ไปที่เนื้อหา


เนื้อหาจาก koonpatt

ค้นพบทั้งสิ้น 77 รายการโดย koonpatt (จำกัดการค้นหาจาก 28-April 23)



#153935 มีรอยสัก=ห้ามบวช

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 10 June 2009 - 01:57 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

กุฏฐัง (เธอเป็นโรคเรื้อนหรือไม่)

นัตถิ ภันเต (ไม่ ขอรับ)

คัณโฑ (เธอเป็นโรคฝีชนิดเป็นทั่วตัวหรือไม่)

นัตถิ ภันเต

กิลาโส (เธอเป็นโรคกลากหรือไม่)

นัตถิ ภันเต

โสโส (เธอเป็นโรคมองคร่อ หรือ หืด หรือไม่)

นัตถิ ภันเต

อะปะมาโร (เธอเป็นโรคลมบ้าหมูหรือไม่)

นัตถิ ภันเต


มะนุสโสสิ๊ (เธอเป็นมนุษย์ ใช่ไหม)

อามะ ภันเต (ขอรับ เจ้าข้า)

ปุริโสสิ๊ (เธอเป็นผู้ชาย ใช่ไหม)

อามะ ภันเต

ภุชิสโสสิ๊ (เธอเป็นไทแก่ตัวเอง ใช่ไหม)

อามะ ภันเต

อะนะโณสิ๊ (เธอไม่เป็นหนี้ใคร ใช่ไหม)

อามะ ภันเต

นะสิ๊ ราชะภะโฏ (เธอไม่ใช่ข้าราชการที่ยังมีภาระต้องรับผิดชอบ ใช่ไหม)

อามะ ภันเต

อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ (บิดา มารดาของเธออนุญาต ใช่ไหม)

อามะ ภันเต

ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊ (เธออายุครบ 20 ปี ใช่ไหม)

อามะ ภันเต

ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง (เธอมีบาตรและจีวรครบ ใช่ไหม)

อามะ ภันเต





#152296 หากต้องถูกหาว่า กินใช้ของเก่า จะรู้สึกอย่างไร

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 02 May 2009 - 01:38 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

รู้สึกภูมิใจค่ะ ว่าเราใช้เงินเป็น (เข้าข้างตัวเองสุดๆ nerd_smile.gif )

ของบางอย่าง จะเก่า หรือ จะใหม่ ก็ใช้งานได้เหมือนกัน แต่มูลค่าที่เราต้องจ่ายออกไปต่างกันเยอะ

ยกตัวอย่าง เช่น (ขออนุญาต ค่ะ ในฐานะสมาชิกชมรม รักของมือสอง...อันนี้ตั้งเองนะคะ laugh.gif )

ทุกวันนี้ koonpatt มีรถยนต์เป็นคันที่ 4

คันแรก เก๋ง Mitsubishi LANCER GLXI ซื้อมือสอง 250,000 ขายได้ 160,000 ขาดทุน 90,000 ใช้นาน 4 ปี

คันที่ 2 รถ SUZUKI CARIBIAN ซื้อ 130,000 ขายได้ 130,000 ใช้นาน 4 ปี

คันที่ 3 รถ ISUZU DMAX 4 ประตู มือสอง 10 เดือน ซื้อมา 570,000 ใช้มา 3 ปีแล้วค่ะ

คันที่ 4 รถ NISSAN SUNNY VIP NEO ซื้อมา 500,000 มือสอง 9 เดือน ราคาเต็ม 860,000 ใช้มา 1 ปีแล้ว

ไม่เคยอายหรือรู้สึกไม่ดีกับตัวเองนะคะ ที่เราใช้ของมือสอง (ของเก่าของคนอื่น..... smile.gif

เพราะ "เรารู้.....ว่า...เงิน.....เหลือ...." พอที่จะเอาเงินส่วนที่เหลือไปทำอะไรได้มากมายเลยค่ะ

เพียงแต่เราอาจต้องพึ่งพาคนอื่นที่มีความรู้เรื่องรถ ในการเลือกและพิจารณา แล้วเราก็จะได้ของดีมาใช้ค่ะ

รถใหม่ รถมือสอง ต่างกันตรงไหน (หมายถึง เทียบรุ่น เทียบยี่ห้อนะคะ ไม่ใช่เบนซ์ เทียบกับ ซูซุกิ

ถ้าไม่ใช้รถที่เกิดอุบัติหตุรุนแรง หรือ เคยน้ำท่วม หรือ เครื่องพังมาแล้วนะคะ)

เพราะปัจจุบัน ก็ต้องยอมรับความจริงอยู่อย่างหนึ่ง คือ

รถใหม่ก็มีตำหนิเหมือนกัน แล้วแถมยังน่าโมโห เสียใจมากกว่าด้วย เพราะจ่ายแพงกว่าแต่ได้ของมาไม่ดี

จะขายก็ราคาหายไปครึ่งๆ ( เหมือน เป็นคนมีเหตุผลเลยนะคะ biggrin.gif )

คนส่วนใหญ่ทุกวันนี้ บางคน บ้านยังเช่า พ่อแม่ยังอยู่บ้านหลังเก่าๆ

แต่ตัวเอง ทำงานมีเงินเดือนปุ๊บ ก็เอาไปซื้อรถใหม่ป้ายแดง ซึ่งราคาก็สามารถที่จะสร้างบ้านหลังเล็กๆ

หรือปรับปรุงบ้านให้ดีขึ้นได้ ก็เลยมีรถที่ใช้งานยังไม่นาน ถูกยึดเป็นจำนวนมาก

จนทำให้คนตังค์น้อยอย่าง koonpatt สามารถเป็นเจ้าของรถดีดี ที่ราคาไม่แพงได้ red_smile.gif

แล้วก็ยังมีเงินเก็บไว้ทำบุญโดยที่ไม่เคยเดือดร้อนอีกด้วยค่ะ

ของใช้เนี่ย ใช้ของเก่าไม่เป็นไรค่ะ ของเก่าของคนอื่น เราก็ซื้อมาใช้ได้

แต่...บุญเก่าของเรา...ถ้าหมดแล้วเนี่ย ไปขอซื้อคนอื่นก็ไม่ได้ ขอยืมใครก็ไม่ได้

เวลาจะไปไหนมาไหน จะรถใหม่ จะรถเก่า หรือ จะไม่มีรถยนต์ขับไป ก็ไปถึงนะคะ

แต่ถ้าบุญหมด หมดบุญ ต่อให้มีพาหนะชั้นยอดอย่างไร ก็ไปไม่ถึงไหนค่ะ

สา...ธุ กับเรื่องดีดี ที่คุณหัดฝัน นำมาให้อ่านนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ happy.gif













#151804 ทำบุญ 1 บาท เหตุไฉนได้บุญน้อย และเหตุไฉนได้บุญมาก

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 13 April 2009 - 09:27 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

สาธุกับสิ่งดีดีที่คุณหัดฝันนำมาให้อ่านกันเพื่อเป็นกำลังใจ สำหรับผู้ที่มีกำลังน้อย แต่ศรัทธามากค่ะ happy.gif

ขออนุญาตเพิ่ม ข้อคิดอีกข้อค่ะว่า nerd_smile.gif

ดังนั้นการที่เราเห็นใครทำบุญเท่าไหร่นั้น บางทีอาจจะดูเล็กน้อยในสายตาเรา

แต่อย่าไปปรามาสเขาว่า ทำบุญไม่เท่าตัว กำลังของคนแต่ละคน มีไม่เท่ากัน

หาได้แปลว่า ความศรัทธานั้น น้อยกว่าเราไม่

เต็มที่ของเขา อาจแค่เสี้ยวของเรา ไม่ควรไปเคี่ยวเข็ญคาดคั้นเขา ว่าต้องเท่านั้น ทำไมไม่เท่านี้

จงยินดีกับบุญของเขาทั้งหลายเถิด

เพื่อที่เขาเหล่านั้น จะได้ปลื้มในสิ่งที่เขาทำ มิได้รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในกำลังของตน

สา.....ธุ ค่ะ smile.gif



#151506 ขอสอบถามเรื่องรองเท้า หน่อยครับ

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 07 April 2009 - 11:03 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

แนะนำ รองเท้าที่ใส่เดินได้ระยะไกลๆ แล้วไม่ปวดเท้าน่ะค่ะ nerd_smile.gif

เช็คน้ำหนัก เป้ หรือ กระเป๋าของตัวเอง รวมน้ำหนักตัว แล้วก็หารองเท้า ที่ support น้ำหนักรวมได้อย่างดีค่ะ

เพราะของตัวเอง ไปครั้งแรกก็ 22 เมษายน เหมือนกัน ได้รับคำแนะนำเรื่องรองเท้าเป็นอย่างดีค่ะ ไม่งั้นคงแย่

วันนั้น น้ำหนักตัว 40 ปลายๆ เป้ใส่เสื้อผ้า ก็ 2-3 กิโล แต่หนังสือของวัดที่เพื่อนให้ คือ ไปรับที่วัดค่ะ 7-8 กิโล

ถ้ารองเท้าไม่ดีนี่ เดี้ยงเอาง่ายๆเลยนะคะ

เพราะเดินเยอะมากกกกกกกกก ลำพังเดินในสภาก็เยอะแล้ว เดินออกมามหารัตนวิหารคตอีก แต่มีความสุขมากค่ะ


happy.gif happy.gif happy.gif



#151303 ถามเรื่อง...ช่วงเวลาที่ครบองค์แห่งบุญค่ะ

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 03 April 2009 - 02:15 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

ขอบพระคุณมากค่ะ จะได้สบายใจมากขึ้น และปลื้มทุกครั้งที่ทำ

ตอนนี้กำลังทำใจใสๆรอบุญใหญ่อยู่ค่ะ





#151162 ถามเรื่อง...ช่วงเวลาที่ครบองค์แห่งบุญค่ะ

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 02 April 2009 - 08:45 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

หลังจากได้อ่านกระทู้

ถ้าตั้งใจทำบุญแล้วไม่ได้ทำจะยังได้บุญอยู่หรือเปล่า

http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=20316

อยู่ดีดี ก็เกิดคำถามขึ้นมาค่ะ ว่า

การทำบุญให้ครบองค์แห่งบุญนั้น (ในกรณีนี้หมายถึง ก่อนทำบุญ ขณะทำบุญ และ หลังทำบุญนะคะ)

เช่น การถวายสังฆทาน และ การหล่อองค์พระที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 22 เมษายนนี้ค่ะ

หากเราทำบุญ วันนี้ จะครบองค์แห่งบุญวันนี้ หรือ ครบองค์แห่งบุญ เมื่อได้มีการถวายสังฆทานเกิดขึ้นแล้ว

หรือ หลังจากเททองหล่อองค์พระแล้ว คะ

หรือ หากเราฝากเงินใครสักคนไปทำบุญ ถ้าเงินนั้นไปไม่ถึง เรียกว่าครบองค์มั๊ยคะ

คือที่ผ่านมา เข้าใจ (เอาเอง) ว่า อยู่ที่ความคิดของเรา หากเราคิดว่าครบแล้ว

หมายถึง เราตั้งใจจะทำ และได้ทำ (หมายถึง ปัจจัยนั้นได้พ้นจากมือเราไปแล้ว) เราจึงมีความสุขที่ได้ทำ

ก็คือ ครบองค์แห่งบุญแล้ว

(ไม่น่าเลยนะคะ อายจัง red_smile.gif พอว่างก็อยากจะเข้ามาอ่าน พออ่านมาก ก็ชักงงงง

แต่อยากเข้าใจให้ถูกต้องน่ะค่ะ เพื่อว่าที่เข้าใจอยู่ตอนนี้จะคลาดเคลื่อน จะได้ปฏิบัติให้ถูก)

ขอบพระคุณมากค่ะ happy.gif



#151061 ชุมพรตื่นพบรอยฝ่าพระหัตถ์พระพุทธเจ้า

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 31 March 2009 - 03:55 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

ขออนุญาตค่ะ koonpatt มีความคิดเห็นส่วนตัว ดังนี้ค่ะ nerd_smile.gif

เข้าใจว่า ในความเชื่อของบุคคลทั่วไปนั้น

เมื่อพบเห็นรอยมือ หรือ รอยเท้า ที่มีขนาดใหญ่กว่า คนธรรมดา

หรือ พบเห็นร่องรอยเหล่านั้น ในที่ที่ไม่น่าจะเกิดร่องรอยขึ้นได้ เช่น หิน หน้าผา หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติต่างๆ

สิ่งแรกที่นึกถึงคือ ปาฏิหาริย์

และ บุคคลแรกที่ปุถุชนคิดว่า น่าจะเป็นผู้ที่สร้างปาฏิหาริย์นั้น คือ พระพุทธเจ้า

จึงมีความเชื่อว่า นั่นคือ รอยพระหัตถ์ หรือ รอยพระบาท

ซึ่ง koonpatt คิดว่า หากผู้ที่มีความเชื่อเช่นนั้น มิได้นำความเชื่อไปใช้ในทางที่ผิด

และ ความเชื่อนั้น น้อมนำให้ผู้ที่เชื่อ ได้ ตรึก ระลึก นึกถึงพระพุทธองค์แล้วล่ะก็ ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร unsure.gif

ดังนั้น koonpatt ขอเสนอว่า อย่าสงสัยเลยค่ะ แต่ ไม่ได้บอกว่า ต้องเชื่อนะคะ happy.gif

แค่บอกว่า อย่าสงสัย เพราะ ถ้าคุณไม่เชื่อ แล้ว สงสัย

ก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใดใดต่อชีวิตของคุณเลย อาจเกิดประเด็นความขัดแย้งด้วยซ้ำ

เมื่อมีผู้เลื่อมใสศรัทธา ชี้ชวนให้เราดู สิ่งที่เขาเหล่านั้นศรัทธา เราก็ดูเถอะค่ะ

แล้วใช้ โยนิโสมนสิการ ตามที่ คุณ WISH ได้บอกไว้ คือ พิจารณาในใจโดยแยบคายเถิด

อานิสงค์นั้น จะส่งผลให้เราในเวลาที่เราต้องการชี้ชวนให้ผู้อื่น ดู หรือ ฟัง ในสิ่งที่เราศรัทธา

ให้เขาเหล่านั้น ให้โอกาสเราเช่นกัน


สา...ธุ เจริญในธรรม ค่ะ



#150986 ชุมพรตื่นพบรอยฝ่าพระหัตถ์พระพุทธเจ้า

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 30 March 2009 - 03:10 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

...เราทราบเรื่องลักษณะมหาบุรุษมาบ้างแล้ว...และยังทราบว่าพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว เส้นพระเกศา รวมถึงรอยพระพุทธบาทนั้น ล้วนเป็นพยานแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่คงไว้จนถึงปัจจุบัน...ไม่เคยได้ทราบว่ามีรอยพระหัตถ์ ปรากฎ ณ ที่แห่งใดเลย....ลองใช้โยนิโสมนสิการพิจารณาดูครับ...อย่างไรก็ตาม ตำนาน ก็คือตำนาน...ประโยชน์ที่ได้ก็มีหากทำให้เราสามารถตรึกระลึกนึกถึงคุณอันไม่มีประมาณของพระบรมศาสดามาเป็นพุทธานุสติ...ก็ย่อมเกิดบุญจากภาวนามัย


ไม่ค่อยได้ยินใครใช้คำว่า....ลองใช้โยนิโสมนสิการพิจารณาดูครับ...

แล้วก็เลยนึกสงสัยค่ะ ว่า......ต้องขนาดไหนหนอ...ถึงจะเรียกว่า...โยนิโสมนสิการ

ก็เลยได้ความหมายมาดังนี้ค่ะ nerd_smile.gif


ความหมาย จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ โดยท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)

โยนิโส โดยแยบคาย,โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด

มนสิการ (อ่านว่า มะ-นะ-สิ-กาน) การทำในใจ,ใส่ใจ, พิจารณา

โยนิโสมนสิการ

การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือ

พิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริง โดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ

แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย

หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่วยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ

ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี


อโยนิโสมนสิการ

การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำ


ก็เลยได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาอีกค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ



#150979 ชุมพรตื่นพบรอยฝ่าพระหัตถ์พระพุทธเจ้า

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 30 March 2009 - 12:11 PM ใน เว็บบอร์ด DMC



รอยฝ่าพระหัตถ์ที่วัดดอยถ้ำ จ.ลำพูน



รอยฝ่าพระหัตถ์ ที่วัดเมืองกื้ด ต.แม่แตง จ.เชียงใหม่

http://board.palungj...mp;d=1168709907


รอยพระหัตถ์ ที่ถ้ำจั๊กต่อ ต.หมอกจำแป๊ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน


สิ่งที่เรายังไม่รู้ และ ยังไม่เคยเห็น koonpatt คิดว่า ไม่ได้แปลว่าไม่มีนะคะ smile.gif




#134473 ทำบุญ

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 17 November 2008 - 03:48 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

QUOTE
(๑) ประเด็นหลัก(main idea)ของเรื่อง คือ เขาตกนรกเพราะ " ฆ่าหลาน "

ไม่ใช่เพราะ " ทำบุญแล้วเสียดาย "

key word คือ " ฆ่าหลาน "

ดังนั้น คำว่า " ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก " จึงผิด ครั้งที่ 1

ที่ถูกต้องคือ " ทำบุญแล้วเสียดายภายหลังจะได้ผลน้อย " และ " ฆ่าหลานตกนรก "

ที่ผิดคือ " ทำบุญกับพระอรหันต์แล้วเสียดายภายหลังจะตกนรก " ครั้งที่ 2

" คำพูดติดปากที่ผิดๆ " เช่น "ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก" ครั้งที่ 3 เป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนาอย่างมาก

การพูดในกระทู้นอกจากจะเป็นการให้ความรู้ซึ่งกันและกันแล้ว

สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็ คือ """"""""""การสรุป""""""""""

สรุปว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรเป็นคุณเป็นโทษ,อันตรายต่อพระพุทธศาสนา ให้ " ชัดเจน " ลงไปเลย

เพื่อเป็น concept บรรทัดฐานทางศีลธรรมในสมองของมวลชน

เหมือนที่หลวงพ่อทัตตะเทศน์ทุกครั้งต้องสรุปตอนท้ายว่า " ชัดไหมละลูก "

มิเช่นนั้น เด็กใหม่ทางธรรม(และเด็กเก่าบางคน)เกิดมาอ่านเข้า ก็จะเข้าใจผิดว่า

" ทำบุญกับพระอรหันต์ แล้วเสียดายภายหลัง จะต้องตกนรก " ครั้งที่ 4

ซึ่งมันไม่ใช่ มันผิดอย่างมหันต์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

มันแค่ได้ผลบุญน้อยลง ไม่ถึงกับตกนรก แต่ที่ตกนรกเพราะฆ่าหลาน

ถ้าไม่ฆ่าก็ไม่ตกนรกและไม่ถูกยึดทรัพย์

ที่ผมเตือนคือ"อย่าไปพูด(ประโยคที่ว่าทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก) ครั้งที่ 5

บ่อยๆในสังคมจนเป็นที่ติดปากของประชาชน "

เมื่อติดปากแล้วจะแก้ไขไม่ได้เลย

พวกเราต้องหัดวิเคราะห์ในแง่ " จิตวิทยามวลชน "

ไม่งั้นจะตกเป็นเหยื่อของฝ่ายที่ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนาอยู่ร่ำไป เพราะไม่รู้เท่าทันมัน

http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=18663



เรียนอีกครั้ง ด้วยความเคารพค่ะ คุณ DJ

เพราะ koonpatt เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการท้วงติง ของ คุณ DJ

ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า การอธิบายใน ความคิดเห็นที่ 6 และ ความคิดเห็นที่ 8

koonpatt จึงไม่กล่าวถึงประโยคนั้นอีกเลย

แต่ คุณ DJ ลองนับในความคิดเห็นที่ 9 สิคะ

มีการกล่าวถึง ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ทั้งที่จะละไว้เสียก็ได้
nerd_smile.gif

และ koonpatt อยากจะบอกอีกอย่างหนึ่งก็คือ

นี่เป็นครั้งแรก ตั้งแต่เกิด จนอายุ 35 จะ 36 อยู่แล้ว red_smile.gif

koonpatt เพิ่งเคยจะได้ยิน ได้อ่าน และได้ฟัง ประโยคนี้ ครั้งแรกค่ะ

รบกวนพิจารณาด้วยค่ะ ว่า

เมื่อไม่อยากให้บุคคลอื่นพูดถึงอีก ก็ไม่ควรพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นกัน



#134465 อยากทราบครับ เกี่ยวกับการจุดธูปเทียนบูชา

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 17 November 2008 - 02:44 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

อันนี้เป็นกระทู้เดิมที่เคยมีการตอบไว้ในบอร์ดนี้นะคะ

http://www.dmc.tv/fo....php/t3113.html

การจุดธูปเทียนบูชาพระ
การจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ที่ถูกต้องตามหลักและตามแบบของกรมการศาสนา คือ เทียน 2 เล่ม หมายถึง พระธรรม และพระวินัย ให้จุดจากซ้ายไปขวาคือพระธรรมต้องมาก่อน ส่วนการจุดธูป 3 ดอก ก็เช่นกัน ให้จุดจากซ้ายไปขวา ธูป 3 ดอก หมายถึงพระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

ขยายความค่ะ

เครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย


เครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยนั้น ชาวพุทธไทยเราทั้งหลาย นิยมนำมาบูชาเป็นประจำเสมอ ในการประกอบพิธีกรรม ในทางพระพุทธศาสนาทั้งงานมงคล และงานอวมงคลมี ๓ อย่างคือ

๑. ธูป
๒. เทียน และ
๓. ดอกไม้

ธูปสำหรับบูชาพระพุทธเจ้า


ธูปนั้น สำหรับบูชาพระพุทธเจ้า นิยมจุดบูชาครั้งละ ๓ ดอก เป็นอย่างน้อย โดยมีความมุ่งหมายว่า พระพุทธเจ้านั้นพระองค์ทรงมีพระคุณเป็นอันมาก ยากที่จะพรรณนาให้สิ้นสุดได้ แต่เมื่อประมวลกล่าวเฉพราะพระคุณ ที่เป็นใหญ่เป็นประธานแห่งพระคุณทั้งปวง คงมี ๓ ประการ คือ:-





๑. พระปัญญาธิคุณ
๒. พระบริสุทธิคุณ และ
๓. พระมหากรุณาธิคุณ

ธูปทั้ง ๓ ดอกนั้น สำหรับจุดเพื่อบูชาพระพุทธคุณทั้ง ๓ ประการนี้

แต่บางท่านก็อธิบายความมุ่งหมายแตกต่างออกไปว่า ธูป ๓ ธูป ดอกนั้น เพื่อบูชาพระพุทธทั้ง ๓ ประเภท คือ:-

๑. อดีตสัมพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต
๒. อนาคตสัมมาพุทธะ พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคตและ
๓. ปัจจุปันนสัมพุทธะ พระพุทธเจ้าในปัจจุบัน

ธูป สำหรับบูชาพระพุทธเจ้านั้น นิยมใช้ธูป มีกลิ่นหอม โดยมาความหมายว่า ธรรมดากลินธูปนี้เป็นกลิ่นหอมที่น่าอัศจรรย์ กว่ากลิ่นหอมต่าง ๆ ที่ชาวโลกนิยมใช้กัน

กลิ่นหอมที่ชาวโลกนิยมใช้กันอยู่ทุกชนิด เมื่อบุคลได้สูดกลิ่นแล้วเป็นเหตุทำให้กิเลสฟูตัวขึ้น ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ไม่สงบส่วนกลิ่นหอมของธูปนั้น เมื่อบุคคลได้สูดกลิ่นแล้วเป็นเหตุทำให้กิเลสยุบตัวลง ทำให้จิตใจสงบไม่ฟุ้งซ่าน

อนึ่ง ธูปนั้นแม้จะถูกไฟไหม้หมดไปแล้ว แต่กลิ่นหอมของธูปนี้ก็ยังหอมอบอวลอยู่ในบริเวณนั้นได้เป็นเวลานานฉันใด พระคุณของพระพุทธเจ้า ก็เป็นที่ซาบซึ้งเข้าถึงจิตใจของชาวบุคคลทั้งหลาย โดยที่สุด แม้แต่มหาโจรใจ####ม เช่น องคุลีมาลโจร เป็นต้น ย่อมทำให้ผู้นั้นมีจิตใจสงบระงับจากการทำความชั่ว หันหน้าเข้าสู่ความดี และแม้แต่พระพุทธเจ้าจะได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปนานถึง ๒ พันปีเศษแล้วก็ตาม แต่พระพุทธคุณก็ยังปรากฏซาบซึ้งตรึงอยู่กับจิตใจของชาวพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ฉันนั้น

เทียนสำหรับบูชาพระธรรม


เทียนนั้น สำหรับบูชาพระธรรม นิยมจุดบูชาครั้งละ ๒ เล่ม เป็นอย่างน้อย โดยมาความมุ่งหมายว่า พระศาสนธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น แยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือ



๑. พระวินัย สำหรับฝึกหัดกาย และวาจา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และ
๒. พระธรรม สำหรับอบรมจิตใจ ให้สงบระงับจากความชั่ว ทุจริตทุกประการ และ เทียนที่นิยมจุดบูชาครั้งละ ๒ เล่ม ก็เพื่อบูชาพระวินัยเล่ม ๑ และบูชาพระธรรม อีกเล่ม ๑

เทียน สำหรับบูชาพระธรรมนั้น นิมยมใช้เทียน ขนาดใหญ่พอสมควรแก่เชิงเทียน ความนิยมใช้เทียนจุดบูชาพระธรรมนั้น โดยมุ่งหมายว่า ธรรมดาเทียนนี้ บุคคลจุดขึ้น ณ สถานที่ใด ย่อมเกิดจำกัดความมืดในสถานที่นั้น ให้หายหมดไป ทำให้เกิดเเสงสว่างขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ฉันใด

พระศาสนธรรมคำสั่งสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นบุคคลใดมาศึกษาอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นแล้ว ย่อมกำจัดความมืด คือ โมหะ ความโง่เขลาเบา ปัญญาในจิตใจของบุคคลนั้นให้หายหมดไป ทำให้เกิดแสงสว่าง คือ ปัญญาขึ้นภายใจจิตใจของตนฉันนั้น

ดอกไม้สำหรับบูชาพระสงฆ์


ดอกไม้สำหรับบูชาพระสงฆ์ โดยความมุ่งหมายว่า ธรรมดาดอกไม้นานาพันธุ์ เมื่อยังอยู่ ณ สถานที่เกิดของมันก็ย่อมมีความสวยงามตามสมควรแก่สภาพของพันธุ์ไม้นั้น ๆ ครั้นบุคคลเราเก็บดอกไม้นานาพันธุ์เหล่านั้นมากองรวมกับไว้โดยมิได้จัดสรร ย่อมหาความเป็นระเบียบมิได้ ย่อมไม่สวยงาม ไม่น่าดูไม่น่าชม ต่อเมื่อนายมาลาการ คือ ช่างดอกไม้ผู้ฉลาด มาจัดสรรดอกไม้เหล่านั้นโดยจัดใส่แจกันหรือจัดใส่พานประดับให้เข้าระเบียบแล้ว ย่อมเป็นระเบียบเรียบร้อยเกิดความสวยงามน่าดูน่าชม ฉันใด

บรรดาพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สมัยเมื่อยังเป็นคฤหัสถ์อยู่บ้านเรือนของตน ๆ ย่อมมีกิริยามารยาททางกายทางวาจา และจิตใจ เรียบร้อยตามสมควรแก่ภูมิชั้นแห่งตระกูลของตน ๆ หยาบบ้าง ปานกลางบ้าง ละเอียดบ้าง ครั้งคฤหัสถ์เหล่านั้น ซึ่งต่างชาติกัน ต่างตระกูลกัน มีนิสัยอัธยาศัยต่าง ๆ กัน มีศรัทธาเลื่อมใสเข้ามาบวชอยู่ร่วมกัน ถ้าไม่มีระเบียบปฎิบัติเป็นแบบแผนเดียวกัน พระสงฆ์สาวกเหล่านั้นก็จะหาความเป็นระบียบมิได้ ย่อมไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาเลื่อมใสของผู้ได้ประสบพบเห็น ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าผู้เปรียบเสมือนนายมาลาการผู้ฉลาดได้ทรงวางพระธรรมวินัย ไว้เป็นแบบแผนประพฤติปฎิบัติ จัดพระสงฆ์สาวกเหล่านั้น ให้ประพฤติปฎิบัติอยู่ในระเบียบเดียวกัน จึงเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าเคารพ น่าสักการะบูชา ฉันนั้น




อนึ่ง ดอกไม้สำหรับให้บูชาพระสงฆ์ นิยมไช้ดอกไม้ที่เพรียบพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ

๑. มีสีสวย
๒. มีกลิ่นหอม
๓. กำลังสดชื่น

ดอกไม้ที่บูชาพระประจำวันนั้น นิยมจัดเปลี่ยนให้สดอยู่เสมอ อันนี้เป็นนิมิตหมายแห่งความสดชื่น ความรุ่งเรือง ไม่นิยมปล่อยให้เหี่ยวแห้ง เพราะความเหี่ยวแห้ง เป็นนิมิตหมายแห่งความหดหู่ใจ ความเสื่อมโทรม เป็นต้น

บุคคลผู้บูชาด้วยดอกไม้ที่มีสีสวย แต่ไม่มีกลิ่นหอม เช่น บูชาพระด้วยดอกไม้พลาสติก หรือดอกไม้ประดิษฐ์เป็นต้น ต่อไปในภายหน้าบุคคลผู้นั้นจะได้อะไร ๆ ก็ล้วนแต่มีรูปร่างลักษณะดีมีรูปสวย แต่คุณภาพไม่ดี ดังคำพังเพยว่า
“ สวยแต่รูป แต่จูบไม่หอม ”

บุคคลผู้บูชาพระด้วยดอกไม้มีกลิ่นหอม แต่มีสีไม่สวย ต่อไปในภายหน้า บุคคลผู้นั้นจะได้อะไร ๆ ก็ล้วนแต่มีคุณภาพดีแต่รูปร่างลักษณะไม่สวย ไม่งดงาม ดังคำพังเพย “ ถึงรูปชั่วตัวดำแต่น้ำใจดี ”

บุคคลผู้บูชาด้วยพระดอกไม้กำลังสดชื่น ต่อไปภายหน้า บุคคลผู้นั้นจะได้อะไร ๆ ก็ล้วนแต่เป็นของใหม่ ๆ ไม่ต้องใช้ของที่ขาใช้แล้ว เป็นมือหนึ่ง ไม่ต้องเป็นมือสองรองใคร ดังตัวอย่างเช่น ชูชกมีอายุคราวปู่ได้นางอมิตตดาซึ่งเป็นสาวแรกรุ่นคราวลูกคราวหลานเป็นภรรยา เพราะอานิสงส์ที่ชูชกได้เคยบูชาพระด้วยดอกบัวตูมที่กำลังสดชื่น ฉะนั้น บุคคลผู้บูชาพระด้วยดอกไม้ที่บอบช้ำเหี่ยวแห้ง ต่อไป ในภายหน้า บุคคลผู้นั้นจะได้อะไร ๆ ก็ล้วนแต่เป็น ของเก่า ๆ เหี่ยว ๆ แห้ง ๆ เป็นของที่ผ่านมือผู้อื่นมาแล้ว ตัวอย่างเช่น นางอมิตตดาได้ชูชกแก่คราวปู่เป็นสามี เพราะโทษที่ได้เคยบูชาพระด้วยดอกไม้ที่บอบช้ำเหี่ยว ๆ ฉะนั้น

คัดลอกมาจาก
http://larnbuddhism....odgram/sakgara/

สา...ธุ ค่ะ



#134447 นิยาม 5 ในทัศนะของวิทยาศาสตร์

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 17 November 2008 - 01:14 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

laugh.gif จริงๆแล้ว คุณพยัคฆ์ร้ายห่างภูไพรไร้ศักดา น่าจะทราบดีอยู่แล้วน๊า จากกระทู้

กรรมนิยาม 5 คืออะไร

http://www.dmc.tv/fo....php/t6249.html

แต่ก็ขอนำ เวป link เพิ่มเติมมาให้อ่านกันนะคะ มีเนื้อหาที่น่าสนใจเชียวค่ะ nerd_smile.gif

ศาสนากับวิทยาศาสตร์ โดย คุณสมภาร พรมทา

http://www.electron....i...54&Itemid=5

และขอเพิ่มเติมเรื่อง กรรมนิยามค่ะ

ความแตกต่างของกฏแห่งกรรมและกฏธรรมชาติอื่น

กฏแห่งกรรม แม้จะเป็นกฏธรรมชาติเช่นเดียวกับกฏอื่นๆ แต่ก็แตกต่างจากกฏธรรมชาติอื่นๆ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การที่จะเป็นกรรมได้นั้น ก็ต้องเกิดจากการกระทำ และต้องทำด้วยเจตนาเท่านั้น และเราต้องทำเอง ไม่ใช่คนอื่นทำให้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า

“เจตนา วาหัง ภิกขเว กัมมัง วะทามิ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนานั่นแลเป็นกรรม”

โปรดอย่าเข้าใจผิด เอากฏแห่งกรรมไปปนกับกฏธรรมชาติอื่นๆ เพราะแยกไม่ออกว่า อย่างไหนคือกฏแห่งกรรม และอย่างไหนคือกฎธรรมชาติอย่างอื่นนะครับ เพื่อไม่ให้เข้าใจผิดในเรื่องนี้ เราต้องทำความเข้าใจกฏธรรมชาติอย่างอื่นอีก 4 ข้ออันเป็นกฏธรรมชาติที่นอกเหนือไปจากกฏแห่งกรรมด้วย

ยกตัวอย่าง เช่น สมมติว่า นายดอนเหงื่อออก ถามว่านายดอนเหงื่อออกเพราะอะไร ถ้าหากว่าเป็นเพราะอากาศร้อน ลองวินิจฉัยดูว่าอยู่ในนิยามไหน ถ้าว่าอะไร ๆ เป็นเพราะกรรมหมดแล้ว เป็นกรรมอะไรของนายดอนที่ต้องเหงื่อออก แท้ที่จริงเมื่อเป็นเพราะอากาศร้อน ก็เป็นอุตุนิยาม ไม่ใช่กรรมนิยาม แต่ถ้านายดอนไปทำผิดไว้ พอเข้าที่ประชุม เขาเกิดสอบสวนหาตัวผู้ทำผิด นายแดงมีความกลัวมาก ก็อาจจะกลัวจนเหงื่อออกอย่างนี้ นายดอนเหงื่อออกเพราะอะไร ตรงนี้ ตอบได้ว่าเพราะกรรม ถ้าอย่างนี้ เป็นกรรมนิยาม

อีกตัวอย่างหนึ่ง สมมติว่า นางสนปลูกต้นไม้ไว้ที่สวนของหล่อน แต่ต้นไม้นั้นออกผลมาเปรี้ยว ก็ไม่ใช่กรรมของนางสน หากแต่เป็นพีชนิยาม คือกฏของพืชต่างหาก แต่ถ้านางสนได้รับประทานผลไม้นั้นเข้า เกิดตายขึ้นมา นั้นก็เป็นกฏแห่งกรรม เพราะแกอาจจะเคยสร้างกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมา จึงเป็นเหตุให้ต้องรับประทานผลไม้นั้นเข้า

เมื่อคนเราตาย ถ้ายังมีกิเลสก็ต้องเกิดในทันที คือ เมื่อจุติจิตดับ ปฏิสนธิจิตหรือปฏิสนธิวิญญาณก็เกิดในทันที การที่เป็นอย่างนี้เป็นจิตนิยาม ไม่ใช่กรรมนิยาม แต่ถ้าเมื่อตายแล้วไปเกิดในนรกหรือสวรรค์ หรือมาเกิดเป็นมนุษย์ อย่างนี้เป็นกรรมนิยาม เพราะสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ตนได้ทำไว้

การที่โลกหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ก็ดี การที่ดวงดาวในจักรวาลต่างๆ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาก็ดี การมีกลางวันและกลางคืนก็ดี การที่ฝนตกหรือแดดออกก็ดี การที่ภูเขาไฟระเบิดหรือแผ่นดินถล่มก็ดี ทั้งหมดนี้เป็นธรรมนิยาม - กฏแห่งธรรมะ ไม่ใช่กรรมนิยาม แต่ถ้าใครต้องตาย เมื่อภูเขาไฟระเบิดหรือแผ่นดินถล่ม นั้นคือกรรมของเขา นี้จัดเป็นกรรมนิยาม

ใครก็ตามที่ยึดถือว่าอะไรๆ ทุกอย่างล้วนเกิดจากผลของกรรมทั้งสิ้น เป็นคนถือผิด แม้ในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ พระพุทธองค์ตรัสไว้ในคิริมานนทสูตรว่า

“โรคบางอย่างเกิดจากการบริหารกายไม่สม่ำเสมอก็มี โรคบางอย่างเกิดจากฤดู คือ สภาพแวดล้อมเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากดีเป็นสมุฏฐานก็มี เกิดจากสมุฏฐานต่างๆ ประกอบกันก็มี เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานก็มี ”

คือโรคบางอย่างเกิดจากกรรม แต่โรคหลายอย่างเกิดจากอย่างอื่น เช่นเกิดจากฤดู เกิดการแปรปรวนของร่างกาย จากการบริหารกายไม่สม่ำเสมอ เช่นพักผ่อนน้อยเกินไป หรือออกกำลังมากเกินไป เป็นต้น กฏแห่งกรรมนี้เป็นเพียงเหตุหนึ่งเท่านั้น

ผู้ศึกษาต้องเอาหลักเรื่องนิยาม 5 มาวินิจฉัยด้วย ไม่ควรถือว่าเป็นเรื่องของกรรมไปเสียทั้งหมด และบางอย่างก็เกิดจากนิยามต่าง ๆ หลายนิยามมาประกอบกัน ฉะนั้น ผู้ศึกษาจึงต้องรู้จักนิยาม 5 ไว้ด้วยจะทำให้หาเหตุผลเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งแท้ที่จริงนิยาม 5 ล้วนสรุปลงในธรรมนิยามนั่นเอง คือ มีลักษณะที่ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยกันทุกสิ่งทุกอย่าง

จากการศึกษานิยาม 5 นี้ ชี้ให้เห็นว่า หลักพุทธธรรมเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะกล่าวถึงถึงกฏธรรมชาติว่าด้วยเหตุผล อันเราควรภูมิใจ และยึดมั่นว่าเป็นคำสอนที่ไม่ตาย ยังทันสมัยอยู่เสมอ ทนต่อการพิสูจน์ของนักปราชญ์มาทุกยุคทุกสมัย จนถึงทุกวันนี้ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพุทธจิตวิทยาเพื่อการแก้ปัญหาด้านจิตของมนุษย์ต่อไปโดยคิดอย่างมีเหตุมีผล พร้อมเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไม่สะทกสะท้าน ผู้ศึกษาคงจะเริ่มมองออกแล้วใช่ไหมครับว่าพุทธจิตวิทยาจะออกมาในลักษณะใด

คัดลอกมาจาก http://www.vcharkarn.com/vblog/36975 ค่ะ



#134419 ทำบุญ

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 17 November 2008 - 11:51 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

ขอขอบพระคุณ คุณ kasaporn ค่ะ ที่เข้าใจ smile.gif

koonpatt เพียงแค่คิดว่า ตัวเองยังรู้น้อย เพราะ เข้าวัดช้ากว่าคนอื่น red_smile.gif

เลยต้องอ่านให้มาก แต่ที่ผ่านมาคือ ต้องหาอ่านเอง จึงต้องใช้เวลากับศึกษาค่อนข้างมากไปด้วย

และการที่รู้น้อย ทำให้ดีใจเสมอ เมื่อมีกระทู้ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหาความรู้ทางธรรมะ

เพราะการที่เราไม่รู้อะไรเลย ทำให้ไม่รู้แม้กระทั่งว่า เราอยากรู้อะไร (งงมั๊ยคะ koonpatt ยังงงเลยค่ะ)

ดังนั้นพอมีคนมาถาม ก็เหมือนเป็นการตั้งโจทย์ ซึ่งเมื่อเราได้โจทย์ เราก็มีหัวข้อให้ค้นคว้า nerd_smile.gif

เมื่อเข้าไปค้นคว้า โลกทางธรรมก็เปิดกว้างขึ้นสำหรับ koonpatt

ถึงวันนี้พูดได้เต็มปากเลยค่ะ ว่าการได้อ่านธรรมะ เป็นความสุข และ อ่านสนุกกว่า หนังสือชนิดใดๆที่เคยอ่านมา

เพราะ อ่านได้ไม่จบ และที่สำคัญคือ เป็น อริยสัจ คือ เป็นความจริงอันประเสริฐ

koonpatt จึงอยากตอบ เพราะ การตอบก็เหมือนกับการทำข้อสอบ ว่า

เรื่องที่เรารู้มานั้น เราเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือไม่ ซึ่งถ้าหากเข้าใจคลาดเคลื่อนไป

ก็จะมีท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยกรุณาเข้ามาแก้ไขความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนนั้น

ก็จะทำให้เราเข้าใจได้ถูกต้องไปด้วย

รวมถึง จะได้ช่วยย่นระยะเวลาให้ผู้ที่อยากรู้ แต่ไม่มีเวลาค้นคว้าเอง

ได้เข้ามาอ่านเพื่อที่จะได้เข้าใจและรู้มากขึ้น

ขอขอบพระคุณผู้ที่ตั้งกระทู้ ทุกกระทู้ และ ขอบพระคุณคุณ kasaporn อีกครั้งค่ะ

ขอให้ทุกท่าน เจริญในธรรมนะคะ สา...ธุ ค่ะ happy.gif








#134404 จงรักภักดี จัดเป็นความกตัญญูหรือไม่

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 17 November 2008 - 10:27 AM ใน กระทู้ที่น่าสนใจ

ความกตัญญู หมายถึง รู้ถึงอุปการคุณที่ผู้อื่นที่กระทำแก่ตน และ พยายามที่จะตอบแทนบุญคุณนั้น

เราคงรู้ดีกันอยู่แล้ว ถึงวิธีที่จะแสดงความกตัญญูต่อ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์ หรือ บุคคลที่อยู่รอบๆตัวเรา

แต่ สิ่งที่อยู่ไกลตัวของเราออกไป แต่ มีบุญคุณต่อเรา อย่างหาที่สุดมิได้ ก็คือ

ชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์

ซึ่ง 3 อย่างนี้ เป็นสิ่งที่เรา อาจจะไม่สามารถ ที่จะตอบแทนในรูปของ สิ่งของ เงินทอง หรือ สิ่งอื่นใด

ที่สามารถกระทำได้เหมือนอย่างเช่น บุคคลที่อยู่รอบข้างเรา

ดังนั้น ที่เราพอจะทำได้ (ตามความเข้าใจของ koonpatt นะคะ) คือ

1. ชาติ การเสียภาษี ความสามัคคี การช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติเดียวกัน ตามโอกาส และ ตามสมควร (ดังที่เราทำกันอยู่เสมอ) เช่น เกิดอุทกภัย เกิดภัยธรรมชาติที่ใด เราก็ส่งความช่วยเหลือไปให้ในรูปแบบต่างๆ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล เป็นต้น การทำหน้าที่การงานของเราอย่างเต็มที่ คนที่รับราชการ ก็มีความประพฤติดี ประพฤติชอบ ไม่ทุจริต คอรัปชั่น ผู้ที่ตำรวจก็บำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาราษฎร์ ทหารทำหน้าที่ปกป้อง และ รักษาอธิปไตยของประเทศ ประชาชนก็ไม่ทำลายสาธารณะสมบัติ รักษาความสะอาด ฯลฯ ทุกอย่างที่เราทำได้ โดยหน้าที่พลเมืองที่ดี นั่นคือ ความกตัญญูต่อชาติ

2. ศาสนา อันนี้คงไม่ต้องขยายความมาก เพราะ ทุกท่านคงรู้ดีอยู่แล้ว ก็คือการเป็นพุทธมามกะ ที่ดี
ทำนุ บำรุง พระศาสนา ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี นั่นก็เป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระศาสนา

พุทธมามกะ แปลว่า ผู้ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นของเรา หมายถึงผู้ประกาศตนว่าขอถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ หรือผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา

3. พระมหากษัตริย์ แล้วเราจะแสดงความกตัญญูต่อ พระองค์ได้อย่างไร พระองค์ท่านทรงปกครองประเทศโดยทศพิธราชธรรม ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศานา ทรงส่งเสริมการศึกษา อาชีพ และอื่นๆ อีกมากมายเหลือประมาณ ซึ่งเราอาจจะไม่ได้รับจากท่านโดยตรง แต่หากประเทศขาดพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาแล้ว ประเทศจะอยู่ได้อย่างไร ดังนั้น วิธีที่เราจะแสดงความกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์ ของเรา ก็คือ ความจงรักภัคดี การรับเอาพระราชดำรัสของพระองค์ มาปฏิบัติตาม ซึ่งถ้าทุกท่าน ได้ฟัง หรือ ได้อ่าน พระราชดำรัสของพระองค์ท่านแล้ว จะรับทราบได้ถึงความหวังดี และ เมตตา ของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทยเสมอมา

ดังนั้น การแสดงความกตัญญูต่อพระมหากษัตริย์ ที่เราทุกคนสามารถกระทำได้

โดยไม่เหลือบ่ากว่าแรงเลย คือ ความจงรักภักดีค่ะ

ขยายความ



ความจงรักภักดี หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม แล้วจะเห็นได้ว่า หมายถึงความผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือ หรือรู้คุณอย่างยิ่ง

ทศพิธราชธรรม หรือ ทศพิธราชธรรม 10 คือ

จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้

ทศพิธราชธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ราชธรรม 10" นี้ ปรากฏอยู่ในพระสูตร ขุททกนิกาย ชาดก ปรากฏพระคาถา ดังนี้

ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ
อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ.


ขุ.ชา.28/240/86


ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ประการ ดังนี้

1. ทาน (ทานํ) การให้ หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย

2. ศีล (ศีลํ) คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา

3. บริจาค (ปริจาคํ) คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม

4. ความซื่อตรง (อาชชวํ) คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต

5. ความอ่อนโยน (มัททวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า

6. ความเพียร (ตปํ) หรือความเพียร มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน

7. ความไม่โกรธ (อกฺโกธ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล

8. ความไม่เบียดเบียน (อวีหึสา) การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น

9. ความอดทน (ขันติ) การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย

10. ความยุติธรรม (อวิโรธนํ) ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ



มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู


ค น ต า บ อ ด ย่ อ ม ม อ ง ไ ม่ เ ห็ น โ ล ก
แ ม้ ด ว ง อ า ทิ ต ย์ จ ะ ส่ อ ง ส ว่ า ง อ ยู่ ฉั น ใ ด
ค น ใ จ บ อ ด ย่ อ ม ม อ ง ไ ม่ เ ห็ น พ ร ะ คุ ณ
แม้ จ ะ ไ ด้ รั บ ค ว า ม เ ม ต ต า ก รุ ณ า จ า ก ผู้ มี อุ ป ก า ร คุ ณ ฉั น นั้ น


ค ว า ม ก ตั ญ ญู คื อ อ ะ ไ ร ?


ความกตัญญู คือความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตามน้อยก็ตาม เช่น เลี้ยงดู สั่งสอน ให้ที่พัก ให้งานทำ ฯลฯ ย่อมระลึกถึงด้วยความซาบซึ้งอยู่เสมอ ไม่ลืมอุปการคุณนั้นเลย

อีกนัยหนึ่ง ความกตัญญู หมายถึงความรู้บุญหรือรู้อุปการะของบุญ ที่ตนทำไว้แล้ว รู้ว่าที่ตนเองพ้นจากภัยอันตรายทั้งหลาย ได้ดีมีสุขอยู่ในปัจจุบัน ก็เพราะบุญทั้งหลายที่เคยทำไว้ในอดีตส่งผลให้ จึงไม่ลืมอุปการะของบุญนั้นเลย และตั้งใจสร้างสมบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

รวมความแล้ว กตัญญูจึงหมายถึงการรู้จักบุญคุณ อะไรก็ตามที่เป็นบุญหรือมีคุณต่อตนแล้ว ก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย คนมีกตัญญูถึงแม้จะนัยน์ตาบอดมืดทั้งสองข้าง แต่ใจของเขาใสกระจ่างยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์รวมกันเสียอีก


สิ่ ง ที่ ค ว ร ก ตั ญ ญู

สิ่งที่ควรแก่ความกตัญญู คือทุกสิ่งที่มีคุณแก่เรา ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๕ ประการ ได้แก่

กตัญญูต่อบุคคล

คือใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมาก น้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้ง พยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครอง ที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก

ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ

กตัญญูต่อสัตว์

คือสัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน อย่าใช้งานหนักจนเป็นการทรมาน ขณะเดียวกันต้องเลี้ยงดูให้อาหารอย่าให้อดอยาก ให้ได้กินได้นอนได้พักผ่อนตามเวลา ตัวอย่างในเรื่องกตัญญูต่อสัตว์นี้มีอยู่ว่า

ในสมัยก่อนพุทธกาล วันหนึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์เสด็จประพาสอุทยาน และได้บรรทมหลับในอุทยานนั้น ขณะนั้นมีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามาและกำลังจะฉกกัดพระองค์ เผอิญมีกระแตตัวหนึ่งเห็นเข้าแล้วร้องขึ้น พระองค์จึงสะดุ้งตื่นและไล่งูให้พ้นไป ทรงระลึกถึงคุณของกระแตว่าเป็นผู้ช่วยชีวิตพระองค์ไว้ จึงรับสั่งให้พระราชทานเหยื่อแก่กระแตในอุทยานนั้นทุกวัน และห้ามไม่ให้ใครทำอันตรายแก่กระแตในอุทยานนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกอุทยานนั้นว่า เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน แปลว่า ป่าไผ่อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ซึ่งต่อมาก็คือ เวฬุวันมหาวิหาร วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนานั่นเอง

กตัญญูต่อสิ่งของ

คือของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านี้ให้ดี ไม่ลบหลู่ดูแคลน ไม่ทำลาย

ตัวอย่างเช่น ไม้คานที่ใช้หาบของขาย เมื่อเจ้าของตั้งตัวได้ ร่ำรวย ขึ้นก็ไม่ทิ้ง ยังคิดถึงคุณของไม้คานอยู่ ถือเป็นของคู่ชีวิตช่วยเหลือตนสร้างฐานะมา จึงเลี่ยมทองเก็บไว้เป็นที่ระลึก ไว้เป็นเครื่องเตือนใจ อย่างนี้ก็มี

มีกล่าวไว้ในเตมียชาดกว่า

“อย่าว่าถึงคนที่เราได้พึ่งพาอาศัยกันเลย แม้แต่ต้นไม้ที่ได้อาศัยร่มเงา ก็หาควรจะหักกิ่งริดก้านรานใบของมันไม่ ผู้ใดพำนักอาศัยนั่งนอนใต้ร่มเงาของต้นไม้ใดแล้ว ยังขืนหักกิ่งริดก้านรานใบ เด็ดยอด ขุดรากถาก เปลือก ผู้นั้นชื่อว่าทำร้ายมิตร เป็นคนชั่วช้าเลวทราม จะมีแต่อัปมงคล เป็นเบื้องหน้า”

กตัญญูต่อบุญ

คือรู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์กระทั่งไปนิพพานได้ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สั่งสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อม ในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

กตัญญูต่อตนเอง

คือรู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะใช้อาศัยในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการ เพื่อความสุขความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง จึงทะนุถนอมดูแลร่างกาย รักษาสุขภาพให้ดี ไม่ ทำลายด้วยการกินเหล้า เสพสิ่งเสพย์ติด เที่ยวเตร่ดึกๆ ดื่นๆ และไม่นำร่างกาย นี้ไปประกอบความชั่ว เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เจ้าชู้ อันเป็นการทำลายตนเอง


ค ว า ม ก ตั ญ ญู จ ำ เ ป็ น อ ย่ า ง ไ ร ใ น ก า ร ส ร้ า ง ค ว า ม ดี ?

การที่คนเราจะมีความคิดใฝ่ดี ตั้งใจทำความดีสร้างสมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัว เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่ที่ยากยิ่งกว่านั้นก็คือ ทำอย่างไรจึงจะรักษาความตั้งใจที่ดีนั้นไว้ โดยไม่ท้อถอยไม่เลิกกลางคัน เพราะในการทำความดีย่อมมีอุปสรรค มีปัญหาขัดขวางมากมาย ไหนจะปัญหาภายนอกจากคนรอบข้าง จากสิ่งแวดล้อม ไหนจะปัญหาภายในจากกิเลสรุมล้อมประดังกันเข้ามา เราจะเอาตัวรอด ยืนหยัดสู้ปัญหาทั้งหลายที่เข้ามาผจญได้โดยไม่ท้อถอย ก็ต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวใจไว้ นั่นคือความกตัญญู

ไปโรงเรียน เรียนหนังสือ แม้จะยากแสนยาก ท้อถอยจะเลิกเสียก็หลาย ครั้ง เพื่อนฝูงบางคนชวนไปเที่ยวเตร่เฮฮา ดูน่าสนุกกว่ามาก แต่เมื่อนึกถึงคุณพ่อคุณแม่ คิดว่าท่านอุตส่าห์ทะนุถนอมเลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่ ลำบากลำบนในการทำมาหากิน เพื่อส่งเสียให้เราได้เล่าเรียน ท่านฝากความหวังไว้กับตัวเรา อยากเห็นตัวเราได้ดีมีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต พอคิดได้เท่านี้ ความกตัญญูก็จะเกิดขึ้น มีแรงสู้ มีกำลังใจ แม้จะยากแสนยาก แม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อย ก็กัดฟันสู้มุมานะ ตั้งใจเรียนให้ดีให้ได้ ไม่ยอมประพฤติตัวไปในทางเสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล ให้คุณพ่อคุณแม่ครูบาอาจารย์ได้อายโดยเด็ดขาด

แม้ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ตั้งใจจะทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา แน่นอนว่าในการทำงานนั้น จะต้องมีการกระทบกระทั่งกัน คนเราหลายคนก็หลายความเห็น ต่างคนก็ต่างตั้งใจดีกันทั้งนั้น แต่ความคิดความอ่านความสามารถอาจไม่เท่ากัน และบางครั้งก็เกิดทิฏฐิมานะ คิดไปว่า “ถึงแกจะหนึ่ง แต่ฉันก็แน่เหมือนกัน” ทำให้ไม่ยอมกัน ที่เป็นเช่นนี้ เพราะต่างก็กำลังฝึกฝนตนเองอยู่ กิเลสในตัวก็ยังมี ยังไม่ได้หมดไป ดังนั้นถ้าไม่รู้จักควบคุมให้ดี จึงมีโอกาสขัดใจกันได้ หรือบางทีออกไปทำงานเผยแผ่ธรรมะ ก็พบกับคนที่ยังไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย พูดนินทาว่าร้าย เยาะเย้ยถากถางเอาบ้าง เพราะเหตุนี้จึงมีนักปฏิบัติธรรม นักเผยแผ่ธรรมะ รวมทั้งผู้ที่ตั้งใจทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมหลายๆ คน เบื่อหน่ายท้อถอย และเลิกราไปกลางคันอย่างน่าเสียดาย

แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความกตัญญูเป็นพื้นใจแล้ว เมื่อความท้อถอย ความเบื่อหน่ายเอือมระอาเกิดขึ้น เพียงแต่นึกว่า ที่ตัวเราได้มีโอกาสเรียนรู้ธรรมะ รู้การสร้างบุญกุศล รู้วิธีการดำเนินชีวิตอันประเสริฐ รู้บุญรู้บาปอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเสียสละ อุทิศชีวิตทุ่มเทค้นคว้า จนตรัสรู้หลักอริยสัจจ์ คือความจริงอันประเสริฐทั้งหลายมาสอนเรา เมื่อคิดถึงชีวิต เลือดเนื้อ ความเพียรพยายาม ที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทลงไป ตลอดระยะเวลาที่ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นานถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัปป์ ว่ามากมายมหาศาลเพียงใด (เวลากัปป์หนึ่งอุปมาได้กับมีภูเขาหินรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ กว้าง ๑๖ กิโลเมตร ยาว ๑๖ กิโลเมตร สูง ๑๖ กิโลเมตร ทุก ๑๐๐ ปี มีเทวดาเอาผ้าทิพย์บางเบา มาลูบครั้งหนึ่ง เมื่อใดภูเขาลูกนี้สึกหมด เรียบเสมอพื้นดิน ระยะเวลานั้นเท่ากับกัปป์หนึ่ง ; ๑ อสงไขย = ๑๐๑๔๐ คือจำนวนที่มีเลข ๑ และมีเลข ๐ ต่อท้าย ๑๔๐ ตัว) ตลอดจนคิดถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านอุตส่าห์ถ่ายทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อๆ กันมา และอบรมสั่งสอนให้เราได้ทราบได้รู้ถึงคำสอนของพระองค์ โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก คิดเพียงเท่านี้ ความท้อถอยก็หาย ความเหนื่อยหน่ายก็คลาย แม้ความตายก็ไม่หวั่น เกิดกำลังใจที่จะทำความดีต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

ความกตัญญูจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง ที่จะประคองใจของเราให้ดำรงมั่นอยู่ในคุณธรรมอันยิ่งๆ ขึ้นไป


ก า ร มี ค ว า ม ก ตั ญ ญู

ทำให้รักษาคุณความดีเดิมไว้ได้

ทำให้สร้างคุณความดีใหม่เพิ่มได้อีก

ทำให้เกิดสติ ไม่ประมาท

ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ

ทำให้เกิดขันติ

ทำให้จิตใจผ่องใส มองโลกในแง่ดี

ทำให้เป็นที่สรรเสริญของคนดี

ทำให้มีคนอยากคบหาสมาคม

ทำให้ทั้งมนุษย์และเทวดาอยากช่วยเหลือ

ทำให้ไม่มีเวรไม่มีภัย

ทำให้ลาภผลทั้งหลายเกิดขึ้นโดยง่าย

ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย

ฯลฯ

“บุคคลผู้อกตัญญู ย่อมถึงอนิฏฐผล มีนินทาเป็นต้น ส่วนบุคคลผู้กตัญญู แม้พระ ศาสดา ก็ทรงสรรเสริญ” มังคลัตถทีปนี ภาค ๒ ข้อ ๓๗๘ หน้า ๒๙๓



#134392 ทำบุญ

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 17 November 2008 - 08:49 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

เรียนคุณ DJ ค่ะ

ถูกต้องค่ะ สิ่งที่คุณ DJ ได้ท้วงติงมาทั้งหมด

ดังนั้น koonpatt จึงเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งที่ คุณ ณนนท์ ได้ตั้งกระทู้ดังกล่าวขึ้นมา

เจตนาของคุณณนนท์ ก็คือ ต้องการทราบที่มาที่ไปของ ประโยคดังกล่าว

เจตนาของ koonpatt ก็คือ เอาเรื่องเล่าที่เป็นแหล่งที่มาของ ประโยคนั้น มาเพื่อให้ทำความเข้าใจ

คนที่ไม่เคยทราบก็จะได้ทราบว่า จริงๆแล้ว คือ...อย่างไร และถ้าอ่านจนจบ จะเห็นว่า

มีบทสรุปอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้ทราบเจตนาของ การเล่าเรื่องเรื่องนั้น

ในกระทู้นี้ koonpatt ต้องยกเอาชื่อของกระทู้มากล่าวถึง เพราะ จะได้ไม่ต้องโพสต์ซ้ำ เนื้อหาของ

องค์ประกอบทั้ง 6 ของการทำทาน

มิได้มีเจตนาที่จะ ตอกย้ำประโยคๆ นั้นแต่อย่างใด และหากผู้ที่เข้ามาอ่าน ได้อ่านแล้ว ทำความเข้าใจไปแล้ว

เขาเหล่านั้นจะทราบได้ทันทีว่า อ๋อ ประโยคที่กล่าวถึงเนี่ย สอนคนให้คิดให้ถูกต้องนะ ไม่ใช่คิดผิดๆ

การที่มีคนกล่าวถึง สุภาษิต คำพังเพยต่างๆนั้น เพื่อให้ระลึกถึง เรื่องราวอันเป็นที่มาของ ประโยคประโยคนั้น

มิใช่ เขียนขึ้นมาเพื่อให้ทำตาม หรือ เชื่อในประโยคนั้นๆ

เปรียบได้กับ กุญแจ ( key word ) เช่น

กระต่ายกับเต่า คำๆนี้ ไม่ได้บอกให้ผู้อ่าน นึกถึง ตัวกระต่าย กับ ตัวเต่า

แต่เพื่อให้นึกถึง นิทานเรื่องเล่า ของ กระต่ายผู้เย่อหยิ่ง จองหอง และสำคัญตัวผิดว่า ตัวเองนั้นวิ่งเร็วกว่าเต่า

จึงประมาท ในการแข่งขันกับเต่าต่างหาก

ดังนั้น ถึงตอนนี้ ต่อไป หากท่านผู้ที่ได้เข้ามาอ่านแล้ว และ เข้าใจแล้ว ในเรื่องของ ประโยคที่ถูกกล่าวถึงในที่นี้

ก็จะย้อนกลับไปนึกถึง เรื่อง การทำทานอย่างไรให้ครบ องค์ 6 ได้ทันที

และสามารถที่จะชี้แจงข้อเท็จจริงถึงเรื่องราวที่ถูกต้องให้กับคนที่ไม่เคยรู้และเข้าใจได้ให้ถูกต้อง

คนที่ไม่ยอมพูดถึง key word เล่านี้ คือคนที่ไม่สามารถอธิบายถึงความหมาย

และที่มาที่ไปของสุภาษิตเหล่านั้นต่างหาก ( ดีไม่ดี เข้าใจผิดๆ ไปกับเค้าด้วยซ้ำไป)


ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเราชาวพุทธ ที่จะทำให้คนที่ไม่รู้ ได้เข้าใจให้ถูกต้อง

เพื่อที่เขาเหล่านั้น จะได้เล่าถึงสิ่งที่ถูกต้องนี้ ให้คนอื่นๆฟังต่อๆกันไป

ถึงตรงนี้หวังว่า คุณ DJ คง เข้าใจถึงเจตนาของ koonpatt แล้วนะคะ

การแก้ไขความเข้าใจที่ผิดๆ ทางพระธรรมนั้น เป็นหน้าที่ของเราชาวพุทธทุกคน

การไม่พูดถึง ไม่ใช่หนทางการแก้ไข เพราะ คนที่ได้ยินแล้ว ก็คือ ได้ยินแล้ว เราบอกให้เค้าลืมไม่ได้

แต่เราแก้ไขความเข้าใจผิดได้

และ เราก็ควรจะทำไม่ใช่หรือคะ



#134301 ทำบุญ

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 16 November 2008 - 05:07 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

ขออนุญาตตอบตามที่ koonpatt อ่านมานะคะ

ไม่ทราบว่า จะตรงกับที่ คุณโก้ ตั้งกระทู้ไว้ เพื่อที่จะสนทนากันหรือไม่

แต่ก็รู้สึกดีใจ จะได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนความรู้กับทุกๆท่านที่ได้เข้ามาอ่าน

หากมีสิ่งใดที่ koonpatt เข้าใจผิดพลาด หรือ คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง

รบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยชี้แนะแก่ผู้ที่ต้องการศึกษาธรรมะ คนนี้ด้วยเถิด สา...ธุ

เราได้อ่านกันมาแล้ว ในกระทู้

ทำบุญกับพระปลอมขึ้นสวรรค์ ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=18663

ซึ่งเป็นการพูดถึงเรื่องของ...การทำทาน...นะคะ ว่ามีองค์ประกอบอย่างไร

และต้องทำอย่างไร ถึงจะส่งผลเต็มที่

ในกระทู้นี้ ขอยกเอา

เหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้ว มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก และ

เหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้ว มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก มาให้อ่านกันก่อนค่ะ


พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 37 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ตั้งแต่หน้า 472 ปฐมทานสูตร
----------------------------------------------------------------------------------

ปฐมทานสูตร


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ

บางคนหวังได้จึงให้ทาน ๑

บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เขาให้แก่เราแล้ว ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เขาจักให้ตอบแทน ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า ทานเป็นการดี ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราหุงหากิน ชนเหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ ผู้ไม่หุงหากินไม่สมควร ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทานกิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑

บางคนให้ทานเพื่อประดับ ปรุงแต่งจิต ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้แล

จบ ปฐมทานสูตร



--------------------------------------------------------------------------------


อรรถกถาปฐมทานสูตร


วรรคที่ ๔ ปฐมทานสูตรที่ ๑ มีวินิฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อาสชฺช ทานํ เทติ ความว่า บุคคลบางคน ให้ทานเพราะประจวบเข้า คือพอเห็นปฏิคาหกมาถึง นิมนต์ให้ท่าน นั่งครู่หนึ่ง กระทำสักการะแล้วจึงให้ทาน ย่อมไม่ลำบากใจว่า จักให้ บทว่า ภยา ได้แก่ เพราะกลัวครหาว่าผู้นี้เป็นผู้ไม่ให้เป็นผู้ ไม่ทำ หรือ เพราะกลัวอบายภูมิ บทว่า อสาทิ เม ความว่า ให้ด้วยคิดว่าผู้นี้ได้ให้สิ่งชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน ทสฺสติ เม ความว่า ให้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักให้สิ่งชื่อนี้แก่เราในอนาคต บทว่า สาหุ ทานํ ความว่า ให้ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่าทานยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือดี ได้แก่อันบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว บทว่า จิตฺตาลงฺการจิตฺตปรกฺขารตฺถํ ทานํ เทติ ความว่า ให้เพื่อประดับและตกแต่งจิตในสมถะและวิปัสสนา เพราะว่าทานย่อมทำจิต ให้อ่อนโยน บุคคลผู้ได้รับทาน ย่อมมีจิตอ่อนโยนดีว่าเราได้แล้ว แม้บุคคลผู้ให้ทานนั้น ก็ย่อมมีจิตอ่อนโยนว่า เราให้ทานแล้ว เพราะฉะนั้น ทานนั้นชื่อว่า ย่อมทำจิตของบุคคลทั้ง ๒ ฝ่ายให้อ่อนโยน เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงตรัสว่า อทนฺตทมนํ การฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

อทนฺตทมนํ ทานํ อทานํ ทนฺตทูสกํ
อเนน ปิยวาเจน โอณฺมนฺติ นมนฺติ จ


การให้ทานเป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก การไม่ให้ทานเป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว ชนทั้งหลาย มีจิตใจโอนอ่อน และน้อมลงด้วยปิยวาจานี้ ก็บรรดาการให้ทาน ๘ ประการนี้ การให้เพื่อประดับจิตเท่านั้น เป็นสูงสุดแล

จบอรรถกถาปฐมทานสูตร



หรือ ถ้าจะให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นก็ ดังนี้ค่ะ


ใน ทานสูตร อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้ว มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก และเหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก และมีอานิสงส์มาก ไว้ดังต่อไปนี้

๑. บุคคลบางคน ให้ทานด้วยความหวังว่า เมื่อตายไปแล้ว จักได้เสวยผลของทานนี้ เมื่อตายไป ได้เกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๒. บุคคลบางคนไม่ได้ให้ทาน เพราะหวังผลของทาน แต่ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี เป็นบุญ เป็นกุศล จึงให้เมื่อตายไป ได้เกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ ไม่มีอานิสงส์มาก

๓. บุคคลบางคนไม่ได้ให้ทาน เพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี แต่ให้ทานเพราะละอายใจที่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษเคยทำมา ถ้าไม่ทำก็ไม่สมควร ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นยามา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๔. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ แต่ให้ทานเพราะเห็นสมณพราหมณ์เหล่านั้นหุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ ถ้าไม่ให้ก็ไม่สมควร ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นดุสิต สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๕. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ ไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นว่า สมณพราหมณ์หุงหากินไม่ได้ แต่ให้ทานเพราะต้องการจำแนกแจกทานเหมือนกับฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทานมาแล้ว เขาตายไปได้เกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๖. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ ไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นว่าสมณพราหมณ์หุงหากินไม่ได้ ไม่ได้ให้ทานเพราะต้องการจำแนกแจกทานเหมือนฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทาน แต่ให้ทานเพราะคิดว่า เมื่อให้แล้ว จิตจะเลื่อมใสโสมนัสจึงให้ ครั้นตายไปย่อมเกิดในเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานเพราะเหตุที่กล่าวแล้วทั้ง ๖ อย่างข้างต้นนั้น แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือให้ทานนั้นเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจหมดจดจากกิเลสด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา จนได้ฌานและบรรลุ จนได้ฌานและบรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล ตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในพรหมโลกแล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกนี้อีก คือปรินิพพานในพรหมโลกนั้นเอง ทานชนิดนี้เป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก

สรุปรวมความว่า ทานชนิดใดก็ตาม เป็นปัจจัยให้ต้องเกิดอีก ทานชนิดนั้นแม้มีผลมาก ได้เกิดที่ดีมีความสุขอันเป็นทิพย์ แต่ทานนั้นก็ไม่มีอานิสงส์มาก เพราะไม่สามารถจะทำให้หมดจดจากกิเลสได้

ส่วนทานชนิดใดเป็นปัจจัยให้ไม่ต้องเกิดอีก ทานชนิดนั้นชื่อว่ามีผลมากด้วย มีอานิสงส์มากด้วย เพราะทำให้หมดจดจากกิเลส

ฉะนั้นคำว่า "อานิสงส์มาก" ในที่นี้ จึงหมายถึงการหมดจดจากกิเลสทั้งปวง ไม่ต้องเกิดอีก

จริงอยู่ การเกิดในสวรรค์แต่ละชั้นนั้น มีความสุขมาก เพราะได้รับกามคุณอันเลอเลิศที่เป็นทิพย์ ละเอียดประณีตขึ้นไปตามลำดับชั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของชวนให้หลงใหล เป็นของมีสุขน้อย แต่มีโทษมาก เพราะฉะนั้นเมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม คือ อนุปุพพิกถา แก่คฤหัสถ์ จึงได้ทรงแสดงโทษของกามไว้ด้วย ผู้ที่ยินดีหลงไหลเพลิดเพลินในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมไม่อาจล่วงทุกข์ไปได้ ผู้ที่จะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะเห็นโทษของกาม ก้าวออกจากกามด้วยสมถะและวิปัสสนาเท่านั้น

ด้วยเหตุนั้น ทานที่เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ขัดเกลาจิตให้อ่อน ให้ควรแก่การเจริญสมถะและวิปัสสนาจนบรรลุมรรคผลไม่ต้องกลับมาเกิดอีก จึงเป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มากแม้สังฆทานที่กล่าวว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็เพราะผู้ถวายมีโอกาสได้ฟังธรรมจากสงฆ์แล้วบรรลุอริยสัจธรรม ก้าวล่วงทุกข์ทั้งปวงไม่ต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก

พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่แก่สัตว์โลกแม้เมื่อทรงแสดงเรื่องทาน ก็ทรงแสดงให้พุทธบริษัทได้รับประโยชน์ครบทั้ง ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือ มรรค ผล นิพพาน ด้วยเหตุนี้ จึงควรทำใจให้เลื่อมใส บำเพ็ญทานให้เกิดประโยชน์ทั้ง ๓ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์อย่างแท้จริง



นอกจากนี้ ก็ยังมีเรื่อง ของวัตถุทาน และอื่นๆอีกมากมาย ที่มีผลกับเรื่องของบุญที่เราทำ

ซึ่งเดี๋ยวก็คงมีท่านผู้รู้ ท่านอื่นๆทยอยๆ นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนความรู้กันค่ะ แต่ตอนนี้ ขออนุญาต ขอตัวก่อนนะคะ



#134259 ทำบุญกับพระปลอมขึ้นสวรรค์ ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 16 November 2008 - 09:31 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

เรื่อง ทำบุญกับพระปลอมขึ้นสวรรค์ ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก ที่คุณ ณนนท์ ตั้งกระทู้นั้น

พอจะหาที่มา และ แหล่งอ้างอิง ได้ดังนี้ค่ะ



ทานที่ให้ผลมาก และเรื่องของ "เศรษฐีผู้อยู่ในนรก"

ทานที่ให้ผลมากนับประมาณไม่ได้

ในข้อนี้จะเห็นได้ว่า เจตนาในการให้เป็นเรื่องสำคัญมาก จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าบุญจะได้มากหรือได้น้อย ในบางครั้งบุคคลผู้มีเจตนาดีทำบุญกับคนทุศีลได้ไปสวรรค์ บุคคลผู้มีเจตนาเสียไปทำบุญกับพระอรหันต์กลับตกนรก เป็นเช่นนั้นได้อย่างไร ลองมาศึกษากรณีต่อไปนี้

......พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ใน ฉฬังคทานสูตร จตุตถวรรคแห่งปฐมปัณณาสก์ อังคุตตรนิกาย ว่า


" ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ คือ
องค์ของผู้ให้ ๓ อย่าง
องค์ของผู้รับ ๓ อย่าง

องค์ของผู้ให้ ๓ อย่าง ( เจตนา ๓ ) คือ
๑. ก่อนให้ก็ดีใจ
๒. กำลังให้ก็มีใจผ่องใส
๓. ครั้งให้เสร็จแล้วมีความเบิกบานใจ

องค์ของผู้รับ ๓ อย่าง คือ
๑. เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฎิบัติเพื่อความไม่มีราคะ
๒. เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฎิบัติเพื่อความไม่มีโทสะ
๓. เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฎิบัติเพื่อความไม่มีโมหะ

ทานที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ ๖ ประการนี้ เป็นบุญใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ยิ่งใหญ่นัก

เหมือนน้ำในมหาสมุทร นับหรือคำนวณไม่ได้ว่ามีขนาดเท่าใด ทานที่พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะเหล่านี้

ย่อมเป็นที่หลั่งไหลแห่งบุญ หลั่งไหลแห่งกุศล นำความสุขมาให้ให้อารมณ์เลิศด้วยดี มีวิบากเป็นสุข

เป็นไปพร้อมเพื่อการเกิดขึ้นในสวรรค์ ( มีบุญที่สะสมไว้ดีแล้ว มากพอที่จะเกิดในสวรรค์ )

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ "


.......ดังนั้น ถ้าเราต้องการทำทานให้ได้บุญมาก ให้เกิดบุญอย่างจะนับจะประมาณไม่ได้ ก็ควรที่จะประกอบเหตุแห่งทานให้ครบองค์ ๖ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ข้างต้น ในองค์ ๖ ที่กล่าวมานั้น เป็นส่วนของผู้ให้ ๓ อย่าง เป็นส่วนของผู้รับ ๓ อย่าง ถ้าเราได้ผู้รับที่ดี แต่เจตนาเราไม่ดี บุญย่อมหกย่อมหล่นไปแต่ถ้าเจตนาเราดี บุญย่อมเกิดขึ้นเต็มที่

ในข้อนี้จะเห็นได้ว่า เจตนาในการให้เป็นเรื่องสำคัญมาก จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าบุญจะได้มากหรือได้น้อย ในบางครั้งบุคคลผู้มีเจตนาดีทำบุญกับคนทุศีลได้ไปสวรรค์ บุคคลผู้มีเจตนาเสียไปทำบุญกับพระอรหันต์กลับตกนรก เป็นเช่นนั้นได้อย่างไร ลองมาศึกษากรณีต่อไปนี้


พระราชาทำบุญกับคนทุศีล

.......สามีภรรยาคู่หนึ่ง เป็นคนยากจนมาก หาเลี้ยงชีพด้วยการขอทาน เดินทางมาอาศัยอยู่ที่ศาลาแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง ในขณะที่พักอยู่นั้น ภรรยาซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ เกิดอาการแพ้ท้อง อยากจะบริโภคอาหารที่พระราชาเสวย จึงอ้อนวอนสามีให้ไปหามาให้ บอกว่าหากมิได้บริโภคอาหารที่ต้องการนี้จะต้องตายเป็นแน่แท้ ฝ่ายสามีผู้มีกรรมทนคำอ้อนวอนต่อไปไม่ไหว และเกรงว่านางจักตาย จึงคิดอุบายปลอมตัวเป็นพระภิกษุ และด้วยความที่ปลอมตัวมาใหม่ๆ จึงระมัดระวังตัวมาก ดูเหมือนเป็นผู้สำรวม เดินอุ้มบาตรไปในพระราชวัง เพื่อรับบิณฑบาต

ขณะนั้นเป็นเวลาที่พระราชาจักเสวยพระกระยาหารพอดี เมื่อทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุเดินด้วยกิริยาอาการสำรวมมากเช่นนั้น ทรงจินตนาการว่า " ภิกษุนี้มีกิริยาอาการสำรวมน่าเลื่อมใสเป็นหนักหนา คงเป็นพระที่ทรงคุณวิเศษสักอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแม่นมั่น " จึงเกิดพระราชศรัทธา ทรงนำพระกระยาหารอันเลิศรสที่จะเสวยใส่ลงในบาตรจนหมด ด้วยจิตที่เลื่อมใสยิ่ง

เมื่อพระภิกษุปลอมรับอาหารแล้วเดินจากไป ด้วยความเลื่อมใสอันมีอยู่มากมายในพระทัยของพระราชาจึงรับสั่งอำมาตย์คนสนิทให้รีบสะกิดรอยตามไป เพื่อให้รู้ว่าพระท่านมาจากไหน จะไปพักที่ไหน เพื่อว่าวันต่อไปจะนิมนต์มารับบาตรในพระราชวังอีก

.......ฝ่ายพระภิกษุปลอมนั้น เมื่อได้อาหารเต็มบาตรสมความปรารถนาแล้วก็ดีใจ รีบเดินไปจนสุดกำแพงพระราชวังเมื่อเห็นว่าปลอดผู้คนแล้ว จึงเปลื้องจีวรและสบงออกเป็นเพศคฤหัสถ์ตามเดิม แล้วนำเอาพระกระยาหารนั้นไปให้ภรรยาแพ้ท้องบริโภคตามความประสงค์

อำมาตย์ซึ่งสะกดรอยติดตามมาได้เห็นพฤติการณ์นั้นโดยตลอด ก็บังเกิดความตกใจและสังเวชใจคิดว่ามาเจอคนที่ปลอมตัวเป็นพระเสียแล้ว นี่ถ้าหากพระราชาทรงทราบเรื่องนี้เข้าจะต้องเสียพระทัยเป็นอย่างมากและผลบุญที่ได้ก็จะตกหล่นไป เพราะอปราปรเจตนา คือ เจตนาหลังจากที่ให้แล้วไม่สมบูรณ์ เมื่อคิดดังนี้แล้วก็เดินทางกลับไปเฝ้าพระราชา

พระราชาจึงตรัสถามว่า " ได้ความว่าอย่างไร บอกมาเร็วๆ พระนั้นอยู่วัดไหน ? " อำมาตย์จึงใช้กุศโลบายเพื่อรักษาศรัทธาของพระราชาไว้ กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ข้าพระพุทธเจ้าได้สะกดรอยตามพระรูปนั้นไป จนออกนอกกำแพงพระราชวัง พอตามไปสุดพระราชวังโน้น ท่านก็หายวับไปทันที "( ในที่นี้หมายถึงหายจากความเป็นพระกลายเป็นคฤหัสถ์ไป )

พระราชาได้ฟังดังนั้นทรงโสมนัสมาก มิได้ซักความเพิ่มเติมอีก ทรงคิดเอาเองว่า " บุญของเราแท้ๆ ที่ได้ถวายทานแด่พระอรหันต์ทรงคุณวิเศษ ท่านเป็นพระอรหันต์จริงๆ ปาฎิหาริย์หายตัวได้ทานที่ได้ถวายท่านในวันนี้มีอานิสงส์มาก เป็นทานที่ประเสริฐอย่างแน่ๆ " พระราชาทรงบังเกิดความปีติเบิกบานใจในบุญที่ได้ทำเป็นยิ่งนัก

พระราชาพระองค์นี้มีเจตนาทั้ง ๓ ระยะครบบริบูรณ์ และมีความเข้าใจว่าปฎิคาหกสมบูรณ์ด้วยองค์ ๓
ผลบุญที่ได้จึงมากมาย ส่งผลให้พระราชาเมื่อถึงคราวสวรรคตแล้ว ได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ยิ่งถ้าหากพระรูปนั้นเป็นพระจริง และปฎิบัติตามองค์ของผู้รับ ๓ ได้อย่างสมบูรณ์ ผลบุญที่พระราชาได้จะมากมายมหาศาลยิ่งขึ้น เพราะทำทานครบองค์ ๖ ซึ่งจะให้ผลมากนับประมาณมิได้




ส่วนข้อที่ว่า ทำบุญกับพระอรหันต์แล้วตกนรกนั้น มีเรื่องเล่าดังนี้

อปุตตกเศรษฐี

........ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี มีเศรษฐีผู้หนึ่งไร้ความศรัทธา ทั้งตระหนี่เหนียวแน่นแสนหนักหนา อยู่มาวันหนึ่งเมื่อเศรษฐีจะไปเข้าเฝ้าพระราชา ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า ตครสิขี กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ เกิดใจดี จึงสั่งคนรับใช้ให้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า ไปรับอาหารที่บ้านของตน แล้วรีบรุดไปเฝ้าพระราชา ส่วนคนรับใช้นั้น เมื่อนำพระปัจเจกพุทธเจ้าไปถึงเรือนของเศรษฐีแล้วจึงบอกกับภรรยาเศรษฐีตามคำสั่งที่ได้รับมาทุกประการ

ฝ่ายภรรยาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในการทำบุญอยู่แล้ว พอได้ยินคำนั้นก็ดีใจว่า " เป็นเวลานานทีเดียว กว่าที่เราได้ยินคำว่า ทำบุญถวายทาน จากปากของเศรษฐี ความตั้งใจของเราจะเต็มเปี่ยมในวันนี้ เราจักได้ถวายทาน " นางจึงรีบจัดแจงโภชนาหารอันประณีตครบทุกอย่าง แล้วได้ถวายอาหารอันประณีตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าพอรับอาหารแล้วก็เดินจากไป ด้วยสีหน้าเบิกบานผ่องใสเป็นปกติ

เศรษฐีครั้นเฝ้าพระราชากลับมาแล้ว ได้สวนทางกับพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มีความเข้าใจว่าท่านคงรับบิณฑบาตที่บ้านตนมาแล้ว จึงดูยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้สงสัยว่าจะต้องมีอาหารอะไรพิเศษแน่ ว่าแล้วก็ขอดูในบาตร ครั้นเห็นอาหารในบาตรมีความประณีตมาก จึงเกิดความร้อนใจเสียดายขึ้นมา แล้วคิดในใจว่า " ให้พวกทาสหรือกรรมกรกินอาหารนี้ยังดีกว่า เพราะพวกเขากินแล้วจะทำการงานให้เราได้ ส่วนสมณะนี้เมื่อบริโภคอาหารอันประณีตนี้แล้วก็มิได้ทำการงานใด อาหารที่เราถวายไปจะเปล่าประโยชน์ " เมื่อคิดอย่างนี้จึงไม่อาจจะรักษาเจตนาระยะสุดท้ายให้บริบูรณ์ได้


.......อีกคราวหนึ่ง เศรษฐีได้ฆ่าหลานชายคนหนึ่งของตน ( พ่อของหลานชายเป็นพี่ชายได้ไปบวชเป็นดาบส )เพราะความโลภในสมบัติ เนื่องจากหลายชายชอบพูดว่า " ยานพาหนะนี้เป็นของพ่อฉัน โคนี้เป็นของอา "พอเศรษฐีได้ยินคำนี้จึงโกรธ เกิดความริษยาและคิดว่า " ตอนนี้หลานยังเล็กอยู่ ยังพูดถึงขนาดนี้ ถ้าโตขึ้นจะไม่พูดถึงสมบัติยิ่งกว่านี้หรือ " จึงลวงหลานไปในป่า แล้วฆ่าทิ้งเสีย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าบุพกรรมนี้ให้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบ แล้วตรัสว่า " มหาบพิตร ด้วยผลแห่งกรรมที่เศรษฐีได้ถวายบิณฑบาตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ทำให้ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๗ ครั้ง และผลที่เป็นเศษกรรมทำให้เข้าถึงความเป็นเศรษฐี ๗ ครั้ง

ผลกรรมที่ถวายทานแล้วร้อนใจ เสียดายในภายหลัง ( กระแสกิเลสบังคับใจให้คิดตระหนี่ถี่เหนียว ) ทำให้จิตใจของเศรษฐีนั้นไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหาร เพื่อใช้เครื่องนุ่งห่ม เพื่อใช้ยานพาหนะ เพื่อความสุขสบายอย่างเต็มที่ ( คือไม่สามารถใช้สมบัติที่ตนมีอยู่ได้อย่างเต็มที่ และความสุขที่จะได้จากสมบัตินั้นก็ไม่เต็มบริบูรณ์ )

ด้วยกรรมที่เศรษฐีนั้นฆ่าหลานชายจึงเข้าถึงอบายภูมิเป็นเวลานาน ผลที่เป็นเศษกรรมทำให้ถูกยึดสมบัติเข้าพระคลังหลวง ดูก่อนมหาบพิตร ด้วยว่าบุญเก่าของเศรษฐีหมดแล้ว และบุญใหม่ก็ไม่ได้สั่งสมไว้ดังนั้นในวันนี้เศรษฐีนั้นจึงยังอยู่ในมหาโรรุวนรก "

พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร บุคคลผู้มีปัญญาทรามได้โภคะแล้ว ย่อมไม่แสวงหาพระนิพพาน อนึ่ง ตัณหาเกิดขึ้นเพราะอาศัยโภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนเหล่านั้นตลอดกาลนาน "


.......ฉะนั้นบุญที่ได้ถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ มีองค์แห่งผู้รับครบทั้ง ๓ ประการแล้ว

ถ้าผู้ให้รักษาเจตนา ๓ ได้ครบด้วย จะเกิดผลบุญอย่างจะนับจะประมาณไม่ได้ และบุญส่งต่อไปให้มีความสุข

ต่อเนื่องตลอดไป ดังเรื่องที่เล่านี้ เศรษฐีได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นเนื้อนาบุญที่เลิศ ที่บริสุทธิ์ แต่ไม่รักษา

เจตนาให้บริบูรณ์ โดยเฉพาะเจตนาระยะสุดท้าย คือ เกิดความร้อนใจ เสียดายทรัพย์ ไม่สามารถตัดความตระหนี่

ขาดจากใจ บุญจึงหกหล่นไป ส่งผลไม่บริบูรณ์ ไม่เต็มที่ และบุญที่จะส่งต่อเกื้อกูลให้ทำความดียิ่งๆ ขึ้นไปก็ไม่มี

ทั้งยังมีใจที่โลภ ริษยา จึงเป็นเหตุให้ฆ่าหลานชาย และต้องตกนรกไปในที่สุด



.......บุคคลให้ทานไม่ได้ด้วยเหตุผล ๒ อย่าง คือ

ความตระหนี่ ๑

ความประมาท ๑

บัณฑิตผู้รู้แจ้งเมื่อต้องการบุญ พึงให้ทานแท้

คนผู้ตระหนี่กลัวความยากจน จึงไม่ให้อะไรๆแก่ผู้ใดเลย ความกลัวยากจนนั่นแหละจะเป็นภัยแก่ผู้ไม่ให้ คนตระหนี่ย่อมกลัวความอดอยาก ข้าว น้ำ ความกลัวนั่นแหละจะกลับมาถูกต้องคนพาล ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงครอบงำมลทิน กำจัดความตระหนี่เสียแล้ว พึงให้ทานเถิด

เพราะบุญย่อมเป็นที่พึงของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า

....( ๔๒ / ๔๒๕ พิลารโกสิชาดก )



#134147 โปรดช่วยชี้ทางสว่าง

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 15 November 2008 - 11:39 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

อยากจะบอกว่า น้องได้โอกาสที่ดีแล้วค่ะ

น้องฝึกงานหลายๆคน ไม่เคยได้ทำอะไร นอกชงชา ชงกาแฟ ถ่ายเอกสาร (นั่งเล่นเน็ต wink.gif )

และหลายๆคน เสียอะไรหลายๆอย่างที่ไม่ควรเสีย (เสียเวลาเปล่า เสียโอกาส เสียนิสัย และ เสีย......)

การที่น้องได้รับมอบหมายงานใหญ่ ซึ่งนั่นหมายถึง น้องจะต้องได้รับความรู้มามากเช่นกัน

และการที่ถูกใช้มาก ก็หมายถึง การได้รับความไว้วางใจมาก จากพี่ๆพนักงานของบริษัท ที่น้องไปฝึกงาน

อย่าไปคิดค่ะ ว่ารุ่นพี่คนนั้นทำอะไร

อย่าไปคิดค่ะ ว่ารุ่นพี่คนนั้นเอาเปรียบเราอย่างไร

ให้คิดว่า เรา....ได้อะไรมาบ้าง

การทำงานหลายๆอย่าง ต้องทำมาก จึงจะเกิดความชำนาญ และ ความเชี่ยวชาญ

และอยากจะบอกน้องอีกว่า

ความเหน็ดเหนื่อยของน้อง ต้องมีคนเห็นแน่นอนค่ะ

คนที่ทำเท่านั้น จึงจะสามารถ เข้าใจในงานที่ทำได้เป็นอย่างดี

และ พี่ๆ พนักงาน จะต้องรับรู้ และ มองเห็นสิ่งเหล่านั้นแน่นอน

เพื่อนๆ รุ่นเดียวกันกับ พี่ koonpatt ก็เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้

และคนที่ถูกใช้งานมาก (แต่งานต้องออกมาดีด้วยน๊า) ก็ถูกจองตัวทันที

เพราะเห็นผลงาน และ ความตั้งใจที่ทำตลอดเวลาที่มาฝึกงาน

อดทน และ พยายามต่อไปนะคะ

แล้วน้องก็จะได้รับผลจากความตั้งใจ ความขยันหมั่นเพียร และความพยายามนั้นในไม่ช้าค่ะ happy.gif







#133751 เขาพระสุเมรุ???

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 13 November 2008 - 09:55 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

ไตรภูมิพระร่วง

เรียกกันในหลาย ๆ ชื่อ ทั้ง "ไตรภูมิพระร่วง" "เตภูมิกถา" "ไตรภูมิกถา" "ไตรภูมิโลกวินิจฉัย" และ "เตภูมิโลกวินิจฉัย"

เป็น วรรณคดีพุทธศาสนา
ที่แต่งในสมัยสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ.1882 โดยพระยาลิไท ซึ่งรวบรวมจากคัมภีร์ใน พระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสันฐานที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ

วรรณคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคติความเชื่อของไทยเป็นจำนวนมาก อาทิ เรื่องนรก สวรรค์การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) ระยะเวลากัปปกัลป์ กลียุค การล้างโลก พระศรีอาริย์
มหาจักรพรรดิราช แก้ว 7 ประการ ฯลฯ

ไตรภูมิพระร่วง เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งแต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1888


โดยมีพระประสงค์ที่จะเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อจำเริญพระอภิธรรม ไตรภูมิพระร่วงเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างลึกซึ้ง ในด้านพุทธศาสนาของพระมหาธรรมราชาลิไทที่ทรงรวบรวมข้อความต่างๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา นับแต่พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์พิเศษต่างๆ มาเรียบเรียงขึ้นเป็นวรรณคดีโลกศาสตร์เล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทยเท่าทีมีหลักฐานอยู่ในปัจจุบันนี้

ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่กล่าวถึงภูมิ (แดน) ทั้งสาม คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ซึ่งมีเนื้อหาพรรณนาถึงที่อยู่ ที่ตั้ง และการเกิดของมนุษย์ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเทวดา ที่ตั้งเหล่านี้มีเขาพระสุเมรุเป็นหลัก เขาพระสุเมรุนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล มีทิวเขาและทะเลล้อม ทิวเขามีชื่อต่างๆดังนี้ 1. ยุคนธร 2. อิสินธร 3. กรวิก 4. สุทัศน์ 5. เนมินธร 6. วินันตก และ7.อัศกรรณ ซึ่งเป็นเขารอบนอกสุด ทิวเขาเหล่านี้รวมเรียกว่าเขาสัตตบริภัณฑ์ ส่วนทะเลที่รายล้อมอยู่ 7 ชั้น เรียกว่า มหานทีสีทันดร ถัดจากทิวเขาอัศกรรณออกมาเป็นมหาสมุทรอยู่ทั่วทุกด้าน แล้วจะมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้ไว้รอบเรียกว่า ขอบจักรวาล พ้นไปนอกนั้นเป็นนอกขอบจักรวาล

นรกภูมิ

มีนรกใหญ่ 8 ขุม คือ สัญชีพนรก กาลสูตนรก สังฆาฏนรก โรรุพนรก ตาปนรก มหาตาปนรก มหาอเวจีนรก มหาโรรุพนรก สัตว์ที่เกิดในนรกแห่งนี้มีอายุยืนนานนับไม่ถ้วน สัตว์นรกขุมแรกมีอายุยืนได้ 500 ปี (1 วันกับ 1 คืนของเมืองนรกเท่ากับ 9 ล้านปีของเมืองมนุษย์) ส่วนสัตว์นรกที่อยู่ขุมถัดไปมีอายุนับทวีคูณจำนวนปีของขุมนรกแรก

นรก 8 ขุมนี้ มีกำแพงเหล็กแดงลุกเป็นไฟอยู่เสมอล้อมเป็นสี่เหลี่ยม พื้นบนและพื้นล่างก็เป็นเหล็กแดงที่ลุกเป็นไฟ กำแพงทั้ง 4 ด้าน ยาวด้านละ 1,000 โยชน์ หนา 9 โยชน์ มีประตูเข้า 4 ประตู ส่วนพื้นบนและพื้นล่างมีความหนา 9 โยชน์ นรกใหญ่แต่ละขุมมีนรกบริวารหรือนรกบ่าวล้อมอยู่ด้านละ 4 ขุม นรกใหญ่ขุมหนึ่งจึงมีนรกบ่าว 16 ขุม นรกใหญ่ 8 ขุมจึงมีนรกบ่าวทั้งหมด 136 ขุม และก็มีนรกเล็กๆ น้อยๆ อีกจำนวนนับไม่ถ้วน นรกบ่าวทั้ง 16 ขุมรวมเรียกชื่อว่า อุสุทธ (อุสสทนรก) นรกโลกันต์

ยมบาล หรือผู้ดูแลนรกเฝ้าประตูนรกไว้ มีพระยายมราชเป็นผู้ทรงธรรมเที่ยงตรงเป็นใหญ่เหนือยมบาลทั้งหลาย หน้าที่ของพระยายมราชคือสอบสวนบุญบาปของมนุษย์ที่ตายไป หากทำบุญก็จะได้ขึ้นสวรรค์ทำบาปก็จะตกนรก


ติรัจฉานติภูมิ

ติรัจฉานติภูมิ หรือเดรัจฉานติภูมิ คือแดนของเดียรฉาน แปลว่าตามขวางหรือตามเส้นนอนตรงกันข้ามกับคนซึ่งไปตัวตรง ดังนั้นสัตว์เดรัจฉานก็หมายถึงสัตว์ที่ไปไหนมาไหนต้องคว่ำอก

ในหนังสือไตรภูมิตอนนี้เริ่มต้นกล่าวถึงสัตว์อันเกิดมาในแดนเดรัจฉานว่า มีเกิดจากไข่ (อัณฑชะ) จากมีรกอันห่อหุ้ม(ชลาพุชะ) จากใบไม้และเหงื่อไคล(สังเสทชะ) เกิดเป็นตัวขึ้นเองและโตทันที(อุปปาติกะ) สัตว์เดรัจฉานนั้นมีความเป็นอยู่ 3 ประการ คือ รู้สืบพันธุ์ รู้กิน รู้ตาย เรียกเป็นศัพท์ว่า กามสัญญา อาหารสัญญา และมรณสัญญา ส่วนคนนั้นเพิ่มอีกสัญญาหนึ่งคือ ธธมสัญญา คือรู้จักการทำมาหากิน รู้บาปบุญ หรือตรงกับคำว่าวัฒนธรรมนั้นเอง สัตว์ที่กล่าวในแดนเดรัจฉานหลักๆก็มีดังนี้

ราชสีห์ เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับสิงโต ไม่มีตัวตนจริงอยู่ในโลกนี้แต่เป็นสัตว์ที่อยู่ในวรรณคดีเท่านั้น

ช้างแก้ว อาศัยอยู่ที่ถ้ำทองว่ากันว่าพระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเคยไปเกิดเป็นช้างนี้อยู่หนึ่งชาติ

ปลา ในแดนเดรัจฉานนี้ปลาที่อาศัยอยู่ที่นี้จะมีขนาดใหญ่มาก ตัวที่เล็กสุดก็ยังยาวถึง 75 โยชน์ ตัวที่ใหญ่ก็ยาวถึง 5,000 โยชน์ ปลาที่รู้จักกันดีคือ พญาปลาอานนท์ ซึ่งหนุนชมพูทวีปอยู่

ครุฑ อาศัยอยู่ที่ตามฝั่งสระใหญ่ชื่อสิมพลีสระที่ตีนเขาพระสุเมรุหรือสระต้นงิ้ว กว้างได้ 500 โยชน์ พระยาครุฑที่เป็นหัวหน้าตัวโต 50 โยชน์ ปีกยาวอีก 50 โยชน์ ปากยาว 9 โยชน์ ตีนทั้งสองยาว 12 โยชน์ ครุฑกินนาคเป็นอาหาร และเป็นพาหนะของพระนารายณ์

นาค หรืองูมีหงอนและมีตีน นาคมีสองชนิด คือ ถลชะ หรือนาคที่เกิดบนบก และ ชลชะ หรือนาคที่เกิดในน้ำ นาคถลชะจะเนรมิตตนเป็นคนหรือเทวดานางฟ้าได้แต่บนบก นาคชลชะจะเนรมิตตนเป็นคนหรือเทวดานางฟ้าได้แต่ในน้ำเท่านั้น เรื่องนาคเป็นที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือเป็นบรรพบุรุษของชนชาติต่างๆ เช่น เขมร ลาว มอญ

หงส์ อาศัยอยู่ที่ถ้ำทองบนเขาคิชฌกูฏหรือเขายอดนกแร้ง หงส์เป็นพาหนะของพระพรหม

เปรตภูมิ

เปรตเป็นผีเลวชนิดหนึ่ง ในไตรภูมิบรรยายรูปร่างของเปรตไว้ว่า เปรตบางชนิดมีตัวใหญ่ ปากเท่ารูเข็ม เปรตบางชนิดก็ตัวผอมไม่มีเนื้อหนังมังสา ตาลึกกลวง และร้องไห้ตลอดเวลา แต่ก็มีเปรตบางชนิดที่ตัวงามเป็นทอง แต่ปากเป็นหมูและเหม็นมาก สรุปรวมๆแล้วก็คือเมื่อตอนเป็นคนแล้วทำบาปอย่างใดเมื่อตายไปก็จะเป็นเปรตตามที่ทำบาปไว้

เปรตนั้นมีโอกาสดีกว่าสัตว์นรก เนื่องจากสามารถออกมาขอบุญกุศลจากการทำบุญของมนุษย์ได้


อสูรกายภูมิ

อสูร แปลตรงตัวว่า ผู้ไม่ใช่สุระหรือไม่ใช่พวกเทวดาที่มีพระอินทร์เป็นหัวหน้า เดิมพวกอสูรมีเมืองอยู่บนเขาพระสุเมรุหรือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั่นเอง ภายหลังพวกเทวดาคิดอุบายมอมเหล้าพวกอสูรเมาจนไม่ได้สติ แล้วพวกเทวดาก็ช่วยกันถีบอสูรให้ตกเขาพระสุเมรุดิ่งจมลงใต้ดิน เมื่ออสูรสร่างเมาได้สติแล้วก็สำนึกตัวได้ว่า เป็นเพราะกินเหล้ามากจนเมามายจึงต้องเสียบ้านเมืองให้กับพวกเทวดาจึงเลิกกินเหล้าแล้วไปสร้างเมืองใหม่ใต้บาดาลเรียกว่า อสูรภพ

พวกอสูรกายมีบ้านเมืองเป็นของตนเอง เรียกว่าอสูรภพ อยู่ลึกใต้ดินไป 84,000 โยชน์ เป็นบ้านเมืองงดงามมากเต็มไปด้วยแผ่นทองคำ คือบ้านเมืองของอสูรนี้จะมีเหมือนสวรรค์ของเทวดา เช่น กลางสวรรค์มีต้นปาริชาติ กลางเมืองอสูรก็มีต้นแคฝอย เมืองอสูรมีเมืองใหญ่อยู่ 4 เมืองโดยมีพระยาอสูรปกครองอยู่ทุกเมือง ในบรรดาอสูรมีอยู่ตนหนึ่งมีอำนาจมากชื่อว่า ราหู

อสูรราหูมีหน้าตาหัวหูที่ใหญ่โตมากกว่าเหล่าเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ ราหูมีความเกลียดชังพระอาทิตย์และพระจันทร์มาก ในวันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเดือนงามและวันเดือนดับ ราหูจะขึ้นไปนั่งอยู่บนเขายุคนธรอันเป็นทิวเขาทิวแรกที่ล้อมเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา ราหูจะคอยให้พระอาทิตย์หรือพระจันทร์ผ่านมา เพื่อที่จะคอยอ้าปากอันกว้างใหญ่อมเอาพระจันทร์หรือพระอาทิตย์หายลบไป บางครั้งก็เอานิ้วมือบังไว้บ้าง เอาไว้ใต้คางบ้าง เหตุการณ์เหล่านี้เรียกกันว่า สุริยคราสและจันทรคราส

เรื่องราวที่เป็นเหตุทำให้ราหูมีความเกลียดชังพระอาทิตย์และพระจันทร์ก็คือ มีการกวนเกษียรสมุทรของเหล่าบรรดาเทวดาและอสูรเพื่อทำน้ำอมฤต เมื่อกวนสำเร็จแล้วเทวดาก็ไม่ยอมให้เหล่าอสูรกิน แต่ราหูปลอมเป็นเทวดาเข้าไปกินน้ำอมฤตกับเทวดาด้วย พระอาทิตย์และพระจันทร์เห็นจึงไปฟ้องพระวิษณุว่าราหูปลอมตัวเป็นเทวดามากินน้ำอมฤต พระวิษณุทรงขว้างจักรแก้วไปตัดตัวราหูออกเป็นสองท่อนแต่ราหูไม่ตายเพราะได้กินน้ำอมฤตไปแล้ว ครึ่งตัวท่อนบนจึงเป็นราหูอยู่ แต่ครึ่งตัวท่อนล่างกลายเป็นอสูรอีกตัวหนึ่งชื่อเกตุ


มนุษยภูมิ

กล่าวถึงฝูงสัตว์อันเกิดในมนุษยภูมิ มีกำเนิดดังนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นปฏิสนธิในครรภ์มารดาก็เริ่มก่อตัวเป็นกัลละ กัลละมีรูปร่างโปร่งเหลวเหมือนน้ำหรือเหมือนเมือกตม เป็นคำที่ใช้เฉพาะสิ่งที่ห่อหุ้มก่อกำเนิดเป็นคนเท่านั้น กัลละที่ก่อเป็นตัวเด็กขึ้นมานี้ตามวิทยาศาสตร์กล่าวเรียกว่า 'cell' เมื่อเวลาผ่านไปก็เกิดกลายเป็นตัวเด็กขึ้นนั่งกลางท้องแม่และเอาหลังมาชนท้องแม่ มีสายสะดือเป็นตัวส่งอาหารที่แม่กินเข้าไปให้แก่เด็ก เด็กที่นั่งอยู่กลางท้องแม่นั้นจะนั่งอยู่เวลาประมาณ 8-10 เดือน แล้วจึงคลอดจากท้องแม่

บุตรที่เกิดมาในไตรภูมิแบ่งได้เป็น 3 สิ่ง คือ

อภิชาตบุตร เป็นคนเฉลียวฉลาดมีรูปงามหรือมั่งมียศยิ่งกว่าพ่อแม่
อนุชาตบุตร มีเพียงพ่อแม่
อวชาติบุตร ด้อยกว่าพ่อแม่


คนทั้งหลายก็แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ

ผู้ที่ทำบาปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และบาปนั้นตามทันต้องถูกตัดตีนสินมือและทุกข์โศกเวทนานักหนา พวกนี้เรียกว่า "คนนรก"

ผู้หาบุญจะกระทำบ่มิได้ และเมื่อแต่ก่อนและเกิดมาเป็นคนเข็ญใจยากจนนักหนา อดอยากไม่มีกิน รูปโฉมก็ขี้เหร่ พวกนี้เรียกว่า "คนเปรต"

คนที่ไม่รู้จักบาปและบุญ ไม่มีความเมตตากรุณา ไม่มีความยำเกรงผู้ใหญ่ ไม่รู้จักปฏิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์ ไม่รักพี่รักน้อง กระทำบาปอยู่ร่ำไป พวกนี้ท่านเรียกว่า "คนเดรัจฉาน"

คนที่รู้จักบาปและบุญ รู้กลัวรู้ละอายแก่บาป รู้รักพี่รักน้อง รู้กรุณาคนยากจนเข็ญใจ และรู้จักยำเกรงพ่อแม่ผู้เฒ่าผู้แก่ครูอาจารย์ และรู้จักคุณแก้ว 3 ประการ คือ พระรัตนตรัย พวกนี้ท่านเรียกว่า "มนุษย์"


คนทั้ง 4 ชนิดนี้ พวกหนึ่งเกิดและอยู่ในชมพูทวีปมีรูปหน้ากลมดังดุมเกวียน พวกหนึ่งเกิดและอยู่ในบูรพเทห์เบื้องตะวันออกมีรูปหน้าดังเดือนเพ็ญกลมดังหน้าแว่น พวกหนึ่งเกิดและอยู่ในอุตตรกุรุทวีปฝ่ายเหนือมีรูปหน้าสี่มุมดังท่านแกล้งถากให้เป็นสี่เหลี่ยมกว้างและรีเท่ากัน และอีกพวกหนึ่งเกิดและอยู่ในอมรโคยานทวีปเบื้องตะวันตกมีรูปหน้าดังเดือนแรม 8 ค่ำ แผ่นดินทั้งสี่ตั้งอยู่รายล้อมเขาพระสุเมรุ

ชมพูทวีป ตั้งอยู่ในมหาสมุทรทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ มีสัณฐานเป็นรูปไข่ดุจดังดุมเกวียน คนมีรูปหน้ากลมดุจดังดุมเกวียน อายุของคนในชมพูทวีปนั้น หากเป็นผู้ที่เป็นคนดีมีศีลธรรมอายุก็จะยืน หากมีลักษณะตรงกันข้ามก็จะอายุสั้น แผ่นดินนี้คาดว่าจะเป็นภูมิภาคอินเดีย

อมรโคยานทวีป ตั้งอยู่ในมหาสมุทรทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ เป็นแผ่นดินกว้างได้ 9,000 โยชน์ มีสัณฐานเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งดวง มีเกาะเล็กเกาะน้อยเป็นบริวารอยู่โดยรอบ คนในทวีปนี้มีรูปหน้าดังพระจันทร์ครึ่งดวง แผ่นดินนี้คาดว่าจะเป็นภูมิภาคอาหรับแถบตะวันออกกลางรวมไปถึงยุโรป

บุรพวิเทหทวีป ตั้งอยู่ในมหาสมุทรทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ เป็นแผ่นดินกว้างได้ 7,000 โยชน์ มีสัณฐานเป็นรูปแว่นที่กลม มีเกาะล้อมรอบเป็นบริวาร 400 เกาะ มีแม่น้ำเล็กใหญ่ มีเมืองใหญ่เมืองน้อย คนในทวีปนี้หน้ากลมดังเดือนเพ็ญ มีรูปกะโหลกสั้นอาจหมายถึงมนุษย์เผ่ามองโกเลียน แผ่นดินนี้คาดว่าจะเป็นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อุตตรกุรุทวีป ตั้งอยู่ในมหาสมุทรทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ เป็นแผ่นดินกว้างได้ 8,000 โยชน์ มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีภูเขาทองล้อมรอบ มีเกาะล้อมรอบเป็นบริวาร 500 เกาะ คนในทวีปนี้หน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีรูปร่างสมประกอบไม่สูงไม่ต่ำดูงดงาม กล่าวกันว่าคนที่อยู่ทวีปนี้เป็นคนรักษาศีล จึงทำให้แผ่นดินราบเรียบ ต้นไม้ต่างก็ออกดอดงดงามส่งกลิ่นหอมขจรขจายไปทั่ว และเป็นแผ่นดินที่ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ในแผ่นดินอุตตรกุรุทวีปนี้มีต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง สูง 100 โยชน์ กว้าง 100 โยชน์ ผู้ใดปรารถนาจะได้แก้วแหวนเงินทองหรือสิ่งใดๆ ก็ให้ไปยืนนึกอยู่ใต้ต้นกัลปพฤกษ์นี้ ผู้หญิงชาวอุตตรกุรุทวีปนั้นมีความงดงามมาก ส่วนผู้ชายก็เช่นกันมีความงามดังเช่นหนุ่มอายุ 20 ปีกันทุกคน


พระยาจักรพรรดิราช

พระยาจักรพรรดิราช เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าพระราชาทั้งปวง คือเป็นพระราชาผู้มีจักรหรือล้อแห่งรถเลื่อนแล่นไปได้รอบโลกโดยปราศจากการขัดขวางหรือปราบปรามทั่วโลก พระยาจักรพรรดิราชนั้นเมื่อชาติก่อนเป็นคนแต่ทำบุญไว้มากเมื่อตายไปจึงไปเกิดในสวรรค์ ในบางครั้งก็มาเกิดเป็นพระยาที่มีอำนาจยิ่งใหญ่ได้รับพระนามว่า พระยาจักรพรรดิราช เป็นพระยาที่ทรงคุณธรรมทุกประการเป็นเจ้านายคนทั้งหลายพระองค์ทรงตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม

พระยาจักรพรรดิราชมีแก้ว 7 ประการเกิดคู่บารมีมาด้วย ได้แก่

จักรแก้ว

คือแก้วอย่างที่หนึ่ง จักรแก้วหรือจักรรัตน์จมอยู่ใต้ท้องทะเลลึกได้ 84,000 โยชน์ เมื่อเกิดจักรพรรดิราชขึ้นในโลก จักรแก้วซึ่งเป็นคู่บุญบารมีและจมอยู่ในมหาสมุทรก็จะผุดขึ้นมาจากท้องทะเลพุ่งขึ้นไปในอากาศเกิดเป็นแสงส่องอันงดงามมาน้อมนบ เมื่อพระยาผู้ครองเมืองนั้นทราบว่าพระองค์จะได้เป็นพระยาจักรพรรดิราชปราบทั่วจักรวาลเพราะมีจักรแก้วมาสู่พระองค์ พระยาจักรพรรดิราชก็จะเสด็จปราบทวีปทั้งสี่ แล้วประทานโอวาทให้ชาวทวีปเหล่านั้นประพฤติและตั้งอยู่ในคุณงามความดีแล้วจึงเสด็จกลับพระนคร

ช้างแก้ว (หัสดีรัตน์) คือแก้วอย่างที่สอง ซึ่งเป็นช้างที่มีความงดงาม ตัวเป็นสีขาว ตีนและงวงสีแดง เหาะได้รวดเร็ว

ม้าแก้ว (อัศวรัตน์) คือแก้วอย่างที่สาม เป็นม้าที่มีขนงามดังสีเมฆหมอก กีบเท้าและหน้าผากแดงดั่งน้ำครั่ง เหาะได้รวดเร็วเช่นเดียวกับช้างแก้ว

แก้วดวง (มณีรัตน์) คือแก้วอย่างที่สี่ เป็นแก้วที่มีขนาดยาวได้ 4 ศอก ใหญ่เท่าดุมเกวียนใหญ่ สองหัวแก้วมีดอกบัวทอง เมื่อมีความมืดแก้วนี้จะส่องสว่างให้เห็นทุกหนแห่งดังเช่นเวลากลางวัน แก้วนี้จะอยู่กับพระยาจักรพรรดิราชจนตราบเท่าเสด็จสวรรคาลัย จึงจะคืนไปอยู่ยอดเขาพิปูลบรรพตตามเดิม

นางแก้ว (อิตถีรัตน์) คือแก้วอย่างที่ห้า เป็นหญิงที่จะมาเป็นมเหสีคู่บารมีของพระยาจักรพรรดิราช นางแก้วนี้จะต้องเป็นหญิงที่ได้ทำบุญมาแต่ชาติก่อน และมาเกิดในแผ่นดินของพระยาจักรพรรดิราชในตระกูลกษัตริย์ นางแก้วนี้จะเป็นหญิงที่มีลักษณะงดงามไปทุกส่วน จะทำหน้าที่เป็นภรรยาที่ดีของพระยาจักรพรรดิราช

ขุนคลังแก้ว คือแก้วอย่างที่หก เกิดขึ้นเพื่อบุญแห่งพระยาจักรพรรดิราช และจะเป็นมหาเศรษฐี ขุนคลังแก้วจะสามารถกระทำได้ทุกอย่างที่พระยาจักรพรรดิราชต้องการเพราะขุนคลังแก้วมีหูทิพย์ตาทิพย์ดังเทวดาในสวรรค์ หากว่าพระยาจักรพรรดิราชต้องการทรัพย์สินสิ่งใดขุนคลังก็จะสามารถนำมาถวายได้

ลูกแก้ว คือแก้วประการสุดท้ายของพระยาจักรพรรดิราช หรือโอรสของพระยาจักรพรรดิราช มีรูปโฉมอันงดงาม กล้าหาญ เฉลียวฉลาด สามารถบริหารกิจการบ้านเมืองได้ทุกประการ บางตำราก็ว่าเป็น ขุนพลแก้ว

ฉกามาพจรภูมิ

คือดินแดนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชิกภูมิ ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกภูมิ เป็นสวรรค์ชั้นแรก สูงจากพื้นโลกได้ 46,000 โยชน์ จาตุมหาราชิกภูมิ แปลว่าแดนแห่ง 4 มหาราช สวรรค์ชั้นนี้ตั้งอยู่เหนือเทือกเขายุคนธรอันเป็นเทือกเขาแรกที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ บนเทือกเขายุคนธรทั้ง 4 ทิศ มีเมืองใหญ่ 4 เมือง เมืองที่อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุมีท้าวธตรฐเป็นเจ้าเมือง เป็นใหญ่เหนือคนธรรพ์ (เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง ครึ่งเทวดาครึ่งมนุษย์ เป็นนักดนตรีและชอบผู้หญิง) เมืองที่อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุมีท้าววิรูปักษ์เป็นเจ้าเมือง เป็นใหญ่เหนือนาค เมืองที่อยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุมีท้าววิรุฬหกเป็นเจ้าเมือง เป็นใหญ่เหนือพวกกุมภัณฑ์ (เป็นยักษ์จำพวกหนึ่ง มีท้องใหญ่และมีอัณฑะเหมือนหม้อ) เมืองที่อยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุมีท้าวไพศรพเป็นเจ้าเมือง เป็นใหญ่เหนือพวกยักษ์ ท้าวมหาราชทั้ง 4 นี้เรียกรวมๆว่า จตุโลกบาลทั้ง 4 คือผู้ดูแลรักษาโลกทั้ง 4 ทิศ

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นสวรรค์ชั้นที่ 2 สูงจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกภูมิได้ 46,000 โยชน์ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นตั้งอยู่เหนือจอมเขาพระสุเมรุ มีนครไตรตรึงส์อยู่ตรงกลางสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งเป็นเมืองของพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่แก่เทวดาทั้งหลาย เมืองพระอินทร์กว้างได้ 8,000,000 วา มีปรางค์ปราสาทแก้ว มีกำแพงแก้ว มีประตูทองประดับด้วยแก้ว 7 ประการ เมื่อเปิดประตูจะได้ยินเสียงดนตรีไพเราะ กลางนครไตรตรึงส์นี้มีไพชยนต์วิมานหรือปราสาทที่ประทับของพระอินทร์ สูง 25,600,000 วา ประดับด้วยสัตตพิพิธรัตนะหรือแก้ว 7 ประการที่งดงามมาก ไพชยนต์วิมานนั้นประกอบด้วยเชิงชั้นชาลา 100 ชาลา แต่ละชาลามีวิมานได้ 700 วิมาน วิมานหนึ่งมีนางอัปสร 7 คน นอกจากพระอินทร์ที่เป็นเจ้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว ยังมีเทวดาอีก 32 พระองค์ครองเมือง 32 เมืองอยู่รอบนครไตรตรึงส์นี้ทิศละ 8 องค์

ทางทิศตะวันออกของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีสวนขวัญชื่อ นันทอุทยาน มีต้นไม้ดอกไม้วิเศษ เป็นที่เล่นสนุกของเหล่าเทวดาทั้งหลาย ใกล้อุทยานมีสระใหญ่ชื่อ นันทาโบกขรณี และจุลนันทาโบกขรณี น้ำในสระทั้งสองนี้ใสงามดังแก้วอินทนิล ริมฝั่งสระทั้งสองมีศิลาแก้ว 2 แผ่น ชื่อ นันทาปริถิปาสาณ และจุลนันทาปาริถิปาสาณ เป็นแผ่นศิลาที่มีรัศมีรุ่งเรือง

ทางทิศใต้ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีอุทยานชื่อ ผรุสกวัน แปลว่าสวนมะปราง มีสระใหญ่ชื่อภัทราโบกขรณี และสุภัทราโบรขรณี ที่ฝั่งสระทั้งสองมีศิลาแก้ว 2 แผ่น ชื่อภัทราปริถิปาสาณ และสุภัทราปริถิปาสาณ

ทางทิศตะวันตกของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีอุทยานชื่อ จิตรลดาวัน แปลว่างามไปด้วยไม้เถา มีสระใหญ่ชื่อจิตรโบกขรณี และจุลจิตรโบรขรณี ที่ฝั่งสระทั้งสองมีศิลาแก้ว 2 แผ่น ชื่อจิตรปปาสาณ และจุลจิตรปาสาณ

ทางทิศเหนือของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีอุทยานชื่อ สักกวัน มีสระใหญ่ชื่อธรรมาโบกขรณี และสุธรรมาโบกขรณี ที่ฝั่งสระทั้งสองมีศิลาแก้ว 2 แผ่น ชื่อธรรมาปริถิปาสาณ และสุธรรมาปริถิปาสาณ

ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีอุทยานชื่อบุณฑริกวัน มีไม้ทองหลางใหญ่ชื่อ ปาริชาติกัลปพฤกษ์ ใต้ต้นกัลปพฤกษ์มีแท่นศิลาแก้วชื่อ บัณฑุกัมพล เป็นแท่นสีแดงเข้มดังดอกชบาและอ่อนดังฟูกผ้า ใกล้กันมีศาลาสุธรรมเทพสภาเป็นที่ประชุมและฟังธรรมของเทวดา

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีเจดีย์จุฬามณี เป็นเจดีย์ประดับด้วยทองและแก้ว 7 ประการ มีกำแพงทอง 4 ด้าน ประดับด้วยธงประฏาก (ธงเป็นผืนห้อยยาวลงมาอย่างธงจรเข้) ธงไชย และกลดชุมสาย (กลดทำด้วยผ้าตาดทองมีสายห้อยเป็นระย้าอยู่รอบๆ) มีเทวดาประโคมดนตรีถวายพระเจดีย์อยู่เสมอ พระอินทร์ก็เสด็จมายังเจดีย์จุฬามณีนี้บ่อยๆ

สวรรค์ชั้นยามา เป็นสวรรค์ชั้นที่ 3 อยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 84,000 โยชน์ มีพระยาสยามเทวราชครองอยู่ สวรรค์ชั้นนี้สูงกว่าวิถีการโคจรของพระอาทิตย์ แต่ก็ไม่มืดเนื่องจากรัศมีแก้วและรัศมีตัวเทวดาส่องสว่างอยู่เสมอ

สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นสวรรค์ชั้นที่ 4 อยู่สูงจากสวรรค์ชั้นยามา 168,000 โยชน์ มีพระยาสันดุสิตเทวราช พระโพธิสัตว์ซึ่งจะเสด็จลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า มีพระศรีอาริย์โพธิสัตว์ซึ่งจะมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า

สวรรค์ชั้นนิมมานรดี เป็นสวรรค์ชั้นที่ 5 อยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดุสิต 336,000 โยชน์

สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี เป็นสวรรค์ชั้นที่ 6 อยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดี 672,000 โยชน์ มีพระยาปรนิมมิตวสวัตตีครองอยู่

พรหมโลก

อยู่เหนือสวรรค์ชั้นสูงสุด มี 2 ประเภท คือ รูปพรหม (รูปาวจร) มี 16 ชั้น และอรูปพรหม (อรูปาวจร) มี 4 ชั้น



#133744 เขาพระสุเมรุ???

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 13 November 2008 - 09:39 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

คุณหัดฝันคะ เรื่องเขาพระสุเมรุ ไม่มีในพระไตรปิฎกนะคะ

เท่าที่ค้นคว้ามา เป็นการเอาความเชื่อในเรื่องของ บาป บุญ คุณ โทษ นรก สวรรค์

มาเชื่อมกันกับความคิดของ สายพราหมณ์ กับ ฮินดู ในเรื่องของไตรภูมิ เพื่อให้เห็นภาพน่ะค่ะ

nerd_smile.gif



#133614 เขาพระสุเมรุ???

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 12 November 2008 - 12:46 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

เขาพระสุเมรุ
--------------------------------------------------------------------------------


ตามคติพราหมณ์นั้น เขาพระสุเมรุนี้ เป็นภูเขาที่เป็นหลักของโลก เป็นภูเขาที่ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล ตามตำนานกล่าวว่า พระอิศวรทรง สร้างน้ำด้วยพระเสโท (เหงื่อ) สร้างแผ่นดินด้วยเมโท (ไคล) ของพระองค์ (บางตำนานว่าทรงสำรอกพระมังสะในพระอุระออกมาบันดาลให้เป็นแผ่นดิน)

พระอิศวรมีพระประสงค์จะประดิษฐานภูเขาใหญ่ให้เป็นหลักของโลก จึงทรงเอาพระจุฑามณี (ปิ่นปักผม) ปักลงที่ใจกลางของพื้นภพ บันดาลให้เป็นเขาพระสุเมรุ แล้วเอา พระสังวาลมาสร้างเป็นทิวเขาสวมรอยเขาพระสุเมรุอีก 7 ทิว เรียกว่า สัตบริภัณฑคีรีก็เพื่อจะให้เป็นที่อาศัยของทวยเทพทั้งหลาย

เขาพระสุเมรุนี้ สูงจากพื้นน้ำ 84,000 โยชน์ ใต้เขาพระสุเมรุมีเขา 3 ลูกรองรับเป็นฐานเรียกว่า ตรีกูฏ (สามเส้าหรือสามยอด) มีภูเขาล้อมรอบ 7 ทิว เรียกว่า สัณบริภัณฑคีรี คือ

1. ทิวเขายุคนธร
2. ทิวเขากรวิก
3. ทิวเขาอิสินธร
4. ทิวเขาสุทัศ
5. ทิวเขาเนมินธร
6. ทิวเขาวินตก
7. ทิวเขาอัสกัณ เป็นที่สถิตของเทวดาจตุมหาราชิก และบริวาร

ภายในจักรวาลมีภูเขาชื่อ หิมวา (หิมาลัย) ของจักรวาลทั้งหมด เป็นเทือกเขายาวติดกันเป็นพืด เรียกว่าเขาจักรวาล

ทุกๆ จักรวาลมีพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวดึงษ์ อุสุรพิภพ อเวจีนรก และมหาทวีปทั้ง 4 คือ ชมพูทวีป อมรโคยาน ปุพพวิเทห และ อุตรกุระ

มหาทวีปทั้ง 4 มีทวีปน้อยๆ เป็นบริวารอีก 2000

ในทิศทั้ง 4 ของจักรวาล มีมหาสมุทรทั้ง 4 อันมีน้ำเต็มเป็นนิจ คือ

ทิศเหนือมีมหาสมุทร ชื่อ - ปิตสาคร มีน้ำสีเหลือง
ทิศตะวันตก ชื่อ - ผลิกสาคร มีน้ำใสสะอาดเหมือนแก้วผลึก
ทิศตะวันออกชื่อ - ขีรสาคร เกษียรสมุทร น้ำสีขาว และ
ทิศใต้ชื่อ - นิลสาคร มีน้ำสีเขียว

อุตรกุรุทวีป อยู่เหนือของภูเขาพระสุเมรุ มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม เนื้อที่กว้าง 8,000 โยชน์ เป็นที่ราบ มีต้นไม้นานาชนิด คนรูปร่างงาม ในแผ่นดินอุตรกุรุ มีต้นกัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง ถ้าอยากได้อะไร ก็ไปนึกเอาที่ต้นกัลปพฤกษ์

ชมพูทวีป คืออินเดีย อยุ่ตอนใต้เขาพระสุเมรุ รูปเหมือนเกวียน มีต้นไม้หว้ามาก ในทวีปนี้ ด้านตะวันออกมีต้นชุมพู่ (บ้างก็เรียกไม้หว้า) สูง 1000 โยชน์ กว้างโดยรอบ 1000 โยชน์ น้ำของชมพู่ไหลลงมาเป็นแม่น้ำสู่ทิศตะวันตกเป็นน้ำกายสิทธิ์ ถูกสิ่งใดสิ่งนั้นกลายเป็นสีทอง มีนามว่า พังครนที เป็นน้ำไหลลงมาเป็นแม่น้ำชมพู ประชาชนใช้น้ำนี้กินไม่เกิดดรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีกลิ่นตัว ไม่รุ้สึกเหนื่อย และไม่ชรา น้ำลาดดินสองข้างฝั่ง ได้รับโอชะดูดน้ำชมพู่ไว้ต้องลมโชยงวดเป็นทอง เรียกว่า ทองชมพูนุช ซึ่งพวกนักสิทธิ์เอาไปทำเป็นเครื่องประดับ

ปุพพวิเทหะ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเขาพระสุเมรุ มีรุกเหมือนพระจันทร์เต็มดวง เนื้อที่กว้าง 7000 โยชน์ มีเกาะ 400 เกาะ คนหน้ากลมเหมือนดวงจันทร์

อมรโคยาน ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเขาพระสุเมรุ มีรูปเหมือนพระจันทร์ครึ่งซีก เป็นแผ่นดินกว้าง 9000 โยชน์ ประกอบด้วยเกาะ และแม่น้ำใหญ่น้อยมีไม้กระทุ่มประจำทวีปนี้ คนหน้าเหมือนดั่งเดือนแรม จมูกโด่ง คางแหลม

เหนือเขาพระสุเมรุนี้ มีไพชยนต์ปราสาทตั้งอยู่กลางสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ตรัยตรึงศ์) อันเป็นที่พระอินทร์สถิตอยู่ และสวรรค์ดาวดึงษ์นี้เป็นสวรรค์ชั้นหนึ่ง ของ ฉกามาพจร (สวรรค์ที่เกี่ยวข้องกับความรัก) สวรรค์ ชั้นนี้ มีดังนี้

1. จตุมหาราชิก เป็นที่อยู่ของท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 มี"ท้าวกุเวร" หรือบางทีเรียกว่า ท้าวเวสสุวรรณ รักษาทางทิศอุดร มีพวกยักษ์เป็นบริวาร "ท้าวธตรฐ" รักษา ทางทิศบูรพา มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร "ท้าววิรุฬหก" รักษาทางทิศทักษิณ มีพวกุมภัณฑ์ (อสูรจำพวกหนึ่ง) เป็นบริวาร "ท้าววิรุฬปักษ์" รักษาทางทิศประจิม มีฝูงนาคเป็นบริวาร

2. ดาวดึงส์ มีวิมานอยู่บนเขาพระสุเมรุ มีพระอินทร์เป็นใหญ่

3. ยามะ มีท้าวสยามเทวราชปกครอง

4. ดุสิต มีท้าวสันนุสิต เป็นใหญ่ สวรรค์ชั้นนี้กล่าวกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ คือ เป็นที่เกิดแห่งพระโพธิสัตว์ในชาติที่กำลังบำเพ็ญบารมี และยังเป็นสวรรค์ชั้นที่พุทธบิดามารดา และผู้มีบุญวาสนาอื่นๆ อีกมาก เคยถือกำเนิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นนี้ ในวรรณคดีไทยกล่าวถึงสวรรค์ชั้นนี้มาก

5. นิมมานรดี มีท้าวสุนิมมิตปกครอง เทวดาผู้สถิตในสวรรค์ชั้นนี้มีบุญญานุภาพมาก มีความประสงค์สิ่งใด ก็เนรมิตได้สมความปราถนา

6. ปรนิมมิตวสวัสดี มีท้าวปรินิมมิตวสวัสดี ปกครอง สวรรค์ชั้นนี้มีความเป็นอยู่สุขสบายกว่าทุกชั้น แม้จะเนรมิตอะไร ก็มีเทวดาชั้นที่ 5 เนรมิตให้ ป่าหิมพานต์มีสระอยู่ 7 สระ คือ สระอโนดาต มันทากินี กุณาล สหัปปดาต กัณมุณฑ์ รดาการ ฉัททันต์ สระที่รู้จักกันดีคือ สระอโนดาต มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก คือ - สุทัศนกูฏ ซึ่งล้วนไปด้วยทอง - เขาจิตรกูฏ ซึ่งล้วนไปด้วยแก้ว -
เขากาลกูฏ ล้วนแล้วด้วยนิลมณี - เขาไกรลาส ล้วนแล้วด้วยเงิน ที่สถิตของพระอิศวร และ - คันธมาทกูฏ ล้วนแล้วด้วยแก้วมณีและพันธ์ไม้หอมต่างๆ บางชนิดดอกหอม บางชนิดเปลือกหอม บางชนิดยางหมอ บางชนิดรากหอม เขานี้ ถ้าเดือนมืดจะแลเห็นรุ่งเรือง เหมือนถ่านเพลิงอันลุกโชน ถ้าเดือนหงายก็เรืองเหมือนไฟไหม้ป่า ส่วนที่เชิงเขามีผาชะโงก เรียกว่า นันทมูล เป็นที่ซึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายโปรดประทับ มีถ้ำคูหา 3 แห่ง คือ สุวรรณคูหา มณีคูหา และรัชฏคูหา

น้ำในสระอโนดาตใสสะอาด และเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ สระนี้มีท่าน้ำอยู่ 4 ท่า เป็นที่อาบน้ำของเทวดา เทพธิดาท่าหนึ่ง พระปัจจเจกพุทธเจ้าท่าหนึ่ง ฤาษีวิทยาธรท่าหนึ่ง พระอรหันต์ท่าหนึ่ง

น้ำในสระอโนดาตนี้ไหลออกตามซอกภูเขาที่อยู่รอบ 4 ทิศ ภูเขานี้มีรูปปากช่องเป็นหน้าสิงห็ หน้าช้าง หน้าม้า และหน้าวัว น้ำที่แยกออกไปทางเขาหน้าสิงห์ ผ่านไปทางแดนตะวันออกของเขาหิมพานต์ อันเป็นที่อยู่ของราชสีห์นานาชนิด ซึ่งกล่าวว่ามี 4 ชนิด คือ - ติณราชสีห์ กินหญ้าเป็นอาหาร รูปร่างคล้ายวัว ขนสีหม่น หรือมัว - กาฬราชสีห์ มีขนสีดำ รูปร่างคล้ายวัว กินเนื้อเป็นอาหาร - บัณฑูสุรมฤคราชสีห์ มีขนสีเหลือง เลื่อมงาม รูปร่างเหมือนสองชนิดแรก ที่ปลายเท้าและปากเป็นสีแดงตัดกันที่กลางหลัง ที่สะโพก โคนขามีขนรอบเวียน ทักษิณาวัฏ (เวียนขวา) มีขนปกคลุมคอสีแดง เสพสัตว์เป็นอาหาร

ส่วนน้ำในสระที่ไหลออกจากเขาวัว ก็กลายเป็นแม่น้ำสายต่างๆ อันแยกออกเป็น 5 สาย เรียกว่า ปัญจมหานที คือ คงคา ยมนา อจิรวดี สรภู และมหิ ส่วนที่ไหล ออกจากหน้าม้า น้ำเป็นสีเขียว ผ่านเป็นแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของม้าสินธพ ส่วนที่ผ่านด้านหน้าเหนือที่ไหลออกจากเขาหน้าช้าง น้ำเป็นสีเหลือง ผ่านแดนอันเป็นที่อาศัยของช้างตระกูลต่างๆ 10 ตระกูล คือ
1. กาฬวกหัตถี สีดำ เกิดที่เขากาฬคีรี
2. คังไคยหัตถี สีน้ำ เกิดใกล้แม่น้ำคงคา
3. บัณฑรหัตถี สีเหลือง หรือขาวสะอาด
4. ตามพหัตถี สีทองแดง
5. ปิงคลหัตถี สีจำปาหรือน้ำตาล
6. คันธหัตถี ช้างตระกูลนี้กลิ่นหอม สีไม้กฤษณา
7. มังคลหัตถี กิริยาท่าเดินงดงาม สีนิลอัญชัญ
8. เหมหัตถี สีทอง
9. อุโปสถหัตถี สีทอง
10. ฉัททันตหัตถี สีขาวบริสุทธิ์ มีปากและเท้าแดง



(แหล่งที่มา - ประวัติวรรณคดี : รศ. ประจักษ์ ประภาพิทยากร)



#133107 พูดส่อเสียด

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 10 November 2008 - 08:46 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

ถ้ามั่นใจว่า สิ่งที่ตัวเองทำอยู่นี่ ดีที่สุดแล้ว ถูกต้องแล้ว

ก็ไม่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจไปหรอกค่ะ ตั้งหน้าตั้งตาทำในสิ่งที่มุ่งมั่นและตั้งใจต่อไป

คนที่รู้ดีที่สุดคือ ตัวของเรา และ ใจของเราเอง

คำพูดของคนก็แค่ลมปาก ถ้าเค้าพูดในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง ไม่น่าฟัง

ทำหูของเราให้เป็นหูกระทะ อย่างที่คุณยายบอกไงคะ
nerd_smile.gif



#132977 อยากรู้ครับ เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 09 November 2008 - 11:37 AM ใน เว็บบอร์ด DMC

เห็นด้วยกับคุณสิริปโภ ค่ะ nerd_smile.gif

เรื่องที่คุณเคยเข้าวัด ตั้งกระทู้ถามในครั้งนี้ เคยมีการคุยกันมาแล้วครั้งหนึ่ง ใน บอร์ดของ DMC

http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=1833

แต่ก็นานมากแล้ว koonpatt เลยคัดลอกมาให้อ่านกันอีกครั้ง

และ เรื่องของพระอนาคตวงศ์นี้ เท่าที่ค้นคว้ามา เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีปรากฎอยู่ใน พระไตรปิฎก

แต่ได้ถูกรจนาขึ้นภายหลัง โดยคัดลอกและแปลจากคัมภีร์โบราณที่ถูกค้นพบ

ดังนั้น สิ่งที่เราไม่ควรที่จะลืมก็คือ หลักกาลามสูตร

ซึ่งอยากให้อ่านกันมากๆเลยนะคะ happy.gif



ความดีเด่นของกาลามสูตร

กาลามสูตร เป็นพระสูตรสำคัญสูตรหนึ่งในพระพุทธศาสนา ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ จากนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน แท้ที่จริง ในพระไตรปิฎก ชื่อกาลามสูตรไม่ได้มีปรากฏอยู่ หากมีแต่ชื่อว่า เกสปุตตสูตร ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้แก่ชาวกาลามะ ซึ่งอยู่ในเกสปุตตนิคม เพราะฉะนั้น จึงตั้งชื่อพระสูตรนี้ตามชื่อของนิคมนี้ว่า เกสปุตตสูตร แต่คนที่อยู่ในนิคมหรือ ตำบลนี้เป็นเชื้อสาย หรือมีสกุลเดียวกัน คือ สกุลกาลามะ เขาจึงเรียกประชาชนเหล่านี้ว่ากาลามชน ซึ่งมีโคตรอันเดียวกัน สกุลเดียวกัน คือ กาลามโคตร เพราะฉะนั้นเขาจึงเรียกพระสูตรนี้ว่า เกสปุตตสูตร แต่ชาวโลกทั่วไป มักจะเรียกพระสูตรนี้ว่า กาลามสูตร เพราะรู้สึกว่าจะเรียกได้ง่ายกว่า

พระสูตรนี้เป็นพระสูตรที่ไม่ยาว แต่มีใจความลึกซึ้งน่าคิดประกอบด้วยหตุผล ซึ่งผู้นับถือ พระพุทธศาสนาหรือผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาควรจะได้ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการใช้เหตุผลตามหลัก วิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับกฎทางวิทยาศาสตร์

พระสูตรนี้มีความเป็นมาโดยย่อว่า ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยัง
เกสปุตตนิคม อันเป็นที่ อยู่ของพวกชาวกาลามโคตรหรือกาลามชน ชาวกาลามชนในเกสปุตตนิคมทราบข่าวมาก่อนแล้วว่า พระพุทธเจ้ามีชื่อเสียงโด่งดังอย่างไรก่อนที่พระองค์จะได้เสด็จมายังหมู่บ้านของพวกเขา จึงต่างก็พากันไปเฝ้าเป็น จำนวนมาก เพราะชื่อเสียงของพระพุทธเจ้าดังก้องไปว่า

อิติปิ โส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทธโธ" เป็นต้น ดังที่เราสวดสรรเสริญกันในบทสวดมนต์ ซึ่งปรากฏมากในพระสูตรต่าง ๆว่า"แม้เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์, เป็นผู้ตรัสรู้ เองโดยชอบ, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ, เสด็จไปดีแ ล้ว,เป็นผู้รู้แจ้งโลก,เป็นผู้ฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า, เป็นผู้รู้ เป็นผู้เบิกบานเป็นผู้จำแนกธรรม เป็นต้น"

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับที่เกสปุตตนิคมนั้น มีประชาชนมาเฝ้ากันมากคนอินเดียมีเรื่อง แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นนักบวชนับถือลัทธินิกายใด หรือว่าพวกเขาจะไม่นับถือศาสนาใดเลยก็ตามแต่พวกเขา ก็อยากจะฟังความรู้ความเข้าใจ และต้องการปัญญา

ดังนั้น พวกที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในครั้งนี้ เป็นพวกที่ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาปก็มี พวกที่ไม่นับถือ พุทธศาสนาก็มีพวกที่สงสัยอยู่ก็มี พวกที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งอยู่แล้วก็มี เพราะฉะนั้น ประชาชนที่ไปเฝ้า พระพุทธเจ้าในสมัยนั้นจึงมีลักษณะอาการที่ไปเฝ้าแตกต่างกัน ซึ่งอาการที่ไปเฝ้าของประชาชนเหล่านั้น มีลักษณะ ดังนี้

บางพวกเมื่อได้ทราบเสร็จแล้วก็นั่งนิ่ง ไม่พูดจาอะไร

บางพวกเป็นเพียงแต่แสดงความยินดีแล้วก็นั่งนิ่งอยู่

บางพวกกล่าวชมเชยพระพุทธเจ้าแล้วก็นั่งนิ่งอยู่

บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตนว่า ตนเองชื่ออะไร โคตรอะไรแล้วก็นั่งนิ่งอยู่

บางพวกก็ไม่กล่าวอะไร ไม่แสดงอาการอะไร ได้แต่นั่งเฉย ๆ

บางพวกเป็นเพียงแต่ประนมมือไหว้ แล้วก็นั่งเฉยอยู่

เพราะฉะนั้น ประชาชนที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะมีวรรณะใด ก็สามารถเข้าเฝ้า ได้อย่างใกล้ชิด เพราะพระพุทธเจ้ามิได้ทรงถือชั้นวรรณะ ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงเป็นโอรสกษัตริย์ประสูติอยู่ใน วรรณะกษัตริย์ แต่พระองค์ถือว่าคนไม่ได้ประเสริฐเพราะสกุลกำเนิดแต่จะประเสริฐได้ก็เพราะการกระทำของ ตนเองดังนั้นจึงมีประชาชนไปเฝ้าพระองค์เป็นจำนวนมากและเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด

ประชาชนที่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้านั้น ได้กราบทูลขึ้นว่า

"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเกสปุตตนิคมนี้ มีสมณพราหมณ์คือนักบวชในศาสนาต่าง ๆ เดินทางเข้ามาเผยแพร่คำสอนศาสนาของตนอยู่เสมอๆและสมณพราหมณ์ นักสอนศาสนาเหล่านั้นได้กล่าวยกย่อง คำสอนแห่งศาสนาของตน แต่ได้ติเตียนดูหมิ่น เหยียดหยาม คัดค้านศาสนาของคนอื่นแล้วสมณพราหมณ์นักสอน ศาสนาเหล่านี้ก็จากเกสปุตตนิคมไป

ต่อมาไม่นาน ก็มีสมณพราหมณ์ นักสอนศาสนาพวกอื่นได้เข้ามายังนิคมนี้ แล้วก็กล่าวยกย่อง เชิดชูศาสนาของตนแต่ดูหมิ่น เหยียดหยาม ติเตียน คัดค้านศาสนาของคนอื่น

เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกข้าพระองค์ก็มีความสงสัยเกิดขึ้นว่าบรรดาศาสดาหรือนักสอนศาสนาเหล่านั้น ใครเป็นคนพูดจริงใครเป็นคนพูดเท็จ ใครถูกใครผิดกันแน่"

พระพุทธเจ้าทรงแสดงความเห็นใจต่อประชาชนเหล่านั้นว่า"ชาวกาลามะทั้งหลาย น่าเห็นใจที่ ท่านทั้งหลายตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ พวกท่านทั้งหลายควรสงสัยในเรื่องที่ควรสงสัยเพราะท่านทั้งหลายตกอยู่ใน ฐานะที่ต้องสงสัย ตัดสินใจไม่ได้ แต่เราเองจะบอกให้ ชาวกาลามะทั้งหลาย"

สิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการ

พระพุทธเจ้าแทนที่จะตรัสเหมือนกับสมณพราหมณ์เหล่าอื่นที่เคยพูดมาแล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงสรรเสริญคำสอนของพระองค์ และก็ไม่ทรงติเตียนคำสอนศาสนาของผู้อื่นแต่พระองค์กลับตรัสอีกแบบหนึ่ง การพูดแบบนี้เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คือพระองค์ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการโดยตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงฟัง

มา อนุสฺสวเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
มา ปรมฺปราย อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
มา อิติกิราย อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
มา ตกฺกเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
มา นยเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
มา ภพฺพรูปตา อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
มา สมโณ โน ครูติ อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการ
นี้


ข้อความประเภทนี้ตรงกับกฎทางวิทยาศาสตร์ เพราะนักวิทยาศาสตร์จะไม่เชื่อถ้าเขายังไม่ได้ ทดสอบหรือพิจารณาเหตุผลให้ปรากฏก่อน และข้อความเช่นนี้ไปตรงกันได้อย่างไรในข้อที่ไม่ให้เชื่อเพราะเหตุ เหล่านี้ ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราควรจะเชื่อแบบใดเมื่อปฏิเสธไปหมดเลยทั้ง 10 ข้อ และเราควรจะเชื่ออะไรได้บ้าง


พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของเหตุและผล ไม่โจมตีศาสนา ไม่โจมตีผู้ใดชี้แต่เหตุและผลที่ยกขึ้นมา อธิบายเท่านั้น

พระพุทธวจนะทั้ง 10 ประการข้างต้นนั้น ท่านทั้งหลายฟังดูแล้วอาจคิดว่า ถ้าใครถือตามแบบ นี้ทั้งหมดก็มองดูว่าน่าจะเป็นมิจฉาทิฎฐิ คือ ไม่เชื่ออะไรเลย แม้แต่ครูของตนเอง แม้แต่พระไตรปิฎกก็ไม่ให้เชื่อ พิจารณาดูแล้ว น่าจะเป็นมิจฉาทิฎฐิ
แต่ก็ไม่ใช่

คำว่า "มา" อันเป็นคำบาลีในพระสูตรนี้ เป็นการปฏิเสธมีความหมายเท่ากับNoหรือนะคืออย่า แต่โบราณาจารย์กล่าวว่า ถ้าแปลว่า อย่าเชื่อ เป็นการแปลที่ค่อนข้างจะแข็งไปควรแปลว่า"อย่าเพิ่งเชื่อ" คือให้ ฟังไว้ก่อน สำนวนนี้ ได้แก่สำนวนแปลของสมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส นักปราชญ์ รูปหนึ่งในยุครัตนโกสินทร์ แต่บางอาจารย์ให้แปลว่า"อย่าเพิ่งปลงในเชื่อ" แต่บางท่านแปลตามศัพท์ว่า "อย่าเชื่อ" ดังนั้น การแปลในปัจจุบันนี้จึงมีอยู่ 3 แบบคือ

1. อย่าเชื่อ
2. อย่าเพิ่งเชื่อ
3. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ

การแปลว่า "อย่าเชื่อ" นั้น เป็นการแปลที่ค่อนข้างจะแข็งเป็นการไม่ค่อยยอมกัน ส่วนการ แปลอีก 2 อย่างนั้น คือ "อย่าเพิ่งเชื่อ" และ "อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ" นั้นก็มีความหมายเหมือนกันแต่คำว่า "อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ" นั้นเป็นสำนวนแปลที่ค่อนข้างยาว ดังนั้น คำว่า "อย่าเพิ่งเชื่อ" เป็นสำนวนที่สั้นกว่า ง่ายกว่าและเข้าใจได้ดีกว่า ฉะนั้น การที่จะแปลให้ฟังง่ายและเหมาะสมก็ต้องแปลว่า "อย่าเพิ่งเชื่อ"

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ใครจะพูดก็พูดไปเราก็ฟังไป อย่าไปว่าหรือค้านเขา แต่อย่าเพิ่งเชื่อ ต้องพิจารณาดูก่อนว่าถูกหรือผิด เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ เป็นบุญหรือเป็นบาป เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์

นอกจากนั้น พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสอีกมากในพระสูตรนี้แต่ในที่นี้จะขออธิบายความหมายของ ข้อแนะนำทั้ง 10 ประการเสียก่อน เพราะเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากของพระสูตรนี้ และได้รับการแปลออกเป็น ภาษาต่างๆ หลายภาษา เพราะเขาถือว่าเป็นกฏทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่คาดคิดเลยว่าจะมีกล่าวไว้ในครั้งสมัยเมื่อ ประมาณ 2,600ปีมาแล้ว ที่ใช้ความคิดแบบอิสระอย่างนี้ เป็นความคิดที่มีเหตุผล 10 ประการ คือ


1. อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา บางคนเมื่อฟังตามกันมาก็เกิดความเชื่อ เมื่อคนนั้นว่าอย่างนั้น คนนี้ว่าอย่างนี้ ก็เชื่อตามกันไป โดยบอกว่า "เขาว่า"ปัจจุบันนี้การเชื่อตามเขาว่านี้ ถ้า ไปเป็นพยานในศาลจะไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะการที่ "เขาว่า" นั้น มันไม่แน่การฟังตามกันมาก็เชื่อตามกันมา ฉะนั้นสุภาษิตปักษ์ใต้จึงมีอยู่บทหนึ่งว่า


"กาเช็ดปาก คนว่ากาเจ็ดปาก ปากคนมากกว่าปากกาเป็นไหนๆ"


สุภาษิตนี้หมายความว่า ชายคนหนึ่งเห็นกากินเนื้อแล้วเช็ดปากที่กิ่งไม้ ก็มาเล่าให้เพื่อนฟังว่า "ฉันเห็นกาเช็ดปาก"เพื่อนคนนั้นฟังไม่ชัด กลายเป็นว่า"ฉันเห็นกาเจ็ดปาก" ก็ไปเล่าต่อว่า คนโน้นเล่าให้ฟัง เมื่อวันก่อนว่าเขาเห็นกาเจ็ดปาก ก็เล่าต่อกันมาเรื่อย ๆ ว่า กามีเจ็ดปาก นี่เป็นการเชื่อตามคำเขาว่า ซึ่งบางคนก็ฟัง มาไม่ชัดเพราะฉะนั้น ก็อาจฟังผิดได้ การที่เขาว่าจึงอาจจะถูกหรือผิดได้ เช่น บัตรสนเท่ห์
เขาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็ว่าตามที่เขาว่านั้น ซึ่งมีจริงบ้างไม่จริงบ้าง ปนกันอยู่


เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งเชื่อตามที่เขาว่า แต่ให้ฟังไว้ก่อนชาวพุทธจะไม่ปฏิเสธการที่เขาว่า แต่จะฟังไว้ ก่อน โดยยังไม่เชื่อทีเดียว บางทีก็ฟังตามกันมาตั้งแต่โบราณ เช่น สมมุติว่าฝนแล้งก็ต้องแห่นางแมวแล้วฝนจะตก เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าแห่
นางแมวแล้วฝนจะตก บ้างก็ว่าเป็นเรื่องที่เขาเล่ากันมาอย่างนี้ คือเชื่อตามเขาว่า ซึ่งก็ อาจจะไม่เป็นจริงตามเขาว่าก็ได้ ดังนั้น เราต้องเชื่อตามเหตุผล อย่าเชื่อตามเขาว่า


2. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดว่าเป็นของเก่า เล่าสืบๆ กันมา บางคนบอกว่าเป็นของเก่า เป็นความเชื่อ ตั้งแต่สมัยโบราณเราควรจะเชื่อ เพราะเป็นของเก่า ถ้าไม่เชื่อ เขาก็หาว่าจะทำลายของเก่า บางคนเห็นผีพุ่งไต้ ก็บอกว่านั่นแหละวิญญาณจะลงมาเกิด อย่าไปทัก เพราะเป็นความเชื่อกันมาตั้งแต่โบราณ เมื่อมีแผ่นดินไหว คนโบราณจะพูดว่าปลาอานนท์พลิกตัว หรือเวลามีฟ้าผ่าก็บอกว่ารามสูรขว้างขวาน ฟ้าแลบก็คือนางเมขลา ล่อแก้วเข้าตารามสูร รามสูรโกรธ จึงขว้างขวานลงมาเป็นฟ้าผ่า


ความเชื่อเช่นดังกล่าวมานี้เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักของเหตุผล ดังนั้นความเชื่อของคนโบราณนั้นไม่ใช่ว่าจะถูกหรือดีเสมอไป แต่เป็นความเชื่อปรัมปรา เราจึงไม่ควรจะเชื่อ ถ้ายังไม่แน่ใจถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องนำสืบๆกันมา


3. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นข่าวเล่าลือ หรือตื่นข่าว เรื่องข่าวนั้นมีมาก ไม่ว่าจะเป็นข่าวทันโลก ข่าวช่วงเช้า ข่าวช่วงเย็น ข่าวเขาว่า ซึ่งมีอยู่มากมาย ถ้าเราไปเชื่อตามข่าว เราก็อาจจะเป็นคนโง่ได้ เช่น บางคน อ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ก็คิดว่าเป็นเรื่องจริงแน่แล้ว แต่ข่าวจากหนังสือพิมพ์นั้น บางทีลงข่าวตรงกันข้าม จากข่าวจริง ๆ เลยก็มี หรือมีจริงอยู่บ้างเพียงบางส่วนก็มี เราจึงควรพิจารณาให้ดีเสียก่อน เพราะข่าวบางข่าวนั้น หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นต้องมาลงขอขมากันภายหลังที่ลงข่าวผิด ๆ ไปแล้วก็มี ดังนั้น ข่าวลือจึงมีมาก เช่น ลือว่าจะมีการ##### ลือว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งบางทีก็จริง บางทีก็ไม่จริง หรือลือกันว่าคนเกิดวันนั้นวันนี้ จะตายในปีหน้า ต้องรีบทำบุญเสีย ก็เลยพากันเฮมาทำบุญกัน นี้ก็เพราะฟังเขาลือกันมา บางคนก็ลือกันแบบ กระต่ายตื่นตูมเป็นข่าวเขาว่าไม่ใช่ข่าวเราว่า เพราะฉะนั้นก็อย่าเพิ่งเชื่อ


4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา ถ้าใครเอาตำรามาอ้างให้เราฟัง เราก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะตำราก็อาจจะผิดได้บางคนอาจจะค้านว่า "ที่เราพูดถึงกาลามสูตรนี้ ไม่ใช่ตำราหรอกหรือ" จริงอยู่ เราก็อ้าง กาลามสูตรซึ่งเป็นตำราเหมือนกัน แต่ท่านว่า อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะอาจจะผิดได้ ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเอาตำราอะไรก็ตามมาอ้างเราก็ต้องอย่าเพิ่งเชื่อ พระพุทธเจ้าตรัสว่าให้พิจารณาดูก่อน บางคนกล่าวยืนยันว่าตนเอง อ้างตามตำรา ซึ่งแท้จริงแล้วเขาไม่ได้อ่านตำรานั้นเลย แต่ว่าเอามาอ้างขึ้นเอง บางคนก็ต้องการ โดยการอ้างตำรา ดังมีเรื่องเล่ากันมาว่า

"อุบาสก 2 คนเถียงกัน ระหว่างสัตว์น้ำกับสัตว์บกอย่างไหนมีมากกว่ากัน

อุบาสกคนหนึ่งบอกว่า สัตว์บกมีมากกว่า เพราะบนบกนั้นมีสัตว์นานาชนิด เช่น มีแมลงต่างๆ มีมดต่างๆ มากมาย

ส่วนอีกคนหนึ่งค้านว่า สัตว์น้ำมีมากมายหลายชนิดนับไม่ถ้วน แม้แต่กุ้ง ปลา ก็นับไม่ถ้วนเสียแล้ว สัตว์น้ำต้องมากกว่าสัตว์บกแน่นอน

ทั้งสองคนจึงไม่อาจตกลงกันได้

อุบาสกคนหนึ่งหัวไวได้ยกบาลีมาอ้างว่า "พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สัตว์น้ำมีมากกว่าสัตว์บก ดังพระบาลีที่ว่านัตถิ เม สรณัง อัญญัง แปลว่า สัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก"

อุบาสกอีกคนหนึ่งไม่กล้าค้านเพราะกลัวจะตกนรก

แท้ที่จริง คำว่า "นัตถิ เม สรณัง อัญญัง" นั้น ไม่ได้แปลว่า "สัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก" แต่แปลว่า "ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี" ผู้อ้างคิดแปลเอาเองเพื่อให้คำพูดของตนมีหลักฐานการอ้างตำรา อย่างนี้จึงไม่ถูกต้องถ้าใครหลงเชื่อก็อาจถูกหลอกเอาได้

นอกจากนี้ ตำราบางอย่างก็อ้างกันมาผิด พวกที่ไม่รู้ภาษาบาลี เมื่อเห็นเขาอ้างก็คิดว่าจริง เช่น นักหนังสือพิมพ์ บางคนกล่าวว่า "ทุกขโต ทุกขถานัง ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตน" ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นบาลีที่ไม่ถูกต้อง เป็น ประโยคที่ไม่มีประธาน ไม่มีกริยา เป็นภาลีที่แต่งผิด ซึ่งอาจารย์บางท่านเรียกบาลีเช่นนี้ว่า "เป็นบาลีริมโขง" แต่คนกลับคิดว่าเป็นคำพูดที่ซึ้งดี เพราะฟังดูเข้าที่ดี นี้ก็เป็นการอ้างตำราที่ผิด ถึงแม้ว่าตำรานั้นจะเขียนถูกแต่ถ้าหาก ว่าไม่มีเหตุผล เราก็ไม่ควรเชื่อ

ปัจจุบันนี้ มีการโฆษณาหนังสือยอดกัณฑ์พระไตรปิฎกว่า ถ้าถ้าใครสวดเป็นประจำก็จะร่ำรวยเป็น เศรษฐี ได้ทรัพย์สมบัติและจะปลอดภัย ปลอดโรคต่าง คนก็พากันสวดและพิมพ์แจกกันมาก ซึ่งข้าพเจ้าเองก็ไม่ ทราบว่าจะทำอย่างไรเมื่อมีผู้นำหนังสือนี้มาถวายให้ จะเผาทิ้งก็ติดที่มีคำบาลีอยู่ด้วย หนังสือนี้ได้พิมพ์ต่อเนื่องกัน มาผิด ๆ และไม่มีพระสงฆ์รูปใดสวดยอดกัณฑ์พระไตรปิฎก นอกจากในหมู่ฆราวาสบางคนที่ไม่เข้าใจพระพุทธศาสนา

ดังนั้นใครอ้างบาลี เราก็จงอย่าเพิ่งเชื่อต้องพิจารณาดูให้ดีว่ามีอะไรถูกหรือผิดบ้างเสียก่อน

5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง ท่านใช้คำว่า ตักกเหตุ คือ การตรึก หรือการคิด ตรรกวิทยาเป็นวิชา แสดงเรื่องความคิดเห็น อ้างหาเหตุผล แต่พระพุทธเจ้าทรงกล้าค้านตรรกวิทยาได้ว่า การอ้างหาเหตุผลโดยการ คาดคะเนนั้นอาจจะผิดก็ได้การอ้างหาเหตุผลนั้นไม่ใช่ว่าจะถูกไปเสียทุกอย่าง

การนึกคาดคะเนหรือการเดาเอาของคนเรานั้นผิดได้ เช่นหลักตรรกวิทยากล่าวว่า "ที่ใดมีควัน ที่นั้นมีไฟ" ซึ่งก็ไม่ แน่เสมอไป เดี๋ยวนี้ที่ใดมีควัน ที่นั้นอาจจะไม่มีไฟก็ได้ เช่น เขาฉีดสารเคมี พ่นยาฆ่าแมลง ก็มองดูว่าเป็นควันออกมา แต่หามีไฟไม่

หรือบางคนก็คิดเดาเอาเองว่าคงจะเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนี้ คำว่า คงจะ นั้น มันไม่แน่ เพราะฉะนั้น เราก็อย่าเพิ่งตัดสินว่าเรื่องนี้ถูกแน่นอนแล้ว คำว่า คงจะ นั้นเป็นการนึกเดาเอา

6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยการคิดคาดคะเนหรืออนุมานเอา ตัวอย่างเช่น เราคิดว่าเราจะแซงรถคันหน้าพันถ้าเรา ขับรถเร็วกว่านี้ ซึ่งเป็นการคาดคะเนเอา บางทีเราคาดคะเนความเร็วไม่ถูก ก็อาจจะชนรถคันหน้าที่วิ่งสวนมา โครมเข้าไปเลยก็ได้ การคาดคะเนหรืออนุมานเอาอย่างนี้ ทำให้คนตายมามากแล้ว การอนุมานเอานี้มันไม่แน่

บางคนคิดว่าฝนคงจะตกแน่เพราะเห็นเมฆดำก่อตัวขึ้นมาก็เป็นการอนุมานเอาว่าฝนคงจะตก แต่บางที ลมก็จะพัดเอาเมฆนี้ลอยพ้นไปเลยก็ได้ ซึ่งก็ไม่แน่เพราะอนุมานเอา

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า แม้อนุมานเอาก็อย่าเพิ่งเชื่อ

7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ คือเห็นอาการที่ปรากฏแล้วก็คิดว่าใช่แน่นอน เช่น เห็นคนท้องโตก็คิดว่าเขาจะมีลูก ซึ่งก็ไม่แน่ บางคนแต่งตัวภูมิฐานก็คิดว่าคนนี้เป็นคนใหญ่โต ร่ำรวย ซึ่งก็ไม่แน่ อีกบางทีก็เป็นขโมย แต่งตัวเรียบร้อยมาหาเรา บางคนทำตัวเหมือนเป็นคนบ้าคนใบ้มานั่งใกล้กุฏิพระ คนก็ไม่สนใจนึกว่าเป็นคนบ้า แต่พอพระเผลอก็ขโมยของของพระไป ดังนั้น เราจะดูอาการที่ปรากฏก็ไม่ได้ บางคนปวดหัว ก็คิดว่าเป็นโรคอะไรที่หัว แต่ก็ไม่แน่ สาเหตุอาจจะเป็นที่อื่นแล้วทำให้เราปวดหัวก็ได้ เช่น ท้องผูก เป็นต้นหรือเราขับรถมาถึงสะพานซึ่งมองดูแล้วคิดว่าสะพานนี้น่าจะมั่นคงพอจะขับข้ามไปได้ แต่ก็ไม่แน่ สะพานอาจจะพังลงมาก็ได้

8. อย่าเพิ่งเชื่อว่าต้องกับลัทธิของตน คือ เข้ากับความเชื่อของตน เพราะตนเชื่ออย่างนี้อยู่แล้ว เมื่อใครพูดอย่างนี้ให้ฟัง ก็ยอมรับว่าใช่และถูกต้อง ซึ่งก็ไม่แน่เสมอไป เพราะสิ่งที่เราเชื่อมาก่อนนั้นอาจผิดก็มี บางทีคนอื่นก็มาหลอกเรา เพราะเห็นว่าเราเชื่ออยู่ก่อนแล้ว จึงอาศัยความเชื่อของเรา เป็นเหตุมันจึงไม่แน่เสมอไป

บางคน เมื่อมีใครมาพูดตรงกับความคิดเห็นของตนก็เชื่อแล้ว ตัวอย่างเช่น เราไม่ชอบใครอยู่สักคนหนึ่ง พอใครมาบอกเราว่าคน ๆ นั้นไม่ดี ก็เชื่อว่าเป็นคนชั่วแน่ เพราะตนเองก็ไม่ชอบหน้าเขาอยู่แล้ว เรื่องอย่างนี้ก็ไม่ แน่เสมอไป เพราะคนที่เราไม่ชอบอาจจะเป็นคนดีก็ได้ แต่ว่ามีคนอื่นมาพูดยุยงให้เราเข้าใจไปอย่างนั้น เราจึง มองผิดไปได้

หรือคนที่เชื่อเรื่องพระเจ้าสร้างโลก หรือเรื่องเครื่องลางของขลัง พอมีใครมาพูดเรื่องเช่นนี้ก็เชื่อสนิท เพราะไปตรงกับความเชื่อของตน

เพราะฉะนั้น จงอย่าเพิ่งเชื่อ แม้ในกรณีดังกล่าวมานี้

9. อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้ คือ เห็นว่าคนที่เป็นคนใหญ่คนโตนั้น พูดจาควรเชื่อถือได้ เช่น เป็น ถึงชั้นเจ้า หรือตำแหน่งสูง เราก็ควรจะเชื่อคำพูดของเขา แต่มันก็ไม่แน่ แม้แต่พระสงฆ์ก็ไม่แน่ เราจึงต้องฟังดูให้ ดีเสียก่อน แม้แต่คณะรัฐมนตรีเองก็ไม่แน่ อย่าเพิ่งไปเชื่อคำพูดของท่านเหล่านั้นทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ว่าผู้พูด มียศมีตำแหน่งอย่างนี้แล้ว จะพูดเรื่องน่าเชื่อถือได้เสมอไป เราควรจะฟังหูไว้หู ฟังให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นแล้วจะ ถูกหลอกได้ง่าย

อย่าเพิ่งเชื่อในที่นี้ มิได้หมายความว่าไม่ให้เชื่อ แต่ควรจะพิจารณาดูก่อนแล้วถึงจะเชื่อ

10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าผู้พูดเป็นครูของเรา ข้อนี้แรงมาก คือ แม้แต่ครูของตนก็ไม่ให้เชื่อ ทั้งนี้ เพราะครูของเราก็อาจจะพูดผิดหรือทำผิดได้ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องฟังให้ดี

ไม่มีศาสนาใดสอนเราไม่ให้เชื่อครูของตน แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนว่าไม่ให้เชื่อ แต่ ทรงสอนว่าอย่าเพิ่งเชื่อต้องพิจารณาดูเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ

พระพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุผลในข้อที่อย่าเพิ่งเชื่อดังกล่าวมาดังนี้ โดยตรัสว่า " ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นอกุศล มีโทษ ก่อความทุกข์ เดือดร้อน วิญญูชนติเตียน ถ้าประพฤติเข้าแล้วเป็นไปเพื่อความทุกข์เดือดร้อน ท่านทั้งหลายจงละทิ้งสิ่งเหล่านี้เสีย " พระองค์ไม่ได้ตรัสว่าดีหรือไม่ดี แต่ให้พิจารณาดูว่าถ้าไม่ดีก็ทิ้งเสีย

พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสต่อไปว่า " ชาวกาลามะทั้งหลายท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ความโลภ ซึ่งเกิดขึ้นในใจของคนเราแล้ว เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ความโลภเป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่ใช่ประโยชน์ "

ชาวกาลามะก็ทูลตอบว่า "ไม่เป็นเพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า"

"เมื่อความโลภเกิดขึ้นแล้ว ทำให้คนฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ประพฤติผิดในกามบ้าง และสิ่งใดที่ ไม่เป็นประโยชน์เขาจะชักนำให้ทำสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่จริง" พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อ

ชาวกาลามะก็ทูลตอบว่า "จริง พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามอีกว่า "แต่ถ้าจริงแล้ว ท่านทั้งหลายจะสำคัญความนี้เป็นไฉน เมื่อความโลภเกิด ขึ้นในใจของคนแล้ว เป็นเหตุให้เขาฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกามและชักชวนให้คนทำชั่วแล้ว ความ โลภนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ไม่เป็นประโยชน์ พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "แล้วมีโทษหรือไม่มี"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "มีโทษ พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อว่า "วิญญูชนติเตียนหรือสรรเสริญ"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ติเตียน พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เป็นไปเพื่อความสุขหรือเป็นไปเพื่อความทุกข์"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นไปเพื่อความทุกข์ พระเจ้าข้า"

พระสูตรนี้มีลักษณะของการถามตอบ คือให้ผู้ที่ถูกถามคิดเอาเอง ไม่ได้ยัดเยียดความคิดให้ หรือ บังคับให้ตอบ

ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสถามเกี่ยวกับความโกรธบ้างว่า "ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ เป็นไฉน คนที่ถูกความโกรธครอบงำเข้าแล้ว อาจจะฆ่าคนก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ประพฤติผิดในกามก็ได้ สิ่งใด ที่มีโทษ เขาก็ชักชวน
แนะนำให้คนอื่นทำสิ่งนั้นก็ได้ ดังนั้น ความโกรธนี้ดีหรือไม่ดี"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ไม่ดี พระเจ้าข้า"

พระองค์ตรัสถามว่า"แล้วคนที่ความโกรธเข้าครอบงำแล้วนั้นความโกรธเป็นกุศลหรืออกุศล"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นอกุศล พระเจ้าข้า"

พระองค์ตรัสถามว่า"มีโทษ หรือไม่มีโทษ"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า"มีโทษ พระเจ้าข้า"

พระองค์ตรัสถามว่า"วิญญูชนติเตียนหรือไม่"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ติเตียน พระเจ้าข้า"

พระองค์ตรัสถามว่า "แล้วเป็นไปเพื่อความทุกข์หรือความสุข"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นไปเพื่อความทุกข์ พระเจ้าข้า"

ต่อไป พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามถึงความหลงต่อไปว่า"คนที่ถูกความหลงเข้าครอบงำนั้น ความหลง เป็นกุศลหรืออกุศล"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นอกุศล พระเจ้าข้า"

พระพุทธองค์ตรัสถามว่า "คนที่ถูกความหลงเข้าครอบงำนั้น ทำดีหรือทำชั่ว"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ทำชั่ว พระเจ้าข้า"

พระพุทธองค์ตรัสถามว่า "วิญญูชนติเตียนหรือไม่"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ติเตียน พระเจ้าข้า"

พระพุทธองค์ตรัสถามว่า"แล้วเขาชักนำคนอื่นไปในทางดีหรือทางชั่ว"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ทางชั่ว พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ดูก่อน ชาวกาลามะทั้งหลาย ท่านจงอย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา อย่าเพิ่งเชื่อ โดยฟังตามกันมา อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังพูดสืบ ๆ กันมา" จนกระทั่งถึงข้อสุดท้ายว่า "อย่าเพิ่งเชื่อเพราะว่าผู้พูดเป็น ครูของเรา" ซึ่งเป็นการตรัสย้ำครั้งที่สองในเรื่องของการเชื่อ

ดังนั้นก็เกิดคำถามว่า ถ้าเราไม่เชื่อดังเหตุผลประการต่าง ๆ นี้แล้ว เราจะเชื่อใครได้

คำตอบก็คือให้เชื่อตัวเอง โดยการพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน ว่าสิ่งที่เขาพูดกันนั้นดีหรือไม่ดีถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง

พระพุทธองค์ได้ตรัสถามชาวกาลามะต่อไปอีกว่า

"ชาวกาลามะทั้งหลาย ท่านจะพิจารณาเห็นความข้อนี้เป็นไฉน ความไม่โลภนั้นดีหรือไม่ดี เป็นกุศล หรือเป็นอกุศลวิญญูชนติเตียนหรือสรรเสริญ เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์ ผู้ที่ไม่โลภ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ชักนำผู้อื่นไปในทางที่เสียหาย ดังนั้น ความไม่โลภนั้นจึงเป็นกุศลหรือ อกุศล"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นกุศล พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "มีโทษหรือไม่มีโทษ"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "วิญญูชนสรรเสริญหรือติเตียน"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "สรรเสริญ พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นไปเพื่อความสุข พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามต่อไปถึงความไม่โกรธ ความไม่หลง ในทำนองเดียวกันอีกว่า "คนที่ไม่โกรธ ไม่หลงนั้น จะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ชักนำคนอื่นไปในทางที่เสีย ชักนำคนอื่นไป ในทางที่ดี ก็ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นกุศล พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "มีโทษหรือไม่มีโทษ"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "วิญญูชนสรรเสริญหรือติเตียน"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "สรรเสริญ พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นไปเพื่อความสุข พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าจึงได้สรุปต่อไปว่า "ชาวกาลามะทั้งหลายเพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงพิจารณาดูด้วย ตนเอง ท่านอย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา อย่าเชื่อโดยพูดสืบๆ กันมา จนถึงข้อสุดท้ายว่า อย่าเชื่อเพราะว่าผู้พูดเป็น ครูของเรา"

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาดูว่า "สิ่งเหล่านี้ดีหรือไม่ดี ถ้าไม่ดีก็ทิ้งเสีย ถ้าดีก็ทำตาม พระองค์ ไม่ได้บังคับให้เชื่อแต่ให้พิจารณาดูเอาเอง เหมือนคนที่ขายอาหาร หรือขายของโดยให้ผู้ซื้อได้เลือกซื้อหรือ พิจารณาเอาเอง แล้วก็ถามเรื่องความเห็นว่าดีหรือไม่ดี ชี้แจงเหตุผลให้ฟัง"

ในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ทรงสรุปให้ฟังอีกครั้งหนึ่งว่า อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา อย่าเชื่อโดยนำสืบๆกันมา แล้ว จนกระทั่งอย่าเชื่อเพราะว่าผู้พูดเป็นครูของเรา

ข้อความที่กล่าวย้ำเช่นนี้ในกาลามสูตรมีถึง 4 ครั้ง เฉพาะ 10 ข้อนี้ และในที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย อริยสาวกในศาสนานี้ มีเมตตาจิต ไม่โกรธ ไม่พยาบาทใคร แผ่เมตตา ไปทิศเบื้องหน้า เบื้องหลัง เบื้องต่ำ เบื้องสูง เบื้องขวาง ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีภัย การแผ่เมตตา อย่างนี้มีโทษหรือไม่มีโทษ"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "ไม่มีโทษ พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เป็นกุศลหรืออกุศล"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นกุศล พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "วิญญูชนสรรเสริญหรือติเตียน"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "สรรเสริญ พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า "เป็นไปเพื่อความสุขหรือความทุกข์"

ชาวกาลามะทูลตอบว่า "เป็นไปเพื่อความสุข พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสเช่นเดียวกันถึงเรื่อง กรุณา มุทิตา และอุเบกขา หรือพรหมวิหารทั้ง 4 ที่แผ่ไปยัง คนอื่น สัตว์อื่นและตรัสถามว่า เมื่อประกอบด้วยความไม่มีเวรเช่นนี้ มีความไม่เศร้าหมองอย่างนี้มีจิตใจหมดจดอย่างนี้ ก็ย่อมจะได้ความอุ่นใจ 4 ประการคือ

1. ถ้าหากว่าชาติหน้ามีจริง บาปบุญที่ทำไว้มีจริง ก็เมื่อเราทำแต่ดี ไม่ทำชั่ว เราจะชื่นใจว่าเราจะไป เกิดในสุคติโลกสวรรค์แน่นอน นี้เป็นความอุ่นใจข้อที่หนึ่ง

2. ถ้าหากว่าชาติหน้าไม่มีจริงบาปบุญที่คนทำไว้ไม่มีจริงก็เมื่อเราไม่ทำชั่ว ทำแต่ดีชาตินี้เราก็สุข แม้ชาติหน้าจะไม่มีก็ตามนี้เป็นความอุ่นใจข้อที่สอง

3. ถ้าหากว่าบาปที่คนทำไว้ ชื่อว่าเป็นอันทำ คือได้รับผลของบาป ก็เมื่อเราไม่ทำบาปแล้ว เราจะได้ รับผลของบาปที่ไหน นี้เป็นความอุ่นใจข้อที่สาม

4. ถ้าหากว่าบาปที่คนทำแล้วไม่ได้เป็นบาปอันใดเลยหรือไม่เป็นอันทำ ก็เมื่อเราไม่ได้ทำบาป เราก็ พิจารณาตนว่าบริสุทธิ์ทั้งสองส่วน คือ ส่วนที่เราไม่ได้ทำชั่ว และในส่วนที่เราทำดี เราก็มีความสุขในปัจจุบัน

เพราะฉะนั้น คนที่ไม่ได้ทำชั่ว นรกสวรรค์จะมีหรือไม่มีบาปบุญจะมีหรือไม่มี เขาก็ได้ดีทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่คนที่ทำชั่วนรกสวรรค์จะมีหรือไม่มี บาปบุญจะมีหรือไม่มี เขาก็เดือดร้อนทั้งขึ้นทั้งล่อง ถ้าหากว่าสวรรค์มีจริง เขาก็ไม่ได้ขึ้นสวรรค์ ถ้านรกมีจริง เขาก็ต้องลงนรก ถ้าหากว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีจริง เราก็ไม่ต้องเดือดร้อน เพราะ เราไม่ได้ทำชั่วในปัจจุบัน และเราก็มีความสุขในปัจจุบัน เพราะเราทำดี การให้พิจารณาอย่างนี้ เป็นการพิจารณา ที่สร้างเหตุสร้างผลขึ้น

ท่านทั้งหลายจงพิจารณาข้อความนี้ดูว่า ในกาลามสูตรนี้ถ้าหากคณาจารย์อื่น ๆ มาพบชาวกาละมะเข้า อาจจะพูดเหมือนบรรดาอาจารย์อื่น ๆ ที่เคยผ่านมา คือ พูด ติเตียนศาสนาอื่นแล้วยกย่องศาสนาของตนเอง แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงกระทำเช่นนั้นคือ ไม่โจมตีศาสนาอื่นเลย แม้แต่สักคำเดียว พระองค์เพียงแต่บอกว่าอย่าเพิ่งเชื่อถ้าใครพูดชักนำมา ทรงเตือนว่าอย่าเพิ่งเชื่อและให้พิจารณา ด้วยตนเองเท่านั้น เมื่อได้พิจารณาด้วยตนเองแล้วเห็นว่าเป็นกุศล ก็ให้ทำตาม แต่ถ้าเป็นอกุศลก็ให้ละเสีย

ยกตัวอย่างเช่น โลภ โกรธ หลง นั้นเป็นอกุศล ไม่ดี มีโทษ วิญญูชนติเตียน เป็นไปเพื่อทุกข์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสให้ละเสีย แต่ถ้าหากเห็นว่า ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงนั้นเป็นกุศลไม่มีโทษ วิญญูชน สรรเสริญ เป็นไปเพื่อความสุข พระพุทธเจ้าทรงสอนให้บำเพ็ญ โดยให้ชาวกาลามะพิจารณาเห็นด้วยตนเอง จากการที่พระองค์ทรงตั้งคำถามให้ชาวกาลามะ คิดพิจารณาเอาเอง โดยไม่ให้งมงาย คือ พระองค์มิได้ทรงบอก ว่าท่านต้องเชื่อหรือบอกว่าถ้าท่านไม่เชื่อท่านต้องตกนรกหมกไหม้หรือว่าท่านต้องเชื่อแล้วท่านจะได้ขึ้นสวรรค์ พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้แต่ตรัสบอกให้พิจารณาเอาเอง

ในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ถ้าเราทำดีโดยการมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาแล้ว เราจะมี ความอุ่นใจถึง4 อย่าง ซึ่งคนทำชั่วนั้นจะไม่มีความอุ่นใจดังกล่าวเลย

การพิจารณาอย่างนี้เป็นข้อความสำคัญในกาลามสูตร แท้ที่จริง ยังมีข้อความอื่นอีกในพระสูตรนี้ แต่เป็นข้อปลีกย่อย จึงไม่ได้นำมากล่าวไว้ในที่นี้

ในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ นักคิดชาวตะวันตก ได้สรรเสริญพระพุทธศาสนาในแง่ของการมีเหตุผล ไว้มาก เพราะเป็นคำสอนอันมีเหตุผลและสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ของพระพุทธศาสนา

ดังนั้น กาลามสูตรจึงเป็นพระสูตรที่ให้อิสระในด้านความคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้เราเชื่อ แต่ให้พิจารณาให้ดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยเชื่อ อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา แม้แต่พระคัมภีร์ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ให้พิจารณา ดูเสียก่อน ถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่าสมกับการเป็นชาวพุทธ ไม่เชื่ออะไรอย่างไร้เหตุผล โดยไม่พิจารณาว่าควรเชื่อ หรือไม่เพียงไร

เราจึงควรภูมิใจที่เราได้นับถือพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาที่มีเหตุผล สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ในโลกปัจจุบันไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น และเป็นไปเพื่อความ สิ้นทุกข์ในที่สุด แม้ทุกข์ยังไม่หมด แต่ก็มีความสงบสุขในชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อเราได้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามพุทธธรรม ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา












#132877 อยากรู้ครับ เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 08 November 2008 - 01:48 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

ได้อ่านเจอมาค่ะ ก็ขอนำเอามาให้อ่านกันเป็นความรู้ติดตัวเพิ่มเติมค่ะ

ที่จะนำมาให้อ่าน จะเป็นคำนำของเนื้อหานะคะ

แล้วส่วนขยายในพระโพธิสัตว์แต่ละพระองค์ ได้ทำเป็น link ให้ตามไปอ่านค่ะ



พระอนาคตวงศ์



คำนำ


พระอนาคตวงศ์นี้ เป็นเรื่องกล่าวถึงประวัติย่อของพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญพระบารมีในชาติหนึ่ง
ซึ่งปรากฏเป็นยอดปรมัตถบารมีอันประเสริฐ เกิดสำเร็จผล ทรงพระอภินิหาร ประกอบด้วยพระเดชามหานุภาพ
เป็นพุทธสมบัติที่จะมาอุบัติตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิบพระองค์ในโลก ณ อนาคตกาลภายหน้า นั้นคือ

- พระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์หนึ่ง
http://www.84000.org...kot/kan1.html#1

- พระราม พระองค์หนึ่ง
http://www.84000.org...t/kan2.html#2-1

- พระธรรมราช (พระเจ้าปเสนทิโกศล) พระองค์หนึ่ง
http://www.84000.org...t/kan2.html#2-2

- พระธรรมสามี (พระยามาธิราช) พระองค์หนึ่ง
http://www.84000.org...t/kan2.html#2-3

- พระนารทะ (พระยาอสุรินทราหู) พระองค์หนึ่ง
http://www.84000.org...t/kan3.html#3-1

- พระรังสีมุนีนาถ (โสณพราหมณ์) พระองค์หนึ่ง
http://www.84000.org...t/kan3.html#3-2

- พระเทวเทพ (สุภพพราหมณ์) พระองค์หนึ่ง
http://www.84000.org...t/kan3.html#3-3

- พระนรสีหะ (โตไทยพราหมณ์) พระองค์หนึ่ง
http://www.84000.org...t/kan3.html#3-4

- พระติสสะ (ช้างนาฬาคีรี) พระองค์หนึ่ง
http://www.84000.org...kot/kan4.html#4

- พระสุมงคล (ช้างปาลิไลยกะ) พระองค์หนึ่ง
http://www.84000.org...kot/kan5.html#5

ซึ่งต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราไป โดยลำดับกัปป์ นับตั้งแต่ภัทรกัปป์นี้เป็นต้นไป

พระพุทธเจ้าสิบพระองค์นี้ ทรงสร้างพระบารมีสิบทัศครบบริบูรณ์แล้ว จึงทรงพระคุณ มีอภินิหารต่างๆ ยิ่งหย่อนกว่ากัน ด้วยสามารถพระบารมีนั้นๆของพระองค์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ตรัสไว้แก่พระสารีบุตร โดยพุทธภาษิตบรรยาย จัดเป็นพุทธประวัติกาลอนาคตเรื่องหนึ่งฯ


บทสรุป


องค์สมเด็จพระมหามุนีธิคุณเจ้าแห่งเราทั้งหลายตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่พระสารีบุตรว่า นานไปเบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ พระองค์นั้น จะได้ตรัสรู้แด่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณเป็นลำดับกันฯ คือ

- องค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าเป็นปฐมที่ ๑
- ถัดนั้นจึง พระรามโพธิสัตว์จะได้ตรัสที่ ๒
- ถัดนั้นจึง พระเจ้าปเสนธิโกศลจะได้ตรัสเป็นพระธรรมราชาที่ ๓
- ถัดนั้น พระยามาราธิราช จะได้ตรัสเป็นพระธรรมสามีที่ ๔
- ถัดนั้น อสุรินทราหู จะได้ตรัสเป็นพระนารทะที่ ๕
- ถัดนั้น โสณพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระรังสีมุนีที่ ๖
- ถัดนั้น สุภพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระเทวเทพที่ ๗
- ถัดนั้น โตไทยพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระนรสีหะที่ ๘
- ถัดนั้น ช้างธนบาลหัตถีนาฬาคีรี จะได้ตรัสเป็นพระติสสะที่ ๙
- ถัดนั้น ช้างปาลิไลยหัตถี จะได้ตรัสเป็นพระสุมงคลที่ ๑๐


พระองค์ได้ตรัสเป็นลำดับกันโดยนิยมดังนี้

อันว่าไม้พระศรีมหาโพธิอปราชิตบัลลังค์ที่นั่งทรงพิจารณาพระปฏิจจสมุปบาทธรรม แล้วตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูเจ้านั้น

- พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า คือไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๑
- พระรามเจ้า คือ ไม้แก่นจันทร์แดงเป็นที่ตรัส ๒
- พระธรรมราชาเจ้า คือ ไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๓
- พระธรรมสามีเจ้า คือ ไม้รังใหญ่เป็นที่ตรัส ๔
- พระนารทะเจ้า คือ ไม้แก่นจันทร์แดงเป็นที่ตรัส ๕
- พระรังสีมุนีเจ้า คือ ไม้ดีปลีใหญ่เป็นที่ตรัส ๖ (บางคัมภีร์ว่าเป็นไม้เลียบ)
- พระเทวเทพเจ้า คือ ไม้จำปาเป็นที่ตรัส ๗
- พระนรสีหะเจ้า คือ ไม้แคฝอยเป็นที่ตรัส ๘
- พระติสสะเจ้า คือ ไม้ไทรเป็นที่ตรัส ๙
- พระสุมงคลเจ้า คือ ไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๑๐
อันว่าไม้พระมหาโพธิ ๑๐ ต้นนี้ เป็นที่ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญู แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ อันจะบังเกิดในอนาคตกาลเบื้องหน้าฯ

อันว่านรชาติหญิงชายทั้งหลายจำพวกใด ได้ถวายนมัสการกราบไหว้ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งสิบพระองค์กับทั้งไม้พระศรีมหาโพธิ ๑๐ ต้น ดังพรรณนามานี้ อันว่านรชาติหญิงชายจำพวกนั้นจะมีผลานิสงส์คือ มิได้ไปบังเกิดในนรกสิ้นกาลช้านานถึงแสนกัปป์ ด้วยกุศลเจตนาของอาตมาที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งสิบพระองค์นั้นฯ สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าของเราทรงบัณฑูรพระธรรมเทศนาว่า แท้จริงกัปป์ที่เรียกสุญญกัปนั้น คือเปล่าเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณ กัปป์ที่มิได้สูญจากท่านผู้ทรงพระคุณนั้นมี ๕ ประการ คือ
- สารกัปป์ ๑
- มัณฑกัปป์ ๑
- วรกัปป์ ๑
- สารมัณฑกัปป์ ๑
- ภัทรกัปป์ ๑

อันว่าแผ่นดินทั้ง ๕ ประการนี้ มีสมเด็จพระพุทธเจ้าบังเกิดใน สารกัปนั้น ๑ พระองค์, ในมัณฑกัปป์ ๒ พระองค์, ในวรกัปป์ ๓ พระองค์, ในสารมัณฑกัปป์ ๔ พระองค์, ในภัทรกัปป์ ๕ พระองค์ เหมือนกับแผ่นดินเราทุกวันนี้ ชื่อว่าภัทรกัปบังเกิดพระพุทธเจ้าถึ
ง ๕ พระองค์ฯ คือ
- พระกุกกุสนธเจ้าพระองค์ ๑
- พระโกนาคมนเจ้าพระองค์ ๑
- พระกัสสปเจ้าพระองค์ ๑
- พระพุทธเจ้าของเราอันทรงพระนามว่า พระศรีศากยมุนีโคดมพระองค์ ๑
- ไปในอนาคตเบื้องหน้า พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ซึ่งจะได้มาตรัสนั้น พระองค์ ๑
เป็นพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ด้วยกัน บังเกิดในภัทรกัปอันนี้ฯ

เมื่อองค์สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ตรัสแล้วล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน สิ้นพระศาสนาของพระองค์เจ้าแล้วล่วงไปจนถึงไฟประลัยโลก สิ้นแผ่นดินแผ่นฟ้าตลอดกาลช้านาน จึงบังเกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่เรียกว่า สุญญกัปป์ เปล่าเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณวิเศษนั้นนานถึง อสงไขยแผ่นดิน โลกทั้งหลายมืดสิ้นไม่มีท่านผู้วิเศษเลย ต่อสิ้นกาลช้านานแห่งสุญญกัปป์นั้น นับได้อสงไขยแผ่นดินล่วงไปแล้ว เกิดกัปใหม่ตั้งแผ่นดินขึ้นใหม่เรียกว่ามัณฑกัปป์ จะมีสมเด็จพระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิเจ้า และสมเด็จบรมจักร ในกาลครั้งนั้นจึงมีพระรามเจ้าเป็นอาทิจะได้ตรัสรู้ก่อน พระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายที่สมควรจะได้ตรัสนั้น ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบๆกันไปตามนัยดังแสดงแล้วแต่หนหลัง ด้วยวาสนาภูมิบารมีของพระบรมโพธิสัตว์สร้างมานั้นต่างๆกัน

- ที่เป็นอุคฆติตัญญูโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า ปัญญาธิกะ ยิ่งด้วยปัญญาฯ
- ที่เป็นวิปจิตัญญูโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๘ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า สัทธาธิกะ ยิ่งด้วยศรัทธาฯ
- ที่เป็นเนยยโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๑๖ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า วิริยาธิกะ ยิ่งด้วยความเพียรฯ

ตามประเพณีพุทธภูมิโพธิสัตว์ทั้ง ๓ จำพวก อันมีในคัมภีร์พระอนาคตวงศ์ ตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราตรัสพระสัทธรรมเทศนา แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ก็สิ้นเนื่อความยุติลงแต่เพียงเท่านี้ฯ



ขอให้ทุกท่าน เจริญในธรรมค่ะ สา...ธุค่ะ



#132599 ช่วยด้วยไม่ปลื้ม

โพสต์เมื่อ โดย koonpatt บน 06 November 2008 - 04:30 PM ใน เว็บบอร์ด DMC

น่าจะอยู่ที่วิธีการของเราตอนทำบุญนะคะ ว่าถูกจริตกับเราหรือเปล่า nerd_smile.gif

สำหรับตัว koonpatt แล้ว บุญแรกที่ทำแล้วปลื้มมากๆจนน้ำตาคลอนั้น (ก่อนเข้าวัดนะคะ)

คือ ตอนที่รับอุปการะเด็กมูลนิธิศุภนิมิตค่ะ ตอนที่แสดงความจำนงไปยังไม่ค่อยรู้สึกอะไรนะคะ

เค้าส่งหนังสือเชิญชวนมาให้คุณลุง ก็อ่าน แล้วก็เลือกเด็กจากรูปที่เค้ามีมาให้

เค้าแจ้งมาว่า เด็กคนนั้นมีผู้อุปการะแล้ว ก็เลยบอกเค้าว่า งั้นขอเด็กผู้ชายที่อายุน้อยที่สุดของโครงการก็แล้วกัน

คนไหนก็ได้ (อายุน้อยที่สุด 5 ขวบค่ะ) ก็ยังไม่รู้สึกอะไร แต่พอเห็นรูปถ่ายน่ะค่ะ ยิ้มของเค้าน่ะ

น้ำตาคลอเลย เหมือนกับเค้าดีใจ (ปนเขินเล็กๆ) ที่มีเราน่ะค่ะ รู้สึกหัวใจพองโต ชีวิตเรามีค่านะ สำหรับเด็กคนนึง

เราช่วยเค้าได้นะ ให้เค้าได้เรียนหนังสือ ได้มีอาหารกลางวันกิน ได้..........หลายๆอย่างน่ะค่ะ


หลังจากนั้น ก็ตอนมาวัดครั้งแรกน่ะค่ะ ทั้งใส่บาตรตอนเช้า (พระเยอะมากกกกกกกกกก)

ทั้งถวายสังฆทาน 10,000 วัด ทั้งหล่อองค์พระ แสนองค์ แสนปลื้มตอนนั้นรู้สึก พองงงงงง มากๆๆๆๆๆๆๆ

ตอนถวายสังฆทานเนี่ยอลังการสุดๆ (หมายถึง เห็นพระเยอะมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ)

เหลืองงงงงงง ไปหมด ปลื้มค่ะ ไม่เคยเห็นพระเยอะขนาดนี้ จะบอกทุกคนเสมอว่า ชอบมาวัดที่สุด

เพราะได้ฟังเสียงพระสวดสดๆ พร้อมๆกัน มากที่สุด (เป็นคนชอบฟังเสียงพระที่สวดไม่ผ่านไมค์น่ะค่ะ)


แล้วก็ชอบตอนฟังเสียง สุวรรณนิธิ กลิ้งๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไปตามราง ปลื้มมากกกกกก ค่ะ

แต่ก็แปลกนะคะ เวลามาวัด แล้วไปถวายปัจจัยในสภาน่ะค่ะ จะเฉยๆเห็นท่านอื่นๆ alert กันสุดๆ

แล้วยังแปลกๆ เอ๋ ทำไมเราไม่เป็นหว่า

แล้วก็ทุกวันนี้ จะสั่งพิมพ์หนังสือ ธรรมะ แล้ววางไว้หน้าบ้าน ในห้องที่ให้ลูกค้านั่งรอ แล้วก็ติดป้ายไว้ว่า เชิญหยิบฟรี

เวลาที่เห็นคนหยิบอ่านแล้วเอากลับบ้าน ก็จะรู้สึกปลื้มค่ะ


ก็คงต้องคอยสังเกตุตัวเองค่ะว่า บุญแบบไหนที่ถูกจริตเรามากที่สุด

koonpatt ก็พยายามทำทุกบุญค่ะ ที่มีโอกาสและสามารถที่จะทำได้ บุญเล็กบุญน้อย ก็ทำ

คุณโก้ ลองคิดย้อนกลับไปดูนะคะ ว่า เวลาที่คุณโก้ทำอะไรแล้วรู้สึกปลื้ม หรือ ประทับใจบ้าง

เช่น ถ้าได้เคยทำอะไรให้คุณ พ่อ คุณแม่ อย่าง กราบเท้าท่านแล้วรู้สึกดี

หรือได้ทำอะไรให้ท่าน แล้วเห็นท่านมีความสุขแล้วเราปลื้ม ก็แปลว่า การทำบุญกับ พ่อ แม่ อาจถูกจริตกับเรา

หรือไปวัดวัดนี้ แล้วสบายใจจัง สงบจัง สนทนาธรรมกับพระรูปนี้แล้ว รู้สึกดีจัง ก็แปลว่า เราถูกจริตตรงนี้

อย่าง koonpatt นี่ จะถูกจริตกับ เด็กมากเลยค่ะ กับ การสนทนาธรรม อ่านหนังสือ ธรรมะ

จนตอนนี้ แทบจะไม่อ่านหนังสือ นิยาย นิทาน เลย จะอ่านก็เป็นพวก สารคดี ความรู้ กับหนังสือเรียน sleep.gif

แต่ที่อ่านมากสุด ก็หนังสือ ธรรมะนี่แหล่ะค่ะ

ขอให้คุณโก้ ได้เจอกับ " วิถีทางแห่งบุญ " ของตนเองโดยเร็วนะคะ

เพราะถ้าทำแล้วไม่ปลื้ม เราก็จะสงสัยในสิ่งที่เราทำอยู่

ถ้าทำแล้วปลื้ม เราก็จะมีความสุข และเมื่อทำแล้วมีความสุข เราก็จะอยากทำบ่อยๆ และ มากขึ้น มากขึ้น

เมื่อเราทำมากขึ้น สิ่งดีดี ที่เป็นกุศล ก็จะกลับมาหาเรามากขึ้นด้วย

ขอให้คุณโก้ เจริญในธรรมนะคะ สา...ธุค่ะ happy.gif