ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

"อุเบกขาคือการวางเฉย แต่ไม่ใช่เฉยเมย"


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 JOYSA

JOYSA
  • Members
  • 234 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 February 2006 - 10:53 PM

"อุเบกขาคือการวางเฉย แต่ไม่ใช่เฉยเมย"
แล้วมันทำยังงัยให้เป็นการวางเฉย ที่ไม่ใช่เฉยเมยจ๊ะ จอยคิดยังงัยก็คิดไม่ออก

#2 Trai072

Trai072
  • Members
  • 225 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 February 2006 - 12:24 AM

^^~*

ตามที่ผมเข้าใจง่ายๆ นะครับ... (เป็นเพียงเศษเสี้ยวของธรรมครับ ^^')

คือ ถ้าเกิดมีคนมา นินทาเรา แล้วเรารู้ตัว ด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อย หรือ

ไม่ใช่เรื่องจริง ก็ให้เราเอาหูไปนาเอาตาไปไร่

อีกทางก็ อย่าเอามาใส่ใจ ให้ทำใจใสๆ ไว้ จะได้ไม่เกิดเศษกรรมกับตัวเรา

ถ้ามีโอกาสชี้แจ้ง หรือธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจในทางที่ถูกต้อง

ก็ให้กระทำด้วยใจที่ ไม่เคียดแค้น

อาฆาต หรือจะทำให้เขาเกิดความเจ็บใจครับ


ถ้าหากท่านผู้รู้ท่านใด มีธรรมอันละเอียดมากกว่า ก็ขอให้ช่วยชี้แจ้งด้วยนะครับ

ขออนุโมทนาบุญครับ ...สาธุ...ครับ




ไฟล์แนบ



#3 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 February 2006 - 10:02 AM

มีคำอุปมาครับ ตอนที่สุเมธดาบสได้รับคำพยากรณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกร ท่านอุปมา อุเบกขาเอาไว้ว่า
"ให้ทำตัวประดุจแผ่นดิน ที่ไม่สะทกสะท้านไม่ว่าจะมีใครราดของเหม็นหรือของหอมลงใส่ เราพึงทำตัวประดุจแผ่นดินที่ไม่หวั่นไหวไม่ว่าจะมีใครราดของเหม็นหรือของหมอลงใส่นั่นเอง"
หรืออุเบกขาพูดง่ายๆ คือ การมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวแต่ไม่ใช่เฉยเมย จะลองยกเอาบารมี 10 ทัศมาจับนะ ครับ บารมีข้อที่ 9 คือเมตตาบารมี คือ มีจิตปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายอยากให้สรรพสัตว์พ้นทุกข์ เหมือน น้ำที่มอบความชื่นใจ แก่ทั้งคนดีและคนเลว
แต่ในบางครั้ง เราเมตตาไป ก็ช่วยอะไรไม่ได้ เช่น เราปรารถดีที่จะแนะนำคนเลว แล้วเราก็ได้พยายามแนะนำ สั่งสอนอย่างถึงที่สุดแล้ว แต่เค้าไม่รับฟัง ดังนั้น เราก็คงต้องปล่อยวางว่านี้เป็นกรรมของเขา กิเลสยังห่อหุ้มใจเขาอยู่ ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ คือ การวางอุเบกขา ครับ ด้วยเหตุนี้ อุเบกขาจึงเป็นบารมีข้อที่ 10 หลังจากเมตตาบารมี
หรือพูดอีกนัยหนึ่ง คือ การวางอุเบกขา คือการวางเฉย ปล่อยวางในสิ่งที่ตนพยายามทำอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ แต่ถ้าไม่ได้ทำอะไรเลยทั้งๆที่เราพอที่จะทำได้ เค้าเรียก เฉยเมย ครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#4 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 13 February 2006 - 03:25 PM

อารมของใจ ไม่หวั่นใหวในสิ่งที่มากระทบเลย แม้การแสดงออกทางกายหรือทางใบหน้าจะเป็นอย่างไรก็ตาม ซึ่งนั่นเป็นมารยาททางสังคมที่ต้องแสดงออกไปอย่างนุ่มนวลและมีศิลปะ แต่อารมของผู้ปฏิบัติธรรม ต้องแน่วนิ่งอยู่ในใจเสมอ ไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะเป็น คำสรรเสริญ หรือนินทา




#5 ratsrb

ratsrb
  • Members
  • 8 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 February 2006 - 09:07 AM

ขอยกตัวอย่างที่น่าจะใกล้เคียง อุเบกขา คือการวางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบต่ออารมณ์ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่น่ายินดีหรือไม่น่ายินดี เช่น เราเห็นคนกำลังจะจมน้ำ พยายามช่วยชีวิตเขาแล้ว แต่ไม่ทันเขาตายเสียก่อน อย่างนี้ท่านว่าให้วางอุเบกขาไม่ให้โศกเศร้าเพราะเราพยายามแล้ว แต่มิใช่ว่า เห็นคนกำลังจมน้ำแล้ววางอุเบกขาว่าเป็นกรรมของเขาแล้วไม่ยอมช่วย อย่างนี้เรียกว่าเฉยเมย