ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

พุทธศาสนาในประเทศลาว


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 01:04 PM

ที่มา http://www.geocities...aputto/laos.htm

ประเทศลาวถือเป็นประเทศพี่น้องกับไทย มีวัฒนธรรมที่ไม่แตกต่างกันนัก
เนื่องจากเคยเป็นพี่น้องกันมาแต่โบราณ ที่อพยพมาจากจีน เมื่อตอนอยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว
เมื่อประมาณ พ.ศ. ๖๑๒ ก็ได้นับถือพุทธศาสนาแบบมหายานมาก่อน
เมื่อถูกจีนรุกราน จึงได้อพยพมาอยู่ในเมืองล้านช้างประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๐
ก็กลับมาเป็นนับถือผีสางเทวดาดังเดิมอีก


ต่อมาเมื่อเจ้าสุวรรณคำผงขึ้นเสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๕-๑๘๙๖ ทรงมีพระ โอรส ๖ พระองค์
ใน ๖ พระองค์นั้น เจ้าฟ้างุ้มมีลักษณะผิดแผกจากพระโอรสองค์อื่น คือมีฟันและลิ้นเป็นสีดำ
โหรทำนายว่าเป็นกาลกินีจึงได้นำไปลอยแพ บังเอิญแพได้มาถึงเมืองขอม (กัมพุชา)
ได้รับการเลี้ยงดูจากพระมหาปาสมันตเถระ ต่อมาได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของพระเจ้าอินทปัตถ์ และได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอินทปัตถ์ พระนามว่า พระนางแก้วยอดฟ้า (ฟ้าหญิงคำหยาด)

ต่อมาบิดาให้ไปตีเมืองล้านช้าง และสามารถยึดเมืองล้านช้างได้ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖ แล้วขึ้นครองราชย์
เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๓ ของราชวงศ์ล้านช้าง ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี
แผ่อาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง

พุทธศาสนาได้เข้ามาสู่อาณาจักรล้านช้างในยุคนี้ กล่าวคือ
พระนางแก้วยอดฟ้าพระมเหสีผู้ทรงเคยนับถือพุทธศาสนามาก่อน
เมื่อครั้งอยู่ในเมืองขอมทรงเห็นประชาชนนับถือผีสางเทวดา และฆ่าสัตว์บูชาเซ่นสรวง จึงได้ทูลขอให้พระเจ้าฟ้างุ้มไปอัญเชิญพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ในอาณาจักรล้านชัาง
พระเจ้าฟ้างุ้มทรงเห็นด้วย จึงให้ทูตไป ทูลขอนิมนต์พระสงฆ์เขมรเข้ามาเผยแผ่ในประเทศลาว และพระนางยังได้ขอร้องทางเขมรได้จัดส่งพระสงฆ์มาประกาศศาสนาแบบเถรวาท
ซึ่งมีพระมหาปาสามานเจ้าเป็นประมุข เข้ามาเผยแผ่ในล้านช้าง


พระพุทธศาสนาจึงได้เผยแผ่มาสู่ประเทศลาว และได้รับการอุปถัมภ์อย่างดีจากพระเจ้าฟ้างุ้ม เนื่องจากพระเจ้าฟ้างุ้มเคยได้รับอุปการะจากพระมหาปาสามานเถระเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ด้วย พระมหาปาสามานเถระและคณะได้เดินทางออกจากเมืองกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๒ ไปตามลำดับจนถึงเมืองแกพร้อมกับนำเอาพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ชื่อ พระบาง

และพระไตรปิฎกไปด้วยเพื่อที่จะถวายแก่พระเจ้าฟ้างุ้ม เมื่อคณะสงฆ์เดินทางมาถึงเวียงจันทน์
เจ้าเมืองจันทน์ได้นิมนต์พักสมโภชพระบางอยู่ ๓ คืน ๓ วัน แล้วคณะสงฆ์ก็เดินทางต่อไปยังเวียงคำ
อาราธนาพระเถระไปในเมือง ประชาชนได้มาสมโภชนพระบางกัน ๓ คืน ๓วัน ครั้นจะเดินทางต่างปรากฏว่าพระพุทธรูปไม่สามารถยกไปได้จึงเสี่ยงทายว่า
เทวดาอารักษ์คงปรารถนาจะให้พระบางอยู่ที่เวียงคำพระเถระและผู้ติดตาม
ได้มีเดินทางไปยังเมืองเชียงทอง ครั้งถึงเชียงทอง ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าฟ้างุ้มและพระมเหสี พระเถระและคณะจึงได้เผยแผ่พุทธศาสนาในลาวจนเจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคงสืบมา

รัชสมัยของพระเจ้าฟ้างุ่มนั้นเต็มไปด้วยศึกสงคราม ทำให้ชาวลาวที่มีนิสัยรักสงบเกิดความเบื่อหน่าย จนในที่สุดพร้อมใจกันขับพระเจ้าฟ้างุ่มออกจากราชสมบัติ และอภิเษกพระราชโอรสทรงพระนามว่า "พญาสามแสนไท"

ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และพระองค์ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำให้มีการจัดระเบียบบ้านเมืองตามแบบแผนวิธีการที่ได้รับจากประเทศไทยเป็นอันมาก

ในด้านการพระพุทธศาสนา พญาสามแสนไททรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
เช่นทรงสร้างวัดมโนรมย์ วัดอุโบสถ หอสมุด โรงเรียนปริยัติธรรม เป็นต้น
และทรงเจริญพระราชไตรีกับทางกรุงศรีอยุธยา ตลอดจนถึงกัมพูชา เวียดนาม
ซึ่งถือได้ว่าในสมัยนี้เป็นสมัยแห่งการจัดสรรบ้านเมือง และการสร้างความมั่นคงเป็นปึกแผ่นอย่างมาก


สมัยพระเจ้าวิชุลราชาธิปัต (พ.ศ. ๒๐๔๔-๒๐๖๓) บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงบ
กษัตริย์ทรงเอาใจใส่ทำนุบำรุงพุทธศาสนา ได้สร้างวัดวาอารามต่าง ๆ เช่น
สร้างวัดบรมมหาราชวังเวียงทอง วัดวิชุลราช เพื่ออัญเชิญพระบางจากเวียงคำมาประดิษฐานที่วัดนี้
ต่อมาทรงสร้างวัดโพธิ์สบ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระราชธิดาที่ได้สวรรคตไป

นรัชสมัยพระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-๒๐๙๐) พระองค์เป็นผู้เคร่งครัดทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้ทรงมีพระราชโองการให้พลเมืองเลิกนับถือผีสางเทวดา เลิกทรงเจ้าเข้าผีทั่วพระราชอาณาจักร
ทรงให้รื้อศาลหลวง ศาลเจ้าผีเสื้อเมืองทรงเมือง และให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาแทน ทรงสร้างวัดสุวรรณเทวโลกแต่เนื่องจากประเพณีการนับถือผีนั้นมีมานานมาก
และได้ฝังเข้าไปในจิตใจของประชาชนทั่วไป จึงยากที่จะเลิกอย่างเด็ดขาดได้


ครั้นต่อมาทางอาณาจักรล้านนาว่างกษัตริย์ปกครอง จึงได้อัญเชิญเจ้าไชยเชษโฐหรือ เชษฐวังโส
พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาร ไปครองนครล้านนา
เมื่อปีพ.ศ. ๒๐๘๙ พระเจ้าโพธิสารเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๐ ด้วยถูกช้างล้มทับขณะประพาสป่า
ทรงกลับนครได้เพียง ๓ สัปดาห์ก็สวรรคต
เมื่อสวรรคตแล้ว พระโอรสทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน อาณาจักรลาวได้แตกเป็น ๒ ฝ่าย คือ
อาณาจักรฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ พระเจ้าไชยเชษโฐแห่งล้านนา จึงยกทัพตีกรุงล้านช้าง และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดบุปผาราม เชียงใหม่
รวมทั้งพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงค์) และพระแก้วขาวไปด้วย

เมื่อเสด็จถึงล้านช้าง ทรงยึดราชสมบัติจากเจ้าครองนครทั้งสองได้ ด้วยความเกรงกลัวของเจ้าครองนครทั้งสอง จึงทรงครองนครทั้งสองซึ่งเรียกว่า กรุงศรีสัตนาคตหุต
พระองค์จึงขึ้นครองราชสมบัติ นับเป็นมหาราชองค์ที่ ๒ ของลาว ที่ทรงพระปรีชาสามารถ
ทรงพระนามว่า "พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช"

พระพุทธศาสนาในยุคของพระเจ้าเชษฐาธิราช นับว่ามีความเจริญสูงสุด
ทรงได้สร้างวัดสำคัญมากมาย
ในกำแพงเมืองมีวัดอยู่ประมาณ ๑๒๐ วัด และยังได้สร้างวัดพระแก้ว
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต ที่นำมาจากเมืองเชียงใหม่
ในสมัยนี้ได้มีการแต่งวรรณกรรมหลายเรื่อง เช่น สังสินชัย การเกต พระลักพระราม เป็นต้น

สมัยนี้ราชอาณาจักรไทยได้มีความสัมพันธ์ลาวอย่างแน่นแฟ้น ได้ร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับพม่า
ได้สร้างเจดีย์ "พระธาตุศรีสองรัก" ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งความเป็นพี่เป็นน้องกัน ของสองอาณาจักร

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงคำมาอยู่ที่เวียงจันทน์
ได้ประดิษฐานพระแก้วมรกต และพระแซกคำ (พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงค์) ไว้ที่เวียงจันทน์
เรียกว่าเวียงจันทน์ล้านช้าง


ส่วนพระบางประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงทอง จึงได้ชื่อว่าหลวงพระบางมาจนถึงบัดนี้
บางครั้งก็เรียกชื่อว่าล้านช้างหลวงพระบาง และได้สร้างวัดเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตขึ้นเป็นพิเศษ
พระองค์ได้ทรงสร้างพระธาตุหลวง ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นยอดเยี่ยมของลาวเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๙ ซึ่งต่อมาได้ถูกพวกปล้นจากยูนานทำลายเสียหายไปมาก

นอกจากพระองค์จะได้ทรงสร้างพระธาตุ อื่น ๆ และพระพุทธรูปสำคัญ ๆ อีกมากมาย เช่น
พระเจ้าองค์ตื้อ ที่เวียงจันทน์ พระเจ้าองค์ตื้อ ที่อำเภอท่าบ่อ จ
ังหวัดหนองคาย พระเสริม พระสุก พระใส พระอินทร์แปลง พระองค์แสน
ทรงสร้างวัดพระธาตุ ที่จังหวัดหนองคาย และพระธาตุที่จมน้ำโขงอยู่ พระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย
สร้างวัดศรีเมือง จังหวัดหนองคาย และพระประธานในโบสถ์ นามว่า พระไชยเชษฐา พระศรีโคตรบูร ที่แขวงคำม่วน
พระธาตุอิรัง ที่แขวงสุวรรณเขต (สุวรรณเขต)
พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และทรงปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม เป็นต้น


พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงประคับประคองนำราชอาณาจักรล้านช้างผ่านพ้นภัยการเป็นเมืองขึ้นของพม่าไปได้
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าในขณะนั้นอาณาจักรล้านนา (เสียแก่พม่า พ.ศ. ๒๑๐๑)
และอาณาจักรศรีอยุธยา (เสียแก่พม่า พ.ศ. ๒๑๐๗) ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว
แต่หลังจากพระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๑๔ พอมาถึง พ.ศ. ๒๑๑๗-๒๑๑๘
พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ยกทัพมาตีลาวและได้รับชัยชนะ
และทรงนำโอรสองค์เดียวของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งประสูติในปีที่สวรรคต ไว้เป็นประกันที่หงสาวดีด้วย

ต่อจากนั้นมาหลายปีแผ่นดินลาวก็วุ่นวายด้วยเรื่องราชสมบัติ จนพ.ศ. ๒๑๓๔ พระเถระเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ จึงได้ประชุมกันลงมติให้ส่งทูตไปเชิญเจ้าชายหน่อแก้วโกเมน ซึ่งเป็นตัวประกันอยู่ประเทศพม่ากลับมาครองราชย์ และในเวลานั้นพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตลง พม่าเริ่มอ่อนแอลง
และเจ้าหน่อแก้วโกเมนขึ้นครองราชย์สมบัติ พ.ศ. ๒๑๓๕ และประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าต่อไป


พระเจ้าสุริยวงศาเป็นกษัตริย์ที่มีความปรีชาสามารถ และเข้มแข็ง สามารถปกครองให้ลาวสงบเรียบร้อยได้
ในสมัยนี้วัฒนธรรมรุ่งเรือง ศิลปกรรม ดนตรี ประติมากรรมต่าง ๆ เจริญแพร่หลาย

หลังจากสิ้นราชกาลพระเจ้าสุริยวงศา ใน พ.ศ. ๒๒๓๕ อาณาจักรลาวได้แตกเป็น ๒ อาณาจักร คือ
เมืองหลวงพระบาง กับ เมืองเวียงจันทน์ ทั้ง ๒ อาณาจักร ต่างระแวงกัน และคอยหาโอกาสแย่งชิงอำนาจกัน จนถึงกับไปผูกมิตรกับต่างประเทศเพื่อกำจัดกันและกัน เช่น ฝ่ายหนึ่งเข้ากับพม่า ฝ่ายหนึ่งเข้ากับไทย
หรือฝ่ายหนึ่งเข้ากับไทย ฝ่ายหนึ่งเข้ากับญวน เป็นต้น

จนในที่สุดเมื่อไทยสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเป็นมิตรกับหลวงพระบางกู้เอกราชจากพม่าได้แล้ว
ก็ยกทัพมาตีเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพันธมิตรของพม่า เข้ายึดครองได้ในพ.ศ.๒๓๒๑
และได้นำเอาพระแก้วมรกตไปยังอาณาจักรไทยด้วย
อาณาจักรเวียงจันทน์ได้สลายตัวลงเป็นดินแดนของไทยใน พ.ศ. ๒๓๗๑


ส่วนอาณาจักรหลวงพระบางซึ่งเป็นเมืองออกของไทยได้ส่งทูตไปอ่อนน้อม
และมอบบรรณาการแก่เวียดนาม พ.ศ. ๒๓๗๔ กลายเป็นข้ออ้างของฝรั่งเศส
ผู้เข้ายึดครองเวียดนามในสมัยต่อมา ที่จะเข้าครอบครองลาวต่อไปด้วย
อาณาจักรลาวได้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสโดยลำดับ
เริ่มแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ จนหมดสิ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๗
ลาวถูกฝรั่งเศสครอบครองอยู่ ๔๕ ปี จึงได้เอกราชกลับคืนโดยสมบูรณ์
เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒ มีชื่อเป็นทางการว่า “พระราชอาณาจักรลาว”

อิทธิพลของพุทธศาสนาต่อประเทศลาว

๑. ด้านสังคม
พระพุทธศาสนาได้ก่อให้เกิดความเป็นปึกแผ่นในสังคมชาวลาว
พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรมประเพณี ความคิด ความเชื่อของประชาชนลาว
พิธีกรรมและวันสำคัญต่าง ๆ เช่น ประเพณีทำบุญธาตุหลวง
เป็นประเพณีประจำชาติที่เชิดหน้าชูตาของประเทศลาว


ด้านศิลปวัฒนธรรม
ได้เกิดมีศิลปกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนามากมาย
ล้วนมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้นพระพุทธศาสนายังมีบทบาทในการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ
เช่นในชุมชนต่าง ๆ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของชุมชนในด้านให้คำปรึกษา
ช่วยเหลือด้านการสงเคราะห์ปัจจัยสี่แก่ประชาชน
วัดได้เป็นศูนย์กลางการพบปะของชาวบ้านและทางราชการ เป็นต้น


๒. ด้านการเมือง
พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างแยกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศใด
พุทธศาสนาในประเทศลาวนั้น เมื่อเสื่อมโทรมก็เนื่องจากได้รับการบีบคั้น ทำลายจากทางการเมือง เช่นในคราวที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการเมืองประเทศลาว ได้ทำการปฏิวัติใหม่
ได้ทำลายล้างสถาบันสำคัญของประเทศ ได้แก่สถาบันศาสนา และสถาบันกษัตริย์
มีพระสงฆ์ถูกฆ่าตายจำนวนมากมาย บางส่วนต้องลาสิกขาออกมาเพื่อเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์
และเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ก็ได้รับการสนับสนุนจากทางการเมืองเช่นเดียวกัน
ทั้งที่ปรากฏในอดีตและปัจจุบัน


บทบาทของพุทธศาสนาในยุคคอมมิวนิสต์ครอบครอง ได้แก่การเอาพระสงฆ์เป็นเครื่องมือทางการเมือง เนื่องจากพระสงฆ์เป็นผู้ที่ประชาชนให้ความเคารพเชื่อถือ โดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขณะนั้นได้ให้พระสงฆ์เผยแผ่แนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ไปในขณะเทศบรรยาย
ไดัจัดให้มีการปาฐกถาในที่ต่าง ๆ โดยมีพระสงฆ์ร่วมอยู่ด้วยในการเผยแผ่แนวคิดคอมมิวนิสต์นั้น ถูกบังคับให้ประยุกต์คำสอนทางพุทธศาสนาเข้ากับคำสอนของคอมมิวนิสต์ พระสงฆ์หลายรูปจำเป็นต้องทำตาม บางรูปขัดขืนก็จะถูกฆ่าตายอย่างโหด####ม

ในปัจจุบันนี้ บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงบ พระพุทธศาสนาก็ได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐเป็นอย่างดี
มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาของสงฆ์ขึ้น เป็นวิทยาลัยสงฆ์ เช่นวิทยาลัยสงฆ์ประจำกรุงเวียงจันทน์ เป็นต้น

๓. ด้านเศรษฐกิจ
อิทธิพลพุทธศาสนาด้านเศรษฐกิจนั้น ด้านหลักธรรมที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ได้แก่ความขยัน ประหยัด อดออมนั้น ดูจะไม่แตกต่างจากประเทศไทยนัก
เพราะเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมประเพณีไม่แตกต่างกันนัก
แต่ลักษณะของประเทศลาวปัจจุบันอยู่ในฐานะประเทศปิด ร
ะบบเศรษฐกิจจึงเป็นการพึ่งพาตัวเองมากกว่าการพึ่งพาจากต่างประเทศ
เศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นระบบเกษตรกรรม



เอกสารอ้างอิง

1.ชิตมโน. พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๕๓๓
2.ทรงวิทย์ แก้วศรี. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เล่ม ๑๐ พระพุทธศาสนาในอินโดจีน . กรุงเทพฯ: การศาสนา. ๒๕๓๐.
3.พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา, ๒๕๔๐.
4.พระมหาอุทัย ธมฺมสาโร. พระพุทธศาสนาและโบราณคดีในเอเซีย. กรุงเทพฯ: เฟื่องอักษร. ๒๕๑๖.
5.พระราชธรรมนิเทศ,(ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ. มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
6.เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๒ กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๕.

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  DSC_5329.JPG   361.36K   730 ดาวน์โหลด


#2 laity

laity
  • Members
  • 214 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 04:41 PM

ขอบคุณ และสาธุมาด้วยครับ นานมากแล้วที่ไม่ได้เรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน ทั้งที่เป็นประเทศที่น่าุผูกพันยิ่ง ๆ กว่าประเทศไหน ๆ ทั้งภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี พุทธศาสนา ที่คล้ายกันจนแยกกันแทบไม่ออก
อย่าให้อุปสรรคใด ๆ มาขัดขวางในชีวิตการสร้างบารมี และ
อย่าให้ความตั้งใจที่ดี เปลี่ยนแปลงไป กับกาลเวลา
เพราะเราไม่รู้ว่า่วันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร เราอาจจะอยู่หรือตาย
สิ่งที่เอาไปได้มีแต่บุญกับบาปเท่านั้น ฉนั้น เราต้องอยู่กับวันนี้
วันที่เราบอกตัวเองว่า วันนี้เป็นวันที่ดีที่สุด ในวันหนึ่งของชีวิตการสร้างบารมีของเรา

โอไดบะ
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

#3 บุญรักษา

บุญรักษา
  • Members
  • 189 โพสต์
  • Interests:ขอชีวิตงดงามตามที่ฝัน ขอทุกวันเป็นวันอันสดใส ขอทุกก้าวคือก้าวที่มั่นใจ ขอวันใหม่ก้าวไกลไปกว่าเดิม

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 12:23 AM

ขอบคุณมากครับ อ่านเพลินดีมีสาระความรู้อีกต่างหาก
ไม่มีสิ่งใดจะมอบให้ นอกจาก....ความจริงใจที่เต็มปรี่ เริ่มต้นผูกพันกันวันนี้ เพื่อมิตรไมตรีที่ดี..ตลอดไป เราต่างก็...มีไฟฝัน พร้อมจะสร้างสรรค์..เพื่อวันใหม่ ขอให้เรา....ต่างเป็นกำลังใจ เพื่อไปสู่จุดหมายที่...ยังรอ

#4 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 03:18 PM

ศาสนาพุทธเชื่อมต่อทุกๆคนเข้าด้วยกัน
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 06 April 2006 - 04:48 PM

ตำนานเจ้าเชษฐ์ และพระธาตุศรีสองรัก ที่เคยเป็นเคส Study ชื่อดังทะลุฟ้าในโรงเรียนฝันในฝันวิทยา เมื่อ 2 ปีก่อน เป็นอย่างนี้นี่เอง น่าประทับใจจริงๆ



ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#6 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 21 September 2006 - 10:40 PM

เอาพระไตรปิฏกมาอ้างกันเลยเหรอ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#7 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 20 March 2007 - 07:59 AM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ