ผมอยากถามครับ
สมมติว่าชาตินี้คุณเป็นคนธรรมดาไม่ได้รวยอะไรแค่ระยะพอมีพอกิน อยากทราบว่า เวลาทำบุญจะอธิษฐานขอบวชตลอดชีวิตหรือขอให้รวยดีครับ (คิดคำตอบจากากรสร้างบารมี 10 นะครับ) ขอเหตุผลด้วยนะครับ
ถ้าจะอธิษฐาน
เริ่มโดย ผู้สนใจในธรรม, Apr 03 2008 08:48 PM
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 03 April 2008 - 08:48 PM
#2
โพสต์เมื่อ 04 April 2008 - 07:31 AM
บาชตลอดชีวิตครับ
#3
โพสต์เมื่อ 04 April 2008 - 08:49 AM
ขอบวชตลอดชีวิตเช่นกัน เพราะ การบวชตลอดชีวิตจะมีวงจำกัดในการสร้างบารมีทั้ง10ทัศกว้างกว่าการขอให้รวยตลอดชีวิตมากครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#4
โพสต์เมื่อ 04 April 2008 - 11:23 AM
การอธิษฐาน คือ การตั้งเป้าหมายที่เรามีความตั้งใจจะกระทำ โดยมี บุญ อยู่เบื้องหลังของความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น
ส่วนจะสำเร็จมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับ กำลังบุญ ทั้งใน อดีตชาติ ปัจจุบันชาติ และการกระทำของตัวเราทั้งอดีตและปัจจุบัน
บุญ คืออะไร ??? บุญ คือ พลังงานบริสุทธิ์ เกิดขึ้น ทั้งก่อนทำบุญ ระหว่างทำบุญ และ หลังการทำบุญ เกิดขึ้นมากที่สุดช่วงระหว่างทำ ฉะนั้นช่วงระหว่างทำเราก็อธิษฐานจิตตั้งเป้าของเราเอาไว้ หลวงพ่อทัตตะท่านเทศน์ไว้ว่า " ถ้าจะตีเหล็ก ต้องตีตอนกำลังร้อน จึงจะได้รูปทรงที่เราต้องการ "
อยากจะบวชตลอดชีวิต ก็ต้องทำบุญที่เกี่ยวกับการส่งเสริมให้คนได้บวช รวมทั้งตัวเองก็บวชเอง ก็คือการสั่งสม เนกขัมมบารมี ส่วนจะบวชตลอดชีวิตได้ ก็ต้องใช้กำลังใจที่สูงส่ง มั่นคงไม่สั่นคลอนต่ออุปสรรค ในปัจจุบัน
อยากรวย ก็ต้องประกอบเหตุ คือ ทำทาน (ถ้าทำอย่างเต็มที่เต็มกำลัง จึงจะเรียกว่า บารมี) เวลาทำก็หมั่นเลื่อมใสในทานที่ได้ทำได้ถวาย ( ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย มันก็เป็นปกติธรรมดา เหมือน คนหว่านนาไว้ 100ไร่ ย่อมได้ ผลผลิต มากกว่าคนหว่านนาไว้เพียงไร่เดียว ) นี่ก็คือการสั่งสม ทานบารมี
ทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น _ ปลูกแอปเปิ้ล ก็ได้แอปเปิ้ล _ ปลูกถั่ว ก็ได้ถั่ว _ ปลูกแอปเปิ้ล จะได้ถั่ว คิดได้แต่มันเป็นไปไม่ได้ _ ถวายของเลิศ ก็ย่อมได้ของเลิศ _ ถวายของปราณีต ก็ย่อมได้ของปราณีต _ ถวายของชอบใจ ก็ย่อมได้ของชอบใจ
#5
โพสต์เมื่อ 04 April 2008 - 04:01 PM
ขอรวยก่อนค่ะ(แต่ต้องมาจากอาชีพหรือวิธีการที่เป็นสัมมาทิฐฐินะ)
#6
โพสต์เมื่อ 05 April 2008 - 01:03 PM
คำว่า"รวย"เนี่ยะ ความหมาย มันกว้างมากเลยน่ะ...ต้องประมาณเท่าไหร่ล่ะถึงว่ารวย มีเงินเก็บ 2 ล้านล่ะรวยหรือยัง มีเก็บสัก 5 ล้านล่ะ รวยหรือยัง มีเก็บสัก10 ล้านรวยมั๊ย 20 ล้านล่ะพอหรือยัง...ทุกชีวิต หากไม่ถึงจุดที่เรียกว่าอิ่มตัวแล้ว หรือเห็นภัยในวัฎฎะอย่างจริงจัง คงยากอ่ะคะ หากไม่เช่นนั่น มนุษย์บนโลกใบนี้ คงมีสมณะมากกว่าฆราวาสแล้วคะ
ถ้าให้เลือก ขอบวชคะ เพราะการบวชเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากน่ะค่ะ
ถ้าให้เลือก ขอบวชคะ เพราะการบวชเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากน่ะค่ะ
#7
โพสต์เมื่อ 07 April 2008 - 03:44 PM
เปลี่ยนคำว่า "รวย" เป็น "เศรษฐีใจบุญค้ำจุนพระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย"
แบบ อนาถบิณฑิกะเศรษฐี และ นางวิสาขามหาอุบาสิกา
หรือจะเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ์ ก็โอเค
เพราะสุดท้ายก็ต้องบวชอยู่ดี
(ถ้าในใจยังมี question mark,
ก็แปลว่ายังอยากรวยทางโลก
เพราะถ้าอยากบวชจริงๆ
สมบัติบรมจักรพรรดิ์ก็ฉุดไม่อยู่)
แบบ อนาถบิณฑิกะเศรษฐี และ นางวิสาขามหาอุบาสิกา
หรือจะเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ์ ก็โอเค
เพราะสุดท้ายก็ต้องบวชอยู่ดี
(ถ้าในใจยังมี question mark,
ก็แปลว่ายังอยากรวยทางโลก
เพราะถ้าอยากบวชจริงๆ
สมบัติบรมจักรพรรดิ์ก็ฉุดไม่อยู่)
#8
โพสต์เมื่อ 07 April 2008 - 11:29 PM
แล้วทำไมไม่ขอสองอย่างเลยละครับ แบบว่าเกิดมาก็รวย รวยแล้วก็ได้เข้าวัดมาบวช แบบผู้มีบุญในกาลก่อนไง
#9
โพสต์เมื่อ 08 April 2008 - 02:49 AM
พระสีวลี พระอรหันต์ผู้มีลาภมาก
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ยกย่องพระสีวลีเถรเจ้าด้วยพระวาจาว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเราตถาคต พระสีวลีเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยลาภ” และตามคัมภีร์มโนรถปูรณี ในเรื่องของพระสีวลีก็ได้กล่าวไว้ว่ายกเว้นแต่พระตถาคตเจ้าแล้ว ไม่มีผู้ใดเลิศด้วยลาภเหมือนพระสีวลีเถรเจ้า
บุพกรรมของพระสีวลี
ในกัปที่แสน แต่กัปนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในครั้งนั้น ท่านได้เกิดเป็นกษัตริย์ในพระนครหงสวดี ได้ยินพระพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งสาวกของพระองค์ชื่อสุทัสสนะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้มีลาภมาก ดังนั้น ทรงปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้นิมนต์ พระชินสีห์พร้อมทั้งพระสาวก ให้เสวยและฉันถึง ๗ วัน ครั้น ถวายมหาทานแล้วก็ได้ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้ท่านเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภในอนาคตกาล.พระปทุมุตตระบรมศาสดา จึงทรงพยากรณ์ว่าความปรารถนาของท่านนี้จะสำเร็จในกัปที่แสนแต่กัปนี้ไป ท่านจะบังเกิดในนาม สีวลี ได้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าโคตมะ ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระโอกกากราช ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป
ต่อจากนั้น ท่านก็กระทำกุศลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้วก็ท่องเที่ยวไปกำเนิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ครั้นในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ในกาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดเป็นกุลบุตรผู้หนึ่งอาศัยในหมู่บ้านเล็ก ๆ ชายแดนท่านได้มีโอกาสถวายทานแด่องค์พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยน้ำผึ้งผสมกับดีปลีและเนยแข็งโดยกวนให้เข้ากัน ในโอกาสที่ชาวเมืองนั้นพร้อมกับพระราชาได้มีโอกาสถวายทานเป็นการใหญ่แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น และท่านได้อธิษฐานขอพรไว้ว่า ด้วยกุศลที่ตนกระทำแล้วนี้ ขอให้ตนเองเป็นผู้เลิศด้วยลาภเถิดพระองค์ก็ได้ทรงอนุโมทนาให้ตามปรารถนา
พระสีวลีทดลองบุญ
ในเวลาต่อมา พระบรมศาสดาได้เสด็จไปยังพระนาครสาวัตถี พระสีวลีเถระถวายอภิวาทพระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทดลองบุญของข้าพระองค์ ขอพระองค์จงมอบภิกษุ ๕๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ พระศาสดาตรัสสั่งว่า จงรับไปเถิด สีวลี.ท่านพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางบ่ายหน้าไปสู่หิมวันตประเทศ เดินทางผ่านดง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไทร ที่ท่านเห็นเป็นครั้งแรก ได้ถวายทานตลอด ๗ วัน เทวดาทั้งหลายได้ถวายทานทุก ๆ ๗ วัน ในสถานที่ทั่ว ๆ ไป ที่ท่านเห็นต่างกรรม ต่างวาระ กันดังนี้ คือ
ท่านเห็นต้นไทรเป็นครั้งแรก เห็นภูเขาชื่อว่าปัณฑวะเป็นครั้งที่ ๒ เห็นแม่น้ำอจิรวดี เป็นครั้งที่ ๓ เห็นแม่น้ำวรสาครเป็นครั้งที่ ๔ เห็นภูเขาหิมวันต์เป็นครั้งที่ ๕ ถึงป่าฉัททันต์ เป็นครั้งที่ ๖ ถึงภูเขาคันธมาทน์เป็นครั้งที่ ๗ และพบพระเรวตะ เป็นครั้งที่ ๘.
ประชาชนทั้งหลาย ได้ถวายทานในที่ทุกแห่งตลอด ๗ วันเท่านั้น.ก็ในบรรดา ๗ วัน นาคทัตตเทวราช ที่ภูเขาคันธมาทน์ ได้ถวายบิณฑบาตชนิดน้ำนม (ขีรบิณฑบาต) สลับวันกับ ถวายบิณฑบาตชนิดเนยใส (สัปปิบิณฑบาต) วันเว้นวัน ลำดับนั้นภิกษุสงฆ์จึงถามท่านเทวราช ว่า ของที่ท่านนำมาถวายนั้นเกิดขึ้นได้อย่าไร ในเมื่อ แม่โคนมที่เขารีดนมถวายแด่เทวราชนี้ก็มิได้ปรากฏ การบีบทำน้ำนมส้มก็มิได้ปรากฏ .เนาคทัตตเทวราชตอบว่า นี้เป็นอานิสงส์แห่งการถวายสลากภัตรน้ำนมในกาลแห่งพระกัสสปทศพล.
ในกาลต่อมา พระศาสดาทรง เอาเหตุแห่งการที่พระขทิรวนิยเถระจัดการต้อนรับ ให้เป็นอัตถุปบัติ (เหตุเกิดแห่งเรื่อง) ในการที่ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ ในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์ ในเรื่องนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างนี้
เหตุเกิดแห่งเรื่องที่ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์
ในสมัยหนึ่ง พระขทิรวนิยเรวตเถระ ซึ่งเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ได้หนีการแต่งงานที่บิดามารดาจัดการให้ มาขอบวชในสำนักพระภิกษุ ซึ่งมีภิกษุอยู่ประมาณ ๓๐ รูป เหล่าพระภิกษุสอบถามดู ทราบว่าเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ที่ท่านได้เคยแจ้งไว้ก่อนว่าถ้าน้องชายมาขอบวชก็อนุญาตให้บวชได้ จึงได้ทำการบวชให้แล้วส่งข่าวมายังท่านพระสารีบุตร
ครั้งนั้น เมื่อพระสารีบุตรทราบข่าวดังนั้น จึงกราบทูลพระศาสดาเพื่อขอไปเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระเรวตะเริ่มทำความเพียรเจริญวิปัสสนา จึงทรงห้ามพระสารีบุตรถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ เมื่อพระสารีบุตรทูลอ้อนวอนอีก ทรงทราบว่า พระเรวตะบรรลุพระอรหัตแล้วจึงทรงอนุญาตและตรัสว่าจะทรงไปด้วยพร้อมเหล่าพระสาวกอื่น
ดังนั้น พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร ก็ได้เสด็จออกไปด้วยพระประสงค์ว่าจะไปเยี่ยมพระเรวตะ.ครั้นเดินทางมาถึง ณ ที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหนทาง ๒ แพร่ง
พระอานนเถระกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตรงนี้มีหนทาง ๒แพร่ง ภิกษุสงฆ์จะไปทางไหน พระเจ้าข้า
พระศาสดาตรัสถามว่า อานนท์หนทางไหน เป็นหนทางตรง
พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญหนทางตรงมีระยะประมาณ ๓๐ โยชน์ แต่เป็นหนทางที่มีอมนุษย์ ส่วนหนทางอ้อมมีระยะทาง ๖๐ โยชน์ เป็นหนทางสะดวกปลอดภัย มีภิกษาดีหาง่าย.
พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สีวลีได้มาพร้อมกับพวกเรามิใช่หรือ
พระอานนท์กราบทูลว่า ใช่ พระสีวลีมาแล้วพระเจ้าข้า
พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นพระสงฆ์จงไปตามเส้นทางตรงนั้นแหละ เราจักได้ทดลองบุญของพระสีวลี.
พระศาสดามีพระภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จขึ้นสู่เส้นทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อจะทรงทดลองบุญของพระสีวลีเถระ.
จำเดิมแต่ที่ได้เสด็จไปตามหนทาง หมู่เทวดาได้เนรมิตพระนครในที่ทุกๆ โยชน์ ช่วยกันจัดแจงพระวิหารเพื่อเป็นที่ประทับและที่อยู่แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
พวกเทวบุตร ได้ถือเอาข้าวยาคูและของเคี้ยวเป็นต้น ไปเที่ยวถามอยู่ว่า พระผู้เป็นเจ้าสีวลีไปไหน ดังนี้แล้ว จึงไปหาพระเถระ พระเถระจึงให้นำเอาสักการะและสัมมมานะเหล่านั้นไปถวายพระศาสดา พระศาสดาพร้อมทั้งบริวารเสวยบุญของพระสีวลีเถระผู้เดียว ได้เสด็จไปตลอดทางกันดารประมาณ ๓๐ โยชน์
ฝ่ายพระเรวตเถระทราบการเสด็จมาของพระศาสดา จึงนิรมิต พระคันธกุฎีเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า นิรมิตเรือนยอด ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ และที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ๕๐๐ พระศาสดาประทับอยู่ใน สำนักของเรวตะเถระนั้นสิ้นกาลประมาณเดือนหนึ่งแล แม้ประทับอยู่ ในที่นั้น ก็เสวยบุญของพระสีวลีเถระนั่นเอง แม้พระศาสดาทรงพาภิกษุสงฆ์ไป เสวยบุญของพระสีวลีเถระ ตลอดการประมาณเดือนหนึ่งนั่นแลอีก เสด็จเข้าไปสู่บุพพาราม ลำดับ
ในกาลต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้าแล้ว ทรงสถาปนาพระเถระนั้นไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสีวลีเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีลาภ.
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=2006
ทุกอย่าง สำเร็จได้ด้วยบุญ ที่ตนเองได้สั่งสมเอาไว้ บุญอยู่เบื้องหลังของความสุขและความสำเร็จ ตลอดเวลาแม้กระทั่งบวชบรรพชาเป็นพระภิกษุ ตราบจนกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน
บัณฑิตจึงควรหมั่นสั่งสมบุญ ทั้ง ทาน ศีล ภาวนา และ อธิษฐานล้อมกรอบให้ดี (อธิษฐานบารมี)