ไปที่เนื้อหา


xlmen

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 29 Oct 2005
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Nov 27 2006 04:49 PM
-----

กระทู้ที่ฉันเริ่ม

ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน

24 May 2006 - 06:37 PM

ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน

[๘๒๕] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน ความว่า
นรชนบางคนในโลกนี้ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไปตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไหว้พระเจดีย์ บูชาเครื่องหอมและดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักบิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ

ก็ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งคติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งอุปบัติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งภพ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งสงสาร ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งวัฏฏะ

เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้มโอนไปในนิพพาน ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.

อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง น้อมจิตเข้าไปในอมตธาตุว่าธรรมชาติใด
คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ธรรมชาตินี้สงบ ประณีต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.

สมจริงดังพระพุทธภาษิตว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมให้ทานเพราะเหตุแห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มี
ภพต่อไป โดยส่วนเดียว. บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญฌานเพราะเหตุแห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ เพื่อภพต่อไป แต่บัณฑิตเหล่านั้น ย่อม
เจริญฌาน เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพต่อไป โดยส่วนเดียว.

บัณฑิตเหล่านั้น มุ่งนิพพาน มีจิตเอนไปในนิพพานน้อมจิตไปในนิพพาน ย่อมให้ทาน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเล ฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.

ที่มา : http://84000.org/tip...&A=9608&w=ทำบุญ


ว่าด้วยทำบุญอะไรจึงเป็นเทพธิดาสวยงาม

24 May 2006 - 06:12 PM

ว่าด้วยทำบุญอะไรจึงเป็นเทพธิดาสวยงาม

[๑] พระโมคคัลลานะถามว่า
ตั่งทองคำของท่านอันใหญ่โต ลอยไปในที่ต่างๆ ได้เร็วดังใจตามปรารถนา ท่านมีกายอันประดับแล้ว ทรงมาลัยนุ่งห่มผ้าสวยงาม มีรัศมีเปล่งปลั่งดังสายฟ้าอันแลบออกจากกลีบเมฆ ท่านมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะบุญอะไร อนึ่ง โภคะอันเป็น ที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านเพราะบุญอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน ครั้งเมื่อท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีกายของท่านสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีใจยินดีได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

เมื่อดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก ได้ถวายอาสนะแก่หมู่ภิกษุผู้มาใหม่ ได้อภิวาท ได้ทำอัญชลี และให้ทานตามสติกำลัง

ดิฉันมีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญนั้น อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ดิฉันในที่นี้เพราะบุญนั้น อนึ่ง โภคะอันเป็นที่รักแห่งใจทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดแก่ดิฉันก็เพราะบุญนั้น ข้าแต่ ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอบอกแก่ท่าน เมื่อครั้งดิฉันเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญใดไว้ ดิฉันนั้นมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่วทิศเพราะบุญนั้น.

ที่มา : http://84000.org/tip...=26&A=7&w=ทำบุญ

********************************************************************
ผลบุญเป็นอจินไตย ถ้าบุคคลใดเข้าถึงซึ่งการสละ ละวาง กิเลสทั้งปวง แม้จะยังไม่ถึงกับตัดกิเลสเขาย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของเหล่าเทวดาทั้งหลาย และบังเกิดทิพยสมบัติอันเป็นอจินไตยแล

อัตตนา โจทยัตตานัง

24 April 2006 - 11:20 PM

อัตตนา โจทยัตตานัง


อัตตนา โจทยัตตานัง จงกล่าวโทษโจทความผิดของตัวไว้เสมอ อย่าไปยุ่งกับคนอื่น คตินี้นักปฏิบัติทุกคนเขาจะประณามตัวเองเข้าไว้เสมอ อารมณ์ยุ่งอยู่กับกามราคะนิดหนึ่งเขาจะประณามว่าเลวทันที ของอะไรก็ดี ถ้าชมว่าสวย ชมว่างาม เมื่อรู้สึกขึ้นมาก็รู้สึกว่าใจของเรามันเลวเสียแล้วรึนี่ แค่นี้เขาตำหนิตัวเขาแล้ว แล้วยิ่งไปเพ่งโทษของบุคคลอื่นไปแสดงอารมณ์ อิจฉาริษยาบุคคลอื่น ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเร่าร้อน นั่นแสดงว่ากิเลสมันไหลออกมาทาง กายและทางวาจา มันล้นออกมาจากใจมันเลวเกินที่จะเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ นี่เราต้องประณามอย่างนี้ แล้วทางที่ไปจะไปไหน เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเป็นไม่ได้ ต้องไปขึ้นต้นมาจากนรก มันไม่เหมาะสำหรับเรา นี่เราต้องประณามตัวไว้เป็นปกติอย่าเที่ยวประณามคนอื่นเขา

***** จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะต้องมาลงโทษเรา ก่อนที่คนอื่นจะลงโทษ กรรมที่เราทำความชั่วมันก็ ทำความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่เรา ใครเขาพูดความชั่วคราวใดเราก็สะดุ้งเพราะเรามันเลว พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนไว้เสมอ และจงโจทตน กล่าวโทษ ตนไว้เป็นปกติ หาความชั่วของตัว อย่าไปหาความชั่วของบุคคลอื่น ถ้าเลวมากเมื่อไหร่เราก็เพ่งเล็งความเลวของบุคคลอื่นมากเท่านั้น ถ้าเราดีมากเท่าไหร่เราก็ไม่มองเห็นความเลว
ของบุคคลอื่นเพราะยอมรับนับถือกฎของกรรมที่เรายังไปหาความเลวของบุคคลอื่น เสียดสี เขาบ้าง พูดกระทบกระเทียบเขาบ้าง ทำลายความสุขใจเขาบ้างนั่นแสดงว่า เรามันเลวที่สุด ของความเลวคือความเลวมันไม่ได้ ขังอยู่ เฉพาะในใจ มันไหลออกมาทางกายไหลออกมา ทางวาจา เพราะมันล้น เลวจนล้น นี่ขอทุกท่านจงจำไว้ อย่าไปมองดูความเลวของคนอื่น มองดูความเลวของตน ไม่ต้องไปปรับปรุงบุคคลอื่น ปรับปรุงเราเองให้มันดีที่สุด

***** ถ้าเรายังรู้สึกว่าคนอื่นเขาชั่วก็แสดงว่าเราชั่วมาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราดีแล้ว ไม่มีใครชั่ว เพราะว่าเรายอมรับนับถือกฎของกรรม อะไรจะมีชั่ว เรายังนินทาว่าร้ายบุคคลอื่น นั่นเรายังชั่วอยู่ อาการอย่างนี้จงลืมเสียให้หมด

***** สำหรับคนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรานั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ไม่มีทางที่จะคืนตัวได้ เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือ สัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราคิดว่า ถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียงจะกระทำตอบเราก็จะเลว ตามเขาเวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมนรก เหมือนกันมันไม่มีประโยชน์จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจ ขันติ หรือ อุเบกขา เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย

***** อีกอันหนึ่ง ต้องทำใจของเราให้หยุดอยู่ในจุดสงบ หมายความว่า เราเพ่งเล็งจิตของเราแต่ผู้เดียว ตามพระบาลีว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเองไว้เสมอว่า คำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ว่าอย่างไรให้เราปฏิบัติ ห้ามไว้แบบไหนไม่ให้ เราทำ อันนี้ต้องปฏิบัติให้เคร่งครัด ไม่ใช่จะไปนึกเอาตามอารมณ์ที่ชาวบ้านเขาทำกัน ชาวบ้านไม่ใช่พระพุทธเจ้าถ้าคนนั้นเขาดีจริงเขาต้องเป็นพระพุทธเจ้า ที่เขาสร้างแบบแผนขึ้นมาหักล้างคำสอนของพระพุทธเจ้านี่ เราเป็นพุทธสาวกปฏิบัติตามไม่ได้ ถ้าขืนปฏิบัติตาม เราก็ไม่มีมรรคผลใด ๆ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เพราะคัดค้านคำสอนของพระพุทธองค์เสียแล้ว

***** ก่อนที่จะทำ ก่อนจะพูดน่ะใคร่ครวญเสียก่อน อย่าไปคิดเห็นบุคคลอื่นว่าเขาเลว เราเห็นคนอื่นเลว นี่ก็กลายเป็นการสร้างความเลวให้เกิดขึ้นแก่ใจของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้กล่าวโทษโจทความผิดตัวเองว่ามันเลวไว้เสมอ หาจุดความเลวของกาย หาจุดความเลว ของวาจา หาจุดความเลวของใจ อย่าไปหาจุดของความดี ถ้าพบจุดความเลวจุดไหน ทำลาย ความเลวจุดนั้นให้หมดไป แล้วความดีมันก็ปรากฏเอง

***** อย่าทำอารมณ์ให้วุ่นวาย อย่าใจน้อย อย่าคิดมาก จงคิดไว้เสมอว่า เราต้องตาย อย่าห่วงคนอื่น มากเกินกว่ากฎของกรรม จงนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก อย่าทะเยอทะยานเรื่อง ยศศักดิ์ ถึงเวลามันได้ ถึงเวลามันมี ทำใจสบาย จะมีความสุข เรื่องลูกก็ขอให้ตั้งอารมณ์ไว้ ในฐานะพ่อแม่ที่ดี แต่อย่าดิ้นรนเกินพอดี จะเป็นทางตัดนิพพานให้ไกลออกไป

***** เรื่องลูก จงรักเมื่อเรามีลมปราณ ทำหน้าที่ของพ่อแม่ให้สมบูรณ์และคิดไว้เสมอว่า เราต้องตาย เขาต้องตาย มีอะไรที่เราจะเป็นทุกข์เพื่อเขา เมื่อเราหรือเขาตาย หัดวางหัดคิดหัดยับยั้งใจ ค่อยคิดค่อยทำค่อย ๆ อบรมตัวเอง อย่าหวังวาจาของคนอื่นอบรม ทำอย่างนั้นเอาตัวไม่รอด ต้องคอยจับผิดตัวเอง คอยลงโทษตัวเอง คอยเป็นโจทก์ฟ้องตัวเองเอาธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นตุลาการ จงถือธรรมเป็นสำคัญ อย่าถือคนถ้ายังติดคนก็จะไม่ถึงธรรม ถ้าถึงธรรมก็พ้น จากการติดคน ถ้าติดคน ติดยศของคน ติดฐานะของคน ติดศักดิ์ศรีของคน ไม่มีอะไรดี เราก็ ไม่เข้าถึงธรรมทุกอย่างที่ทำไปควรปรารภธรรมอย่าเห็นแก่คน เรื่องการต้อนรับก็มุ่งเอาธรรมเป็นสำคัญ ทำไปด้วยใคร่ครวญพิจารณาไปด้วย จงเข้าใจว่าทุกอย่างที่ทำไปเป็นเรื่องของ ชาวโลกแต่ก็เป็นธรรม คือการทรงตัวของชาวโลกถ้าเรายังเกิด เราก็ต้องทุกข์อย่างนี้ อะไรทำให้ทุกข์ เพราะความอยากทำให้ทุกข์ ถ้าเราไม่อยากเราก็ไม่ทุกข์ ที่เราทุกข์ก็เพราะชาติ ก่อนเราไม่หมดอยาก และชาตินี้เราก็ยังอยาก เมื่อไรความอยากสิ้นไปเมื่อนั้นก็ถึงนิพพาน

จากหนังสือคำสอนของพ่อ ของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

มีเพื่อนถามมาว่ากระทู้ที่น่าสนใจทำไม??

23 April 2006 - 01:13 PM

มีเพื่อนถามมาว่ากระทู้ที่น่าสนใจทำไมไม่ทำหน้าบอร์ดให้เข้าถึงได้ง่ายกว่านี้
เห็นมีแต่ Link ทางเข้ากระทู้ตัวเดียวเองครับแบบนี้ถ้าใครไม่สังเกตกระทู้ดีๆ เพื่อนๆ ก็อดอ่านสิครับ??

วงจรอายุขัยของมนุษย์

21 April 2006 - 02:21 AM

จักกวัตติสูตร

[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึง ความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง เหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปีบุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชาผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้าบุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ บุรุษนั้นได้กราบทูล คำเท็จทั้งรู้อยู่ว่า ไม่จริงเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ

***ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี สัตว์บางพวกมีวรรณะดี สัตว์บางพวกมีวรรณะไม่ดี ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดีก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่มีวรรณดี ถึงความประพฤติล่วงในภรรยาของคนอื่น

[๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้างบุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ธรรม ๒ ประการคือผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑,๐๐๐ ปี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอยแม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ ๑ วิสมโลภ ๒ มิจฉาธรรม ๓ ก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย เมื่อธรรม๓ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี ธรรมเหล่านี้คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย ฯ

****ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย
เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความ
แพร่หลาย ปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลายมุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้
ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลายอภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความ
แพร่หลาย มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย

เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลายธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
(๑) ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม (๒) ความโลภไม่เลือก (๓) ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา

เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้ คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติ
ชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น

ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ ๑ จักเป็นอาหารอย่างดี [i]ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุกข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน[/i]

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ในบัดนี้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือนแพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับบุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัปสิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้งหลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคมนั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุม
ว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระ
นั้นเลยเราควรทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศล
ธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้างจักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตร
ของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่ากระนั้นเลย เราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจากอทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา ควรงดเว้นจากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาทควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรมอย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบในสมณะ ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดาปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติ
อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย
วรรณะบ้าง
เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปีจักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตร
ของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี บุตรของคนมีอายุ ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี
จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯ

ที่มา : http://84000.org/tip...1&A=1189&Z=1702

......อายุขัยได้ลดลงมาตามลำดับตั้งแต่ 80,0000 > 40,000 > 20,000 > 10,000 > 5,000>2,500>1,000>500>250>100>10 ปีตามลำดับ ไขลงเป็นเป็นวัฎฎะ ถ้าอายุเพิ่มขึ้นเป็นวิวัฎฎะ

ขออภัยยาวหน่อยนะครับ ถ้าใครอ่านไหวก็ค่อยๆ อ่านไปทีละน้อยละกันครับ ถ้าจำได้ละเอียดแม่นๆ จะได้อ่านรอบเดียวไม่ต้องอ่านซ้ำอีกครับ
ขอให้เจริญในธรรมะสมบัติกันทุกท่านครับสาธุ