ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * - 3 คะแนน

ขุมทรัพย์พระไตรปิฎก ตอน ยมกปาฏิหาริย์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 sithman

sithman
  • Members
  • 48 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 November 2005 - 06:46 PM

พระไตรปิฎก และ อรรถกถา แปล
http://www.learntrip...m/Download.html

------------------------------------------------------------------------------
ต้นบัญญัติห้ามแสดงฤทธิ์/ยมกปาฏิหารย์/เสด็จจำพรรษา ณ ดาวดึงส์/
อินทกเทพบุตร - อังกุรเทพบุตร / แสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา
/ออกพรรษาวันเทโวโรหณะพระผู้มีพระภาคเจ้าเปิดโลก
------------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓
วรรคที่ ๑๔. พุทธวรรควรรณนา

เรื่องที่ ๒. เรื่องยมกปาฏิหารย์ [๑๔๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาทรงปรารภเทวดาและพวกมนุษย์เป็นอันมาก ที่พระ-
ทวารแห่งสังกัสสนคร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เย ฌานปฺปสุตา
ธีรา " เป็นต้น.
ก็เทศนาตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์.


เศรษฐีได้ไม้จันทน์ทำบาตร

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ให้ขึงข่ายมี
สัณฐานคล้ายขวด เพื่อความปลอดภัย และเพื่อรักษาอาภรณ์เป็นต้น ที่
หลุดไปด้วยความพลั้งเผลอแล้ว เล่นกีฬาทางน้ำในแม่น้ำคงคา.
ในกาลนั้น ต้นจันทน์แดงต้นหนึ่ง เกิดขึ้นที่ริมฝั่งตอนเหนือของ
แม่น้ำคงคา มีรากถูกน้ำในแม่น้ำคงคาเซาะโค่นหักกระจัดกระจายอยู่บน
หินเหล่านั้น ๆ. ครั้งนั้นปุ่ม ๆ หนึ่งมีประมาณเท่าหม้อ ถูกหินครูดสี ถูก
คลื่นน้ำซัด เป็นของเกลี้ยงเกลา ลอยไปโดยลำดับ อันสาหร่ายรวบรัด
มาติดที่ข่ายของเศรษฐีนั้น.
เศรษฐีกล่าวว่า " นั่นอะไร ? " ได้ยินว่า " ปุ่มไม้ " จึงให้นำ
ปุ่มไม้นั้นมาให้ถากด้วยปลายมีด เพื่อจะพิจารณาว่า " นั่นชื่ออะไร ? "
ในทันใดนั่นเอง จันทน์แดงมีสีดังครั่งสดก็ปรากฏ. ก็เศรษฐียัง
ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ. ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ. วางตนเป็นกลาง; เขาคิดว่า
" จันทน์แดงในเรือนของเรามีมาก. เราจะเอาจันทน์แดงนี้ทำอะไรหนอ
แล ? " ทีนั้นเขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " ในโลกนี้ พวกที่กล่าวว่า 'เรา
เป็นพระอรหันต์ ' มีอยู่มาก. เราไม่รู้จักพระอรหันต์แม้สักองค์หนึ่ง; เรา
จักให้ประกอบเครื่องกลึงไว้ในเรือน ให้กลึงบาตรแล้ว ใส่สาแหรกห้อย
ไว้ในอากาศประมาณ ๖๐ ศอก โดยเอาไม้ไผ่ต่อกันขึ้นไปแล้ว จะบอกว่า
" ถ้าว่า พระอรหันต์มีอยู่, จงมาทางอากาศแล้ว ถือเอาบาตรนี้; ผู้โดจัก
ถือเอาบาตรนั้นได้ เราพร้อมด้วยบุตรภรรยา จักถึงผู้นั้นเป็นสรณะ. "
เขาให้กลึงบาตรโดยทำนองที่คิดไว้นั่นแหละ ให้ยกขึ้นโดยเอาไม้ไผ่ต่อ ๆ
กันขึ้นไปแล้ว กล่าวว่า " ในโลกนี้ ผู้ใดเป็นพระอรหันต์. ผู้นั้นจงมา
ทางอากาศ ถือเอาบาตรนี้. "


ครูทั้ง ๖ อยากได้บาตรไม้จันทน์

ครูทั้งหกกล่าวว่า " บาตรนั้น สมควรแก่พวกข้าพเจ้า. ท่านจง
ให้บาตรนั้นแก่พวกข้าพเจ้าเสียเถิด. " เศรษฐีนั้นกล่าวว่า " พวกท่าน
จงมาทางอากาศแล้วเอาไปเถิด. "
ในวันที่ ๖ นิครนถ์นาฎบุตรส่งพวกอันเตวาสิกไปด้วยสั่งว่า " พวก
เจ้าจงไป. จงพูดกะเศรษฐีอย่างนั้นว่า " บาตรนั่น สมควรแก่อาจารย์ของ
พวกข้าพเจ้า. ท่านอย่าทำการมาทางอากาศเพราะเหตุแห่งของเพียงเล็กน้อย
เลย. นัยว่า ท่านจงให้บาตรนั่นเถิด. " พวกอันเตวาสิกไปพูดกะเศรษฐี
อย่างนั้นแล้ว. เศรษฐีกล่าวว่า " ผู้ที่สามารถมาทางอากาศแล้วถือเอาได้
เท่านั้น จงเอาไป. "


นาฏบุตรออกอุบายเอาบาตร

นาฏบุตรเป็นผู้ปรารถนาจะไปเอง จึงได้ให้สัญญาแก่พวกอันเต-
วาสิกว่า " เราจักยกมือและเท้าข้างหนึ่ง เป็นทีว่าปรารถนาจะเหาะ,
พวกเจ้าจงร้องบอกเราว่า " ท่านอาจารย์ ท่านจะทำอะไร ? ท่านอย่าแสดง
ความเป็นพระอรหันต์ที่ปกปิดไว้ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ แก่มหาชนเลย '
ดังนี้แล้ว จงพากันจับเราที่มือและเท้าดึงไว้ ให้ล้มลงที่พื้นดิน. " เขาไป
ในที่นั้นแล้ว กล่าวกะเศรษฐีว่า " มหาเศรษฐี บาตรนี้สมควรแก่เรา.
ไม่สมควรแก่ชนพวกอื่น. ท่านอย่าชอบใจการเหาะขึ้นไปในอากาศของเรา
เพราะเหตุแห่งของเพียงเล็กน้อย. จงให้บาตรแก่เราเถิด. "

เศรษฐี. ผู้เจริญ ท่านต้องเหาะขึ้นไปทางอากาศแล้ว ถือเอาเถิด.

ลำดับนั้น นาฏบุตรกล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงหลีกไป ๆ "
กันพวกอันเตวาสิกออกไปแล้ว กล่าวว่า " เราจักเหาะขึ้นไปในอากาศ
ดังนี้แล้ว ก็ยกมือและเท้าขึ้นข้างหนึ่ง. ทีนั้น พวกอันเตวาสิกกล่าวกับ
อาจารย์ว่า " ท่านอาจารย์ ท่านจะทำชื่ออะไรกันนั่น ? ประโยชน์อะไร
ด้วยคุณที่ปกปิดไว้ อันท่านแสดงแก่มหาชน เพราะเหตุแห่งบาตรไม้นี้ "
แล้วช่วยกันจับนาฏบุตรนั้นที่มือและเท้า ดึงมาให้ล้มลงแผ่นดิน. เขา
บอกกะเศรษฐีว่า " มหาเศรษฐี อันเตวาสิกเหล่านี้ ไม่ให้เหาะ, ท่าน
จงให้บาตรแก่เรา. "

เศรษฐี. ผู้เจริญ ท่านต้องเหาะขึ้นไปถือเอาเถิด.

พวกเดียรถีย์ เเม้พยายามด้วยอาการอย่างนั้นสิ้น ๖ วันแล้ว ยังไม่
ได้บาตรนั้นเลย.


ชาวกรุงเข้าใจว่าไม่มีพระอรหันต์

ในวันที่ ๗ ในกาลที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระปิณโฑล-
ภารทวาชะไปยืนบนหินดาดแห่งหนึ่งแล้วห่มจีวร ด้วยตั้งใจว่า " จักเที่ยว
ไปเพื่อบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พวกนักเลงคุยกันว่า " ชาวเราเอ๋ย ใน
กาลก่อน ครูทั้ง ๖ กล่าวว่า ' พวกเราเป็นพระอรหันต์ในโลก. ก็เมื่อเศรษฐี
ชาวกรุงราชคฤห์ให้ยกบาตรขึ้นไว้แล้วกล่าวว่า ' ถ้าว่า พระอรหันต์มีอยู่,
จงมาทางอากาศแล้ว ถือเอาเถิด' วันนี้เป็นวันที่ ๗ แม้สักคนหนึ่งชื่อว่า
เหาะขึ้นไปในอากาศด้วยแสดงตนว่า ' เราเป็นพระอรหันต์ ' ก็ไม่มี; วันนี้
พวกเรารู้ความที่พระอรหันต์ไม่มีในโลกแล้ว. "

ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ยินถ้อยคำนั้นแล้ว จึงกล่าวกะท่าน
พระปิณโฑลภารทวาชะว่า " อาวุโส ภารทวาชะ ท่านได้ยินถ้อยคำของ
พวกนักเลงเหล่านั้นไหม " พวกนักเลงเหล่านี้ พูดเป็นทีว่าจะย่ำยีพระพุทธ-
ศาสนา; ก็ท่านมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก, ท่านจงไปเถิด จงมาทางอากาศ
แล้วถือเอาบาตรนั้น. "
ปิณโฑลภารทวาชะ. อาวุโส โมคคัลลานะ ท่านเป็นผู้เลิศกว่าบรรดา
สาวกผู้มีฤทธิ์ ท่านจงถือเอาบาตรนั้น. แต่เมื่อท่านไม่ถือเอา ผมจักถือเอา.


พระปิณโฑลภารทวาชะแสดงปาฏิหาริย์

เมื่อพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนั้นว่า " ท่านจงถือเอาเถิดผู้มี
อายุ " ท่านปิณโฑลภารทวาชะก็เข้าจตุตถฌาน มีอภิญญาเป็นบาท ออก
แล้ว เอาปลายเท้าคีบหินดาดประมาณ ๑ คาวุต ให้ขึ้นไปในอากาศเหมือน
ปุยนุ่น แล้วหมุนเวียนไปในเบื้องบนพระนครราชคฤห์ ๗ ครั้ง. หินดาด
นั้นปรากฏดังฝาละมีสำหรับปิดพระนครไว้ประมาณ ๓ คาวุต. พวกชาว
พระนครกลัว ร้องว่า " หินจะตกทับข้าพเจ้า " จึงทำเครื่องกั้นมีกระด้ง
เป็นต้นไว้บนกระหม่อม แล้วซุกซ่อนในที่นั้น ๆ. ในวาระที่ ๗ พระ-
เถระทำลายหินดาด แสดงตนแล้ว.
มหาชนเห็นพระเถระแล้ว กล่าวว่า " ท่านปิณโฑลภารทวาชะผู้
เจริญ ท่านจงจับหินของท่านไว้ให้มั่น, อย่าให้พวกข้าพเจ้าทั้งหมด
พินาศเสียเลย. "

พระเถระเอาปลายเท้าเหวี่ยงหินทิ้งไป. แผ่นหินนั้นไปตั้งอยู่ในที่
เดิมนั่นเอง. พระเถระได้ยืนอยู่ในที่สุดแห่งเรือนของเศรษฐี. เศรษฐีเห็น
ท่านแล้ว หมอบลงแล้ว กราบเรียนว่า " ลงเถิด พระผู้เป็นเจ้า " นิมนต์
พระเถระผู้ลงจากอากาศให้นั่งแล้ว. ให้นำบาตรลง กระทำให้เต็มด้วยวัตถุ
อันมีรสหวาน ๔ อย่างแล้ว ได้ถวายแก่พระเถระ. พระเถระรับบาตรแล้ว
บ่ายหน้าสู่วิหาร ไปแล้ว.
ลำดับนั้น ชนเหล่าใดที่อยู่ในป่าบ้าง อยู่ในบ้านบ้าง ไม่เห็น
ปาฏิหาริย์ของพระเถระ, ชนเหล่านั้นประชุมกันแล้ววิงวอนพระเถระว่า
" ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงปาฏิหาริย์แม้แก่พวกผม " ดังนี้แล้ว
ก็พากันติดตามพระเถระไป. พระเถระนั้น แสดงปาฏิหาริย์แก่ชนเหล่า
นั้น ๆ พลางได้ไปยังพระวิหารแล้ว.


พระศาสดาทรงห้ามไม่ให้ภิกษุทำปาฏิหาริย์

พระศาสดา ทรงสดับเสียงมหาชนที่ติดตามพระเถระนั้นอื้ออึงอยู่
จึงตรัสถามว่า " อานนท์ นั่นเสียงใคร " ทรงสดับว่า " พระเจ้าข้า
พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นไปในอากาศแล้ว ถือเอาบาตรไม้จันทน์,
นั่นเสียงในสำนักของท่าน " จึงรับสั่งให้เรียกพระปิณโฑลภารทวาชะมา
ตรัสถามว่า " ได้ยินว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ " เมื่อท่านกราบทูลว่า
" จริง พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " ภารทวาชะ ทำไม เธอจึงทำอย่างนั้น ? "
ทรงติเตียนพระเถระ แล้วรับสั่งให้ทำลายบาตรนั้น ให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่
แล้ว รับสั่งให้ประทานแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่อันบดผสมยาตา
แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย เพื่อต้องการไม่ให้ทำ
ปาฏิหาริย์.

ฝ่ายพวกเดียรถีย์ได้ยินว่า " ทราบว่า พระสมณโคดมให้ทำลาย
บาตรนั้นแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อต้องการมิให้ทำ
ปาฏิหาริย์ " จึงเที่ยวบอกกันในถนนในพระนครว่า " สาวกทั้งหลายของ
พระสมณโคดม ไม่ก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
ถึงพระสมณโคดมก็จักรักษาสิกขาบทที่ทรงบัญญัตินั้นเหมือนกัน. บัดนี้
พวกเรา ได้โอกาสแล้ว " แล้วกล่าวว่า " พวกเรารักษาคุณของตน จึง
ไม่แสดงคุณของตนแก่มหาชนเพราะเหตุแห่งบาตรไว้ในกาลก่อน เหล่า
สาวกของพระสมณโคดมแสดงคุณของตนแก่มหาชนเพราะเหตุแห่งบาตร.
พระสมณโคดมรับสั่งให้ทำลายบาตรนั้นแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่เหล่า
สาวก เพราะพระองค์เป็นบัณฑิต. บัดนี้ พวกเราจักทำปาฏิหาริย์กับพระ-
สมณโคดมนั่นแล. "


พระศาสดาทรงประสงค์จะทำปาฏิหาริย์

พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว เสด็จไปยังสำนักพระ-
ศาสดา กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ได้ทราบว่าพระองค์ทรงบัญญัติสิกขา-
บทแก่เหล่าสาวก เพื่อต้องการไม่ให้ทำปาฏิหาริย์เสียแล้วหรือ ? "

พระศาสดา. ขอถวายพระพร มหาบพิตร.

พระราชา. บัดนี้ พวกเดียรถีย์พากันกล่าวว่า ' พวกเราจักทำ
ปาฏิหาริย์กับด้วยพระองค์.' บัดนี้ พระองค์จักทรงทำอย่างไร ?

พระศาสดา. เมื่อเดียรถีย์เหล่านั้นกระทำ อาตมภาพก็จักกระทำ
มหาบพิตร.

พระราชา. พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้เเล้วมิใช่หรือ ?

พระศาสดา มหาบพิตร อาตมภาพมิได้บัญญัติสิกขาบทเพื่อตน.
สิกขาบทนั้นนั่นแล อาตมภาพบัญญัติไว้เพื่อสาวกทั้งหลาย.

พระราชา. สิกขาบท เป็นอันชื่อว่าอันพระองค์ทรงบัญญัติในสาวก
ทั้งหลายอื่น เว้นพระองค์เสียหรือ ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักย้อนถามพระองค์
นั่นแหละในเพราะเรื่องนี้, มหาบพิตร ก็พระอุทยานในแว่นแคว้นของ
พระองค์มีอยู่หรือ ?

พระราชา. มี พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. มหาบพิตร ถ้าว่ามหาชนพึงบริโภคผลไม้ เป็นต้นว่า
ผลมะม่วงในพระอุทยานของพระองค์, พระองค์พึงทรงทำอย่างไร แก่เขา ?

พระราชา. พึงลงอาชญา พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ก็พระองค์ย่อมได้เพื่อเสวยหรือ ?

พระราชา. พระเจ้าข้า อาชญาไม่มีแก่หม่อมฉัน, หม่อมฉันย่อม
ได้เพื่อเสวยของ ๆ ตน.

พระศาสดา. มหาบพิตร อาชญาแม้ของอาตมภาพย่อมแผ่ไปใน
แสนโกฏิจักรวาล เหมือนอาชญาของพระองค์ที่แผ่ไปในแว่นแคว้นประ-
มาณ ๓๐๐ โยชน์. อาชญาไม่มีแก่พระองค์ผู้เสวยผลไม้ทั้งหลาย เป็นต้น
ว่าผลมะม่วงในพระอุทยานของพระองค์. แต่มีอยู่แก่ชนเหล่าอื่น. ขึ้นชื่อว่า
การก้าวล่วงบัญญัติ คือ สิกขาบท ย่อมไม่มีแก่ตน, แต่ย่อมมีแก่สาวก
เหล่าอื่น, อาตมภาพจึงจักทำปาฏิหาริย์.

พวกเดียรถีย์ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ปรึกษากันว่า " บัดนี้ พวกเรา
ฉิบหายแล้ว. ได้ยินว่า พระสมณโคดมทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อเหล่าสาวก
เท่านั้น, ไม่ทรงบัญญัติไว้เพื่อตน; ได้ยินว่า ท่านปรารถนาจะทำปาฏิหาริย์
เองทีเดียว; พวกเราจักทำอย่างไรกันเล่า ? พระราชาทูลถามพระศาสดา
ว่า " เมื่อไร พระองค์จักทรงทำปาฏิหาริย์ ? พระเจ้าข้า. "

พระศาสดา. มหาบพิตร โดยล่วงไปอีก ๔ เดือน ต่อจากนี้ไป
วันเพ็ญเดือน ๘ จักทำ.

พระราชา. พระองค์จักทรงทำที่ไหน ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อาตมภาพจักอาศัยเมืองสาวัตถีทำ มหาบพิตร.

มีคำถามสอดเข้ามาว่า " ก็ทำไม พระศาสดาจึงอ้างที่ไกลอย่างนี้ ? "
แก้ว่า " เพราะที่นั้นเป็นสถานที่ทำมหาปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า
ทุก ๆ พระองค์; อีกอย่างหนึ่ง พระองค์อ้างที่ไกลทีเดียว แม้เพื่อ
ประโยชน์จะให้มหาชนประชุมกัน ."
พวกเดียรถีย์ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว กล่าวว่า " ได้ยินว่า ต่อจากนี้
โดยล่วงไป ๔ เดือน พระสมณโคดมจักทำปาฏิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถี.
บัดนี้ พวกเราไม่ละเทียว จักติดตามพระองค์ไป. มหาชนเห็นพวกเรา
แล้ว จักถามว่า " นี่อะไรกัน ? " ทีนั้นพวกเราจักบอกแก่เขาว่า " พวก
เราพูดไว้เเล้วว่า ่จักทำปาฏิหาริย์กับพระสมณโคดม.' พระสมณโคดม
นั้นย่อมหนีไป, พวกเราไม่ให้พระสมณโคดมนั้นหนีจึงติดตามไป. " พระ-
ศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ออกมาแล้ว. ถึงพวกเดียรถีย์
ก็ออกมาข้างหลังของพระองค์นั่นแล อยู่ใกล้ที่ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทำภัตกิจ. ในวันรุ่งขึ้นพวกเดียรถีย์บริโภคอาหารเช้าในที่ ๆ ตนอยู่แล้ว.
เดียรถีย์เหล่านั้น ถูกพวกมนุษย์ถามว่า " นี่อะไรกัน ? " จึงบอกโดยนัย
แห่งคำที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ฝ่ายมหาชนคิดว่า " พวกเราจัก
ดูปาฏิหาริย์ ดังนี้แล้วได้ติดตามไป. พระศาสดาบรรลุถึงพระนครสาวัตถี
โดยลำดับ.


เดียรถีย์เตรียมทำปาฏิหารย์แข่ง

แม้พวกเดียรถีย์ ก็ไปกับพระองค์เหมือนกัน ชักชวนอุปัฏฐากได้
ทรัพย์แสนหนึ่งแล้ว ให้ทำมณฑปด้วยเสาไม้ตะเคียน(ขทิร ในที่บางแห่ง-
แปลว่า ไม้สะแก.) ให้มุงด้วยอุบลเขียว นั่งพูดกันว่า " พวกเราจักทำ
ปาฏิหาริย์ในที่นี้. "
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูล
ว่า " พวกเดียรถีย์ให้ทำมณฑปแล้ว พระเจ้าข้า แม้ข้าพระองค์จะให้ทำ
มณฑปเพื่อพระองค์. "

พระศาสดา. อย่าเลยมหาบพิตร. ผู้ทำมณฑปของอาตมภาพมี.

พระราชา. คนอื่นใครเล่า เว้นข้าพระองค์เสีย จักอาจทำได้
พระเจ้าข้า ?

พระศาสดา. ท้าวสักกเทวราช.

พระราชา. ก็พระองค์จักทรงทำปาฏิหาริย์ที่ไหนเล่า ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ที่ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์ มหาบพิตร.

พวกเดียรถีย์ได้ยินว่า " ได้ข่าวว่า พระสมณโคดมจักทำปาฏิหาริย์
ที่ควงไม้มะม่วง " จึงบอกพวกอุปัฏฐากของตน ให้ถอนต้นมะม่วงเล็กๆ
โดยที่สุดแม้งอกในวันนั้น ในที่ระหว่างโยชน์หนึ่ง แล้วให้ทิ้งไปในป่า.
ในวันเพ็ญเดือน ๘ พระศาสดาเสด็จเข้าไปภายในพระนคร. ผู้
รักษาสวนของพระราชา ชื่อคัณฑะ เห็นมะม่วงสุกผลใหญ่ผลหนึ่งใน
ระหว่างกลุ่มใบที่มดดำมดแดงทำรังไว้. ไล่กาที่มาชุมนุมด้วยความโลภใน
กลิ่นและรสแห่งมะม่วงนั้นให้หนีไปแล้ว ถือเอาเพื่อประโยชน์แด่พระ-
ราชา เดินไปเห็นพระศาสดาในระหว่างทาง คิดว่า " พระราชาเสวยผล
มะม่วงนี้แล้ว พึงพระราชทานกหาปณะแก่เรา ๘ กหาปณะ หรือ ๑๖
กหาปณะ, กหาปณะนั้นไม่พอเพื่อเลี้ยงชีพในอัตภาพหนึ่งของเรา; ก็ถ้า
ว่า เราจักถวายผลมะม่วงนี้แด่พระศาสดา. นั่นจักเป็นคุณนำประโยชน์
เกื้อกูลมาให้เเก่เราตลอดกาลไม่มีสิ้นสุด." เขาน้อมถวายผลมะม่วงนั้นแด่
พระศาสดา.
พระศาสดาทอดพระเนตรดูพระอานนทเถระแล้ว. ลำดับนั้นพระ-
เถระนำบาตรที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถวายออกมาแล้ว วางที่พระหัตถ์ของ
พระองค์.
พระศาสดา ทรงน้อมบาตรเข้าไปรับมะม่วงแล้ว ทรงแสดงอาการ
เพื่อประทับนั่งในที่นั้นนั่นแหละ. พระเถระได้ปูจีวรถวายแล้ว. ลำดับนั้น
เมื่อพระองค์ประทับนั่งบนจีวรนั้นแล้ว พระเถระกรองน้ำดื่ม แล้วขยำ
มะม่วงสุกผลนั้น ได้ทำให้เป็นนำปานะถวาย. พระศาสดาเสวยน้ำปานะ
ผลมะม่วงแล้วตรัสกะนายคัณฑะว่า " เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นแล้ว ปลูก
เมล็ดมะม่วงนี้ในที่นี้นี่แหละ. " เขาได้ทำอย่างนั้นแล้ว.


ประวัติคัณฑามพพฤกษ์

พระศาสดาทรงล้างพระหัตถ์บนเมล็ดมะม่วงนั้น. พอเมื่อพระหัตถ์
อันพระองค์ทรงล้างแล้วเท่านั้น, ต้นมะม่วงมีลำต้นเท่าศีรษะไถ (งอนไถ)
มีประมาณ ๕๐ ศอกโดยส่วนสูงงอกขึ้นแล้ว. กิ่งใหญ่ ๕ กิ่ง คือใน
๔ ทิศ ๆ ละกิ่ง เบื้องบนกิ่งหนึ่ง ได้มีประมาณกิ่งละ ๕๐ ศอกเทียว.
ต้นมะม่วงนั้นสมบูรณ์ด้วยช่อและผล ได้ทรงไว้ซึ่งพวงแห่งมะม่วงสุกในที่
แห่งหนึ่ง ในขณะนั้นนั่นเอง.
พวกภิกษุผู้มาข้างหลัง มาขบฉันผลมะม่วงสุกเหมือนกัน.
พระราชาทรงสดับว่า " ข่าวว่า ต้นมะม่วงเห็นปานนี้เกิดขึ้นแล้ว "
จึงทรงตั้งอารักขาไว้ด้วยพระดำรัสว่า " ใคร ๆ อย่าตัดต้นมะม่วงนั้น."
ก็ต้นมะม่วงนั้น ปรากฏชื่อว่า " คัณฑามพพฤกษ์ " เพราะความที่นาย
คัณฑะปลูกไว้. แม้พวกนักเลงเคี้ยวกินผลมะม่วงสุกแล้วพูดว่า " เจ้าพวก
เดียรถีย์ถ่อยเว้ย พวกเจ้ารู้ว่า 'พระสมณโคดมจักทรงทำปาฏิหาริย์ที่โคน
ต้นคัณฑามพพฤกษ์ จึงสั่งให้ถอนต้นมะม่วงเล็ก ๆ แม้ที่เกิดในวันนั้นใน
ร่วมในที่โยชน์หนึ่ง, ต้นมะม่วงนี้ ชื่อว่าคัณฑามพะ " แล้วเอาเมล็ด
มะม่วงที่เป็นเดนประหารพวกเดียรถีย์เหล่านั้น.


ท้าวสักกะทำลายพิธีของพวกเดียรถีย์

ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับวาตวลาหกเทวบุตรว่า " ท่านจงถอนมณฑป
ของพวกเดียรถีย์เสียด้วยลม แล้วให้ลม (หอบไป) ทิ้งเสียบนแผ่นดินที่ทิ้ง
หยากเยื่อ. เทวบุตรนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ท้าวสักกะสั่งบังคับ
สุริยเทวบุตรว่า " ท่านจงขยายมณฑลพระอาทิตย์ ยัง (พวกเดียรถีย์) ให้
เร่าร้อน่. " แม้เทวบุตรนั้นก็ได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ท้าวสักกะทรงสั่ง
บังคับวาตวลาหกเทวบุตรอีกว่า " ท่านจงยังมณฑลแห่งลม (ลมหัวด้วน)
ให้ตั้งขึ้นไปเถิด. " เทวบุตรนั้นทำอยู่เหมือนอย่างนั้น โปรยเกลียวธุลีลง
ที่สรีระของพวกเดียรถีย์ที่มีเหงื่อไหล. พวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้เป็นเช่นกับ
จอมปลวกแดง. ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับแม้วัสสวลาหกเทวบุตรว่า " ท่าน
จงให้หยาดน้ำเมล็ดใหญ่ ๆ ตก. " เทวบุตรนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว.
ทีนั้น กายของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ได้เป็นเช่นกับแม่โคด่างแล้ว. พวก
เขาแตกหมู่กัน หนีไปในที่เฉพาะหน้า ๆ นั่นเอง. เมื่อพวกเขาหนีไปอยู่
อย่างนั้น ชาวนาคนหนึ่งเป็นอุปัฏฐากของปูรณกัสสป คิดว่า " บัดนี้
เป็นเวลาทำปาฏิหาริย์แห่งพระผู้เป็นเจ้าของเรา, เราจักดูปาฎิหาริย์นั้น "
แล้วปล่อยโค ถือหม้อยาคูและเชือก ซึ่งตนนำมาแต่เช้าตรู่เดินมาอยู่ เห็น
ปูรณะหนีไปอยู่เช่นนั้น จึงกล่าวว่า " ท่านขอรับ ผมมาด้วยหวังว่า
' จักดูปาฏิหาริย์ของพระผู้เป็นเจ้า, ' พวกท่านจะไปที่ไหน ? "

ปูรณะ. ท่านจะต้องการอะไรด้วยปาฏิหาริย์. ท่านจงให้หม้อและ
เชือกนี้แก่เรา.

เขาถือเอาหม้อและเชือกที่อุปัฏฐากนั้นให้เเล้ว ไปยังฝั่งแม่น้ำ เอา
เชือกผูกหม้อเข้าที่คอของตนแล้ว กระโดดลงไปในห้วงน้ำ ยังฟองน้ำให้
ตั้งขึ้นอยู่ ทำกาละ เกิดในอเวจีแล้ว.
พระศาสดาทรงนิรมิตจงกรมแก้วในอากาศ. ที่สุดด้านหนึ่งของ
จงกรมนั้น ได้มีที่ขอบปากจักรวาลด้านปาจีนทิศ. ด้านหนึ่งได้มีที่ขอบปาก
จักรวาลด้านปัศจิมทิศ. พระศาสดา เมื่อบริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์
ประชุมกันแล้ว. ในเวลาบ่ายเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ด้วยทรงดำริว่า
" บัดนี้เป็นเวลาทำปาฏิหาริย์ " แล้ว ได้ประทับยืนที่หน้ามุข.


สาวกสาวิการับอาสาทำปาฏิหาริย์แทน

ครั้งนั้น อนาคามีอุบาสิกาคนหนึ่ง ผู้นันทมารดา ชื่อฆรณี เข้า
ไปเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า เมื่อธิดาเช่นหม่อมฉันมีอยู่.
กิจที่พระองค์ต้องลำบากย่อมไม่มี, หม่อมฉันจักทำปาฏิหาริย์. "

พระศาสดา. ฆรณี เธอจักทำอย่างไร ?

ฆรณี. พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักทำแผ่นดินใหญ่ในท้องแห่งจักร-
วาลหนึ่งให้เป็นน้ำแล้วดำลงเหมือนนางนกเป็ดน้ำ แสดงตนที่ขอบปาก
แห่งจักรวาลด้านปาจีนทิศ. ที่ขอบปากแห่งจักรวาลด้านปัศจิมทิศ อุตรทิศ
และทักษิณทิศก็เช่นนั้น, ตรงกลางก็เช่นนั้น; เมื่อเป็นเช่นนั้น มหาชน
เห็นหม่อมฉันแล้ว. เมื่อใคร ๆ พูดขึ้นว่า ' นั่นใคร ' ก็จะบอกว่า ' นั่น
ชื่อนางฆรณี. อานุภาพของหญิงคนหนึ่งยังเพียงนี้ก่อน. ส่วนอานุภาพ
ของพระพุทธเจ้า จักเป็นเช่นไร ? ' พวกเดียรถีย์ไม่ทันเห็นพระองค์เลย
ก็จักหนี ไปด้วยอาการอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า " ฆรณี เราย่อมทราบความ
ที่เธอเป็นผู้สามารถทำปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ได้. แต่พวงดอกไม้นี้เขามิได้
ผูกไว้เพื่อประโยชน์แก่เธอ " แล้วทรงห้ามเสีย.
นางฆรณีนั้นคิดว่า " พระศาสดาไม่ทรงอนุญาตแก่เรา. คนอื่น
ผู้สามารถทำปาฏิหาริย์ยิ่งขึ้นไปกว่าเราจะมีแน่แท้ " ดังนี้ แล้วได้ยืนอยู่
ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
ฝ่ายพระศาสดาทรงดำริว่า " คุณของสาวกเหล่านั้นจักปรากฏด้วย
อาการอย่างนี้แหละ " ทรงสำคัญอยู่ว่า " พวกสาวกจะบันลือสีหนาท
ณ ท่ามกลางบริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์ ด้วยอาการอย่างนี้ " จึงตรัส
ถามสาวกแม้พวกอื่นอีกว่า " พวกเธอจักทำปาฏิหาริย์อย่างไร ? สาวก
เหล่านั้นก็กราบทูลว่า " พวกข้าพระองค์จักทำอย่างนี้และอย่างนี้ พระ-
เจ้าข้า " แล้วยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดานั่นแหละ บันลือ
สีหนาท.

บรรดาสาวกเหล่านั้น ได้ยินว่า ท่านจุลอนาถบิณฑิกะ คิดว่า
" เมื่ออนาคามีอุบาสกผู้เป็นบุตรเช่นเรามีอยู่. กิจที่พระศาสดาต้องลำบาก
ย่อมไม่มี " จึงกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จัก ทำปาฏิหาริย์
ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า " เธอจักทำอย่างไร ? " จึงกราบทูลว่า " พระ-
เจ้าข้า ข้าพระองค์จักนิรมิตอัตภาพเหมือนพรหมมีประมาณ ๑๒ โยชน์
จักปรบดุจดังพรหมด้วยเสียงเช่นกับมหาเมฆกระหึ่มในท่ามกลางบริษัทนี้,
มหาชนจักถามว่า 'นี่ชื่อว่าเสียงอะไรกัน ? ' แล้วจักกล่าวกันเองว่า
' นัยว่า นี่ชื่อว่าเป็นเสียงแห่งการปรบดังพรหมของท่านจุลอนาถบิณฑิกะ.'
พวกเดียรถีย์จักคิดว่า " อานุภาพของคฤหบดียังถึงเพียงนี้ก่อน. อานุภาพ
ของพระพุทธเจ้าจะเป็นเช่นไร ? ยังไม่ทันเห็นพระองค์เลยก็จักหนีไป."
พระศาสดาตรัสเช่นนั้นเหมือนกัน แม้เเก่ท่านจุลอนาถบิณฑิกะนั้นว่า
" เราทราบอานุภาพของเธอ " แล้วไม่ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์.
ต่อมา สามเณรีชื่อว่า วีรา มีอายุได้ ๗ ขวบ บรรลุปฏิสัมภิทารูป
หนึ่ง ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักทำ
ปาฏิหาริย์. "

พระศาสดา. วีรา เธอจักทำอย่างไร.

วีรา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักนำภูเขาสิเนรุ ภูเขาจักรวาล และ
ภูเขาหิมพานต์ตั้งเรียงไว้ในที่นี้ แล้วจักออกจากภูเขานั้น ๆ ไปไม่ขัดข้อง
ดุจนางหงส์. มหาชนเห็นหม่อมฉันแล้วจักถามว่า ' นั่นใคร? ' แล้วจัก
กล่าวว่า ' วีราสามเณรี. พวกเดียรถีย์คิดกันว่า อานุภาพของสามเณรี
ผู้มีอายุ ๗ ขวบ ยังถึงเพียงนี้ก่อน, อานุภาพของพระพุทธเจ้าจักเป็น
เช่นไร ? ยังไม่ทันเห็นพระองค์เลยก็จักหนีไป. เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึง
ทราบคำเห็นปานนี้ โดยทำนองดังที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแม้เเก่สามเณรีนั้นว่า " เราทราบอานุภาพของเธอ " ดังนี้แล้ว ก็ไม่
ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์."
ลำดับนั้น สามเณรชื่อจุนทะผู้เป็นขีณาสพ บรรลุปฏิสัมภิทารูปหนึ่ง
มีอายุ ๗ ขวบแต่เกิดมา เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูล
ว่า " ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า. " ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า
" เธอจักทำอย่างไร ? " จึงกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักจับ
ต้นหว้าใหญ่ที่เป็นธงแห่งชมพูทวีปที่ลำต้นแล้วเขย่า นำผลหว้าใหญ่มาให้
บริษัทนี้เคี้ยวกิน. และข้าพระองค์จักนำดอกแคฝอยมาแล้ว ถวายบังคม
พระองค์. พระศาสดาตรัสว่า " เราทราบอานุภาพของเธอ " ดังนี้แล้ว
ก็ทรงห้ามการทำปาฏิหาริย์ แม้ของสามเณรนั้น.

ลำดับนั้น พระเถรีชื่ออุบลวรรณา ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
กราบทูลว่า " หม่อมฉันจักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า " ถูกพระศาสดา
ตรัสถามว่า " เธอจักทำอย่างไร ? " จึงกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า หม่อมฉัน
จักแสดงบริษัทมีประมาณ ๓๒ โยชน์โดยรอบ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อัน
บริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์โดยกลมแวดล้อมแล้วมาถวายบังคมพระองค์."
พระศาสดาตรัสว่า " เราทราบอานุภาพของเธอ " แล้วก็ทรงห้ามการทำ
ปาฏิหาริย์ แม้ของพระเถรีนั้น.
ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค-
เจ้าแล้วกราบทูลว่า " ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า " ถูก
พระศาสดาตรัสถามว่า " เธอจักทำอะไร ? " จึงกราบทูลว่า " ข้าพระองค์
จักวางเขาหลวงชื่อสิเนรุไว้ในระหว่างฟันแล้ว เคี้ยวกินภูเขานั้นดุจพืช
เมล็ดผักกาด พระเจ้าข้า. "

พระศาสดา. เธอจักทำอะไร ? อย่างอื่น.

มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักม้วนแผ่นดินใหญ่นี้ดุจเสื่อลำแพน
แล้วใส่เข้าไว้(หนีบไว้) ในระหว่างนิ้วมือ.

พระศาสดา เธอจักทำอะไร. อย่างอื่น.

มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักหมุนแผ่นดินใหญ่ ให้เป็นเหมือน
แป้นหมุนภาชนะดินของช่างหม้อ แล้วให้มหาชนเคี้ยวกินโอชะแผ่นดิน.

พระศาสดา. เธอจักทำอะไร ? อย่างอื่น.

มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักทำแผ่นดินไว้ในมือเบื้องซ้ายแล้ว
วางสัตว์เหล่านั้นไว้ในทวีปอื่นด้วยมือเบื้องขวา.

พระศาสดา. เธอจักทำอะไร ? อย่างอื่น.

มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักทำเขาสิเนรุให้เป็นด้ามร่ม ยก
แผ่นดินใหญ่ขึ้นวางไว้ข้างบนของภูเขาสิเนรุนั้น เอามือข้างหนึ่งถือไว้
คล้ายภิกษุมีร่มในมือ จงกรมไปในอากาศ.

พระศาสดาตรัสว่า " เราทราบอานุภาพของเธอ " ดังนี้แล้วก็ไม่
ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์ แม้ของพระเถระนั้น. พระเถระนั้นคิดว่า
" ชะรอยพระศาสดาจะทรงทราบผู้สามารถทำปาฏิหาริย์ยิ่งกว่าเรา " จึงได้
ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า " โมคคัลลานะ พวง
ดอกไม้นี้เขามิได้ผูกไว้เพื่อประโยชน์แก่เธอ, ด้วยว่า เราเป็นผู้มีธุระที่หา
ผู้เสมอมิได้. ผู้อื่นที่ชื่อว่าสามารถนำธุระของเราไปได้ไม่มี; การที่ผู้สามารถ
นำธุระของเราไปได้ไม่พึงมีในบัดนี้ไม่เป็นของอัศจรรย์, แม้ในกาลที่เรา
เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานที่เป็นอเหตุกกำเนิด ผู้อื่นที่สามารถนำธุระของ
เราไป ก็มิได้มีแล้วเหมือนกัน " อันพระเถระทูลถามว่า " ในกาลไรเล่า ?
พระเจ้าข้า " จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสกัณหอุสภชาดกนี้ให้พิสดารว่า :-

" ธุระหนักมีอยู่ในกาลใด ๆ, ทางไปในที่ลุ่มลึก
มีอยู่ในกาลใด ในกาลนั้นแหละ พวกเจ้าของย่อม
เทียมโคชื่อกัณหะ; โคชื่อกัณหะนั้นแหละ ย่อมนำ
ธุระนั้นไป. "

(๑. กัณหอุสภชาดก - ขุ. ชา. ๒๗/๑๐. อรรถกถา. ๑/๒๘๙.)

เมื่อจะทรงแสดงเรื่องนั้นนั่นแหละให้พิเศษยิ่งขึ้นไปอีก จึงตรัส
นันทวิสาลชาดกนี้ให้พิสดารว่า :-

" บุคคลพึงกล่าวคำเป็นที่พอใจเท่านั้น, ไม่พึง
กล่าวคำไม่เป็นที่พอใจในกาลไหน ๆ; (เพราะ) เมื่อ
พราหมณ์กล่าวคำเป็นที่พอใจอยู่, โคนันทวิสาลเข็น
ภาระอันหนักไปได้; ยังพราหมณ์นั้นให้ได้ทรัพย์,
และพราหมณ์นั้นได้เป็นผู้มีใจเบิกบาน เพราะการได้
ทรัพย์นั้น."

(๒. นันทวิสาลชาดก - ขุ. ชา. ๒๗/๑๐. อรรถกถา. ๑/๒๙๓.)

ก็แล พระศาสดาครั้นตรัสแล้ว จึงเสด็จขึ้นสู่จงกรมแก้วนั้น. ข้าง
หน้าได้มีบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์. ข้างหลัง ข้างซ้าย และข้างขวา
ก็เหมือนอย่างนั้น, ส่วนโดยตรง มีประมาณ ๒๔ โยชน์ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ในท่ามกลางบริษัท. ยมกปาฏิหาริย์นั้น
บัณฑิตพึงทราบตามพระบาลีอย่างนี้ก่อน.


ลักษณะของยมกปาฏิหาริย์
*(ขุ. ปฏิ. ๓๐/๑๘๓.)

" ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคตเป็นไฉน ? ในญาณนี้
พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ไม่ทั่วไปด้วยพวกสาวก; ท่อไฟพลุ่ง
ออกแต่พระกายเบื้องบน, สายน้ำไหลออกแต่พระกา

#2 Moderator

Moderator

    Thai buddhist monk

  • Members
  • 328 โพสต์
  • Location:Tokyo japan
  • Interests:Meditation

โพสต์เมื่อ 24 November 2005 - 07:40 PM

ขออนุโมทนาบุญกับผู้ส่ง สาธุ...

#3 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 24 November 2005 - 10:19 PM

กระผมมีข้อเสนอแนะอยู่ ๒ ข้อนะครับ ๑. อยากให้แทรกภาพประกอบระหว่างตอนของเนื้อเรื่องลงไปบ้าง เพื่อให้การนำเสนอดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ๒. อันนี้ ถ้าทำได้ก็จะดีมากเลยนะครับ (แต่ถ้าคุณจะไม่ทำก็ไม่เป็นไรครับ) สรุปเนื้อหาทั้งหมด ให้เป็นคำพูด/ภาษาของตัวคุณเอง เหมือนกับว่า เรากำลังจะเล่าภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่งให้บุคคลอื่นฟัง ท้ายนี้ กระผมต้องขอกราบอนุโมทนาบุญกับคุณ sithman ด้วยนะครับ สาธุ...

#4 sithman

sithman
  • Members
  • 48 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 November 2005 - 10:36 PM

ขอขอบคุณคุณไชยานุภาพ ที่แนะนำติชมมานะครับ ^ ^
เรื่องภาพนี่ หาได้ไม่ยาก ก็จะหาเป็นภาพที่ดูแล้วสบายใจนะครับ
คงไม่ถึงกับเป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
เพราะผมคงทำอย่างพุทธศิลป์ไม่ไหวน่ะครับ ^ ^'''

ส่วนเรื่องเนื้อหา ตอนแรกผมมีเจตนาที่จะลงเป็นแบบข้อมูลอ้างอิง
คือ อยากนำมาเผยแพร่ว่า จริงๆแล้ว ในพระไตรปิฎก
เค้าเขียนว่าอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างนั้นน่ะครับ
จึงไม่ได้เพิ่มเติมความเห็น หรือ สรุปอะไรไว้เลย เพราะก็เห็นมีหลายๆท่าน
สรุปกันมาเยอะแยะแล้ว เลยอยากจะให้อ่านของเต็มๆดูบ้างน่ะครับ

แต่ต่อไป ผมจะพยายามแทรกสรุปไว้ที่ด้านท้ายของกระทู้ล่ะกันนะครับ
เพราะมานึกตอนนี้แล้วก็เห็นใจคนที่เพิ่งเริ่มศึกษา
และบางท่านที่อ่านสำนวนในพระไตรปิฎกแล้วเข้าใจไม่หมด

ขอบคุณสำหรับข้อติชมอีกทีครับ ^ ^

#5 Streamdhamma

Streamdhamma

    หยุด นิ่ง เฉย ได้ไหม

  • Members
  • 528 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 25 November 2005 - 08:37 PM

ถึงจะยังอ่านไม่หมดอ่ะคะแต่ว่า ก็จะพยายมาอ่านให้จบ

อนุโมทนาบุญผู้ส่งให้พวกเราได้อ่านเช่นกันค่ะ ..สาธุ..
"เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่
ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อน
เป็นบุพนิมิตฉันใด
ความเป็นกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้น
ของหนทางพระนิพพาน ฉันนั้น"



#6 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 26 November 2005 - 08:09 AM

ขออนุโมทนาบุญค่ะ ..สาธุ.. happy.gif
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#7 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 27 November 2005 - 05:57 PM

โอ้โห พิมพ์นานไหมคะเนี่ย
สาธุ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#8 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 04:37 PM

สาธุค่ะดีแล้ว
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#9 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 11:19 AM

กราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ

#10 Boontomak

Boontomak
  • Members
  • 431 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 September 2008 - 03:06 PM

อนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ
ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย ยายทำ ยายก็ได้ คุณก็ไม่ได้ คุณทำคุณก็ได้ เพราะฉะนั้นก็ทำมากๆ ไว้ก่อน เราทำทุกๆ วัน "ขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าวัดตลอดชีวิต"