ไปที่เนื้อหา


อารยาดุสิต

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 05 Jun 2014
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Jan 17 2019 11:43 AM
****-

โพสต์ที่ฉันโพสต์

ในกระทู้: โครงการดีๆ - งานเสวนาความรู้ - "งานวิชาการทางพุทธศาสตร์กับความยั่งยืนของพ...

08 March 2016 - 09:49 PM

สาธุ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง


ในกระทู้: คำชี้แจงจากทีมงาน www.dmc.tv

08 March 2016 - 09:49 PM

สาธุ


ในกระทู้: ที่ผมบวชต่อทางเเม่อยากให้สึกนี่ผมเป็นลูกอกตัญญูรึเปล่าครับ??

09 December 2015 - 12:11 PM

อนุโมทนาบุญค่ะ  


ในกระทู้: ความรู้น้อยๆจากธรรมชาติ

21 October 2015 - 12:04 PM

ความคิดเห็นส่วนหนึ่งคิดว่า.......

ความเชื่อดั้งเดิมของมนุษย์ เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของธรรมชาติ เชื่อว่า ไฟเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง หากบูชาไฟ เซ่นสรวงให้เทพเจ้าผู้รักษาทรงพอพระทัย เทพเจ้าจะทรงทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข  บางจำพวกพากันบูชาเทพเจ้าแห่งลม เพื่อไม่ให้ลมพัดแรงจนเกินไปและอาจก่อความพิบัติให้กับมนุษย์ได้ ที่มนุษย์เชื่อว่ามีเทพผู้รักษา เข้าใจว่ามนุษย์เองเมื่อเกิดมาย่อมใกล้ชิดกับธรรมชาติเป็นเบื้องต้น และมีการเฝ้าดูธรรมชาติ เกิดคำถามว่า ทำไมฝนจึงตก  ทำไมลมจึงพัดแรง คงจะต้องมีใครที่มีมหิทธานุภาพในการควบคุมธรรมชาติเหล่านี้   

การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในแง่ของมานุษยวิทยาวัฒนธรรม เมื่ออยู่ร่วมกันหมู่มาก ย่อมเอาความเชื่อมาเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง ถ้าเชื่อในเรื่องธรรมชาติ ก็นำความเชื่อเรื่องธรรมชาติเข้ามาปกครอง เช่นกับชนกลุ่มหนึ่งในภาคใต้ของไทยที่สามารถรักษาต้นน้ำไว้ได้ด้วยความเชื่อที่ว่ามีเจ้าพ่อพญาจระเข้เฝ้ารักษาต้นน้ำ และเจ้าพ่อพญาจระเข้ไม่ชอบให้คนเข้าไปตัดไม้บริเวณที่ท่านอยู่   ไม่มีใครเคยเห็นว่ามีพญาจระเข้อยู่จริงหรือไม่ แต่คนในหมู่บ้านนั้นก็ยังมีความเชื่อ ไม่ล่วงละเมิดเข้าไปในส่วนที่เชื่อว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ต้นน้ำแห่งนั้นยังคงรักษาไว้ได้

ในอินเดียครั้งโบราณกาล ความเชื่อก่อให้เกิดการแบ่งเป็นวรรณะต่างๆ  ความเหลื่อมล้ำทางสังคมวรรณะของอินเดีย ทำให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ความกดดันของสังคมวรรณะทำให้แสวงหาทางออก มีนักปรัชญาหลายสำนักเกิดขึ้น เพื่อแสวงหาความจริงของชีวิต แสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้น  มีทั้งกลุ่มนักคิด นักปรัชญาที่เชื่อในเทพเจ้าและไม่เชื่อเทพเจ้า  พวกที่ทุกขนิยม เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาแล้วมีแต่ความทุกข์จึงต้องทรมานกาย ฝึกจิต ฝึกตน เพื่อให้เทพเจ้าพอใจ ในสุขนิยมเชื่อว่าเมื่อได้เกิดมาแล้วต้องแสวงหาความสุขให้เต็มที่ ชีวิตเกิดมาครั้งเดียวตายครั้งเดียวจึงดื่ม กิน เสพกามกันอย่างเต็มที่ ไม่เชื่อเรื่องนรก สวรรค์   

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเห็น ทุกขนิยม และสุขนิยม  ได้ทรงแสวงหาคำตอบด้วยพระองค์เอง การแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นด้วยทุกรกิริยา ไม่ใช่ทางหลุดพ้น  ในด้านสุขนิยมสุดขั้ว พระองค์ท่านได้ประสบมาก่อนที่จะทรงออกบวช

ในความเชื่อเรื่องนรก สวรรค์  มีหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก มีพยานยืนยันมากมาก และขอยกตัวอย่างของพระเถระ ที่ได้ถวายประทีปแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยอานิสงส์ของบุญส่งผลให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์ และได้ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้มาสร้างบารมีจนพบพระนิพพาน อันเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้น  ดังเช่นพระอนุรุทธเถระ  ดังนี้

ในอนุรุทธเถราปทานที่  ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป “...เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่าสุเมธเชฏฐบุรุษของโลก เป็นนระผู้  องอาจ ผู้นายกของโลก เสด็จหลีกออกเร้นอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระสุเมธสัมพุทธเจ้า ผู้นายกของโลก แล้วได้ประคองอัญชลีทูลอ้อนวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้เชฏฐบุรุษของโลก เป็นนระ     ผู้องอาจ ขอจงทรงอนุเคราะห์เถิด ข้าพระองค์ขอถวายประทีปแก่   พระองค์ผู้เข้าฌานอยู่ที่ควงไม้ พระสยัมภูผู้ประเสริฐธีรเจ้านั้น ทรงรับคำ   แล้ว เราจึงห้อยไว้ที่ต้นไม้ประกอบยนต์ในกาลนั้น ได้ถวายไส้ตะเกียง  น้ำมันพันหนึ่ง แก่พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์ของโลก ประทีปโพลงอยู่ตลอด  วันแล้วดับไปเอง ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น และด้วยการตั้งเจตนาไว้ เรา ละกายมนุษย์แล้ว ได้เข้าถึงวิมาน เมื่อเราเข้าถึงความเป็นเทวดา วิมาน  อันบุญกุศลนิรมิตไว้เรียบร้อย ย่อมรุ่งโรจน์โดยรอบ นี้เป็นผลแห่งการถวาย ประทีป เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๘ ครั้ง เวลานั้น เรามองเห็นได้  ตลอดโยชน์หนึ่งโดยรอบ ทั้งกลางวันกลางคืน เราย่อมไพโรจน์ทั่วโยชน์   หนึ่งโดยรอบ ในกาลนั้นย่อมครอบงำเทวดาทั้งปวงได้ นี้เป็นผลแห่งการ    ถวายประทีป เราได้เห็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัลป   ใครๆ ย่อมดูหมิ่นเราได้ นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป เราได้บรรลุทิพย จักษุ ย่อมมองเห็นได้ด้วยญาณตลอดพันโลก ในศาสนาของพระพุทธเจ้า นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสุเมธ เสด็จอุบัติในสามหมื่นกัลปแต่กัลปนี้ เรามีจิตผ่องใส ได้ถวายประทีปแก่ พระองค์ คุณวิเศษคือ ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ และอภิญญา เราทำ  ให้แจ้งแล้ว พระพุทธศาสนาเราทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

   ทราบว่า ท่านพระอนุรุทธเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล

   (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๒ หน้าที่๓๒ ข้อที่ ๖)

ในสาริปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ ว่าด้วยนางเปรตเคยเป็นมารดาพระสารีบุตร กล่าวถึงอดีตชาติของนางเปรตตนหนึ่งซึ่งเคยเกิดเป็นมารดาของพระสารีบุตร   นางเปรตตนนี้เคยมีบุพกรรมที่ต้องตกนรก ดังนี้

    พระสารีบุตรเถระถามหญิงเปรตตนหนึ่งว่า

    “...ดูกรนางเปรตผู้ผอมมีแต่ซี่โครง ท่านเป็นผู้เปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ท่านเป็นใครหรือ มายืนอยู่ในที่นี้?

             นางเปรตนั้นตอบว่า เมื่อก่อนดิฉันเป็นมารดาของท่าน ในชาติเหล่าอื่น ดิฉันเข้าถึงเปรตวิสัย เพรียบพร้อมไปด้วยความหิวและความกระหาย เมื่อถูกความหิวครอบงำ แล้ว ย่อมกินน้ำลาย น้ำมูก เสมหะอันเขาถ่มทิ้งแล้ว และกินมันเหลว แห่งซากศพที่เขาเผาอยู่ที่เชิงตะกอน กินโลหิตของหญิงทั้งหลายที่คลอด บุตรและโลหิตแห่งบุรุษทั้งหลายที่ถูกตัดมือ เท้า และศีรษะที่เป็นแผล กินเนื้อ เอ็น และข้อมือข้อเท้าเป็นต้นของชายหญิง กินหนองและ   และเลือดแห่งปศุสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อยู่อาศัย

   นอนบนเตียงของผู้ตาย ซึ่งเขาทิ้งไว้ในป่าช้า ลูกเอ๋ย ขอลูกจงให้ทาน  แล้วอุทิศส่วนบุญมาให้แม่บ้าง ไฉนหนอ แม่จึงจะพ้นจากการกินหนองและเลือด.  ท่านพระสารีบุตรเถระผู้มีจิตอนุเคราะห์ ได้ฟังคำของมารดาแล้ว จึงปรึกษากับท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ท่านพระอนุรุทธะ และท่านพระกัปปินะ แล้วให้สร้างกุฎี ๔ หลัง ในทิศทั้ง ๔ แล้วถวายกุฎีเหล่านั้น ข้าวและน้ำแก่สงฆ์ อุทิศส่วนกุศลไปให้มารดา

    ในทันใดนั้นเอง ข้าว น้ำและผ้า ก็บังเกิดเป็นวิบาก นี้เป็นผลแห่งทักษิณา ภายหลังนางมีร่างกายบริสุทธิ์สะอาด นุ่งห่มผ้าอันมีค่ายิ่งกว่าผ้าแคว้นกาสี  ประดับด้วยวัตถาภรณ์อันวิจิตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ.

       ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระจึงถามว่าดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

สถิตอยู่ดุจดาวประกายพฤกษ์ ท่านมีวรรณะเช่นนี้ เพราะกรรมอะไร อิฐผลย่อมสำเร็จแก่ท่านในวิมานนี้ เพราะกรรมอะไร และโภคะทุกสิ่ง  ทุกอย่างอันเป็นที่รักแห่งใจ ย่อมบังเกิดแก่ท่านเพราะกรรมอะไร ดูกรนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน เมื่อท่านเป็นมนุษยได้ทำบุญอะไรไว้ อนึ่ง ท่านมีอานุภาพรุ่งเรืองและมีรัศมีกายสว่างไสว

  ไปทั่วทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญอะไร...”

  พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๖ข้อที่ ๙๙ หน้าที่ ๑๓๖

  ในโลกของปัจจุบัน  มักจะกล่าวกันว่า  “ในทางวิทยาศาสตร์  ต้องมีการพิสูจน์  “   นรก สวรรค์  พิสูจน์ไม่ได้ ขาดหลักการในการพิสูจน์  ทั้งที่จริงๆ เรื่องไฟฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องของทางวิทยาศาสตร์ น่าจะพิสูจน์ได้ จับต้องได้ แต่ทำไมเราจึงไม้ได้เห็นกระแสไฟฟ้า ไหลตามสายไฟเมื่อเราเสียบปลั๊กไฟ  แต่เมื่อไฟฟ้ารั่ว เรากลับโดนไฟดูด

    การที่เกิดมาแล้วมีแต่ทุกข์ เข้าใจว่า น่าจะยังไม่เข้าใจของผลของการกระทำในอดีตมากกว่า ดังเช่นเมื่อเราอยากได้ถั่ว เราขุดดิน พรวนดิน โปรยเมล็ดถั่วลงไป  ย่อมได้ถั่ว แต่ระยะเวลาการรอคอยต้องใช้เวลา การปลูกถั่ว ยังต้องรดน้ำ ใส่ปุ๋ย  เมื่อใบอ่อนชำแรกผลิออกจากเมล็ดถั่ว เกิดมีแมลงมากัดแทะและเล็ม  ผู้ปลูกย่อมเกิดความทุกข์ ความกังวล หาหนทางไล่แมลง หรือหาหนทางกำจัด   เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง  หากลงมือปลูกถั่วแล้วไร้แมลง  ใบอ่อนชำแรกออกมาแล้วแข็งแรงผลิดอก ออกฝัก  เป็นความสุขอย่างหนึ่งที่ผู้ปลูกต้องคอยเก็บผลผลิตที่ล้ำค่ากับการรอคอย

   “ตายแล้วขอไปสวรรค์ ไปเสวยสุขผลบุญที่ทำ”      ก่อนตายนั้น เข้าใจว่า หากมีกุศลจิต ย่อมได้เข้าสู่สุคติสวรรค์แน่นอน เพราะใจ สบาย ไร้ความกังวล ประดุจได้เก็บผลผลิต จากการปลูกถั่ว

   ก่อนที่จะโทษอะไร  คงต้องมองดูที่ตัวเองก่อน  สำรวจตรวจให้ละเอียดก่อนจะดีที่สุด  และอาจจะแก้ไขในสิ่งที่ตนเองบกพร่อง 

    สิ่งที่แสวงหานั้น อยู่ภายในตน 

    กราบอนุโมทนาบุญค่ะ 


ในกระทู้: ธุดงค์ธรรมชัย - ที่สุดในโลก

13 October 2015 - 02:52 PM

สาธุ