ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

การครองเรือนมีโทษอย่างเดียวหรือ?


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 15 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ps072

ps072
  • Members
  • 10 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 08:28 PM

เราเรียนรู้มาว่าการครองเรือนเป็นทุกข์ และมีโทษภัยมาก
จึงอยากทราบว่าแล้วการครองเรือนไม่มีคุณบ้างเลยหรือ?
แล้วเชื้อสายคนดีจะไม่หมดไปหรือ เนื่องจากไม่มีที่มาจุตติ

อยากทราบความคิดเห็นหน่ะครับ ไม่ได้มีเจตนาอย่างอื่นเพราะเป็นนักเรียนอนุบาลอยู่ครับ 8-|


#2 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 08:47 PM

มีสุขนิดนึง มีโทษมากกว่า เหมือนหมาแทะกระดูก หอมหวาน แต่ไม่รู้จักอิ่ม




#3 JOYSA

JOYSA
  • Members
  • 234 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 08:59 PM

QUOTE
พระธรรม

๒. พระธรรม ได้แก่ หลักธรรมคำสอนอันเป็นสัจธรรมความจริงที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้วนำมาเผยแพร่แก่ชาวโลก พระธรรมคำสอนมี ๒ ลักษณะ คือ ธรรมที่สอนแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป ซึ่งเป็นปุถุชนคนมีกิเลสทั้งหลาย เพื่อให้ครองตนครองชีวิตตามแบบฆราวาสอย่างมีความสุขความเจริญ เรียกว่า “โลกิยธรรม” เช่นคำสอนว่าด้วยเรื่องการทำงาน การครองเรือน การดำรงชีวิตคู่ เป็นต้น และคำสอนให้ทำบุญกุศลเพื่อการไปสู่สุคติในภพหน้า ส่วนคำสอนอีกระดับหนึ่ง เป็นคำสอนสำหรับผู้ที่ต้องการความหลุดพ้น เรียกว่า “โลกุตรธรรม” เป็นคำสอนสำหรับนักบวชหรือผู้ที่ต้องการความหลุดพ้นจากกองทุกข์ เป็นคำสอนเพื่อการลดละกิเลสทุกชนิด จนเข้าถึงพระนิพพาน

พระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาประกอบด้วยเหตุและผล สามารถอธิบายตามกระบวนของเหตุผลได้อย่างชัดเจน และสามารถตอบคำถามชีวิตและโลกได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง จนเป็นที่ยอมรับของบรรดาปราชญ์ทั้งตะวันออกและตะวันตกที่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา พระธรรมจึงมีความหมายครอบคลุมอย่างกว้างขวาง ดังนี้

- พระธรรม หมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงนำมาสั่งสอนตลอด ๔๕ พรรษา

- พระธรรม หมายถึงแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามสำหรับทุกคน

- พระธรรม หมายถึงความดีงามภายในจิตใจของบุคคล

- พระธรรม หมายถึงความจริง หรือสัจธรรมที่เป็นความจริงแท้

- พระธรรม หมายถึงธรรมชาติของสรรพสิ่งที่เป็นไปตามหลักการของเหตุและผล

ลักษณะของธรรมะในพระพุทธศาสนาคือ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างชัดเจนครบถ้วน เป็นความจริงที่ผู้ปฏิบัติย่อมประจักษ์ผลได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดเวลา เป็นสิ่งที่ท้าต่อการพิสูจน์ความจริง เป็นสิ่งทีควรน้อมนำมาปฏิบัติในชีวิต และเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เฉพาะตน จะทำแทนกันไม่ได้



*************************

ก็ถ้าไม่มีพ่อกับแม่จอยคงไม่ได้มาเป็นลูกพระธรรมค่ะ แต่ในความคิดของจอยคือมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ที่ตัวเราจะเลือกเดินทางไหนค่ะ




#4 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 09:05 PM

QUOTE
แล้วเชื้อสายคนดีจะไม่หมดไปหรือ เนื่องจากไม่มีที่มาจุตติ

อย่ากลัวเลยครับว่ามนุษยชาติจะสูญพันธุ์ครับ เพราะปกติธรรมดาจิตของมนุษย์โดยมากมักน้อมไปในใฝ่ต่ำ ยากที่จะสูญพันธุ์ครับ ที่สำคัญความดีหรือชั่วไม่ได้มีพันธุกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ครับ แต่ทางพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ
ที่มา : เล่ม 14 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

#5 หยุดอะตอมใจ

หยุดอะตอมใจ
  • Members
  • 729 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 09:40 PM

ถ้าเกิดแบบชลาพุชะ (หมายถึง สัตว์ที่มีกำเนิดจากครรภ์มารดา อาทิ กำเนิดของมนุษย์ ) ไม่ได้ ก็มีการเกิดแบบโอปปาติกะ (สัตว์ที่เกิดแล้วโตทันที อาทิ เทวดา) ได้ครับ อย่าลืมว่าการเกิดมี 4 แบบนะครับ

เหมือนกับที่เค้าบอกว่า ถ้าเลิกฆ่าสัตว์ แล้วมนุษย์จะมีอะไรกินรึ

มีสิครับ อาหารของมนุษย์ต้นกัป แม้จะเป็นง้วนดิน เครือดิน หรือดินแบบต่างๆ ก็ล้วนมีรสชาติโอชารสกว่าอาหารในปัจจุบันอีกนะครับ

ถ้ามนุษย์เลิกฆ่าสัตว์ ก็แสดงว่ามีคุณธรรมสูงขึ้น สมบัติที่ได้ (รวมถึงอาหารของมนุษย์) ก็จะปราณีตขึ้นด้วยครับ

แค่นี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะไปปราบมารได้ไง


#6 ps072

ps072
  • Members
  • 10 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 10:00 PM

อีกกรณีนะครับ ได้ทราบมาจากคนที่มาวัดบางท่านถูกผู้นำบุญที่เป็นผู้ปกครองของตนคอยบอกไม่ให้ครองเรือนจนถึงให้เลิกคบกับคนรักเลยก็มี จนทำให้เค้าไม่อยากมาอีกเพราะลำบากใจ เราจะช่วยเค้าได้อย่างไรดีครับ

#7 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 10:09 PM

รู้สึกว่ากระทู้นี้เคยมีเพื่อนๆ ลงความเห็นตอบไปแล้วหนิครับ ลองเข้าไปอ่านคำตอบเดิมไม่ดีกว่าหรือครับ
ลองเข้าไปอ่านดูกระทู้เดิมก็ได้ครับ http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=2182
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#8 เถลิงเกียรติ

เถลิงเกียรติ
  • Members
  • 760 โพสต์
  • Interests:N/A

โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 11:00 PM


ปาฐกถาธรรมเรื่อง
หลักการครองเรือน
โดย พระภาวนาวิสุทธิคุณ (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)
เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เวลา ๐๘.๐๐ น.

เจริญสุข/เจริญพร ญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน

เมื่อครั้งที่แล้วๆ มา อาตมภาพได้กล่าวถึง หลักธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติในการครองตน ครองคน และครองงาน ไปแล้ว วันนี้อาตมภาพจะได้กล่าวถึง หลักธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติใน “การครองเรือน” ต่อไป

เมื่อจะกล่าวถึง หลักธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติในการครองเรือน ก็จะขอเจริญพรทำความเข้าใจไว้เป็นเบื้องต้นก่อนว่า อาตมภาพจะได้กล่าวถึงข้อปฏิบัติโดยธรรม คือ ข้อปฏิบัติในการครองเรือน ตามหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้สมาชิกในครอบครัวดำเนินไปในแนวทางแห่งความเจริญ และสันติสุขอย่างมั่นคงร่วมกัน ไม่เป็นไปในทางเสื่อมหรือเป็นโทษ เป็นความทุกข์เดือดร้อนได้ในภายหลัง กล่าวคือ จะได้กล่าวเฉพาะข้อปฏิบัติโดยธรรมระหว่างคู่ครอง หรือ คู่สมรส ให้อยู่ร่วมกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ตามสมควรแก่ฐานะของครอบครัว ไม่เกี่ยวด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นศิลป์ในการครองรักตามอำนาจของตัณหา หรือราคะกิเลส อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์เดือดร้อนได้ในภายหลัง

“การครองเรือน” ณ ที่นี้หมายถึง การมีและการดำเนินชีวิตครอบครัว โดยความตกลงใจอยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยา ไม่ว่าจะโดยพฤตินัย และ/หรือ โดยนิตินัยก็ตาม รวมทั้งการมีและการปกครองดูแลบุตร และบริวารในครอบครัว อีกด้วย

วันนี้ อาตมภาพจะได้ยกเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อันเป็นข้อปฏิบัติที่ดีแก่การครองเรือน ให้เกิดความอบอุ่นและสงบสุขภายในครอบครัว พร้อมด้วยตัวอย่างจากประสบการณ์ และ/หรือ ข้อปฏิบัติโดยธรรมที่ผู้รู้ได้ศึกษา และเสนอแนะไว้อย่างสอดคล้องต้องกับหลักศีลธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาแก่สาธุชนผู้สนใจในการศึกษาสัมมาปฏิบัติ ต่อไป

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสข้อควรปฏิบัติดีต่อกันระหว่างสามี-ภรรยา มีปรากฏในสิงคาลสูตร (ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑/๒๐๔) ว่าดังนี้

ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑ ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑ ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ๑ ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๑ ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑

ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานดี ๑ สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดี ๑ ไม่ประพฤตินอกใจสามี ๑ รักษาทรัพย์ที่สามีทำมาหาได้ ๑ ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ๑

ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหลังนั้น ชื่อว่า อันสามีปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้.

นี้เป็นพระพุทธดำรัสตรัสแก่สิงคาลกคฤหบดีบุตร ในสมัยที่ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน แล้วเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้เห็นสิงคาลกะกำลังประคองอัญชลีนอบน้อมไหว้ทิศทั้งหลายอยู่ จึงได้ทรงแสดงธรรมว่าด้วยทิศ ๖ อันอริยะสาวกในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เป็นผู้กระทำความป้องกันในทิศทั้งหลายเหล่านี้ คือ ปฏิบัติต่อกันด้วยดี ให้เกิดความเกษมสำราญ ให้ไม่มีภัย กล่าวคือ ให้ถึงความอบอุ่น ปลอดภัย และสงบสุข อันเป็นข้อปฏิบัติที่ดีสำหรับการครองใจคน และการครองเรือน นั้นเอง

ท่านผู้ฟังพึงทราบว่า ประเพณีการดำเนินชีวิตของผู้ครองเรือนในสมัยพุทธกาลตลอดจนถึงสมัยโบราณของไทยเรา มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน คือ สามีทำหน้าที่เป็นผู้นำครอบครัวทั้งในการประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพ และในการกระทำความคุ้มครองป้องกันภัยแก่ภรรยา และบุตรบริวารในครอบครัวของตน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงฐานะของสมาชิกภายในครอบครัวว่า สามีเป็นทิศเบื้องหน้า ส่วนภรรยาและบุตรนั้น เป็นทิศเบื้องหลัง ที่สามีจะพึงปกป้องให้มีความเกษมสำราญ และให้ไม่มีภัย โดยบำรุงภรรยาด้วยสถาน ๕ และฝ่ายภรรยาอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ แล้วก็ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ ด้วยเช่นกัน

สรุปความว่า ทั้งสามีและภรรยาพึงจะต้องปฏิบัติดีต่อกันทั้งสองฝ่าย คือ สามีพึงบำรุงภรรยา ๕ สถาน และภรรยาก็พึงอนุเคราะห์สามี ด้วยการประพฤติปฏิบัติดีต่อสามี ๕ สถาน ด้วยเช่นกัน การดำเนินชีวิตครอบครัวจึงจะราบรื่น อบอุ่น และมีความสงบสุข

สามีอันภรรยาอนุเคราะห์ คือ ปฏิบัติดีแล้ว พึงบำรุงภรรยาด้วยสถาน ๕ คือ

๑) สมฺมานนาย ด้วยการยกย่องว่าเป็นภรรยา สามีที่ดีพึงยกย่องภรรยาทั้งโดยนิตินัย ได้แก่ การยอมรับว่าเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยการจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมาย และโดยพฤตินัย ได้แก่ การยอมรับและยกย่องให้เกียรติในสังคมว่าเป็นภรรยา เช่น การนำภรรยาเข้าสู่สังคม ให้เกียรติ/ยกย่องภรรยา ตามโอกาสอันสมควร

การแสดงการยอมรับ การให้เกียรติ และยกย่องภรรยา ทั้งโดยนิตินัยและโดยพฤตินัยตามสมควรแก่โอกาส เช่นนี้ ย่อมเป็นทั้งคุณเครื่องยังความอบอุ่นใจแก่ภรรยา ผู้ตั้งใจอนุเคราะห์และปฏิบัติดีต่อสามี และเป็นทั้งคุณเครื่องช่วยให้ภรรยามีความรักผูกพันต่อสามีด้วยความจงรักภักดีอย่างมั่นคง และทั้งมีผลไปถึงความอบอุ่นใจของบุตร และบริวารในครอบครัวเป็นอย่างดี และประการสำคัญก็คือ เป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบของสามีต่อครอบครัว คือ ต่อภรรยาและบุตรอย่างสมฐานะของชายชาตรี อันนับเป็นผู้นำครอบครัวที่ดี อีกด้วย

เพราะเหตุนี้ในวงสังคมชั้นดีของไทยและนานาชาติ จึงต่างยอมรับ การยอมรับ และ การยกย่องให้เกียรติแก่ภรรยา ว่า เป็นวัฒนธรรมที่ดี ฉะนั้นเมื่อมีการเชิญกันไปร่วมในงานสังคมต่างๆ จึงนิยมเชิญทั้งสามีและภรรยา หากเจ้าภาพเชิญ แต่เฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่มีเหตุอันสมควรแล้ว ผู้รับเชิญ ก็จะถือว่า ไม่ให้เกียรติกันเลยทีเดียว และอีกประการที่สำคัญก็คือว่า

ในระหว่างบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถพอๆ กัน แต่มีความรับผิดชอบต่อครอบครัวต่างกัน หากจะมีการคัดเลือก หรือเลือกตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ให้เข้าดำรงตำแหน่งที่สำคัญระดับผู้นำ หรือผู้บริหารองค์กรที่มีความรับผิดชอบสูง สังคมหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือก หรือเลือกตั้ง ย่อมยอมรับ หรือ คัดเลือกบุคคลผู้มีความรับผิดชอบต่อครอบครัวดี มากกว่าที่จะยอมรับ หรือ คัดเลือกบุคคลผู้ขาดสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครอบครัวเป็นธรรมดา โดยเหตุผลที่ว่า แม้ครอบครัวของตนเอง ซึ่งเป็นเพียงสังคมเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ชิดตนเองที่สุด ก็ยังจัดการให้ดี คือ ให้อบอุ่นและสงบสุขไม่ได้ แล้วจะรับผิดชอบต่อองค์กรใหญ่ๆ ที่มีความรับผิดชอบสูงให้ดีได้อย่างไร

ผู้คนในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการติดต่อสื่อสาร รับ-ส่ง ข้อมูลถึงกันอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า “ยุคโลกาภิวัตน์” นี้ ค่อนข้างจะรู้จักคุณค่าของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าน้อยลงๆ การรู้จักผิด-ชอบ ชั่ว-ดี การรู้จักมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอกุศลมีน้อยลง และแม้วัฒนธรรมที่ดี อันเป็นที่ยอมรับของนานาชาติที่เจริญแล้วอย่างนี้ ก็ดูไม่ค่อยจะรู้จักกันแล้ว จึงปรากฏข่าวพฤติกรรมที่เรียกว่า “ไข่ทิ้งกะเรี่ยกะราดเหมือนเป็ด” หรือยิ่งซ้ำร้ายไปอีก คือมีข่าวว่า เดี๋ยวนี้เยาวชนของชาติระดับชั้นอุดมศึกษาบางกลุ่มบางสถาบัน มีคตินิยมที่ต่ำลงไป ถึงขั้นที่เรียกว่า “ฟันแล้วทิ้ง” กันแล้ว ซึ่งแสดงถึงอัธยาศัยใจคอที่ไร้ศีลธรรมประจำใจ เป็นคนมักง่าย จิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัวจัด เป็นการเพาะนิสัยที่ชอบประพฤติตนลอยตัวอยู่เหนือปัญหา กลายเป็นผู้มีอัธยาศัยที่ชอบหลีกเลี่ยงปัญหาและทอดทิ้งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของตน ซึ่งกำลังมีเพิ่มมากขึ้นทุกทีในสังคมยุคนี้ จนเป็นที่น่าเป็นห่วงอนาคตของชาติ ว่า ต่อไปในกาลข้างหน้า แม้ในระยะอันใกล้นี้ก็เถอะ ประเทศชาติของเราจะมีคนในชาติที่มีคุณธรรม คือ มีศีล มีธรรมประจำใจ มีความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบจริงๆ ต่อสังคม นับตั้งแต่สังคมย่อย เช่นสังคมครอบครัว จนถึงสังคมใหญ่ คือ ประเทศชาติ สักกี่คน

ควรที่ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว ตลอดถึงผู้นำสังคมทุกระดับจะพึงปฏิบัติตนด้วยดี มีศีล มีธรรม มีความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครอบครัวและต่อสังคมให้ดี จึงจะสามารถบริหารครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ให้ถึงความร่มเย็นและสันติสุขที่แท้จริงได้ และจึงจะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน หรืออนุชนรุ่นหลัง ให้ถือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ในความเป็นผู้นำที่ดีของครอบครัว ของสังคม และประเทศชาติสืบต่อไปได้

๒) อวิมานยาย ด้วยความไม่ดูหมิ่นภรรยา เมื่อตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยาแล้ว สามีไม่พึงปฏิบัติต่อภรรยาด้วยอาการ และ วาจาอันเป็นการดูหมิ่นดูแคลนภรรยา ทั้งต่อหน้า และ ลับหลัง เช่น ชอบตำหนิติเตียนอย่างไม่ไว้หน้า หรือดุด่าภรรยาด้วยกิริยา วาจา ก้าวร้าว หยาบคาย ไร้มารยาทอย่างรุนแรง หรืออย่างสาดเสียเทเสีย อันยังความเจ็บช้ำน้ำใจแก่ภรรยา ให้ไม่มีกำลังใจที่จะประพฤติดีต่อตัวสามี ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ให้สิ้นความจงรักภักดี และถึงความแตกร้าวได้ง่าย

สามีพึงปฏิบัติต่อภรรยา ด้วยความเมตตากรุณาธรรม คือ ปรารถนาที่จะให้ภรรยาอยู่ดีมีสุข และให้พ้นทุกข์ กล่าวคือ พึงปฏิบัติต่อภรรยาด้วยความรักความเมตตา เห็นอกเห็นใจกัน มีปัญหาข้องใจ ขัดเคืองใจ หรือไม่ถูกอกถูกใจกันอย่างไร ก็พูดจาทำความเข้าใจกันด้วยดี แนะนำกันด้วยอุบายวิธีที่ดี ด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้กระทบกระเทือนจิตใจกัน พึงให้รู้จักยกย่องให้เกียรติภรรยาในโอกาสอันสมควร ไม่เอาแต่ใจตนเองเป็นใหญ่ ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้มาก ก็จะสามารถผูกใจภรรยาให้มีความจงรักภักดีต่อตนหนักแน่นมั่นคงยิ่งขึ้น อันจะยังความอบอุ่น และความสงบสุขให้บังเกิดมีแก่ทั้งตนเองและครอบครัว ได้มาก

๓) อนติจริยาย ด้วยความไม่ประพฤตินอกใจ สามีไม่พึงประพฤตินอกใจภรรยา สามีพึงปฏิบัติต่อภรรยาด้วยความเห็นอกเห็นใจ คือรู้จัก “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ว่า ของใครๆ ก็รัก ของใครๆ ก็หวงแหน สามีย่อมชอบใจที่ภรรยามีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อตน ไม่นอกใจตน ฉันใด ภรรยาก็มีหัวใจ มีเลือดมีเนื้อหัวใจเหมือนสามี นั่นแหละ คือ ย่อมชอบใจที่สามีจะมีความซื่อสัตย์ต่อตน ไม่นอกใจตน ฉันนั้น เหมือนกัน ความประพฤตินอกใจภรรยา ย่อมเป็นเหตุแห่งความแตกร้าวภายในครอบครัว ถึงความแตกแยก อันทำให้สมาชิกในครอบครัว คือ ทั้งภรรยาและบุตร ขาดความอบอุ่น และขาดความสงบสุข

เพราะฉะนั้น ทั้งสามีและภรรยาจึงไม่พึงประพฤตินอกใจกัน พึงมีความสันโดษในคู่ครองของตนด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย เพราะความประพฤตินอกใจกันนอกจากจะเป็นเหตุแห่งการวิวาท ทะเลาะเบาะแว้ง ขั้นรุนแรงถึงเลือดตกยางออก หรือถึงชีวิตเพราะพิษรักแรงหึง แล้ว ยังเป็นอัปมงคล คือ เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นเหตุให้เสียทรัพย์ ให้เสียสุขภาพ และเสี่ยงต่อโรคติดต่อร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคเอดส์ กามโรค วัณโรค และ/หรือ โรคจากการติดเชื้อไวรัสต่างๆ เป็นต้น ได้ง่าย และแม้หน้าที่กิจการงานก็ไม่เจริญ และไม่มั่นคงเท่าที่ควรอีกด้วย และยิ่งถ้าเป็นผู้มักมากในกามคุณ หมกมุ่นอยู่แต่ในกิเลสกาม ไม่มีความสำรวมในกาม เพียงไร ผู้เช่นนั้นย่อมจะหาความสันติสุขที่แท้จริงในชีวิตไม่ได้ เพียงนั้น และเมื่อแตกกายทำลายขันธ์ คือ ตายไปในขณะที่จิตใจยังติดอยู่ในกามคุณเช่นนั้น จิตใจย่อมเศร้าหมองด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันจะเป็นชนกกรรมนำไปสู่ทุคติ หรือ อบายภูมิ คือ ให้ไปเกิดในที่ไม่ดี ที่ไม่เจริญ เช่นไปเกิดในภพภูมิของเปรต สัตว์นรก หรือสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น ได้ง่าย สมดังพระพุทธภาษิต (ม. มู. ๑๒/๙๒/๖๔) ว่า

จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคคติเป็นที่หวังได้.

๔) อิสฺสริยโวสฺสคฺเคน ด้วยมอบความเป็นใหญ่ในครอบครัวให้ ณ ที่นี้หมายถึงมอบความไว้วางใจให้ดูแลรับผิดชอบกิจการบ้านเรือน การเงิน และทรัพย์สินของครอบครัว และให้ปกครองดูแลบุตรบริวารในครอบครัว เป็นต้น อีกด้วย ดังนี้ ย่อมยังภรรยาให้มีความภูมิใจ และความตั้งใจอนุเคราะห์ คือ ปฏิบัติดีต่อสามีด้วยความจงรักภักดียิ่งขึ้นเป็นธรรมดา

ยุคนี้สมัยนี้ สามี-ภรรยา ต่างช่วยกันทำมาหารายได้ และสามี-ภรรยาบางคู่ใช้เงินคนละกระเป๋า อย่างนี้เป็นการไม่ไว้วางใจกัน และจะไม่มีเครื่องผูกพันกันในทางจิตใจที่หนักแน่นมั่นคง ดังเช่นที่คู่สามี-ภรรยาที่รวมเป็นสินสมรสด้วยกัน แล้วจึงแบ่งสรรงบประมาณรายจ่ายภายในครอบครัวและเก็บออมทรัพย์ ให้เหมาะสมกับรายได้โดยส่วนรวมร่วมกัน สามี-ภรรยาประเภทแยกกระเป๋าเงินกัน เมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้งเกิดขึ้น จึงมักจะแตกแยกกันได้ง่าย

อนึ่งกล่าวมาถึงตอนนี้ อาจจะมีผู้ฟังอยากจะคัดค้านว่า ก็ถ้าภรรยาเป็นแบบ “แม่กะเฌอก้นรั่ว” คือ ชอบใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักประหยัด หรือว่า ติดอบายมุข เช่น ชอบเล่นการพนัน ถ้าสามีมอบความเป็นใหญ่ให้ดูแลรับผิดชอบเรื่องการเงินการทอง หรือทรัพย์สมบัติของครอบครัว จะมิฉิบหายใหญ่หรือ ? ปัญหาข้อนี้ ย่อมเป็นจริงอย่างนั้น แต่ ณ ที่นี้ หมายถึงว่า คู่สามีภรรยาจะต้องปฏิบัติดีต่อกันทั้ง ๒ ฝ่าย กล่าวคือ ภรรยาอันสามีบำรุงด้วยดีก็จะต้องปฏิบัติดีต่อสามี ด้วยเช่นกัน ดังจะกล่าวต่อไปในข้อที่ภรรยาพึงปฏิบัติดีต่อสามีอย่างไร

๕) อลงฺการานุปฺปทาเนน ด้วยการให้เครื่องแต่งตัว หรือของขวัญที่ดีงามแก่ภรรยาตามสมควรแก่ฐานะ และ โอกาส นี้ก็เป็นเครื่องผูกใจของภรรยาให้ปฏิบัติดีต่อสามีด้วยความจงรักภักดี ส่วนสามีที่ใจคับแคบ หรือแล้งน้ำใจต่อภรรยา ก็ยากที่ภรรยาจะมีความภูมิใจในสามี และจะมีกำลังใจในการปฏิบัติดีต่อสามีด้วยความเต็มใจ และด้วยความจงรักภักดีได้

ภรรยาอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ แล้ว พึงอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ

๑) สุสํวิหิตกมฺมนฺตา จัดการงานดี

๒) สุสงฺคหิตปริชนา สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดี

๓) อนติจารินี ไม่ประพฤตินอกใจสามี

๔) สมภตญฺจ อนุรกฺขติ ทกฺขา รักษาทรัพย์ที่สามีทำมาหาได้

๕) อนลสา สพฺพกิจฺเจสุ ขยันขันแข็ง ไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง

เฉพาะข้อแรก จัดการงานดี ข้อ ๔) รักษาทรัพย์ที่สามีทำมาหาได้ และข้อ ๕) ขยันขันแข็ง ไม่เกียจคร้านในกิจการงานทั้งปวง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นไปด้วยกัน คือ ภรรยาพึงจัดกิจการงานภายในครอบครัวให้สะอาด เรียบร้อย ด้วยความขยันขันแข็ง ไม่เกียจคร้าน มีการตื่นก่อน นอนทีหลังสามี เป็นต้น อนึ่งเมื่อสามีมอบความเป็นใหญ่ ในความเป็นแม่บ้านแม่เรือนให้ ซึ่งอาจรวมถึงการไว้วางใจให้ดูแลการเงินที่ทำมาหาได้ และทรัพย์สินของครอบครัว ดังนี้แล้ว ภรรยาก็พึงรู้จักรักษาทรัพย์ที่สามีทำมาหาได้ไว้ด้วยดี คือ ต้องรู้จักประหยัด และอดออม รู้จักจัดงบประมาณรายจ่ายให้พอเหมาะกับรายได้หรือฐานะของครอบครัว ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก และก็ไม่ให้แร้นแค้นนัก ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเกินตัวเกินฐานะ แบบ “แม่กะเฌอก้นรั่ว” ไม่เกลือกกลั้วอยู่กับอบายมุข อันเป็นปากทางแห่งความฉิบหาย ภรรยาที่ปฏิบัติดีต่อสามีเช่นนี้ ย่อมยังชีวิตครอบครัวให้ถึงความเจริญ มีความอบอุ่น และสงบสุข ได้ดี

ภรรยาที่เกลือกกลั้วอยู่กับอบายมุข เช่น ติดดูการละเล่นจนติดเป็นแม่ยก หรือติดการพนัน พอสามีไปทำงาน ภรรยาก็เอาแต่จับวงเล่นไพ่ เกียจคร้านในกิจการงาน ไม่สนใจการบ้านการเรือน ไม่ดูแลบุตรและบริวารให้ดี ย่อมเป็นที่หนักใจของสามี เป็นเหตุให้สามีไม่ไว้วางใจ และเป็นบ่อเกิดแห่งความแตกร้าว ขาดความสงบสุข และอาจกระทบกระเทือนถึงสถานะของครอบครัว ให้เสื่อมทรุดลงได้โดยง่าย

ชีวิตของคนยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยโบราณมาก กล่าวคือ สามี-ภรรยาต้องช่วยกันทำมาหาเลี้ยงชีพมากยิ่งขึ้น สตรี ก็เรียกร้องต้องการสิทธิเท่าเทียมกันกับบุรุษ ในการประกอบการงานในอาชีพ สตรีจึงต้องออกไปทำงานนอกบ้าน และทำงานเช่นเดียวกันกับบุรุษ แต่ต้องแบกภาระหนักกว่าบุรุษ ในเรื่องของการตั้งครรภ์ ประคับประคองครรภ์ คลอดบุตร และเลี้ยงดูบุตรในวัยเด็ก ยิ่งกว่าบุรุษ และยิ่งถ้าสามีขาดการเห็นอกเห็นใจภรรยา ไม่รับผิดชอบช่วยกันดูแลกิจการบ้านเรือนเข้าอีกด้วย ภรรยาจึงย่อมจะตกที่นั่งต้องรับภาระหนักกว่าสามี ทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตใจเสื่อมโทรม เลยพลอยเป็นเหตุให้สามีเบื่อหน่าย และอาจประพฤตินอกใจภรรยาเพราะความเห็นแก่ตัวไปเลยก็มี ปัญหาเช่นนี้ เป็นเหตุให้ครอบครัวขาดความอบอุ่นและไม่มีความสงบสุข และอาจเป็นเหตุให้ถึงความแตกแยก ให้ฝ่ายภรรยาและบุตรต้องประสบกับความทุกข์เดือดร้อนได้

กรณีที่ภรรยาและสามีต้องช่วยกันทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็สามารถปรับพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาแล้วนั้น ใช้ให้เหมาะสมกับชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละครอบครัว ให้สามารถดำเนินไปด้วยความราบรื่น อบอุ่น และสงบสุขได้ กล่าวคือ สามีและภรรยาควรปรึกษาหารือแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกิจการภายในครอบครัวให้เหมาะสม และช่วยกันกระทำกิจการงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย ด้วยความขยันขันแข็ง ด้วยความสามัคคีปรองดอง และด้วยความเห็นอกเห็นใจกัน ก็จะยังชีวิตภายในครอบครัวให้เกิดความอบอุ่น ความสามัคคีปรองดอง และสงบสุขในครอบครัวได้ดี

อนึ่ง แม้ในกรณีที่สามีเป็นผู้ออกไปทำงานอาชีพข้างนอกฝ่ายเดียว เมื่อกลับเข้าบ้าน หรือในวันหยุดสุดสัปดาห์ หากผู้เป็นสามีจะมีน้ำใจช่วยเหลือภรรยาทำกิจการบ้านเรือน ด้วยความเมตตากรุณาธรรมต่อกัน มีความเห็นอกเห็นใจในภรรยาที่ต้องทำงานหนักจุกจิกหลายอย่างแทบตลอดทั้งวัน ก็จะยิ่งเพิ่มความอบอุ่น และความผูกพันซึ่งกันและกัน ให้หนักแน่นมั่นคงยิ่งขึ้นไปอีก และยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตร ให้มีคตินิยมที่ดี คือ ให้รู้จักมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อครอบครัว และต่อสังคมโดยส่วนรวม อันจะยังความเจริญและสันติสุขให้เกิดขึ้นภายในสังคมครอบครัวต่อไป ดีกว่าการนั่งงอมืองอเท้า คอยแต่รับการปรนนิบัติวัฏฐากจากภรรยาแต่ถ่ายเดียวมากมายนัก

อีกประการ ๑ คือ ภรรยาพึงสงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดี พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาข้อขัดแย้งกับคนข้างเคียงของสามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อ-แม่ ญาติ และแม้เพื่อนสนิทของสามี ก็ให้พยายามรักษาน้ำใจท่าน อนุเคราะห์ท่านเหล่านั้นตามสมควรแก่ฐานะและโอกาส ภรรยาบางคนมีจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัวจัด และ/หรือ มากด้วยมานะทิฏฐิ เอาแต่ใจตัวจนเกิดปัญหาระหว่าง “แม่ผัวกับลูกสะใภ้” คนที่หนักใจ ยุ่งยากใจ หรือเป็นทุกข์ใจ ก็คือ สามีนั่นเอง ปัญหาเหล่านี้ย่อมบั่นทอนความสงบสุขภายในครอบครัวเป็นอย่างมาก ภรรยาที่ดีจึงพึงทำใจให้กว้างด้วยความเมตตากรุณาธรรม และปฏิบัติต่อคนข้างเคียงสามีให้ดี ครอบครัวจึงจะถึงความสงบสุขได้

อีกประการ ๑ ที่สำคัญ คือ ไม่ประพฤตินอกใจสามี ว่าที่จริงก็ต้องประพฤติปฏิบัติดีต่อกันทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ทั้งสามีและภรรยานั่นแหละ พึงมีความสันโดษ และมีความซื่อสัตย์ต่อคู่ครองของตน มีความสำรวมในกาม ไม่ประพฤตินอกใจซึ่งกันและกัน ก็จักยังความภูมิใจ ความอบอุ่นใจ และความสงบสุขแก่ครอบครัวเป็นอย่างมาก และยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตรหลาน ให้นับถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างในการครองเรือนที่ดีมีสันติสุขต่อๆ ไป

กล่าวโดยสรุป หลักธรรม คือ ข้อปฏิบัติในการครองเรือนที่ดี คือที่จะให้ราบรื่น ถึงความเจริญ ความอบอุ่น และสงบสุขได้ ก็คือ ทั้งสามีและภรรยาพึงปฏิบัติดีต่อกันทั้งสองฝ่าย ด้วยเมตตากรุณาธรรม มีความเห็นอกเห็นใจกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้งสองฝ่ายพึงไม่ประพฤตินอกใจซึ่งกันและกัน ฝ่ายสามี (อันภรรยาอนุเคราะห์ปฏิบัติด้วยดีแล้ว) พึงทำนุบำรุงภรรยาด้วยสถาน ๕ ได้แก่ ด้วยการยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา ด้วยการไม่ดูหมิ่น ด้วยการมอบความเป็นใหญ่ให้ และด้วยให้เครื่องแต่งตัว เป็นต้น ส่วนภรรยา (อันสามีบำรุงดีแล้ว) ก็พึงอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ ได้แก่ จัดการงานดี สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี รักษาทรัพย์ที่สามีทำมาหาได้ และขยันขันแข็ง ไม่เกียจคร้านในกิจการงานทั้งปวง เป็นต้น ดังนี้แล้ว เป็นอันมั่นใจได้ว่า การครองเรือน หรือการดำเนินชีวิตครอบครัวจะเป็นไปด้วยความราบรื่น อบอุ่น และสงบสุขแน่นอน

ก่อนยุติปาฐกถาธรรมนี้ อาตมภาพขอเชิญชวนสาธุชนพุทธบริษัททุกท่านผู้สนใจในการศึกษาสัมมาปฏิบัติ ให้เข้ารับการอบรมสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ปฏิบัติ และ สอนศิษยานุศิษย์ให้ปฏิบัติ ตามรอยบาทพระพุทธองค์ รุ่นที่ ๔๐ ระหว่างวันที่ ๑-๑๔ ธันวาคม ดังที่เคยปฏิบัติมาทุกปี เฉพาะตั้งแต่วันที่ ๑-๗ ธันวาคม จะเป็นการเจริญจิตตภาวนา ในโครงการของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวามหาราช พระภิกษุ/สามเณร ให้อยู่กลด และฉันภัตตาหารมื้อเดียว สุภาพสตรีให้บวชศีลจาริณี ถือศีล ๘ แต่งชุดขาวไม่ต้องปลงผม ส่วนคฤหัสถ์ชาย หรืออุบาสก ก็ให้ถือศีล ๘ แต่งชุดขาวด้วยเช่นกัน จะอยู่ตลอด หรือ ไม่ตลอดระยะเวลาการอบรมก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอบรม ผู้สนใจติดต่อขอสมัครเข้ารับการอบรมได้ที่ประชาสัมพันธ์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม หมายเลขโทร. (๐๓๒) ๒๔๕-๒๑๑-๑๓ ต่อ ๒๒๐ หรือทางจดหมายส่งถึง เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ๗๐๑๓๐ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันเปิดการอบรม

สุดท้ายนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้ฟังทุกท่าน... เจริญพร


ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
อาจเป็นเรื่องที่แตกต่างหรือเกี่ยวข้องกับ วิทยาศาสตร์ หรือ วิศวกรรมศาสตร์
ดังนั้นเรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนถ้าไม่ตรงกับความคิดเห็นของท่านใด ขออย่าได้มีอคติก่อน
แต่ถ้าตรงกับความคิดเห็นของท่านผู้ใด ขออย่าได้เชื่อไปก่อน
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าเรื่องที่แสดงความเห็นเป็นแนวคิดของข้าพเจ้า
และข้อมูลที่ค้นคว้าเพื่อเสริมสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้มั่นคง
ซึ่งอาจจะถูกบ้างผิดบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็จะเป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลหนึ่ง กับท่านที่ศึกษาทางพุทธศาสตร์
ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า แต่ละคนก็มีกรรมเป็นของตนเอง เราเป็นทายาทแห่งกรรม
ทำดีตามครูไม่ใหญ่ ต้องได้ดีแน่นอน
และสรุปได้ว่า การเอาธรรมในพุทธศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิตไม่เคยล้าสมัย สามารถใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม



#9 เถลิงเกียรติ

เถลิงเกียรติ
  • Members
  • 760 โพสต์
  • Interests:N/A

โพสต์เมื่อ 02 February 2006 - 11:18 PM

ในทัศนคติผมนะครับ...การทำอะไรที่ครึ่งๆ กลางๆ หรือความไม่รู้แล้วแนะนำผู้อื่น โน้มน้าวผู้อื่นให้คิดไปในทางเดียวกับตน นี่อันตรายสุดๆครับ..หลวงพี่นพดล ท่านเคยสอนผมว่าให้เอาหลังอิงต้นโพธิ์ หมายถึงให้ยึดหลักคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลักครับ บางทีก็เข้าข้างตนเองก็มี เช่น เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น ประมาณว่า ที่ญี่ปุ่นลักษณะของพุทธปฎิมากร ก็คล้ายๆกับชาวญี่ปุ่น ที่อิสาน ก็คล้ายๆกับชาวอิสาน ที่เหนือก็คล้ายกับคนเหนือ ครับ ดังนั้นในกระทู้นี้ผมก็ขอแสดงทัศนะแบบกลางๆคือ....ถ้าท่านได้ใช้สติปัญญา จิตวิญญาณ ที่จะครองเรือนก็ทำไปเถิด แล้วเดินตามคำสอนครูบาอาจารย์ที่ท่านอบรมสั่งสอนเราให้ครองเรือนเป็นครอบครัวแก้ว ครอบครัวธรรมกาย เมื่อได้ครูดีแล้ว ก็ฟังคำครู ตรองคำครู และทำตามครู ด้วยโยนิโสมนัสิการ ครับ ถ้าคิดว่าการครองเรือนเป็นทางมาแห่งธุลีก็ให้ออกจากกามแล้วไปบวชเถือเพศพรมจรรย์เสีย ถ้าเป็นหญิงก็ไปเป็นอุบาสิกา หรือบวชชี..ครับ.จะได้ทำหน้าที่ตาม Status..ครับ อย่าเป็นไม้หลักปักขี้เลน ไม่งั้นจะเป็นอันตรายต่อตนเองและคนรอบข้าง ให้รีบตรองดูแล้วตัดสินใจ ทำในแนวทางที่ตัดสินใจภายใต้หลักพุทธรรมครับ...... พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้วนำมาเผยแพร่แก่ชาวโลก พระธรรมคำสอนมี ๒ ลักษณะ คือ ธรรมที่สอนแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป ซึ่งเป็นปุถุชนคนมีกิเลสทั้งหลาย เพื่อให้ครองตนครองชีวิตตามแบบฆราวาสอย่างมีความสุขความเจริญ เรียกว่า “โลกิยธรรม” เช่นคำสอนว่าด้วยเรื่องการทำงาน การครองเรือน การดำรงชีวิตคู่ เป็นต้น และคำสอนให้ทำบุญกุศลเพื่อการไปสู่สุคติในภพหน้า ส่วนคำสอนอีกระดับหนึ่ง เป็นคำสอนสำหรับผู้ที่ต้องการความหลุดพ้น เรียกว่า “โลกุตรธรรม” เป็นคำสอนสำหรับนักบวชหรือผู้ที่ต้องการความหลุดพ้นจากกองทุกข์ เป็นคำสอนเพื่อการลดละกิเลสทุกชนิด จนเข้าถึงพระนิพพาน

พระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาประกอบด้วยเหตุและผล สามารถอธิบายตามกระบวนของเหตุผลได้อย่างชัดเจน และสามารถตอบคำถามชีวิตและโลกได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง จนเป็นที่ยอมรับของบรรดาปราชญ์ทั้งตะวันออกและตะวันตกที่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา พระธรรมจึงมีความหมายครอบคลุมอย่างกว้างขวาง ดังนี้

- พระธรรม หมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงนำมาสั่งสอนตลอด ๔๕ พรรษา

- พระธรรม หมายถึงแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงามสำหรับทุกคน

- พระธรรม หมายถึงความดีงามภายในจิตใจของบุคคล

- พระธรรม หมายถึงความจริง หรือสัจธรรมที่เป็นความจริงแท้

- พระธรรม หมายถึงธรรมชาติของสรรพสิ่งที่เป็นไปตามหลักการของเหตุและผล

ลักษณะของธรรมะในพระพุทธศาสนาคือ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างชัดเจนครบถ้วน เป็นความจริงที่ผู้ปฏิบัติย่อมประจักษ์ผลได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดเวลา เป็นสิ่งที่ท้าต่อการพิสูจน์ความจริง เป็นสิ่งทีควรน้อมนำมาปฏิบัติในชีวิต และเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เฉพาะตน จะทำแทนกันไม่ได้...
................
ดังนั้น..คำแนะนำในกระทู้นี้ทั้งหมดล้วนแต่แนะนำไปตาม เจตสิกของผู้แนะนำ ผู้เป็นเจ้าของกระทู้ หรือผู้ที่กำลังลังเลอยู่ก็ให้ตริตรองด้วยตนเอง ดีที่สุด ชัวร์ที่สุดครับ....
.....ว่าจะถือเพศแบบใด..



ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
อาจเป็นเรื่องที่แตกต่างหรือเกี่ยวข้องกับ วิทยาศาสตร์ หรือ วิศวกรรมศาสตร์
ดังนั้นเรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนถ้าไม่ตรงกับความคิดเห็นของท่านใด ขออย่าได้มีอคติก่อน
แต่ถ้าตรงกับความคิดเห็นของท่านผู้ใด ขออย่าได้เชื่อไปก่อน
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าเรื่องที่แสดงความเห็นเป็นแนวคิดของข้าพเจ้า
และข้อมูลที่ค้นคว้าเพื่อเสริมสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้มั่นคง
ซึ่งอาจจะถูกบ้างผิดบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็จะเป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลหนึ่ง กับท่านที่ศึกษาทางพุทธศาสตร์
ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า แต่ละคนก็มีกรรมเป็นของตนเอง เราเป็นทายาทแห่งกรรม
ทำดีตามครูไม่ใหญ่ ต้องได้ดีแน่นอน
และสรุปได้ว่า การเอาธรรมในพุทธศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิตไม่เคยล้าสมัย สามารถใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม



#10 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 08:05 AM

1. คุณของการครองเรือน : คุณประโยชน์ของการแต่งงาน น่าจะเริ่มวิเคราะห์ ที่ตัวบุคคลทั้ง 2 ว่า ได้ในสิ่งที่ต้องการ ที่มุ่งหวังไว้ แล้วครบถ้วนหรือไม่ ซึ่งเรียกว่าคุณประโยชน์ เช่น สามี ได้คนทำกับข้าว ดูแลบ้าน ส่วนภรรยา ได้คนเลี้ยงดู รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย ซึ่งแต่ละคู่ ก็ได้ประโยชน์ต่าง ๆ กันออกไป
+++ แม้แต่ในเรื่อง ของการปฏิบัติธรรม บางคนแต่งงานกันแล้ว ก็เป็นกัณยานมิตร ให้กันและกัน เช่นสามีไม่เข้าวัด ภรรยาก็ชักชวนกัน ให้ไปทำบุญ เข้าวัดปฏิบัติธรรม ก็นับว่า เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง และต่อไปมีบุตร-ธิดา ก็สืบทอดความดีให้ สืบต่อกันไป เป็นทอด ๆ ก็นับว่าดี
+++ แต่เกิดขึ้นได้ยาก ... มาก ๆๆๆๆๆ เหมือนแบบที่วัด 1 คน ใน 1,000,000 คน เห็นจะได้มั้ง
+++ ดังนั้น เมื่อความเสี่ยง คือได้ผลเสีย มากกว่า ผลดี คือเสียเวลาในการสร้างบารมี และยัง ปลูกฝังนิสัย การยึดติดในครอบครัว หรือธรรม อันเป็นเหตุให้วนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร ย่อมไม่ดีแน่ ต่อการปฏิบัติธรรม ในชาตินี้ และชาติต่อ ๆ ไป
+++ จากเหตุดังกล่าวนี้ จึงได้มุ่งสอน หรือปลูกฝังนิสัย ให้มีใจออกจากการครองเรือน และเป็นการตัดกาม ราคะ ออกไปด้วย จึงทำให้ไม่เสียเวลาในการสร้างบารมี เรียกว่า " ความโสด จะสร้างโอกาส ในการสร้างบุญบารมี ได้เต็มที่ มากกว่า คนที่ครองเรือน " รวมถึงการนั่ง สมาธิ ใจก็จะสงบได้มากกว่า เพราะเรื่องที่ต้องคิด หรือห่วงกังวล มีน้อยกว่าคนมีครอบครัว

2. "แล้วเชื้อสายคนดีจะไม่หมดไปหรือ เนื่องจากไม่มีที่มาจุตติ" ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกนี้ ไม่ติดเรื่องกามราคะ ซึ่งเป็นสุดยอดของความสุข ที่ประกอบด้วย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็คงไปเกิดเป็นพระพรหม ไปหมดแล้วน้อง แม้แต่พระนางวิสาขา ที่เป็นพระโสดาบัน ยังแต่งงานเลย
+++ ความจริงก็คือ คนมีกิเลส ยังมีอยู่ เยอะมาก ๆๆๆๆๆๆๆ จึงไม่ต้องกลัวว่า มนุษย์ จะสูญพันธุ์หรอกครับ


#11 รัก แล้ว ทุกข์

รัก แล้ว ทุกข์
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 11:32 AM

การครองเรือนมันทุกข์นะครับ
ก็เหมือนหนอนที่อยู่ในมูกเน่า
ก็มีความสุขแบบหนอนครับ
การครองเรือนมันก็คับแคบครับ
ออกบวชดีที่สุด..........ถ้าทำได้นะครับ
ออกบวชจะดีที่สุด



#12 ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
  • Members
  • 2511 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 02:39 PM

ถ้ายังบวชไม่ได้ ก็ดูว่าว่าคู่ครองนั้นมีศีล สมาธิ ทิฐิ เหมือนกัน หรือไม่ ถ้าเหมือนกัน ก็ชวนกันทำบุญ ทาน ศีล ภาวนา ชีวิตคู่ก็จะมีความสุขค่ะ ถ้าไม่อยากมีลูก ก็สามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้ ก็ดูแลกันไป แต่ถ้ามีลูก ก็ต้องหมั่นสอนให้เขาเป็นคนมีศีล มีธรรม ครอบครัวก็จะมีความสุข

ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ก็ย่อมมีกิเลสอยู่ การจะหักดิบนั้น ก็สามารถทำได้ ถ้าทำแล้วใจเป็นสุข ก็ทำไป แต่ถ้าหากทำแล้ว ยังตัดได้ไม่ขาด ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเป็นทุกข์ เพราะยังครึ่งๆ กลางๆ ก็ย่อมเป็นทุกข์

ขนาดพระโพธิสัตว์ ยังต้องครองเรือนอยู่นาน กว่าจะได้มาเกิดและตรัสรุ้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย ก็เลือกเอาน่ะค่ะ ว่าอยากได้บารมีอย่างแรงกล้า หรือค่อยๆทำ
"เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำจะเกิดมาทำไม
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)


#13 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 02:50 PM

เห็นด้วยกับคุณ ฟ้าร้างครับ..แนะนำได้ดีแบบกลางๆ ครับ...
ถ้าเป็นไปตามแรงเชียร์หรือแบบไม่มั่นคง จะมีกรณีชายสามโบสถ์ครับ..
สาธุกับพี่ฟ้าร้างเด้อครับ..สาธุ

#14 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 05:49 PM

หากอยากรู้ว่าหลุมถ่านเพลิงร้อนแค่ไหนก็จงโดดลงไป แล้วจะรู้เอง
หากอยากรู้ว่ากามคุณร้อนแรงเพียงใดก็จงโดดลงไป แล้วจะรู้เอง


หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#15 Nu

Nu
  • Members
  • 224 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 07:00 PM

เมื่อ ห้าปีก่อน เสียใจสุด ๆ เมื่อแฟนขอเลิก
ตอนนี้ มองกลับไป ดีใจสุด ๆ ที่มันขอเลิก smile.gif

เมื่อ สี่ปีก่อน หลังแฟนเก่าบอกเลิกซักพักได้เจอแฟนใหม่ ก็ ดีใจสุด ๆ tongue.gif
ตอนนี้ มองกลับไป...

เฮ้อ ไม่น่าหาเรื่องเลยตู... อยู่คนเดียวก็ดีอยู่แล้ว sad.gif

ตอนนี้ พยายามดึงเข้าวัด ให้หัดนั่งสมาธิ กว่าจะกระดึ๊บได้ทีละนิด เฮ้อ จะทิ้งก็สงสาร
อย่ากระโดดลงมาเล้ยยยยย


#16 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 15 February 2006 - 04:49 PM

ก้แล้วแต่คนจะมองแต่ละมุม
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ