ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

พุทธศาสนาในประเทศเนปาล


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 2 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 12:53 PM

*** คัดมาบางส่วนจาก
http://watmai.atspace.com/nepal.htm

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเนปาลโดยผ่านทางประเทศอินเดีย
แต่เดิมนั้นประเทศเนปาลเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า คือ
สวนลุมพินีอยู่ในเขตประเทศเนปาลปัจจุบัน
ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสด
ุ์และทรงห้ามพระญาติฝ่ายศากยะกับฝ่ายโกลิยะวิวาทกัน เรื่องการผันน้ำเข้านา
ซึ่งหมายความว่าเคยเสด็จในเขตประเทศเนปาลปัจจุบัน


พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาลในยุคแรกเป็นพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมหรือ
แบบเถรวาทต่อมาเถรวาทเสื่อมสูญไป
เนปาลได้กลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนามหายานนิกายตันตระ
ซึ่งใช้คาถาอาคมและพิธีกรรมแบบไสยศาสตร์
นอกจากนี้ได้มีนิกายพุทธปรัชญาสำนักใหญ่ๆ เกิดขึ้นอีก ๔ นิกาย คือ
สวาภาวิภะ ไอศวริกะ การมิกะ และยาตริกะ
ซึ่งแต่ละนิกายก็ยังแยกเป็นอีกหลายสาขา แต่นิกายต่างๆเหล่านี้
แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานเข้าด้วยกันของความคิดทางปรัชญาหลายๆอย่าง
เท่าที่เกิดขึ้นตามอิทธิพลของพระพุทธศาสนา


ในอดีตกาลประเทศเนปาลเคยเป็นส่วนหนึ่งของชมพูทวีป
จึงทำให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายมายังดินแดนแห่งนี้
เพราะเนปาลเป็นดินแดนประสูติของศาสดาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกคนหนึ่ง คือ พระพุทธเจ้า
ทำให้ชาวเนปาลภูมิใจมาจนทุกวันนี้ และเพราะสาเหตุนี้เองทีทำให้ชาวโลกได้รูจักประเทศเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ตอนเหนือของประเทศอินเดียได้เป็นอย่างดี


สภาพภูมิศาสตร์
เนปาลเป็นประเทศเอกราชเล็ก ๆ อยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย ตั้งขนาบไปตามแนวมหาบรรพตหิมาลัยทางทิศใต้และตะวันตกของประเทศธิเบต
ทิศตะวันออกจดแคว้นสิขิม นอกนั้นมีเขตติดต่อกับอินเดีย
พื้นที่ประเทศประมาณ ๕๔,๐๐๐ ตารางไมล์
พื้นที่โดยรอบของประเทศเนปาลเป็นภูเขาโดยส่วนมาก ภูเขาที่สูงสุดในโลกก็อยู่ในประเทศนี้
แต่ละยอดสูงขึ้นไปบนฟ้า แต่ละยอดสูงชะลูดขึ้นไปในท้องฟ้าแล้วหายไปในกลุ่มเมฆหมอก
เนปาลจึงได้ชื่อว่าเป็น "คีรีนคร" หรือเมืองภูเขา

บ้านเมืองในเนปาลตั้งอยู่บนภูเข้าบ้าง เนินเขาบ้าง ในหุบเขาบ้าง เนื่องจากเนปาลมีภูเขามาก จึงพลอยมีธรรมชาติที่สวยงามและสัตว์ป่ามากมายในป่าลึกบางแห่ง มีถ้ำ ซึ่งเป็นที่อยู่ของโยคีบำเพ็ญพรตเจริญฌานกันอยู่บางคนมีอายุเกินร้อยปีขั้นไป
แต่ยังหนุ่มแน่น และบางคนสำเร็จฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
ซึ่งล้วนแต่มีความลึกลับที่ชาวโลกในปัจจุบันไม่ยอมเชื่อว่าเป็นไปได้


ป่าในประเทศเนปาลไม่ใช่อื่นไกลที่ไหน คือป่าหิมพานต์ที่เราอ่านเจอในวรรณคดีนั่นเอง

พระพุทธศาสนาในเนปาล
พระพุทธศาสนาที่นับถือกันในประเทศ เป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิกายมนตระ หรือนิกายคุยหยาน
เช่นเดียวกับในธิเบต เคลือบหุ้มด้วยลัทธิธรรมเนียม และพระเจ้าของพราหมณ์มากมาย พุทธศาสนิกชนไปเทวาลัยบูขากราบไหว้พระศิวะและพระนารายณ์
ในประการเดียวกันพวกฮินดูก็เข้ามานมัสการพระในวิหารของพระพุทธศาสนา เพราะในพุทธวิหารมีเทวรูปพระเจ้าของพวกเขาประดิษฐานอยู่ส่วนการนมัสการพระพุทธรูป
พวกฮินดูก็ไหว้อย่างสนิทใจ เพราะถือกันว่าพระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของพระพรหม คือ พุทธาวตาร
แม้ในลัทธิคำสอนของพุทธศาสนา นิกายมนตระก็เกิดลัทธิรวม#####เข้ามาเจือปน
เกิดถือลัทธิสายัมรวนาท หรือ อาทิพุทธ คือ พระพุทธเจ้าผู้ทรงเกิดเอง เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกของโลกมีสภาวะเป็นอมตะไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลาย พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นมายาศักดิ์ของพระสวยัมภู สำแดงขึ้นเพื่อโปรดสรรพสัตว์ แท้จริงย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์อาทิพุทธะทั้งสิ้น

ทั้งทิเบตกับเนปาลต่างได้รับพระพุทธศาสนายุคปลายจากอินเดียคือยุคที่พระพุทธศาสนาเสื่อม รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูเข้านับถือเรียกว่าพุทธันตระหรือมันตระยาน
ในประเทศเนปาลพระพุทธศาสนามีความสับสนอยู่พอสมควร
แต่ทางธิเบตยังมีการกวดขันในการรักษาพระวินัยตามพระปาฏิโมกข์ และศึกษาแก่นธรรมที่บริสุทธิ์จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาไม่ถูกกลืนเป็นพราหมณ์ไปเสียหมด
แต่อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล ย่อมอยู่ใต้อำนาจของพวกฮินดู
เพราะชนชั้นปกครองเป็นฮินดูและส่งเสริมศาสนาฮินดู พวกฮินดูในประเทศเนปาลนับถือลัทธิฮินดูตันตระ

พระชาติวงศ์ของพระพุทธเจ้า
เนื่องจากประเทศเนปาลเป็นถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
จึงต้องมีการกล่าวถึงพระชาติวงศ์ของพระพุทธเจ้าไว้
อีกอย่างเพราะมีการถกเถียงกันเรื่องสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ว่ามีอยู่จริงหรือไม่
พระพุทธเจ้าเป็นชนเผ่าไหนกันแน่ มองโกเลียหรืออารยัน
และสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าอยู่ตรงจุดใดกันแน่


ประเทศเนปาลถึงจะเป็นประเทศเล็ก ๆแต่ก็มีประวัติของตนเองไม่แพ้ชนชาติอื่น
ประวัติศาสตร์ของเนปาลบันทึกว่า ณ แว่นแคว้นน้อย
เชิงเขาหิมาลัยบรรพตนี้เคยเป็นทีประทับสำราญพระอิริยาบทของพระพุทธเจ้า หลายพระองค์ พระโพธิสัตว์ของเราเมื่อยังเสด็จอยู่ในดุสิตเทวโลก จึงได้เลือกมาอุบัติในประเทศนี้

ในสมัยก่อนประเทศเนปาลแบ่งเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อยมากมาย ต่างเป็นอิสระอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แคว้นใดมีกำลังเข็มแข็งก็รวบรวมแคว้นอื่นไว้ในอำนาจ
ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า ก่อนสมัยพุทธกาลได้มีพวกมองโกเลียอพยพเข้ามาจากทิศเหนือ เข้ามาเป็นใหญ่แถบภูมิภาคภูเขาต่อมามีพวกอารยันอพยพเข้าไปสมทบ
พวกมองโกเลียต่อมากลายเป็นชนเผ่าเนวาร์
นักประวัติศาสตร์บางคนจึงสันนิษฐานว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นมองโกเลียแทนที่จะเป็นอารยัน เพราะมีผิวพระกายเหลืองอย่างชาวมองโกเลีย

แต่บางท่านเชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอารยัน
ด้วยเหตุผลที่ว่าวงศ์ศากยะเป็นวงศ์ที่เคร่งครัดในเรื่องรักษาความบริสุทธิ์ของตนไว้ไม่ให้ปะปนกันกับชนเผ่าอื่น
ตั้งแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช โดยไม่ยอมวิวาห์กับชนในวงศ์อื่น ๆ นอกจากวงศ์ของตน
แม้ในเผ่าอารยันด้วยกัน ราชวงศ์ศากยะก็ยังไม่ไม่ยอม เพราะฉะนั้นพวกพราหมณ์จึงนับถือวงศ์ศากยะว่าเป็นวงศ์กษัตริย์บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนด้วยมลทินใด ๆ

ส่วนสถานที่ประสูติของ พระพุทธเจ้า ได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านพยายามค้นหาและพิสูจน์ทั้งฝรั่งและชาวอินเดียที่สนใจ
และนับถือพระพุทธศาสนาว่าสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าแท้จริงอยู่ตรงไหนกันแน่
ดังเช่นในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้ขุดพบหลักศิลาหลักหนึ่งในที่ใกล้หมู่บ้านเล็กๆ
ซึ่งเรียกว่า หมู่บ้านปาดาเรีย (Padaria) อยู่ในระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรจากตำบล นิคลิวะ ( Nigliva)
คำนวณว่าหลักศิลานี้จมดินอยู่กว่าพันปี แต่ตัวอักษรที่จารึกยังเรียบร้อย

นักโบราณคดีตรวจสอบได้ความชัดว่า เป็นตัวอักษรสมัยอโศกมหาราช
บอกชัดว่าที่นั้นเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ค้นพบหลักศิลาสำคัญยิ่งนี้ เป็นนักค้นคว้าชาวเยอรมัน ชื่อ ดอกเตอร์ วีเรอ (Dr. Fuhrer)


การค้นพบถิ่นที่ของสวนลุมพินีเป็นกุญแจสำคัญให้ค้นพบกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งได้พบเมื่อ ๒ ปีหลัง คือ ใน พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้พบที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งมีจารึกบอกชัดว่าเป็นพระบรมธาตุส่วนที่ศากยวงศ์ได้รับแบ่งมาบรรจุไว้ ตำบลซึ่งได้พบที่บรรจุพระบรมธาตุนี้เรียกว่า ปิปราวา ( Piprava)

ซึ่งเมื่อกลับไปตรวจสอบดูรายงานการเดินทางของพระสมณะฟาเหียน ก็ได้ความตรงกัน
หลักศิลาที่ได้พบใหม่นี้ ลงพระนามกษัตริย์กบิลพัสดุ์ จึงทำให้หมดข้อสงสัย
ว่าที่ที่พบหลักศิลานี้ต้องเป็นกรุงกบิลพัสดุ์แน่
ประวัติแว่นแคว้นต่าง ๆ ในเนปาลก่อนพุทธสมภพ เราพบได้น้อยมาก แต่ในระหว่างพุทธกาล เราอาจทราบได้จากการศึกษาในคัมภีร์ทางฝ่ายพระพุทธศาสนา
และเรื่องราวการประดิษฐานศากยวงศ์ขึ้นในเนปาลอีกด้วย….

เนปาลกับประเทศต่าง ๆ
เนปาลมิใช่เป็นประเทศปิด แต่เป็นประเทศเปิดจึงได้มีการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากมาย
ซึ่งกาติดต่อกันทางด้านการทูต ส่วนหนึ่งมีเรื่องของศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยดังเช่น ในพุทธศตวรรษที่ ๙ นักธรรมจาริกชาวจีนรูปหนึ่งได้เดินทางมานมัสการสังเวชนียสถานในเนปาล ได้มีการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับเนปาลและพระพุทธศาสนาในยุคหลังได้ค้นคว้า
นอกจากพระธรรมจาริกดังกล่าวแล้ว ชาวพุทธศาสนิกชนเนปาลได้นำพระธรรมไปสู่ธิเบต ทำให้ธิเบตกลายเป็นพุทธอาณาจักรที่มั่นคงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก

ถึงสมัยที่พวกอิสลามทำลายล้างพระพุทธศาสนาในอินเดีย ปรากฏว่ามีพระภิกษุและพุทธศาสนิกชนจำนวนมากพากันอพยพหลบหนีเข้าไปในเนปาล พร้อมกับขนคัมภีร์อันทรงค่าของพระพุทธศาสนาไปด้วย เพราะฉะนั้นในปัจจุบันได้มีผู้สนใจทางพระพุทธศาสนาวรรณคดีทางพุทธศาสนาฝ่ายภาษาสันสกฤต
พยายามพากันเดินทางเข้าไปในเนปาลเพื่อค้นคว้าคัมภีร์เหล่านั้นเนปาลก็ได้ติดต่อกับประเทศจีนเช่นกัน ได้มีการนำเอาศิลปะและพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีนอยู่หลายช่วงหลายยุคเหมือนกัน
ได้มีการติดต่อทางทูตกันนานหลายปี จนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศจีน
จึงมีการห่างหายการติดต่อกันไปตามกาลเวลา
นอกจากประเทศจีนแล้วก็ยังมีอีกหลายประเทศเช่น อินเดีย อังกฤษ เป็นต้น

พระพุทธศาสนาในเนปาลในปัจจุบัน
พระพุทธศาสนาในเนปาลปัจจุบัน พระพุทธศาสนายุคใหม่ของเนปาลดูท่าทีว่าจะเจริญก้าวหน้าไปเป็นลำดับ ได้มีผู้นำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเข้าไปเผยแผ่ในเนปาลเหมือนกัน
บุคคลที่เป็นกำลังในการเพาะความเจริญ ของพระพุทธศาสนาในเนปาลที่ควรจะกล่าวถึง คือ ท่านศรีธรรมาทิตย์
ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นบรรณาธิการของนิตยสารพุทธศาสนาในอินเดีย ท่านได้มีส่วนในงานธรรมทูต

คณะแรกในเนปาลนอกจากนี้ยังมีภิกษุมหาปรัชญา ภิกษุธรรมาโลกะ
ผู้ซึ่งทำงานธรรมทูตในเนปาล อย่างแข็งขัน คณะทูตได้ประสบอุปสรรค

ในปี ๒๔๘๖ ท่านภิกษุมหาปรัชญาและคณะภิกษุถูกขับไล่จากเนปาล
แต่เคราะห์ดีที่ได้อาศัยท่านศรีเทวมิตธรรมปาละ ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ
ทำให้คณะภิกษุได้กลับเข้าไปทำงานในเนปาลอีก
มีพระภิกษุชาวเนปาลที่ฝักใฝ่ในการศึกษาได้จาริกสู่ประเทศพม่า ลังกา เพื่อศึกษาพุทธธรรมตามแบบเถรวาทและทำประโยชน์ให้แก่งานธรรมทูตในเนปาล

ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้มีการขับไล่ภิกษุและพุทธศาสนิกชนออกจากเนปาล
ชาวพุทธในเนปาลได้ร่วมประชุมกันจัดตั้งธรรมโมทัยสภาขึ้น
ด้วยจุดประสงค์ที่จะธำรงไว้ซึ่งสวัสดิภาพของพุทธศาสนาในเนปาล สมาคมมหาโพธิ ก็ได้เข้ามาช่วยเหลือที่ ที่จะให้พระพุทธศาสนายังคงอยู่ได้ในประเทศที่ได้ชื่อว่าแดนประสูติของพระพุทธเจ้า
ในปี ๒๔๘๙ คณะธรรมทูตจากประเทศศรีลังกาเดินทางมาเยี่ยมเนปาล
แลได้เข้าพบมหาราชแห่งเนปาล ได้มีการเจรจาทำความเข้าใจ ในเรื่องคณะภิกษุที่ถูกเนรเทศให้กลับคืนมา

ในปีเดียวกัน ท่านนารทมหาเถระ ได้เดินทางเข้ามาในเนปาล พร้อมกับอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนหนึ่งมาบรรจุไว้ในเจดีย์และได้ทำการสมโภช มหาราชแห่งเนปาล ได้แสดงเมตตาจิตต่อคณะเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ประกาศเป็นทางการว่า วันวิสาขบุรณมี เป็นวันหยุดงานของชาวพุทธทั่วแคว้นเนปาล
มีการปลูกหน่อโพธิอันศักดิ์สิทธ์ และมีการสถาปนาสีมาสำหรับประกอบสังฆกรรม
และเปิดห้องสมุดพระพุทธศาสนาขึ้นในคราวเดียวกัน

สรุป
เนปาลเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่มีความเป็นมาที่น่าสนใจ
และยิ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าแล้วยิ่งมีความน่าสนใจมากขึ้น
เนปาลประกอบด้วยชนหลายเผ่าที่ผสมผสานกัน
แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ยังมีนักประวัติศาสตร์หลายท่าน พยายามที่จะให้พระพุทธศาสนายังคงอยู่ในประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า


หนังสืออ้างอิง
๑. โกวิท ตั้งตรงจิตร : เนปาล สถานเทวาลัย, พิมพ์ครั้งแรก โรงพิมพ์อักษรพิทยา พ.ศ. ๒๕๔๔
๒. เสถียร โพธินันทะ : เนปาล ชาติภูมิของพระพุทธเจ้า พิมพ์ครั้งที่ ๙ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย
๓. หลวงวิจิตรวาทการ : ศาสนาสากล, พิมพ์ครั้งแรก โดย ส ธรรมภักดี พ.ศ. ๒๔๙๔
๔. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) : พระพุทธศาสนาในอาเซีย, พิมพ์ครั้งที่ ๒ โดยธรรมสภา

ไฟล์แนบ



#2 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 02:20 AM

ขออนุโมทนาบุญกับบทความดีๆครับ
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#3 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 20 March 2007 - 07:59 AM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ