ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 16 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 CoffeePrinces

CoffeePrinces
  • Members
  • 18 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 January 2006 - 06:19 PM

“น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า”


เป็นพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เชิญมาจากพระนิพนธ์ เรื่องเที่ยวเมืองพม่าตอนหนึ่ง

เนื่องมาจากขณะเสด็จไปทรงท่องเที่ยวเมืองพม่าใน พ.ศ.๒๓๗๘ (หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ได้ ๓ ปี) ขณะนั้นก็ทรงได้รับข่าวจากเมืองบันดงประเทศชวา (อินโดนีเซีย) ว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี เสด็จสิ้นพระชนม์เสียแล้ว

เท้าความเล็กน้อยว่าขณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอู่ทองฯ ทรงอยู่ในฐานะโดดเดี่ยวยิ่งนัก เนื่องจากทั้งพระชนนี ทั้งพระเชษฐาเพียงพระองค์เดียวและพระเชษฐภคินีต่างเสด็จสิ้นพระชนม์ไปในระยะเวลาใกล้ๆ กัน จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จตามครอบครัวของพระเชษฐาต่างพระมารดา คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ไปประทับ ณ เมืองบันดุง ประเทศชวา

อันประเทศชวานี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดเสด็จประพาสยิ่งนัก ได้เสด็จฯประพาสถึง ๓ ครั้ง คือ พ.ศ.๒๔๑๓ พ.ศ.๒๔๓๙ และ พ.ศ.๒๓๔๔


ในการเสด็จประะพาสครั้งหลังเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๔ นั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอู่ทองฯ พระชนม์ประมาณ ๑๓ พรรษา ได้ตามเสด็จด้วย และเป็นพระราชธิดา ‘เด็กๆ’ เพียงพระองค์เดียวที่ได้โดยเสด็จฯ ใกล้ชิดไปแทบทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเสด็จฯ ไปเมืองใดขณะประทับอยู่ ณ เมืองชวานั้น

เมื่อทรงได้ข่าวจากเมืองบันดุงว่า สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอู่ทองฯ สิ้นพระชนม์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ จึงทรงพระนิพนธ์ด้วยพระอาลัยว่า

“อาการประชวรของสมเด็จหญิงน้อยฉันก็รู้อยู่แล้วตั้งแต่ไปชวา เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ ด้วยทูลกระหม่อมชาย (สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์ฯ) ท่านตรัสกระซิบบอกว่าหมอเขาว่าไม่มีทางที่จะหาย ได้แต่ระวังอย่าให้พระอาการทรุดลงรวดเร็ว ก็จะอยู่ช้าวันไปเท่านั้น สมเด็จหญิงน้อยเองก็ทรงทราบและมิได้ประมาท แต่เมื่อฉันไปชวา ดูยังทรงสบาย เสด็จไปไหนได้ แสดงพระเมตตาโปรดให้มีการเลี้ยงประทาน เมื่อตรงกับวันเกิดของฉันครบ ๖ รอบ ในเวลาที่อยู่เมืองบันดุงนั้น และวันหนึ่งฉันทูลชวนให้ทรง ‘รำลึกชาติ’ (คือระลึกถึงความหลัง จุลลดาฯ) เชิญเสด็จไปเสวยขนมด้วยกันที่ร้านขายขนมในเมืองบันดุง เหมือนอย่างที่ฉันได้เคยพาเสด็จไปแต่ยังทรงพระเยาว์เมื่อตามเสด็จสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงไปชวาด้วยกัน ก็ทรงรื่นเริงบันเทิงพระหฤทัย ไม่ได้นึกเลยว่าจะได้เห็นสมเด็จหญิงน้อยเป็นครั้งที่สุดเมื่อไปชวาครั้งนั้น ฯลฯ ตัวฉันก็หวนไปคิดคำนึงถึงหนหลัง...คิดดูเห็นสมควรนักที่สมเด็จหญิงน้อยจะทรงสร้อยพระนามว่า ‘ขัตติยนารี’ ด้วยทรงพระคุณอย่างเป็นขัติยนารีแท้ทุกสถาน และได้ทรงพิศูจน์ให้เห็นปรากฏแล้ว ทั้งในเวลาที่มีความสุข และเวลาได้รับความทุกข์ยาก เพราะฉะนั้นจะมีแต่คำสรรเสริญว่า ‘น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า’ เป็นอนุสรณ์อยู่กับพระนามตลอดไป”

ที่เชิญพระดำรัสมานี้ ก็ด้วยคิดว่า หากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงพระชนมชีพยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้ เห็นจะต้องทรงมีพระดำรัสสรรเสริญเจ้าหญิงอีกพระองค์หนึ่งแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เฉกเช่นเดียวกันกับที่ทรงสรรเสริญ เจ้าหญิงพระองค์หนึ่งในอดีตมาแล้ว โดยเฉพาะที่ทรงกล่าวว่า “น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า”

เจ้าหญิงพระองค์นั้น คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระสยามบรมราชกุมารีพระองค์แรกแห่งประเทศไทย

สมเด็จพระเทพรัตนฯ และสมเด็จหญิงน้อย ทรงมีหลายอย่างหลายประการที่มีส่วนลม้ายคล้ายคลึงกัน จนกระทั่งเมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่และทรงพระเจริญขึ้นขณะทรงเป็นนักเรียน คนเฒ่าคนแก่สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเวลานั้นยังมีชีวิตอดอุทานปรารภกันมิได้ว่า “ทำไมถึงได้ทรงลม้ายคล้ายกันนัก คล้ายกันจริงๆ”

ที่สะดุดตาสะดุดใจท่านเหล่านั้นแต่ทรงพระเยาว์ คือ พระฉวีคล้ำกว่า พระเชษฐา พระเชษฐาภคินีทุกพระองค์ เพราะทุกพระองค์ทรงมีพระฉวีขาวมาก ทว่าทรงมีพระพักตร์คมคาย เครื่องพระพักตร์งดงามทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพระเนตร นาสิก พระโอษฐ์ไม่มีที่ติ อีกประการหนึ่งก็คือ พระอุปนิสัยร่าเริง และกล้าน่ารัก ทรงเข้ากับใครๆ ได้ แม้ชาวต่างประเทศที่ทรงพบปะเมื่อตามเสด็จ มีพระอารมณ์ขันเป็นที่ชื่นชมยินดี

สมเด็จหญิงน้อยนั้น ด้วยพระนิสัยทรงเข้ากันได้กับพระเชษฐภคินี พระขนิษฐา ร่วมพระบรมราชชนก อย่างกลมเกลียว จึงทรงเป็นที่โปรดปรานในสมเด็จพระบรมชนกนาถอย่างยิ่ง

อีกพระนิสัยโปรดปรานการศึกษาเรียนรู้ (เช่นเดียวกันกับสมเด็จพระเทพรัตนฯ) ทรงเรียนภาษาอังกฤษจากครูฝรั่งบ้าง แล้วทรงอ่านทรงเรียนด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งทรงรับใช้สมเด็จพระราชบิดาได้

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จฯประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๕๐ สมเด็จหญิงน้อย มิได้ตามเสด็จด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงมีพระราชหัตถเลขา พระราชทานถึงพระราชธิดาตอนหนึ่งว่า

“พ่อคิดถึงลูกเหลือประมาณทีเดียว สารพัดในการหนังสือที่เคยใช้ต้องทำเองทั้งสิ้น จนนอนฝันไปว่าให้หญิงน้อยอ่านหนังสือ Deuelopment of the European Nations ให้ฟัง (เพราะพ่อกำลังอ่านอยู่) นอนฟังสบาย (เพราะนอนจริงๆ) นึกเปลี่ยวใจที่ไม่มีใครช่วยในการหนังสือ ยังไม่เคยลืมคิดถึงแต่สักวันหนึ่งเลย”
(พระราชนิพนธ์ ‘ไกลบ้าน’)

และเมื่อทรงเล่าถึงเมืองโบราณต่างๆ ก็ทรงมีพระราชหัตถเลขา ต่อไปว่า

“เมืองเหล่านี้ พ่อเข้าใจว่าลูกรู้จักทั้งนั้น เพราะมีในหนังสือเช็คสเปียร์ที่เคยอ่าน ความรู้สึกมันขัน รู้สึกอี๋ๆ ปลื้มๆ คุ้นเคย เหมือนอย่างไปเมืองดาหา เมื่อสิงหัดส้าหรี เมืองกาหลังที่ชวา เกี่ยวด้วยเรื่องอ่านหนังสือเท่านั้น พูดกับคนที่ไม่เคยอ่านหนังสือไม่รู้สึก”
(พระราชนิพนธ์ ‘ไกลบ้าน’)

สมเด็จหญิงน้อย นอกจากเป็นพระราชธิดาที่ทรงรู้และร่วมพระราชหฤทัยแล้ว ยังทรงใกล้ชิดสมเด็จพระบรมชนกนาถ

ในคืนที่ ๑๘๔ เมื่อประทับอยู่เพียงลำพังพระองค์ ในโรงแรมกรุงปารีส ทรงมีพระราชหัตถเลขาว่า

“นั่งซึมอยู่คนเดียวรำคาญ คิดถึงลูกเหลือสติกำลัง เพราะอย่างไรๆ ก็ได้นั่งบดฝนพูดกันอยู่เสมอ ไม่มีเวลาที่ต้องซึม เจ็บฤาดีก็คงจะนั่งอยู่ด้วยได้ ทำงานก็นั่งอยู่ด้วยได้ ไม่เดือดร้อนทุรนทุรายที่จะต้องไปข้างไหน ไม่เหมือนผู้ชาย มันออกจะต้องแยกกันเป็นเจ้าคุณ มีท่ามีธุระของตัวไปตามๆ กัน”

ซึ่งพระคุณสมบัติวิเศษของ ‘ขัตติยนารี’ นั้นได้ประจักษ์แก่ใจคนไทยทั้งปวงมาตลอดเวลาจนถึงทุกวันนี้...

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านเคยพูดทำนองว่า ความดีความเจริญแห่งเจ้านายในพระบรมราชวงศ์นั้น ปรากฎในพระอุปนิสัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทั้งสิ้น


...........................
จากโต๊ะห้องสมุด พันทิปดอทคอม

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  princess.jpg   35.6K   188 ดาวน์โหลด


#2 ปาลินารี

ปาลินารี
  • Members
  • 258 โพสต์

โพสต์เมื่อ 28 January 2006 - 08:10 PM

สมเป็นขัตติยนารี

ทรงพระเจริญ

#3 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 28 January 2006 - 09:45 PM

[attachmentid=1668]

สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี (สมเด็จหญิงน้อย ขณะนั้นพระบรมชนกนาถ ตรัสเรียกว่า หญิงเล็กนิภา)

จากนั้นก็ทรงเป็นดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ท่านว่า ทรงอยู่ใน “เวลาที่ได้รับความทุกข์ยาก” เรื่อยมานับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงอยู่เสมือนเหลือเพียงพระองค์เดียว บรรดา “พี่น้อง” ก็ล้วนแต่อยู่ในฐานะตกต่ำ ต่างองค์ต้องทรงประคองตัวอยู่ เจ้านายผู้ใหญ่ที่จะทรงพึ่งได้ ส่วนมากเสด็จลี้ภัยการเมืองไปประทับนอกประเทศ ที่ทรงอยู่ในเมืองไทย ก็ไม่อยู่ในฐานะจะทรงเป็นที่พึ่ง ในที่สุด สมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งทรงเป็น “ลูกรัก” ของสมเด็จพระปิยมหาราช ก็ทรงตัดสินพระทัย เสด็จไปประทับ ณ ประเทศชวา ต่างประเทศเดียวที่พระองค์เคยเสด็จฯไปและทรงรู้จัก

ก่อนสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชันษาเพียง ๔๙ นับว่าเป็นเวลาที่ทรงได้รับความทุกข์ยาก ด้วยเหตุอันมิใช่เพราะพระองค์เอง หากแต่เกิดจากอุบัติการณ์อันไม่อาจทรงหลีกเลี่ยงได้ ทว่าก็ทรงรักษาพระเกียรติยศอย่าง “ทรงพระคุณของขัติยนารีแท้” ถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถให้ปรากฏจนบัดนี้

[attachmentid=1671]

พระฉายาลักษณ์ พระราชธิดา ๔ พระองค์ ทรงฉายพระรูปร่วมกัน เมื่อตามเสด็จประพาสชวา
จากซ้าย; สมเด็จหญิงน้อย สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี เสด็จพระองค์สุจิตราฯ สมเด็จหญิงกลาง เสด็จพระองค์อาทรฯ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  62_1_1_.jpg   3.81K   32 ดาวน์โหลด
  • แนบไฟล์  62_2_1_.jpg   5.3K   40 ดาวน์โหลด


#4 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 28 January 2006 - 11:36 PM

นอกจากนี้ สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดลฯ ยังทรงเป็นพระราชธิดาผู้ทรงปฏิบัติพระภารกิจในฐานะราชเลขานุการิณี ถวายแด่องค์สมเด็จพระบรมชนกนาถอีกด้วย


[attachmentid=1674]

พระรูปหมู่ ฉาย ณ พระที่นั่งวิมานเมฆ เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๘ (พระรูปจากซ้ายไปขวา)

สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช (ประทับเอียงซบพระบัญชร) สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  074_1_1_.jpg   8.72K   35 ดาวน์โหลด


#5 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 28 January 2006 - 11:48 PM

น้อง Ideal ครับ พี่เกียรติก้องฯ ต้องขอแก้ไขการใช้คำราชาศัพท์และตัวสะกดของพระนามของเจ้านายบางพระองค์ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา ต้องใช้ตัว "ศ" สะกดเหมือนกับนามของพระตำหนักที่ประทับ คือ "พระตำหนักวังศุโขทัย" จึงจะถูกต้องครับ

#6 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 12:46 AM

ไม่ใช่ครับ อย่างเดิมถูกแล้วครับ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น กรมหลวงสุโขทัย เพราะท่านทรงกรรม เมืองสุโขทัย ครับ มิใช่เมืองศุโขทัย

พระตำหนักที่ประทับงก็ส่วนพระตำหนักที่ประทับครับ พระนามก็ส่วนพระนามครับ


สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  time.jpg   59.76K   121 ดาวน์โหลด


#7 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 04:40 PM

เอาเป็นว่าพี่จะเล่าให้ฟังก็แล้วกันนะครับ ที่พี่บอกกับเราว่า พระยศทรงกรมของสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ต้องใช้ "ศ" สะกดนั้น มีที่มาดังพระบรมฉายาลักษณ์ ๔ (อ้างอิงจาก หนังสือเฉลิมพระยศเจ้านายฉบับมีพระรูป จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๘ เนื่องในวโรกาสมหามงคลครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์) ดังได้มีพระบรมราชโองการมาณบัณฑูรสุรสิงหนาท ประกาศสถาปนาเฉลิมพระนาม เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ นั้น คำว่า กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา ใช้ตัว "ศ" สะกด (เพราะฉะนั้น ตัวสะกดของพระยศทรงกรมที่พี่แก้ไข จึงยึดเอาตามที่ได้จารึกไว้ในพระสุพรรณบัฏ เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๘ ครับ) ต่อมาในปีฉลู พุทธศักราช ๒๔๖๘ ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เลื่อนพระยศทรงกรมขึ้นเป็น กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ใช้ตัว "ส" สะกด ฉะนั้น ในกาลต่อมาจึงใช้ "ส" สะกดคำว่า "สุโขทัยธรรมราชา" ตามอย่างประกาศสถาปนาในชั้นหลังทั้งหมด และตามความเข้าใจของพี่ที่บอกว่า พระอิสริยยศเจ้าฟ้าฯ กรมขุน ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๗ กับนามของพระตำหนักวังศุโขทัย ใช้ "ศ" สะกดเหมือนกันนั้น ด้วยเหตุผลที่ว่า เดิมทีเดียวก่อนที่จะมาเป็นพระตำหนักหลังนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นพระราชทานเป็นเรือนหอ เมื่อแรกที่ทั้งสองพระองค์เสด็จมาประทับนั้น มีตำหนักสำคัญอยู่ในวังเพียงสองหลัง คือ ตำหนักใหญ่และตำหนักริมคลองสามเสน ส่วนตำหนักไม้ที่อยู่เคียงกันกับตำหนักใหญ่นั้น ได้สร้างเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง และด้วยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ทรงกรมชั้น "กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา" มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๔๘ วังนี้จึงมีนามว่า "วังศุโขทัย" ครับ นอกจากนี้ยังชวนให้ทรงคิดนำโอ่งดินเผาจากจังหวัดสุโขทัยมาตกแต่งเป็นเครื่องประดับสนามในพระตำหนักอีกด้วย กล่าวได้ว่า ข้าน้ำคนหลวงในพระตำหนักวังศุโขทัยที่ทันรู้เห็นเหตุการณ์ในครั้งนั้น ย่อมรำลึกถึงภาพแห่งความสุขที่ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ (คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี) ประทับอยู่ในวังศุโขทัยได้

[attachmentid=1706]


พระบรมฉายาลักษณ์ ๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา (ทูลกระหม่อมเอียดน้อย)

[attachmentid=1707]


พระบรมฉายาลักษณ์ ๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขทัยธรรมราชา) และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็น หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัฒน์ฯ (ท่านหญิงนา)) ฉายก่อนทรงอภิเษกสมรส

[attachmentid=1708]


ภาพ พระตำหนักวังศุโขทัย (เมื่อดูจากภาพจะเห็นโอ่งดินเผาตั้งตระหง่านอยู่กลางสนามภายในพระตำหนัก)

QUOTE
เพราะท่านทรงกรมเมืองสุโขทัย

เรื่องนี้ ขอเสริมสักหน่อยว่า แต่ก่อนสำหรับเจ้านายที่มีพระยศทรงกรมเป็นชื่อเมืองนั้น จะต้องไปปฏิบัติพระกรณียกิจ ณ เมืองนั้นจริงๆ แต่ในปัจจุบันคงเป็นเพียงพระเกียรติยศเท่านั้นครับ

ปล. พี่เกียรติก้องฯ ต้องขอชมเชยน้อง Ideal นะครับ สำหรับภาพแนบเก่าๆ ที่ได้อุตส่าห์ไปหามาเผยแพร่ อีกอย่างเด็กสมัยนี้ ได้ถูกความเชื่อ ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมทางตะวันตกหล่อหลอมไปเสียส่วนใหญ่ จึงได้ละทิ้งมรดกตกทอดที่บรรพบุรุษของเรามอบให้เสียมาก ฉะนั้น ขอให้รักษาความดีนี้ไว้นะครับ

ไฟล์แนบ



#8 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 05:56 PM

ก็แสดงว่าที่พี่เกียรติก้องเขียนไว้ข้างต้นนั้น คำว่า ศุ ใช้ในอดีต ปัจจุต้อง สุ ใช่หรือไม่ครับ ปัจจุบันนี้ก็ใช้ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา หรืออย่างใด

ต่อมาในปีฉลู พุทธศักราช ๒๔๖๘ ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เลื่อนพระยศทรงกรมขึ้นเป็น กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ใช้ตัว "ส" สะกด ฉะนั้น ในกาลต่อมาจึงใช้ "ส" สะกดคำว่า "สุโขทัยธรรมราชา" ตามอย่างประกาศสถาปนาในชั้นหลังทั้งหมด



ผมลอง ค้นหาในgoogle คำว่า กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เจออยู่หลายเวบที่ใช้ อย่างนี้เช่นเวบของ ม.ส.ธ ลองเปิดดูในประวัติอะครับเขาเขียนเช่นนี้ และค้นหาคำว่ากรมหลวงศุโขทัยธรรมราชา ก็มี3-4 เวบเองครับ




[attachmentid=1710]


ขอบคุณครับ ถ้าผิดประการใดขออภัยไว้ด้วยนะครับ

..

ผมไปเจอภาพนี้ แล้วเขาเขียนบรรยาใต้ภาพไว้ว่า แต่ภาพเป็นภาพเดียวกับของพี่เกียรติก้อง แต่ หนังสือคนละเล่มรึเปล่ครับ มีตราเดียวกันที่มุมขวาล่างเลยครับ

[attachmentid=1711]

สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ภาพจากหนังสือ "เฉลิมพระยศเจ้านาย" ฉบับมีพระรูป เป็นหนังสือพิมพ์พระราชทานในงานพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร ณ พระเมรุท้องสนามหลวง ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๗๒ พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร

ไฟล์แนบ



#9 CoffeePrinces

CoffeePrinces
  • Members
  • 18 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 05:57 PM

ดีใจครับที่ได้มีการขยายความให้ผู้อ่านโดยมีการอ้างอิงข้อมูลที่แน่นเหนียว ต้องขอบคุณ น้อง Ideal และ น้อง เกียรติก้องธรณินทร์ นะครับ ถ้ามีบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระราชวงศ์ที่น่าสนใจก็ขอเชิญชวนทั้งสองท่านนำมาเสนอด้วยกันนะครับ เพราะแผ่นดินนี้จะตั้งอยู่ได้ ก็ด้วยเราทำนุบำรุงรักษา ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงสถาพร

เมื่อได้เอ่ยถึงความสนิทแน่นแฟ้นของพระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยนั้นก็ทำให้หวนระลึกถึงเมื่อครั้ง ทูลกระหม่อมเอียดน้อยทรงกราบบังคมทูลขอพระราชานุญาตอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามราชประเพณีในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ (ตรงกับรัชกาลที่ ๖) ครั้งนั้นได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพิธียังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ศกนั้น เมื่อทรงผนวชแล้วเสด็จไปประทับยังวัดบวรนิเวศวิหาร โดยประทับอยู่กับสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระอุปัชฌาย์ จนครบสามเดือน แล้วจึงทรงลาผนวช กลับมาทรงรับราชการทหารต่อไปดังเดิม

ประเด็นที่น่าสนใจมีอยู่ว่า สมเด็จพระพันปีหลวงทรงมีพระราชโอรสซึ่งเสด็จอยู่มาจนมีพระชนม์ครบอุปสมบทได้ถึง ๔ พระองค์ แต่ได้ทรงสมัครพระทัยเสด็จออกบรรพชาเพียง ๒ พระองค์ คือพระองค์ใหญ่ (รัชกาลที่ ๖) และพระองค์สุดท้อง(ทูลกระหม่อมเอียดน้อย) และทั้งสองพระองค์ก็ได้ทรงเป็นพุทธศานูปถัมภก ด้วยได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยแต่สองพระองค์นี้เท่านั้น

ครั้นต่อมาในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาก็เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามย่อว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่ มีพระชนมพรรษาได้ ๓๒ พรรษา

หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ได้ทรงนิพนธ์ถึงประเด็นนี้อย่างน่าชวนให้คล้อยตามว่า " ดูราวกับเทพยดาเจ้าได้ถวายโอกาสให้(ทั้งสองพระองค์)ได้ทรงทำหน้าที่(กษัตริย์ไทย)โดยครบถ้วนบริบูรณ์"


อ้างในหนังสือพระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล เรื่อง สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕




#10 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 06:04 PM

QUOTE
ก็แสดงว่าปัจจุบันนี้ก็ใช้ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา คำว่า "ศุ" ใช้ในอดีต ปัจจุต้อง "สุ"

ถูกต้องนะครับ สรุปว่า ใช้ตัวสะกด "ศุ" เมื่อสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นกรมขุน ใช้ตัวสะกด "สุ" เมื่อสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นกรมหลวงครับ

QUOTE
ถ้าผิดประการใดขออภัยไว้ด้วยนะครับ

ไม่ผิดหรอกครับ เอาเป็นว่าตอนนี้ ใช้ตัวสะกดตามอย่างประกาศสถาปนาในชั้นหลังก็แล้วกันนะครับ (ระเบียบค่อนข้างยุ่งยากเหมือนกันเนอะว่ามั้ย)

QUOTE
ผมไปเจอภาพนี้ แล้วเขาเขียนบรรยายใต้ภาพไว้ว่า แต่ภาพเป็นภาพเดียวกับของพี่เกียรติก้อง แต่หนังสือคนละเล่มรึเปล่ครับ มีตราเดียวกันที่มุมขวาล่างเลยครับ

เข้าใจว่าเป็นหนังสือเล่มเดียวกัน แต่พิมพ์แจกต่างวาระกันครับ

#11 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 06:16 PM

ขอบคุณครับ ขออภัยด้วยครับ

ที่พี่เกียตรก้องบอกมาคือ กรมขุนต้องใช้ศุ แต่เมื่อ กรมหลวงต้อง สุ ขอบคุณครับที่ให้ความรู้

แต่ทำไมบางเวบถึงเขียนว่ากรมขุนสุโขทัย มีจำนวนมากกว่า กรมขุนศุโขทัย อะครับ

ในบทความของคุณ จุลลดา ภักดีภูมินทร์ ที่ตีพิมพ์ลงในสกุลไทย ฉบับที่ 2633 ปีที่ 51 ประจำวันอังคารที่ 5 เมษายน 2548 ก็เขียนไว้ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา อะครับ
http://www.sakulthai...2&stauthorid=13
ผมก็เลยเชื่อตามนั้น แต่ ความจริงแบบของพี่เกียรติก้องถูกผมก็ได้รู้ไว้ครับ
ขออภัยด้วยครับ

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงฉายกับพระเจ้าพี่ยาเธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช


เหตุการณ์อัญเชิญพระบรมอัฐิ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับประเทศไทย
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒

#12 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 06:55 PM

QUOTE
แต่ทำไมบางเว็บถึงเขียนว่ากรมขุนสุโขทัย มีจำนวนมากกว่า กรมขุนศุโขทัย อะครับ
(ในบทความของคุณ จุลลดา ภักดีภูมินทร์ ที่ตีพิมพ์ลงในสกุลไทย ฉบับที่ 2633 ปีที่ 51 ประจำวันอังคารที่ 5 เมษายน 2548 ก็เขียนไว้ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา อะครับ)

คงเป็นพระราชนิยมหรือเป็นความนิยมของการเขียนในปัจจุบัน ซึ่งอิงตามแบบประกาศสถาปนาในชั้นหลังกระมังครับ

QUOTE
ถ้ามีบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระราชวงศ์ที่น่าสนใจ ก็ขอเชิญชวนทั้งสองท่านนำมาเสนอด้วยกันนะครับ

ได้ครับ แต่ขอนำเสนอเฉพาะในช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ของชาติก็แล้วกันนะครับ เนื่องจากเว็บบอร์ดนี้ มีวัตถุประสงค์ไว้เพื่อการสนทนาธรรมเป็นหลัก อีกอย่างก็คือ ผมเองก็มีตำแหน่งเป็นผู้ดูแลและรักษาบรรยากาศภายในเว็บบอร์ดนี้เสียด้วย หากทำผิดกฎเสียเองนี่ คงดูไม่ดีแน่ แถมจะโดนพวกพี่ๆ Moderator จวกเอาด้วยครับ

#13 CoffeePrinces

CoffeePrinces
  • Members
  • 18 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 09:41 PM

ผมว่า เรื่องประวัติศาสตร์ชาติ ก็มีหลายตอนเหลือเกินที่เกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา ซึ่งสมควรแก่การศึกษาและจดจำ ส่วนการนำเสนอประวัติศาสตร์พระราชวงศ์นั้น ผมคิดว่า คงมิใช่เป็นการทำผิดกฏ หรือทำให้บรรยากาศในการสนทนาธรรมเปลี่ยนไปหรอกครับ เพียงแต่บทความเหล่านี้เป็นเหมือนสารคดีสั้นๆให้กัลยาณมิตรผู้สนใจประวัติศาสตร์ได้อ่าน คล้ายๆกับที่มีการนำเสนอรายการกระจกหกด้านในจอจานดาวธรรมเช่นเดียวกัน




"ถ้ามีบทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระราชวงศ์ที่น่าสนใจก็ขอเชิญชวนทั้งสองท่านนำมาเสนอด้วยกันนะครับ เพราะแผ่นดินนี้จะตั้งอยู่ได้ ก็ด้วยเราทำนุบำรุงรักษา ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้มั่นคง"

เมื่ออ่านข้อความนี้แล้ว คุณเกียรติก้องฯ คงสบายใจนะครับ





#14 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 30 January 2006 - 05:17 PM

รู้สึกดีขึ้นครับ แต่ว่าถ้าผมจะโพสต์ก็คงโพสต์เกี่ยวกับพระราชประวัติบางตอนที่มีความเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาและพระอุปนิสัยอันจะเป็นต้นบุญต้นแบบแก่ชาวโลก เพื่อเป็นเครื่องจูงใจให้น้อมนำมาเป็นทิฏฐานุคติในการดำเนินรอยตามแบบอย่างอันดีงามนั้น แต่กระผมคงไม่โพสต์แบบกระหน่ำไปเรื่อยเปื่อยหรอกนะครับ เน้นว่าต้องสำคัญจริงๆ เท่านั้น จึงจะโพสต์ครับ เนื่องจากเว็บนี้ คือ เว็บธรรมะ ไม่ใช่เว็บวิชาการด็อทคอมหรือพันธ์ทิพย์ครับ อีกอย่างผมกลัวว่าเว็บเราจะกลายพันธุ์ด้วย เพราะหากว่าเราโพสต์ข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องกับธรรมะภายในเว็บธรรมะแล้ว ผมเกรงว่า จุดเล็กๆ ตรงนี้ จะเป็นการเปิดช่องทางให้กับการโพสต์กระทู้ที่มีเนื้อหาสาระไม่เหมาะไม่ควรต่อไปได้ในภายหน้าครับ เพราะผมเคยเจอมาเมื่อปีที่แล้วสดๆ ร้อนๆ นี่เอง หัวข้อกระทู้เป็นเรื่องของการร้องขอให้กัลยาณมิตรบนบอร์ดมาช่วยคลายทุกข์เกี่ยวกับเรื่องรักๆ ใคร่ๆ นี่แหละ ไปๆ มาๆ กลับกลายเป็นว่ามาโพสต์เพลงของอาแอ๊ดคาราบาว (น้ำเอยน้ำใจ) กับเรื่อง sex เฉยเลย (โพสต์ถูกลบไปเรียบร้อยแล้วครับ) เพราะฉะนั้น กันไว้ดีกว่าแก้จะดีกว่านะครับ

#15 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 30 January 2006 - 06:53 PM

ที่พี่เกียรติก้องทำนั้นถูกแล้ว ผิดที่ผมโพสรูปสมเด็จ ผมจะรีบลบพระรูปพระฉายาลักษณ์นะครับ ที่โพสไปนั้นเพื่อให้คนได้ดูรูปที่หาชมยากๆอะครับ
โปรดให้อภัยด้วยคร๊าบ ผมก็เหมือนทารกจับก้อนไฟที่ร้อนฉ่า ครับ

- /\ -

#16 CoffeePrinces

CoffeePrinces
  • Members
  • 18 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2006 - 08:40 PM

ถูกต้องครับ เราไม่ควรให้เวปนี้กลายพันธุ์ เวปนี้มีจุดยืนที่ไม่เหมือนเวปอื่นอยู่แล้ว และผมก็เชื่อว่า บทความจากเวปพันทิปที่ผมนำมาลงก็สอดคล้องกับ"พระราชประวัติบางตอนที่มีความเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาและพระอุปนิสัยอันจะเป็นต้นบุญต้นแบบแก่ชาวโลก เพื่อเป็นเครื่องจูงใจให้น้อมนำมาเป็นทิฏฐานุคติในการดำเนินรอยตามแบบอย่างอันดีงามนั้น" ทุกประการ อนุโมทนาครับ

#17 เถลิงเกียรติ

เถลิงเกียรติ
  • Members
  • 760 โพสต์
  • Interests:N/A

โพสต์เมื่อ 31 January 2006 - 12:28 AM

เป็นการปฎิสัมพันธ์ทางความคิดบนพื้นฐานความปราถนาดีต่อกัน ผลที่ออกมาคือความรู้ และความเข้าใจไปในทางเดียวกันครับ...Together+everyone+Archives and More = DMC TEAM ครับ..อนุโมทนาครับ..สาธุ

ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
อาจเป็นเรื่องที่แตกต่างหรือเกี่ยวข้องกับ วิทยาศาสตร์ หรือ วิศวกรรมศาสตร์
ดังนั้นเรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนถ้าไม่ตรงกับความคิดเห็นของท่านใด ขออย่าได้มีอคติก่อน
แต่ถ้าตรงกับความคิดเห็นของท่านผู้ใด ขออย่าได้เชื่อไปก่อน
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าเรื่องที่แสดงความเห็นเป็นแนวคิดของข้าพเจ้า
และข้อมูลที่ค้นคว้าเพื่อเสริมสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้มั่นคง
ซึ่งอาจจะถูกบ้างผิดบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็จะเป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลหนึ่ง กับท่านที่ศึกษาทางพุทธศาสตร์
ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า แต่ละคนก็มีกรรมเป็นของตนเอง เราเป็นทายาทแห่งกรรม
ทำดีตามครูไม่ใหญ่ ต้องได้ดีแน่นอน
และสรุปได้ว่า การเอาธรรมในพุทธศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิตไม่เคยล้าสมัย สามารถใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม