ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

ขณะที่จะออกจากสมาธิจะแผ่เมตตาให้ทำยังดีครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 จักรพรรดิ์

จักรพรรดิ์
  • Members
  • 39 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 September 2006 - 11:55 AM

วิชาธรรมกายเวลาแผ่เมตตาทำยังไงครับ ขอบทสวดด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

#2 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 04 September 2006 - 12:13 PM

ตั้งแต่ผมฝึกสมาธิมาไม่เคยท่องบทสวดอะไรเลยอ่า อันนี้เป็นวิธีของผมเองนะ ไม่รู้เหมือนกันว่าได้ผลไหมแต่ทำมาตลอด ขอคำชี้แนะจากทุกท่านด้วยแล้วกันนะครับ วิธีของผมคือตรึกนึกถึงองค์พระที่ศูนย์กลางกาย เมื่อใจนิ่งดีแล้วก็จะนึกให้องค์พระขยาย คลุมไปทั่วโลก ทั่วจักรวาล ตลอดอนันตจักรวาล ทั่วทั้งภพสาม แล้วนึกในใจผ่านศูนย์กลางกายว่าขอแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้ทำมาแก่ทุกสรรพชีวิตทั้งภพสาม ทั้งที่มีกายหยาบ กายละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม ตั้งแต่ชั้นสวรรค์ชั้นสูงสุดเรื่อยลงมาจนถึงอเวจิมหานรก ให้ได้รับส่วนบุญส่วนกุศลที่ผมอุทิศไปให้ตลอดทั่วอนันตจักรวาล

อันนี้เป็นวิธีที่ผมใช้เองนะครับ ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด ยังไงขอคำชี้แนะด้วยนะครับ


1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#3 D_jung

D_jung
  • Members
  • 109 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 September 2006 - 12:36 PM

ดูดาวธรรม DMC ช่วงที่มีการปฏิบัติธรรม หรือมาร่วมพิธีที่วัดวันอาทิตย์ ก็จะมีตอนที่ให้แผ่เมตตานะ
ติดจานดาวธรรมที่บ้านสิ

#4 หยุดอะตอมใจ

หยุดอะตอมใจ
  • Members
  • 729 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 04 September 2006 - 02:04 PM

เอาทุกสรรพสัตว์ และสรรพสิ่ง เข้ามาไว้ในกลาง หรือไม่ก็ขยายกลางครอบคลุมทุกๆ สรรพสิ่งไงครับ laugh.gif

แค่นี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะไปปราบมารได้ไง


#5 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 September 2006 - 04:50 PM

เนื่องจากยังไม่มีท่านใดเสริมเรื่องอานิสงส์การแผ่เมตตา ๑๑ ประการ
จึงหามาเพิ่มเติมครับ

อานิสงส์ของการแผ่เมตตา ( แปลขยายความ )

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีอังคุตตรนิกายว่า ผู้แผ่เมตตาเป็นประจำ ย่อมได้รับ อานิสงส์ ๑๑ ประการ ดังนี้

๑.หลับเป็นสุข คือ หลับสบาย หลับสนิท

๒.ตื่นเป็นสุข คือเมื่อตื่นขึ้นมาก็สบายตัว สบายใจ หายอ่อนเพลีย ไม่มีอาการง่วงติดต่ออีก

๓.ไม่ฝันร้าย คือ จะไม่ฝันเห็นสิ่งเลวร้ายทำให้สะดุ้งตื่นกลางคัน หรือไม่ฝันหวาดเสียวต่าง ๆ

๔.เป็นที่รักของคนทั่วไป คือ จะเป็นคนมีเสน่ห์ ไปที่ใดก็ปราศจากศรัตรูผู้คิดร้าย แม้ผู้ไม่ชอบใจก็จะกลับมาชอบได้

๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั่วไป คือแม้สัตว์ต่าง ๆ ก็รักผู้แผ่เมตตา ไม่ขบกัด ไม่ทำร้าย ทำให้ปลอดภัยจากเขี้ยวงาทุกชนิด

๖.เทวดารักษาคุ้มครอง คือ จะเดินทางไปไหนมาไหนเทวดาจะคุ้มครองให้ความปลอดภัยตลอดเวลา จะไม่ประสบอุปัทวภัยต่าง ๆ ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ

๗.ไฟ ศาสตรา ยาพิษ ไม่แผ้วพาน คือสิ่งเหล่านี้จะทำอันตรายมิได้ จะปลอดภัยจากสิ่งเหล่านี้

๘.จิตเป็นสมาธิเร็ว คือ ผู้แผ่เมตตาเป็นประจำ ถ้าทำสมาธิ จิตจะสงบนิ่งได้เร็ว หรือจะอ่านหนังสือ จะทำงานอันใดก็ตาม จิตจะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมตั้งใจได้เร็ว ทำงานนั้นสำเร็จสมประสงค์

๙.หน้าตาผิวพรรณจะผ่องใส คือผู้มีเมตตาจิตเป็นประจำ หน้าตาและผิวพรรณจะมีน้ำมีนวลมีเสน่ห์เรียก ความสนใจได้ จะดูอิ่มเอิบตลอดเวลา แม้จะมีอายุมาก แม้รูปร่างจะไม่สวยงาม แม้จะไม่ได้รับการแต่งเติมด้วย เครื่องสำอางใด ๆ หน้าตาผิวพรรณก็ผ่องใสน่าดูน่าชมได้เสมอ

๑๐. ไม่หลงเวลาตาย คือเวลาใกล้ตาย จะไม่หลงเพ้อ ละเมอ หรือโวยวายอย่างนั้นอย่างนี้ หรือไม่ดิ้นทุรนทุรายเป็นที่น่าเวทนาของผู้พบเห็น จะสิ้นใจอย่างสงบเหมือนนอนหลับไป ฉะนั้น

๑๑.เมื่อไม่อาจบรรลุธรรมชั้นสูง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก คือ ผู้มีเมตตาจิตเป็นประจำ แม้ไม่ได้บรรลุธรรมชั้นสูงขึ้นไปกว่านี้ ก็ย่อมจะไปบังเกิดในพรหมโลกอันเป็นที่เกิดของผู้ได้ฌาน
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#6 จักรพรรดิ์

จักรพรรดิ์
  • Members
  • 39 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 September 2006 - 05:23 PM

ขอบคุณมากเลยครับ ก็ว่าคุ้นๆนะเนี้ย ขำตัวเองจัง ขอบคุณทุกท่านเลยครับที่ช่วยเข้ามาตอบ จะนำไปปฎิบัติครับ

#7 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 06 September 2006 - 10:44 PM

เมตตาสูตร

[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ

๑๑ ประการ เป็นไฉน คือ

ย่อมหลับเป็นสุข ๑

ย่อมตื่นเป็นสุข ๑

ย่อมไม่ฝันลามก ๑

ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย ๑

ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย ๑

เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา ๑

ไฟ ยาพิษหรือศาตราย่อมไม่กล้ำกรายได้ ๑

จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว ๑

สีหน้าย่อมผ่องใส ๑

เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ ๑

เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๕
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต


๔. โอกขาสูตร

[๖๖๗] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดได้ให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเช้า ผู้ใดได้ให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเที่ยง ผู้ใดได้ให้ทานประมาณ ๑๐๐ หม้อใหญ่ในเวลาเย็น ผู้ใดได้สั่งสมเมตตาจิตในเวลาเช้า โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค หรือผู้ใดได้สั่งสมเมตตาจิตในเวลาเที่ยง โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค หรือผู้ใดได้สั่งสมเมตตาจิตในเวลาเย็น โดยที่สุดแม้เพียงชั่วการหยดน้ำนมแห่งแม่โค การสั่งสมเมตตาจิตนี้มีผลมากกว่าทานที่บุคคลให้แล้ว ๓ ครั้งในวันหนึ่งนั้น

เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายควรศึกษาอย่างนี้ว่า เราจะสั่งสมการหลุดพ้นทางใจ(จากพยาบาท)เพราะความรัก(ความรัก ความอ่อนโยน คือ เมตตา) กระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
[color="#ff6600"]
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค


คำแผ่เมตตาสำหรับตนเอง

อหํ สุขิโต โหมิ นิทฺทุกฺโข อเวโร อพฺยาปชฺโฌ อนีโฆ สุขี อตฺตานํ ปริหรามิ ฯ

ขอข้าพเจ้าจงถึงความสุข ปราศจากความทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความคับแค้นใจ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด ฯ

คำแผ่เมตตาที่ระบุชื่อวงจำกัดเช่นบิดามารดา ญาติ ครู อุปัชฌาอาจารย์และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น.

1. อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร

แปลว่า ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข

2. อิทัง โน (เม) ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหตุ ญาตะโย

แปลว่า ขอบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงเป็นสุข ๆ เถิด

3. อิทัง เม คะรุปัชฌายาจะริยา นัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คะรุปัชฌายาจริยา ฯ

แปลว่า ขอบุญนี้ จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข

4. อิทัง เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ เทวะตาโย ฯ


แปลว่า ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลาย จงมีความสุข

5. อิทัง เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ เปตาฯ

แปลว่า ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แก่ท่านทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข

6. อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรีฯ

แปลว่า ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้คู่กรรมคู่เวรทั้งหลาย จงมีความสุข

ศึกษาเรื่องเมตตาสูตร ได้ที่

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#8 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 18 September 2006 - 11:07 PM

คืนนี้พระมหา ฉตฺตญฺชโย ถ่ายทอดเรื่องการแผ่เมตตา ว่า
บุคคลที่เราควรแผ่เมตตาตามลำดับ

1 ) ลำดับแรกคือ บุคคลที่เรารัก พอประมาณ เช่น เพื่อน หมู่ญาติ
เข้าใจว่าทำให้ใจอ่อนโยน มีฉันทะในการแผ่เมตตา
เป็นการสร้างฐานสมาธิจิตให้ตั้งมั่นดีก่อน

เมื่อแผ่เมตตาให้บุคคลกลุ่มแรกได้ดีแล้ว สมาธิจิตจะค่อยตั้งมั่น มั่นคงแล้ว
จึงแผ่เมตตาให้บุคคลกลุ่มที่ 2

2 ) ลำดับต่อมา คือ บุคคลที่เรารักมาก เช่น มารดา บิดา บุตร ธิดา สามี ภรรยา
ถ้าใครใจยังไม่หยุด นิ่งนัก สมาธิจิตยังไม่มั่นคง
หากแผ่เมตตาให้คนที่เรารักมากก่อน จิตใจอาจเป็นห่วงใย ห่วงหาอาทร อาจติดอยู่แต่ตรงนี้

3) บุคคลที่เราไม่ชอบ ขัดเคือง โกรธหรือเกลียด ถ้ามีนะครับ
บุคคลกลุ่มนี้หากเราเป็นลำดับแรก หากสมาธิจิตเรายังไม่มั่นคงจิต อาจฟุ้งงซ่าน ด้วยยังขัดเคืองอยู่
แต่เมื่อสมาธิจิตเราตั่งมั่นดีแล้ว จึงค่อยแผ่เมตตาให้บุคคลกลุ่มนี้

4 ) บุคคลลำดับท้าย คือ บุคคลที่เราเฉย ไม่ถึงกับรักและไม่ได้โกรธเกลียด


เมื่อใจเราสามารถแผ่เมตตาให้คนสัตว์ทั่วถ้วนโดยไม่เลือกที่รัก มักที่ชังได้
เรารู้สึกว่าสามรถรักและปรารถนาดีได้เสมอกันทั้งคนที่เรารักและคนที่เราไม่รัก
ไม่มีความรู้สึกแบ่งแยกระหว่างคนที่รักกับคนที่เกลียดได้แล้ว
จึงมีกำลังสมาธิจิตสามารถขยายขอบเขตไปได้กว้างอย่างไร้ขอบเขตเป็นอัปปมัญญา***ทั่วทั้งจักรวาลได้

ไฟล์แนบ


ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#9 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 23 September 2006 - 07:27 PM

อนุโมทนาด้วย
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#10 หยิก

หยิก
  • Members
  • 45 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 November 2007 - 08:54 PM

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สาธุๆๆ