่อมแซมอุบัติเหตุต่างๆ
 
4.ส่วนที่ใช้สำหรับ ทำบุญ  ได้แก่ ทำบุญกับพระในบ้าน ผู้มีพระคุณ สงเคราะห์หมู่ญาติ สาธารณกุศลต่างๆ และทำบุญกับพระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญ
 
แต่ทั้ง 4 ส่วนนี้ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องแบ่ง 25% เท่ากันทั้งหมด เราสามารถแบ่งตามสัดส่วนความจำเป็นในแต่ละงบได้
 
ถ้าบริหารการใช้ทรัพย์อย่างนี้ได้  เราก็จะมีความสุขจากการไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินจากใคร และสามารถทำบุญได้อย่างสุขใจโดยที่ไม่ต้องกระทบตนและผู้อื่น  สามารถประคองนาวาชีวิตให้ไปสู่สุคติและพระนิพพานได้เช่นกัน
 
ระดับสูง :ระดับจิตเดียวกับพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
 
ท่านจะสอนให้สละทรัพย์จนหมดไม่มีเหลือ เหมือนหม้อน้ำที่คว่ำไม่เหลือน้ำไว้แม้เพียงหยดเดียว 
 
การที่พระพุทธองค์ตรัสสอนบุคคลในระดับนี้ ก็เพราะจิตของเขากล้าแข็ง ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้ง 8 คือ มีลาภ-เสื่อมลาภ มียศ-เสื่อมยศ สุข-ทุกข์ สรรเสริญ-นินทา  
 
แม้ทำทานหรือความดีอื่นๆจนต้องแลกกับการสูญเสียอวัยวะหรือชีวิต ก็ไม่หวั่นไหวใดๆทั้งสิ้น  
และจิตใจของบุคคลเหล่านี้จะแช่มชื่นเบิกบาน มีชีวิตอยู่ด้วยสติปัญญาเหนือปุถุชนทั่วไป  
 
เพราะมีความเข้าใจในเรื่องชาตินี้ชาติหน้า และกฎแห่งกรรม อย่างไม่คลอนแคลน  แม้มีพญามารมาทดสอบกำลังใจก็จะไม่ท้อแท้ท้อถอยเลย 
 
มุ่งไปสู่เป้าหมายของชีวิตด้วยการทำความดีโดยไม่สนใจเรื่องปลีกย่อยที่คอยมา เป็นอุปสรรคขัดขวางการทำความดี 
 
สู้กับอุปสรรคเหล่านั้นไปจนกว่าจะชนะในชาติใดชาติหนึ่งอย่างสมศักดิ์ศรี เป็นที่กล่าวขวัญของหมู่มนุษย์และปวงเทวาทั้งหลาย 
 
เพราะมีจิตใจดุจบุรุษอาชาไนย คือ ท้อไม่เป็น และไม่มัวเสียเวลามากล่าวโทษใคร มุ่งแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี เยี่ยงพระบรมโพธิสัตว์ในกาลก่อน
 
บทความโดย LP.Ping