ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

จิต เมื่อออกจากร่างกายมนูษย์แล้ว (ตาย) จิตนั้นยังมีความรู้สึกอีกไหมครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 14 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 July 2013 - 05:29 PM

072



#2 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 21 July 2013 - 10:46 PM

เอามหายานกับเถรวาทมาถามปนกันให้มั่วไปหมด  จะเริ่มตอบตรงไหนก่อนดีหล่ะเนี้ย  ขอตั้งสติก่อนนะครับ

 

เริ่มจากตรงนี้ดีกว่า  "ดวงจิต" ของท่าน หมายถึงอะไร  เพราะถ้าท่านตอบมาในแนวมหายานก็จะไปทางหนึ่ง  ถ้าตอบมาทางเถรวาทก็จะไปอีกทางหนึ่ง

 

อย่าตอบว่าทั้งสองทาง  กรุณาเลือกทางใดทางหนึ่ง  เพราะจะทำให้ผู็ตอบเข้าใจในตัวผู้ถามว่ามีความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนาเถรวาทมากแค่ไหน  จะได้ตอบได้พอเหมาะพอควร

 

ปล.อันนี้ถามส่วนตัวนะครับ- ไม่ทราบว่าศึกษาพระพุทธศาสนาจากหนังสืออะไรครับ  เพราะจากคำถามที่ผ่านๆ มา  ดูมันจะมีความเข้าใจแปลกๆ ปนอยู่บ่อยๆ ยังไงขออนุญาติแนะนำนะครับ  ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างเดียวก่อน  จะทำให้เราเข้าใจพระพุทธศาสนาได้เร็วขึ้นครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#3 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 July 2013 - 10:22 AM

เรื่อง ปฏิเวธ แม้เป็นใบไม้ในกำมือ แต่พระอภิธรรมในเถรวาทนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

 

การถามมาตอบไปอาจไม่กระจ่างในครั้งเดียว อาจเกิดข้อกังขาเป็นลูกโซ่ ดังนั้นหากมีเวลาควรลงทะเบียนอภิธรรมศึกษาให้ได้ความรู้พื้นฐานที่แน่น สำคัญที่สุด คือ ต้องปฏิบัติ เพื่อให้รู้เห็นประจักษ์ด้วยตนเอง

 

เรื่องของ"จิต"ศึกษาได้จากสติปัฏฐานสูตร  เมื่อปฏิบัติจนสัมผัส"ภวังค์จิต"แล้ว จะเข้าใจและตอบคำถามทั้ง7ข้อได้อย่างชัดแจ้ง


ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#4 dhammarama

dhammarama
  • Members
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 July 2013 - 10:31 AM

ขันธ์ ๕ เป็นชื่อของอุปาทาน ถ้าปล่อยขันธ์ ๕ หรือวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ก็พ้นจากภพไม่ได้ คงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภาพ รูปภพ อรูปภพ นี้เอง  มืดมนวนอยู่ในที่มืด คือโลกนี้เอง ได้ในคำว่า อนฺธภูโต อยํ โลโก ซึ่งแปลว่า โลกนี้น่ะมืดผู้แสวงหาโมกขธรรม ถ้ายังติดขันธ์ ๕ อยู่แล้ว ยังจะพบโมกขธรรมไม่ได้เป็นอันขาด  กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ กล่าวคือ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม  เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรกก็พวกมีขันธ์ ๕ พวกมืดทั้งนั้น ยิ่งในโลกันตนรก เรียกว่า มืดใหญ่ทีเดียว



#5 dhammarama

dhammarama
  • Members
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 July 2013 - 10:41 AM

อินทรีย์ 22 (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น — faculties)
       หมวดที่ 1
           1. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์ คือ จักขุปสาท — eye-faculty)
           2. โสตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสตปสาท — ear-faculty)
           3. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ฆานปสาท — nose-faculty)
           4. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท — tongue-faculty)
           5. กายินทรีย์ (อินทรีย์ คือ กายปสาท — body-faculty)
           6. มนินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ใจ ได้แก่ จิต ที่จำแนกเป็น 89 หรือ 121 ก็ตาม mind-faculty)

       หมวดที่ 2
           7. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ — femininity faculty)
           8. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ — masculinity faculty; virility)
           9. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชีวิต — life faculty; vitality)

       หมวดที่ 3
           10. สุขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สุขเวทนา — bodily-pleasure faculty)
           11. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา — bodily-pain faculty)
           12. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา — joy faculty)
           13. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา — grief faculty)
           14. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา — indifference faculty)


       หมวดที่ 4
           15. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ศรัทธา — faith faculty)
           16. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์ คือ วิริยะ — energy faculty)
           17. สตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สติ — mindfulness faculty)
           18. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตา — concentration faculty)
           19. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา — wisdom faculty)

       หมวดที่ 5
           20. อนัญญตัญญัตญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรม ที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ — ‘I shall come to know the unknown’ faculty, i.e. knowledge of the stream-entry path.)
           21. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ 6 ในท่ามกลาง คือ โสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ — perfect-knowledge faculty, i.e. knowledge of the six intermediate Paths and Fruitions)
           22. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ — perfect-knower faculty, i.e. knowledge of the Fruition of Arahantship)



#6 dhammarama

dhammarama
  • Members
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 July 2013 - 10:48 AM

เมื่อถึงกายธรรมแล้วถึงขั้นวิปัสสนา ๘ กายข้างต้น กายมนุษย์ไปจนถึงอรูปพรหมละเอียด นั่นเป็นกายขั้น สมถะ 
ถ้าว่าเข้าไปถึงกายเหล่านั้นเป็นสมถะทั้งนั้น เข้าถึงวิปัสสนาไม่ได้ เพราะกายเหล่านั้นเป็นสมถะ ทำไมรู้ว่าเป็นสมถะ?

 

ภูมิสมถะ บอกตำรับตำราไว้ ๔๐ กสิน ๑๐ อสุภ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ เป็น๓๐ ละ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ กำหนดอาหารเป็นปฏิกูล จตุธาตุววัตถานะ ๑ กำหนดธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม กำหนดธาตุเหล่านี้ ทั้ง ๒ นี้เป็น  ๓๒ พรหมวิหาร ๔  เป็น ๓๖ อรูปฌาน ๔  รวมเป็น ๔๐ นี่ภูมิของสมถะ เมื่อเข้ารูปฌานต้องอาศัยมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์  กายทิพย์ละเอียด  กายรูปพรหมเข้ารูปฌาน กายอรูปพรหมเข้าอรูปฌาน  นี่หลักฐาน ฌานเหล่านี้ยืนยันว่า  ตั้งแต่ตลอดรูปพรหมอรูปพรหมนี่แหละเป็นภูมิสมถะทั้งนั้น  ไม่ใช่ภูมิวิปัสสนา

 

 

ภูมิวิปัสสนา ยกวิปัสสนาขึ้นข่ม

ขันธ์ ๕

อายตนะ ๑๒

ธาตุ ๑๘

อินทรีย์ ๒๒ 

อริยสัจ ๔ 

ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ 

ทั้ง ๖ หมวดนี้เป็นภูมิของวิปัสสนา

 

 

 

ขันธ์ ๕ ได้แสดงแล้ว  รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณของมนุษย์มนุษย์ละเอียด  กายทิพย์  กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด  กายอรูปพรหม  กายอรูปพรหมละเอียด  ๘ กายนี้ขันธ์ ๕ ทั้งนั้น

 

ขันธ์ ๕ เหล่านี้แหละตาธรรมกายเห็นไม่เที่ยง เป็นทุกข์  ไม่ใช่ตัวทั้งนั้น เห็นชัดๆ อย่างนี้   นี้เป็นวิปัสสนา

อายตนะ ๑๒         มี ตา   หู   จมูก   ลิ้น   กาย   ใจ   รูป   เสียง   กลิ่น   รส   โผฏฐัพพะ   ธรรมารมณ์  ทั้ง ๑๒ นี้ ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวอีกเหมือนกัน  เช่นเดียวกัน  แปรผันไปตามหน้าที่ของมัน  เห็นชัดๆ

 

 

ธาตุ ๑๘ 
จักขุธาตุ                 รูปธาตุ   จักขุวิญญาณธาตุ 
โสตธาตุ                 สัททธาตุ                โสตวิญญาณธาตุ 
ฆานธาตุ                คันธธาตุ                ฆานวิญญาณธาตุ 
ชิวหาธาตุ              รสธาตุ   ชิวหาวิญญาณธาตุ 
กายธาตุ                โผฏฐัพพะธาตุ กายวิญญาณธาตุ 
มโนธาตุ                ธรรมธาตุ               มโนวิญญาณธาตุ 

 


ธาตุ ๑๘ สาม ๖ เป็น ๑๘ อายตนะ ๖ อายตนะหนึ่งแยกออกเป็น ๓

จักขุ ก็เป็นธาตุ รูป ที่มากระทบจักขุก็เป็นธาตุ วิญญาณธาตุที่แล่นไปรับรู้รูปที่มากระทบนัยน์ตา ก็เป็นธาตุ 
หู ก็เป็นธาตุ เสียง ที่มากระทบหู ก็เป็นธาตุ วิญญาณธาตุที่แล่นไปรับรู้ทางหู  ก็เป็นธาตุ 
จมูก ก็เป็นธาตุ กลิ่น ก็เป็นธาตุ รู้ ที่แล่นไปตามจมูก  นั่นก็เรียกว่าธาตุ 
ลิ้น ก็เป็นธาตุ รส ก็เป็นธาตุ ความรู้ ที่แล่นไปตามลิ้น  นั่นก็เป็นธาตุ 
กาย ก็เป็นธาตุ สัมผัสถูกต้อง ก็เป็นธาตุ วิญญาณ ที่รู้สัมผัสนั่นก็เป็นธาตุ 
ใจ ก็เป็นธาตุ อารมณ์ ที่เกิดกับใจก็เป็นธาตุ วิญญาณ ที่รู้อารมณ์ที่เกิดกับใจนั้นก็เป็นธาตุ 


รู้ว่าเป็นธาตุ ล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น เมื่อรู้ชัดว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ละ ก็รู้ชัดๆ เช่นนี้เห็นชัดๆ เช่นนี้ นี้ก็ด้วยตาธรรมกาย ตากายมนุษย์ กายทิพย์  กายรูปพรหม  อรูปพรหม ทั้งหยาบทั้งละเอียดเห็นไม่ได้  เห็นได้แต่ตาธรรมกาย ธาตุ ๑๘ นี่ก็เห็นได้ชัดๆ

 

 

อินทรีย์ ๒๒ 
จักขุนทรีย์  นัยน์ตาเป็นใหญ่ 
โสตินทรีย์  ความได้ยินเป็นใหญ่ 
ฆานินทรีย์  ความรู้กลิ่นเป็นใหญ่ 
ชิวหินทรีย์  ความรู้รสเป็นใหญ่ 
กายอินทรีย์  กายรับถูกต้องเป็นใหญ่ 
มนินทรีย์ ใจเป็นใหญ่ เป็นใหญ่ตามหน้าที่ ที่เรียกว่าอินทรีย์ ๕ ในอินทรีย์ทั้ง ๕ 
นี้เป็นใหญ่ตามหน้าที่ของมัน  อินทรีย์ไม่ใช่มีน้อยมี ๒๒ 
อิตถินทรีย์  สภาวรูปของหญิงเป็นใหญ่ 
ปุริสินทรีย์  สภาวรูปของชายเป็นใหญ่ 
ชีวิตินทรีย์  ชีวิตเป็นใหญ่ อยู่ดังนี้ 
สุขินทรีย์  สุขเป็นใหญ่ 
ทุกขินทรีย์  ทุกข์เป็นใหญ่ 
โสมนัสสินทรีย์  ความดีใจเป็นใหญ่ 
โทมนัสสินทรีย์  เสียใจเป็นใหญ่ 
อุเบกขินทรีย์  อุเบกขาเป็นใหญ่ 
สัทธินทรีย์  ความเชื่อเป็นใหญ่ 
วิริยินทรีย์  ความเพียรเป็นใหญ่ 
สตินทรีย์  สติเป็นใหญ่ 
สมาธินทรีย์  สมาธิเป็นใหญ่ 
ปัญญินทรีย์  ปัญญาเป็นใหญ่ 
อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์ พระโสดาเป็นใหญ่ เป็นหน้าที่ของพระโสดาปัตติมรรค 
อัญญินทรีย์ โสดาปัตติผลสกทาคาอนาคาถึงอรหัตมรรคเป็นใหญ่ของหน้าที่นั้นๆ 
อัญญาตาวินทรีย์ อรหัตเป็นใหญ่ เป็นใหญ่ในหน้าที่ของพระอรหัตผลนั้นๆ 

 


เมื่อว่าอินทรีย์ ๒๒ เป็นภูมิของวิปัสสนาแท้ๆ ถ้าไม่มีตาธรรมกายมองไม่เห็น  มีตาธรรมกายมองเห็น อินทรีย์ ๒๒

 

 

กัณฑ์ที่ ๒๓ 

ติลกฺขณาทิคาถา 
วันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๗ 



#7 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 July 2013 - 05:59 PM

072



#8 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 22 July 2013 - 07:33 PM

ตอบคุณ Cheterkk ข้อเดียวว่า ธาตุรู้ ผมเห็นว่า คือ ธาตุวิญญาณ น่ะครับ ไม่ใช่เวทนา

 

ทั้งนี้เพราะ ธาตุวิญญาณ เป็นหนึ่งใน ธาตุ 6 ได้แก่

ธาตุดิน

ธาตุน้ำ

ธาตุลม

ธาตุไฟ

ธาตุอากาศ

ธาตุวิญญาณ (ธาตุรู้)


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#9 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 July 2013 - 02:30 AM

072



#10 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 July 2013 - 07:24 AM

สงสัยท่าน จขกท จะอยู่เนสัชฯคืนอาสาฬหบูชา

 

เป็นอันว่า จขกท ตั้งกระทู้ถาม และสามารถตอบได้เองด้วยการค้นคว้าแหล่งข้อมูลที่มี ย่อมได้อุปนิสัยที่เป็นผู้รู้ผู้ขวนขวาย

 

เหลือคำตอบอย่างเดียว คือ ปฏิบัติให้รู้เห็นด้วยตนเองเท่านั้น

 

พริกมันเผ็ดยังไง? เปิดตำรา...เล่าว่ามันแสบๆร้อนๆ

มันยังไง? มันแซ้บ!

แซ้บ..ยังไง? ก็ลองเคี้ยวดูสิ

เคี้ยวแล้ว...อูย เผ็ดมันเป็นอย่างนี้นี่เอง ขอไปแก้เผ็ดก่อนนะ....HAPPY ENDING!


ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#11 qazwsx123

qazwsx123
  • Members
  • 49 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 23 July 2013 - 09:12 AM

เป็นอภิปรัชญา ไม่อยากคาดเดาคิดมาก กลัวเพี้ยน

-*- ความทุกข์นี่ เกิดจากความอยากป่ะคับ

ส่วนความสุข เป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้วมั๊ง

ขอเดาสักหน่อยก็ยังดี



#12 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 July 2013 - 01:38 PM

072



#13 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 23 July 2013 - 02:31 PM

เริ่มที่ ป.ตรี DOU เป็นก้าวแรกก่อนดีไหมครับ  ชวนตั้งแต่ท่านเข้ามาบอร์ดนี้แรกๆ แล้ว  จนผ่านมานานก็ยังไม่ตอบรับสักที

 

ปล.ส่วนตัวขอแนะนำ  ถ้าอยากรู้ด้านตำราทางพระพุทธศาสนาโดยพื้นยังไม่แน่น  อย่าเรียน ป.เอก ปรัชญาและศาสนา  เพราะ ป.เอก นั่นแหละตัวพาหลงทางเลยหล่ะ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#14 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 July 2013 - 02:55 PM

072



#15 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 23 July 2013 - 06:43 PM

วั้นเอาไปศึกษาเพื่อเตรียมตัวอีกรอบ

 

http://dou.us/


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ