ไปที่เนื้อหา


Peacefulness ™

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 02 Jan 2006
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Mar 10 2007 08:04 PM
****-

กระทู้ที่ฉันเริ่ม

วันมาฆบูชา คืออะไร

03 March 2007 - 12:51 AM

มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็น วันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่

วั น "มาฆบูชา" เป็น วันบูชาพิเศษ ที่ต้องทำใน วันเพ็ญ เดือนมาฆะ หรือ ในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้า ปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ ) ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณ เวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน

วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า
เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
  1. วันนั้น เป็น วันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
  2. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (สาเหตุของการชุมนุม)
  3. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภท ฉฬภิญญา คือ ได้ อภิญญา ๖
  4. พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับ การอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)


โอวาทปาฏิโมกข์ เป็น หลักคำสอนที่เป็นหัวใจ ของ พระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน
  1. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)
  2. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
    ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
    ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต เป็นต้น ก็จะเป็นคนดีไปหมด
    ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)
  3. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิด มรรคสามัคคี คือ อริยมรรคมี องค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และ ปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่ง กิเลส ตัณหา หรือ ความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.
  • ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าว คำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
  • ฝึกกาย ระวังเสมอ มิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดจนถึงการเบียดเบียนทางกาย (อนูปฆาโต)
  • ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และ ทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
  • รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร ตลอดจน รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)
  • ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ) ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา การภาวนา หมายถึง การใช้ทั้ง สมาธิ และ วิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส (อธิจิตฺเต จ อาโยโค) เป็นการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ มิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (สจิตฺตปริโยทปนํ)
จุดหมาย หลักการ และ วิธีการ ที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตนให้เป็น อย่างบรรพชิต และ เป็นอย่างสมณ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และ เป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)

หมายเหตุ

** อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา การพูดจาชอบ
สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ
สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

อภิญญา ๖
อภิญญา คือความรู้อันยอดยิ่งมี ๖ ประการได้แก่
๑. แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ)
๒. หูทิพย์ (ทิพยโสต)
๓. รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ)
๔. ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
๕. ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ)
๖. ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป - คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)

สาเหตุของการชุมนุม
คงเนื่องมาจากภิกษุเหล่านั้นล้วนเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน และในวันเพ็ญ เดือนมาฆะ เป็นวันที่ทาง ศาสนาพราณ์ ได้ประกอบ พิธีศิวาราตรี คือ การลอยบาปในแม่น้ำคงคา และประกอบพิธีสักการบูชาพระเป็นเจ้าในเทวสถาน เมื่อถึงวันนั้น พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าซึ่งเคยประกอบพิธีดังกล่าวจึงต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์


ที่มา :
คลิ๊กที่นี้

The basic knowledge of Buddhism to become a better Buddhist Edition 2

พุทธกิจ ๔๕ พรรษา (สำหรับ อ่าน และ ฟัง)

หัวใจของพระพุทธศาสนา

ข้าพเจ้าใคร่ขอ อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ทุกๆท่าน ไว้ ณ กระทู้นี้ด้วย อีกนะครับ


สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ


อุบาสกธรรม ๗

01 March 2007 - 09:59 AM

เนื่องจากเมื่อวานนี้ ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังทำงานอยู่หน้าทีวี ซึ่งขณะนั้นเอง สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ได้ทำการเผยแพร่สารคดีที่เกี่ยวกับหลักคุณธรรม อุบาสกธรรม ๗ ที่ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงปฏิบัติตนในฐานะ ทรงเป็นพุทธมามกะ คนหนึ่งมาโดยตลอด ดังนั้นจึงขอนำมาให้ ท่านผู้สนใจทุกๆท่าน ได้โปรดพิจารณากัน ไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

อุบาสก แปลว่า ผู้นั่งใกล้ชิดพระรัตนตรัย หมายถึง ผู้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ผู้นับถือศาสนาอย่างมั่นคง ถ้าเป็นหญิง ใช้ว่า อุบาสิกา

อุบาสก
เรียกกร่อนไปว่า ประสก คำว่า อุบาสิกา เรียกกร่อนไปว่า สีกา ก็มี, เรียก ชายหญิง ที่รักษา
อุโบสถศีล โดยค้างคืนที่วัดในวันพระว่า อุบาสกอุบาสิกา

อุบาสกอุบาสิกา
ปกติหมายถึงชาวบ้านทั่วไปที่นับถือ
พระพุทธศาสนา บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา ไปวัดทำบุญให้ทาน ถือศีล อุปถัมภ์บำรุงวัด ช่วยเหลือกิจการของวัดเป็นประจำ
ที่มา : คลิ๊กที่นี้

(๒๔๗) อุบาสกธรรม ๕ (ธรรมของอุบาสกที่ดี, สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสกอย่างเยี่ยม — qualities of an excellent lay disciple)
  1. มีศรัทธา (to be endowed with faith)
  2. มีศีล (to have good conduct)
  3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล คือ มุ่งหวังจากการกระทำและการงาน มิใช่จากโชคลาง และสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ (not to be superstitious, believing in deeds, not luck)
  4. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา (not to seek for the gift-worthy outside of the Buddha’s teaching)
  5. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา (to do gis first service in a Buddhist cause)
ธรรม ๕ อย่างนี้ ในบาลีที่มาเรียกว่า ธรรมของอุบาสกรัตน์ (อุบาสกแก้ว) หรือ อุบาสกปทุม (อุบาสกดอกบัว)

(๒๔๘) อุบาสกธรรม ๗ (ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก — qualities conducive to the progress of a lay disciple)
  1. ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ (not to fail to see the monks)
  2. ไม่ละเลยการฟังธรรม (not to neglect to hear the Teaching)
  3. ศึกษาในอธิศีล (to train oneself in higher virtue)
  4. มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ นวกะ และปูนกลาง (to be full of confidence in the monks, whether elder, newly ordained or mid-term)
  5. ไม่ฟังธรรมด้วยตั้งใจจะคอยเพ่งโทษติเตียน (to listen to the Dhamma not in order to criticize)
  6. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ (not to seek for the gift-worthy outside of the Buddha’s teaching)
  7. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา (to do his first service in a Buddhist cause)
ที่มา : คลิ๊กที่นี้

พุทธกิจ ๔๕ พรรษา (สำหรับ อ่าน และ ฟัง) (^-^)

19 February 2007 - 04:18 AM




เชิญพิจารณาทดลองฟังก่อนได้นะครับ 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า ตอนที่ 001.mp3
(พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก มีทั้งหมด 45 ตอน)


พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ และพุทธจริยา ๓ ประการ
The basic knowledge of Buddhism to become a better Buddhist Edition 2

ข้าพเจ้าใคร่ขอ อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ทุกๆท่าน ด้วยนะครับ

สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ

>>> วันนี้วันพระ <<< วันศุกร์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550

26 January 2007 - 03:19 AM

วันนี้ วันพระ วันศุกร์ ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550



มหัศจรรย์วันพระ
..ความจริงที่ไม่เคยเปิดเผย - ความพิเศษในวันพระ ปรากฏการณ์พิเศษในอีกมิติที่เรามองไม่เห็น ความสัมพันธ์ของเหล่าเทวดาชั้นต่างๆ มหัศจรรย์วันพระ..ความจริงที่ไม่เคยเปิดเผย - ความพิเศษในวันพระ ปรากฏการณ์พิเศษในอีกมิติที่เรามองไม่เห็น 25.15 นาที


สื่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ คลิ๊กที่นี้


วันพระใหญ่ คือ อะไร ต่างจากวันพระอื่นๆ ที่ตรงไหน
ปฏิทินวันพระ ประจำปี พ.ศ. 2550

สำหรับท่านผู้ใคร่อยากพิจารณา ปล่อยสัตว์น้ำ เป็นทาน ก็เชิญโปรดพิจารณาข้อมูลด้านล่างนี้ ได้ตามสะดวกเลยนะครับ
ปลาดุก กิโลกรัมละ ประมาณ 35-45 บาท ถ้าขนาดกลาง จะได้ ประมาณ 4 - 5 ตัวครับ
หอยขม กิโลกรัมละ ประมาณ 20-30 บาท ได้หลายๆ ตัวเลยละครับ (กลิ่นจะแรงนิดหนึ่งนะครับ)
- รู้สึกว่า หอยแครง จะอยู่ในน้ำเค็มนะครับ ดังนั้นโปรดพิจารณากันดีๆนะครับ เพราะข้าพเจ้าเคยได้รับคำแนะนำจากคนขายว่า ปล่อยได้ แต่ข้าพเจ้ามาทราบทีหลังว่า...สามารถปล่อยในลงแม่น้ำ(จืด)ได้จริง แต่...อยู่รอดได้หรือป่าวนั้น ข้าพเจ้าก็ยัง สงสัยและแคลงใจ อยู่เช่นกันครับ...
ปลาไหล กิโลกรัมละ ประมาณ 120 - 180 บาท ถ้าขนาดกลาง จะได้ ประมาณ 7 - 10 ตัวครับ
เต่า นี้ ข้าพเจ้าไม่แน่ใจนะครับ...ไว้มาเพิ่มเติมทีหลัง ถ้าได้มีประสบการณ์ นะครับ

และ ถ้าเป็นไปได้ เวลาเราซื้อสัตว์น้ำเหล่านี้ โปรดลองพิจารณา เชิญชวนผู้ที่เราซื้อ มาร่วมกันปล่อยกับเราด้วยนะครับ (วันพระทั้งที เนอะๆๆ ) เพราะ จากประสบการณ์ส่วนตัวนั้น ท่านเหล่านั้นมักจะ ถือโอกาสร่วมบุญกับเราด้วย (ถ้าเราได้ลองถามเค้าดูนะครับ ) ไม่มากก็น้อยนะครับ

ข้าพเจ้าขอ อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ทุกๆท่าน ด้วยครับ

สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ

วันนี้ วันที่ 20 มกราคม 2550 คล้ายวันเกิดของ ท่านคุณยาย

20 January 2007 - 09:11 PM

ท่านคุณยายอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง จะมีอายุ 98 ปี ในปี พ.ศ.2550
ถ้าหากว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ นะครับ