ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

"หมดหวัง ท้อแท้ แพ้ชีวิต"


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 15 January 2006 - 05:05 PM

๑.ให้รู้จักความทุกข์ของคุณให้ชัดเจน


คุณวิตกกังวล หรือ กลุ้มใจเรื่องอะไร ลองคิดดูให้ชัด ๆ คิดให้กระจ่างออกมาว่าคุณกำลังวิตกกังวลกับปัญหาเรื่องอะไรบ้าง ให้ใช้วิธีเขียนลงในไปกระดาษก็ได้ แจงออกมาให้เห็นเป็นข้อ ๆ นี่เป็นวิธีกำหนดรู้ตัวปัญหาให้ชัดเจน คือทำให้รู้ว่าเรากำลังมีปัญหาอะไรอยู่ในใจ ที่มันทำให้เราเกิดความทุกข์อยู่ในขณะนี้ (การกำหนดรู้ความทุกข์ เป็นขั้นตอนแรกในอริยสัจ ๔ ภาษาพระท่านเรียกขั้นตอนนี้ว่า "ปริญญา" ) คือให้รู้จักมันในฐานะตัวปัญหา ที่เรากำลังจะศึกษาเพื่อทำการแก้ไขต่อไป
ยกตัวอย่าง
คุณติ่งศักดิ์รู้สึกแย่มากเลย ท้องใส้ปั่นป่วน ไม่สบายใจมาเป็นเดือนแล้ว กินเหล้าเป็นขวด ๆ เพื่อให้หายกลุ้มกลับยิ่งแย่หนักเข้าไปอีก แต่ต่อมาภายหลังคุณติ่งลองตั้งคำถามกับตนว่าตนเองมีทุกข์เรื่องอะไร บ้าง ในที่สุดแกก็เขียนลำดับทุกข์ของแกออกมาเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
ก. รถยังผ่อนไม่หมด เขากำลังจะยึดไปแล้ว
ข. บริษัทกำลังมีนโยบายปลดพนักงาน รู้สึกกังวลว่าตนเองอาจจะโดนปลด
ค. แฟนที่ดูใจกันมานาน ได้ข่าวว่ามีเสี่ยมาติดพัน หึงนะ
เป็นอันว่าสำเร็จในขั้นตอนแรก คือ คุณติ่งเห็นตัวปัญหาว่ามีทั้งหมด ๓ ข้อ ที่ทำให้แกเกิดความทุกข์มาตลอดเดือน

ในการแก้ไขปัญหา เราต้องรู้จักตัวปัญหาให้ชัดเจน ด้วยการกำหนดรู้ก่อน ไม่อย่างนั้นเราจะคลุมเครือ ไม่รู้ว่าตัวเองมีความทุกข์อะไรบ้าง (บางคนอาจจะมีปัญหาในใจเยอะ เป็น สิบ ๆ เรื่อง โดยไม่รู้ตัว ทำให้ทุกข์ใจ ทนไม่ไหว ถึงกับฆ่าตัวตายก็มี)
๒. ให้คิดว่าตัวเองเป็นคนที่โชคดีอยู่เสมอ

หากคนเรายังรู้สึกถูกปัญหาบีบคั้นจิตใจอยู่ สภาพจิตจะไม่แจ่มใส ขุ่นมัว หมองเศร้า เป็นอกุศล ทำให้สติปัญญาจะไม่สามารถทำงานได้โดยสะดวก การคิดว่าเรายังโชคดีอยู่เสมอ เป็นเทคนิคคิดเร้ากุศล คือมองโลกในแง่ดี ทำให้จิตใจของเราหลุดพ้นจากการบีบคั้นของปัญหา มีสุขภาพจิตดี พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาต่อไป
ในขั้นตอนแรกของฝึกคิดมองโลกในแง่ดีนี้ (อ่านตัวอย่างวิธีคิดแบบนี้ในพระไตรปิฎก เรื่อง พระพุทธเจ้าทดสอบความคิดพระปุณณะก่อนที่จะไปเผยแผ่ธรรมที่ สุนาปรันตชนบท) ท่านให้เราหัดพูดให้กำลังใจกับตนเองในทำนองว่า เรายังโชคดีที่ไม่พบกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายไปกว่านี้ หรือ นี่เป็นโอกาสอันดีที่ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในอนาคต การบอกตัวเองว่ายังเป็นคนโชคดีเช่นนี้ จะทำให้เราเกิดความเชื่อมั่น ปลื้มปีติยินดี พร้อมที่จะต่อสู้แก้ไขปัญหาสืบต่อไป ไม่ท้อถอย
ยกตัวอย่าง เมื่อคุณติ่งกำหนดรู้ปัญหาได้ชัดเจนแล้ว แกก็ใช้วิธีคิดขั้นที่สอง ทันที โดยแกได้พูดกับตัวเองออกมาดัง ๆ ว่า (วิธีพูดให้กำลังใจตัวเองดัง ๆ เป็นอุบายที่ดี เพราะทำให้คิดได้ชัดเจนและมีพลังมากขึ้น)
ก. ถึงเราจะโดนยึดรถก็ไม่เป็นไร ยังดีที่บ้านเราไม่ได้โดนยึดไปด้วย เย้..โชคดี เรายังมีบ้านอยู่
ข. ถ้าเราโดนให้ออกจากงาน เราก็ยังโชคดีกว่าโดนไล่ออก บริษัทยังมีเงินจ่ายให้เรามา เป็นทุนสำรอง เราจะได้มีเวลาพักผ่อน เตรียมวางแผนหางานทำใหม่
ค. ถึงแฟนจะทิ้งเราไป ก็ถือว่าเราโชคดีอีกนั้นแหละ เพราะเราตอนนี้เรามีข้อมูลมากมาย ที่จะสามารถหาคนที่ดีกว่านี้ได้อย่างแน่นอน เย้..! (ทั้งน้ำตา) เราโชคดีที่สุดในโลกเลย
๓. คิดถึงคนอื่นที่ได้รับความทุกข์มากกว่าคุณ

หากคิดในขั้นตอนที่สองแล้ว ยังเอาไม่อยู่ เราก็สามารถใช้วิธีคิดขั้นตอนที่สามต่อไปได้เลย คือ ให้คิดถึงคนอื่น ๆ ที่มีความทุกข์มากกว่าเรา เช่น คนอดอยากในเอธิโอเปีย , ชาวเขมรนับล้านคนที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธ์ , คนจรจัดที่นอนใต้สพาน , คนจนที่ถูกแย่งที่ทำกินจนต้องมาอดข้าวประท้วงที่กรุงเทพฯ ฯลฯ ให้พยายามนึกจินตนาการถึงความทุกข์ยากของคนเขาเหล่านั้น แล้วนำมาเปรียบเทียบกับความทุกข์ของเรา เราจะเห็น ได้เลยว่า ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว คนเป็นจำนวนมากเขาต้องเจอทุกข์หนักหนากว่า เรามาก แทบจะเรียกได้ว่า ทุกข์ของเรากลายบเป็นเรื่องขี้ผงไปเลย ทีนี้ถ้าขืนมานั่งท้อแท้ใจ มันก็อายเขาแย่ ให้พูด ล้อตัวเองให้เกิดความละอายบ่อย ๆ จะช่วยได้มาก ( การสอนใจให้ตัวเองเกิดความละอายใจ เป็นเทคนิคป้องกันตนเองไม่ให้คิดไปในทางที่ผิด ๆ ตามหลักธรรมชุด "หิริโอตตัปปะ " ในพระไตรปิฎก)
๔. สร้างกำลังใจตนเองให้สู้ชีวิต

แม้วิธีคิด ๑- ๓ ขั้นตอนที่ผ่านมา จะทำให้เราหายทุกข์ใจไปได้มาก แต่ถ้าปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข มันก็จะ สร้างความทุกข์ให้กับเราไปได้เรื่อยไป ดังนั้นเราจึงต้องก้าวเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญคือ สร้างกำลังใจให้ตนเองในการ เผชิญหน้าต่อปัญหา เพื่อแก้ไขให้มันลุล่วงไปด้วยดี
เรือแตกกลางมหาสมุทร พระมหาชนกลอยคออยู่กลางมหาสมุทร แม้มองไม่เห็นฝั่ง ท่านยังใจสู้ เพียรว่ายน้ำมุ่งเข้าหาฝั่ง เพื่อทำการงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้จงได้ โดยไม่หวาดหวั่น ไม่คิดหวังพึ่งใคร ฉันใด
ชาวพุทธไทย เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาแม้จะใหญ่โตเพียงไร ก็มีจิตใจสู้ คิดแก้ไขให้มันลุล่วงไปให้จงได้ แม้ฉันนั้น
คนไทยยุคนี้ต้องมีใจสู้เหมือนพระมหาชนกครับ ไม่อย่างนั้นเราคงจะต้องกลายเป็นผู้พ่ายแพ้ เสียชื่อชาวพุทธแย่เลย วิธีปฎิบัติคือให้ใช้คำพูดปลุกใจตัวเองให้สู้อยู่เสมอ ถ้าจะให้ดี เอากำปั้นทุบฝ่ามือ สร้างความรู้สึก มั่นใจ สู้ตายถวายชีวิต ให้มันเกิดความเข้มแข็งขึ้นมา การที่เราคิดในใจเฉย ๆ ในขณะที่จิตใจไม่เคยคิดสู้มาก่อน บางทีอาจจะไม่มีพลังใจพอที่จะคิดได้เอง ดังนั้นใช้วิธีพูดปลุกใจตัวเอง จึงเป็นเทคนิคสร้างกำลังใจที่ดี หรือว่าง ๆ เราอาจจะไปหาอ่านชาดกในพระไตรปิฎกเรื่อง "พระมหาชนก" เพื่อเป็นคาถาสู้ชีวิตประจำตัวก็ได้นะครับ (บทสนทนาระหว่างเทวดากับชาวพุทธ ขอเชิญอ่านบทความประยุกต์เรื่อง บทสนทนาระหว่างเทวดากับชาวพุทธ ที่ดัดแปลงมาจากบทสนทนาระหว่างเทวดากับพระมหาชนก)
หลังจากที่มีใจสู้คิดแก้ไขปัญหาแล้ว จึงค่อยเข้าสู่กระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาตามลำดับต่อไป คือ เริ่มจากการคิดสืบสาวหาเหตุปัจจัย คิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ออกมาให้ชัดแจ้ง จนสามารถกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจน ขั้นตอนสุดท้ายจึงกำหนดแนวทางในการปฏิบัติ หรือ วางแผนให้เป็นขั้นเป็นตอน เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาสืบต่อไป (วิธีตามหลัก อริยสัจ ๔ )

#2 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 15 January 2006 - 05:12 PM

อนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ

dangdee

#3 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 January 2006 - 10:05 PM

โมทนาสาธุการกับความคิดดีๆ ด้วยครับ
สำหรับการแก้ปัญหาตามแนวทางนี้ ก็คงต้องฝึกการมองโลกในแง่ดีให้บ่อยๆ ครับ ถ้าติดนิสัยมองโลกแง่ดีได้จะทำให้มีชีวิตอยู่อย่างผู้ที่เผชิญปัญหาที่ปราศจากแรงกดดันของตัวเองครับสาธุไอเดียดีมากครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#4 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 16 January 2006 - 11:33 PM

อนุโมทนา สาธุ นะคะ จาเอาไปลองใช้ดู อิอิ