ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

อะไรเอ่ย คำภีร์ใบลาน


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 1 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 January 2006 - 11:01 PM

คักลอกมา

คัมภีร์ใบลาน

โดย เก้า มกรา

ในสมัยที่คนไทยยังไม่รู้จักใช้กระดาษนั้น การจดบันทึกเรื่องราวต่างๆมักทำบนแผ่นหนังหรือเปลือกไม้ ครั้นเมื่อมีการรับอารยธรรมจากอินเดียเข้ามานั้น บรรดาคัมภีร์ศาสนาต่างๆที่มาจากอินเดียถูกบันทึกลงบนใบลาน คนไทยจึงถือเป็นแบบอย่างในการผลิตหนังสือใบลานขึ้นมา

กรรมวิธีการทำหนังสือใบลานนั้น เริ่มจากการตัดใบลานจากต้นลาน(ต้นไม้ชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายต้นตาล) มาทำให้เป็นแผ่นเท่ากันตามต้องการ นำไปแช่ในน้ำยาสมุนไพรเพื่อป้องกันแมลงต่างๆ แล้วผึ่งให้แห้ง ใช้เส้นด้ายชุบน้ำยายางและเขม่าผสมกันเพื่อทำเป็นเส้นบรรทัด จากนั้นจึงใช้เหล็กแหลม
เรียกว่า “เหล็กจาร” ขีดเขียนตัวอักษรลงบนแผ่นลานทั้ง 2 ด้านเรียบร้อยแล้วจึงนำเขม่าและน้ำมันยางทาทับ เพื่อให้เห็นตัวอักษรได้เด่นชัด

อักษรที่ใช้จารคัมภีร์ใบลาน ส่วนมากเป็นอักษรขอม รองลงไปเป็นอักษรธรรมอีสาน อักษรธรรมล้านนา อักษรมอญ อักษรพม่า อักษรสิงหล และอักษรไทย ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นภาษาบาลี รองลงไปเป็นภาษาไทย ภาษาไทยอีสาน ภาษาไทยล้านนา ภาษามอญ ภาษาพม่า และภาษาสันสกฤต

หลังจากนั้นจะนำใบลานที่จารแล้วไปเจาะรูที่ด้านซ้ายร้อยด้วยด้ายหรือเชือก เรียกว่า “สายสนอง” รวมใบลาน ๒๔ ลานเข้าเป็นผูก เรียกว่า “๑ ผูก” ดังนั้น คำว่า “ผูก” จึงเป็นลักษณะนามของหนังสือใบลาน เนื้อหาในหนังสือใบลานนี้อาจจะจบใน ๑ ผูก หรือหลายผูกก็ได้ แต่นับรวมเป็น ๑ เรื่อง หรือ ๑ คัมภีร์ และเพื่อป้องกันการบิดงอเสียรูปของใบลาน

จึงได้มีการทำแผ่นไม้ขนาดเท่ากับใบลานประกบหน้าหลังของคัมภีร์(เหมือนปกหนังสือ) เรียกไม้นี้ว่า “ไม้ประกับธรรม”

ผู้สร้างคัมภีร์มักนิยมตกแต่งไม้ประกับธรรมนี้ด้วยงานศิลปะแบบต่างๆ ทำให้คัมภีร์ใบลานมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป และมักเรียกชื่อฉบับของคัมภีร์ตามแบบศิลปะที่ตกแต่งนั้น เช่น
ฉบับทองทึบ
ฉบับชาดทึบ
ฉบับรักทึบ
ฉบับล่องชาด
ฉบับล่องรัก
ฉบับข้างลาย เป็นต้น

การเก็บรักษาคัมภีร์ใบลานนี้ จะใช้ผ้าห่อ แล้วใช้เชือกมัดเป็น ๕ เปลาะ และเขียนชื่อคัมภีร์ติดไว้บนหน้าห่อนั้นๆ ด้วย

ส่วนใหญ่คัมภีร์ใบลานจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ทั้งหลักธรรมคำสอน เรื่องอันเกี่ยวเนื่องกับพระไตรปิฎก บทสวดในพิธีกรรมทางศาสนา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของกฎหมาย ตำนาน พงศาวดาร วรรณกรรม นิทาน ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ เป็นต้น

คัมภีร์เหล่านี้ส่วนใหญ่เก็บรักษาไว้ที่วัด เพื่อใช้ในการเรียนการสอน เพราะสมัยก่อนวัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของสังคม จึงจำเป็นต้องมีคัมภีร์ประเภทต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมไว้ เพื่อให้ได้ศึกษาเล่าเรียนกัน ส่วนพระสงฆ์นั้นถือว่าเป็นผู้รู้หนังสือ เป็นครูผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ จึงจำต้องฝึกหัดในการจารคัมภีร์ใบลาน รวมทั้งสามเณรจะต้องเรียนรู้เทคนิคในการเตรียมใบลานด้วย

ปัจจุบัน คัมภีร์ใบลานกระจัดกระจายอยู่ตามวัดต่างๆเป็นจำนวนมาก และนับวันจะผุพังสูญสลายลงไปตามกาลเวลา หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี คัมภีร์ใบลานอาจเหลือเพียงตำนาน ที่ชนรุ่นหลังเล่าขานสู่กันฟังเท่านั้นเอง


ป.ล. เคยทรงจำได้ว่า พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยะคุณ ( หลวงพ่อทัตตชีโว ) เคยกล่าวว่า
( โดยความหมาย )

การที่พระหรือครู สมัยก่อนต้องสอนนักเรียนให้เคารพตำรา คัมภีร์ หนังสือเรียน
ด้วยการกราบตำราเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ก็เพราะว่า

๑ ) เป็นกุศโลบายให้นักเรียน มีใจอ่อนน้อม พร้อมที่จะรับความรู้ หรือพระธรรมคำสอนอันประเสริฐ
จะได้ตั้งใจเรียนและเรียนด้วยความเคารพ ในพระธรรมคำสอน หรือความรู้นั้นๆ ซึ่งสามารถจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เช่น
ความรู้การแพทย์โบราณ ไว้ใช้รักษาสุภาพ
พงศาวดารโบราณคดี อันเนื่องด้วยพระมหากษัตริย์ พระเจ้าอยู่หัว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระธรรมคำสอนอันประเสริฐ ที่ทำให้เกิดสัมมาทิฎฐิ จนถึงบรรลุมรรคผล นิพพานได้

๒ ) ตำรา คัมภีร์ สมัยก่อนไม่ได้พิมพ์เป็นหนังสือ หาซื้อง่ายเหมือนปัจจุบัน โดยเฉพาะในสมัยที่ต้อง
จารลงใบลาน ซึ่งมีหลายขั้นตอน ทำได้ยาก ต้องใช้ความวิริยะ อุตสาหะอย่างสูง กว่าจะจารตัวอักษรลงใบลาน จบผูก ดังนั้นนอกจากให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตำรา คัมภีร์ ที่หาได้ยากแล้ว
ยังเป็นการนึก ขอบพระคุณ ท่านผู้ใช้วิริยะ อุตสาหะ พากเพียรจารความรู้ลงใบลานอีกด้วย

**** ผมจำได้ ๒ ข้อนี้แหละครับ ****

#2 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 April 2007 - 08:07 AM

ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ