ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ทำบุญ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 13 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ดอกอุบล

ดอกอุบล
  • Members
  • 926 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 November 2008 - 04:06 PM

ทำบุญแล้วไม่ได้บุญมีไหมครับ อยากรู้พูดให้ฟังหน่อยครับ?

#2 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 16 November 2008 - 05:07 PM

ขออนุญาตตอบตามที่ koonpatt อ่านมานะคะ

ไม่ทราบว่า จะตรงกับที่ คุณโก้ ตั้งกระทู้ไว้ เพื่อที่จะสนทนากันหรือไม่

แต่ก็รู้สึกดีใจ จะได้มีโอกาส แลกเปลี่ยนความรู้กับทุกๆท่านที่ได้เข้ามาอ่าน

หากมีสิ่งใดที่ koonpatt เข้าใจผิดพลาด หรือ คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง

รบกวนท่านผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยชี้แนะแก่ผู้ที่ต้องการศึกษาธรรมะ คนนี้ด้วยเถิด สา...ธุ

เราได้อ่านกันมาแล้ว ในกระทู้

ทำบุญกับพระปลอมขึ้นสวรรค์ ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=18663

ซึ่งเป็นการพูดถึงเรื่องของ...การทำทาน...นะคะ ว่ามีองค์ประกอบอย่างไร

และต้องทำอย่างไร ถึงจะส่งผลเต็มที่

ในกระทู้นี้ ขอยกเอา

เหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้ว มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก และ

เหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้ว มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก มาให้อ่านกันก่อนค่ะ


พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 37 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ตั้งแต่หน้า 472 ปฐมทานสูตร
----------------------------------------------------------------------------------

ปฐมทานสูตร


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ

บางคนหวังได้จึงให้ทาน ๑

บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เขาให้แก่เราแล้ว ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เขาจักให้ตอบแทน ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า ทานเป็นการดี ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราหุงหากิน ชนเหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ ผู้ไม่หุงหากินไม่สมควร ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทานกิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑

บางคนให้ทานเพื่อประดับ ปรุงแต่งจิต ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้แล

จบ ปฐมทานสูตร



--------------------------------------------------------------------------------


อรรถกถาปฐมทานสูตร


วรรคที่ ๔ ปฐมทานสูตรที่ ๑ มีวินิฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อาสชฺช ทานํ เทติ ความว่า บุคคลบางคน ให้ทานเพราะประจวบเข้า คือพอเห็นปฏิคาหกมาถึง นิมนต์ให้ท่าน นั่งครู่หนึ่ง กระทำสักการะแล้วจึงให้ทาน ย่อมไม่ลำบากใจว่า จักให้ บทว่า ภยา ได้แก่ เพราะกลัวครหาว่าผู้นี้เป็นผู้ไม่ให้เป็นผู้ ไม่ทำ หรือ เพราะกลัวอบายภูมิ บทว่า อสาทิ เม ความว่า ให้ด้วยคิดว่าผู้นี้ได้ให้สิ่งชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน ทสฺสติ เม ความว่า ให้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักให้สิ่งชื่อนี้แก่เราในอนาคต บทว่า สาหุ ทานํ ความว่า ให้ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่าทานยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือดี ได้แก่อันบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว บทว่า จิตฺตาลงฺการจิตฺตปรกฺขารตฺถํ ทานํ เทติ ความว่า ให้เพื่อประดับและตกแต่งจิตในสมถะและวิปัสสนา เพราะว่าทานย่อมทำจิต ให้อ่อนโยน บุคคลผู้ได้รับทาน ย่อมมีจิตอ่อนโยนดีว่าเราได้แล้ว แม้บุคคลผู้ให้ทานนั้น ก็ย่อมมีจิตอ่อนโยนว่า เราให้ทานแล้ว เพราะฉะนั้น ทานนั้นชื่อว่า ย่อมทำจิตของบุคคลทั้ง ๒ ฝ่ายให้อ่อนโยน เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงตรัสว่า อทนฺตทมนํ การฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

อทนฺตทมนํ ทานํ อทานํ ทนฺตทูสกํ
อเนน ปิยวาเจน โอณฺมนฺติ นมนฺติ จ


การให้ทานเป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก การไม่ให้ทานเป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว ชนทั้งหลาย มีจิตใจโอนอ่อน และน้อมลงด้วยปิยวาจานี้ ก็บรรดาการให้ทาน ๘ ประการนี้ การให้เพื่อประดับจิตเท่านั้น เป็นสูงสุดแล

จบอรรถกถาปฐมทานสูตร



หรือ ถ้าจะให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นก็ ดังนี้ค่ะ


ใน ทานสูตร อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้ว มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก และเหตุปัจจัยที่ทำให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก และมีอานิสงส์มาก ไว้ดังต่อไปนี้

๑. บุคคลบางคน ให้ทานด้วยความหวังว่า เมื่อตายไปแล้ว จักได้เสวยผลของทานนี้ เมื่อตายไป ได้เกิดในเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๒. บุคคลบางคนไม่ได้ให้ทาน เพราะหวังผลของทาน แต่ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี เป็นบุญ เป็นกุศล จึงให้เมื่อตายไป ได้เกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ ไม่มีอานิสงส์มาก

๓. บุคคลบางคนไม่ได้ให้ทาน เพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี แต่ให้ทานเพราะละอายใจที่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษเคยทำมา ถ้าไม่ทำก็ไม่สมควร ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นยามา สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๔. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ แต่ให้ทานเพราะเห็นสมณพราหมณ์เหล่านั้นหุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ ถ้าไม่ให้ก็ไม่สมควร ครั้นตายลงได้เกิดในเทวโลกชั้นดุสิต สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในเทวโลกแล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๕. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ ไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นว่า สมณพราหมณ์หุงหากินไม่ได้ แต่ให้ทานเพราะต้องการจำแนกแจกทานเหมือนกับฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทานมาแล้ว เขาตายไปได้เกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๖. บุคคลบางคน ไม่ได้ให้ทานเพราะหวังผลของทาน ไม่ได้ให้ทานเพราะว่าทานเป็นของดี ไม่ได้ให้ทานตามบรรพบุรุษ ไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นว่าสมณพราหมณ์หุงหากินไม่ได้ ไม่ได้ให้ทานเพราะต้องการจำแนกแจกทานเหมือนฤาษีทั้งหลายในปางก่อนได้กระทำมหาทาน แต่ให้ทานเพราะคิดว่า เมื่อให้แล้ว จิตจะเลื่อมใสโสมนัสจึงให้ ครั้นตายไปย่อมเกิดในเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตดี สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ก็กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ทานอย่างนี้มีผลมาก แต่ไม่มีอานิสงส์มาก

๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานเพราะเหตุที่กล่าวแล้วทั้ง ๖ อย่างข้างต้นนั้น แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือให้ทานนั้นเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจหมดจดจากกิเลสด้วยอำนาจของสมถะและวิปัสสนา จนได้ฌานและบรรลุ จนได้ฌานและบรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคล ตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในพรหมโลกแล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกนี้อีก คือปรินิพพานในพรหมโลกนั้นเอง ทานชนิดนี้เป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก

สรุปรวมความว่า ทานชนิดใดก็ตาม เป็นปัจจัยให้ต้องเกิดอีก ทานชนิดนั้นแม้มีผลมาก ได้เกิดที่ดีมีความสุขอันเป็นทิพย์ แต่ทานนั้นก็ไม่มีอานิสงส์มาก เพราะไม่สามารถจะทำให้หมดจดจากกิเลสได้

ส่วนทานชนิดใดเป็นปัจจัยให้ไม่ต้องเกิดอีก ทานชนิดนั้นชื่อว่ามีผลมากด้วย มีอานิสงส์มากด้วย เพราะทำให้หมดจดจากกิเลส

ฉะนั้นคำว่า "อานิสงส์มาก" ในที่นี้ จึงหมายถึงการหมดจดจากกิเลสทั้งปวง ไม่ต้องเกิดอีก

จริงอยู่ การเกิดในสวรรค์แต่ละชั้นนั้น มีความสุขมาก เพราะได้รับกามคุณอันเลอเลิศที่เป็นทิพย์ ละเอียดประณีตขึ้นไปตามลำดับชั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของชวนให้หลงใหล เป็นของมีสุขน้อย แต่มีโทษมาก เพราะฉะนั้นเมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม คือ อนุปุพพิกถา แก่คฤหัสถ์ จึงได้ทรงแสดงโทษของกามไว้ด้วย ผู้ที่ยินดีหลงไหลเพลิดเพลินในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่าใคร่ น่าพอใจ ย่อมไม่อาจล่วงทุกข์ไปได้ ผู้ที่จะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะเห็นโทษของกาม ก้าวออกจากกามด้วยสมถะและวิปัสสนาเท่านั้น

ด้วยเหตุนั้น ทานที่เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ขัดเกลาจิตให้อ่อน ให้ควรแก่การเจริญสมถะและวิปัสสนาจนบรรลุมรรคผลไม่ต้องกลับมาเกิดอีก จึงเป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มากแม้สังฆทานที่กล่าวว่ามีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็เพราะผู้ถวายมีโอกาสได้ฟังธรรมจากสงฆ์แล้วบรรลุอริยสัจธรรม ก้าวล่วงทุกข์ทั้งปวงไม่ต้องกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก

พระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาอันยิ่งใหญ่แก่สัตว์โลกแม้เมื่อทรงแสดงเรื่องทาน ก็ทรงแสดงให้พุทธบริษัทได้รับประโยชน์ครบทั้ง ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง คือ มรรค ผล นิพพาน ด้วยเหตุนี้ จึงควรทำใจให้เลื่อมใส บำเพ็ญทานให้เกิดประโยชน์ทั้ง ๓ ประการ จึงจะได้ชื่อว่า ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์อย่างแท้จริง



นอกจากนี้ ก็ยังมีเรื่อง ของวัตถุทาน และอื่นๆอีกมากมาย ที่มีผลกับเรื่องของบุญที่เราทำ

ซึ่งเดี๋ยวก็คงมีท่านผู้รู้ ท่านอื่นๆทยอยๆ นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนความรู้กันค่ะ แต่ตอนนี้ ขออนุญาต ขอตัวก่อนนะคะ

จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#3 จอมเทพ

จอมเทพ
  • Members
  • 466 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 November 2008 - 05:55 PM

ไม่มีครับ ทำบุญแล้วไม่ได้บุญ นอกเสียจากว่า ทำบาปแล้วนึกว่าทำบุญครับ อันนี้ถึงไม่ได้บุญครับ แต่ได้บาปแทนครับ O.นะครับ
กุญแจวิเศษ

#4 ระเบียงบุญ

ระเบียงบุญ
  • Members
  • 7 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 November 2008 - 09:39 PM

สาธุค่ะ ขอบคุณ koonpatt ที่ทำให้ปัญญาในเรื่องของการทำทานของคนอยู่ตรงขอบ ๆ แบบระเบียงบุญสว่างไสวขึ้นมาได้อีกมากโขเลยค่ะ

#5 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 November 2008 - 09:48 PM

ไม่สมควรใช้คำว่า " ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก " , สองกระทู้ใกล้ๆกันเลย,

ได้ตอบไว้โดยละเอียดอย่างชัดเจนแล้วใน

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=18663

#6 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 08:49 AM

เรียนคุณ DJ ค่ะ

ถูกต้องค่ะ สิ่งที่คุณ DJ ได้ท้วงติงมาทั้งหมด

ดังนั้น koonpatt จึงเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งที่ คุณ ณนนท์ ได้ตั้งกระทู้ดังกล่าวขึ้นมา

เจตนาของคุณณนนท์ ก็คือ ต้องการทราบที่มาที่ไปของ ประโยคดังกล่าว

เจตนาของ koonpatt ก็คือ เอาเรื่องเล่าที่เป็นแหล่งที่มาของ ประโยคนั้น มาเพื่อให้ทำความเข้าใจ

คนที่ไม่เคยทราบก็จะได้ทราบว่า จริงๆแล้ว คือ...อย่างไร และถ้าอ่านจนจบ จะเห็นว่า

มีบทสรุปอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้ทราบเจตนาของ การเล่าเรื่องเรื่องนั้น

ในกระทู้นี้ koonpatt ต้องยกเอาชื่อของกระทู้มากล่าวถึง เพราะ จะได้ไม่ต้องโพสต์ซ้ำ เนื้อหาของ

องค์ประกอบทั้ง 6 ของการทำทาน

มิได้มีเจตนาที่จะ ตอกย้ำประโยคๆ นั้นแต่อย่างใด และหากผู้ที่เข้ามาอ่าน ได้อ่านแล้ว ทำความเข้าใจไปแล้ว

เขาเหล่านั้นจะทราบได้ทันทีว่า อ๋อ ประโยคที่กล่าวถึงเนี่ย สอนคนให้คิดให้ถูกต้องนะ ไม่ใช่คิดผิดๆ

การที่มีคนกล่าวถึง สุภาษิต คำพังเพยต่างๆนั้น เพื่อให้ระลึกถึง เรื่องราวอันเป็นที่มาของ ประโยคประโยคนั้น

มิใช่ เขียนขึ้นมาเพื่อให้ทำตาม หรือ เชื่อในประโยคนั้นๆ

เปรียบได้กับ กุญแจ ( key word ) เช่น

กระต่ายกับเต่า คำๆนี้ ไม่ได้บอกให้ผู้อ่าน นึกถึง ตัวกระต่าย กับ ตัวเต่า

แต่เพื่อให้นึกถึง นิทานเรื่องเล่า ของ กระต่ายผู้เย่อหยิ่ง จองหอง และสำคัญตัวผิดว่า ตัวเองนั้นวิ่งเร็วกว่าเต่า

จึงประมาท ในการแข่งขันกับเต่าต่างหาก

ดังนั้น ถึงตอนนี้ ต่อไป หากท่านผู้ที่ได้เข้ามาอ่านแล้ว และ เข้าใจแล้ว ในเรื่องของ ประโยคที่ถูกกล่าวถึงในที่นี้

ก็จะย้อนกลับไปนึกถึง เรื่อง การทำทานอย่างไรให้ครบ องค์ 6 ได้ทันที

และสามารถที่จะชี้แจงข้อเท็จจริงถึงเรื่องราวที่ถูกต้องให้กับคนที่ไม่เคยรู้และเข้าใจได้ให้ถูกต้อง

คนที่ไม่ยอมพูดถึง key word เล่านี้ คือคนที่ไม่สามารถอธิบายถึงความหมาย

และที่มาที่ไปของสุภาษิตเหล่านั้นต่างหาก ( ดีไม่ดี เข้าใจผิดๆ ไปกับเค้าด้วยซ้ำไป)


ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเราชาวพุทธ ที่จะทำให้คนที่ไม่รู้ ได้เข้าใจให้ถูกต้อง

เพื่อที่เขาเหล่านั้น จะได้เล่าถึงสิ่งที่ถูกต้องนี้ ให้คนอื่นๆฟังต่อๆกันไป

ถึงตรงนี้หวังว่า คุณ DJ คง เข้าใจถึงเจตนาของ koonpatt แล้วนะคะ

การแก้ไขความเข้าใจที่ผิดๆ ทางพระธรรมนั้น เป็นหน้าที่ของเราชาวพุทธทุกคน

การไม่พูดถึง ไม่ใช่หนทางการแก้ไข เพราะ คนที่ได้ยินแล้ว ก็คือ ได้ยินแล้ว เราบอกให้เค้าลืมไม่ได้

แต่เราแก้ไขความเข้าใจผิดได้

และ เราก็ควรจะทำไม่ใช่หรือคะ

จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#7 kasaporn

kasaporn
  • Members
  • 870 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 10:45 AM

koonpatt ตอบกระทู้ได้ประทับใจทุกครั้งเลยค่ะ อ่านดูจากการบรรยายแล้วแสดงให้เห็นถึงความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตนที่มีอยู่ในตัว แล้วที่สำคัญเป็นคนที่มีปิยะวาจาจริงๆค่ะ พี่ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ happy.gif happy.gif happy.gif

#8 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 11:51 AM

ขอขอบพระคุณ คุณ kasaporn ค่ะ ที่เข้าใจ smile.gif

koonpatt เพียงแค่คิดว่า ตัวเองยังรู้น้อย เพราะ เข้าวัดช้ากว่าคนอื่น red_smile.gif

เลยต้องอ่านให้มาก แต่ที่ผ่านมาคือ ต้องหาอ่านเอง จึงต้องใช้เวลากับศึกษาค่อนข้างมากไปด้วย

และการที่รู้น้อย ทำให้ดีใจเสมอ เมื่อมีกระทู้ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหาความรู้ทางธรรมะ

เพราะการที่เราไม่รู้อะไรเลย ทำให้ไม่รู้แม้กระทั่งว่า เราอยากรู้อะไร (งงมั๊ยคะ koonpatt ยังงงเลยค่ะ)

ดังนั้นพอมีคนมาถาม ก็เหมือนเป็นการตั้งโจทย์ ซึ่งเมื่อเราได้โจทย์ เราก็มีหัวข้อให้ค้นคว้า nerd_smile.gif

เมื่อเข้าไปค้นคว้า โลกทางธรรมก็เปิดกว้างขึ้นสำหรับ koonpatt

ถึงวันนี้พูดได้เต็มปากเลยค่ะ ว่าการได้อ่านธรรมะ เป็นความสุข และ อ่านสนุกกว่า หนังสือชนิดใดๆที่เคยอ่านมา

เพราะ อ่านได้ไม่จบ และที่สำคัญคือ เป็น อริยสัจ คือ เป็นความจริงอันประเสริฐ

koonpatt จึงอยากตอบ เพราะ การตอบก็เหมือนกับการทำข้อสอบ ว่า

เรื่องที่เรารู้มานั้น เราเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือไม่ ซึ่งถ้าหากเข้าใจคลาดเคลื่อนไป

ก็จะมีท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยกรุณาเข้ามาแก้ไขความเข้าใจอันคลาดเคลื่อนนั้น

ก็จะทำให้เราเข้าใจได้ถูกต้องไปด้วย

รวมถึง จะได้ช่วยย่นระยะเวลาให้ผู้ที่อยากรู้ แต่ไม่มีเวลาค้นคว้าเอง

ได้เข้ามาอ่านเพื่อที่จะได้เข้าใจและรู้มากขึ้น

ขอขอบพระคุณผู้ที่ตั้งกระทู้ ทุกกระทู้ และ ขอบพระคุณคุณ kasaporn อีกครั้งค่ะ

ขอให้ทุกท่าน เจริญในธรรมนะคะ สา...ธุ ค่ะ happy.gif






จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#9 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 01:54 PM

(๑) ประเด็นหลัก(main idea)ของเรื่อง คือ เขาตกนรกเพราะ " ฆ่าหลาน "

ไม่ใช่เพราะ " ทำบุญแล้วเสียดาย "

key word คือ " ฆ่าหลาน "

ดังนั้น คำว่า " ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก " จึงผิด

ที่ถูกต้องคือ " ทำบุญแล้วเสียดายภายหลังจะได้ผลน้อย " และ " ฆ่าหลานตกนรก "

ที่ผิดคือ " ทำบุญกับพระอรหันต์แล้วเสียดายภายหลังจะตกนรก "

" คำพูดติดปากที่ผิดๆ " เช่น "ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก" เป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนาอย่างมาก

การพูดในกระทู้นอกจากจะเป็นการให้ความรู้ซึ่งกันและกันแล้ว

สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็ คือ """"""""""การสรุป""""""""""

สรุปว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรเป็นคุณเป็นโทษ,อันตรายต่อพระพุทธศาสนา ให้ " ชัดเจน " ลงไปเลย

เพื่อเป็น concept บรรทัดฐานทางศีลธรรมในสมองของมวลชน

เหมือนที่หลวงพ่อทัตตะเทศน์ทุกครั้งต้องสรุปตอนท้ายว่า " ชัดไหมละลูก "

มิเช่นนั้น เด็กใหม่ทางธรรม(และเด็กเก่าบางคน)เกิดมาอ่านเข้า ก็จะเข้าใจผิดว่า

" ทำบุญกับพระอรหันต์ แล้วเสียดายภายหลัง จะต้องตกนรก " ซึ่งมันไม่ใช่ มันผิดอย่างมหันต์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

มันแค่ได้ผลบุญน้อยลง ไม่ถึงกับตกนรก แต่ที่ตกนรกเพราะฆ่าหลาน

ถ้าไม่ฆ่าก็ไม่ตกนรกและไม่ถูกยึดทรัพย์

ที่ผมเตือนคือ"อย่าไปพูด(ประโยคที่ว่าทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก)บ่อยๆในสังคมจนเป็นที่ติดปากของประชาชน "

เมื่อติดปากแล้วจะแก้ไขไม่ได้เลย

พวกเราต้องหัดวิเคราะห์ในแง่ " จิตวิทยามวลชน "

ไม่งั้นจะตกเป็นเหยื่อของฝ่ายที่ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนาอยู่ร่ำไป เพราะไม่รู้เท่าทันมัน

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=18663

#10 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 03:48 PM

QUOTE
(๑) ประเด็นหลัก(main idea)ของเรื่อง คือ เขาตกนรกเพราะ " ฆ่าหลาน "

ไม่ใช่เพราะ " ทำบุญแล้วเสียดาย "

key word คือ " ฆ่าหลาน "

ดังนั้น คำว่า " ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก " จึงผิด ครั้งที่ 1

ที่ถูกต้องคือ " ทำบุญแล้วเสียดายภายหลังจะได้ผลน้อย " และ " ฆ่าหลานตกนรก "

ที่ผิดคือ " ทำบุญกับพระอรหันต์แล้วเสียดายภายหลังจะตกนรก " ครั้งที่ 2

" คำพูดติดปากที่ผิดๆ " เช่น "ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก" ครั้งที่ 3 เป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนาอย่างมาก

การพูดในกระทู้นอกจากจะเป็นการให้ความรู้ซึ่งกันและกันแล้ว

สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็ คือ """"""""""การสรุป""""""""""

สรุปว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรเป็นคุณเป็นโทษ,อันตรายต่อพระพุทธศาสนา ให้ " ชัดเจน " ลงไปเลย

เพื่อเป็น concept บรรทัดฐานทางศีลธรรมในสมองของมวลชน

เหมือนที่หลวงพ่อทัตตะเทศน์ทุกครั้งต้องสรุปตอนท้ายว่า " ชัดไหมละลูก "

มิเช่นนั้น เด็กใหม่ทางธรรม(และเด็กเก่าบางคน)เกิดมาอ่านเข้า ก็จะเข้าใจผิดว่า

" ทำบุญกับพระอรหันต์ แล้วเสียดายภายหลัง จะต้องตกนรก " ครั้งที่ 4

ซึ่งมันไม่ใช่ มันผิดอย่างมหันต์ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

มันแค่ได้ผลบุญน้อยลง ไม่ถึงกับตกนรก แต่ที่ตกนรกเพราะฆ่าหลาน

ถ้าไม่ฆ่าก็ไม่ตกนรกและไม่ถูกยึดทรัพย์

ที่ผมเตือนคือ"อย่าไปพูด(ประโยคที่ว่าทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก) ครั้งที่ 5

บ่อยๆในสังคมจนเป็นที่ติดปากของประชาชน "

เมื่อติดปากแล้วจะแก้ไขไม่ได้เลย

พวกเราต้องหัดวิเคราะห์ในแง่ " จิตวิทยามวลชน "

ไม่งั้นจะตกเป็นเหยื่อของฝ่ายที่ไม่หวังดีต่อพระพุทธศาสนาอยู่ร่ำไป เพราะไม่รู้เท่าทันมัน

http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=18663



เรียนอีกครั้ง ด้วยความเคารพค่ะ คุณ DJ

เพราะ koonpatt เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการท้วงติง ของ คุณ DJ

ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า การอธิบายใน ความคิดเห็นที่ 6 และ ความคิดเห็นที่ 8

koonpatt จึงไม่กล่าวถึงประโยคนั้นอีกเลย

แต่ คุณ DJ ลองนับในความคิดเห็นที่ 9 สิคะ

มีการกล่าวถึง ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ทั้งที่จะละไว้เสียก็ได้
nerd_smile.gif

และ koonpatt อยากจะบอกอีกอย่างหนึ่งก็คือ

นี่เป็นครั้งแรก ตั้งแต่เกิด จนอายุ 35 จะ 36 อยู่แล้ว red_smile.gif

koonpatt เพิ่งเคยจะได้ยิน ได้อ่าน และได้ฟัง ประโยคนี้ ครั้งแรกค่ะ

รบกวนพิจารณาด้วยค่ะ ว่า

เมื่อไม่อยากให้บุคคลอื่นพูดถึงอีก ก็ไม่ควรพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นกัน

จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#11 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 05:11 PM

คืออย่างนี้นะครับ

อยู่ในกระทู้ ก็จงกล่าวประโยคนั้นซ้ำๆไปเถิด (จะละไว้ไม่ได้ เดี๋ยวจะเข้าใจคลาดเคลื่อน) , เพื่อ " clear " สมองของคนที่ " ได้ " เข้ามาอ่านแล้ว ให้ชัดเจนสุดๆไปเลย, แต่ถ้าเวลาอยู่ในสังคมภายนอกในชีวิตประจำวัน เราจะไม่พูดคำนี้โดยเด็ดขาด

["การแก้ไขความเข้าใจผิดในพระธรรมนั้น เป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคน การไม่พูดถึง ไม่ใช่หนทางการแก้ไข เพราะคนที่ได้ยินแล้ว ก็คือได้ยินแล้ว เราจะบอกให้เขาลืมไม่ได้ แต่เราแก้ไขความเข้าใจผิดได้ และเราก็ควรจะทำไม่ใช่หรือครับ" (ฟังดูคุ้นๆคล้ายๆท้ายๆความเห็นที่หกไหมครับ ? ล้อเล่นนะครับ อย่าซีเรียส)]

ผมเป็นห่วงก็แต่มวลชน กลัวจะเป็น word of mouth , เดี๋ยวชาวบ้านจะไม่ใส่บาตร

เมื่อใดเป็น word of mouth , มวลชนจะทำตามคำพูดนั้นทันที โดยไม่ไตร่ตรองที่มาที่ไป

เช่น "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป" , "ทำสงครามศาสนาแล้วได้ขึ้นสวรรค์" , ฯลฯ

อันตรายมากๆ ขอ-บอก ขอ-บอก

สังเกตุเห็นไหมว่า slogan คำพูดแปลกๆใหม่ๆที่ " ชั่วร้าย " เหล่านี้ , สมัยก่อนไม่มี , ยุคพุทธกาลก็ไม่มี

แต่ปัจจุบันมีมากๆ เพราะมีขบวนการทำลายพระพุทธศาสนา " จริงๆ "

หลวงพ่อจึงต้องสร้าง " วาทะธรรม " ต่างๆ เป็น slogan " ที่ดีงาม " ไว้ต่อสู้กับ slogan ที่ชั่วร้าย

เรื่องกระต่ายกับเต่า ผมโอเค เพราะไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

ส่วนเรื่องของประโยคที่เป็นปัญหานี้ ถ้าจะเพื่อให้คนคิดถึงองค์แห่งทาน๖ประการนั้น ไม่คุ้มครับ เสียมากกว่าได้

แต่งสโลแกนใหม่ดีกว่า เช่น "ทำบุญใจใสได้บุญมาก ทำบุญใจหมองได้บุญน้อย" เป็นต้น

ดังนั้นคนดีจึงต้องสามัคคี ช่วยกัน คุณหาข้อมูลเก่ง หามา ผมจะสรุปให้ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

เนรูห์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษแห่งอินเดีย กล่าวว่า

"ในโลกนี้คนดีมีมากกว่าคนชั่ว แต่คนชั่วชนะ เพราะคนดีไม่สามัคคีกัน"

#12 ติงตังมาว

ติงตังมาว
  • Members
  • 58 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 09:24 PM

Plato: "สิ่งเดียวที่จะทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือ การที่คนดีอยู่นิ่งเฉย" omg_smile.gif
(จำได้จากเรื่อง tear of the sun)


#13 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 11:36 PM

อนุโมทนา การสนทนาธรรมของทุกท่านนะครับ
ได้ฟัง(อ่าน)การสนทนาธรรม ของทุกท่านแล้ว สมองแล่นดีครับ

QUOTE
ทำบุญแล้วไม่ได้บุญแบบนี้มีไหมครับ

เจ้าของกระทู้ ใช้คำ ว่า ทำบุญ
ฉะนั้น คำว่า ไม่ได้บุญ
ก็ไม่น่า มี นะครับ
งงม่ะ

เพราะทำบุญ ย่อมได้ บุญ

ความดีที่ทำแล้วได้บุญ นอกจากทานมัย หรือ ทานกุศลแล้ว
ยังมีอย่างอื่นอีกมาก ที่ ทำแล้วได้ บุญ ( ผล จากการทำความดี ) นะครับ
เช่น ทำกุศลกรรมบท ๑o ละอกุศลกรรมบท ๑o บุญกิริยาวัตถุ ๑o

ส่วนว่า การทำบุญ (ทานกุศล)ด้วยจิตและเจตนา ต่าง ๆ ก็ย่อมส่งผลต่างกันได้
ดังที่ koonpatt นำพระสูตร มาเสนอไว้

หรือ อาจมีผลกระทบในทางร้าย ตามมาได้
แต่นั่น ก็ไม่ได้หมาย ความว่า ทำบุญ แล้วทำให้เกิดเรื่องร้าย ๆ นะครับ

แต่ถ้าทำความดี กับ คนพาล แบบ ชาวนากับงูเห่า ฯล
หรือ ทำเกินพอดี
หรือคนรอบตัว มีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ต่างกับเรา ก็อาจขัดแย้ง ทะเลาะกันได้
หรือ ฯลฯ

ว่าแต่ เจ้าของกระทู้ มีคำจำกัดความของคำว่า บุญ หรือ ทำบุญ อย่างไรล่ะครับ ???
ถึงได้ มีคำถาม ว่า
QUOTE
ทำบุญแล้วไม่ได้บุญ


ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#14 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 November 2008 - 12:02 PM

THANK YOU VERY MUCH, KHUN DD.