ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

การพูดเพื่อการเผยแผ่และการประชาสัมพันธ์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 January 2006 - 10:36 PM

คัดลอกมา




การพูดเพื่อการเผยแผ่และการประชาสัมพันธ์

หลักการพูดทั่วไป การพูดเป็นวิชาสื่อสารชนิดหนึ่งที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องการศึกษาและฝึกฝนอย่างจริงจังจนเกิดความชำนาญ จนสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้ดี
การพูดมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์และเผยแผ่มาก มีความจำเป็นต่อทุกสาขาอาชีพ การพูดจะต้องใช้กับสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์เกือบทุกชนิด เพราะพฤติกรรมของมนุษย์นั้นคุ้นเคยกับการพูดมาโดยตลอด นับตั้งแต่พ่อแม่ได้เลี้ยงดูมา แล้วสอนให้หัดพูดคำง่ายๆ ว่าพ่อ แม่ จนกระทั่งใช้ภาษาพูดสื่อความหมายกับผู้อื่นได้เป็นปกติธรรมดา ถึงจะเกิดในชาติใดภาษาใดก็ใช้ภาษานั้นได้อย่างคล่องแคล่ว ทุกคนสามารถพูดได้อย่างสบาย อย่างนี้เรียกว่าพูดได้อย่างนี้ใครๆ ก็พูดได้ คือพูดได้อาจจะพูดไม่ดีก็ได้ ทุกคนเกิดมาต้องพูดได้ด้วยกันทั้งนั้น ยกเว้นคนใบ้หรือหูหนวก

แต่ที่สำคัญก็คือ พูดเป็นได้แก่พูดให้มีประโยชน์ต่อตัวเอง และผู้อื่น ใครได้ยินได้ฟังก็ชื่นชอบพูดดีมีประสิทธิภาพ พูดแล้วบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตนเองคิดไว้ คือพูดแล้วผู้ที่ฟังเห็นคล้อยตามเกิดความฉุกคิดสะกิดสะดุด จุดประกายความคิดขึ้นในมโนภาพของผู้ฟัง สามารถจูงใจดลใจให้เห็นคล้อยตามด้วยการพูด จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการเรียนรู้หลักการพูดมีการฝึกฝนตนพยายามปรับปรุงการพูดอยู่เสมอๆ

ความรู้ในการใช้ปากถือเป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีความสำคัญมากกว่าที่ทุกๆ ศาสตร์ หมายความว่า มนุษย์จะดีจะชั่วประกอบกิจการงานใดๆ ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีได้นั้นต้องอาศัยการพูดจาสื่อสาร เพราะคนเราจะมีความรู้มากมายอย่างไร ถ้าไม่รู้จักถ่ายทอดความรู้ออกมาให้คนอื่นเขารับรู้ด้วยก็ไม่มีประโยชน์ จะเห็นได้จากนักวิชาการและครูหลายคน ไม่ประสบผลสำเร็จในการสอน คือสอนไม่ดีทั้งที่มีความรู้จบปริญญาดอกเตอร์ มากมายหลายสาขาก็เปล่าประโยชน์

ในทำนองเดียวกันนี้ พระสงฆ์ในพระพุทธศาสตร์ ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงต้องพูดคือเผยแผ่ธรรมะให้แก่ประชาชน จำนวนสามแสนกว่ารูปนี้ก็มีไม่กี่รูปที่ใช้วิชาการพูดให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน บางท่านถือว่ามิใช่หน้าที่ของพระที่จะเป็นนักพูดเป็นนักแสดงธรรมจึงไม่มีการฝึกฝนอบรมเป็นนักเทศน์ เป็นนักพูดอย่างจริงจังเพียงเรียนหนังสือ นักธรรม บาลี แล้วก็หยุด ทำหน้าที่คือประกอบพิธีกรรมสวดมนต์ หรือจะพูดบ้างก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว พระสงฆ์กลุ่มนี้ยังไม่ชอบพระนักพูดพระนักเทศน์อีกด้วยซ้ำไป
การที่พระพุทธองค์ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางมาจนทุกวันนี้พระองค์ก็ทรงเริ่มด้วยการพูดทั้งนั้น รุ่นแรกๆ ครั้งพุทธกาล และหลังพุทธกาลก็ยังใช้ปากเป็นสื่ออยู่ เรียกว่า มุขปาฐะ พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ก่อนจะจารึกลงในใบลานเป็นตัวหนังสืออย่างทุกวันนี้ พระพุทธสาวกท่านก็จำและถ่ายทอดกันมาด้วยปากเปล่าทั้งนั้น นี้คือความสำคัญของปาก

นักเผยแผ่นักประชาสัมพันธ์จะต้องเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงความรู้ความเข้าใจระหว่าง กลุ่มชน กับองค์กรหรือกลุ่มประชาชนถึงหน่วยงานคือพูดแล้วสามารถสร้างภาพให้คนเข้าใจหน่วยงานที่ตนทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์อยู่การประชาสัมพันธ์ระดับประเทศชาติ ก็ต้องพูดให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศชาติ ก่อนจะลงรายละเอียดในการพูด ควรทำความเข้าใจคำว่าการพูดตามความหมายที่ถูกต้องเสียก่อน


การพูด ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ คือ
พูดเป็นคำกริยาหมายถึงการเปล่งเสียงเป็นถ้อยคำ เพิ่มการเข้าไปข้างหน้ากิริยาเป็นการพูด โดยใช้เป็นนาม
การพูด คือกระบวนการสื่อความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งโดยมีน้ำเสียงและอากัปกิริยาเป็นสื่อ
การพูด เป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้าใจระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
การพูด คือการแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก โดยใช้ภาษาและเสียงสื่อความหมาย
การพูด คือการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงและกิริยาอาการในการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้พูด เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการรับรู้และการตอบสนอง

“การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือ การพูดเพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจอันดีต่อองค์กรกิจการ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การกิจการ ตลอดจนการพูดเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดต่างๆ ให้กลายเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง”

นักพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ควรมีคุณสมบัติ

๑. มีความชำนาญคล่องแคล่วในการสื่อสารด้วยการพูดได้ อย่างมีประสิทธิภาพและมีมนุษยสัมพันธ์อัธยาศัยไมตรีดีกับทุกคน

๒. มีความรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับองค์กรการศึกษา วิธีการ กระบวนการของทุกๆ วิชาการอย่างดี รวมทั้งสามารถเรียนรู้นิสัย ใจคอของผู้คนและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี มีนิสัยเรียนรู้เร็ว มีจิตวิทยาเรียนรู้เป็นพิเศษ

๓. เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ สามารถมองปัญหาได้อย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง

๔. เป็นผู้มีความรักในการเรียนรู้ กระตือรือร้น ใฝ่รู้อยู่เป็นนิตย์ และสามารถวัดระดับขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ถ่ายทอดออกมาต่อกลุ่มชนที่เกี่ยวข้องอย่างดี

๕. เป็นคนซื่อตรงเปิดเผยตรงไปตรงมาในการเสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังโดยส่วนรวม

๖. เป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงคนทุกฝ่ายได้เป็นอย่างดี เป็นผู้มีมารยาทดี มีความเอื้ออารีมีวจีไพเราะสงเคราะห์ผู้คนและวางตนงดงามตลอดเวลา


การพูดเพื่อประชาสัมพันธ์นั้นมีโอกาสจะใช้ได้มากมาย แต่จะขอสรุปประเด็นเป็นข้อๆ ดังนี้

๑. พูดในฐานะเป็นพิธีกร
เป็นหน้าที่โดยตรงนักประชาสัมพันธ์จะต้องพูดในฐานะเป็นพิเศษในโอกาสต่างๆ รวมถึงพิธีกรในรายการวิทยุและโทรทัศน์

๒. การกล่าวต้อนรับ
เป็นการสื่อที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากมายในสถาบันองค์การต่างๆ จะมีแขกผู้มีเกียรติมาเยี่ยมมาเยือนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจะกล่าวอย่างไรให้ประทับใจผู้มาเยี่ยม เมื่อเขาจากไปแล้ว เขาก็อยากจะมาอีก นั่นคือวิธีการที่มีศิลปะในการพูด

๓. การบรรยายสรุป
ข้อนี้สำคัญไม่น้อยยิ่งผู้ทำงานอยู่ในหน่วยงานสำคัญมีผู้มาเยี่ยมกิจการของสถาบันฝ่ายประชาสัมพันธ์ก็จะกล่าวบรรยายสรุปให้แขกผู้มีเกียรติฟัง ทั้งนโยบายวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

๔. การพูดในโอกาสพิเศษและการแสดงปาฐกถา
ซึ่งข้อนี้ประชาสัมพันธ์จะต้องแสดงความสามารถให้ปรากฏ โอกาสนี้ก็มักจะมีบ่อย เช่น ได้ไปร่วมประชุมอภิปรายโต้วาทีในงานต่างๆ หรือในการสัมมนาที่สำคัญเข้าไปอภิปรายแสดงข้อคิดเห็น กล่าวตอบขอบคุณการกล่าวอำลา แสดงความยินดีตลอดถึงการบรรยายเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์

ตามหลักพระพุทธศาสนาการพูดเพื่อประชาสัมพันธ์ พระพุทธเจ้าทรงมีหลักอยู่ว่าต้องพูดจริงและเป็นประโยชน์

คุณสมบัติ ๖ ประการของนักพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์คือ

๑. กาลวาที พูดถูกกาล

๒. สัจจวาที พูดความจริง

๓. ภูตวาที พูดสิ่งที่เป็นจริง

๔. อัตถวาที พูดสิ่งเป็นประโยชน์

๕. ธรรมวาที พูดเป็นธรรม

๖. วินยวาที พูดอย่างมีจรรยาบรรณ คือ
- คำพูดไม่จริง, ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักชอบใจของผู้อื่น...ไม่พูด
- คำพูดจริง, ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น...ไม่พูด
- คำพูดจริงถูกต้อง, เป็นประโยชน์, แต่ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น...เลือกกาลพูด
- คำพูดไม่จริง, ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น...ก็ไม่พูด
- คำพูดจริง, ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นรักที่ชอบใจของผู้อื่น...ก็ไม่พูด
- คำพูดจริง, ถูกต้อง, เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น...เลือกกาลพูด

นักพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์จะต้องพูดสิ่งที่จริงถูกต้องเป็นประโยชน์ทั้งเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่นด้วยจึงสัมฤทธิ์ผลอย่างที่ต้องการ ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ในวิวาหสมุทรที่ว่า

ปากเป็นเอก เลขเป็นโท โบราณว่า
หนังสือตรี มีปัญญา ไม่เสียหาย
ถึงรู้มาก ไม่มีปาก ลำบากตาย
มีอุบาย พูดไม่เป็น เห็นป่วยการ
ถึงเป็นครู รู้วิชา ปัญญามาก
ไม่รู้จัก ใช้ปาก ให้จัดจ้าน
เหมือนเต่ายัง นั่งซื่อ อื้อรำคาญ
วิชาชาญ มากเปล่า ไม่เข้าที

ดังนั้น การประชาสัมพันธ์จึงต้องกระทำอย่างมีแผนการ มีกระบวนการที่แน่นอนต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ถ้าบุคคลทางพระพุทธศาสนาจะนำมาใช้เพื่อการเผยแผ่ในภาวะที่โลกก้าวเข้าสู่ยุค IT ใช้สื่อมวลชนเพื่อการเผยแผ่ คือการประชาสัมพันธ์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ก็จะเกิดเป็นประโยชน์ต่อประชาชนยิ่งใหญ่ไพศาลไม่เพียงแต่ชาวพุทธในประเทศไทยเท่านั้น แม้ชาวโลกก็จะได้รับความสันติสุขโดยทั่วกัน
โลกจะมีแต่ความร่มเย็น เพราะเราบำบัดด้วยพุทธธรรมในพระพุทธศาสนา


#2 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 11:15 AM

ดีค่ะ
ชอบค่ะ
แต่แนะนำนะคะว่าช่วยย่อโพสต์ให้บ้างก็ดีนะคะ อ่านจนตาลายเลย
สาธุ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#3 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 10 January 2006 - 10:57 PM

มีต่อรองด้วยแฮะ

#4 ชาร์ป

ชาร์ป
  • Members
  • 985 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ปทุมธานี

โพสต์เมื่อ 12 January 2006 - 08:34 AM

หน้าที่ผู้นำบุญที่ก็ใช้ตรงนี้นี่แหละนะ..

#5 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 April 2007 - 08:09 AM

ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ