ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

เรื่องสั้น: กายนคร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 18 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 02:06 AM

อะไรเอ่ย ? กายนคร

กายนคร

โดย

สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ป.ธ.๙ ) วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร

มีเมืองหนึ่งชื่อว่า กายนคร ( เมืองกาย ) มีเนื้อที่ยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ กว้าง ๑ ศอก
มีกำแพง ๔ ชั้น
ชั้น ๑ ชื่อ โลมา ชั้น ๒ ชื่อ ตโจ ชั้น ๓ ชื่อ มังสะ ชั้น ๔ ชื่อ อัฎฐิ

มีประตู ( ทวาร ) ๙ แห่ง
จักษุทวาร ๒ เป็นประตูเข้ามหรสพ โสตทวาร ๒ เป็นประตูเข้าเสียงต่างๆ
ฆานทวาร ๒ เป็นประตูระบายลมเข้าออก มุขทวาร (ปาก) ๑ เป็นประตูเข้าเสบียงอาหาร
วัจจทวาร(ทวารหนัก) ๑ เป็นประตูระบายของโสโครก ปัสสาทวาร ๑ เป็นประตูระบายน้ำโสโครก
มีปราสาท ๕ หลัง
๑ ) จักษุประสาท เป็นที่ทอดพระเนตรมหรสพ ๒ ) โสตประสาท เป็นที่ทรงประทับสดับเสียงดนตรี
๓ ) ฆานประสาท ที่ประทับประดับประดาพระวรกาย ๔ ) ชิวหาประสาท ที่ประทับเสวยพระกระยาหาร
๕ ) กายประสาท ที่ประทับบรรทมพักผ่อน

ผู้สร้างกายนคร คือ พระเจ้าอวิชชาและพระนางโมหาราชเทวี เมื่อสร้างแล้ว ทรงมอบให้พระราช-โอรส คือเจ้าชาย จิตตราช เป็นผู้ครอง

เจ้าชาย จิตตราช มีขุนนางผู้ใหญ่ ๔ คือ ขุนโลโภ ขุนราโค ขุนโทโส และ ขุนโมโห
มีขุนคลัง ขื่อ ขุนมัจฉริยะ ( ตระหนี่ ) เจ้ากรมวัง ชื่อ ขุนพยาบาท อำมาตย์ ชื่อ ขุน ทิฎฐิมานะ ( ดื้อรั้น )
ที่ปรึกษาใกล้ชิด ชื่อ ขุนมิจฉัตตะ ( ความเห็นผิด )


วันหนึ่งเจ้าชาย จิตตราช ทรงรำพึงว่า
“ เรามีเมืองกว้างขวาง มีพระราชวังสวยงาม มีพระราชทรัพย์บริบูรณ์แต่ยังไม่มีมเหสี ”
มิจฉัตตะอำมาตย์ จึงกราบทูลว่า “ มีเมืองหนึ่ง ชื่อ เมือง ปัจจยาการนคร พระราชาผู้ครองเมือง นามว่า พระเจ้าเวทนา ทรงมีพระราชธิดา ๓ องค์ ชื่อ เจ้าหญิงตัณหา เจ้าหญิงราคา เจ้าหญิงอรดี ถ้าทรงปรึกษาพระบิดาพระมารดา ท่านอาจไม่เห็นด้วย ควรเสด็จไปโดยพระองค์เองโดยไม่ต้องทูลพระมารดาพระบิดา ข้าพระองค์จะตามเสด็จไปด้วย ”
เป็นอันว่าเจ้าชายจิตตราชและอำมาตย์มิจฉัตตะก็หนีออกจากกายนครไป เจ้าชายจิตตราช ทรงม้าพระที่นั่ง ชื่อ อิริยาบถ ส่วนอำมาตย์มิจฉัตตะขี่ม้าอีกตัวไป เดินทางจนถึงป่าใหญ่ ชื่อ ป่าวัฎฏะ ( ป่าเวียนว่ายตายเกิด ) ทางเข้าป่าพบศิลาจารึกความว่า

“ พระเจ้าเวทนาผู้ครองเมืองปัจจยาการนคร มีพระราชธิดา ๓ องค์ ชื่อ เจ้าหญิงตัณหา เจ้าหญิงราคา และเจ้าหญิงอรดี ถ้าบุรุษใดมีปัญญาสามารถตอบปัญหา ๕ ข้อได้จะยกเจ้าหญิงทั้ง ๓ ให้เป็นมเหสีและให้ครองเมืองปัจจยาการนคร แต่ถ้าตอบไม่ได้ต้องเป็นทาสรับใช้เจ้าหญิงทั้ง ๓ ”

เจ้าชายจิตตราชทรงดีพระทัย ว่ามีทางครองเจ้าหญิงงามทั้ง ๓
ระหว่างนั้นเองก็มีนางยักษ์ผู้เฝ้าป่าวัฎฏะ ชื่อ นางยักษ์วัฎฏะทุกขีเมื่อเห็นผู้ล่วงล้ำเข้าเขตของตนจึงเข้าไล่จับมาเป็นอาหาร อำมาตย์มิจฉัตตะ เมื่อเห็นภัยมาจึงรีบขี่ม้าหนีทิ้งเจ้าชายจิตตราช ไว้เพียงลำพัง นางยักษ์วัฎฏะทุกขีเข้าขวาง
เจ้าชายจิตตราชไว้และบอกว่าท่านต้องเป็นอาหารของนางในวันนี้ เจ้าชายจิตตราช ตรัสตอบไปว่า
“ ท่านไม่อาจจับเรากินเป็นอาหารได้ เพราะเรามีฤิทธานุภาพมาก ( มหิทธานุภาวํ )
เราล่องหนหายตัวได้ ( อสรีรํ ) มีกำลังไปทางไหนได้รวดเร็วทันใจ ( ลหุกํ )
ไปทางบกทางน้ำทางอากาศไกลแค่ไหนก็ไปได้ ( ทูรงคมํ ) ใครๆยากที่เห็นตัวเรา ( สุทุททสํ ) ”

นางยักษ์วัฎฏะทุกขี กล่าวว่า “ ถึงท่านจะมีฤทธานุภาพอย่างไรก็หนีไม่พ้นข้าพเจ้า อย่าว่าแต่ท่านผู้เป็นมนุษย์เลย แม้นาค ครุฑ เทวดา อินทร์ พรหม เมื่อหลงมาในป่าวัฎฏะ ก็ไม่พ้นอำนาจข้าพเจ้าที่สร้างทุกข์ให้แก่ทุกคนที่อยู่ในป่านี้ไปได้ ”

ในขณะที่เจ้าชายจิตตราช จะเสียทีนางยักษ์วัฎฏะทุกขี พลันก็มีฤาษีตนหนึ่งมาช่วย ท่านชื่อ ฤาษีไตรลักษณญาณ ซึ่งอาศัยอยู่ ณ.จิตตบรรพต ทรงทราบด้วนญาณ จึงเหาะมาช่วยเจ้าชายจิตตราช ฝ่ายนางยักษ์วัฎฏะทุกขี พอเห็นฤาษีมาตกใจเพราะเคยถูกฤาษีไตรลักษณญาณ ปราบปรามมาก่อน จึงรีบหายหนีไป


เมื่อสนทนากับเจ้าชายจิตตราช ทราบวัตถุประสงค์การมาว่าจะไปตอบปัญหาเพื่อครองเจ้าหญิงงาม ๓ องค์ จึงทูลเจ้าชายจิตตราช ว่า

“ เจ้าหญิงทั้ง ๓ องค์ท่านรู้จักดี เป็นคนสวยจริงแต่นิสัยไม่ดีทุกคน คือ
เจ้าหญิงตัณหา มีนิสัยอยากได้ไม่รู้จักพอ ยิ่งได้มากยิ่งชอบ ไม่สนใจว่าจะได้มาทางดีทางชั่ว เอาทั้งนั้น
เจ้าหญิงราคา มีนิสัยรักง่ายหน่ายเร็ว โลเลไม่แน่นอนเดี๋ยวรักคนนั้นคนนี้ เปลี่ยนรักเรื่อยไป
เจ้าหญิงอรดี มีนิสัยริษยา ไม่อยากให้ใครได้ดี เห็นใครได้ดีก็ขัดขวาง ทำให้แตกสามัคคี ”
เมื่อเจ้าชายจิตตราช รู้ทันนิสัยไม่ดีของเจ้าหญิงทั้ง ๓ องค์ ก็เกิดเบื่อหน่าย คลายความกำหนัด จึงขออยู่กับฤาษีที่จิตตบรรพต ได้เรียนพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และเจริญไตรลักษณญาณ รู้ อนิจจํ ทุกขํ อนัตตา จนชำนาญ

ฝ่ายอำมาตย์มิจฉัตตะ เมื่อขี่ม้าหนีภัยจากนางยักษ์วัฎฏะทุกขี ก็มิได้หนีไปไกล เมื่อเห็นเจ้าชายมีฤาษีมาช่วยก็ตามห่างๆไปจิตตบรรพต พอเห็นว่าเจ้าชายเปลี่ยนใจไม่ไปแก้ปัญหาเจ้าหญิงทั้ง ๓ ก็ร้อนใจ คิดจะหว่านล้อมเจ้าชายให้ไปแก้ปัญหาให้ได้

คืนหนึ่งได้โอกาสลอบไปพบเจ้าชายจิตตราชๆ เห็นอำมาตย์ตนสนิทก็ดีพระทัย มิจฉัตตะอำมาตย์แกล้งทูลเท็จว่า
“ เมื่อเห็นนางยักษ์วัฎฏะทุกขีมาไล่จับ เห็นว่าเราสองคนเป็นมนุษย์คงสู้นางยักษ์ไม่ได้ ตนเองจึงรีบไปบอกให้ฤาษีมาช่วย ”

เมื่อเห็นว่าเจ้าชายคล้อยตาม จึงกล่าวอีกว่า
“ เมื่อไม่มีนางยักษ์รังควานแล้ว ถ้าพระองค์อยู่ที่นี่เรื่อยไปคงต้องแก่ตายบนภูเขานี่แน่ พระองค์ควรลาท่านฤาษีไปแก้ปัญหาเพื่อครองเจ้าหญิงงามดีกว่า อย่าบอกท่านฤาษีว่าไปแก้ปัญหาเพราะคงถูกห้าม ให้บอกว่าจะกลับไปกายนครที่จากมานาน ”

เจ้าชายจิตตราช ทรงเชื่อมิจฉัตตะอำมาตย์ จึงตกลงพระทัยไปปัจจยาการนครให้ได้ ให้มิจฉัตตะซ่อนตัวไปก่อน
ในวันรุ่งขึ้น เข้าไปทูลลาท่านฤาษีว่าจะกลับกายนครพบพระมารดาพระบิดาเพราะจากมานาน แต่ท่านฤาษีทราบด้วยญาณ จึงกล่าวว่า
“ ท่านรู้ว่าเจ้าชายจะไปเมืองปัจจยาการนคร ไม่ต้องโกหก ” เจ้าชายรับว่าจริงจึงกราบขออภัย
ท่านฤาษีจึงทูลว่า
“ เมื่อพระองค์ตั้งใจไปแก้ปัญหาจริงๆก็ไม่อาจห้ามได้ และจะมอบแว่น วิชชามัย ( ความรู้แจ้ง ) ให้ หากแก้ปัญหาไม่ได้ให้ส่องแว่นนี้ดูก็จะทราบคำตอบ แต่ห้ามบอกใครเป็นอันขาดว่า มีแว่นวิเศษ ถ้าบอกใครไปจะมีภัยอันตราย ”

จากนั้นเจ้าชายจิตตราชกราบลาท่านฤาษี ขี่ม้าอิริยาบทมาสมทบกับมิจฉัตตะอำมาตย์แล้วไปจนถึงปัจจยา-การนคร ก็ปลอมพระองค์แต่งากายแบบชาวบ้านเข้าไปขออาศํยที่พักของยายมายาวี ( เจ้าเล่ห์ ) ผู้เฝ้าราชอุทยานและถามเรื่องการไปแก้ปัญหา
วันต่อมาเจ้าชายจิตตราชลายายมายาวี ไปแก้ปัญหาที่โรงมณฑป เมื่อรับอาสาแก้ปัญหาตามกติกาที่วางไว้แล้ว พระเจ้าเวทนาจึงรับสั่งให้เจ้าหญิงเริ่มถามปัญหา

คำถามที่ ๑ เจ้าหญิงตัณหาถามว่า ? ทำไมคนตายแล้วจึงถูกผูกตราสัง ๓ เปลาะ คือ ที่คอ ๑ ที่มือทั้งสอง ๑ ที่เท้าทั้งสอง ๑ ?
เจ้าชายจิตตราชตอบไม่ได้จึงแอบใช้แว่นวิชชามัยส่องดู จึงรู้และตอบว่า
“ เป็นปริศนาธรรมสอนคนให้รู้ว่า
๑ ) ห่วงผูกคอ หมายถึงมีบุตรเหมือนมีห่วงผูกคอ
๒ ) ห่วงผูกมือ หมายถึงมีคู่ครองเหมือนมีห่วงผูกมือ
๓ ) ห่วงผูกเท้า หมายถึงมีทรัพย์สมบัติเหมือนมีห่วงผูกที่เท้า
ดังภาษิตว่า
ปุตโต คีเว มีบุตรบ่วงหนึ่งเกี้ยว พันคอ
ธนัง ปาเท ทรัพย์ผูกบาทาคลอ หน่วงไว้
ภริยา หัตเถ ภรรยา(สามี)เยี่ยงอย่างปอ รึงรัด มือนา
สามบ่วงนี้ใครพ้นได้ จึ่งพ้นสงสาร

คำถามที่ ๒ เจ้าหญิงราคาถามว่า ? ไฟอะไร ร้อนที่สุดในโลก ?
เจ้าชายจิตตราชตอบไม่ได้จึงแอบใช้แว่นวิชชามัยส่องดู จึงรู้และตอบว่า
“ ไฟ ๓ กอง คือ
ราคัคคิ ไฟ คือ ราคะ ( ความกำหนัดยินดี )
โทสัคคิ ไฟ คือโทสะ ( ความประทุษร้าย )
โมหัคคิ ไฟ คือ โมหะ ( ความหลงใหล ) ไฟ ๓ กองนี้ ร้อนที่สุดในโลก

คำถามที่ ๓ เจ้าหญิงอรดีถามว่า ? ในโลกนี้อะไร เที่ยงที่สุด ?
เจ้าชายจิตตราชตอบไม่ได้จึงแอบใช้แว่นวิชชามัยส่องดู จึงรู้และตอบว่า
“ ความตายเป็นของเที่ยง ( ธุวํ มรณํ ความตายเป็นของเที่ยง )

คำถามที่ ๔ เจ้าหญิงตัณหาถามว่า ? ในโลกนี้อะไร หนักที่สุด ?
เจ้าชายจิตตราชตอบไม่ได้จึงแอบใช้แว่นวิชชามัยส่องดู จึงรู้และตอบว่า
“ ขันธ์ ๕ เป็นของหนักที่สุด ( ภารา หเว ปญจักขันธา ขันธ์ ๕ เป็นภาระที่หนักแท้ )


เจ้าชายจิตตราชก็ต้องยอมตามเพราะเป็นพระราชบัญชา แต่ในใจอยากจะตอบปัญหาข้อที่ ๕ ให้เสร็จจะได้เชยชมเจ้าหญิงงามทั้งสามให้สมใจ แล้วจำใจกลับไปที่พักของยายมายาวีอีกคืน

เมื่อพระเจ้าเวทนากลับพระราชวังแล้วรับสั่งให้พระราชธิดาทั้งสามเข้าเฝ้าแล้วตรัสว่า

“ วันนี้มีพระราชสาส์นจากพระเจ้าอวิชชาและพระนางโมหาราชเทวีแห่งกายนคร มาสู่ขอเจ้าทั้งสามให้เป็นมเหสีของเจ้าชายจิตตราชผู้เป็นพระราชโอรส พ่อเห็นว่าเป็นวงศ์ที่สมควรกันที่จะยกให้ แต่วันนี้เจ้ามานพหนุ่มคนนั้นไม่รู้เป็นใครมาจากไหน ตอบปัญหาของเจ้าอย่างถูกต้องทั้ง ๔ ข้อ พ่อจึงไม่สบายใจ เพราะหากตอบถูกครบ ๕ ข้อพ่อก็ต้องยกเจ้าทั้งสามให้เพราะพ่อเป็นกษัตริย์ตรัสแล้วย่อมไม่คืนคำ แล้วพ่อจะหาลูกสาวที่ไหนไปยกให้เจ้าเมืองกายนคร ดังนั้นพ่อจึงให้หยุดปัญหาข้อ ๕ ไว้ก่อนเพื่อให้ทางทางแก้ไข เจ้าทั้งสามจะมีวิธีแก้อย่างไร ? ”

เจ้าหญิงทั้งสาม จึงทูลว่า
“ หม่อมฉันจะแก้ไขไม่ให้ต้องตกเป็นภรรยาชายแปลกหน้าให้จงได้ ขอเสด็จอย่าได้กังวลพระทัยเลย ”

เจ้าหญิงทั้งสามให้คนสนิทสืบดูรู้ว่าชายแปลกหน้าพักที่กระท่อมยายมายาวี ผู้เฝ้าราชอุทยาน จึงรับสั่งให้เรียกยายมายาวีเข้าเฝ้ารับสั่งให้ยายมายาวีไปสืบมาว่าชายแปลกหน้ามีอะไรดีจึงตอบปัญหาถูกต้องแล้วรีบนำมาบอก
ยายมายาวีไปทำยกย่องเจ้าชายจิตตราชที่ตอบปัญหาเก่งแล้วถามว่า “ มีอะไรดีหรือพ่อหนุ่มรูปงาม ? ”

เจ้าชายจิตตราชไม่ยอมบอกแม้ยายมายาวีจะอ้อนวอนอย่างไรก็ตามเพราะทำตามที่ท่านฤาษีไตรลักษณญาณกำชับไว้
ยายมายาวีจึงลอบมาหามิจฉัตตะ ยกยอ หว่านล้อมจนทราบเรื่องแว่นวิชชามัย แล้วรีบนำไปกราบทูลเจ้าหญิงทั้งสาม

ในคืนนั้นเองเจ้าหญิงทั้งสาม แต่งองค์ทรงเครื่องอย่างงดงามที่สุดไปหาเจ้าชายจิตตราช ณ.เรือนที่พักและใช้มารยาสตรีออดอ้อนว่า
“ ที่นางทั้งสามตัดความอายมาหาถึงที่พักก็เพราะว่าความรักนำมา รักตั้งแต่แรกเห็นจนไม่อาจทนอยู่ได้ ”

เจ้าชายจิตตราชหลงเชื่อคำสตรีจึงตรัสว่าตอบทำนองว่า
“ พระองค์ก็รักเจ้าหญิงทั้งสามตั้งแต่แรกเห็นเช่นกัน ”
เจ้าหญิงทั้งสามได้โอกาสจึงรุกต่อไปว่า “ ถ้ารักจริงจะของเป็นที่ระลึกสักอย่าง ”
เจ้าชายจิตตราชรู้ไม่ทันจึงตรัสว่า “ ของที่ขอถ้ามีอยู่ก็จะให้ ”
เจ้าหญิงทั้งสามยิ้มแล้วรุกฆาตต่อไปว่า “ ถ้าอย่างนั้นขอ แว่นวิชชามัย ก็แล้วกัน ”

เจ้าชายจิตตราชทรงตกพระทัย กล่าวว่า
“ ที่เราตอบปัญหาถูกต้องก็เพราะแว่นนี้ หากไม่มีเราก็ตอบไม่ถูก การแก้ปัญหาเหลือข้อที่ ๕ ขอเก็บแว่นนี้อีกวันเมื่อตอบปัญหาข้อที่ ๕ ถูกแล้วจะยกให้ทันที ”
เจ้าหญิงลวงว่า “ พรุ่งนี้จะถามเหมือนเดิม จะไม่ถามเรื่องอื่น ทั้งนี้เพราะความรักแรกพบ ”

เจ้าชายจิตตราชทรงเชื่อว่าเป็นความจริงจึงมอบแว่นวิชชามัยให้



วันต่อมา เมื่อถึงเวลาถามปัญหาข้อที่ ๕

คำถามที่ ๕ เจ้าหญิงราคาถามว่า ? คนที่เกิดมาล้วนตกอยู่ในกองทุกข์ ต้องแก่ เจ็บ ตาย ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ไปได้ ?
เจ้าชายจิตตราชตอบไม่ได้ เพราะไม่มีแว่นวิชชามัย จึงต้องตกไปเป็นทาสรับใช้โดยไม่กล้าบอกว่าตนเป็นพระราชโอรสแห่งกายนครเพราะจะเสื่อมเสียชื่อเสียงอับอายของราชวงศ์ได้

จะกล่าวถึงพระเจ้าอวิชชาและพระนางโมหาราชเทวีแห่งกายนคร เมื่อส่งสาส์นสู่ขอพระราชธิดาแห่งปัจจยาการนคร ก็มิได้บอกให้พระราชโอรสทราบเมื่อจวนถึงกำหนดวันอภิเษกสมรส จึงตรัสรับสั่งให้เจ้าชายจิตตราชเข้าเฝ้า เมื่อทราบว่าไม่อยู่ที่พระราชวังหลายวันแล้ว รับสั่งให้ราชบุรุษตามหาก็ไม่เจอ ทรงวุ่นวายหทัย จึงจัดขบวนเสด็จไปยังปัจจยาการนครเพื่อปรึกษากับพระเจ้าเวทนาและปรารถว่าเจ้าชายจิตตราชอาจลอบมาแก้ปัญหาโดยไม่บอกให้ใครทราบ

ดังนั้นพระเจ้าเวทนาจึงรับสั่งให้นำทาสรับใช้พระธิดาทั้งสาม ออกมาเดินให้พระเจ้าอวิชชาและพระนางโมหาราชเทวีทอดพระเนตร

เมื่อเห็นเจ้าชายจิตตราชเดินในขบวนทาส จึงตรัสบอกพระเจ้าเวทนาๆ รีบรับสั่งราชบุรุษให้เชิญมาเข้าเฝ้าแล้วขออภัยเพราะไม่ทราบมาก่อน
จากนั้นจึงจัดพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายจิตตราชและเจ้าหญิงตัณหา เจ้าหญิงราคา เจ้าหญิงอรดี อย่างสมพระเกียรติแล้วกลับไปครองกายนครสืบไป

จะกล่าวถึงพระยามัจจุราช ผู้ครองเมือง มรณานคร มีแม่ทัพใหญ่ คือ หลวงชาติ หลวงชรา และหลวงพยาธิ
เมื่อทรงทราบว่าเจ้าชายจิตตราชครองกายนคร รุ่งเรืองด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จึงส่งกองทัพทั้งสามที่มีหลวงชาติ หลวงชรา และหลวงพยาธิไปโจมตีกายนคร

เจ้าชายจิตตราชเมื่อเห็นกองทัพล้อมเมือง จึงส่งข่าวไปถึงพระสหายให้มาช่วยรบทัพ คือ พระยาโอสถ ครองเมืองเภสัช ถือเฉลว ( ไม้ปักปากหม้อยา ) เป็นอาวุธ พระยาโอสถ ก็ส่งกองทัพเภสัชมาโจมตี สามทัพของพระยามัจจุราชให้แตกพ่ายไป

พระยามัจจุราชพิโรธหนักหนาจึงยกทัพหลวงมาเอง โจมตีกองทัพเภสัชและกองทัพกายนครแตกพ่ายไป พระเจ้าจิตตราชจึงพาพระมารดาพระบิดาและมเหสีทั้งสามหนีออกจากกายนคร ไปสร้างเมืองใหม่ ชื่อกายนครเหมือนเดิม

พระยามัจจุราชทราบว่าพระเจ้าจิตตราชไปสร้างเมือง กายนครใหม่ ก็ยกทัพไปตีแตกอีก เป็นเช่นนี้หลายหน
พระเจ้าจิตตราช สร้างเมือง กายนครอีกก็ทรงรำลึกถึง ฤาษีไตรลักษณญาณๆ ทราบด้วยญาณจึงเหาะมาหาพระเจ้าจิตตราชแล้วทูลว่า

“ การที่พระองค์สร้างกายนคร นั้นไม่มีทางต้านกองทัพพระยามัจจุราชได้ พระองค์ต้องสร้างเมืองใหม่ชื่อ
อมตมหานฤพานนคร
จึงสามารถป้องกันพระยามัจจุราชได้ เพราะพระยามัจจุราชไม่รู้ มองไม่เห็นว่าอมตมหานฤพานนคร ตั้งที่ไหน จึงไม่อาจยกทัพมาราวีได้ แต่การสร้างอมตมหานฤพานนคร นั้นต้องดำเนินการดังนี้

๑ ) สร้างอาวุธ ๓ อย่าง คือ
สุตาวุธ ( การฟังธรรม ) วิเวกาวุธ ( ความสงบกายสงบใจ ) ปัญญาวุธ ( ความรอบรู้ในกองสังขาร )

๒ ) สร้างรถอริยมรรค ๘( ทางประเสริฐ ๘ )

๓ ) ต้องตัดใจทิ้ง พระบิดาพระมาดา พระมเหสี เพราะ รถอริยมรรค ๘ ขับขี่ได้เฉพาะคน และไม่อาจพาใครๆข้ามแม่น้ำสงสารสาคร ไปได้ ถ้าขืนพาใครไปด้วยจะต้องล่มจมใน สงสารสาครแน่นอน

พระเจ้าจิตตราชทรงรับคำว่าจะปฏิบัติตามคำสอนของฤาษีไตรลักษณญาณ ทุกประการ ท่านฤาษีจึงสอนให้สร้างอาวุธทั้งสามและรถอริยมรรค ๘และสอนฝึกขับขี่รถให้คล่องแคล่ว

พระยามัจจุราชทราบว่าพระเจ้าจิตตราชจะสร้างเมืองใหม่จึงยกทัพมาตีอีก พระเจ้าจิตตราชทรงถืออาวุธ ๓ ขับรถอริมรรค ๘ แล่นออกจากกายนครไปถึง สงสารสาคร ก็ขับขี่รถอริมรรค ๘ ข้ามแม่น้ำไปได้




ฝ่ายพระเจ้าอวิชชา พระนางโมหาราชเทวีและเจ้าหญิงตัณหา เจ้าหญิงราคา เจ้าหญิงอรดีทราบว่าพระเจ้าจิตตราชหนีออกจากกายนครก็รีบตามไป พอถึงสงสารสาครก็ไม่อาจข้าม ได้แต่ร้องเรียกให้พระเจ้าจิตตราชกลับมารับไปด้วย

พระเจ้าจิตตราชเด็ดเดี่ยวไม่กลับมารับ ขอลาไปก่อนแล้วไปสร้าง อมตมหานฤพานนคร
พระยามัจจุราชไม่ทราบว่าพระเจ้าจิตตราชไปสร้างเมืองที่ไหนจึงไม่อาจยกกองทัพชาติ กองทัพชรา กองทัพพยาธิไปราวีได้
พระเจ้าจิตตราชจึงทรงเสวยบรมสุขอยู่ในอมตมหานฤพานนคร อย่างที่ไม่มีที่ใดเปรียบปานตราบกาลนาน



ข้อคิด / ข้อที่น่าคิด

จากที่กระผมเคยอ่านเรื่องนี้มีหลายประเด็น ก่อนอื่นต้องบอกว่าชอบใจมากกับชื่อตัวละครและโครงเรื่อง
เพราะอ่านแล้วเข้าใจตามได้ทันที รู้สึกเลื่อมใสท่านผู้รจนาเรื่องนี้มาก ส่วนข้อที่น่าคิดมีดังนี้ครับ

๑ ) ในทัศนะหนึ่งของกระผมคิดว่า ร่างกายของมนุษย์นั้น เปรียบได้กับ " หุ่นยนต์ชั้นเลิศ " หรือนวัตกรรมชิ้นเยี่ยม … หรือมหานครใหญ่ เพราะมีกลไลสลับซับซ้อน มีความสามารถในการดำรงชีพและมีศักยภาพสูงในการทำงาน

ร่างกายของมนุษย์นั้น เหมาะสมใช้สร้างบารมีอันยิ่งกว่าร่างกายของสัตว์ทั้งปวงในมนุษโลก ..
ในเทวโลก …หรือแม้ในพรหมโลก .. ด้วยซ้ำ

… ด้วยเหตุนี้เอง … " กายมนุษย์หยาบ " จึงทรงซึ่งคุณค่าเสมอ ไม่ว่ามนุษย์ผู้นั้นจะรู้หรือไม่ก็ตาม
… มนุษย์ท่านใด … มีสุขภาพกายแข็งแรง สมบูรณ์ … ก็มีโอกาสสูงที่จะได้รับ … ความสำเร็จ … ความสุข
ในการดำรงชีพ ในการทำงาน และ งานทำความดีอันยิ่ง คือ การสร้างบารมี มากยิ่งขึ้นเท่านั้น.

๒ ) " กายมนุษย์หยาบ หรือ กายนคร " นี้ถือเป็นฐานทัพสำคัญยิ่งต่อนักสร้างบารมี ถึงแม้ทั่วไปจะดูพิกลพิการไม่งามไปบ้าง แต่นี่แหละ เป็นฐานทัพให้ดวงจิตอาศัยพัฒนาให้เจริญขึ้น สะอาดบริสุทธิ์ จนหลุดพ้นจากกรอบ “ อวิชชา ” ที่พญามารร้อยรัดไว้ จนเข้าสู่อายตนนิพพานได้

กายในภพสามก็มี กายมนุษย์หยาบ นี่แหละที่ทำได้ นอกจากกายนี้ มีเพียงกายอรูปพรหมชั้นสูงๆที่เป็นพระอนาคามีเท่านั้น ที่อาศัยก่อนเข้าเข้าสู่อายตนนิพพาน ซึ่งก็มีจำนวนน้อยนิด
จึงพอกล่าวได้ว่า กายมนุษย์หยาบ คือสมบัติล้ำค่าของพระพุทธศาสนาและธาตุธรรม

๓ ) ข้อที่น่าคิดต่อมา คือ กัลยาณมิตรเป็นบุคคลที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้บูชาสักการะ เพราะว่าท่านผู้เป็นกัลยาณมิตรช่วยให้ตัวเราพ้นทุกข์ พบบรมสุขได้ ดังเช่นเจ้าชายจิตตราชที่ได้ฤาษีไตรลักษณ์เป็นกัลยาณมิตร

ดูใกล้ๆเห็นชัด คือ การที่พวกเรามีพระเดชพระคุณหลวงพ่อและคุณยาย เป็นต้นกัลยาณมิตร สอนเราสร้างบารมีแบบชนิดที่ ได้บุญบารมีเป็นอสงไขยอัปปมานัง เกิดเป็นลูกท่านชาตินี้ชาติเดียว ยังคุ้มเกินคุ้มกว่าเกิดมาสร้างบารมีโดยปราศจากท่านเลี้ยงดูแล นับอสงไขยชาติไม่ถ้วน อีกนะครับ

๔ ) ธรรมชาติของ “ จิต ” มีฤิทธานุภาพมากอยู่แล้ว
( มหิทธานุภาวํ – ทูรงคมํ – ลหุกํ – อสรีรํ – สุทุททสํ )
เพียงเราฝึกกลางให้ดี นุ่มนวลควรแก่การงาน ( หยุด นิ่ง เฉย )

๕ ) เรื่อง มงคลชีวิต มงคลที่สำคัญๆเป็นฐานให้การสร้างบารมีต่างๆเจริญยิ่งๆขึ้น คือ
อสเวนา จ พาลานัง คือ ไม่คบคนพาลเป็นมิตร เพราะนำมาซึ่งทางสู่อบายภูมิจริงๆ
ปัณฑิตา จ เสวนา คือ คบบัณฑิต คบคนดี มีศีลธรรม คุณธรรมเป็นแบบอย่างให้เราได้
คือ คบลูกๆหลวงพ่อ หลานคุณยาย ที่ฝึกตัวดี มีอุดมการณ์มั่นคง เป้าหมายเลอเลิศ ( ที่สุดแห่งธรรม )

๖ ) ว่ากันว่า ธรรมชาติสตรียากแท้หยั่งถึง เหตุนี้เองทำให้บุรุษที่เรียกว่า อุดมเพศไม่ทันมารยาหญิง จึงถูกลวงให้เสียทรัพย์ เสียเวลา เสียบุญบารมีกันนักต่อนัก อย่างที่คำบุราณท่านว่า
ผู้ชายพายเรือ ผู้หญิงยิงเรือ

คือ ผู้ชายพายเรือจะข้ามฝั่งโอฆสงสารสาคร แต่ถูกผู้หญิงยิงเรือให้รั่วบ้าง ให้ล่มบ้าง ทำให้ถึงฝั่งนิพพานช้า
เพราะฉะนั้นการสร้างบารมีเผลอไม่ได้ แค่เผลอกระพริบตาเรืออาจรั่ว อาจล่มได้ ต้องสอนตัวเองให้ได้
ให้โอวาทตนเอง ด่าตนเองเป็น

๗ ) การตอบคำถาม เป็นเหตุนำมาซึ่งทั้งความสุขหรือความทุกข์ ได้ทีเดียว มีหลายๆชีวิตที่รุ่งโรจน์ เพราะตอบคำถามได้ถูกต้อง-ถูกใจผู้ถาม แต่อีกหลายๆชีวิตเช่นกัน ที่ไม่รุ่งแต่ร่วง เพราะฉะนั้นไม่ควรดูเบาในการตอบคำถามอะไรๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอบคำถามครูบาอาจารย์ การตอบคำถามท่าน อาจหมายถึงเส้นทาง

การสร้างบารมีรุ่งหรือร่วงได้เหมือนกัน แต่ไม่ต้องกังวล แค่เราต้องความจริง ถูกต้องแน่นอน ส่วนถูกใจเป็นเรื่องรองเพราะเป็นปฏิภาณเป็นไหวพริบเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ และขึ้นอยู่กับมุมมองและอารมณ์ของผู้ถามด้วย Don’t worry about it

๘ ) นักสร้างบารมีที่ดี ต้องรู้ตักตัดใจ คือ ตัดอาลัย ในกามคุณ ในบุคคลอันเป็นที่รักที่เกี่ยวข้อง ต้องไม่ติดคน สัตว์ สิ่งของสมบัติ ติดแต่ธรรมะ ติดในบุญ ติดกลางของกลาง เสมือนเจ้าชายจิตตราชที่สละมารดา-บิดา ภรรยาและราชสมบัติฉันนั้น


๙ ) ต้องเจนโลก เจนภพสาม เจนวัฎฏสงสาร เจนกลาง คือ ต้องเข้าใจ ต้องรู้เท่าทันธรรมดาของธรรมชาติในวัฎฏสงสารว่าทุกสรรพสิ่งในป่าวัฎฏะนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนแท้จริง มีสุข มีทุกข์ ตามกฎโลกธรรม ๘ ที่เขา ทำผังบังคับไว้

เพราะฉะนั้น เวลามีสุข มีทุกข์ เจอความเปลี่ยนแปลง อย่าดีใจ-เสียใจ เกินงาม ต้องฝึกไม่ยินดี ไม่ยินร้าย กับทุกสรรพสิ่งและทุกเหตุการณ์ที่เข้ามาในชีวิต มันก็แค่ ผ่านมาแล้วผ่านไป มาเยี่ยมเรา
โดยเฉพาะเจนกลาง ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย สิ่งที่มากระทบกลางของเรา ทำหน้าที่รักษากลางทุกอย่างสำเร็จ

หรือคิดว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ได้มาช่วยหล่อหลอมคุณสมบัติและธาตุธรรมภายในของเราให้เก่ง-แกร่ง-กล้า-ชัด-ใส-สว่างยิ่งขึ้น
จำไว้ว่าสุดท้าย Happy Ending เราต้องบริสุทธิ์ขึ้น ต้องชนะเหนือพญามาร ปราบมารสำเร็จ
เข้าถึงที่สุดแห่งธรรมอย่างแน่นอน เสมือนวาระสุดท้ายที่เจ้าชายจิตตราชเข้าอายตนะนิพพานฉันนั้น


ฯลฯ

ขออนุโมทนาบุญกับการสร้างบารมีของทุกๆท่านด้วยครับ สาธุ .....


#2 kuna

kuna
  • Members
  • 780 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 09:51 AM

อ่านแล้วรู้สึกซาบซึ้งและเกิดกำลังใจในการสร้างบารมียิ่งขี้นไปอีก...สาธุ

#3 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 11:12 AM

เป็นธรรมเทศนาที่ยอดเยี่ยม คือ นำนามธรรมมาบรรยายให้เห็นเป็นรูปธรรม

เข้าใจง่าย ชัดเจน เพลิดเพลิน มีสาระ


#4 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 03:41 PM

ไม่เคยได้ยินมาก่อน วันนี้ได้เปิดหูเปิดตาจริงๆ สาธุ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#5 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 07:17 PM

สาธุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สุดยอดเลยค่ะ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#6 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 09:52 PM

QUOTE
ผู้ชายพายเรือจะข้ามฝั่งโอฆสงสารสาคร แต่ถูกผู้หญิงยิงเรือให้รั่วบ้าง ให้ล่มบ้าง ทำให้ถึงฝั่งนิพพานช้า
เพราะฉะนั้นการสร้างบารมีเผลอไม่ได้ แค่เผลอกระพริบตาเรืออาจรั่ว อาจล่มได้ ต้องสอนตัวเองให้ได้
ให้โอวาทตนเอง ด่าตนเองเป็น


ดีจังครับได้ทวนความรู้เดิมไปในตัวด้วยครับ นี่ถ้าไม่อ่านผมก็ลืมไปแล้วนะว่าเคยอ่านความจำมนุษย์มันสั้นจริงๆ ครับถ้าไม่หมั่นทวนบ่อย ๆ หละแย่เลย
ผมชอบสำนวนนี้ครับ แพ้ภัยตัวเองดีหนะครับ แต่เพื่อนกัลยาณมิตรที่เป็นหญิงอย่าน้อยใจนะครับว่าเราขัดขวางเขา เพราะจริง ๆ เรือล่มไม่ใช่เพราะผู้หญิงยิงเรือหรอกครับ แต่เป็นเพราะผู้ชายเราเองนี่แหละทำเรือล่มหนะ 55555
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#7 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 05 January 2006 - 11:31 AM

ความจริงสำนวนว่า เป็นผู้ชายพายเรือ และเป็นผู้หญิงยิงเรือนั้น ความหมายที่แท้จริงไม่ใช่อย่างนั้นครับ แต่เป็นความหมายที่เพี้ยนมาจากสำนวนคนโบราณ (จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

สำนวนที่ถูกต้องคือ ผู้ชาย รายเหรื่อ และ ผู้หญิง หริ่งเหรื่อ ซึ่งคำว่า รายเหรื่อ และหริ่งเหรื่อ หมายถึง ทั่วๆ ไป

ดังนั้น สำนวนผู้ชาย รายเหรื่อ จึงหมายถึง ผู้ชายทั่วๆ ไป เช่น ผู้ใหญ่ พูดกับเด็กผู้ชายว่า โตแล้วอย่าร้องไห้ ผู้ชายรายเหรื่อ เขาไม่ร้องไห้

เช่นกัน ผู้หญิง หริ่งเหรื่อ ก็หมายถึง ผู้หญิงทั่วๆ ไป เช่น เป็นผู้หญิง ต้องนุ่มนวล กริยามารยาทให้เรียบร้อย เหมือน ผู้หญิง หริ่งเหรื่อ

แต่ปัจจุบัน มันมากลายเป็นพายเรือ กับ ยิงเรือได้อย่างไร ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน และความหมายก็ผิดเพี้ยนไปจากเดิมแล้ว

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#8 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 05 January 2006 - 11:58 AM





ขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญ ที่คุณหัดฝัน ให้ความรู้ ด้วยนะครับ สาธุ


และขอขยายความในทัศรรศนะข้อ) ๖ เพิ่งเติมนะครับว่า

ในเส้นทางการสร้างบารมี ที่ดีมนุษย์ควรต้องประพฤติธรรมและประพฤติพรหมจรรย์

จึงทำให้การสร้างบารมีได้เต็มเปี่ยม รวดเร็ว รวบลัด ย่นย่อเวลาการบรรลุมรรคผล นิพพาน

ดังนั้นไม่ใช่ว่า สตรี ถ่วงทำให้บุรุษบรรลุมรรคผล นิพพานเนิ่นช้า แต่เพียงฝ่ายเดียว

บุรุษเองก็เป็นเหตุทำให้สตรี เนิ่นช้าเสียเวลาเรื่องกระโหลกกะลาเช่นกัน

ทั้งนี้เพราะทั้งบุรุษและสตรี ที่อยู่ในกามภพ ต่างก็ยังอยู่ในบังคับบัญชาของ .. เขา ..

ดังนั้นจะประเสริฐที่สุด หากทั้งบุรุษและสตรี ต่างสนับสนุนซึ่งกันและกันให้สร้างบารมี ให้เต็มกำลัง

สองประสาน งานสำเร็จ

dangdee



#9 มองอย่างแมว

มองอย่างแมว
  • Members
  • 722 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:NYC

โพสต์เมื่อ 05 January 2006 - 08:19 PM

ถ้าอ่านตามเนื้อเรื่องแล้ว แปลว่า
กายมนุษย์ สร้างมาจาก อวิชชา + โมหะ หรือครับ?
(ผู้สร้างกายนคร คือ พระเจ้าอวิชชาและพระนางโมหาราชเทวี )
"ฉุดมันเอาไว้ หยุดมันเอาไว้ ไม่ให้มันรวนเร ต้องหยุดนิ่งสุดใจ หยุดมันเอาไว้ ฉุดมันเอาไว้ ไม่ให้มันซวนเซ ต้องฉุดให้ใจหยุด"
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)

#10 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 05 January 2006 - 11:15 PM

ถ้าหากกระทู้เกี่ยวกับกรรมฐาน ๓ กองของผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ใคร่ขออนุญาตนำบางส่วนของเนื้อหาในกระทู้นี้ ไปประยุกต์เรียบเรียงเข้ากับกระทู้ของผมได้ไหมครับ?

#11 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 12:48 AM

QUOTE
ถ้าอ่านตามเนื้อเรื่องแล้ว แปลว่า
กายมนุษย์ สร้างมาจาก อวิชชา + โมหะ หรือครับ?
(ผู้สร้างกายนคร คือ พระเจ้าอวิชชาและพระนางโมหาราชเทวี )

ตอบ ใช่ครับ ทุกกายในภพ 3 มีที่สุดของเหตุมาจากอวิชชา และโมหะทั้งสิ้นครับ กายมนุษย์หยาบนี้ ที่มีพ่อ แม่ ประกอบธาตุธรรม ได้ไข่และน้ำสุกะรวมกันก่อตัวเป็นกลรูป(ตัวอ่อน) เป็นเพียงปลายของเหตุของการเกิดครับ ดังนั้นผู้ใดที่ดับอวิชชา และโมหะได้ก็จะเข้าถึงซึ่งความเป็นอรหัตตผลครับ ตัดภพชาติวัฏฏะที่สุดของเหตุที่ทำให้เกิด และไม่ต้องกลับมาเกิดอีกเพราะหมดเชื้อแห่งการเกิดครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#12 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 01:24 AM

ขอตอบคุณ มองอย่างแมว เรื่อง ใครสร้างกายมนุษย์ ?

๑ ) ตามเนื้อหาใน บทประพันธ์

ที่ผู้ประพันธ์ เข้าใจและเลือกใช้ความรู้ที่คนส่วนมากยอมรับ

ก็เป็นอย่างที่คุณ มองอย่างแมว เข้าใจนั่นแหละครับ เพี่ยงแต่ท่านไม่ได้กล่าวถึงว่า

อวิชชาและโมหะ เกิดได้อย่างไร ใครเป็นผู้สร้าง ใครเป็นผู้ใช้ อวิชชาและโมหะ

๒ ) แต่ในเชิงพระอภิธรรม ได้กล่าว เวทนา

ทำให้เกิด รูป

๓ ) ส่วนผมเองมีความรู้น้อย มิบังอาจฟันธง ว่าใครสร้างกายมนุษย์

แต่ผมคิดว่า ผู้ศึกษาวิชชาธรรมกาย ผู้เห็นแจ้งรู้แจ้ง มีอยู่ คำตอบที่แท้จริงก็ต้องมีอยู่แล้ว

เรื่องราวใบไม้ในป่า เรื่องเกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย เรื่องราวอจินไตยที่นอกเหนือพระไตรปิฎก

ถ้าเราคิดไป พูดไป ก็ทำให้ ใครต่อใคร ว่าเพี้ยนได้

ถ้าใครต้องการคำตอบในทุกสรรพสิ่ง ที่ถูกต้องไปตามความเป็นจริง

ก็ควรหมั่นปฏิบัติธรรมให้บรรลุถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง จะดีที่สุด

แต่ถ้าให้ได้คำตอบเร็วๆ ก็ต้องฟังคำตอบจากผู้อื่น ซึ่งไม่แจ่มแจ้งเหมือนตัวเรา

ไปเห็นแจ้งรู้แจ้งเองหรอกครับ

*** สำหรับคุณ เกียรติก้องธรณินทร์ สามารถนำเนื้อหา ไปใช้ประโยชน์ในการกุศลได้แน่นอนอยู่แล้วครับ

ผมคิดว่าผู้ประพันธ์ คงยินดีและอนุโมทนาบุญที่ บทประพันธ์ของท่าน มีผู้อ่านและศึกษาแล้ว จิตเป็นกุศล

และช่วยนำไปเผยแผ่ต่อ

*** ผมคิดว่า ความรู้ใดๆ หรือสิ่งใดๆ ( ธรรมทาน/วิทยาทาน/ทรัพยากรธรรมชาติ/ปัจจัยสี่/บุญกุศล )
ที่เป็็นประโยชน์ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ในแก่มนุษย์และอมนุษย์
เราต้อง Give people free
จึงยินดีและอนุโมทนา ในกุศลจิตของคุณ เกียรติก้องธรณินทร์ ด้วยครับ สาธุ ...


#13 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 01:26 AM

ขอตอบคุณ มองอย่างแมว เรื่อง ใครสร้างกายมนุษย์ ?

๑ ) ตามเนื้อหาใน บทประพันธ์

ที่ผู้ประพันธ์ เข้าใจและเลือกใช้ความรู้ที่คนส่วนมากยอมรับ

ก็เป็นอย่างที่คุณ มองอย่างแมว เข้าใจนั่นแหละครับ เพี่ยงแต่ท่านไม่ได้กล่าวถึงว่า

อวิชชาและโมหะ เกิดได้อย่างไร ใครเป็นผู้สร้าง ใครเป็นผู้ใช้ อวิชชาและโมหะ

๒ ) แต่ในเชิงพระอภิธรรม ได้กล่าว เวทนา

ทำให้เกิด รูป

๓ ) ส่วนผมเองมีความรู้น้อย มิบังอาจฟันธง ว่าใครสร้างกายมนุษย์

แต่ผมคิดว่า ผู้ศึกษาวิชชาธรรมกาย ผู้เห็นแจ้งรู้แจ้ง มีอยู่ คำตอบที่แท้จริงก็ต้องมีอยู่แล้ว

เรื่องราวใบไม้ในป่า เรื่องเกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย เรื่องราวอจินไตยที่นอกเหนือพระไตรปิฎก

ถ้าเราคิดไป พูดไป ก็ทำให้ ใครต่อใคร ว่าเพี้ยนได้

ถ้าใครต้องการคำตอบในทุกสรรพสิ่ง ที่ถูกต้องไปตามความเป็นจริง

ก็ควรหมั่นปฏิบัติธรรมให้บรรลุถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง จะดีที่สุด

แต่ถ้าให้ได้คำตอบเร็วๆ ก็ต้องฟังคำตอบจากผู้อื่น ซึ่งไม่แจ่มแจ้งเหมือนตัวเรา

ไปเห็นแจ้งรู้แจ้งเองหรอกครับ

*** สำหรับคุณ เกียรติก้องธรณินทร์ สามารถนำเนื้อหา ไปใช้ประโยชน์ในการกุศลได้แน่นอนอยู่แล้วครับ

ผมคิดว่าผู้ประพันธ์ คงยินดีและอนุโมทนาบุญที่ บทประพันธ์ของท่าน มีผู้อ่านและศึกษาแล้ว จิตเป็นกุศล

และช่วยนำไปเผยแผ่ต่อ

*** ผมคิดว่า ความรู้ใดๆ หรือสิ่งใดๆ ( ธรรมทาน/วิทยาทาน/ทรัพยากรธรรมชาติ/ปัจจัยสี่/บุญกุศล )
ที่เป็็นประโยชน์ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ในแก่มนุษย์และอมนุษย์
เราต้อง Give people free
จึงยินดีและอนุโมทนา ในกุศลจิตของคุณ เกียรติก้องธรณินทร์ ด้วยครับ สาธุ ...


#14 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 05:26 AM

Splendid!! if we can make it into cartoon it would be great. So younger people and non Buddhist that is interesting in samsara nad advance Dharmma.
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#15 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 09:22 AM

สาธุ... กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

#16 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 12:15 PM

ถ้าจะอุปมาว่า กายนคร เป็นศาสตร์ๆหนึ่ง ซึ่งยกระดับเป็น วิชชา

ที่เป็นความรู้สำหรับสัตว์โลกผู้ปรารถนา หนีการเวียนว่ายตายเกิด

เพื่อพ้นสรรพทุกข
์ในสังสารวัฏฏ์ และบันเทิงในบรมสุขในอมตมหานฤพานนครแล้วไซร้


ยังมีอีกศาสตร์หรืออีก วิชชา หนึ่งที่น่าศึกษามากๆี่ คือ กายในกายนคร

ศาสตร์ๆนี้ หรือ วิชชาๆนี้ จำเป็นต้องอาศัยกายนครหรือกายหยาบและดวงใจของเราเอง เปรียบเสมือนนักเรียน +

กายของผู้รู้แจ้งหรือพุทธกาย กายสัพพัญญู เป็นครูผู้รู้ภายใน ซึ่งอุดมด้วยวิชชาความรู้แจ้ง +

และกายนครหยาบของครู ผู้รู้ภายนอกที่สอน Know-how ถ่ายทอดขั้นตอนการเรียน

เป็นผู้เชื่อมผู้ัรู้ภายในกับความรู้ภายใน ให้นักเรียน


วิชชา กายในกาย นั้น ว่ากันว่า

สามารถเรียนรู้ใบไม้ในป่าใหญ่ได้หมด

สามารถช่วยให้ผู้เรียนพ้นสรรพทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ และบันเทิงในบรมสุขในอมตมหานฤพานนคร ได้

สามารถ ....... ฯลฯ ได้

ซึ่งต้องพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติ ด้วยตนเอง ( ไม่ใชพิสูจน์เพียงแค่่ ได้อ่าน-ฟัง-จำ-พิจารณา )


พูดแล้วก็ทำให้คิดถึง ครูท่านหนึ่งที่ให้ความเมตตา-ปรารถนาดี กับทุกๆคนมาตลอดการบำเพ็ญบารมีของท่าน

และทำให้นึกถึง สิ่งที่ท่านเฝ้าคอย ว่าเมื่อไรหรอ นักเรียนของฉัน จะ หยุดใจเข้าห้องเรียนที่แท้จริง ได้สักที


กายในกายใสแล้วหรือยังลูก

ใจพ่อผูกพันเจ้าเข้าถึงไหน

กายละเอียดกายทิพย์หรือกายใด

กายในกายของเจ้าพ่อเฝ้าคอย

สุนทรพ่อ












ต้องใช้ดวงปัญญา ญาณทัศนะในระดับที่พ้นไตรภูมิ

โดยอาศัยผู้เป็นสัพพัญญู คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้ามีอีกนครหนึ่ง ที่น่าสนใจศึกษามาก กายนคร

#17 นลิน

นลิน
  • Members
  • 30 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 11:06 PM

สาธุค่ะ อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ให้ความรู้เป็นธรรมทาน

#18 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 13 January 2006 - 10:39 PM

สาธุ ensure

#19 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 16 April 2007 - 01:14 PM

ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ