-ให้มีความอยากนั่ง และ นั่งอย่างสบาย มีความสุขในการนั่ง- พอนั่งปุ๊ปก็หมดหน้าที่ของตา หรือ ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของใจแล้ว
- ให้รักษาอารมณ์สบายตลอดเวลาทั้งในการนั่งและช่วงอื่น ๆ เพราะว่าอารมณ์สบายจะทำให้เกิดความง่าย ง่ายต่อการนึกนิมิต ง่ายต่อการหยุดนิ่ง ง่ายต่อการเข้ากลาง ง่ายต่อการเข้าถึงกายภายใน
ความสบายมี 2 อย่าง คือ เกิดขึ้นเอง กับ เราสร้างขึ้น ความสบายที่เกิดขึ้นเอง จู่ๆ ก็เกิดขึ้นเอง ส่วนความสบายที่เราสร้างขึ้นมาทำได้....
โดย 1. ห่างจากบุคคล สิ่ง ที่ทำให้ไม่สบายใจ
2. หาสิ่งที่ทำให้สบายใจ เช่น ชมนกชมไม้ ฟังเพลง อยู่สงบคนเดียว- ให้รักษาอารมณ์สบายก่อนที่จะนั่งจนเกิดความรู้สึกอยากนั่ง มีความพอใจในการนั่ง เห็น ไม่เห็นเป็นเรื่องรอง(ไม่สำคัญ)
- นิมิต คำภาวนา มีไว้กันความฟุ้ง ความง่วง ถ้าไม่ฟุ้ง ไม่ง่วง ก็ให้จรดเข้าภายใน หรือจรดเข้าศูนย์กลางกาย อย่าอยากได้ อยากเห็น เพราะเราจะเผลอไปเร่ง แล้วดึงประสาทตา ปวดขมับ เกร็งกล้ามเนื้อ ท่องไว้ ๆ ถ้าเราได้ด้วยความอยาก ถึงจะใสแค่ไหน ก็ไม่เอา ให้ได้ด้วยความสบายอย่างเดียว
- การปฏิบัติธรรม ให้มีมรรคผล นิพพาน เป็นแก่นสาร ไม่หวังลาภ ยศ สรรเสริญ ถ้าหวังอย่างนั้น จะทำให้จิตไม่นิ่ง ต้องทำใจให้บริสุทธิ์ คิดเสมอว่า เรียนไปทำไม เอาจริงไหม ปล่อยใจเลื่อนลอยไปที่อื่นหรือเปล่า
- จริงวันนี้ ได้วันนี้ จริงพรุ่งนี้ ได้พรุ่งนี้- อย่าใช้ความหยาบในการปฏิบัติเพื่อหาความละเอียด เช่นอารมณ์เศร้าหมอง ขุ่นมัว ลมหายใจเร็ว แรง จิตใจสั่น ไหว ริบรัว ฯลฯ
- ใจที่มีพลัง จะต้องเป็นใจที่เป็นกลาง ๆ ตั้งมั่น มั่นคง
- แม้เราจะไม่เข้าถึงธรรมในวันนี้ แต่อารมณ์สบาย คือ ของขวัญอันยิ่งใหญ่แก่จิตใจ ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงธรรมในวันหน้า
- จิต มีลักษณะเป็นดวง จึงเรียกว่า ดวงจิต เห็น = มองห่าง ๆ เหมือนของสองสิ่ง ได้ = มองใกล้ ๆ หรือ เข้า ๆ ออก ๆ เป็น = เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มั่นคง กลืน แยกไม่ออก
- ความเบา ความสบาย เป็นสิ่งที่เมื่อนั่งแล้วต้องเริ่มทำ ไม่ว่าจะได้ธรรมะในระดับใดก็ตาม
- ชัดไม่ชัด ไม่สำคัญ สำคัญว่ากลางหรือเปล่า นิมิตสัดส่ายเคลื่อนไหว อย่าตาม!!! จรดใจนิ่ง ๆ เข้ากลางอย่างเดียว แล้วจิตก็จะรวมลงสู่กลางเอง
- นึกดวงแก้ว ก็นึกแบบช้าง อย่าให้มีลีลา หรือมีพิธีรีตองมากมาย การนึกก็นึกอย่างสบาย นึกเห็น ก็เห็น เพราะใจเป็นธาตุสำเร็จอยู่แล้ว ให้มีความมั่นใจ ความมั่นใจเท่านั้นที่จะสร้างความมั่นใจต่อ ๆ ไป
- อย่ากลัวเสียเวลา อย่ากลัวเสียหน้า อย่ากลัวว่าจะไม่ได้
- เป็นพระภายนอก 1. สันโดษ ไม่คลุกคลีด้วยคนหมู่มาก 2. ไม่สะสม ไม่เห็นแก่ลาภ 3. ไม่อยากเด่น ไม่อยากดัง 4. อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นไปเพื่อบุญกุศลล้วน ๆ
- อย่าท้อใจ อย่าน้อยใจ เพราะเมื่อกระแสใจเสื่อมคุณภาพ บาปจะเข้าครอง ต้องปลุกใจให้ฮึดสู้ นั่งให้สนุก เบิกบาน ให้เป็นบุญบันเทิงให้ได้
- อย่าเสียดายความคิดเก่า ๆ จงสลัดทิ้งออกไป ตัดใจให้เหมือนตายจาก- เรื่องหยาบ ๆ ภายนอก ถ้าดูเบา จะมีผลต่อภายใน
- ถ้าไม่ฝึกจรดศูนย์กลางกายตลอดเวลา เวลานั่งใจจะรวมได้ช้า ต้องมัวปัดของเก่าออก ทำให้เสียเวลา
- ถ้าเห็นภาพต้นไม้ คน สัตว์ อย่าไปสนใจ เพราะใจเริ่มเป็นสมาธิ จึงจะเห็นภาพ ให้ดูเฉย ๆ ดูจุดที่เล็กที่สุด เดี๋ยวภาพก็จะเปลี่ยนไปเอง เปลี่ยนไปสู่ความไม่เปลี่ยน
- ความง่ายเกิด เพราะเราทำจิตให้คิดว่าง่าย ความยากเกิด เพราะเราทำจิตให้คิดว่ายาก ถ้ายาก เด็กทำไม่ได้หรอก อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ อย่ากลัวว่าจะได้ช้า
- อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ เพราะดวงธรรมที่โตเท่ากับฟองไข่แดงของไข่ไก่ มีในมนุษย์ทุกคน ถ้าไม่มีก็เป็นคนไม่ได้ ถ้าดวงนี้แตกดับ กายก็แตกดับดวงธรรมมีกันทุกคน เพียงแต่ไม่เห็น ถ้าใจยังสัดส่ายอยู่
- อย่านั่งไปบ่นไป ไม่เห็นมีอะไร ๆ ๆ ๆ ให้เฉย จะได้นิสัยอุเบกขา ใจจะได้เป็นกลาง ๆ ถ้าส่วนไหนตึง นั่นพยายามเกินไป อย่าฝืน ให้ปรับ- จุดเริ่มต้นที่ไหนก็ได้ แต่ส่งท้ายต้องศูนย์กลางกาย ช่วงแรกใจอาจจะอยู่ข้างหน้า หรือที่ไหนก็ไม่รู้ อย่ากังวล ปล่อยไป เดี๋ยวจะเข้าศูนย์กลางกายเอง แม้ไม่เห็น แม้ไม่ชัด แต่ให้ใจอยู่กลางท้อง พร้อมความหวังว่าจะได้รักษาใจให้สบาย เดี๋ยวได้แน่
- ถ้าใจยังไม่พร้อมที่จะนึก อย่าเพิ่งนึก ให้วางใจเฉย ๆ จงคอยด้วยใจที่เยือกเย็น วางใจในที่สบาย ๆ การวางใจเฉย ๆ ไม่ใช่ช้า เพราะใจเฉย เป็นใจที่ใกล้กับใจละเอียดแล้ว
- ยิ่งอยากก็ยิ่งยาก เลิกอยากก็เลิกยาก จำไว้......... ผู้ที่สว่างเดี๋ยวนี้ ก็คือผู้ที่เคยฟุ้งมาก่อน ผู้ที่จิตตั้งมั่นเดี๋ยวนี้ ก็คือผู้ที่เคยมืดมาก่อน
- เมื่อจิตหยาบ ให้ทำให้นิ่งก่อน พอจิตละเอียด จะกระดิกจิตถึงดวงแก้ว ถึงองค์พระได้ ถ้าไปนึกตอนทิ่จิตหยาบ จะเครียด เพราะมีความอยากนำหน้า ต้องทำให้นิ่งก่อน
- ทำไมฟุ้ง ทำไมคิดหลายเรื่อง เพราะจิตกำลังหาที่สบาย เมื่อยังไม่พบที่ชอบก็แสวงหาต่อไป เมื่อพบที่ชอบก็หยุด การที่มีความคิดเหลือเฟือ ไม่ใช่ว่าฝึกจิตไม่ได้ เพราะความคิดเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของจิต
- เมื่อเข้าถึงกำเนิดความสุข แหล่งของความสุขที่ศูนย์กลางกาย จิตก็จะไม่ไปไหน มีสุข เกิด ความพอใจ พอเหมาะ พอดี พอเพียง แค่ส่งจิตถึงศูนย์กลางกายนิดเดียว แล้วจิตถอน ก็ได้บุญมากแล้ว หรือแค่เห็นแสงแว๊บนิดเดียว ชีวิตวันนั้นก็มีความสุขแล้ว คุ้มค่าแล้ว เหมือนคนเล่นน้ำ เอาเท้าจุ่มน้ำตื้น ๆ ก็ยังชื่นใจ
- ถ้าอยากได้เร็ว จะได้ช้า ถ้าไม่กลัวช้า จะได้เร็ว ให้ตัดใจ หักใจ ห้ามใจ ของหยาบ ๆ ก่อน เรื่องข้างในมีอีกเยอะ อย่าไปเลอะเรื่องข้างนอก พลังใจเป็นต่อ เพราะใจจ่อศูนย์กลางกาย ไฟฟ้าที่ลืมปิด ชีวิตที่ลืมศูนย์กลางกาย น่าเสียดายจังน่ะสายน้ำอาจหมุนวน สายลมอาจเปลี่ยนทิศ แต่สายใยของชีวิต จะไม่เปลี่ยนทิศจากศูนย์กลางกาย