ไปที่เนื้อหา


เนื้อหาจาก MiraclE...DrEaM

ค้นพบทั้งสิ้น 1000 รายการโดย MiraclE...DrEaM (จำกัดการค้นหาจาก 28-April 23)



#42729 เรื่องของความฝัน (ฝันเห็นจระเข้)

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 30 August 2006 - 04:00 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

QUOTE
ใครมีคำตอบดี ๆ สำหรับน้องโอ๋บ้างน๊า...ที่จะบอกน้องว่า ควรหรือไม่ควรเชื่อเรื่องนี้ดี...ขอบคุณค่ะ

ขอทำนายฝันว่า ต้องรีบชวนน้องเค้าเข้าวัด ติดจานดาวธรรมด่วน เพราะ พี่ไมเข้ กับ มาดอนเข้ ไปตามถึงในฝันแล้ว ถ้าช้ากว่านี้อาจจะฝันถึงน้องหมีแพนด้า กับ น้องทุยได้ glare.gif



#40460 โปรดช่วยกันระมัดระวังการใช้คำพูดที่เกี่ยวเนื่องกับบางศาสนา

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 22 August 2006 - 09:20 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

เห็นด้วยกับคุณ koonpatt ทุกประการครับ

มีคนที่เข้าวัดจำนวนไม่น้อย เป็นพวก ศรัทธาจริต คือ ใช้ศรัทธานำหน้า ไม่ใช้ปัญญาพิจารณา คนพวกนี้แหละครับ ที่น่าเป็นห่วง เพราะ ถ้าทำอะไรด้วยศรัทธาเป็นที่ตั้งโดยปราศจากปัญญาแล้ว ภาษาชาวบ้านก็คือ งมงาย แหละครับ เมื่อไหร่ศรัทธาพวกเขาตก หรือ สูญสิ้นลง เมื่อนั้น ชีวิตทางธรรมของพวกเขาก็จะจบลงทันที เพราะไม่มีปัญญาพอที่จะสามารถพิจารณา โยนิโสมนัสสิการ เพื่อ ยกกำลังใจตนเองในการสร้างความดีได้ ครับ

ด้วยเหตุนี้ เมื่อเข้าวัดกันแล้ว ก็ควรที่จะหมั่นศึกษาหาความรู้ทางธรรมใส่ตัวเสมอ หาหนังสือธรรมะมาเปิดอ่านอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงแค่รอฟังแต่จาก โรงเรียนอนุบาลแต่เพียงอย่างเดียว หลายๆ ท่านดูเบาพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อทัตตะ ของหลวงพี่ฐานะฯ ของพระอาจารย์ไพบูลย์ ฯลฯ

ถ้าเราหมั่นศึกษาธรรมะจากทุกๆ ท่าน ทุกๆ รูป เมื่อศึกษาแล้วก็ไม่ใช่แต่เพียงว่าฟังหรืออ่านเพียงเท่านั้น แต่ให้นำมาขบคิดพิจารณา หาความสัมพันธ์ของหัวข้อธรรมต่างๆ ยกระดับปัญญาจาก ปัญญาที่เกิดจากการฟัง เป็นปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาโดยแยบคาบ เพราะจะได้เป็นสหชาติปัญญาติดตัวข้ามภพข้ามชาติไปด้วย และ เมื่อถึงคราวทำหน้าที่กัลยาณมิตรก็ทำได้อย่างสมบูรณ์ สามารถแถลงข้ออรรถข้อธรรมให้กับผู้สงสัยได้อย่างลึกซึ้งชัดเจน เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทางไงครับ

แต่ปัจจุบันนี้ผมเห็นสาธุชนจำนวนไม่น้อย เวลาจะทำหน้าที่กัลยาณมิตรนั้น จะก๊อปปี้คำพูดของครูบาอาจารย์มาพูดทั้งดุ้น ทั้งก้อน ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ดี แต่จุดอ่อนก็คือ ถ้าคนอื่นเขายังคงไม่หายสงสัยในคำพูดของครูบาอาจารย์แล้วจะทำอย่างไร ตอนนี้แหละครับ ปัญญาที่เกิดจากการขบคิดพิจารณา จะทำให้เราสามารถขยายความ ถ้อยคำของครูบาอาจารย์ออกไปอีกตามสมควร ให้เขาเหล่านั้นเข้าใจธรรมะยิ่งขึ้น แล้วการทำหน้าที่กัลยาณมิตรก็จะสัมฤทธิ์ผล และตัวเราก็จะไม่ถูกกล่าวหาว่า เป็นคนงมงาย ครูบาอาจารย์พูดอะไร ก็ก๊อปมาพูดทั้งดุ้นทั้งก้อน ปราศจากการขบคิดพิจารณา ซึ่งผิดหลักกาลามสูตร ครับ



#20826 กลอนเพราะๆ รายวันจากลูกพระธัมฯ สุพรรณบุรีครับ

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 21 April 2006 - 04:00 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

อนุโมทนา สาธุ กับบทกลอนดีๆ นะครับ เดี๋ยวผมจะขอแบ่ง บทกลอนของตะวันธรรม มั่งนะครับ

(อย่าปล่อยให้พ่อคอย)
ที่พ่อสอนเอาไว้ก็ไม่จำ
อยากจะทำแต่ที่ไม่เคยสอน
รู้บ้างไหมวัยพ่อเหมือนตะวันรอน
แสงแดดอ่อนทินกรจะลาไกล

รึจะคอยลูกน้อยห้าร้อยกัปป์
รึจะให้นับกัปป์ไม่ถ้วนอสงไขย
รึเห็นคอยได้ให้คอยไป
คอยไม่ไหว คงไปคอยดุสิต(บุรีเอย)



#12958 วิธีการบวชพระภิกษุ 3 วิธีหลัก 2 วิธีพิเศษ

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 19 February 2006 - 01:35 PM ใน ธรรมกถึก

วิธีการบรรพชา อุปสมบทในฝ่ายพระภิกษุสงฆ์
๑) เอหิภิกขุอุปสัมปทา วิธีบวชนี้พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอุปัชฌาย์เอง สมันตปาสาทิกากล่าวถึงวิธีการบวชด้วยวิธีนี้ไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงเห็นว่าบุคคลที่จะบวชนั้นมีอุปนิสัยพร้อมที่จะบวชด้วยเอหิภิกขุได้ ก็จะทรงเหยียดพระหัตถ์ขวาซึ่งมีพระฉวีวรรณดั่งทองคำออกจากภายในผ้าบังสุกุลสีแดง แล้วเปล่งพระสุรเสียงดั่งเสียงพรหมว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” หากผู้นั้นยังไม่บรรลุอรหัตผล พระองค์ก็จะตรัสต่อไปว่า “จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไปด้วยดี” พร้อมกับพระดำรัสนั้น เพศคฤหัสถ์ของผู้นั้นก็อันตรธานไป เป็นอันว่าบรรพชาอุปสมบทของเขาสำเร็จ ผู้ที่บรรพชาอุปสมบทนั้นก็กลายเป็นผู้มีศีรษะโล้นโดยไม่ต้องโกน ครองผ้ากาสาวพัสตร์ นุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง พาดบ่าผืนหนึ่ง บนไหล่ซ้ายสะพายบาตรดินสีดอกอุบลเขียว ที่ร่างกายคล้องบริขาร ๘ คือ ไตรจีวร บาตร มีดเล็ก เข็ม ประคดเอว และผ้ากรองน้ำ มีอิริยาบถเรียบร้อยเหมือนพระเถระบวชได้ ๑๐๐ พรรษา มีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัชฌาย์ ยืนถวายบังคมพระองค์อยู่

วิธีนี้ใช้ในการบรรพชาอุปสมบทช่วงต้นของพุทธกาล

๒) ติสรณคมนูปสัมปทา ครั้นต่อมาเมื่อมีพระศาสนาแผ่ขยายออกไป จึงเกิดความไม่สะดวกต่อกุลบุตรผู้ใคร่ที่จะออกบวชเพราะจะต้องมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้ทรงประทานการบวชให้ พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติให้มีการบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทาขึ้น คือเป็นวิธีบวชที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้พระสาวกต่างรูปต่างเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้กุลบุตรผู้ประสงค์จะบวช พระพุทธเจ้าทรงตรัสแนะนำการบวชด้วยวิธีนี้ไว้ดังนี้

อันดับแรก พวกเธอพึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาอุปสมบท ปลงผมและโกนหนวดก่อนแล้วให้ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ให้พาดผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลายแล้วให้นั่งกระโหย่งประนมมือพร้อมทั้งสั่งให้ว่าสรณคมน์ตามดังนี้
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง


เมื่อกล่าวเสร็จแล้ว เป็นอันเสร็จสิ้นการบรรพชาอุปสมบท กุลบุตรนั้นก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา แต่ต่อมาภายหลังการบรรพชาอุปสมบทแบบนี้ ได้นำไปใช้ในการบรรพชาเป็นสามเณรเท่านั้น ส่วนการบรรพชาอุปสมบทให้ใช้วิธีการที่ ๓ แทน

๓) ญัตติจตุตถกัมมูปสัมปทา พระภิกษุผู้ที่ได้ใช้การบวชวิธีนี้เป็นรูปแรกคือ พระราธะ โดยมีพระอุปัชฌาย์คือ พระสารีบุตร และถือเป็นวิธีการบรรพชาอุปสมบทที่ใช้สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน วิธีนี้เป็นวิธีบวชที่ทรงมอบอำนาจให้คณะสงฆ์เป็นใหญ่ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไปร่วมกันทำ พระไตรปิฎกกล่าวถึงการบวชด้วยวิธีนี้ไว้ดังนี้

พระพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธานุญาตให้สงฆ์บวชให้โดยให้ภิกษุผู้ฉลาดสามารถรูปหนึ่งประกาศให้สงฆ์ทราบ ๔ ครั้งดังนี้
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้นี้ซึ่งมีชื่อนี้เป็นผู้มุ่งอุปสมบทของผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ได้อุปสมบทให้ผู้นี้ซึ่งมีชื่อนี้โดยท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ การให้อุปสมบทผู้นี้ซึ่งมีชื่อนี้โดยมีท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้าขอกล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๒...
ข้าพเจ้าขอกล่าวความนี้เป็นครั้งที่ ๓...
ผู้นี้ซึ่งมีชื่อนี้สงฆ์อุปสมบทให้แล้ว มีท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายนี้ด้วยอาการอย่างนี้


๔) โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา เป็นวิธีบวชที่พระพุทธเจ้าทรงมอบพระโอวาทให้แก่พระมหากัสสปะรับไปปฏิบัติ คือพระพุทธเจ้าประทานอุปสมบทโดยการมอบพระโอวาทแก่ท่าน และให้ท่านนำไปปฏิบัติ พระภิกษุที่ได้รับการบวชด้วยวิธีนี้มีเพียงพระมหากัสสปะรูปเดียวเท่านั้น ในพระไตรปิฎกมีการกล่าวถึงพระโอวาทที่พระองค์ตรัสประทานแก่พระมหากัสสปะไว้ดังนี้

ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตัปปะ อย่างแรงกล้าไว้ในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ ทั้งที่เป็นผู้ใหม่และทั้งที่มีพรรษาปานกลาง
ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักฟังธรรมทั้งหมดที่ประกอบไปด้วยกุศล เราจักเงี่ยโสตลงฟังธรรมนั้นทั้งหมดแล้วประมวลมาไว้ด้วยใจ
ดูก่อนกัสสปะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีจักไม่พรากจากเรา
ดูก่อนกัสสปะ เธอพึงศึกษาอย่างว่ามานี้แล


๕) ทายัชชูปสัมปทา วิธีนี้พระพุทธเจ้าทรงใช้บวชสามเณรที่อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี แต่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นพระได้ โดยทรงเปล่งวาจาว่า “เธอจงเป็นภิกษุตั้งแต่วันนี้ไป” สามเณรที่พระพุทธเจ้าทรงบวชยกขึ้นเป็นพระมีอยู่ ๓ รูป คือ
๑. สามเณรสุมนะ
๒. สามเณรโสปากะ
๓. สามเณรทัพพะ
พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เองโดยตรัสว่า “อชชโต ปฎฐาย ภิกฺขุ โหหิ” (เธอจงเป็นภิกษุตั้งแต่วันนี้ไป) คำว่า ทายัชชูปสัมปทา แปลว่า การรับเข้าหมู่โดยความเป็นทายาท หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า มีคุณสมบัติเหมาะสม เป็นพระอรหันต์และรับภาระหนักเทียบเท่าพระ


ดังนั้น ในยุคปัจจุบัน กุลบุตรผู้ใดมีความประสงค์จะบวชในบวรพระพุทธศาสนาจึงมีแค่ ๒ วิธี คือ
๑. ถ้าจะบรรพชาเป็นสามเณรให้ใช้วิธี ติสรณคมนูปสัมปทา
๒. ถ้าจะบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุให้ใช้วิธี ติสรณคมนูปสัมปทา เพื่อยกฐานะเป็นสามเณรก่อนแล้วจึงค่อยทำการอุปสมบทด้วยวิธี ญัตติจตุตถกัมมูปสัมปทา เพื่อทำการยกฐานะจากสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุอีกทีหนึ่ง



#29918 โอวาทและพรของหลวงพ่อ...ยามที่เหนื่อยหรือท้อแท้

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 26 June 2006 - 06:13 PM ใน บทความดี๊ดี ... จากสมาชิก

ข้อความข้างล่างนี้ เป็นโอวาทและพรของหลวงพ่อที่ผมชอบมากๆ และอยากดูและฟัง สปอตที่เป็นโอวาทอันนี้ทุกๆครั้งเวลาที่รู้สึกเหนื่อยหรือท้อแท้ คิดว่า เพื่อนๆ คงจะเคยได้ดูหรือได้ฟังกันมาบ้างนะครับ ถ้ายังไงก็ลองอ่านดูกันนะครับ ว่าชอบหรือไม่
QUOTE
กัลยาณมิตรที่รักของหลวงพ่อ

เส้นทางบุญที่พวกเราได้ร่วมกันสร้างกับหลวงพ่อนี้ เป็นเส้นทางบุญที่แสนไกลและยากกว่าการสร้างสิ่งมหัศจรรย์ใดๆ ในโลก เต็มไปด้วยอุปสรรคและความยากลำบาก แต่พวกเราทุกคนก็อดทน ต่อสู้ และมุ่งมั่นต่อไป อย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยย่อท้อ ยากที่จะหาคำพูดใดๆ มายกย่อง จึงจะสมกับพลังบุญที่พวกเราได้ร่วมสร้างด้วยกันมาจนบัดนี้

พวกเราได้เดินทางไกลมาอย่างองอาจ เข้มแข็งตลอดมา เพราะเรารู้ว่า เรากำลังสร้างมหานิสงค์อันยิ่งใหญ่สุด นั่นคือการนำพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ไปอยู่ในจิตใจของมนุษยชาติทั่วโลก เพื่อนำชาวโลกทั้งหลายไปสู่เป้าหมายอันกว้างไกล เกินกว่าจักรวาล นั่นคือดินแดนแห่งความสุขอันเป็นนิรันดร์ คือพระนิพพาน

ด้วยผลแห่งบุญนี้ ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมกายในตัวเราทุกคน ขอให้พวกเราทั้งหลายประสบแต่ความสุข ความเจริญ เพิ่มพูนกำลังใจให้เราสร้างสมบารมียิ่งๆ ขึ้นไป และขอให้ได้เข้าถึงพระธรรมกาย โดยเร็วพลัน ทุกท่าน เทอญ...



#26599 ปริศนาคำพูดของอัลเบิร์ต ไอสไตล์ กล่าวถึงพระพุทธศาสนาก่อนเสียชีวิต

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 02 June 2006 - 08:28 PM ใน วิทยาศาสตร์ทางใจ

QUOTE
Einstien นับถือศาสนาอะไรเหรอคะ

เท่าที่รู้มาอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เป็นชาวยิวครับ แต่อพยพหนีฮิตเลอร์ที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวไปที่ประเทศอเมริกา แล้วก็ทำการคิดค้นพลังงานปรมาณูที่นั้น จนพัฒนาการเป็นระเบิดปรมาณูไงครับ
นอกไปจากนี้อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ก็เกิดร่วมยุคสมัยเดียวพระเดชพระคุณหลวงปู่ด้วยครับ



#26556 ปริศนาคำพูดของอัลเบิร์ต ไอสไตล์ กล่าวถึงพระพุทธศาสนาก่อนเสียชีวิต

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 02 June 2006 - 10:29 AM ใน วิทยาศาสตร์ทางใจ

QUOTE
ถึงแม้อัลเบิร์ต ไอสไตล์ ได้จากโลกนี้ไปโดยที่เขายังไม่สามารถค้นพบตำตอบตามที่เขากำลังต้องการก็ตาม แต่ไอสไตล์ได้ทิ้งคำพูดที่เป็นปริศนาที่สำคัญมากให้กับมนุษยชาติ ในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของเขา อัลเบิร์ตได้เริ่มสงสัยแล้วว่า พระพุทธศาสนา อาจจะเป็นศาสนาที่ให้คำตอบต่อคำถามที่เขากำลังพยายามค้นหา ในช่วง 1 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิตนั้น มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของเขาชื่อเรื่อง " The Human Side " ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ ได้กล่าวทิ้งท้ายให้เป็นปริศนาแห่งโลกอนาคตว่า

The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend personal God and avoid dogma and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things natural and spiritual as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that could cope with modern scientific needs it would be Buddhism. (Albert Einstein)

"ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา(คือพึ่งเทวดาเป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้น เมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนา ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้....ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา"

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฏีสัมพันธภาพ


คำพูดของไอสไตล์นั้นมีความนัยที่สำคัญซ่อนอยู่และรอคอยการค้นพบ และทฤษฎีเอกภาพหรือทฤษฎีสรรพสิ่งที่ต้องการค้นหานั้น ที่จริงพระพุทธเจ้าได้ตอบให้เบ็ดเสร็จก่อนหน้านั้น 2500 ปี

อ้างอิงจากเวป MThai



#7571 พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการและพุทธจริยา ๓ ประการ

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 04 January 2006 - 10:59 PM ใน ธรรมกถึก

อยากรู้ครับ ว่า ถ้าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมตอนเที่ยงคืนจะแสดงเสร็จกี่โมง แล้ว ตรวจดูสัตว์โลกตอนใกล้รุ่ง อย่างนี้ พระพุทธองค์จำวัด วันนึงกี่ชั่วโมงเอ่ย



#30549 ของฝากจากยอดดอย...เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ก่อนจะหลับตา

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 29 June 2006 - 09:24 PM ใน กระทู้ที่น่าสนใจ

โห...มีตั้งหลายคนจะเอาเทคนิคนี้ไปลองทำดู อย่าลืมนะครับ...ได้ผลอย่างไรก็บอกๆ กันมาบ้าง จะได้เป็นกำลังใจให้ซึ่งกันและกันในการปฏิบัติธรรมต่อไป



#30412 ของฝากจากยอดดอย...เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ก่อนจะหลับตา

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 29 June 2006 - 10:48 AM ใน กระทู้ที่น่าสนใจ

อย่างที่บอกว่าได้หนีไปพักร้อนบนพนาวัฒน์มานะครับ ก็เลยอยากจะแบ่งปันเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ก่อนที่จะทำการหลับตา เผื่อใครบางคนจะได้บรรลุธรรมหรือหยุดใจได้เร็วขึ้น ผมจะได้มีส่วนในบุญนั้นด้วยน่ะครับ nerd_smile.gif

ก็อย่างที่เห็นกันจนชินตา การนั่งสมาธิในบางครั้ง พอบอกว่า จะนั่งสมาธิปุ๊ป ก็หลับตาปั๊ป เอ...เคยคิดกันบ้างไหมหนอ ว่า เราอาจจะมีบางสิ่งที่ควรจะทำก่อนที่จะทำการปิดเปลือกตา และทำการหยุดใจ เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เช่น

QUOTE
1) ก่อนที่จะปิดตา ลองมองดวงแก้ว รูปหลวงปู่ หลวงพ่อ คุณยาย แบบสักแต่ว่าซัก 1 นาที มองท่านแบบไม่ได้ตั้งใจมองจนเกินไป ประมาณว่ามองแบบเหม่อๆ มองท่าน สักแต่ว่ามองท่าน ไม่ได้จ้องท่านแบบเอาเป็นเอาตาย

2) พอสักแต่ว่ามองซัก 1 นาทีแล้ว ลองปิดตาเบาๆ แล้วลองเงี่ยหูฟังเสียงรอบตัวอย่างเบาๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงแอร์ เสียงรถ เสียงนกร้อง เสียงลม หรือเสียงอะไรก็ได้รอบตัวเรา แบบสักแต่ว่าฟัง เพลินๆ ซัก 1 นาที

3) ทีนี้ เราลองมาหลับตากันดู โดยค่อยๆ หลับตาเบาๆ มองหน้าตรง ยิ้มมุมปากนิดๆ พอให้ใบหน้าผ่อนคลาย อย่าก้มหน้าเพราะเราจะเผลอเอาตาเราไปจ้องท้อง อย่าเงยหน้าเพราะจะทำให้ต้นคอเกร็ง ไม่สบายตัวได้

4) เมื่อเราปิดเปลือกตาแล้ว เพื่อป้องกันการเพ่งการจ้อง ที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ทำให้เราปวดนัยน์ตา ปวดขมับ เมื่อปิดเปลือกตาแล้ว ทำเป็นเหมือนเหลือบมองสูงทั้งๆ ที่ปิดเปลือกตาแล้วนิดนึง ย้ำนิดเดียวนะครับ ก็จะช่วยลดอาการกดลูกนัยน์ตาได้

5) เมื่อเราปรับอวัยวะบนใบหน้าจนสบายแล้ว ทีนี้ ก็มาสังเกตบ่า ไหล่ ลำตัว ฝ่ามือ เอว ขา น่อง ฝ่าเท้าว่าเรา มีส่วนไหนเกร็งไหม ถ้าเกร็ง ก็ผ่อนคลายซะ

6) เมื่อหลับตาแล้ว ถ้ายังกำหนดนิมิตดวงแก้ว องค์พระ หรือวางใจไว้ที่ศูนย์กลางกายไม่ได้ ก็อย่าพึงทำอะไร ให้ปล่อยใจหลวมๆ สบายๆ ปล่อยให้ร่างกายเราหลวมรวมไปกับธรรมชาติและสิ่งรอบตัวก่อนดีกว่าไหม เช่น ลองฟังเสียงรอบตัวแบบเพลินๆ

7) เมื่อเรา ลองทำแบบนี้แล้ว เชื่อว่า ใจเราก็คงค่อยๆ ผ่อนคลายจนพร้อมที่จะเริ่มเข้าสู่การทำสมาธิ โดยไม่รู้สึกว่า เป็นการกดใจแล้ว เมื่อนั้น เราค่อยเริ่มกำหนดองค์พระ ดวงแก้ว หรือวางใจที่ศูนย์กลางกาย แบบสบายๆ

อยากจะบอกว่า หลายๆ คน ดูเบาสภาพร่างกาย และ ความพร้อมของร่างกายและจิตใจมากเกินไปไหม ทำให้เรานั่งธรรมะไม่ก้าวหน้าไปไหนเสียที ลองทำดูนะครับ แล้วได้ผลอย่างไรก็เล่าสู่กันฟังนะครับ happy.gif



#25894 บทกรวดน้ำอิมินาและความหมาย

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 27 May 2006 - 01:58 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

QUOTE
- ทำไมบทกรวดน้ำนี้จึงมีอุทิศให้ท้าวมหาพรหมและหมู่มารด้วย

ท้าวมหาพรหมก็เป็นสรรพสัตว์ในภพ 3 ครับ ส่วนหมู่มารก็หมายถึงบุคคลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะมาร แปลว่า ผู้ขวางความดี ก็ได้ครับ
QUOTE
- ถ้าตอนกรวดน้ำท่องเป็นภาษาไทยจะดีกว่าบาลีหรือไม่ เพราะเข้าใจดีกว่าและความหมายดีมาก

อืม ก็จริงครับ ถ้าจะท่องเป็นภาษาไทย แต่ถ้าจะให้ดี ก็ต้องท่องบาลีด้วย เพราะ ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแล้ว แต่ภาษาไทยยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ ถ้าท่องไทยอย่างเดียว อนาคตอาจจะมีการท่องกันผิดในบางคำแล้วเกิดการผิดเพี้ยนได้ครับ ดังนั้นควรจะท่องบาลีกำกับไปด้วยนะครับ



#27941 ธรรมสำหรับพระราชา

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 14 June 2006 - 04:29 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

โอ...ขอบคุณ คุณขุนศึกผู้พิชิตหงสา มากเลยนะครับ จำผิดพลาดไปครับ งั้นผมขอแก้เลยนะครับ เดี๋ยวโดนหาว่าบิดเบือน เดี๋ยวติดคุก



#27877 ธรรมสำหรับพระราชา

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 14 June 2006 - 12:06 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

กระทู้นี้ขอตั้งขึ้นเพื่อ เป็นการเชิดชูพระเกียรติและคุณธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือที่ เราเรียกกันสั้นๆ ว่า "ในหลวง" หรือ "พ่อหลวง" ของคนไทยทั้งชาติ เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี

จากที่เห็นตามสื่อมักจะพูดกันว่า พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติด้วย ทศพิธราชธรรม หรือ สปอตที่บอกว่า 60 ปีแห่งทศพิธราชธรรม แต่แท้จริงแล้ว ในหลวงของเราทรงบำเพ็ญตน ในธรรมะที่มากยิ่งกว่า ทศพิธราชธรรม

ธรรมะที่เราไม่ได้กล่าวถึงกันคือ จักรวรรดิวัตร 12 และ สังคหวัตถุ 4 อันเราจะได้เห็นจากพระราชจริยาวัตรอันงดงามตลอด 60 ปีที่ ทรงครองราชสมบัตินับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 และทรงบำเพ็ญพระองค์ได้สมดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้ทรงตั้งสัตยาธิษฐานไว้ว่า

เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม

เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

QUOTE
ธรรมสำหรับพระราชา


ธรรมสำหรับพระราชาซึ่งเป็นแบบแผนในการปกครองได้แก่
ทศพิธราชธรรม ๑๐ จักรวรรดิวัตร ๑๒ และราชสังคหวัตถุ ๔
เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงบำเพ็ญคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างใหญ่หลวง


ทศพิธราชธรรม ๑๐ คือธรรมในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร์ มีดังนี้
๑. การให้
๒. การบริจาค
๓. ความประพฤติดีงาม
๔. ความซื่อตรง
๕. ความอ่อนโยน
๖. ความทรงเดช
๗. ความไม่โกรธ
๘. ความไม่เบียดเบียน
๙. ความอดทน
๑๐. ความไม่คลาดเคลื่อนในธรรม


จักรวรรดิวัตร ๑๒ คือธรรมอันเป็นพระราชจริยานุวัตร ทรงถือและอาศัยธรรมข้อนี้เป็นหลักสำหรับการปกครองประเทศ ดังนี้
๑. ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนักและคนภายนอกให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย
๒. ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น
๓. ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์
๔. ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดี และคฤบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง
๕. ควรอนุเคราะห์ประชาชนที่อยู่ในชนบท
๖. ควรอนุเคราะห์สมณพรามณ์ผู้มีศีล
๗. ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธ์
๘. ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุตจริต
๙. ควรรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริตและอกุศลต่อสังคม
๑๐. ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้แจ่มชัด
๑๑. ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ
๑๒.ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้


ราชสังคหวัตถุ ๔ ราชสังคหวัตถุ ๔ คือ
๑. ทาน แบ่งปันสิ่งของให้กัน
๒. ปิยวาจา พูดจาดีต่อกัน
๓. อัตถจริยา ทำประโยชน์ให้กัน
๔. สมานัตตา วางตัวเหมาะสม
พระราชจริยานุวัตรอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวนำใจประชาชน สำหรับเป็นแนวทางในการวางนโยบายปกครองบ้านเมือง ดังนี้ ทรงพระปรีชาในการบำรุงธัญญาหารให้บริบูรณ์ ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์บุรุษที่ประพฤติดี ทรงพระปรีชาในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร และการตรัสพระวาจาที่อ่อนหวานแก่ชนทุกชั้นโดยควรแก่ฐานะ



#16702 พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 21 March 2006 - 10:40 PM ใน ธรรมกถึก

สาธุครับ



#16806 พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 22 March 2006 - 12:36 PM ใน ธรรมกถึก

เป็นสมมุติจักรพรรดิครับ ไม่ใช่พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครองรัตนะ 7 ครับ



#24490 ทำไมถึงเกิดมาเป็นฝาแฝด

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 13 May 2006 - 10:02 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

QUOTE
แล้วทำไมเค้าถึงเกิดมาตัวติดกัน เคยมีเครสแบบนี้บ้างหรือยังจ๊ะ อยากทราบนะจ๊ะขอผู้รู้ช่วยตอบให้กระจ่ายหน่อยจ๊ะ

สำหรับกรณีอินจัน น่าจะเกิดจากการที่ทั้งคู่เคยลงโทษข้าทาสบริวารโดยการจับทาสที่ทำผิดมาใส่ขื่อให้ตัวติดกันครับ แต่น้องบ๊อก บ๊อกยังเด็กน่าจะนั่งสมาธิง่ายกว่าผู้ใหญ่ อยากให้น้องบ๊อก บ๊อก ตั้งใจนั่งธรรมะนะครับ จะได้เข้าถึงธรรมเร็วๆ ซึ่งจะทำให้ปัญญาสว่างไสว สามารถตอบคำถามแต่ละข้อได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ ไงครับ จะได้นำความรู้มาแบ่งปันคนบนบอร์ดด้วยนะครับ



#24487 ทำไมถึงเกิดมาเป็นฝาแฝด

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 13 May 2006 - 09:51 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

QUOTE
วันที่ 17 มกราคม 2417 จันก็เสียชีวิตลงพออินรู้ว่าจันตายก็ตกใจอย่างสุดขีด และสองชั่วโมงต่อมาอินก็สิ้นใจเพราะความกลัว รวมอายุได้ 63 ปี

ข้อมูลตรงนี้ผมเคยได้ดูสารคดีของแฝดสยามคู่นี้ มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อจันเสียชีวิตลง ได้มีการติดต่อหมอเพื่อที่จะทำการผ่าตัดแยกร่างแฝดสยามคู่นี้ เนื่องด้วยอินและจันใช้ตับก้อนเดียวกันตั้งแต่เกิด ทำให้ไม่สามารถผ่าตัดแยกร่างได้ในตอนที่ทั้งคู่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อจันตายลง ก็ได้รีบติดต่อหมอเพื่อทำการผ่าตัด แต่ช้าเกินไปเนื่องจากเมื่อจันตายลง ระบบร่างกายของจันไม่ทำงาน ทำให้เกิดของเสีย และของเสียเหล่านั้น ก็เริ่มหมุนเวียนเข้าสู่ร่างของอินเพราะใช้ตับอันเดียวกัน จนอินเสียชีวิตในที่สุด ปัจจุบันตับของแฝดสยามคู่นี้ ยังได้รับการเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาครับ
QUOTE
ทำไมถึงเกิดมาเป็นฝาแฝด ทำกรรมอะไรไว้ บ้างครั้งแฝดตัวติด และบางครั้งก็แยกเป็นแฝด ชาย หญิง หรือ หญิง หญิง หรือ ชาย ชาย นะจ๊ะ

ถ้าน้องบ๊อก บ๊อกได้ดูจานดาวธรรมอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทราบได้นะครับ พระเดชพระคุณ คุณครูไม่ใหญ่ได้เฉลยไว้แล้วว่า บางกรณีก็เกิดจากแรงอธิษฐานของทั้งคู่ให้มาเกิดร่วมกัน บางคู่ก็เกิดจากมีวิบากกรรมร่วมกัน ส่วนที่เป็นหญิงหรือชาย ก็ขึ้นอยู่กับวิบากกรรมในการผิดศีลข้อ 3 ไงครับ



#12887 ครุธรรม ๘ ประการสำหรับภิกษุณี

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 18 February 2006 - 03:20 PM ใน ธรรมกถึก

ครุธรรม ๘ ประการนั้นมีรายละเอียดดังนี้ คือ
๑) พระภิกษุณีแม้จะบวชมาตั้ง ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องแสดงความเคารพพระภิกษุแม้เพิ่งบวชในวันนั้น ด้วยการกราบไหว้ ลุกขึ้นต้อนรับ กระพุ่มมือไหว้ และทำการนอบน้อม
๒) พระภิกษุณีต้องไม่อยู่ในวัดที่ไม่มีพระภิกษุอยู่ร่วมด้วย
๓) พระภิกษุณีต้องถามวันอุโบสถ และเข้ารับฟังโอวาทจากพระภิกษุ ทุกกึ่งเดือน
๔) พระภิกษุณีจำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายพระภิกษุณีสงฆ์
๕) พระภิกษุณีทำผิดพระวินัยมีโทษเป็นสังฆาทิเสส ต้องประพฤติปักขมานัต (อยู่กรรม) ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ และฝ่ายพระภิกษุณีสงฆ์
๖) ก่อนจะบวชเป็นพระภิกษุณี สตรีจะต้องบวชเป็นสิกขมานา รักษาศีล ๖ ครบ ๒ ปีแล้วจึงบวชได้ แต่จะต้องบวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ จากพระภิกษุสงฆ์ และจากพระภิกษุณีสงฆ์
๗) พระภิกษุณีจะต้องไม่ด่าหรือใส่ร้ายพระภิกษุ ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
๘) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระภิกษุณีจะกล่าวสอนพระภิกษุไม่ได้ แต่พระภิกษุกล่าวสอนพระภิกษุณีได้

สำหรับความพิเศษของครุธรรม ๘ ประการ คือ การบัญญัติครุธรรม ๘ ประการนั้นพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติก่อนมีเรื่องเกิดขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการที่พระพุทธเจ้าจะทรงบัญญัติหลักปฏิบัติสิ่งใด จะต้องมีเหตุเกิดเรื่องขึ้นก่อน ถึงค่อยทำการบัญญัติ แต่สำหรับครุธรรม ๘ ประการนี้ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติก่อนที่จะเกิดเรื่องขึ้น

เป็นความจริงที่ว่า ครุธรรม ๘ ประการนั้นถูกบัญญัติก่อนมีเรื่องเกิดขึ้น ซึ่งพระอรรถกถาจารย์อย่างพระพุทธโฆสะได้ยืนยันว่า พระพุทธเจ้าเองทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการก่อนมีเรื่องเกิดขึ้น ก็โดยทรงมีพระประสงค์จะกันมิให้พระภิกษุณีล่วงละเมิด ในพระไตรปิฎกมีกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบการบัญญัติครุธรรม ๘ ประการไว้ก่อนนั้นว่า เหมือนกับการกั้นขอบปากสระใหญ่มิให้น้ำไหลล้นออก พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะให้พระภิกษุเป็นหลักรับภาระในการรักษาคำสอนของพระองค์ โดยทรงให้เหตุผลเปรียบเทียบว่า ตระกูลที่มีสตรีมากและมีบุรุษน้อยย่อมถูกโจรรุกรานขจัดได้ง่าย พระสัทธรรมจะอยู่ได้เพียงแค่ ๕๐๐ ปี แต่หากสตรีไม่บวช พระสัทธรรมจะอยู่ได้ถึง ๑,๐๐๐ ปี พระพุทธโฆสะอธิบายว่า พระสัทธรรม คือ ปริยัติธรรม (การศึกษาพระธรรมวินัย) ปฏิบัติสัทธรรม (การปฏิบัติตามพระธรรมวินัย) และปฏิเวธสัทธรรม (การได้บรรลุมรรคผลนิพพาน) เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการ สัทธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ จักดำรงอยู่ต่อได้อีก ๕๐๐ ปี รวมเป็น ๑,๐๐๐ ปี ซึ่งก็หมายความว่า ครุธรรม ๘ ประการ ได้ช่วยประคับประคองคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดำรงอยู่ได้ถึง ๑,๐๐๐ ปี

(คำกล่าวที่ว่า พระพุทธศาสนาจักมีอายุ ๕,๐๐๐ ปีนั้น มีอธิบายไว้ว่า หมายถึงมีการเรียนพระธรรมวินัย มีการปฏิบัติจนกระทั่งได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถึง ๕,๐๐๐ ปี โดยแบ่งออกเป็น
๑,๐๐๐ ปีแรก มีพระอรหันต์ผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทา
๑,๐๐๐ ปีที่ ๒ มีเพียงพระอรหันต์ประเภทสุกขวิปัสสกะ
๑,๐๐๐ ปีที่ ๓ มีเพียงพระอริยะขั้นพระอนาคามี
๑,๐๐๐ ปีที่ ๔ มีเพียงพระอริยะขั้นสกทาคามี
๑,๐๐๐ ปีที่ ๕ มีเพียงพระอริยะชั้นโสดาบัน
เลย ๕,๐๐๐ ปีนั้นไป พระภิกษุในพระพุทธศาสนาจะละทิ้งแม้กระทั่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย ได้ชื่อว่าเป็นพระเพียงแค่โกนศีรษะครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น
อ้างอิงจาก วินย.อ. ๓/๔๐๓/๔๐๗ ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ)

สำหรับการบุรุษเพศนั้น ถ้าอายุยังไม่ครบอุปสมบท ให้บวชเป็นสามเณรก่อน ครั้นเมื่ออายุครบเกณฑ์อุปสมบทแล้ว ก็ให้ทำการอุปสมบทเพื่อยกฐานะขึ้นเป็นพระภิกษุต่อไป แต่สำหรับสตรีเพศนั้น ขั้นแรกให้บวชเป็นสามเณรี ครั้นพออายุครบ ๑๘ ปีให้สามเณรีนั้นทำการบวชเป็นนางสิกขมานา (แปลว่า นางผู้กำลังศึกษา) ก่อน ถ้าสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของนางสิกขมานาครบ ๒ ปี จึงค่อยได้รับการอนุญาตให้อุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป จะเห็นได้ว่า การอุปสมบทเป็นนางภิกษุณีนั้นจะมีขั้นตอนมากกว่าการอุปสมบทของพระภิกษุ



#12956 ครุธรรม ๘ ประการสำหรับภิกษุณี

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 19 February 2006 - 12:16 PM ใน ธรรมกถึก

เดี๋ยวผมจะไปหาข้อมูลการวิธีการอุปสมบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านบัญญัติไว้มาให้แล้วกันนะครับ ทั้งฝ่ายพระภิกษุและฝ่ายพระภิกษุณี คิดว่าน่าจะเป็นความรู้ เพราะ จะทำให้ทราบว่า เพราะเหตุไร ปัจจุบันจึงไม่สามารถบวชพระภิกษุณีได้ในฝ่ายเถรวาท และการอุปสมบทของฝ่ายชายในการเป็นพระภิกษุในยุคปัจจุบันมีความแตกต่างกับสมัยพุทธกาลอย่างไรละกันครับ



#12918 ครุธรรม ๘ ประการสำหรับภิกษุณี

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 18 February 2006 - 08:23 PM ใน ธรรมกถึก

ปัจจุบันบวชไม่ได้ครับ อย่างที่ผมบอกเอาไว้ข้างบน เนื่องจากพระพุทธเจ้าท่านบัญญัติเอาไว้ว่า การบวชภิกษุณีต้องบวชจากสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ แต่ปัจจุบัน ไม่มีพระภิกษุณีแล้ว ดังนั้นจึงไม่ครบองค์แห่งการอุปสมบทของพระภิกษุณีครับ



#9848 อริยสัจ 4 คืออะไร???

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 23 January 2006 - 04:54 PM ใน ธรรมกถึก

ง่า...ถามแบบนี้ผมขอไปเปิดตำรามิลินทปัญหามาตอบได้ไหมครับ



#16546 ผลการสอบบาลีสนามหลวง (พระภิกษุ-สามเณร วัดพระธรรมกาย)

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 20 March 2006 - 09:10 PM ใน ข่าวประชาสัมพันธ์

อนุโมทนาบุญกับพระมหาทุกรูปด้วยนะครับ
ความเพียรของท่านบังเกิดผลสมบูรณ์แล้ว ประดุจพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญฉะนั้น...สาธุ สาธุ สาธุ



#50062 ทำยังไงถึงจะลืมคนรักที่ทิ้งเราไปได้ ขอคำแนะนำหน่อยค่า

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 25 September 2006 - 08:10 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

ลองไปฟังเพลงที่คุณ เจิน เจิน ร้องนะครับ เปิดในโรงเรียนอนุบาลบ่อยๆ น่ะครับ ที่ร้องว่า
"ดั่งของ ที่ขอยืมมา ในไม่ช้า ต้องคืนเขาไป
ไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากคลายความผูกพัน"
คำตอบอยู่ในเพลงนั้นนะครับ



#48457 ขอถามท่านผู้รู้ว่า อานิสงส์ของการสร้างกุฏิและที่พักให้แก่พระภิกษุสงฆ์ จะได้อา...

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 19 September 2006 - 01:48 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

อืม คุณขุนศึกฯ ตอบได้ สั้น กะทัดรัด แต่ชัดเจนมากครับ
ก็เป็นแบบที่คุณขุนศึกฯ ว่าแหละครับ



#17728 วัณณาโรหชาดก

โพสต์เมื่อ โดย MiraclE...DrEaM บน 28 March 2006 - 07:52 PM ใน ธรรมกถึก

สาธุครับ กับธรรมะดีๆ ได้ข้อคิดครับว่า ต้องเป็นคนหนักแน่น ไม่หูเบา รับฟังอะไรมาต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองครับ และต้องมีความเชื่อใจในมิตรครับ