ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

เล่าสู่กันฟังตามประสา "ผู้หญิง"


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 22 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 01:09 PM

พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู พระมหาปชาบดีเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเทวทหะ เป็น
พระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) พระประยูรญาตถวายพระนามว่า
“โคตมี”
  • เป็นทั้งพระน้านางและพระมารดาเลี้ยง
    พระนางสิริมหามายาทรงอภิเษกเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะศากยราช
    แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระบรมโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิใน
    พระครรภ์ของพระนางสิริมหามายราชเทวี พอประสูติพระราชโอรส คือเจ้าชายสิทธัตถะได้เพียง
    ๗ วัน พระนางสิริมหามายาราชเทวี ก็สวรรคตไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสวรรค์ชั้นดุสิต
    พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงมอบให้การเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะแก่พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ผู้ศักดิ์
    เป็นพระมาตุจฉา (พระน้านาง) ซึ่งต่อมาได้สถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี และ
    ได้ประสูติพระราชโอรสนามว่า “นันทกุมาร” และพระราชธิดานามว่า “รูปนันทา”
    ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกผนวชได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว เสด็จไป
    โปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร และทรงแสดง
    ธรรมกถาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ในระหว่างถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระ
    โสดาบัน ครั้นวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในถนน ให้ดำรงอยู่ในอริยภูมิชั้นพระโสดาบัน ครั้น
    วันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา
    และพระน้านางยังพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาปัตติ
    ผล และในวันรุ่งขึ้น ทรงแสดงมหาปาลชาดกโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พอจบลง พระพุทธบิดา
    ทรงบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี
  • ขอบวชแต่ผิดหวัง
    ในวันที่ ๔ แห่งการเสด็จโปรดพระประยูรญาติ พระพุทธองค์เสด็จไปในพิธี
    อาวาหมงคลอภิเษกสมรส นันทกุมารพระอนุชาต่างพระมารดา กับพระนางชนปทกัลยาณี เมื่อ
    เสร็จพิธีอาวาหมงคล พระพุทธองค์ได้นำนัทกุมาร ไปบวชในวันนั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ แห่งการ
    เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงพาราหุลกุมารออกบรรพชาเป็นสามเณรอีก จึงยังความเศร้าโศกให้
    บังเกิดแก่พระเจ้าสุทโธทนะยิ่งนักเพราะเกรงว่าจะขาดรัชทายาทสืบสันติวงศ์
    ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วเข้าสู่ปรินิพพาน เมื่อการ
    ถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จสิ้นลงแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตรมีรู้สึกว้าเหว่พระทัย มีพระ
    ประสงค์จะทรงผนวชในพระพุทธศาสนาจึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่นิโครธาราม กราบทูล
    ขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา พระนางกราบทูล
    อ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่เป็นผล รู้สึกผิดหวังเศร้าโศกโทมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงกราบทูลลาเสด็จ
    กลับพระราชนิเวศน์
    พระบรมศาสดาประทับ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ โดยสมควรแก่พระอัธยาศัยแล้ว
    พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร เสด็จไปยังพระนครเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
  • พระอานนท์ช่วยกราบทูลจึงได้บวช
    ขณะนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้มีพระทัยเปี่ยมด้วยศรัทธา รับสั่งให้ช่างกัลบกมา
    ปลงกระเกศา แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ นำพาศากิยนารีเป็นบริวารประมาณ ๕๐๐ พระองค์
    (นางกษัตริย์เหล่านี้สวามีออกบวชไปก่อนแล้ว) เสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองเวสาลีแล้วเข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอ้อนวอนของอุปสมบท ถึงอย่างนั้น พระพุทธองค์ก็ยังไม่ทรง
    อนุญาต จึงเสด็จออกมายืนร้องไห้อยู่ที่ซุ้มประตู ขณะนั้น พระอานนท์ผ่านมาพบจึงสอบถาม
    ทราบความโดยตลอดแล้ว พระเถระรู้สึกสงสารคิดจะช่วยพระนาง จึงเข้าเฝ้ากราบทูลถามพระ
    พุทธองค์ว่า:-
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าสตรีบวชในพระศาสนาแล้ว อาจทำให้แจ้งซึ่งพระโสดา
ปัตติผล ระสกทาคามิผล รอนาคามิผล และพระอรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้า ?”
“ดูก่อนอานนท์ อาจทำให้แจ้งได้เหมือนบุรุษเพศทุกประการ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นควรจะอนุญาตเพื่ออนุเคราะห์แก่พระนางมหาปชาบดี
โคตมี ผู้มีคุณูปการบำรุงเลี้ยงดูพระองค์มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ให้สมปรารถนาด้วยเถิด พระเจ้า
ข้า”
“ดูก่อนอานนท์ ถ้าปชาบดีโคตรมีรับประพฤติครุธรรม ๘ จากพระผู้มีพระภาคโดยลำดับ
คือ:-
๑. ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็พึงเคารพกราบไว้ พระภิกษุ แม้
อุปสมบทได้วันเดียว
๒. ภิกษุณี จะอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีพระภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในอาวาสที่มี
พระภิกษุ
๓. ภิกษุณี จะต้องทำอุโบสถกรรม และรับฟังโอวาทจากสำนักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
๔. ภิกษุณี อยู่จำพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทำปวารณาในสำนักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
(ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
๕. ภิกษุณี ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรม ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สอง
ฝ่าย
๖. ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสำนักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมานารักษา
สิกขาบท ๖ ประการ คือ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักขโมย ๓. เว้น
จากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔.เว้นจากการพูดเท็จ ๕. เว้นจาการดื่มสุราเมรัย
และของมึนเมา ๖. เว้นจากการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล ทั้ง ๖ ประการนี้
มิให้ขาดตกบกพร่องเป็นเวลา ๒ ปี ถ้าบกพร่องในระหว่าง ๒ ปี ต้องเริ่มปฏิบัติ
ใหม่
๗. ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกถาคือ ด่าบริพาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้
๘. ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้
โอวาทภิกษุมิได้
พระเถระจดจำนำเอาครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้มาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระ
น้านางได้สดับแล้วมีพระทัยผ่องใสโสมนัส ยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ พระพุทธองค์จึง
ประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมศากยขัดติยนารีที่ติดตามมาด้วยทั้งหมด
เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้วเรียนพระ
กรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา อุตสาห์บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้
บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง ๕๐๐ รูป และได้บำเรฑญกิจพรศาสนาเต็มกำลัง
ความสามารถ
ลำดับต่อมา เมื่อพระศาสดาประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาภิกษุณีใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ หลายตำแหน่ง พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี
เป็นผู้มีวัยวุฒิสูง คือรู้กาลนาน มีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น จึงทรง
สถาปนาพระนางนำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้รัตตัญญู คือ ผู้รู้
ราตรีนาน


โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#2 คนรักบุญ

คนรักบุญ
  • Members
  • 125 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 01:41 PM

สาธุค่ะ

#3 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:24 PM

พระเขมาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญา พระเขมาเถรี เกิดในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติ ได้ให้พระ
นามว่า “เขมา” เพราะพระนางมีผิวพรรณเลื่อมเรื่อดังสีน้ำทอง เมื่อเจริญพระชันษาแล้วได้
อภิเษกสมรสเป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งนครราชคฤห์
เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์นั้นพระนางได้สดับ
ข่าวว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษในรูปสมบัติและเพราะความที่พระนางเป็นผู้หลงมัวเมาในรูป
โฉมของตนเอง จึงไม่กล้าไปเข้าเฝ้าพระทศพล ด้วยเกรงว่าพระพุทธองค์จะแสดงโทษในรูปโฉม
ของพระนาง
  • หลงอุบายถูกหลอกให้ไปวัด
    ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร ก็ทรงดำริว่า “เราเป็นอัครอุปัฏฐากของพระศาสดา แต่อัครมเหสี
    ของอริยสาวกเช่นเรานี้กลับไม่ไปเฝ้าพระทศพล ข้อนี้เราไม่ชอบใจเลย” ดังนั้น พระองค์จึงคิด
    หาอุบายด้วยการให้พวกนักกวีผู้ฉลาด แต่บทกวีประพันธ์ถึงคุณสมบัติความงดงามของพระวิหาร
    เวฬุวันราชอุทยานแล้ว รับสั่งให้นำไปขับร้องใกล้ ๆ ที่พระนางเขมาเทวีประทับ เพื่อให้ทราบ
    สดับบทประพันธ์นั้น
    พระนางได้สดับคำพรรณนาความงดงามของพระราชอุทยานแล้ว ก็มีพระประสงค์จะ
    เสด็จไปชม จึงเข้าไปกราบทูลพระราชาผู้สามี ซึ่งท้าวเธอก็ทรงยินดีให้เสด็จไปตามพระประสงค์
    เมื่อพระนางได้เสด็จชมพระราชอุทยานจนสิ้นวันแล้วใคร่จะเสด็จกลับ พวกราชบุรุษทั้งหลายได้
    นำพระนางไปยังสำนักของพระบรมศาสดาทั้ง ๆ ที่พระนางไม่พอพระทัยเลย


พระบรมศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางกำลังเสด็จมา จึงทรงเนรมิตนางเทพอัปสร
นางหนึ่ง ซึ่งกำลังถือพัดก้านใบตาลถวายงานพัดให้พระองค์อยู่เบื้องหลัง พระนางเขมาเทวี เห็น
นางเทพอัปสรนั้นแล้วถึงกับตกพระทัยดำริว่า “แย่แล้วสิเรา สตรีที่งามปานเทพอัปสรเห็นปานนี้
ยืนอยู่ใกล้ ๆ พระทศพล แม้เราจะเป็นปริจาริกา หญิงรับใช้ของนาง ก็ยังไม่คู่ควรเลย เพราะเหตุ
ไร เราจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจจิตคิดชั่วหลงมัวเมาอยู่ในรูปเช่นนี้หนอ”
พระนางยืนทอดพระเนตรเพ่งดูสตรีนั้นอยู่ ในขณะนั้นเอง พระบรมศาสดา ได้ทรง
อธิษฐานให้สตรีนั้นมีสรีระเปลี่ยนแปลงล่วงเลยปฐมวัยแล้วย่างเข้าสู่มัชฌิมวัย ล่วงจากมัชฌิมวัย
แล้วย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย เป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ฟันหัก แก่หง่อม แล้วล้มลงกลิ้งพร้อมกับ
พัดใบตาลนั้น
พระนางเขมาเทวี ได้ทอดพระเนตรเห็นรูปสตรีนั้นโดยตลอดแล้ว จึงดำริว่า “สรีระที่
สวยงามเห็นปานนี้ยังถึงงามวิบัติอย่างนี้ได แม้สรีระของเราก็จักมีคติเป็นไปอย่างนี้เหมือนกัน”
ขณะที่พระนางกำลังมีพระดำริอย่างนี้อยู่นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:-
“ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปในกระแสราคา
เหมือนแมลงมุมตกไปในข่ายใยที่ตนทำเอง
เมื่อชนเหล่านั้นตัดกระแสนั้นได้ โดยไม่มีเยื่อใยแล้ว
ละกามสุขเสียได้ ย่อมออกบวช”
เมื่อจบพระพุทธดำรัสคาถาภาษิตแล้ว พระนางเขมาเทวี ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในอิริยาบถที่ประทับยืนอยู่นั่นเอง

  • พระอรหันต์ฆราวาสเป็นได้ไม่นาน
    ธรรมดาผู้อยู่ครองเรือน เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้วจำต้องปรินิพพานหรือไม่ก็บวชเสียใน
    วันนั้น เพราะเพศฆราวาสไม่สามารถจะรองรับความเป็นพระอรหัตถ์ได้ แต่พระนางรู้ว่าอายุ
    สังขารของตนยังเป็นไปได้ จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ให้พระเจ้าพิมพิสารพระสวามีทรง
    อนุญาตการบวชก่อน แม้พระราชาก็ทรงทราบโดยสัญญาณคืออาการที่พระนางแสดงว่าบรรลุ
    อริยธรรมแล้ว ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ให้พระนางประทับบนวอทองแล้วนำไปอุปสมบทใน
    สำนักของภิกษุณีสงฆ์
    เมื่อพระนางบวชแล้วได้นามว่า “พระเขมาเถรี” เพราะอาศัยเหตุที่พระนางมีปัญญามาก
    บรรลุพระอรหัตผลทั้ง ๆ ที่อยู่ในเพศฆราวาส พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่ง
    เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวิกาฝ่าย
    ขวา
  • วิชชา ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ มี ๘ คือ
    ๑. วิปัสสนาญาณ ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา
    ๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ
    ๓. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
    ๔. ทิพพโสต หูทิพย์
    ๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้
    ๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
    ๗. พิทพจักขุ ตาทิพย์ (จุตูปปาตญาณ)
    ๘. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#4 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:27 PM

พระอุบลวรรณาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ พระอุบลวรรณาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้นางว่า
“อุบลวรรณา” ตามนิมิตลักษณะที่นางมีผิวพรรณเหมือนกลับดอกอุบลเขียว
  • เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวช
    เมื่อนางเจริญวัยเข้าสู่วัยสาว นอกจากจะมีผิวงามแล้วรูปร่างลักษณะยังงดงามสุดเท่าที่จะ
    หาหญิงอื่นทัดเทียมได้ จึงเป็นที่หมายปองต้องการของพระราชาและมหาเศรษฐีทั่วทั้งชมพูทวีป
    ซึ่งต่างก็ส่งเครื่องบรรณาการอันมีค่าไปมอบให้พร้อมกับสู่ขอเพื่ออภิเษกสมรสด้วย
    ฝ่ายเศรษฐีผู้บิดาของนางรู้สึกลำบากใจด้วยคิดว่า “เราไม่สามารถที่จะรักษาน้ำใจของคน
    ทั้งหมดเหล่านี้ได้ เราควรจะหาอุบายทางออกสักอย่างหนึ่ง” แล้วจึงเรียกลูกสาวมาถามว่า:-
    “แม่อุบลวรรณา เจ้าจะสามารถบวชได้ไหม ?”
    นางได้ฟังคำของบิดาแล้วรูสึกร้อนทั่วสรรพางค์กายเหมือนกับมีคนนำเอาน้ำมันที่เคี่ยว
    ให้เดือด ๑๐๐ ครั้ง ราดลงบนศีรษะของนาง ด้วยว่านางได้สั่งสมบุญมาแต่อดีตชาติ และการเกิด
    ในชาตินี้ก็เป็นชาติสุดท้ายของนาง ดังนั้น นางจึงรับคำของบิดาด้วยความปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง
    เศรษฐีผู้บิดาจึงพานางไปยังสำนักของภิกษุสงฆ์แล้วให้บวชเป็นที่เรียบร้อย
    เมื่อนางอุบลวรรณาบวชได้ไม่นาน ก็ถึงสาระที่จะต้องไปทำความสะอาดโรงอุโบสถ
    เธอได้จุดประทีปเพื่อขจัดความมืดแล้วกวาดโรงอุโบสถ เห็นเปลวไฟที่ดวงประทีปแล้วยึดถือเอา
    เป็นนิมิตร ขณะที่กำลังยืนอยู่นั้นได้เข้าฌานมีเตโช กสิณเป็นอารมณ์ แล้วกระทำฌานนั้นให้เป็น
    ฐานเจริญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย ณ ที่นั้น
    นั่นเอง

เมื่อพระเถรีสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เที่ยวจาริกไปยังชนบทต่าง ๆ แล้วกลับมาพัก
ที่ป่าอันธวัน สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงบัญญัติห้ามภิกษุณีอยู่ในป่าเพียงลำพัง ประชา
ชนได้ช่วยกันปลูกกระท่อมไว้ในป่าพร้อมทั้งเตียงตั่งกั้นม่านแล้วถวายเป็นที่พักแก่
พระเถรีนั้น

  • บวชแล้วยังถูกข่มขืน
    ฝ่ายนันทมาณพ ผู้เป็นลูกชายของลุงของพระเถรีนั้น มีจิตหลงรักนางตั้งแต่ยังไม่บวชเมื่อ
    ทราบข่าวว่าพระเถรีมาพักที่ป่าอันธวันใกล้เมืองสาวัตถี จึงได้ถือโอกาสขณะที่พระเถรีเข้าไป
    บิณฑบาตในเมืองสาวัตถีนั้น ได้เข้าไปในกระท่อมหลบซ่อนตัวอยู่ใต้เตียง เมื่อพระเถรีกลับมา
    แล้ว เข้าไปในกระท่อมปิดประตูแล้วนั่งลงบนเตียง ขณะที่สายตายังไม่ปรับเข้ากับความมืดใน
    กระท่อม นันทมาณพก็ออกมาจากใต้เตียงตรงเข้าปลุกปล้ำข่มขืนพระเถรี ถึงแม้พระเถรีจะร้อง
    ห้ามว่า:-
    “เจ้าคนพาล เจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย เจ้าคนพาล เจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย”
    นันทมาณพ ก็ไม่ยอมเชื่อฟัง ได้ทำการข่มขืนพระเถรีสมปรารถนาแล้วก็หลีกหนีไป พอ
    เขาหลบหนีไปได้ไม่ไกล แผ่นดินใหญ่ก็มีอาการประหนึ่งว่าไม่สามารถจะรองรับน้ำหนักของเขา
    เอาไว้ได้ จึงอ่อนตัวยุบลงแล้วนันทมาณพก็จมดิ่งลงในแผ่นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรก
    ฝ่ายพระอุบลวรรณาเถรี ก็มิได้ปิดบังเรื่องราวที่เกิดขึ้น ได้บอกแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นกับตน
    นั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ต่อจากนั้นเรื่องราวของพระเถรีก็ทราบถึงพระบรมศาสดา พระพุทธองค์
    ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:-
    “คนพาล ย่อมร่าเริงยินดีในบาปกรรมลามกที่ตนกระทำ
    ประดุจว่าดื่มน้ำผึ้งที่มีรสหวาน
    จนกว่าบาปกรรมนั้นจะให้ผล
    จึงจะได้ประสบกับความทุกข์ เพราะกรรมนั้น”
  • พระขีณาสพเหมือนไม้แห้งไม้ผุ
    เมื่อกาลเวลาล่วงไปภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์ของพระ
    อุบลวรรณาเถรี นั้นว่า:-
    “ท่านทั้งหลาย เห็นทีพระขีณาสพทั้งหลาย คงจะยังมีความยินดีในกามสุข คงจะยังจะ
    พอใจในการเสพกาม ก็ทำไมจะไม่เสพเล่า เพราะท่านเหล่านั้นมิใช่ไม้ผุ มิใช่จอมปลวก อีกทั้ง
    เนื้อหนังร่างกายทั่วทั้งสรีระก็ยังสดอยู่ ดังนั้น แม้จะเป็นพระขีณาสพก็ชื่อว่ายังยินดีในการเสพ
    กาม”
    พระบรมศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามทรงทราบเนื้อความที่พวกภิกษุเหล่านั้นสนทนากัน
    แล้วจึงตรัสว่า:-
    “ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลายนั้นไม่ยินดีในกามสุข ไม่เสพกามเปรียบเสมือน
    หยาดน้ำตกลงในใบบัวแล้วไม่ติดอยู่ ย่อมกลิ้งตกลงไป และเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ผักกาด ย่อมไม่
    ติดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉันใด ขึ้นชื่อว่ากามก็ย่อมไม่ซึมซาบ ไม่ติดอยู่ในจิตของพระ
    ขีณาสพ ฉันนั้น”
  • ห้ามภิกษุณีอยู่ป่า
    ต่อมาพระบรมศาสดา ทรงพิจารณาเห็นภัยอันจะเกิดแก่กุลธิดาผู้เข้ามาบวชแล้วพักอาศัย
    อยู่ในป่า อาจจะถูกคนพาลลามกเบียดเบียนประทุษร้าย ทำอันตรายต่อพรหมจรรย์ได้ จึงรับสั่งให้
    เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมาเฝ้า ตรัสให้ทราบพระดำริแล้ว ขอให้สร้างที่อยู่อาศัยเพื่อนางภิกษุณี
    สงฆ์ในที่บริเวณใกล้ ๆ พระนคร และตั้งแต่นั้นมา ภิกษุณีก็มีอาวาสอยู่ในบ้านในเมืองเท่านั้น
    พระอุบลวรรณาเถรี ปรากฏว่าเป็นผู้ชำนาญในการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ดังจะเห็นได้ในวัน
    ที่ พระบรมศาสดาทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์นั้น พระเถรีก็กราบทูลอาสาขอแสดงฤทธิ์เพื่อต่อสู้
    กับพวกเดียรถีย์แทนพระพุทธองค์ด้วย และทรงอาศัยเหตุนี้จึงได้ทรงสถาปนาพระอุบลวรรณา
    เถรี นี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์ และเป็นอัครสา
    วิการฝ่ายซ้าย

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#5 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:29 PM

พระปฏาจาราเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงพระวินัย พระปฏาจาราเถรี เป็นธิดาของมหาเศรษฐีในเมืองสัตถี เมื่ออายุย่างได้ ๑๖ ปี เป็นหญิงมี
ความงดงามมาก บิดามารดาทะนุถนอมห่วงใยให้อยู่บนปราสาท ชั้น ๗ เพื่อป้องกันการคบหากับ
ชายหนุ่ม
  • ดอกฟ้าได้ยาจก
    แม้กระนั้น เพราะนางเป็นหญิงโลเลในบุรุษ จึงได้คบหาเป็นภรรยาคนรับใช้ในบ้านของ
    ตน ต่อมาบิดามารดาของนางได้ตกลงยกนางให้แก่ชายคนหนึ่ง ที่มีชาติสกุลและทรัพย์เสมอกัน
    เมื่อใกล้กำหนดวันวิวาห์ นางได้พูดกับคนรับใช้ผู้เป็นสามีว่า:-
    “ได้ทราบว่า บิดามารดาได้ยกฉันให้กับลูกชายสกุลโน้น ต่อไปท่านก็จะไม่ได้พบกับ
    ฉันอีก ถ้าท่านรักฉันจริง ท่านก็จงพาฉันหนีไปจากที่นี่แล้วไปอยู่ร่วมกันที่อื่นเถิด”
    เมื่อตกลงนัดหมายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วชายคนรับใช้ผู้เปลี่ยนฐานะมาเป็นสามีนั้น ได้
    ไปรออยู่ข้างนอกแล้วนางก็หนีบิดามารดาออกจากบ้าน ไปร่วมครองรักครองเรือนกันในบ้าน
    ตำบลหนึ่งซึ่งไม่มีคนรู้จัก ช่วยกันทำไร่ ไถนา เข้าป่าเก็บผักหักฟืนหาเลี้ยงกันไปตามอัตภาพ
    นางต้องตักน้ำตำข้าวหุ้งต้มด้วยมือของตนเอง ได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส เพราะตนไม่เคยทำ
    มาก่อน
  • คลอดลูกกลางทาง
    กาลเวลาผ่านไป นางได้ตั้งครรภ์บุตรคนแรก เมื่อครรภ์แก่ขึ้นนางจึงอ้อนวอนสามีให้พา
    นางกลับไปยังบ้านของบิดามารดาเพื่อคลอดบุตร เพราะการคลอดบุตรในที่ไกลจากบิดามารดา
    และญาตินั้นเป็นอันตราย แต่สามีของนางก็ไม่กล้าพากลับไปเพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษอย่างรุน
    แรง จึงพยายามพูดจาหน่วงเหนี่ยวเธอไว้ จนนางเห็นว่าสามีไม่พาไปแน่ วันหนึ่ง เมื่อสามีออกไป
    ทำงานนอกบ้าน นางจึงสั่งเพื่อนบ้านใกล้เคียงกันให้บอกกับสามีด้วยว่านางไปบ้านของบิดา
    มารดาแล้วนางก็ออกเดินทางไปตามลำพัง
    เมื่อสามีกลับมาทราบความจากเพื่อนบ้านแล้ว ด้วยความห่วงใยภรรยาจึงรีบออกติดตาม
    ไปทันพบนางในระหว่างทาง แม้จะอ้อนวอนอย่างไรนางก็ไม่ยอมกลับ ทันใดนั้น ลมกัมมัชวาต
    คือ อาการปวดท้องใกล้คลอด ก็เกิดขึ้นแก่นาง จึงพากันเข้าไปใต้ร่มริมทาง นางนอนกลิ้งเกลือก
    ทุรนทุรายเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างหนัก ในที่สุดก็คลอดบุตรออกมาด้วยความยากลำบาก
    เมื่อคลอดบุตรโดยปลอดภัยแล้ว ก็ปรึกษากันว่า “กิจที่ต้องการไปคลอดที่เรือนของบิดา
    มารดานั้นก็สำเร็จแล้ว จะเดินทางต่อไปก็ไม่มีประโยชน์” จึงพากันกลับบ้านเรือนของตน อยู่
    รวมกันต่อไป
  • สามีถูกงูกัดตาย
    ต่อมาไม่นานนักนางก็ตั้งครรภ์อีก เมื่อครรภ์แก่ขึ้นตามลำดับนางจึงอ้อนวอนสามีเหมือน
    ครั้งก่อน แต่สามีก็ยังคงไม่ยินยอมเช่นเดิม นางจึงอุ้มลูกคนแรกหนีออกจากบ้านไป แม้สามีจะ
    ตามมาทันชักชวนให้กลับก็ไม่ยอมกลับ จึงเดินทางร่วมกันไป เมื่อเดินทางมาได้อีกไม่ไกลนัก
    เกิดลมพายุพัดอย่างแรงและฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก พร้อมกันนั้นนางก็ปวดท้องใกล้จะคลอดขึ้น
    มาอีก จึงพากันแวะลงข้างทาง ฝ่ายสามีได้ไปหาตัดกิ่งไม้เพื่อมาทำเป็นที่กำบังลมและฝน แต่
    เคราะห์ร้ายถูกงูพิษกัดตายในป่านั้น นางทั้งปวดท้องทั้งหนาวเย็น ลมฝนก็ยังคงตกลงมาอย่าง
    หนัก สามีก็หายไปไม่กลับมา ในที่สุดนางก็คลอดบุตรคนที่สองอย่างนาสังเวช
    ลูกของนางทั้งสองคนทนกำลังลมและฝนไม่ไหว ต่างก็ร้องไห้กันเสียงดังลั่นแข่งกับลม
    ฝน นางต้องเอาลูกทั้งสองมาอยู่ใต้ท้อง โดยนางใช้มือและเข่ายืนบนพื้นดินในท่าคลาน ได้รับ
    ทุขเวทนาอย่างมหันต์สุดจะรำพันได้ เมื่อรุ่งอรุณแล้วสามีก็ยังไม่กลับมาจึงอุ้มลูกคนเล็กซึ่งเนื้อ
    หนังยังแดง ๆ อยู่จูงลูกคนโตออกตามหาสามี เห็นสามีนอนตายอยู่ข้างจอมปลวกจึงร้องไห้รำพัน
    ว่าสามีตายก็เพราะนางเป็นเหตุ เมื่อสามีตายแล้ว ครั้นจะกลับไปที่บ้านทุ่งนาก็ไม่มีประโยชน์ จึง
    ตัดสินใจไปหาบิดามารดาของตนที่เมืองสาวัตถี โดยอุ้มลูกคนเล็ก และจูงลูกคนโตเดินไปด้วย
    ความทุลักทุเลเพราะความเหนื่อยอ่อนอย่างหนักดูน่าสังเวชยิ่งนัก
  • หัวใจสลายเพราสูญเสียลูกน้อยทั้งสอง
    นางเดินทางมาถึงริมฝั่งแม่น้ำจิรวดี มีน้ำเกือบเต็มฝั่งเนื่องจากฝนตกหนักเมื่อคืนที่ผ่าน
    มา นางไม่สามารถจะนำลูกน้อยทั้งสองข้ามแม่น้ำไปพร้อมกันได้เพราะนางเองก็ว่ายน้ำไม่เป็น
    แต่อาศัยที่น้ำไม่ลึกนักพอที่เดินลุยข้ามไปได้ จึงสั่งให้ลูกคนโตรออยู่ก่อนแล้ว อุ้มลูกคนเล็กข้าม
    แม่น้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อถึงฝั่งแล้วได้นำใบไม้มาปูรองพื้นให้ลูกคนเล็กนอนที่ชายหาดแล้วกลับ
    ไปรับลูกคนโตด้วยความห่วงใยลูกคนเล็ก นางจึงเดินพลางหันกลับมาดูลูกคนเล็กพลาง ขณะที่มี
    ถึงกลางแม่น้ำนั้น มีนกเหยี่ยวตัวหนึ่งบินวนไปมาอยู่บนอากาศ มันเห็นเด็กน้อยนอนอยู่มี
    ลักษณะเหมือนก้อนเนื้อ จึงบินโฉบลงมาแล้เฉี่ยวเอาเด็กน้อยไป นางตกใจสุดขีดไม่รู้จะทำอย่าง
    ไรได้ จึงได้แต่โบกมือร้องไล่ตามเหยี่ยวไป แต่ก็ไม่เป็นผล เหยี่ยวพาลูกน้อยของนางไปเป็น
    อาหาร ส่วนลูกคนโตยืนรอแม่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง เห็นแม่โบกมือทั้งสองตะโกนร้องอยู่กลางแม่น้ำ ก็
    เข้าใจว่าแม่เรียกให้ตามลงไป จึงวิ่งลงไปในน้ำด้วยความไร้เดียงสา ถูกกระแสน้ำพัดพาจมหาย
    ไป
  • ทราบข่าวการตายของบิดามารดาถึงกับเสียสติ
    เมื่อสามีและลูกน้อยทั้งสองตายจากนางไปหมดแล้วเหลือแต่นางคนเดียวนางจึงเดินทาง
    มุ่งหน้าสู่บ้านเรือนของบิดามารดา ทั้งหิวทั้งเหนื่อยล้า ได้รับความบอบช้ำทั้งร่างกายและจิตใจ รู้
    สึกเศร้าโศกเสียใจสุดประมาณ พลางเดินบ่นรำพึงรำพันไปว่า:-
    “บุตรคนหนึ่งของเราถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไป บุตรอีกคนหนึ่งถูกน้ำพัดไปสามีก็ตายในป่า
    เปลี่ยว”
    นางเดินไปก็บ่นไปแต่ก็ยังพอมีสติอยู่บ้างได้พบชายคนหนึ่งเดินสวนทางมา สอบถาม
    ทราบว่ามาจากเมืองสาวัตถี จึงถามถึงบิดามารดาของตนที่อยู่ในเมืองนั้น ชายคนนั้นตอบว่า:-
    “น้องหญิงเมื่อคืนนี้เกิดลมพายุและฝนตกอย่างหนักเศรษฐีสองสามีภรรยาและลูกชาย
    อีกคนหนึ่ง ถูกปราสาทของตนพังล้มทับตายพร้อมกันทั้งครอบครัวเธอจงมองดูควันไฟที่เห็นอยู่
    โน่น ประชาชนร่วมกันทำการเผาทั้ง ๓ พ่อ แม่ และลูกบนเชิงตะกอนเดียวกัน”
    นางปฏาจารา พอชายคนนั้นกล่าวจบลงแล้วก็ขาดสิตสัมปชัญญะไม่รู้สึกตัวว่าผ้านุ่งผ้า
    ห่มที่นางสวมใส่อยู่หลุดลุ่ยลงไป เดินเปลือยกายเป็นคนวิกลจริตร้องไห้บ่นเพื่อรำพันเซซวนคร่ำ
    ครวญว่า:-
    “บุตรสองคนของเราตายแล้ว สามีของเราก็ตายที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชายของ
    เราก็ถูกเผาบนเชิงตะกินเดียวกัน”
    นางเดินไปบ่นไปอย่างนี้ คนทั่วไปเห็นแล้วคิดว่า “นางเป็นบ้า” พากันขว้างปาด้วย
    ก้อนดินบ้าง โรยฝุ่นลงบนศีรษะนางบ้าง และนางยังคงเดินต่อเรื่อยไปอย่างไร้จุดหมายปลายทาง
  • หายบ้าแล้วได้บวช
    ขณะนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางพุทธบริษัท ทรงทราบด้วยพระฌาณ
    ว่านางปฏาจารามีอุปนิสัยแห่งพระอรหัต จึงบันดาลให้นางเดินทางมายังวัดพระเชตวัน นางได้
    เดินมายืนเสาศาลาโรงธรรมอยู่ท้ายสุดพุทธบริษัทหมู่คนทั้งหลายพากันขับไล่นางให้ออกไป แต่
    พระบรมศาสดาตรัสห้ามไว้แล้วตรับกับนางว่า “จงกลับได้สติเถิด น้องหญิง”
    ด้วยพุทธานุภาพ นางกลับได้สติในขณะนั้นเอง มองดูตัวเองเปลือยกายอยู่ รู้สึกอายจึงนั่ง
    ลง อุบาสกคนหนึ่งโยนฝ้าให้นางนุ่งห่ม นางเข้าไปกราบถวายบังคมพระศาสดาที่พระบาท แล้ว
    กราบทูลเคราะห์กรรมของนางให้ทรงทราบโดยลำดับ พระพุทธองค์ได้ตรัสพระดำรัสว่า:-
    “แม่น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ยังน้อยกว่าน้ำตาของคนที่ถูกความทุกข์ความเศร้าโศก
    ครอบงำ ปฏาจารา เพราะเหตุไร เธอจึงยังประมาทอยู่”
    ปฏาจารา ฟังพระดำรัสนี้แล้วก็คลายความเศร้าโศกลง พระบรมศาสดา ทรงทราบว่านาง
    หายจากความเศร้าโศกลงแล้ว จึงตรัสต่อไปว่า:-
    “ปฎาจารา ขึ้นชื่อว่าบุตรสุดที่รัก ไม่อาจเป็นที่พึ่ง เป็นที่ต้านทานหรือเป็นที่ป้องกันแก่
    ผู้ไปสู่ปรโลกได้ บุตรเหล่านั้น ถึงจะมีอยู่ก็เหมือนไม่มี ส่วนผู้รู้ทั้งหลายรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว
    ควรชำระทางไปสู่พระนิพพานของตนเท่านั้น”
    เมื่อจบพระธรรมเทศนา นางปฏาจาราดำรงอยู่ในโสดาปัตผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นพระ
    โสดาบันแล้ว กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงบวชเป็นภิกษุณี ไม่นานนัก
    ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
    เมื่อนางปฏาจาราได้อุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าเป็นพระเถรีผู้มีความรอบรู้ในเรื่องพระวินัย
    เป็นอย่างดี อาศัยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
    ภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#6 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:35 PM

พระนันทาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้แพ่งด้วยฌาน พระนันทาเถรี เป็นธิดาของพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็น
กนิษฐภคินีของเจ้าชายนันทะ พระนามเดิมว่า “นันทา” แต่เพราะนางมีพระสิริโฉมงดงามยิ่ง
นัก น่าทัศนา น่ารัก น่าเลื่อมใส พระประยูรญาติจึงพากันเรียกว่า “รูปนันทา” บ้าง
“อภิรูปนันทา” บ้าง “ชนปทกัลยาณี” บ้าง
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้นับเนื่องเป็นพระเชษฐาของนาง เสด็จออกบรรพชา ได้ตรัสรู้เป็น
พระสัพพัญญูพุทธเจ้าแล้ว เสด็จมาโปรดพระประยุรญาติ ณ พระนครกบิลพัสดุ์ เทศนาสั่งสอน
ให้ได้บรรลุมรรคผลตามวาสนาบารมี ทรงนำพาศากยกุมารทั้งหลายมีพระนันทะ พระราหุล
และพระภัททิยะ เป็นต้น ออกบรรพชา
ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชพุทธบิดา เสด็จเข้าสู่พระนิพพานแล้ว พระ
นางมหาปชาบดีโคตรมีพระมารดา และพระนางยโสธราพิมพาพระมารดาของพระราหุล ต่างก็
พาสากิยกุมารีออกบวชในพระพุทธศาสนาด้วยกันทั้งสิ้น นางจึงมีพระดำรัสว่า “เหลือแต่เรา
เพียงผู้เดียว ประหนึ่งไร้ญาติขาดมิตร จะมีประโยชน์อะไรกับการดำรงชีวิตในฆราวาสวิสัย สม
ควรที่เราจะไปบวชตามพระประยูรญาติผู้ใหญ่ของเราจะประเสริฐกว่า”
  • เพราะรักญาติจึงออกบวช
    เมื่อพระนางมีพระดำริดังนี้แล้ว จึงจัดเตรียมผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จไปสู่สำนัก
    พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี กราบแทบเท้ากล่าวขอบรรพชาอุปสมบทพระเถรี ก็โปรดให้บรรพชา
    ตามปรารถนา แต่การบวชของพระนางนันทานั้นมิใช่บวชด้วยความศรัทธา แต่อาศัยความรักใน
    หมู่ญาติจึงออกบวช
    ครั้นบวชแล้ว พระรูปนันทาเถรีได้กราบว่า พระพุทธองค์ทรงตำหนิติเตียนเรื่องรูปกาย
    จึงไม่กล้าไปเฝ้าพระศาสดา เพื่อรับพระโอวาท เมื่อถึงวาระที่ตนจะต้องไปรับโอวาทก็สั่งให้
    ภิกษุณีรูปอื่นไปรับแทน พระบรมศาสดาทรงทราบว่าพระนางหลงมัวเมาในพระสิริโฉมของตน
    เอง จึงตรัสรับสั่งว่า:-
    “ต่อแต่นี้ ภิกษุณีทั้งหลาย ต้องมารับโอวาทด้วยตนเอง จะส่งภิกษุณีรูปอื่นมารับแทนไม่
    ได้”
    ตั้งแต่นั้น พระรูปนันทาเถรี ไม่มีทางอื่นที่จะหลีกเลี่ยงไปได้ จึงจำเป็นและจำใจไปรับ
    ประโอวาท ทั้ง ๆ ที่ไม่ปรารถนา ไปเฝ้าพระบรมศาสดาพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย แต่มิกล้าแม้
    กระทั่งจะนั่งอยู่แถวหน้า จึงนั่งหลบอยู่ด้านหลัง
    พระพุทธองค์ ทรงเนรมิตรูปหญิงสาววัยรุ่นคนหนึ่งให้มีรูปสิริโฉมสวยงามสุดที่จะหา
    หญิงใดในปฐพีมาเปรียบได้ ให้หญิงนั้นดูประหนึ่งว่าถือพัดวีชนีถวายงานพัดอยู่เบื้องหลังของ
    พระพุทธองค์ และให้สามารถมองเห็นเฉพาะพระพุทธองค์กับพระรูปนันทาเถรีเท่านั้น
    พระรูปนันทาเถรี ได้เห็นหญิงรูปเนรมิตนั้นแล้วก็คิดว่า เราหลงผิดคิดมัวเมาอยู่ในรูป
    โฉมของตนเองโดยใช่เหตุ จึงมิกล้ามาเฝ้าพระพุทธองค์ หญิงคนนี้มีความสนิมสนมอยู่ในสำนัก
    พระบรมศาสดา รูปโฉมของเรานั้นเทียบไม่ได้ส่วนเสี้ยวที่ ๑๖ ของหญิงนี้เลย ดูนางช่างงามยิ่ง
    นัก ผมก็สวย หน้าผากก็สวย หน้าตาก็สวย ทุกสิ่งทุกอย่างช่างสวยงามพร้อมทั้งหมด
  • พอเบื่อหน่อยก็ได้สำเร็จ
    เมื่อพระรูปนันทาเถรี กำลังเพลิดเพลินชื่นชมโฉมของรูปหญิงเนรมิตอยู่นั้น พระพุทธ
    องค์ทรงอธิษฐานให้รูปหญิงนั้นปรากฏอยู่ในวัยต่าง ๆ ตั้งแต่เป็นหญิงวัยรุ่น เป็นหญิงสาววัยมีลูก
    หนึ่งคน มีลูก ๒ คน จนถึงวัยกลางคน วัยชราและวัยแก่หง่อม ผมหงอก ฟันหัก หลังค่อม และ
    ล้มตายลงในขณะนั้น ร่างกายมีหมู่หนอนมาชอนไชเจาะกินเหลือแต่โครงกระดูก พระพุทธองค์
    ทรงทราบว่าพระรูปนันทาเถรี เกิดความสังเวชสลดจิตเบื่อหน่ายในรูปกายที่ตนยึดถือแล้วจึงตรัส
    ว่า:-


“ดูก่อนนันทา เธอจงดูอัตภาพร่างกายอันเป็นเมืองแห่งกระดูกนี้ (อฏฺฐีนํนครํ) อัน
กระสับกระส่าย ไม่สะอาด อันบูดเน่านี้เถิด เธอจงอบรมจิตให้แน่วแน่มั่นคง มีอารมณ์เดียวใน
อสุภกรรมฐาน จงถอนมานะละทิฏฐิให้ได้แล้วจิตใจของเธอก็จะสงบ จงดูว่ารูปนี้เป็นฉันใด รูป
ของเธอก็เป็นฉันนั้น รูปของเธอเป็นฉันใดรูปนี้ก็เป็นฉันนั้น รูปอันมีกลิ่นเหม็นบูดเน่านี้ ย่อม
เป็นที่เพลิดเพลินอย่างยิ่งของผู้โง่เขลาทั้งหลาย”
พระรูปนันทาเถรี ส่งกระแสจิตไปตามพระพุทธดำรัส เมื่อจบลงก็สิ้นกิเลสาสวะ บรรลุ
พระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่าเมื่อพระนางสำเร็จเป็นพระ
อรหันต์แล้วเป็นผู้มีความชำนาญพิเศษในการเพ่งด้วยฌาน
ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้แพ่งด้วยฌาน หรือ ผู้ทรงฌาน



  • ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มี ๔ คือ
    ๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
    ๔. จตุถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#7 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:40 PM

พระธรรมทินนาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก พระธรรมทินนาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้เป็น
ภริยาของวิสาขเศรษฐี ผู้ซึ่งเป็นพระสหายของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งพระนครราชคฤห์นั้น
  • ถูกสามีตัดเยื่อใยจึงออกบวช
    วิสาขเศรษฐี ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้งแรกโดยการชักชวนของพระเจ้าพิมพิสาร
    และได้ร่วมฟังพระธรรมเทศนาด้วยกัน เมื่อจบพระธรรมเทศนาลงแล้ว วิสาขเศรษฐีได้บรรลุ
    โสดาปัตติผล ต่อมาภายหลังได้ไปฟังธรรมจากพระพุทธองค์อีกและได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
    เมื่อกลับจากวัดมายังบ้าน โดยปกติทุก ๆ ครั้ง นางธรรมทินนาจะยืนคอยท่าอยู่ที่เชิง
    บันได เมื่อวิสาขเศรษฐีมาถึงก็ยื่นมือให้เกาะกุมแล้วขึ้นบันไดไปด้วยกัน แม้วันนั้น
    นางธรรมทินนาก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม แต่ฝ่ายวิสาขเศรษฐีผู้สามีไม่เกาะมือ และไม่แสดงอาการยิ้ม
    แย้ม ดังเช่นเคยทำมา แม้แต่เวลาบริโภคอาหาร ซึ่งนางคอยนั่งปฏิบัติอยู่ ท่านเศรษฐีก็ไม่ยอมพูด
    จาอะไรทั้งสิ้น ทำให้นางคิดหวั่นวิตกว่า “ตนคงจะทำผิดต่อสามี” ครั้นวิสาขเศรษฐีผู้สามี
    บริโภคอาหารเสร็จแล้วนางจึงถามว่า:-
    “ข้าแต่นาย ดิฉันทำสิ่งใดผิดหรือ วันนี้ท่านจึงไม่จับมือและพูดจาอะไรเลย ?”
    ท่านเศรษฐีกล่าวตอบว่า:-
    “ธรรมทินนา เธอไม่มีความผิดอะไรหรอก แต่นับตั้งแต่วันนี้เราไม่ควรนั่งไม่ควรยืน
    ในที่ใกล้เธอ ไม่ควรถูกต้องสัมผัสเธอ และไม่ควรให้เธอนำอาหารมาให้แล้วนั่งเคี้ยวกินในที่ใกล้
    ๆ เธอ ต่อแต่นี้ไป ถ้าเธอประสงค์จะอยู่ที่เรือนนี้ก็จงอยู่ต่อไปเถิด แต่ถ้าไม่ประสงค์จะอยู่ก็จงรวบ
    รวมเอาทรัพย์สมบัติตามความต้องการแล้วกลับไปอยู่ที่ตระกูลของเธอเถิด”
    นางธรรมทินนา จึงกล่าวว่า “ข้าแต่นาย ดิฉันไม่ขอรับเอาขยะหยอกเยื่ออันเปรียบ
    เสมือนน้ำลายที่ท่านถ่มทิ้งแล้วมาเดินบนศีรษะหรอก เมื่อเป็นเช่นนี้ขอท่านได้โปรดอนุญาตให้
    ดิฉันบวชเถิด”
    วิสาขเศรษฐี ได้ฟังคำของนางแล้วก็ดีใจ ได้กราบทูลพระเจ้าพิมพิสารขอพระราชทาน
    วอทอง นำนางธรรมทินนา ไปยังสำนักของนางภิกษุณี เพื่อขอบรรพชาอุปสมบท
    เมื่อนางธรรมทินนา ได้บรรพชาอุปสมบทสมดังความปรารถนาแล้ว อยู่ในสำนักของ
    อุปัชฌาย์ (ภิกษุณีสงฆ์) เพียง ๒-๓ วัน ก็ลาไปจำพรรษาอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง
    บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง
    หลาย
  • พระเถรีถูกอดีตสามีลองภูมิ
    ต่อมาพระนางธรรมทินนาเถรี คิดว่า “กิจของเราบรรลุถึงความสิ้นสุดแล้ว เราควรกลับ
    ไปกรุงราชคฤห์ เพื่อหมู่ญาติได้อาศัยเราแล้วทำบุญกุศลให้กับตนเอง”
    วิสาขอุบาสก ทราบว่านางกลับมาจึงไปหานางยังที่พัก มีความประสงค์ที่จะทราบว่านาง
    ได้บรรลุคุณธรรมวิเศษอย่างใดหรือไม่ แต่มิกล้าถามตรง ๆ จึงเลี่ยงถามปัญหาว่าด้วยเรื่อง
    เบญจขันธ์ พระนางธรรมทินนาเถรี ก็วิสัชนาอย่างคล่องแคล่วชัดเจนทุกประเด็นปัญหา
    วิสาขอุบาสกก็ทราบว่า พระนางธรรมทินนาเถรี มีฌานแก่กล้า จึงถามปัญหาในลำดับของ
    พระอนาคามีที่ตนได้บรรลุแล้ว เมื่อพระเถรีวิสัชนาได้อีก จึงก้าวล้ำถามปัญหาในวิสัย
    พระอรหัตมรรค
    พระเถรีทราบว่า อุบาสกมีวิสัยเพียงอนาคามีนั้นแต่ถามปัญหาเกินวิสัยของตน จึงกล่าว
    เตือนว่า:-
    “วิสาขะ ท่านยังไม่อาจกำหนดที่สุดแห่งปัญหาได้ ถ้าท่านยังหวังที่จะก้าวหยั่งลงสู่
    ประตูพระนิพพานแล้ว ขอท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลถามข้อความนั้นเถิด เมื่อ
    พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์อย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้น”
    วิสาขอุบาสก ทำตามคำแนะนำของพระเถรี ไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลเนื้อ
    ความตามนัยแห่งปุจฉาและวิสัชนาถวายให้ทรงสดับทุกประการ
  • ทรงยกย่องเป็นผู้เลิศทางแสดงธรรม
    พระผู้มีพระภาค ทรงสดับแล้วตรัสว่า:-
    “ธรรมทินนาเถรีธิดาของเรานี้ ไม่มีตัณหาในขันธ์ทั้งหลาย ทั้งในอดีตปัจจุบัน และ
    อนาคต เธอเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ถ้าวิสาขอุบาสก ถามข้อความนั้นกับเรา แม้เราเองก็จะ
    พยากรณ์ เหมือนอย่างที่ธรรมทินนาเถรีพยากรณ์แล้วนั้นทุกประการ ขอท่านจงจำเนื้อความนั้นไว้
    เถิด”
    ต่อมา เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนาบรรดา
    ภิกษุณีในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ทรงพิจารณาความสามารถในการวิสัชนาปัญญาของพระนาง
    ธรรมทินนาเถรี ในครั้งนั้นเป็นเหตุ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศ
    กว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#8 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:41 PM

พระโสณาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ปรารถนาความเพียร พระโสณาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี ได้ชื่อว่า “โสณา” เมื่อเจริญวัยแล้ว
ได้มีคู่ครองที่มีฐานะเสมอกัน อยู่ร่วมกันมามีบุตร ๗ คน มีธิดา ๗ คน
  • จากเศรษฐีเป็นอนาถา
    เมื่อบุตรธิดาทั้งหลายเจริญวัยแล้วได้แต่งงานมีคู่ครองเรือนแยกย้ายกันออกไปอยู่ตาม
    ลำพัง ต่างก็มีฐานะความเป็นอยู่สุขสบายตามสมควรแก่อัตภาพฆราวาสวิสัย ต่อมาสามีของนาง
    ถึงแก่กรรมลง นางได้ปกครองดูแลทรัพย์สมบัติทั้งหมดโดยยังมิได้จัดสรรแบ่งปันให้แก่บุตรธิดา
    เลย และต่อมา บุตรธิดาเหล่านั้นได้พากันพาพูดกับนางบ่อย ๆ ว่า:-
    “คุณแม่ บิดาของพวกข้าพเจ้าก็ตายไปแล้ว ทรัพย์สมบัติเหล่านี้แม่จะเก็บเอาไว้ทำไม
    หรือแม่เกรงว่าพวกเราทั้ง ๑๔ คนนี้จะเลี้ยงแม่ไม่ได้”
    นางโสณาได้ฟังคำของลูก ๆ มาพูดกันอยู่บ่อย ๆ ก็คิดว่า “เมื่อเราแบ่งทรัพย์สมบัติให้
    แล้ว ลูก ๆ ก็คงจะเลี้ยงดูเราให้มีความสุขได้ ไม่ต้องลำบาก”
    เมื่อคิดอย่างนี้แล้ว นางก็แบ่งทรัพย์สมบัติให้แก่ลูกชายหญิงทั้ง ๑๔ คน ๆ ละเท่า ๆ กัน
    แล้วนางก็ไปอยู่อาศัยกลับลูกชายคนโต เมื่อไปอยู่ใหม่ ๆ ก็ได้รับการปฏิบัติ ดูแลอย่างดี แต่เมื่อ
    นานไปลูกสะใภ้ก็เริ่มมีความรังเกียจ พูดจาเสียดสีขึ้นวันละเล็กวันละน้อย พร้อมทั้งไปยุแหย่ให้
    สามีรังเกียจแม่ของตนเอง เมื่อพูดบ่อย ๆ เข้า สามี ก็เห็นคล้อยตามด้วย จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูก
    สะใภ้ได้พูดกับนางว่า:-
    “คุณแม่ความจริงแม่ก็มีลูกชายลูกหญิงตั้งหลายคน ทรัพย์สมบัติทั้งหลายแม่ก็แบ่งให้
    เท่า ๆ กัน มิใช่ว่าฉันจะได้ ๒ ส่วนมากกว่าคนอื่น ๆ แต่ทำไมแม่จึงมาอยู่มากินแต่ที่บ้านฉันคน
    เดียว แม่ไม่รู้จักทางไปบ้านลูกคนอื่นเลยหรือ ?”
  • ไร้ที่พึ่งพาจึงออกบวช
    นางโสณา ได้ฟังคำของลูกสะใภ้แล้ว อีกทั้งลูกชายก็ดูท่าทีคล้อยตามภรรยาของตน นาง
    จึงจำใจห่อของใช้ส่วนตัวไปอาศัยลูกคนต่อ ๆ ไป และเหตุการณ์ก็เป็นไปทำนองเดียวกัน นางไม่
    สามารถจะพึ่งพาอาศัยลูกชายและลูกหญิงทั้ง ๑๔ คนนั้นได้ จึงคิดว่า “จะมีประโยชน์อะไรกับ
    การอาศัยลูกเหล่านี้เราไปบวชเป็นภิกษุณีจะดีกว่า”
    นางโสณา ได้ไปยังสำนักภิกษุณีสงฆ์ ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุณี เพราะความที่
    นางเป็นผู้มีลูกมาจึงได้ชื่อว่า “พหุปตติกาเถรี” นางเองก็คิดว่า “เราบวชในวัยชราไม่ควรที่จะอยู่
    ด้วยความประมาท” จงได้ช่วยนางภิกษุณีทั้งหลายทำวัตรปฏิบัติตามกิจของภิกษุณีสงฆ์ แต่
    เพราะความเป็นผู้บวชใหม่ และอยู่ในวัยชราจึงทำกิจบกพร่อง นางภิกษุณีทั้งหลายจึงกระทำ
    ทัณฑกรรมลงโทษแก่เธอโดยให้เธอทำหน้าที่ ต้มน้ำอุ่นให้ภิกษุณีทั้งหลายสรง ทั้งเช้า-เย็นเป็น
    ประจำบุตรธิดาของเธอได้มาเห็น ก็พากันพูดจาเยาะเย้ยจนเธอรู้สึกสลดใจ
    วันหนึ่ง พระโสณาเถรี ได้ไปหาฟืนและตักน้ำมาไว้ในโรงครัว แต่ยังมิได้ก่อไฟ
    พระเถรีก็คิดว่า “เราไม่ควรประมาท ควรจะอาศัยเวลาและสถานที่อันสงบสงัดนี้ บำเพ็ญ
    สมณธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน” คิดดังนี้แล้วก็ได้พิจารณาอาการ ๓๒ ท่องบนภาวนาไป
    เดินจงกรมไปโดยยึดเสาโรงครัวเป็นแกนกลางเดินวนรอบเสาสำรวมจิตเจริญวิปัสสนา
  • สำเร็จอรหันต์แสดงอภินิหาริย์
    ขณะนั้น สมเด็จพระบรมศาสดา ประทับอยู่ในพระคันธกุฎี ทรงทราบด้วยพระฌาณ จึง
    ทรงเปล่งพระโอภาสรัศมีปานประหนึ่งว่าประทับอยู่ตรงหน้าพระเถรีนั้นแล้วตรัสสอนว่า:-
    “ดูก่อนนพหุปุตติกา ชีวิตความเป็นอยู่เพียงวันเดียวครู่เดียว ของผู้ที่เห็นธรรมอันสูงสุด
    ที่เราได้แสดงแล้ว ดีกว่าประเสริฐกว่าชีวิตความเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นธรรม”

พอสิ้นสุดพุทธดำรัสพระเถรีก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย และ
เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว จึงคิดว่า “เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นมาเพื่อต้องการน้ำอุ่น พอเห็นเรา
แล้วไม่ทันได้ใคร่ครวญ ก็จะพูดล่วงเกินดูหมิ่นเราเหมือนก่อน ก็จะได้รับบาปกรรมอันหนัก เรา
ควรจะทำอะไรพอเห็นที่สังเกตให้พวกเขากำหนดรู้สักอย่างหนึ่ง” แล้วนางก็ยกภาชนะต้มน้ำ
ขึ้นตั้งบนเตาไฟ แต่มิได้ก่อไฟเพียงแต่ใส่ฟืนเข้าไว้ เมื่อนางภิกษุณีทั้งหลายมาที่โรงครัว เพื่อจะ
นำน้ำอุ่นไปสรง เห็นมีแต่ภาชนะต้มน้ำอยู่บนเตาไฟแต่ไม่เห็นไฟ จึงกล่าวว่า:-
“พวกเราบอกให้หญิงแก่คนนี้ต้มน้ำถวายภิกษุณีเพื่อนำไปสรง จนบัดนี้นางก็ยังไม่ได้
ใส่ไฟในเตาเลย ไม่ทราบว่านางมัวทำอะไรอยู่”
พระโสณาเถรี จึงกล่าวว่า:-
“ข้าแต่แม่เจ้า ถ้าท่านทั้งหลายต้องการน้ำอุ่นไปสรง ก็จงตักเอาจากภาชนะนั้นเถิด”
แล้วพระเถรี ก็อธิษฐานเตโชธาตำทำให้น้ำนั้นอุ่นขึ้นทันที
ภิกษุณีทั้งหลายได้ฟังคำของนางแล้วก็คิดว่า “คงจะมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็น
แน่” จึงทดลองใช้มือจุ่มลงในภาชนะ ก็ทราบว่าเป็นน้ำอุ่น จึงตักเอาไปสรงทั่วกัน แต่ว่าตักสัก
เท่าใด น้ำก็ยังปรากฏเต็มภาชนะอยู่เช่นเดิม ภิกษุณีทั้งหลายจึงทราบชัดว่า พระเถรีนี้ สำเร็จเป็น
พระอรหันต์แล้ว ต่างก็พากันตกใจ
นางภิกษุณี ผู้มีวัยอ่อนกว่า ก็ก้มกราบแทบเท้ากล้าวขอขมาโทษว่า “ข้าแต่พระแม่เจ้า
พวกข้าพเจ้าได้พูดจาดูหมิ่นล่วงเกินท่าน พระความเขลาเบาปัญญา มิได้พิจารณาให้รอบครอบ
ตลอดกาลนานมาแล้ว ขอพระแม่เจ้าจงเมตตาอดโทษแก่พวกข้าพเจ้าด้วยเถิด”
ส่วนนางภิกษุณีผู้มีวัยแก่กว่าก็นั่งกระหย่ง (นั่งคุกเข่า) กล่าวขอขมาให้อดโทษานุโทษให้
เช่นกัน โดยขอขมาโทษด้วยคำว่า “ข้าแต่พระแม่เจ้าพวกข้าพเจ้าได้พูดจาดูหมิ่นล่วงเกินท่าน
โดยมิได้พิจารณาให้รอบคอบตลอดกาลนานมาแล้ว ขอท่านจงอเมตตาอดโทษให้พวกข้าพเจ้า
ด้วยเถิด”



  • ได้รับการยกย่องเป็นเลิศทางความเพียร
    ตั้งแต่นั้นมา คุณงามความดีของพระโสณาเถรี ก็ปรากฏเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า
    “พระเถรี ผู้แม้บวชในเวลาแก่เฒ่า ก็ยังสามารถดำรงอยู่ในพระอรหัตผลได้ในเวลาไม่
    นาน เพราะอาศัยความเป็นผู้ปรารภความเพียรไม่เกียจคร้าน”
    พระบรมศาสดา ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้ง
    หลาย ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับแล้ว อาศัยความเป็นผู้ปรารภความเพียร ขยัน ไม่เกียจคร้าน
    ของพระเถรีนี้ จึงได้ทรงสถาปนาพระนางโสณาเถรี นี้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
    ภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นผู้ปรารถนาความเพียร
  • อภิญญา ปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่ง มี ๖ อย่าง
    ๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
    ๒. ทิพพโสต หูทิพย์
    ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
    ๔. ปุพเพนิวาสานุสสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
    ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
    ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
    (๕ อย่างแรกเป็นโลกิยอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา)

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#9 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:49 PM

พระสกุลาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีทิพยจักษุ พระสกุลาเถรี เกิดในตระกูลพราหมณ์ ผู้มีฐานะอยู่ในขั้นมหาเศรษฐี บิดามารดาตั้งชื่อว่า
“สกุลา” เป็นผู้มีจิตศรัทธาน้อมไปในการบรรพชาอันเป็นผลมาจากบุญกุศลเก่าในอดีตชาติอยู่
แล้ว
  • ออกบวชเพราะเบื่อโลก
    ครั้นเมื่อ พระบรมศาสดา เสด็จเที่ยวจาริกเทศนาสั่งสอนเวไนยสัตว์ไปตามคามนิคมน้อย
    ใหญ่ต่าง ๆ ยังหมู่สัตว์ทั้งหลายให้บรรลุมรรคผล ตามอุปนิสัยอำนาจวาสนาบารมีของแต่ละคน
    เสด็จมายังพระนครสาวัตถี ประทับ ณ พระมหาวิหารเชตวันที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย
    นางได้เห็นพระบรมศาสดาผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี
    แล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้แสดงตนเป็นอุบาสิกา ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
    ต่อมาภายหลัง ได้ฟังธรรมในสำนักของพระอรหันต์องค์หนึ่งแล้วเกิดความสลดใจใน
    โลกสันนิวาส จึงได้ออกบรรพชาในสักของภิกษุณี อุตส่าห์บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนาไม่นานนัก
    ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมทั้งวิชชา ๓ และอภิญญา ๖
  • ได้รับการยกย่องเป็นเลิศทางทิพยจักษุ
    พระสกุลาเถรี เมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าเป็นผู้มีความชำนาญในฤทธิ์
    ทั้งหลาย มีทิพพจักขุญาณ ทิพพโสตญาณ และบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น
    ทั้งนี้ ก็ด้วยอานิสงส์จากอดีตชาติ ครั้งพระศาสนาพระพุทธเจ้านามว่า กัสสปะ นางได้
    บวชเป็นปริพาชิกา คือ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา นางได้จุดประทีบโคมไฟถวายบูชาพระ
    เจดีย์ของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยศรัทธาเลื่อมใส จึงเป็นผลส่งให้นางมีความชำนาญใน
    ทิพพจักขุญาณ สามารถมองทะลุฝา ทะลุกำแพง และภูเขาได้ตามความปรารถนา
ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงประกาศยกย่องพระสกุลาเถรีนี้ไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ

  • วิชชา ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ มี ๓ คือ
    ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ให้ระลึกชาติได้
    ๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติเกิดของสัตว์ทั้งหลาย
    ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำอาสวะให้สิ้น

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#10 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:50 PM

พระภัททากุณฑลเกสาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ตรัสรู้เร็วพลันพระภัททากุณฑลเกสาเถรี เป็นธิดาของเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์ บิดามารดาตั้งชื่อให้ว่า
“ภัททา”
  • ลูกปุโรหิตเกิดฤกษ์โจร
    ในวันที่นางเกิดนั้น ได้มีบุตรของปุโรหิตในกรุงราชคฤห์เกิดในวันเดียวกันนี้ด้วย ขณะที่
    เขาคลอดจากครรภ์มารดา ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ บรรดาอาวุธทั้งหลายในบ้านของปุโรหิตเอง
    และในบ้านคนอื่น ๆ ตลอดจนถึงในพระราชนิเวศน์ต่าง ๆ ก็เกิดแสงประกายรุ่งโรจน์ไปทั่วพระ
    นครตลอดคืนยันรุ่ง
    ปุโรหิตทราบในบุพนิมิตดีว่า บุตรของตนเกิดฤกษ์โจร เมื่อเขาโตขึ้นจะต้องเบียดเบียน
    ทำความเดือดร้อนฉิบหายแก่ชาวเมือง จึงเข้าเฝ้าพระราชาแต่เช้าตรู่กราบทูลความให้ทรงทราบ
    โดยตลอดแล้วทูลเสนอแนะว่า ขอพระองค์โปรดรับสั่งให้ประหารชีวิตเขาเสีย เพื่อมิให้เป็นภัยแก่
    ชายเมืองในอนาคต แต่พระราชาตรัสว่า เมื่อเขาไม่ได้เบียดเบียนเราก็ไม่เป็นไร อย่าไปฆ่าเขาเลย
    ปุโรหิตจึงเลี้ยงดูบุตรต่อไป โดยได้ตั้งชื่อให้ว่า “สัตตุกะ”
    สัตตุกะเมื่อโตขึ้นอยู่ในวัยเด็ก นายสัตตุกะก็ได้ ตัดช่องย่องเบาลักขโมยทรัพย์และสิ่ง
    ของมีค่าน้อยบ้างมากบ้างตามแต่จะได้มาเป็นเครื่องเลี้ยงชีพจนได้ชื่อว่าไม่มีบ้างหลังใดที่ไม่ถูก
    ย่องเบาลักขโมยเลย ความเดือดร้อนของชาวเมืองทราบไปถึงพระราชา จึงรับสั่งให้หน้าที่ติดตาม
    จับกุมโจรชั่วนั้นให้ได้ พวกเจ้าหน้าที่ทั้งหลายจึงออกติดตามสืบพบหาจนจับตัวได้แล้วนำมา
    ถวายพระราชาเพื่อทรงวินิจฉัยตัดสินโทษ
    พระราชา รับสั่งให้โบยโจรพร้อมทั้งนำตัวตระเวนออกไปตามถนน ให้ทั่วทั้งพระนคร
    ก่อนแล้วจึงนำออกไปประหารที่เหวสำหรับทิ้งโจร
  • ดอกฟ้าในมือโจร
    ขณะนั้น นางภัททา ธิดาเศรษฐีมีอายุย่างเข้าวัย ๑๖ ปี มีรูปร่างสวยงาม บิดามารดาจึง
    ระวังรักษาให้อยู่บนปราสาทชั้นที่ ๗ ให้หญิงรับใช้หนึ่งคนคอยดูแลรับใช้ของนาง ก็เป็น
    ธรรมดาของหญิงสาวในวัยนี้ ย่อมมีความฝักใฝ่ในชายหนุ่ม ดังนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่นำโจรหนุ่ม
    ตระเวนมาทางบ้านของนาง พอนางเปิดหน้าต่างมองลงไปเห็นโจรเท่านั้นก็เกิดจิตปฏิพัทธ์รักใคร่
    ในตัวโจรทันทีคิดว่า “ชาตินี้ถ้าไม่ได้โจรหนุ่มมาเป็นคู่ครองก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่” และรู้ว่าพวก
    เจ้าหน้าที่กำลังนำโจรไปประหาร ความรู้สึกของนางเหมือนกับกำลังสูญเสียสามีสุดที่รัก ความ
    ทุกข์เศร้าโศกเสียใจสุดจะห้ามก็ตามมา ฝ่ายสาวใช้ เห็นเช่นนั้นจึงรีบแจ้งให้เศรษฐีผู้เป็นบิดามาดา
    ทราบโดยด่วน บิดามารดาของนางพอมาถึง ก็ได้ไต่ถามทราบจากปากของธิดาว่า “ถ้าไม่ได้โจร
    หนุ่มคนนั้นมาเป็นคู่ ก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไป” แล้วก็นอนกลิ้งเกลือกอยู่บนเตียนนอนนั้น
    มารดาจึงพูดอ้อนวอนว่า:-
    “ภัททา ลูกแม่ อย่าทำอย่างนี้เลย อีกไม่นานเจ้าก็จะได้สามีที่มีทรัพย์สมบัติและชาติสกุล
    เสมอกัน”
    “คุณแม่ค่ะ ดิฉันไม่ต้องการชายอื่น ถ้าไม่ได้ชายคนนี้จะขอตายดีกว่า”
    บิดามารดาทั้งสอง ช่วยกันพูดอ้อนวอนอยู่เป็นเวลานาน แต่ก็ไม่เป็นผลด้วยคามรักและ
    ห่วงใยในลูกสาว จึงติดสินบนเจ้าหน้าที่ด้วยทรัพย์จำนวนหนึ่งพันกหาปณะ ขอไถ่ชีวิตโจรหนุ่ม
    คนนั้นโดยให้นำมาส่งที่บ้าน ฝ่ายเจ้าหน้าที่ราชบุรุษทั้งหลาย รับทรัพย์ไปแล้วทำเป็นถ่วงเวลารอ
    จนมืดค่ำ จากนั้นได้นำโจรหนุ่มคนนั้นมามอบให้แก่เศรษฐีแล้ว นำนักโทษอีกคนหนึ่งไป
    ประหารชีวิตแทนแล้วกราบทูลพระราชว่าฆ่าโจรสัตตุกะเรียบร้อยแล้ว
    เศรษฐีรับตัวโจรหนุ่มสัตตุกะไว้แล้ว ให้อาบน้ำชำระร่างกายและมอบเสื้อผ้าชั้นดีสวมใส่
    พร้อมทั้งอาภรณ์เครื่องประดับชั้นดีต่าง ๆ นำไปยังปราสาทของลูกสาว ทำพิธีส่งตัวให้เป็นคู่ผัว
    เมียกันแล้ว บิดามารดาทั้งสองก็กลับไปยังที่พักของตน
  • สันดานโจรไม่เจือจาง
    โจรสัตตุกะมีความสุขอยู่ในบ้านของเศรษฐีซึ่งมีให้พรั่งพร้อมทุกอย่างได้ทั้งภรรยาที่
    แสนสวย ทรัพย์สินเงินทองก็มีให้ใช้อย่างสุขสบายไม่ขัดสน การงานก็มีคนรับให้ทำให้ ไม่ต้อง
    ดิ้นรนขวนขวยใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เขาก็อยู่ได้ไม่นานเพราะนิสัยสันดานโจรอดที่จะทำชั่วไม่ได้ เขา
    คิดวางแผนฆ่าภรรยาเพื่อจะนำเอาเครื่องประดับอันมีค่านั้นไปขายแล้วนำเงินมาหาความสุขด้วย
    การดื่มสุรา แล้วเขาก็เริ่มดำเนินการตามแผน ด้วยการแสดงกิริยาให้ภรรยาพอใจแล้วกล่าวว่า:-
    “น้องหญิง การที่พี่รอดชีวิตจากการถูกประหารอย่างหนึ่ง และการที่ได้มาแต่งงานอยู่
    กับน้องหญิงอีกอย่างหนึ่ง ก็ด้วยอานุภาพของเทวดาที่สิงสถิต ณ ภูเขาทิ้งโจร เพราะพี่ได้บนบาน
    บวงสรวงกับท่านเข้าไว้ ขณะนี้ก็สำเร็จสมประสงค์ทั้ง ๒ ประการแล้ว พี่เห็นว่าควรจะทำการแก้
    บนถวายเครื่องพลีกรรมแก่เทวดานั้น ขอให้น้องหญิงจงจัดเครื่องพลีกรรมสังเวยให้พร้อมแล้ว
    ประดับอาภรณ์ให้สวยงามไปร่วมทำพิธีพลีกรรมที่ภูเขาทิ้งโจรนี้กับพี่เถิด”
    นางภัททา ด้วยความรักสามีสุดหัวใจ จึงเห็นชอบเชื่อตามคำสามีทุกประการ โดยให้
    ทาสชายหญิงจัดเครื่องพลีกรรมเรียบร้อยแล้ว ขึ้นนั่งรถคันเดียวกันกับสามีไปยังเหวที่ทิ้งโจร เมื่อ
    มาถึงเชิงเขา โจรสัตตุกะบอกกับภรรยาว่า “ให้เหล่าบริวารที่ติดตามมานั้นกลับไปก่อน เราสอง
    คนเท่านั้นที่จะขึ้นไปทำพลีกรรม” เมื่อบริวารแยกทางกลับไปแล้วก็ช่วยกันถือเครื่องสักการะ
    สังเวยขึ้นไปบนยอดเขา นางภัททารู้สึกมีความสุข ความอิ่มใจที่ได้ช่วยกิจของสามี และได้
    โอกาสมาทัศนาโลกภายนอก แต่พอถึงยอดเขา โจรสัตตุกะก็พูดกับนางด้วยเสียงอันแข็งกร้าวเด็ด
    ขาดว่า:-
    “ภัททา เจ้าจงเปลื้องผ้าห่มออกแล้วถอดเครื่องประดับทั้งหมดมัดห่อรวมกันไว้เดี๋ยวนี้”
    นางภัททา ได้ฟังคำและเห็นกิริยาของสามีเปลี่ยนไปเช่นนั้นก็ตกใจ ทำอะไรไม่ถูก
    ละล่ำละลักถามสามีว่า:-
    “นายจ๋า ดิฉันทำอะไรผิดหรือ ?”
    “นางหญิงโง่ ความจริงเราจะควักตับกับหัวใจของเจ้าถวายแก่เทวดาที่นี่แล้วยึดเอา
    เครื่องอาภรณ์ของเจ้าทั้งหมดไปใช้จ่ายหาความสุข”
    “นายจ๋า ก็ทั้งตัวดิฉันกับเครื่องประดับทั้งหมดนี้ก็เป็นของท่านอยู่แล้วทำไมท่านจะต้อง
    ฆ่าฉัน เพื่อยึดเครื่องประดับด้วยอีกเล่า”
  • ปัญญามิได้มีไว้เพื่อต้มแกงกิน
    แม้นางจะอ้อนวอนชี้แจงอย่างไร เข้าโจรโง่ใจร้ายก็ไม่ยอมรับฟัง ตั้งหน้าแต่จะฆ่านางเอา
    เครื่องประดับอย่างเดียว นางตกอยู่ในสถานการณ์จนตรอกมองเห็นความตายอยู่แค่เอื้อม จึงรวบ
    รวมสติไว้แล้วคิดว่า “ขึ้นชื่อว่าปัญญาที่ติดกับตัวมาตั้งแต่เกิดนั้น มิได้มีไว้เพื่อต้มแกงกิน แต่มีไว้
    เพื่อพิจารณาหาหนทางดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาชีวิต เราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อเอาชีวิต
    รอด” เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงกล่าวกับสามีโจรชั่วว่า:-
    “เอาละนายจ๋า วันท่านท่านถูกราชบุรุษเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับกุมพาตระเวนประจานไป
    ทั่วเมืองก่อนนำมาประหารที่ภูเขาทิ้งโจรนี้ ดิฉันได้อ้อนวอนบิดามารดาให้สละทรัพย์เป็นอันมาก
    ไถ่ชีวิตท่านแล้วนำมาแต่งงานกับดิฉัน และดิฉันก็มีความรักต่อท่านอย่างสุดหัวใจ วันนี้ท่านมี
    ความประสงค์จะฆ่าดิฉันให้ได้ เพื่อต้องการเครื่องประดับ แต่ก็ไม่เป็นไร ก่อนที่ดิฉันจะตายขอ
    ให้ดิฉันได้แสดงความรักต่อท่านเป็นครั้งสุดท้ายสักหน่อยเถิด เพราะเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้
    ใกล้ชิดท่าน ขอให้ท่านจงยืนตรงนั้นแล้วดิฉันจะขอสวมกอดท่านทั้ง ๔ ทิศหลังจากนั้นท่านก็จง
    ประหารดิฉันเถิด”
  • โจรชั่วสิ้นชีพ
    โจรชั่วสัตตุกะเห็นกิริยาอาการและฟังคำพูดของนางดูเป็นปกติสมจริงจึงอนุญาตให้นาง
    กระทำตามที่ขอแล้วไปยืนตรงที่นางบอกบนยอดเขา ขณะนั้น นางภัททาผู้เป็นภรรยาได้ทำการ
    ประทักษิณเดินเวียนขวารอบสามี ๓ รอบ แล้วไหว้ทั้ง ๔ ทิศ พร้อมกับกล่าวว่า


“นายจ๋า นี่เป็นการเห็นท่านเป็นครั้งสุดท้าย นับต่อแต่นี้การที่ดิฉันจะได้เห็นท่าน และ
ท่านจะได้เห็นดิฉันก็คงไม่มีอีกแล้ว” เมื่อกล่าวจบนางก็สวมกอดข้างหน้าแล้วก็เปลี่ยนมากอด
ข้างหลัง ขณะที่โจรชั่วเผลอตัวอยู่นั้น นางได้ผลักโจรตกลงไปในเหว ร่างของโจรชั่วแหลกเหลว
เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จบชีวิตอันชั่วร้ายของเขาที่เหวทิ้งโจรนั้น
นางภัททา หลังจากผลักโจรชั่วผู้สามีตกลงไปในเหวแล้ว คิดว่า “ถ้าเรากลับบ้านไป
บิดามารดาก็จะถามว่า สามีเจ้าหายไปไหน ถ้าเราบอกความจริงว่าเราฆ่าเขาตายแล้ว ก็จะพากัน
ประณามติเตียนว่า นางเด็กดือ เจ้าอ้อนวอนพ่อแม่ให้เสียทรัพย์เพื่อไถ่ชีวิตโจรเอามาทำผัว แต่พอ
ได้เขามาแล้วกลับฆ่าเขาตาย เจ้าทำอย่างนี้ได้อย่างไร แม้เราจะบอกว่าเขาต้องการฆ่าดิฉันเพื่อ
ต้องการเครื่องประดับท่านทั้งสองก็จักไม่เชื่อเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราไม่ควรกลับบ้าน ควรจะไป
บวชในสำนักใดสำนักหนึ่งดีกว่า”

  • ถอนผมบวชเป็นเดียรถีย์
    ครั้นนางภัททาคิดดังนี้แล้ว ก็ทิ้งห่อเครื่องประดับไว้บนยอดเขานั้นแล้วเดินลงจากภูเขา
    ไป เดินลัดเลอะไปตามป่า ได้พบสำนักของพวกนิครนถ์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ขอ
    บรรพชาในสำนักนั้น พวกนิครนถ์ถามนางว่า “จะบวชโดยวิธีไหน ?” นางจึงตอบวา “วิธีใดที่
    จัดว่าเป็นสิ่งสูงสุดในสำนักของท่าน ก็ขอให้ดิฉันบรรพชาด้วยวิธีนั้นนั่นแหละ”
    พวกนิครนถ์จึงเอาก้านตาลถอนผมนางจนหมดศีรษะ ถือว่าเป็นวิธีบวชที่สูงสุดของ
    สำนัก เมื่อนางบวชแล้วผมที่งอกขึ้นมาใหม่ก็ม้วนกลมเป็นกลุ่มเป็นก้อนไม่เหยียดยาวเหมือนเดิม
    ดังนั้น นางจึงได้ชื่อว่า “กุณฑลเกสา”
    เมื่อนางบวชแล้ว ได้ศึกษาศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ในสำนักนั้นจนจบสิ้นนางเห็นว่าสำนัก
    นี้ไม่มีศิลปะวิทยาที่สูงไปกว่านี้อีกแล้ว จึงออกเที่ยวแสวงหาบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลายแล้วขอศึกษาสิ่งที่
    บัณฑิตเหล่านั้นรู้ทั้งหมด นางเที่ยวแสวงหาบัณฑิตด้วยการโต้วาทะ โดยวิธีใช้กิ่งหว้าปักบนกอง
    ทรายแล้วประกาศว่า “ถ้าผู้ใดสามารถที่จะโต้วาทะกับเราได้ก็จงเหยียบกิ่งหว้านี้” โดยมีข้อตกลง
    กันว่า “ถ้าผู้ที่โต้วาทะชนะนางเป็นคฤหัสถ์ นางก็จะขอยอมเป็นทาสรับใช้ แต่ถ้าผู้โต้วาทะชนะ
    เป็นนักบวช นางก็จะขอบวชเป็นศิษย์ในสำนักนั้น”
    นางถือกิ่งหว้าเที่ยวประกาศท้าได้วาทะไปตามหมู่บ้านตำบลต่าง ๆ ชาวบ้านพอได้ทราบ
    ข่าวว่านางภัททามาทางบ้านของตนก็จะพากันหลีกหนีไป นางเข้าไปถึงตำบลใดก็จะปักกิ่งหว้า
    บนกองทรายแล้ว นั่งรอผู้ที่รับคำท้ามาเหยียบกิ่งหว้าของนาง บางตำบลนางรอถึง ๗ วัน ก็ไม่มีผู้
    ใดกล้ามาเหยียบกิ่งหว้าของนางเลย นางจึงต้องถอนกิ่งหว้าแล้วหลีกต่อไปที่อื่น นางได้ถือกิ่งหว้า
    ท่องเที่ยวไปโดยทำนองนี้ จนได้ชื่อใหม่ว่า “นางชัมพุปริพาชิกา” (นางปริพาชิกาไม้หว้า, ชัมพุ
    = ไม้หว้า)
  • โต้วาทีกับพระสารีบุตร
    ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่พระเชตะวันวิหาร กรุงสาวัตถี ฝ่ายนาง
    กุณฑลเกสา ก็ดินทางมาถึงกรุงสาวัตถีแล้วปักกิ่งหว้าบนกองทราย ประกาศท้าโต้วาทะเหมือน
    เดิมแล้วออกไปหาอาหารบริโภค
    ขณะนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร เดินผ่านมาเห็นเด็ก ๆ กำลังยืนรุมล้อมดูกิ่งหว้าบน
    กองทรายพร้อมกับวิจารณ์กันเซ็งแซ่ เกิดความสงสัยจึงเข้าไปถามเด็ก ๆ ได้ทราบความโดยตลอด
    แล้วจึงบอกกับเด็ก ๆ ว่า:-
    “เจ้าหนูทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงเหยียบกิ่งหว้านั้นเถิด”
    “พวกกระผมกลัวขอรับ พระคุณเจ้า”
    “ไม่ต้องกลัวหรอก พวกเจ้าเป็นคนเหยียบ เราจะเป็นผู้แก้ปัญหาเอง”
    เด็กบางพวกไม่กล้า บางพวกก็กลัว ๆ กล้า ๆ แต่ผลที่สุดก็ช่วยกันเหยียบกิ่งหว้าและกอง
    ทรายนั้นจนกระจัดกระจาย นางชัมพุปริพาชิกา มาเห็นแล้วก็ดุต่อว่าเด็กเหล่านั้น แต่พอเด็ก ๆ
    บอกว่า “พระคุณเจ้ารูปนั้น ใช้ให้เหยียบ” นางจึงเข้าไปถามพระเถระว่า:-
    “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านจักโต้วาทะถามปัญหากับดิฉันหรือ ?”
    “ใช่แล้ว น้องหญิง” พระเถระตอบ
    นางฟังคำของพระเถระแล้วคิดว่า “เราควรจะให้ชาวพระนครสาวัตถีได้รู้กำลังปัญญา
    ของเราว่ายิ่งใหญ่หาผู้เทียมทานไม่ได้” จึงแจ้งให้ชาวเมืองมาชมมาฟังกันให้มาก ๆ ชาวพระ
    นครพอทราบข่าวต่างก็พากันไปห้อมล้อมจนแน่นขนัด
    ลำดับนั้น พระเถระได้ให้โอกาสแก่นางชัมพุปริพาชิกา เป็นผู้ถามปัญหาขึ้นก่อน นางก็
    ถามศิลปวิทยาที่ตนเรียนรู้มาตามลัทธิตน ถามจนหมดความรู้ที่นางมีอยู่ พรเถระก็ตอบแก้ได้ทั้ง
    หมด นางก็ตกใจเพราะไม่เคยถามใครมากอย่างนี้มาก่อนเลย จึงนิ่งเฉยอยู่ พระเถระจึงกล่าวว่า
    “ท่านถามเราหมดแล้ว ต่อไปนี้เราจะขอถามท่านบ้าง”
    “ถามเถิด พระคุณเจ้า”
    “ที่ชื่อว่าหนึ่ง นั้นคืออะไร ?”
    “พระคุณเจ้า ดิฉันไม่ทราบ เจ้าข้า”
  • ขอบวชในพระพุทธศาสนา
    นางชัมพุปริพาชิกา ยอมพ่ายแพ้ต่อพระเถระด้วยปัญหาเพียงข้อเดียวเท่านั้น นางหมอบ
    ลงกราบแทบเท้าพระเถระ ขอศึกษาวิชาพุทธมนต์ในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งขอบรรพชาและ
    ถึงพระเถระเป็นสรณะ แต่พระเถระบอกว่าขอให้นางถึงพระพุทธองค์เป็นสรณะเถิด แล้วพานาง
    ไปยังพระวิหารเชตวัน นำเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงราบจริยาอัธยาศัยของนางดี
    แล้ว จึงตรัสพระธรรมเทศนาคาถาภาศิตว่า:-
    “ผู้ใดกล่าวคาถาที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้ตั้ง ๑,๐๐๐ คาถา
    ผู้กล่าวคาถาที่ประกอบด้วยประโยชน์
    แม้เพียงคาถาเดียว
    ยังผู้ฟังให้สงบระงับได้ ชื่อว่า ประเสริฐกว่าแล”


พอจบพระธรรมเทศนาคาถาภาษิต ทั้งที่นางกำลังยืนอยู่นั้น ยังไม่ทันจะนั่งลงก็ได้บรรลุ
พระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในขณะนั้น แล้วกราบทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์
ทรงอนุญาตแล้วส่งนางให้ไม่บวชในสำนักภิกษุณีสงฆ์
เมื่อนางบวชแล้ว ได้ชื่อว่า “กุณฑลเกสาเถรี” ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า
“พระภัททากุณฑลเกสาเถรีนี้ ยิ่งใหญ่จริงหนอ บรรลุพระอรหัตผลในเวลาจบคาถาเพียง ๔ บาท
เหล่านั้น”
พระศาสนาทรงปรารภเหตุนี้ จึงทรงสถาปนาพระภัททากุณฑลเกสาเถรี ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน




โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#11 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:53 PM

พระภัททกาปิลานีเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ พระภัททกาปิลานีเถรี เป็นธิดาของเศรษฐีชื่อโกสิยพราหมณ์ ในนครสาคลนคร มารดา
ชื่อสุจิบดี เมื่อเจริญวัยขึ้นมาได้ทำอาวาหมงคลเป็นภรรยาของปิปผลิมานพ ตระกูลสัสสปะ
เรียกชื่อตามตระกูลว่า “กัสสปะ” นับว่าเป็นสามีภรรยาที่แปลกเพราะทั้งคู่ไม่ยินดีในการถูกเนื้อ
ต้องตัวกัน แม้จะนอนบนเตียงเดียวกันแต่ก็ขึ้นคนละข้าง และมีแจกันดอกไม้กั้นตรงกลาง อยู่
ครองคู่กันจนบิดามารดาของทั้งส่องฝ่ายถึงแก่กรรม ทรัพย์สมบัติทั้งหลายจึงตกอยู่ในปกครองดู
แลรับผิดชอบของคนทั้งสอง
  • ไม่ทำบาปแต่ต้องคอยรับบาป
    เนื่องด้วยตระกูลทั้งสองนั้น เป็นตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์มาก เมื่อรวมเป็นตระกูลเดียวกันก็
    ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยง และคนงานจำนวนมาก ทั้งสองสามีภรรยาต้องบริหารสั่งการทุก
    อย่าง วันหนึ่ง ขณะที่กัสสปะผู้สามีออกไปตรวจดูการทำไร่ไถนาอยู่นั้น เห็นนกกาจิกกินสัตว์
    เหล็กสัตว์น้อยแล้วรู้สึกสลดใจที่ตนเองจะต้องคอยรับบาปกรรมที่คนอื่นทำ แม้นางภัททกาปิลานี
    ใช้ให้ทาสและกรรมกรนำเมล็ดถั่วเมล็ดงามาตากที่ลานหน้าบ้าน เห็นนกกามาจิกกินตัวหนอนก็
    เกิดสลดใจเช่นกัน
    ดังนั้น เมื่อสองสามีภรรยาอยู่กันพร้อมหน้าจึงปรึกษากันแล้วมีความเห็นตรงกันว่าไม่
    ควรจะมานั่งคอยรับบาปกรรมที่คนอื่นกระทำเพื่อตนเลย จึงพร้อมใจกันมอบทรัพย์สมบัติทั้ง
    หมดให้แน่หมู่ญาติและทาสกรรมกรแบ่งกันไปดูแลส่วนตนทั้งสองได้ปลงผมแล้วนุ่งห่ม
    ผ้ากาสาวพัสตร์ อธิษฐานเพศบรรพชิต บวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลกแล้วเดินทางออกจาก
    บ้านไปด้วยกัน พอถึงทางแยกสองแพร่ง กัสสปะได้ไปทางขวา และได้พบพระบรมศาสดาที่ใต้
    ร่วมพหุปุตตนิโครธ แล้วกราบทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
  • บวชในสำนักปริพาชก
    ส่วนนางภัททกาปิลานี แยกไปทางซ้าย เดินทางไปพบสำนักของปริพาชก จึงบวชอยู่ใน
    สำนักนั้นถึง ๕ ปี เนื่องด้วยขณะนั้นพระพุทธองค์ยังมิทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธ
    ศาสนา ต่อมาเมื่อพระนางปชาบดีโคตมีได้บวชแล้ว นางจึงได้มาบวชในสำนักของนางภิกษุณี ได้
    ศึกษาพระกรรมฐานบำเพ็ญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยวิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔
    วิโมกข์ ๓ อภิญญา ๖ เป็นผู้ชำนาญในบุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ญาณเป็นเครื่องระลึกชาติ
    ดังนั้นพระบรมศาสดา ขณะประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมื่อ ทรงสถาปนา
    ภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระภัททกาปิลานีเถรี ใน
    ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ




  • วิโมกข์ ความหลุดพ้นจากกิเลส มี ๓ ประการ
    ๑. สุญญตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตาคือความว่าง
    ๒. อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจังแล้วถอนนิมิตได้
    ๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกข์แล้วถอนความปรารถนาได้

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#12 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:54 PM

พระภัททากัจจานาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงอภิญญา พระภัททากัจจานาเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งโกลิยวงศ์ ในพระนคร
เทวทหะ เป็นพระกนิษฐภคินีของพระเทวทัต บรรดาพระประยูรญาติได้ขนานพระนามว่า
“ภัททากัจจานา” หรือที่นิยมเรียกพระนามว่า “ยโสธราพิมพา”
  • พอประสูติโอรสพระสามีก็หนีบวช
    เมื่อพระนางเจริญวัยขึ้นจนมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา ได้รับอภิเษกเป็นอัครมเหสีของเจ้า
    ชายสิทธัตถะ บรมโพธิสัตว์ แห่งศากยวงศ์ ในพระนครกบิลพัสดุ์ และเมื่อพระชนมายุ ๒๙
    พรรษา ได้ประสูติพระโอรสพระนามว่า “พระราหุลกุมาร”
    ในวันที่พระราหุลกุมารประสูตินั้นเจ้าชายสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ได้เสด็จออกทรงผนวช
    และทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ ปี ก็ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากนั้น
    พระพุทธองค์ ก็ทรงจาริกไปตามคามนิคมต่าง ๆ เพื่อเทศนาสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ได้บรรลุอมฤต
    ธรรม ตามสมควรแก่อำนาจวาสนาบารมีแล้วได้เสด็จสงเคราะห์พระประยูรญาติ ณ หบิลพัสดุ์บุรี
    ยังพระประยูรญาติศากยวงศ์ มีพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาเป็นประธาน ได้ดื่มน้ำอมฤตธรรม
    จนได้บรรลุอริยภูมิตั้งแต่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์เป็นจำนวนมาก
    ในคราวที่พระบรมศาสดา เสด็จโปรดพระประยูรญาติครั้งนี้ พระราหุลกุมาร ก็ได้ติด
    ตามองค์พระบิดาบรรพชาเป็นสามเณร นอกจากนี้ศากยกุมารทั้งหลายจากสกุลอื่น ๆ ก็เสด็จออก
    บวชเป็นจำนวนมาก ครั้นกาลต่อมา พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาเข้าสู่พระปรินิพพานแล้ว จาก
    นั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี พร้อมด้วยขัติยนารีชาวศากยะ ๕๐๐ นาง ก็พากันเสด็จออก
    บรรพชาในสำนักพระศาสดากันทั้งสิ้น

ทางด้านพระนครกบิลพัสดุ์ ก็ว่างเว้นกษัตริย์ที่จะปกครองดูแล หมู่อำมาตย์ราชปุโรหิต
ทั้งหลายได้ประชุมปรึกษาเห็นพ้องต้องกันได้ทำพิธีราชาภิเษกอัญเชิญเจ้าชายมหานามศากยราช
ผู้เป็นพระเชษฐโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ขึ้นครอบครองราชย์สมบัติในกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อ
ไป

  • ออกบวชตามพระสวามีและโอรส
    ฝ่ายพระนางยโสธราพิมพาราชเทวี พระชนนีของพระราหุลกุมาร ทรงว้าเหว่าโศกาดูร
    ด้วยพระดำริว่า “โลกสันนิวาสนี้ มิมีอะไรแน่นอน พระสวามีและลูกน้อยต่างก็ได้เสด็จออก
    บรรพชา อีกทั้งพระประยูรญาติทั้งชายหญิง ก็พากันออกบวชตามเสด็จ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมี
    ประโยชน์อะไรแก่เราในเพศฆราวาส เราควรสละสมบัติทั้งปวงแล้วออกบวชโดยเสด็จพระภัสดา
    ในบัดนี้ จะประเสริฐกว่า”
    พระนางจึงเสด็จเข้าไปกราบทูลลาพระเจ้ามหานามะ แล้วพร้อมด้วยพระนาง
    รูปนันทาชนบทกัลยาณีและสาวสนมกำนัล รวมประมาณ ๕๐๐ นาง เสด็จไปยังพระวิหารเชตวัน
    เมืองสาวัตถี ถวายอัญชลีแล้วกราบทูลขออุปสมบท สมเด็จพระบรมศาสดาประทานสงเคราะห์
    ด้วยครุธรรม ๘ ประการ
    พระนาง ครั้นบวชแล้วได้นามปรากฏว่า “ภัททากัจจานาเถรี” ได้เรียนพระกรรมฐาน
    ในสำนักพระบรมศาสดาแล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง
    ๔ ประการ
    เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าพระเถรีเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญในอภิญญาทั้ง
    หลาย นั่งขัดสมาธิครั้งเดียวสามารถระลึกชาติได้ถึงหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป
    เมื่อคุณความสามารถปรากฏเช่นนั้น พระบรมศาสดา ได้ทรงสถาปนาแต่งตั้งพระเถรีนี้
    ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#13 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 02:56 PM

พระกีสาโคตมีเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง พระกีสาโคตมีเถรี ถือกำเนิดในสกุลคนเข็ญใจในกรุงสาวัตถี บิดามารดาตั้งชื่อให้นางว่า
“โคตมี” แต่เพราะความที่นางเป็นผู้มีรูปร่างผอมบอบบาง คนทั่งไปจึงพากันเรียกนางว่า
“กีสาโคตมี”
  • เงินทองของเศรษฐีกลายเป็นถ่าน
    ในกรุงสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีคนหนึ่งมีทรัพย์สินเงินทองมากมายถึง ๔๐ โกฏิ แต่ต่อมา
    ทรัพย์เหล่านั้นกลายสภาพเป็นถ่านไปทั้งหมด เศรษฐีจึงเกิดความเสียดายเศร้าโศกเสียใจ กินไม่
    ได้นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอมไปจากเดิม มีสหายคนหนึ่งมาเยี่ยมเยียนได้ทราบสาเหตุความ
    ทุกข์ของเศรษฐีแล้ว จึงแนะนำอุบายที่จะให้ถ่านเหล่านั้นกลับมาเป็นเงินเป็นทองดังเดิมว่า:-
    “แน่ะสหาย ท่านจงนำถ่านทั้งหมดนี้ออกไปวางที่ริมถนนในตลาด ทำทีประหนึ่งว่านำ
    สินค้าออกมาขาย ถ้ามีคนผ่านไปผ่านมาพูดว่า “คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
    เป็นต้น แต่ท่านกลับเงินเอาทองมานั่งขาย” ถ้าคนที่พูดนั้นเป็นหญิงสาว ท่านก็จงสู่ขอนางมา
    เป็นสะใภ้ แล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดนั้นให้แก่เธอ ท่านก็จงอาศัยเลี้ยงชีพอยู่กับเธอนั้น แต่ถ้าคนที่
    พูดเป็นชายหนุ่ม ท่านก็จงยกธิดาของท่าน ให้แก่เขาแล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดให้แก่เขาโดยทำนอง
    เดียวกัน
  • ถ่านกลับเป็นเงินเป็นทองดังเดิม
    เศรษฐีได้ฟังสหายแนะนำแล้วเห็นดีด้วย จึงทำตามสหายแนะนำทุกอย่าง ประชาชนที่
    ผ่านไปผ่านมาต่างก็พูดกันว่า ““คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ท่าน
    กลับมานั่งขายถ่าน”
    เศรษฐีตอบว่า “ก็เรามีแต่ถ่านอย่างเดียว สิ่งอื่น ๆ ของเราไม่มี”
    วันนั้น นางกีสาโคตมีเดินเข้าไปธุระในตลาดเห็นเศรษฐีแล้วนึกประหลายใจจึงถามว่า
    “คุณพ่อ คนอื่น ๆ คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ทำไมคุณพ่อกลับ
    เงินเอาทองเล่า”
    “เงินทองที่ไหนกัน แม่หนู” เศรษฐีกล่าว
    “คุณพ่อ ก็ที่กองอยู่นี่ไง” พูดแล้วนางก็กอบเต็มมือให้เศรษฐีดู ทันใดนัน เศรษฐีก็เห็น
    ถ่านในกำมือของนางกลายเป็นเงินเป็นทองจริง ๆ
    จากนั้น เศรษฐีได้สอบถามถึงสถานที่อยู่และตระกูลของนางแล้ว ได้สู่ขอนางมาทำพิธี
    อาวาหมงคลกับบุตรชายของตนแล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏินั้นให้แก่นาง ทรัพย์เหล่านี้ก็กลับเป็น
    เงินเป็นทองดังเดิม
  • อุ้มศพลูกหาหมอรักษา
    นางได้อยู่ร่วมกับสามีจนมีบุตรหนึ่งคนในขณะที่บุตรของนางอยู่ในวัยพอเดินได้เท่านั้น
    ก็ถึงแก่ความตาย นางห้ามมิให้คนนำบุตรของนางไปเผาหรือไปทิ้งในป่าช้า เพราะนางไม่เคยเห็น
    คนตาย จึงอุ้มร่างบุตรชายที่ตายแล้วนั้นเที่ยวเดินถามตามบ้านเรือนต่าง ๆ ว่ามียารักษาบุตรของ
    นางบ้างหรือไม่ คนทั้งหลายพากันคิดว่า “นางคงจะเป็นบ้า จึงเที่ยวหายารักษาคนตายให้ฟื้น”
    อุบาสกผู้มีปัญญาคนหนึ่งเห็นกิริยาของนางแล้วก็คิดว่า “นางคงจะมีบุตรคนแรกจึงรัก
    บุตรมาก และคงจะไม่เคยเห็นคนตาย จึงไม่รู้ว่าความตายเป็นอย่างไร เราควรจะแนะนำทางให้
    นางดีกว่า” จึงกล่าวกับนางว่า:-
    “แม่หนู ฉันเองไม่รู้จักยารักษาลูกของเธอหรอก แต่พระสมณโคดม ขณะนี้ประทับอยู่ที่
    พระวิหารเชตวัน พระองค์ท่านรู้จักยาที่รักษาลูกของเธอได้”
    นางรู้สึกดีใจที่ทราบว่ามีคนสามารถรักษาลูกน้องของนางมให้หายได้ จึงอุ้มลูกน้อยรีบ
    มุ่งหน้าตรงไปยังพระวิหารเชตวัน เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้วทูลถามหายาที่จะ
    มารักษาลูกของนางให้หายได้
    พระพุทธองค์รับสั่งให้นางไปหาเมล็ดพันธุผักกาดหยิบมือหนึ่ง มาเป็นเครื่อปรุงยา แต่
    มีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ผักกาด ที่ได้จากบ้านที่ไม่เคยมีคนตายมก่อนเท่านั้นจึงสามารถใช้
    เป็นเครื่องปรุงยาได้
  • พระศาสดาบอกยาให้
    ในดวงจิตของนางคิดว่า ของสิ่งนี้หาไม่ยาก นางอุ้มร่างลูกน้อยเข้าไปในหมู่บ้าน ออก
    ปากขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดตั้งแต่บ้านหลังแรกเรื่อยไป ปรากฏว่าทุกบ้านมีเมล็ดพันธุ์ผักกาดทั้งนั้น
    แต่พอถามว่าที่บ้านนี้เคยมีคนตายหรือไม่ เจ้าของบ้านต่างก็ตอบเหมือนกันอีกว่า “ที่บ้านนี้ คนที่
    ยังเหลือยู่นี้น้อยว่าคนที่ตายไปแล้ว” เมื่อทุกบ้านต่างก็ตอบนอย่างนี้นางจึงเข้าใจว่า “ความตาย
    นั้นเป็นอย่างไร และคนที่ตาย ก็มิใช่ว่าจะตายเฉพาะลูกของเธอเท่านั้น ทุกคนเกิดมาก็ต้องตาย
    เหมือนกันหมด” นางจึงวางร่างลูกน้อยไว้ในป่าแล้วกลับไปกราบทูลพระบรมศาสดาว่า “ไม่
    สามารถจะหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากบ้านเรือนที่ไม่เคยมีคนตายได้”
    พระพุทธองค์ได้สดับคำกราบทูลของนางแล้วตรัสว่า:-
    “โคตมี เธอเข้าใจว่าลูกของเธอเท่านั้นหรือที่ตาย อันความตายนั้นเป็นของธรรมดาที่มีคู่
    กับสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลก เพราะว่ามัจจุราชย่อมฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยเต็มเปี่ยม
    ไปด้วยกิเลสตัณหา ให้ลงไปในมหาสมุทรคือ อบายภูมิ อันเป็นเสมือนว่าห้องน้ำใหญ่ ฉะนั้น”
    นางได้ฟังพระดำรัสของพระบรมศาสดาจบลงก็ได้บรรลุอริยผลดำรงอยู่ในพระโสดาบัน
    แล้วกราบทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดารับสั่งให้ไปบรรพชาในสำนักของภิกษุณีสงฆ์ นาง
    บวชแล้วได้นามว่า “กีสาโคตมีเถรี”
    วันหนึ่งพระเถรีได้ไปทำความสะอาดโรงอุโบสถ เห็นแสงประทีปที่จุดอยู่ลุกโพลงขึ้น
    แล้วหรี่ลงสลับกันไป นางจึงถือเอาดวงประทีปนั้นเป็นอารมณ์ กรรมฐานว่า “สัตว์โลกก็เหมือน
    กับแสนประทีปนี้ มีเกิดขึ้นและดับไป แต่ผู้ถึงพระนิพพานไม่เป็นอย่างนั้น”


ขณะนั้น พระผู้มีประภาคประทับอยู่ภายในพระคันธกุฎิ ทรงทราบด้วยพระญาณว่านาง
กำลังยึดเอาเปลวดวงประทีปเป็นอารมณ์กรรมฐานอยู่นั้น จึงทรงแผ่พระรัศมีไปปรากฏประหนึ่ง
ว่าพระองค์ประทับนั่งตรงหน้าของนางแล้วตรัสว่า:-
“อย่างนั้นแหละโคตมี สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นและดับไป เหมือนเปลวดวงประทีปนี้
แต่ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น ความเป็นอยู่แม้เพียงชั่วขณะเดียวของผู้เห็นพระ
นิพพาน ย่อมประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานนั้น”
เมื่อสิ้นสุดพระพุทธดำรัส นางก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ดำรงตนเป็นพระเถรีผู้เคร่งครัด
ในการใช้สอยบริหาร ยินดีเฉพาะผ้าไตรจีวรที่มีสีปอน ๆ และเศร้าหมองเที่ยวไปทุกหนทุกแห่ง
ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงได้ประทานแต่งตั้งพระเถรีนี้ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง


โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#14 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 03:00 PM

พระสิงคาลมาตาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา พระสิงคาลมาตาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์ เดิมมีชื่ออย่างไรไม่ปรากฏ
เมื่อเจริญวัยได้แต่งงานกับชายหนุ่มผู้มีชาติตระกูลและทรัพย์เสมอกัน อยู่ครองเรือนจนมีบุตร
หนึ่งคน บรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อบุตรชายของนางวา “สิงคาลกุมาร” ด้วยเหตุนี้ ชนทั้งหลายจึง
เรียกนางว่า “สิงคาลมาตา”
  • สิงคาลกุมารไหว้ทิศ ๖
    สิงคาลกุมาร เมื่อเจริญวัยเติบโตขึ้น เป็นผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติไหว้ทิศทั้ง ๖ เป็นประจำ
    ทุกวัน คือ
    ๑. ทิศเบื้องหน้า (ทิศตะวันออก)
    ๒. ทิศเบื้องขวาง (ทิศใต้)
    ๓. ทิศเบื้องหลัง (ทิศตะวันตก)
    ๔. ทิศเบื้องซ้าย (ทิศเหนือ)
    ๕. ทิศเบื้องล่าง
    ๖. ทิศเบื้องบน
    วันหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จออกจากพระวิหารเวฬุวันเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
    ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาละ ผู้ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ มีผมและเสื้อผ้าเปียก กำลังประคองอัญชลีไว้
    ทิศทั้ง ๖ อยู่จึงตรัสถามว่า
    “สิงคาละ เพราะเหตุไร เธอจึงลุกขึ้นแต่เช้า ทั้งผมและเสื้อผ้าเปียกชุ่มทำการไหว้ทิศทั้ง
    ๖ อยู่อย่างนี้
    สิงคาลกุมาร กราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก่อนที่บิดาของพระพุทธเจ้าจะตายได้สั่งให้ข้าพระองค์ไหว้ทิศ
    ทั้ง ๖ เหล่านี้ ข้าพระองค์สักการะ เคารพ นับถือ และบูชาคำสั่งของบิดา จึงทำอย่างนี้พระเจ้าข้า”
    สิงคาละ ตามธรรมเนียมแบบแผนของพระอริยะนั้น เขาไม่ไหว้ทิศ ๖ กัน อย่างนี้ แต่
    ทิศทั้ง ๖ ของพระอริยะนั้น คือ
    ๑. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา
    ๒. ทิศเบื้องขวาง ได้แก่ ครูอาจารย์
    ๓. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา
    ๔. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย
    ๕. ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ทาสกรรมกร
    ๖. ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์
ซึ่งกุลบุตรจะต้องบำรุงดูแลรักษาและป้องกันตามสมควรแก่ฐานะ และหน้าที่อย่างถูก
ต้องเหมาะสม แล้วพระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิต ยังสิงคาละให้รื่นเริงบันเทิงใจ เกิด
ศรัทธาเลื่อมใสประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต แล้วเสร็จกลับสู่
พระเวฬุวัน

  • สิงคาลมาตาออกบวช
    ต่อมา สิงคาลมาตา หลังจากที่สามีได้ถึงแก่กรรมแล้ว และบุตรชายของนางก็เข้าถึงพระ
    รัตนตรัย นางได้ฟังพระธรรมกถาของพระบรมศาสดาแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า จึง
    เข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาต่อพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรง
    อนุญาตให้ไปบวชในสำนักภิกษุณีสงฆ์ ครั้นบวชแล้วศรัทธาของนางกลับเพิ่มทวียิ่งขึ้น
    วันหนึ่ง นางไปยังพระวิหารที่ประทับของพระบรมศาสดาเพื่อฟังธรรม เมื่อเห็นพระ
    พุทธองค์เท่านั้น ยังมิทันที่จะเข้าไปกราบถวายบังคม ได้แต่ยืนเพ่งมองดูพระสิริสมบัติของ
    พระทศพล อยู่ด้วยกำลังศรัทธาอย่างแรงกล้า
    ขณะนั้น พระบรมศาสดาทรงทราบว่านางเป็นผู้ดำรงมั่นในศรัทธา จึงตรัสพระธรรม
    เทศนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แม้นางเองก็อาศัยศรัทธาเป็นที่ตั้ง ส่งจิตไปตามกระแสพระ
    ธรรมเทศนา ได้บรรลุพระอรหัตผลในขณะที่ยืนอยู่นั้น
    ในสมัยที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายใน
    ตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ได้ทรงสถาปนา พระสิงคาลมาตาเถรี ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศ
    กว่าภิกษุณีสาวิกาทั้งหลายในฝ่ายศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นกิเลสด้วยศรัทธา

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#15 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 29 January 2007 - 04:59 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ

#16 ดวงตะวันแก้ว

ดวงตะวันแก้ว
  • Members
  • 122 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 08:51 AM

อนุโมทนาบุญ สาธุ

#17 wir

wir
  • Members
  • 290 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 01:15 PM

อนุโมทนาบุญ สาธุ..ค่ะ น่าจะมีผู้รวบรวมเฉพาะพระเถรีทีมีทั้งหมดจัดทำเป็นรูปเล่มและประวัติ ไว้ให้ผู้หญิงที่ชอบอ่าน และชอบสร้างบารมีไว้เป็นตัวอย่างการสร้างบารมีนะคะ

#18 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 02:31 PM

แบบนี้อย่าลืมมาบวชกันนะ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#19 จุลจักร

จุลจักร
  • Members
  • 44 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 03:03 PM

อนุโมทนา สาธุ

ข้อความข้างต้นเข้าใจว่านำมาจาก 84000. org

#20 yunt

yunt
  • Members
  • 6 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 04:14 PM

อนุโมธนาบุญที่ กรุณาค้นคว้ามาให้อ่านเป็นความรู้จะกอปปี้ไปเผยแผ่ให้นิสิตอ่านต่อ nerd_smile.gif



#21 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 31 January 2007 - 12:45 AM

it would be great if the is some images here and there on the pages. some colorful text wouldn-t hurt either happy.gif other than that thank you for the good --story-- and sathu kah happy.gif
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#22 huy072

huy072
  • Members
  • 168 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:เชียงใหม่

โพสต์เมื่อ 03 February 2007 - 07:53 PM

โอ้ สาธุๆอ่านจบแล้วหนึ่งบทเหลืออีกเพียบเลยจะทยอยอ่านนะคะ

#23 Pui Pim-ampai

Pui Pim-ampai
  • Members
  • 145 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Nonthaburi

โพสต์เมื่อ 10 February 2007 - 12:30 AM

อยากบวชบ้างค่ะ....กราบอนุโมทนาบุญนะคะ......สาธุดังๆเลย..