ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 April 2006 - 01:21 AM


ร่างกายคนเราจะเริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป
ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะตั้งแต่ต้นจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือปัญหาทางสุขภาพที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ

วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ
สภาพร่างกายจะเห็นได้ว่าเสื่อมลงตามอายุขัย
สภาพจิตใจมีการเปลี่ยนแปลงง่าย ขี้หงุดหงิด มีความวิตกกังวล
เนื่องจากการเจ็บป่วย หรือจากการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

โดยปกติร่างกายคนเราจะเริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป
ดังนั้นการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะตั้งแต่ต้น
จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุได้

การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
ในผู้สูงอายุมักจะพบว่ามีความเสื่อมทางด้านระบบทางเดินอาหาร
เนื่องมาจากปริมาณฟันที่มีน้อยลง ทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด
ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมาน้อย ไม่พอเพียงที่จะช่วยคลุกเคล้าอาหาร
ประสาทกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนก็จะทำงานน้อยลง ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก

นอกจากนี้ปริมาณน้ำย่อยต่าง ๆ ก็ลดลง ทำให้อาหารย่อยได้ไม่ดี
มีอาการท้องอืด ตับและตับอ่อนเสื่อม
นอกจานี้ระบบขับถ่ายอุจจาระในผู้สูงอายุมักจะเป็นไปตามปกติ
เกิดท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวน้อยลง และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ
อารมณ์และจิตใจที่มีการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ อาจเกิดมาจากมีเวลาว่างมากเกินไป เ
พราะเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว จึงรู้สึกว่าตัวเองถูกลดคุณค่าลง
ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเริ่มมีน้อยลง
ซึ่งอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว และเศร้าซึม น
อกจากนั้นยังอาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วย และการเสื่อมของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย
ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย ขี้หงุดหงิด ใจน้อย โกรธง่าย เป็นต้น

ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ
จากความเสื่อมทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงการดูแลสุขภาพที่อาจไม่เหมาะสม
ทำให้ผู้สูงอายุมักเกิดปัญหาทางสุขภาพ หลาย ๆ โรคพร้อมกัน

โรคที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีทั้งโรคที่เกิดขึ้นทางร่างกาย และจากปัญหาทางจิตใจ ได้แก่
1. โรคอ้วน
2. โรคเบาหวาน
3. โรคหัวใจขาดเลือด
4. โรคความดันโลหิตสูง
5. โรคไขมันในเลือดสูง
6. โรคข้อเสื่อม
7. โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องผูก
8. โรคทางประสาทตา เช่น โรคต้อหิน ต้อกระจก
9. โรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์
10. อาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ

โรคอ้วน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โรคนี้มักนำมาซึ่งโรคอื่น ๆ
หรืออาจเกิดขึ้นพร้อมกับโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค

อย่างไรก็ตามปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ก็คือ ปัญหาทุพโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ในผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีผลมาจากความเสื่อมทางด้านสรีระ
โดยเฉพาะระบบการย่อย และดูดซึมอาหารของผู้สูงอายุเอง
ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการดำรงชีวิต เช่น สภาพทางเศรษฐกิจด้วยลง กิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการพบปะสังสรรค์ทางสังคมน้อยลงก็ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอารมณ์เศร้าซึม
หรือแม้กระทั่งปัญหาการเบื่ออาหาร เนื่องจากรับรู้รสอาหารด้อยลง
การเลือกรับประทานอาหารโดยไม่คำนึงถึงประเภทที่หลากหลาย
และความครบถ้วนของสารอาหารที่ควรได้รับ หรือไม่ควรได้รับมากน้อยเกินไป

ปัญหาmทุพโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ในผู้สูงอายุ
ลักษณะการขาดสารอาหารที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือ
น้ำหนักตัวน้อยอันเนื่องมาจากการเสื่อมถอยของระบบทางเดินอาหาร และย่อยอาหาร
และการขาดวิตามินแร่ธาตุ ผู้สูงอายุมีโอกาสขาดวิตามิน และแร่ธาตุสูง
ถ้าการบริโภคอาหารไม่เพียงพอ หรือไม่ครบถ้วนตามที่ร่ายกายต้องการ การขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดนั้นยังเกี่ยวพันกับการบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอ
หรือมีคุณภาพไม่ดีพออีกด้วย

ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะขาดวิตามินแทบทุกชนิด
ที่พบบ่อยคือการขาดวิตามินซี มักพบในรายที่รับประทานผักและผลไม้น้อย
เป็นโรคโลหิตจางเนื่องมาจากการขาดธาตุเหล็ก
และอีกโรคหนึ่งที่สำคัญที่มักพบโดยทั่วไปก็คือ โรคกระดูกพรุน
อันเนื่องมาจากการขาดแคลเซียม และมีภาวะการขาดโปรตีน วิตามินดี และวิตามินซี ร่วมด้วย

ดังนั้นการดูแลโภชนาการผู้สูงอายุที่ควรได้รับนั้นจึงมีความสำคัญ
และต้องมีความครบถ้วนอย่างพอดีต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อป้องกันทั้งปัญหาโรคอ้วน
และปัญหาทุพโภชนาการที่อาจเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้ยังควรดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพใจของผู้สูงอายุให้แข็งแรงแจ่มใส
ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพอเหมาะกับวัย
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นดูแลรักษาร่างกายเป็นประจำ
พบปะสังครรค์กับครอบครัว และผู้ใกล้ชิดอย่างสม่ำเสมอ
หากิจกรรมยามว่างทำเพิ่มเติมและทำจิตใจให้เป็นสุข

อาหารการกินในวัยผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุในที่นี้หมายถึงผู้ที่อยู่ในวัย 60 ปีขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบัน เป็นปีที่จะเกษียณอายุของทางราชการ
แต่ในอนาคตจะมีคนอายุ 60 ปี แต่ยังแข็งแรงทั้งสุขภาพกายสุขภาพจิต ความคิดความอ่าน การตัดสินใจยังดีอยู่
จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้สูงอายุน่าที่จะขยับไปอยู่ที่วัย 65 ปีขึ้นไป

สำหรับปัญหาเรื่องอาหารการกิน หรือโภชนาการในวัยนี้ มีข้อคิดอยู่ว่า ขอให้รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และควบคุมปริมาณโดยดูจากการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากขึ้น

และในกรณีน้ำหนักเกินอยู่แล้ว ควรจะลดน้ำหนักให้ลงมาตามที่ควรเป็นด้วย
เพราะโครงสร้างของท่านเสื่อมตามวัย ถ้ายังต้องแบกน้ำหนักมากๆ จะเป็นปัญหาได้

ข้อแนะนำในการดูแลเรื่องอาหารในผู้สูงอายุมีดังนี้

1. โปรตีนคุณภาพ ควรให้รับประทานไข่วันละ 1 ฟอง และดื่มนมอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว
สำหรับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ควรลดน้อยลง เพราะส่วนใหญ่จะติดมันมากับเนื้อสัตว์ด้วย
2. ไขมัน ควรใช้น้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันข้าวโพดในการปรุงอาหาร เพราะเป็นน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิก
3. คาร์โบไฮเดรต คนสูงอายุควรรับประทานข้าวให้ลดน้อยลง และไม่ควรรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มาก
4. ใยอาหาร คนสูงอายุควรรับประทานอาหารที่เป็นพวกใยอาหารมากขึ้น เพื่อช่วยป้องกันการท้องผูก
เชื่อกันว่าช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และลดอุบัติการของการเกิดมะเร็งของลำไส้ใหญ่ลงได้
5. น้ำดื่ม คนสูงอายุควรรับประทานน้ำประมาณ 1 ลิตร ตลอดทั้งวัน แต่ทั้งนี้ควรจะปรับเองได้
ตามแต่ความต้องการของร่างกาย โดยให้ดูว่า ปัสสาวะมีสีเหลืองอ่อนๆ เกือบขาว
แสดงว่าน้ำในร่างกายเพียงพอแล้ว ส่วนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งน้ำชา กาแฟควรจะงดเว้นเสีย
ถ้าระบบย่อยอาหารในคนสูงอายุไม่ดี ท่านควรแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ แล้วรับประทานทีละน้อย แต่หลายมื้อจะดีกว่า
แต่อาหารหลักควรเป็นมื้อเดียว

แหล่งที่มา : Bangkokhealth.com

***
ป.ล. ไว้เป็นความรู้ เข้าใจภาวะความชรา ดูแลตนเอง และเพื่อคอยดูแลพระอรหันต์ในบ้าน คือ
มารดา บิดา หรือญาติสูงอายุ ผู้มีพระคุณ อย่างถูกหลักวิชา ... สาธุ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  Pic21.jpg   128.71K   895 ดาวน์โหลด


#2 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 April 2006 - 09:43 AM

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีดีในบทความ

"ชีวิตเป็นของน้อย มีความชราลุกไล่"
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#3 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 02:05 AM

สาธุ ครับ
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#4 ประคองบุญ

ประคองบุญ
  • Members
  • 210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 11:17 AM

สาธุ ค่ะ
แต่ทำไม เขาให้ผู้ใหญ่ กินไข่ วันละ 1 ฟอง *o*"

#5 แก้วประเสริฐ

แก้วประเสริฐ
  • Members
  • 513 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 06:31 PM

อ่านแล้วคนเราเริมแก่ อะไรก็ไม่ดีสักอย่าง สังขารไม่เที่ยงจริงๆ
ยิ่งเห็นภาพนี้ทำให้ นึกถึงแม่ ที่ต้องอยู่คนเดียวจริงๆ เวลาลูกๆ
ไม่อยู่ไปทำงาน ต้องหาข้าวกินเอง งกๆ เงิ่นๆ เห็นแล้วสะเทือนใจทุกที
ทำไมเราไม่เกิดมารวยหนอ (เพราะทำทานมาน้อยนี่เอง) ไม่ต้องทำมาหากิน
จะได้อยู่ดูแลแม่ให้สะดวกสบาย ไม่มีวิบากกรรมติดตัวไปอีก ที่ต้องทิ้งท่านไว้
อย่างเดียวดาย อาดูร

#6 KATCH

KATCH
  • Members
  • 105 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 April 2006 - 11:12 AM

คุณแก้วประเสริฐ ยังไงทุกครั้งที่คุณกลับบ้าน ก็พยายามเข้าไปพูดคุย เข้าไปกอดท่าน บอกรักท่านบ่อยๆ นะคะ
แม้จะมีเวลาน้อย ก่อนนอนไปกราบให้ท่านทุกคืนจะดีมาก อย่างนี้ท่านก็ชื่นใจแล้วล่ะ อย่างน้อยๆ ก็ชดเชยช่วงที่เรา
ไปทำงานไงล่ะคะ หรือเวลาเราไปวัดมา ก็เอาบุญมาฝากท่าน หรือแม้ตัวอยู่ไกล ก็หมั่นเขียนจดหมายไปหา หรือโทรไปหาก็ดีค่ะ
( หากบ้านใครติด DMC ถือว่าลูกคนนั้นได้นำสิ่งที่ดีที่สุดไปมอบให้ท่านแล้วล่ะค่ะ ใจท่านจะได้เกาะเกี่ยวอยู่กับบุญ
เพราะคนสูงอายุจะเหงาง่าย น้อยใจง่าย ท่านจะได้มีธรรมะที่พึ่งค่ะ )

ชาตินี้ตั้งใจสร้างบุญให้เต็มที่ ขวยขวายในบุญทุกบุญ แม้กำลังทรัพย์จะยังไม่มาก แต่อย่าลืมว่าเรามีขุมกำลังสติปัญญา ขุมแรงกาย และอีกที่สำคัญ คือกำลังใจที่เราต้องสร้างเอง ( ด้วยการนั่งสมาธิเป็นประจำ ) แล้วทุกอย่างจะดีขึ้นตามลำดับค่ะ

#7 จ.ใจเดียว

จ.ใจเดียว
  • Members
  • 92 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 April 2006 - 09:21 PM

ดีครับ