ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

วิปัสสนา ควรทำคู่ กับกรรมฐาน


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 18 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 May 2006 - 11:16 AM

การสอน กรรมฐาน เพื่อให้เข้าถึง ธรรมะภายใน นั้นควรทำคู่กับวิปัสสนาเช่น สติปัฐฐาน ๔
หรือไม่ หรือจะทำกรรมฐานอย่างเดียวจะง่ายกว่า แล้วค่อยมาวิปัสนาทีหลัง หรือขึ้นอยู่กับระดับ
บารมีของแต่ละคน ผมเห็นที่วัดเน้นการทำกรรมฐานมากกว่า

เพราะคิดว่าการฝึกกรรมฐาน จะต้องละจากกามราคะให้ได้

#2 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 May 2006 - 12:06 PM

จากที่ผมได้เรียนรู้มาทำไม่ได้ครับ เพราะคำว่า "เจริญวิปัสสนากรรมฐาน" นั้น เป็นคำที่รวมเรียกติดกัน ซึ่งทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ ดังนั้น เราต้องรู้ความหมายของรากศัพท์ เสียก่อนจะได้รู้ว่า อะไร คือ อะไร ไม่เช่นนั้น ก็จะคิดเดาเอา จนสับสนได้ครับ

เจริญ แปลว่า ทำให้มีขึ้น

วิปัสสนา แปลว่า การเห็นอันพิเศษ โดย คำว่า "วิ" สามารถอ่านแผลงตามหลักภาษาได้ว่า "พิ" เช่น วิเศษ กับ พิเศษ, วิจารณ์ กับ พิจารณ์, พระ กับ วร เป็นต้น คำว่า "วิ" นั้นแปลว่า พิเศษ + "ปัสสนา" แปลว่า การเห็น รวมความว่า วิปัสสนา แปลว่า การเห็นอันพิเศษ การเห็นอันวิเศษ

ดังนั้น หมายความว่า การเห็นชนิดนี้ ย่อมเป็นการเห็นที่ไม่ธรรมดา ไม่ใช่มองด้วย ลูกตาเนื้อ แน่นอน ต้องเห็นด้วยอะไรซักอย่าง นี่คือประเด็นว่า เราต้องเห็นด้วยอะไร จึงจะเรียกว่า วิปัสสนา ดังนั้น จึงต้องมี อีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นก่อน การเจริญวิปัสสนา คือ กรรมฐาน

กรรมฐาน แปลตามศัพท์ ว่า การกระทำที่เป็นบาท เป็นที่รองรับ เป็นฐาน เป็นราก โดย คำว่า "กรรม" แปลว่า การกระทำ + "ฐาน" แปลว่า บาท พื้น ที่รองรับ
ดังนั้น กรรมฐาน คือ การกระทำที่เป็นฐานรองรับ แล้ว ถามต่อไปว่า รองรับอะไร ก็คือ การรองรับ วิปัสสนา ไงครับ
ดังนั้น กรรมฐาน ต้องทำให้เจริญ ก่อน แล้วจึงเลื่อนชั้น มาทำ วิปัสสนา ในภายหลัง ดังนั้น ถ้า กรรมฐาน ยังทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ การไปวิปัสสนา ย่อมทำให้เกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน เปรียบเสมือนเราต้องการสร้างบ้าน ถ้าเราไม่สร้างชั้นที่ 1 ย่อมไม่สามารถสร้างชั้นที่ 2 ได้ เพราะ ชั้นที่ 1 เป็นฐานรองรับชั้นที่ 2

เมื่อเราเข้าใจความหมายของ 2 คำนี้แล้ว เรามาดูกันว่า ที่บอกว่า
QUOTE
วิปัสสนา แปลว่า การเห็นอันพิเศษ การเห็นอันวิเศษ ดังนั้น หมายความว่า การเห็นชนิดนี้ ย่อมเป็นการเห็นที่ไม่ธรรมดา ไม่ใช่มองด้วย ลูกตาเนื้อ แน่นอน ต้องเห็นด้วยอะไรซักอย่าง

อันนี้ คำตอบเงื่อนงำมันอยู่ที่คำว่า ธรรมจักษุ แปลตาม ศัพท์ว่า ตาของธรรม แต่ ลูกตาธรรมดา ภาษาบาลีท่านว่า มังสะจักษุ (มังสะ แปลว่า เนื้อ)
ธรรมจักษุ ทำอย่างไร จึงจะมีได้ เพื่อสามารถเจริญวิปัสสนา คำตอบคือ ธรรมจักษุนั้น จะบังเกิดขึ้นได้ เมื่อสามารถเข้าถึงพระธรรมกายภายใน (ธรรมะ + กาย แปลว่า กายที่เป็นธรรม , ธรรม + จักษุ แปลว่า ตาที่เป็นธรรม)

ดังนั้นเมื่อบรรลุ กายธรรม แล้ว ก็ย่อมได้ ตาธรรม ตามมาด้วย เมื่อเห็นตาธรรมแล้ว ก็คือได้ ธรรมจักษุ ดังนั้น ก็เอา ธรรมจักษุ นั้น ไปมองเห็น ตามเห็นความเป็นจริง ซึ่งก็คือ การเห็นอันวิเศษ กิเลสบดบังไม่ได้ หรือ ก็คือ วิปัสสนา นั่นเอง

สรุป คือ การนั่งสมาธิจนบรรลุ พระธรรมกายภายใน จัดเป็น กรรมฐาน เมื่อ บรรลุพระธรรมกายภายใน ก็เอาธรรมจักษุของพระธรรมกาย ไปมองเห็นตามความเป็นจริง จนเกิดปัญญา วิชชา แสงสว่าง ทำลายอวิชชาได้จนหมดสิ้น สิ้นภพ สิ้นชาติ สิ้นการเกิด อันนั้น คือ การ วิปัสสนา ไงครับ

การที่เอาตาเนื้อ(มังสะจักษุ) มาพิจารณา แล้วบอกว่า เจริญวิปัสสนา ย่อมไม่น่าจะใช่แน่นอน เพราะ ตาเนื้อนั้น มองสิ่งของยังผิดๆ ถูกๆ อยู่เลยครับ ยกตัวอย่างเช่น ปรากฏการณ์พยับแดด ที่เรามองไปใน ถนนตอนแดดเปรี้ยงๆ แล้วเห็นเหมือนแอ่งน้ำไงครับ ขนาดมองถนนยังผิดๆ ถูกๆ เลย แล้วจะไปมองเห็นกิเลส ซึ่งละเอียดกว่าถนนตั้งเยอะ ได้อย่างไรครับ

(ป.ล. อันนี้ เป็นทัศนะความเห็นที่ผมได้ยินได้ฟังมานะครับ ผิดถูกไม่อาจยืนยันได้ เพราะผมยังนั่งไม่ได้นะครับ...กรุณาใช้วิจารณญาณในการอ่านและการเชื่อด้วยนะครับ)
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#3 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 13 May 2006 - 12:19 PM

ความจริงแล้ว หลักสูตรพระพุทธศาสนาในโรงเรียน ที่นักวิชาการสมัยนี้ นำมาสอนนั้น เป็นการสอนที่ผิดลำดับขั้นตอนของการสอนพระพุทธศาสนาพอสมควรน่ะครับ

อย่างที่ผมเคยยกตัวอย่างไป สมัยผมเรียนประถม 5 เรียนพระพุทธศาสนาครั้งแรก หลักสูตรว่าด้วยเรื่องอริยสัจ 4 เลย คิดว่า เหมาะสำหรับเด็กประถม 5 มั้ยครับ

การสอนเช่นนี้จึงมีอิทธิพล ทำให้เกิดกลุ่มคนที่คิดว่า พระพุทธศาสนาสอนให้เบื่อโลก แล้วก็ปฏิเสธพระพุทธศาสนาไปเลย นี่ก็กลุ่มหนึ่ง เพราะฟังการสอนมาผิดลำดับขั้นตอน ดันเอาสูงสุดมาสอนก่อน กับกลุ่มคนที่ 2 คือ กลุ่มที่เข้าใจว่า การสอนเบื้องต้นนั้นทำให้เสียเวลา ทำไมไม่สอนสูงสุด เช่น วิปัสสนา เข้าไปด้วยเลย เพราะสมัยที่พวกเขาเรียนมานั้น โรงเรียนก็เริ่มต้นด้วยการสอนสูงสุดเลย ทำไมวัดพระธรรมกายสอนไม่เหมือนในโรงเรียน ซึ่งผมเองก็เคยคิดเช่นนี้เหมือนกลุ่มที่ 2 นี่เหมือนกัน

จนกระทั่งเมื่อผมได้มาเรียนรู้ มงคลชีวิต 38 ประการ ที่วัดพระธรรมกายนำมาสอน คือ หลักการพัฒนาตนเอง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสูงสุด ผมถึงเข้าใจว่า มันต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เริ่มต้นให้มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมความสุขเสียก่อน ทั้งพัฒนาความสามารถของตนเอง พัฒนาคุณธรรม การสอนสมาธิสำหรับคนเบื้องต้น ก็เน้นให้เขาได้ประโยชน์ใจสงบ นำไปใช้ในชิวิตทางโลกในปัจจุบันของเขาได้ จึงจะถูกต้องต่างหาก

แต่ใครที่มีใจ คิดจะพ้นโลก ก้าวขึ้นไปสูงกว่านั้น จึงค่อยเน้นมงคลชีวิตข้อสูงๆ ขึ้นไป เน้นสอนให้เขารู้จักความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และยกใจเขาสู่การปฏิบัติจริง คือ การสละโลก มาบวชเป็นพระ ไม่ใช่ให้ทำวิปัสสนา แต่เลิกแล้วกลับไปทำมาหากินเป็นฆราวาสตามเดิม

หลักสูตรที่ดีควรจะเป็นอย่างนี้น่ะครับ ผู้ยังมีบารมีระดับผู้ครองเรือน ก็สอนอย่าง ผู้มีบารมีระดับจะบวชเป็นพระได้ ก็สอนอีกอย่าง อย่างนี้พระพุทธศาสนา ก็จะเจริญก้าวไกล
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#4 ~ รั ก บุ ญ ~

~ รั ก บุ ญ ~
  • Members
  • 98 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand
  • Interests:^-^ กรุณา เผื่อแผ่ เหลียวแลเอื้อ ^-^<br />^-^หวังช่วยเหลือ เพื่อนยาก ลำบากขันธ์^-^<br />^-^เห็นเพื่อนทุกข์ ทุกข์ด้วย เข้าช่วยพลัน^-^<br />^-^ให้เพื่อนนั้น พ้นทุกข์ ได้สุขใจ ฯ^-^

โพสต์เมื่อ 13 May 2006 - 02:39 PM

QUOTE
การสอน กรรมฐาน เพื่อให้เข้าถึง ธรรมะภายใน นั้นควรทำคู่กับวิปัสสนาเช่น สติปัฐฐาน ๔
หรือไม่ หรือจะทำกรรมฐานอย่างเดียวจะง่ายกว่า แล้วค่อยมาวิปัสนาทีหลัง หรือขึ้นอยู่กับระดับ
บารมีของแต่ละคน ผมเห็นที่วัดเน้นการทำกรรมฐานมากกว่า

ตอบ สมถะและวิปัสสนา ก็เหมือน ไม้หนึ่งท่อน สมถะอยู่ปลายท่อนด้านหนึ่ง ส่วนวิปัสสนาก็อยู่ปลายท่อนอีกด้านหนึ่ง เมื่อเรายกไม้ด้านใดด้านหนึ่งขึ้น อีกด้านหนึ่งก็จะขึ้นด้วยเหมือนกัน _/|\_ สาธุครับ
*****************************************
ใ ค ร ช อ บ. . .ใ ค ร ชั ง. . .ช่ า ง เ ถิ ด
ใ ค ร เ ชิ ด. . .ใ ค ร ชู. . .ช่ า ง เ ข า
ใ ค ร เ บื่ อ. . .ใ ค ร บ่ น. . .ท น เ อ า
ใ จ เ ร า. . .ร่ ม เ ย็ น. . .เ ป็ น พ อ
. . .|2@|<_|3( )( )|\| @ |-|()T/\/\@I|_.C()/\/\. . .


#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 13 May 2006 - 03:32 PM

มาอ่านละเอียดแล้ว ชอบตอนที่คุณมิราเคล ดรีม ยกตัวอย่างเรื่องปรากฏการณ์ พยับแดด มากเลยครับ ขอทำ C & D (ไม่ใช่ R & D) หมายถึง Copy and Development เอาไปใช้บ้างในอนาคตนะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#6 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 May 2006 - 03:41 PM

แล้วการฝึกกรรมฐานอย่างเดียว จะสามารถแก้ไขเรื่อง กามราคะ โทสะจริต หรือ โมหะ
ได้หรือไม่ เพราะว่า หากยังไม่ลด ความพอใจเรื่องพวกนี้ ก็จะกลายเป็นนิวรณ์ขัดขวางไม่ให้
การทำกรรมฐานสำเร็จได้ง่าย ๆ เช่นพวกมีราคะจริต ถ้าไม่สามารถตัดความผูกพันในกามได้
ก็ไม่สามารถ เข้าถึงสมาธิระดับสูงขึ้นไปได้

หยุดคือตัวสำเร็จ

#7 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 May 2006 - 03:53 PM

QUOTE
การสอน กรรมฐาน เพื่อให้เข้าถึง ธรรมะภายใน นั้นควรทำคู่กับวิปัสสนาเช่น สติปัฐฐาน ๔
หรือไม่

ตอบ ควรครับ จัดเป็นสติปัฎฐาน ณ ภายใน ยังไม่ถึงภูมิวิปัสสนาทีเดียว จัดเป็นการเริ่มเข้าสู่อนุวิปัสสนาจิตครับ
ในขณะที่จิตมีสติ(การระลึกได้)สัมปชัญญะ(ความรู้ตัว) ในกาย เวทนา จิต ธรรม ขณะที่จิตหยุดนิ่งสงบ จิตก็รู้ว่า
จิตสงบ ขณะจิตไม่สงบจิตก็รู้ว่าจิตไม่สงบ ขณะที่รู้สึกว่ากายไม่สบายก็รู้ว่ากายไม่สบาย เมื่อจิตละความยึดมั่นถือมั่นในสังขารร่างกายว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นของเราลงได้

จิตที่เคยมีอุปาทานยึดเกาะในกายก็จะเริ่มหมดไป ขณะมีสติพิจารณาเวทนาที่เกิดกับกาย และเริ่มละวางอุปาทานความยินดีในความรู้สึกที่ดีบ้างร้ายบ้างที่เกี่ยวด้วยกายจิตย่อมปล่อยวางเวทนาในร่างกาย เหลือเพียงจิตกับสติตัวรู้ล้วนๆ เมื่อจิตละวางความยินดีในกายแล้ว ย่อมไม่ปรากฎว่าตนเองหายใจหรือไม่หายใจอยู่เพราะจิตเพิกเฉยต่อความยินดีในกายเสียแล้วความรู้สึกทางกายต่างๆ ที่จิตยึดว่านี่คือ แขนเรา ขาเรา ตัวเรา หัวเรา หูเรา ย่อมหมดไปแม้เสียงเราก็จะไม่สนใจ

ช่วงนี้เองที่สติปัฎฐานต้องประคองมีสติสัมปชัญญะในจิตให้ดีเชียวครับ รักษาอารมณ์ใจปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในสังขารร่างกายให้ต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าถึงธรรม หรือปฐมมรรค ณ ภายใน

ดังนั้นการที่เราฝึกนั่งนิ่งๆ ง่ายๆ ไม่ต้องคิดอะไรอย่างที่ครูไม่ใหญ่ท่านสอน จึงเป็นองค์ความรู้ที่เข้าถึงแก่นของการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในกาย เวทนา จิต ธรรมได้อย่างดีทีเดียวครับ จัดเป็นอนุวิปัสสนาครับ

QUOTE
หรือจะทำกรรมฐานอย่างเดียวจะง่ายกว่า แล้วค่อยมาวิปัสนาทีหลัง หรือขึ้นอยู่กับระดับ
บารมีของแต่ละคน

ตอบ อย่างที่คุณ MiraclE...DrEaM ได้กล่าวไว้แล้วแหละครับ การจะยกจิตเข้าสู่ภูมิวิปัสสนาจิตได้จริงๆ นั้น
จะต้องเป็นตามลำดับขั้นตอน ถ้าภูมิสมถะยังไม่ดีพอ หรือสมาธิยังไม่ดีพอวิปัสสนาคือความรู้แจ้งเห็นแจ้งก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกันครับ

หลักสูตรในการพิจารณาวิปัสสนาเพื่อความเป็นพระอริยเจ้ามีหลายหลักสูตรครับ เช่น สุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต ถ้าเป็นสุกขวิปัสสโก ท่านก็ยังต้องอาศัยสมาธิขั้นปฐมฌานเพื่อเป็นฐานในการพิจารณาวิปัสสนา

การพิจารณาวิปัสสนามุ่งเน้นที่การพิจารณาอริยสัจ 4 ในทุกๆ กายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ละวางความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 ของทุกๆ กายครับ เมื่อจิตเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 อย่างเต็มที่สังขารุเปกขาญาณก็จะบังเกิดขึ้นจิตที่หลุดพ้นจากความยินดีในขันธ์ 5 ตัดได้จริงมีรู้และญาณทัศนะจึงจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาญาณ ซึ่งลำดับขั้นแห่งวิปัสสนาญาณมีหลายขั้นมากครับ วิปัสสนาญาณต่างๆ ล้วนมุ่งกำจัดกิเลสเพื่อความเป็นพระอริยเจ้าทั้งสิ้นครับ

#8 ปุฉฉา13

ปุฉฉา13
  • Members
  • 104 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 May 2006 - 07:10 PM

..ถ้าเรายังต้องครองเรือนยังต้องอยู่ในสังคม
ยังมีครอบครัว แต่เราก็อยากฝึกสมาธิ เราจะไป
ได้ไกลแค่ไหนครับ ..ถามแบบผู้ไม่รู้นะครับ..

#9 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 May 2006 - 08:38 PM

QUOTE
ขอทำ C & D (ไม่ใช่ R & D) หมายถึง Copy and Development เอาไปใช้บ้างในอนาคตนะครับ

ได้เลยครับ เต็มที่เลยครับคุณหัดฝัน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ
QUOTE
ถ้าเรายังต้องครองเรือนยังต้องอยู่ในสังคม
ยังมีครอบครัว แต่เราก็อยากฝึกสมาธิ เราจะไป
ได้ไกลแค่ไหนครับ ..ถามแบบผู้ไม่รู้นะครับ..

ก็ไม่ต้องไปคิดล่วงหน้าครับว่า จะไปได้แค่ไหน ก็ฝึกทำไปเรื่อยๆ ครับ ค่อยๆ สั่งสมไป แต่ถ้าถามว่า ถ้ายังต้องครองเรือนอยู่ไปได้ไกลสุดแค่ไหน เท่าที่รู้มาในพระไตรปิฎกบันทึกเอาไว้ว่า คนที่ยังไม่บวชสามารถปฏิบัติได้สูงสุดก็บรรลุถึงพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามีเชียวนะครับ (แต่ไม่ได้แต่งงานนะครับ) ซึ่งก็คือ ภูมิของวิปัสสนาครับ แต่สำหรับระดับพระอรหันต์นั้น ผู้ที่บรรลุแล้วต้องออกบวชอย่างเดียวครับ เพราะเพศฆราวาสไม่สามารถรองรับคุณธรรมอันสูงส่งของพระอรหันต์ได้ครับ ต้องเป็นเพศสมณะเท่านั้น
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#10 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 May 2006 - 08:54 PM

QUOTE
ถ้าเรายังต้องครองเรือนยังต้องอยู่ในสังคมยังมีครอบครัว
แต่เราก็อยากฝึกสมาธิ เราจะไปได้ไกลแค่ไหนครับ ..ถามแบบผู้ไม่รู้นะครับ..

ตอบ ขึ้นอยู่กับอุปนิสัยใจคอครับว่าเป็นคนเอาจริงเอาจังแค่ไหนหนะครับ ถ้าเป็นคนเอาจริง
และปฎิบัติแบบถูกวิธี ถีงจะครองเรือนมีเมียก็สามารถเข้าถึงสมาธิหรือฌานโลกีย์ได้ครับ

อย่างกรณีพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบันท่านก็ยังไม่สามารถตัดกิเลสกามหรือราคะให้ขาดไปได้นะครับ
ดังนั้นในระหว่างที่เรายังไม่สามารถตัดกิเลสกามให้หมดไปทันทีก็ค่อยๆ ฝึกจิตไปเรื่อยๆ ครับ


หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#11 danaiporn

danaiporn
  • Members
  • 73 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 May 2006 - 07:09 AM

ขอแนะนำให้ฟัง พระธรรมเทศนาเรื่องสมถะวิปัสสนา จากพระเดชพระคุณหลวงปู่ วัดปากน้ำ แล้วจะเข้าใจให้ได้มากกว่านี้

#12 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 May 2006 - 09:21 AM

ที่เข้าใจคือว่า การปฏิบัติสมถกรรมฐานนั้น ถ้าเอาจริงเอาจัง ขณะปฏิบัติ คลายความยึดมั่น
ประคองสติให้ดี ๆ ไม่สนใจสังขาร ปล่อยวางไปเรื่อย ๆ ก็สามารถประคองใจให้หยุดได้ คือการ
หยุดนี่ก็ถือว่า เป็น อนุวิปัสสนา ทำให้เข้าถึงดวงปฐมมรรคได้ คิดว่าเข้าใจถูกนะ

แล้วหนังสือที่คุณดนัยพร บอกจะหาดูได้ที่ไหน เวปไหน จะได้หาอ่านเพิ่ม
เติมเพื่อแก้ปัญหาเวลาสมาธิจะได้นานขึ้นบ้าง


หยุดคือตัวสำเร็จ

#13 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 May 2006 - 11:38 AM

QUOTE
ที่เข้าใจคือว่า การปฏิบัติสมถกรรมฐานนั้น ถ้าเอาจริงเอาจัง ขณะปฏิบัติ คลายความยึดมั่น
ประคองสติให้ดี ๆ ไม่สนใจสังขาร ปล่อยวางไปเรื่อย ๆ ก็สามารถประคองใจให้หยุดได้ คือการ
หยุดนี่ก็ถือว่า เป็น อนุวิปัสสนา ทำให้เข้าถึงดวงปฐมมรรคได้ คิดว่าเข้าใจถูกนะ

ถูกต้องแล้วครับสาธุ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#14 ปุฉฉา13

ปุฉฉา13
  • Members
  • 104 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 May 2006 - 09:29 PM

..สาธุ..
ทุกท่านครับ

#15 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 15 May 2006 - 10:16 AM

ถ้าคุณทศพลเข้าใจเช่นนี้ได้ แล้วก็ปฏิบัติด้วยความมั่นใจไม่วอกแวก ก็ดีครับ เป็นบารมีติดตัวไป โดยไม่ต้องกังวลกับความคิดเห็นที่ต่างออกไปของสำนักอื่นๆ อย่างนี้ไม่มีปัญหาครับ

แต่ถ้ากังวลกับความคิดเห็นที่ต่างออกไป อย่างนี้อาจจะมีปัญหา เพราะในอีกมุมมอง จะชอบมองทำนองว่า การเห็นแสงสว่างนั้น คือ การติดในความสว่าง ไม่ยอมปล่อยวาง เท่ากับติดในสมถะไม่ยอมวิปัสสนา

หรือแม้เรื่องของ ใจที่หยุดนิ่ง มีความสุข เหล่าความเห็นที่แตกต่าง จะชอบบอกอีกว่า ติดในความสุข ติดในความนิ่ง ไม่ยอมปล่อยวาง ให้เหลือแต่ตัวรู้เท่านั้น (ผมจำๆ สำนวนเขามานะครับ) เท่ากับติดในสมถะไม่ยอมวิปัสสนา
หากกังวลกับแนวคิดพวกนี้ เราจะสงสัยไม่สิ้นสุดว่าเราวิปัสสนาหรือไม่ ดังนั้น ถ้าเรามั่นใจว่า เราทำถูกต้องแล้ว ก็ทำไปเถิดครับ จะเป็นประโยชน์กับตัวเราเอง
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#16 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 15 May 2006 - 10:36 AM

1.ไม่ต้องคิดมาก
2.ทำตามหลวงพ่อ
จบ
( ง่ายดี )
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#17 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 May 2006 - 02:05 PM

ขอบคุณ ทุกคำตอบครับ ความจริงแล้วถ้าลองไปตาม เวปต่าง ๆ ก็จะมีคำถามลักษณะนี้
มากมาย ผมก็ไปตามเวปต่าง ๆ มาจริง ๆ ล่ะ แต่ไปศึกษาดูเฉย ๆ เพราะเชื่อมั่นในครูบา
อาจาร์ย และเป็นจริงดังที่พี่หัดฝันพูด ถ้าหากยังสงสัยเรื่องนี้ต่อไปอีก มันก็ไม่รู้จบมีข้อโต้
แย้งเรื่องติดนิมิตร ติดความสุขจากการภาวนา เมื่อได้อ่านดูคำตอบแล้วก็พอจะเข้าใจบ้าง
ว่าเหตุใดทางวัดจึงเน้นให้นั่งสมาธิให้ใจหยุดใจนิ่งก่อน เพราะใจหยุดใจนิ่งแล้วค่อยพิจารณา
จะเห็นได้ตรงความจริงมากกว่า เปรียบเทียบแล้วก็คือเมื่อนั่งสมาธิจิตสงบระงับจะเริ่มสัมผัส
กับความสุขอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งต่างจากความสุขในกาม มันเป็นความสุขทางใจ ที่ยากจะ
อธิบายว่ามันสุขอย่างไร เหมือนกับที่เราเริ่มปล่อยวางอะไรไปได้แล้วใจมันเบาสบาย ๆ ทำให้
เราตั้งใจฝึกมากขึ้นเพื่อเข้าถึงความสุขทางใจ และหนทางนี้น่าจะถูกต้องที่สุด เพราะเกิด
จากการทดลองไม่ได้เชื่อตามใคร ส่วนตามที่เขาสงสัยและแย้งไปก็คงเกิดจากการติดตำรา
มากเกินไป ในปัจจุบันนี้คนเขียนตำราก็ไม่ค่อยได้ปฏิบัติให้เข้าถึงเท่าไร ( เรียกว่าไม่รู้จริง )

เมื่อมองดูการปฏิบัติจากทางวัดและอ่านตามคิดตาม หลาย ๆ คำตอบทำให้เข้าใจขึ้นด้วย

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

หยุดคือตัวสำเร็จ

#18 kasaporn

kasaporn
  • Members
  • 870 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 May 2006 - 10:29 PM

อนุโมทนากับทุกๆท่านที่ช่วยกันแนะนำด้วยนะคะ ง่ายๆก็คือทำการบ้านตามที่คุณครูไม่ใหญ่สอน
ให้ครบทุกข้อ ทุกวัน ทุกคืน จนเป็นนิสัย ก็เท่ากับเดินตามเส้นทางของมหาปูชนียาจารย์และหมู่คณะแล้วค่ะ / อนุโมทนาค่ะ แล้วพบกันที่ดุสิตบุรีวงบุญพิเศษนะคะ

#19 bambam

bambam
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 December 2006 - 04:17 PM

ดีจัง