เมื่อโลกกำลังหมดยุค KPI
ทุกคนที่อยู่ในโลกธุรกิจแทบทุกบริษัท กำหนดตัวชี้วัดและประเมินผลด้วย ระบบ KPI หรือ Key Performance Indicator จะแยกกันตามแผนกต่างๆ ในแต่ละแผนกก็จะมีตัวชี้วัดกัน 3 ตัวบ้าง 5 ตัวบ้าง 10 ตัวบ้าง และวัดผลกันปลายปีทีเดียว และกำหนดตัว KPI จะเป็นการกำหนดบนพื้นฐานที่คาดว่าจะเป็นไปได้ แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราจะได้ข่าวว่า Dtac ได้ยกเลิกระบบการวัดผลแบบ KPI แล้ว แต่เปลี่ยนวิธีการวัดผลเป็น OKR แทน
OKR คืออะไร OKR ย่อมาจาก Objective Key Result
ต้นกำเนิดการวัดผลชนิดนี้ นำมาจาก Google
และวันนี้ Google ได้ใช้วิธีการนี้ในการบริหารจัดการทั้งองค์กร
OKR ทำงานอย่างไร OKR จะทำวิธีนี้
1. ให้แต่ละแผนกกำหนด Objective หรือวัตถุประสงค์ขึ้นมาว่าจะทำงานบนวัตถุประสงค์อะไรก็ว่าไป
2. ใน 1 Objective จะมีตัวชี้วัดหรือ Key Result อยู่ไม่เกิน 3 ตัว หรืออย่างมากไม่เกิน 5 ตัว
3. แล้วนำแต่ละ Objective ไปลงลึกถึงแต่ละบุคคลให้แต่ละบุคคลมี Objective ของตัวเอง พยายามให้ 1 คนมี Objective ให้น้อยที่สุดเพื่อให้ Focus และแต่ละ Objective มี Key Result 3 ตัว
4. ทุกการกำหนด Key Result หรือตัวชี้วัด ให้กำหนดที่ 60 % ของสิ่งที่คาดว่าจะทำได้ (ไม่ใช่ 100 % เหมือนเดิม)
5. จะทำการ Revise OKR ทุกๆ 3 เดือน และเปลี่ยน OKR ใหม่ทุกๆ 3 เดือนเช่นกัน ระบบการวัดผลชนิดนี้ เริ่มนิยมใช้กันมากในบริษัทที่เป็น Tech Company แต่คาดว่าเร็วๆ นี้ในหลายๆ บริษัทจะนำมาใช้มากขึ้น
ข้อดีของระบบนี้คือ
1. มีวัตถุประสงค์ชัดเจน
2. ตัวชี้วัดชัดและน้อย ทำให้ Focus ได้ง่าย
3. เปลี่ยนทุก 3 เดือน ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจได้ตามสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไปเร็ว
แต่สังเกตอะไรอย่างมั้ยครับ ระบบนี้ให้วัดผลที่ 60 % คือถ้าคิดว่าทำได้แค่ไหน ให้บวก Target ขึ้นไปอีก 40 % หรือเกือบเท่าตัว ถามว่าทำไม เหตุผลเพราะวันนี้โลกธุรกิจเปลี่ยนไปมาก การทำงานก็เปลี่ยนไป เน้นเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ
ผมเชื่อว่าที่ Google คิดที่ 60 % เพราะ Google เชื่อว่าสามารถที่จะใช้ Drive ประสิทธิภาพได้สูงกว่าที่ทุกคนคิดและไม่แปลกใจเลยที่เราจะเห็น Google เติบโตแล้วเร็วและมีประสิทธิภาพ เพราะคิดแบบนี้ครับ
แต่สิ่งที่เราจะเห็นกันในโลกธุรกิจแน่ๆ คือ โลกธุรกิจเปลี่ยนเร็วมากจนถึงวันที่เราไม่สามารถรอประเมินผลรายปีได้แล้ว ต้องเปลี่ยนกันทุก 3 เดือน และที่เราเชื่อว่าเราทำงานหนักแล้วให้เชื่อได้เลยว่า ที่เราทำสามารถทำเพิ่มได้ 2 เท่า แต่ก็แสดงว่าอีกไม่นาน เราน่าจะเห็นการชี้วัดในระดับรายเดือนได้เช่นกัน
โดย : คุณกัมพล ธนาปัญญาวรคุณ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอท้อปพลัส จำกัด