ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

อะไรเป็นสิ่งน่ากลัวที่สุดสำหรับคุณและอนันตจักรวาล


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 19 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 18 October 2007 - 01:16 PM

ได้มีโอกาสได้อ่านบทความบทหนึ่ง จึงคิดอยากให้ทุกท่านได้ลองอ่านดูด้วยน่ะครับ

เคยไหมครับที่จะมีใครสักคนถามคุณว่า อะไรเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับคุณ คำตอบของทุกคนคนคิดไปต่างๆนานา บ้างก็ว่า สงครามน่ากลัวที่สุด และอีกหลายๆอย่าง ซึ่งแน่นอนที่สุดคำตอบยอดฮิตติดอันดับ1คงหนีไม่พ้น "ผี"

สำหรับเพื่อนกัลยาณมิตรทุกคนผมก็พอจะทราบคำตอบดีว่าเพื่อนๆพี่ๆทุกคนจะตอบอะไรบ้างน่ะแหล่ะครับ ^ ^" เพราะฉะนั้น ผมจะมิถาม

แต่ลองอ่านบทความบทนี้ดูก่อนแล้วกันนะครับ แล้วจะรู้ว่าอะไรน่ากลัวที่สุดเหมือนผม ^ ^

สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในอนันตจักรวาล
สิ่งที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ไม่ใช่สัตว์ประหลาดจากต่างดาว ไม่ใช่โรคภัยไข้เจ็บ ไม่ใช่สิ่งไกลตัวที่ไหน แต่เป็นจิตของเราแต่ละคนนั่นเอง ที่กล่าวว่าจิตของเราเองคือสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในอนันตจักรวาลนั้น ก็เพราะว่า โดยความเป็นจริงที่แท้แล้วสิ่งอื่นหรือคนอื่นนั้น ไม่มีอะไรหรือใครเลย ที่จะทำให้เราเป็นทุกข์ได้ ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำ สายตา กิริยา ท่าทาง น้ำเสียง ฯลฯ (ถ้าจิตของเราไม่ไปยึดมั่นถือมั่น ไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งเหล่านั้น) แต่สิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์ ก็คือจิตของเราเองที่หวั่นไหวไปตามสิ่งเหล่านั้นต่างหาก

ไม่ว่าคนอื่นจะแสดงกิริยาในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้าจิตของเราไปยึดมั่นก็ย่อมจะหวั่นไหว ถ้าไม่หวั่นไหวไปในทางที่เป็นสุข ก็หวั่นไหวไปในทางที่เป็นทุกข์ คือถ้าปรุงแต่งให้สุขก็สุข ปรุงแต่งให้ทุกข์ก็ทุกข์ แต่ถ้าจิตไม่ไปยึดมั่นก็จะไม่หวั่นไหว เมื่อไม่หวั่นไหวก็จะสงบระงับ ไม่กระเพื่อม ไม่ซัดส่าย ไม่โยกโคลงเคลงไปมา แล้วก็จะได้พบกับความสุขอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นความสุขอันประณีต ล้ำลึก เป็นสภาวะของจิตที่บริสุทธิ์ ปลอดโปร่ง เบาสบาย ซึ่งผู้ที่เคยสัมผัสมาแล้วย่อมจะซาบซึ้งใจได้ดี

มาพิจารณาถึงความน่ากลัวของจิตกันต่อ ไม่ใช่เฉพาะความทุกข์ทางใจเท่านั้น ที่เกิดจากจิตของเราเอง แม้แต่ความทุกข์ทางกายทั้งหลาย เช่น ความเจ็บปวด ความหนาว ความร้อน ก็ล้วนเกิดจากจิตของเราเองด้วย ลองพิจารณาดูสิว่า คนที่หลับสนิทนั้น เป็นทุกข์เพราะความเจ็บปวด ความหนาว ความร้อน ฯลฯ หรือไม่ ที่ไม่เป็นทุกข์นั้น ไม่ใช่เพราะเขาไม่ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอกเลย แต่เป็นเพราะว่า จิตของเขาไม่ได้ไปรับรู้สภาวะแวดล้อมเหล่านั้นเลยต่างหาก
นี่ก็เป็นเครื่องยืนยันอย่างชัดเจนแล้วว่า สิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ทางกายนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่สิ่งอื่นเลย แต่เป็นเพราะจิตของเรานี้นั่นเอง ทุกข์ทางกายจึงเกิดขึ้น

จะเห็นว่าสิ่งที่ทำให้เราได้ดี ได้ชั่ว ไปสู่ที่สูงที่ต่ำ หรือเป็นสุขเป็นทุกข์ แท้จริงแล้วก็มีอยู่สิ่งเดียวเท่านั้น ก็คือจิตของเรา จิตของเราเท่านั้นที่จะบันดาลให้เราเป็นไปต่างๆ ได้อย่างแท้จริง คนอื่นๆ จะมีผลบ้างก็เพียงส่วนเล็กน้อย ผิวเผินในปัจจุบันเท่านั้นเอง คือจะมีส่วนในการกระตุ้น ชักจูง เหนี่ยวนำ ก่อกวน บ่อนทำลาย แนะนำ ให้ความรู้ ให้กำลังใจ ให้การสนับสนุน ฯลฯ แต่ถ้าจิตของเราแน่วแน่มั่นคง ไม่หวั่นไหว หรือเฉื่อยชา เฉยเมย ชาชิน คนอื่นเหล่านั้นก็ทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ว่าจะทำให้เราดีขึ้น หรือแย่ลง จิตของเราก็จะมีความคงที่ (ดีคงที่ กลางๆ คงที่ หรือแย่คงที่) ไม่ขึ้นไม่ลง

แต่ถ้าจิตของเราเองพุ่งตรงไปสู่สิ่งที่ไม่ดี คือเป็นจิตที่ตั้งไว้ผิดแล้ว ความเสียหายทั้งปวงก็จะตามมา ซึ่งความเสียหายนั้น จะรุนแรงกว่าที่มหาโจรผู้ยิ่งใหญ่จะทำแก่เราได้เสียอีก เพราะมหาโจรนั้นจะทำได้อย่างมากก็เพียงแค่ทำให้เราตายไปเท่านั้นเอง แล้วก็จบกันแค่นั้น แต่ความเสียหายที่จิตเราสร้างขึ้นมาเองนั้น จะติดตามไปไม่รู้จักจบสิ้น หลายภพหลายชาติ จนกว่าจะหมดแรงกรรมนั้น แม้ในชาตินี้เอง ก็จะทำให้จิตต้องเร่าร้อน เป็นทุกข์อยู่เป็นประจำ

ส่วนจิตที่พุ่งตรงไปสู่สิ่งที่ดี คือจิตที่ตั้งไว้ดีแล้วนั้น ประโยชน์สุขทั้งหลายก็จะตามมา ซึ่งประโยชน์นั้น จะยิ่งใหญ่และมากมายจนเกินกว่าที่ผู้อื่นจะทำให้ได้ เพราะผู้อื่นจะให้ได้เฉพาะความสุข หรือประโยชน์ในขณะนั้นๆ เท่านั้นเอง ไม่ยั่งยืน อยู่ได้อย่างมากก็เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น แต่ประโยชน์สุขที่จิตเราสร้างขึ้นมาเองนั้น จะติดตามเราไปได้ทุกหนแห่ง หลายภพหลายชาติ จนกว่าจะหมดแรงกรรมนั้น แม้ในชาตินี้ก็จะส่งผลให้ได้รับความสุข ความสบายใจอยู่เสมอ

คำว่าจิตที่ตั้งไว้ผิดนั้นก็คือ ตั้งไว้ด้วยเจตนาแห่งความโลภ ความโกรธ ความคิดที่จะเบียดเบียน ทำร้ายผู้อื่น อันเป็นเหตุให้ทำผิดศีลธรรมนานาประการ ซึ่งจะทำให้ได้รับผลเป็นความทุกข์ จากความกังวลใจ ขัดเคืองใจ หวาดระแวง ต้องคอยระวังศัตรูจะทำร้าย มีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัวอยู่เสมอ ฯลฯ

ส่วนจิตที่ตั้งไว้ถูกก็คือ ตั้งไว้ด้วยเจตนาแห่งความเสียสละ ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ความคิดที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น มีความเพียรในการรักษาศีล ทำสมาธิ เจริญวิปัสสนา อยู่ในศีลธรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นเหตุแห่งกุศลกรรมทั้งปวง อันจะส่งผลให้มีความสุข สบายใจ ไม่ต้องสะดุ้งหวาดกลัว

ธัมมโชติ
22 พฤษภาคม 2544

เป็นยังไงบ้างครับ ทีนี้คงรู้แล้วสินะครับ ว่าสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในอนันตจักรวาลนั้นก็คือ จิต ของคนเรานี่เอง

ลองคิดดูในแง่ผู้มีบุญ หากจิตของเจ้าชายสิทธัตถะไม่เพียรพอ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คงไม่บังเกิด ตอนนี้เราอาจจะอยู่ในยุคที่เรียกว่าวิสัญญีก็ได้ หากจิตของหลวงปู่ไม่มั่นคงพอ หลักวิชาคงไม่เกิด หากจิตของคุณยายอาจารย์และคุณครูไม่ใหญ่ไม่เข้มแข็งไม่มุ่งมั่นพอ เราคงไม่มีโอกาสได้รู้ว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต และคงไม่มีใครสอนเราว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร และหากจิตใจเราไม่มั่นคงป่านนี้เราก็คงหลุดไปไหนต่อไหนแล้วจริงไหมครับ


1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 18 October 2007 - 01:44 PM

อนุโมทนา สาธุ ในสาระธรรม ที่เจ้าของกระทู้ นำมาแบ่งปันด้วยครับ
[attachment=13872:00003_28.gif]


มีสาระธรรม เกี่ยวกับจิต อธิบาย โดย อ. วศิน อินทสระ มาฝากท่านที่สนใจครับ


พระพุทธภาษิต

น ตํ มาตา ปิตา กยิรา
อญฺเญ วาปิ จ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ
เสยฺยโส นํ ตโต กเร


คำแปล
มารดาบิดา หรือญาติทั้งหลาย ย่อมกระทำสิ่งนั้นให้ไม่ได้
แต่จิตที่ตั้งไว้ชอบย่อมทำให้ได้
และทำบุคคลให้เข้าถึงฐานะอันประเสริฐยิ่งกว่าที่มารดาบิดาจะพึงให้ได้


อธิบายความ
คำว่า สิ่งนั้น ในพระคาถานี้หมายถึง ความประเสริฐหรือคุณความดี
ตั้งแต่เบื้องต่ำถึงเบื้องสูง กล่าวคือ นิพพานสมบัติ

จริงอยู่มารดาบิดาหรือญาติอันเป็นที่รักอาจมอบทรัพย์ให้เลี้ยงชีพสบายไปชาติหนึ่ง
แต่ก็ชาติเดียวเท่านั้น ไม่สามารถให้ข้ามภพข้ามชาติได้

แต่จิตที่บุคคลตั้งไว้ถูกแล้ว ย่อมทำให้ได้สมบัติทั้งที่เป็นโลกียะ โลกุตตระ
ให้ได้สักการะความนับถือ เกียรติยศ และอื่นๆ อีกมากมาย
อันอยู่เหนือวิสัยที่มารดาบิดาจะพึงให้ได้

จิตที่ตั้งไว้ถูกจึงมีคุณค่ามาก บุคคลจะได้สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติก็เพราะจิตที่ตั้งไว้ถูก
แม้มนุษย์สมบัตินี้ก็เหมือนกัน

QUOTE
พระพุทธภาษิต

ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กริยา
เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ
ปาปิโย นํ ตโต กเร


คำแปล
โจรเห็นโจร คนมีเวรต่อกันพบคนมีเวรด้วยกัน จะพึงทำความพินาศอันใดต่อกัน
จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด ยังสามารถทำความพินาศให้บุคคลมากกว่านั้นเสียอีก


อธิบายความ
คำว่า จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด ในพระคาถานี้ ท่านหมายถึง
ตั้งไว้ใน อกุศลกรรมบถ 10 มีปาณาติบาต เป็นต้น
และมิจฉาทิฏฐิเป็นปริโยสาน

หมายความว่า มีความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น
เห็นว่าความดีไม่มี ความชั่วไม่มี ทำดีสูญเปล่า ทำชั่วสูญเปล่า ดังนี้เป็นต้น

จิตที่ตั้งไว้ผิดอย่างนี้ให้โทษมาก ทำความวอดวายให้มาก
มากกว่าโจรและคนมีเวรต่อกันจะพึงกระทำแก่กัน

ท่านว่าคนพวกนี้ทำความพินาศให้แก่กันอย่างมากก็เพียงชาติเดียว

แต่จิตที่ตั้งไว้ผิดย่อมให้ทุกข์ให้โทษนานกว่า
สามารถให้เสวยทุกข์ในอบาย 4 ไม่รู้จักจบสิ้น

จิตของบุคคลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

อนึ่ง บุคคลที่ต้องเป็นโจรและเป็นคนมีเวรกัน ก็เพราะจิตที่ตั้งไว้ผิดนั่นเองเป็นมูลกรณี


พระพุทธภาษิต

ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ
ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ

อุชุ กโรติ เมธาวี
อุสุกาโรค ว เตชนํ

อาริโช ว ถเล ขิตฺโต
โอกโมกตอุพฺภโต

ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ
มารเธยฺยํ ปหาตเว


คำแปล
จิตนี้ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก บัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมทำจิตนี้ให้ตรง เหมือนช่างศรดัดลูกศร
จิตนี้ เมื่อผู้ทำความเพียรยกขึ้นจากอาลัยคือกามคุณ 5 แล้ว ซัดไปในวิปัสสนากัมมฐาน
เพื่อให้ละบ่วงแห่งมาร ย่อมดิ้นรน เหมือนปลาที่พรานเบ็ดยกขึ้นจากน้ำวางไว้บนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น


อธิบายความ
พระพุทธภาษิตนี้แสดงถึงลักษณะของจิตว่า ดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก
แต่ถึงกระนั้นก็ไม่เหลือวิสัยที่จะทำให้ตรงได้
แต่ต้องทำด้วยอุบายอันฉลาด เหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ถ้าไม่ใช่ช่างศร ย่อมทำลูกศรไม่เป็นฉันใด
บุคคลผู้ไม่ชำนาญทางการฝึกจิต ก็ไม่สามารถทำจิตให้ตรงได้ฉันนั้น

ที่ว่าจิตนี้ดิ้นรนนั้น คือดิ้นรนอยู่ในอารมณ์มีรูป เป็นต้น ดิ้นรนไปเพื่อเกลือกกลั้วกับอารมณ์นั้น
ดิ้นรนไปหารูปอันสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสอันยวนใจ
เมื่อถูกกีดกันจากอารมณ์นั้นด้วยสมถกัมมฐาน หรือวิปัสสนากัมมัฏฐาน ย่อมดิ้นรนมากขึ้น
เพราะไม่ได้เสวยอารมณ์ที่เคยได้
เหมือนของที่คนเคยกินจนติดแล้วไม่ได้กิน ย่อมแสดงอาการทุรนทุราย

ที่ว่ากวัดแกว่งนั้น คือไม่สามารถดำรงอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่สามารถนิ่งได้ เหมือนเด็ก
หรือสิ่งไม่อยู่นิ่งในอิริยาบถเดียว หรือเหมือนใบไม้ที่ถูกลมพัดให้หวั่นไหวอยู่เสมอ
จิตนี้ก็เหมือนกัน ถูกลมคือโลกธรรม 8 บ้าง ราคะ โทสะ โมหะบ้าง ทำให้หวั่นไหวกวัดแกว่ง

ที่ว่ารักษายากนั้น เพราะหาอารมณ์อันเป็นที่สบายให้จิตได้ลำบาก
ประเดี๋ยวชอบอย่างนั้น ประเดี๋ยวชอบอย่างนี้ และมักชอบตกไปในอารมณ์อันชั่ว
ผู้มีปัญญาจึงต้องคอยเหนี่ยวรั้งอยู่เสมอ เหมือนโคพยายามจะกินข้าวกล้าอันเขียวสด
เจ้าของต้องคอยเหนี่ยวรั้งไว้ด้วยเชือก-เชือกที่สำหรับเหนี่ยวรั้งจิตก็คือสติ

ถึงกระนั้นก็เหนี่ยวรั้วได้ยาก (ทุนฺนิวารยํ)เมื่อเชือกคือสติขาดมันก็ไปตามที่ปรารถนาอีก แต่บุรุษมีความเพียรก็ต้องพยายามทำจิตให้ควรแก่การงาน

เหมือนอย่างว่า นายช่างศร นำเอาท่อนไม้มาจากป่าปอกเปลือกออกแล้ว
ทาด้วยน้ำข้าวหรือน้ำมัน ลนไฟ แล้วตัดให้ตรง
เมื่อทำลูกศรให้ตรงได้ที่แล้วก็แสดงศิลปะยิงศรหน้าพระที่นั่งของพระราชา
หรือต่อหน้าชุมนุมชนเป็นอันมาก ย่อมได้สักการะและความนับถือฉันใด

ผู้มีปัญญาในศาสนานี้ก็ฉันนั้น ทำให้จิตอันมีสภาพดิ้นรนนี้ให้กะเทาะ เปลือกคือกิเลสออก ด้วยอำนาจธุดงคคุณและการอยู่ป่าเป็นต้นแล้ว ชะโลมด้วยยางคือศรัทธา
ลนด้วยความเพียรทั้งทางกายและทางจิต

ดัดที่ง่ามคือสมณะและวิปัสสนา ทำจิตให้ตรงให้หมดพยศ
แลแล้วพิจารณาสังขาร ทำลายกองวิชชาได้แล้ว
ยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้น กล่าวคือ วิชชา 3 อภิญญา 6 และโลกุตรธรรม 9
ย่อมได้ชื่อว่าเป็นทักขิเณยยบุคคลผู้เลิศ

บ่วงแห่งมารที่ตรัสถึงในที่นี้ ท่านหมายถึงกิเลสวัฏฏ์ การทำวิปัสสนากัมมัฏฐานก็เพื่อให้ละบ่วงแห่งมารนี้

อาการทั้งหมดนี้ ภิกษุย่อมได้รับด้วยความเพียรอันเป็นไปติดต่อไม่ขาดสาย
งานการฝึกจิตเป็นงานใหญ่และสำคัญยิ่งในชีวิตมนุษย์
ไม่มีงานใดจะสำคัญและมีอานิสงส์มากเท่านี้

#3 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 October 2007 - 02:35 PM

สาธุ
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#4 Chadawee

Chadawee
  • Members
  • 299 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 18 October 2007 - 03:27 PM

อนุโมทนาบุญค่ะ

เปิ้ล
Ple

#5 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 18 October 2007 - 03:31 PM

อาวุธุที่ร้ายแรงที่สุดก็คือใจมนุษย์ เพราะถ้าอาวุธนั้นมาอานุภาพมากสักเพียงใด ถ้าใคร####มไม่พอ ก็ไม่กล้าใช้มัน




#6 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 18 October 2007 - 04:48 PM

อืม คำของน้องสิริปโภ นี่ สั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความครบถ้วนจริงๆ ชอบๆ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#7 องค์พระใสสว่าง มังกร v-act

องค์พระใสสว่าง มังกร v-act
  • Members
  • 355 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests: การปฎิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 18 October 2007 - 05:53 PM

อนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ
ใจหยุดคือ ที่สุดแห่งบุญ


#8 ว่างว่าง

ว่างว่าง
  • Members
  • 200 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 October 2007 - 05:59 PM

กลัวบาปที่สุด เพราะคือ การตีตั๋วจองที่ VIP ในมหานรก happy.gif

#9 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 October 2007 - 10:12 PM

_/|\_ Krub

#10 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 19 October 2007 - 07:43 AM

ถ้าใจ####มแล้ว ยังมีอำนาจในมือเป็นทุนเดิม นี่น่ากลัวสุด ๆ dry.gif

#11 พักผ่อน

พักผ่อน
  • Members
  • 422 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 19 October 2007 - 08:11 AM

อันที่จริง ใจเราไม่ได้น่ากลัวอะไร แต่เป็นบางสิ่งที่สิงอยู่ในใจต่างหากที่ทำให้น่ากลัว

#12 somchet

somchet
  • Members
  • 900 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 October 2007 - 01:59 PM

อวิชชา น่ากลัว

แต่ผู้ผลิตอวิชชา น่ากลัวที่สุด

#13 jumnuan9

jumnuan9
  • Members
  • 46 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 October 2007 - 12:59 PM

กิเลสของคน

#14 กัลยาณมิตร พิชิตมาร

กัลยาณมิตร พิชิตมาร
  • Members
  • 22 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 October 2007 - 11:33 AM

อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ สำหรับธรรมะดีดี การให้ธรรมะ เครื่องเตือนจิตสะกิดใจ ชนะการให้ทั้งปวงนะครับ เรื่องจิตนั้น สำคัญมากๆ เลยทีเดียว เพราะถ้าตั้งใจไว้ผิดที่ผิดทางแล้วก็จะเกิดโทษมหันต์ แต่ถ้าตั้งใจไว้ชอบ คือตั้งตนไว้ถูกแล้วก็จะมีคุณอนันต์ ดังนั้นเราต้องรักษาจิตให้ตั้งไว้ชอบ

#15 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:thailand

โพสต์เมื่อ 21 October 2007 - 10:21 PM

ทุกสิ่ง ล้วนสำเร็จได้ด้วยใจ
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก

#16 OOI

OOI
  • Members
  • 62 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 October 2007 - 07:50 AM


อนุโมทนา ..สาธุค่ะ

#17 นักรบเผ่าพันธุ์ตะวัน

นักรบเผ่าพันธุ์ตะวัน
  • Members
  • 380 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 05 November 2007 - 10:35 AM

อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ
เพราะเป้าหมายของพวกเราคือ "ที่สุดแห่งธรรม"

#18 คนดี

คนดี
  • Members
  • 14 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 November 2007 - 11:44 AM

มันยากมากๆเลยนะ การทำจิตให้สงบไม่ให้หวั่นไหวกับสิ่งเร้าภายนอกเนี่ยะ

#19 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 November 2007 - 07:29 PM

อนุโมทนา สาธุ ค่ะ ใจมนุษย์ ยากแท้ หยั่งถึง -*-

#20 Heng #37

Heng #37
  • Members
  • 26 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 February 2011 - 11:15 PM

สาธุึๆๆ
"ธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้
ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นความจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม
เรื่องอย่างนี้เราไม่หวั่น เราเชื่อในคุณพระพุทธศาสนา"