ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ภาวะซึมเศร้า และ ความจำเสื่อมคือ ?


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 12:12 AM

ภาวะซึมเศร้า และ ความจำเสื่อม

นพ.อมรชัย หาญผดุงธรรมะ

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ภาวะที่พบได้บ่อยมากจะรวมถึง ภาวะซึมเศร้าและความจำเสื่อม ภาวะทั้ง 2 นี้ เป็นสาเหตุสำคัญ ของการเจ็บป่วยและการตายในผู้สูงอายุ

โรคความจำเสื่อม เป็นโรคหนึ่งที่พบบ่อย ในประชากรวัยชรา ทุก 1 ใน 5 คนที่อายุสูงกว่า 85 ปีจะเป็นโรคนี้ เป็นโรคที่เล่นงานสมอง ซึ่งกระทบต่อการดำรงชีวิต กระทบทั้ง พฤติกรรมความจำและสังคม ราว 75% ของโรคความจำเสื่อม เป็นโรคที่รู้จักกันดีในชื่อว่า โรคอัลไซเมอร์ (ALZHEIMER' S DISEASE) ครับ

ส่วนภาวะซึมเศร้า พบได้ราว 15% ของผู้สูงอายุ
เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีโรคทางกายประจำตัวอยู่ บางโรคก็ทำให้ทุกข์ทรมานและเสียสมรรถภาพร่างกายมาก ทำให้บางทีแยกหรือดูอาการซึมเศร้าได้ไม่เด่นชัด

เป็นทั้ง 2 โรคมีไหม?

มีครับ ภาวะซึมเศร้าพบได้บ่อยในคนสูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ราวครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะมีภาวะซึมเศร้ารุนแรง หลายราย ที่เกิดซึมเศร้าหลังจากที่รู้ตัวว่า ความจำและสมรรถภาพของตน กำลังลดลงอย่างน่ากลัว การซึมเศร้าอาจทำให้ผู้ชราที่เป็นอัลไซเมอร์อยู่ ประสบความยุ่งยากมากขึ้นในการทำภารกิจประจำวัน ในการจดจำสิ่งของ และในการใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างเป็นสุข จะบอกได้อย่างไรว่า ญาติที่เป็นอัลไซเมอร์อยู่เกิดภาวะซึมเศร้า ?


บางทีก็ยากทีเดียวที่จะรู้ว่าญาติของคุณที่เป็นโรคความจำเสื่อม เกิดภาวะซึมเศร้าแทรกซ้อนขึ้นมาอีกโรคหนึ่ง คุณลองสังเกตหรือพยายามมองหาอาการต่อไปนี้ ซึ่งเป็นอาการหลักๆ ของภาวะซึมเศร้าดูนะครับ

1.ไม่รู้สึกหรือไม่อยากทำอะไรเลย
2.แสดงความรู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่าและรู้สึกเศร้า
3.ปฏิเสธการรับประทานอาหารและผอมลงเรื่อย ๆ
4.นอนมากเกินไป (เอาแต่นอน) หรือน้อยเกินไป (ไม่ยอมหลับนอน)
5.อาการอื่น ๆ เช่น ร้องไห้ เจ้าอารมณ์ผิดปกติ ขี้โมโห เร่าร้อน สับสน


หรือญาติของคุณที่เป็นอัลไซเมอร์ อาจไม่ยอมช่วยเหลือตัวเองใน ชีวิตประจำวันส่วนตัว (เช่น อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า กินยา ฯลฯ) หรือชอบเตร่ออกนอกบ้านบ่อยขึ้น

โรคอัลไซเมอร์และภาวะซึมเศร้า มีอาการหลายอย่างคล้ายคลึงกันครับ หากญาติของคุณชักร้องไห้บ่อยขึ้น หรือฉุนเฉียวง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน อาจเป็นได้ว่าเขาเกิดภาวะซึมเศร้า บางทีก็ยากครับที่จะบอกความแตกต่างระหว่างซึมเศร้า กับอัลไซเมอร์มีถึง 20-85% ของอัลไซเมอร์ครับ ที่มีภาวะซึมเศร้าด้วย หากสงสัยว่าญาติของคุณมีปัญหาซึมเศร้าม แทรกซ้อนเข้ามา ก็ลองปรึกษาแพทย์ดูครับ

แพทย์จะช่วยได้อย่างไร ?

วินิจฉัยของแพทย์ใช้หลายวิธีประกอบกันครับ แพทย์จะตรวจร่างกาย ผู้ป่วย จะคุยกับญาติและผู้ดูแลผู้ป่วย จะถามถึงพฤติกรรมต่างๆ ของผู้ป่วย มีพฤติกรรมอะไรใหม่หรือเปลี่ยนไปบ้าง อาจตรวจคัดกรอง ด้วยวิธีทางจิตเวชต่างๆ อาจต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือดต่างๆ รวมถึงตรวจหาซิฟิลิส, ตรวจสารเสพติด, ตรวจหาโลหะหนัก, ตรวจโรคเอดส์, ตรวจปัสสาวะ, ตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ, เอกซเรย์ปอด, เอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์, เจาะน้ำไขสันหลังมาตรวจ, ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง, ตรวจสมอง ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์คลื่นแม่เหล็ก ฯลฯ

การตรวจต่างๆ เหล่านี้ แพทย์จะพิจารณาใช้ตามความจำเป็น สำหรับผู้ป่วยแต่ละรายไปครับ ไม่ได้ทำทั้งหมดทุกรายหรอก มูลเหตุสำคัญประการหนึ่ง ที่แพทย์ต้องตรวจละเอียด ก็เพื่อหาสาเหตุ ที่รักษาได้ของโรคครับ

ผมเน้นที่ "สาเหตุที่รักษาได้ว่า หมายถึงรักษาได้" ว่าหมายถึงรักษาได้หายขาด เช่น ที่เกิดจากพิษของยา โรคติดเชื้อ โรคของเนื้อสมอง โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ โรคทางระบบเมตตาโบลิซึ่ม ของร่างกาย ฯลฯ หากเจอสาเหตุเหล่านี้ ก็เท่ากับสามารถรักษาให้ผู้ป่วย กลับเป็นปกติได้ครับ แพทย์ยังสามารถให้คำแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วย กับท่านผู้ดูแลว่าจะจัดการกับภาวะเช่นนี้ของผู้ป่วยได้อย่างไรด้วย
มียาช่วยแก้ภาวะซึมเศร้าไหม ?


การรักษาภาวะซึมเศร้า ใช้วิธีการที่ใช้ยาและที่ไม่ใช่ยา ผสมกันครับ ยารักษาซึมเศร้าเป็นประโยชน์มากครับ ช่วยผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์และซึมเศร้าได้มากทีเดียว ทำให้ความรู้สึกเศร้าและภาวะซึมเศร้าดีขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้ ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น
การให้ยาควรอยู่ในความดูและของแพทย์อย่างต่อเนื่องครับ ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังอาการข้างเคียง หรืออาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ของยาที่ใช้ เพราะคนแก่เกิดอาการข้างเคียงของยาได้ง่าย โดยเฉพาะอาการข้างเคียงต่อระบบประสาทและหัวใจครับ
แพทย์อาจเริ่มให้ยาขนาดต่ำๆ ก่อนแล้วค่อยๆ เพิ่มขนาด ทีละนิดจนได้ผล อาจต้องวัดความดันโลหิตหรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ติดตามเมื่อผู้ป่วยได้ยาแล้ว

วิธีรักษาที่ไม่ใช้ยามีอะไรบ้าง ?

เมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่า ผู้ป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม และภาวะซึมเศร้า แพทย์จะคุยกับญาติ หรือผู้ดูแลผู้ป่วย ถึงแผนการรักษาต่างๆ คำแนะนำสำหรับญาติ และผู้ดูแลผู้ป่วย มีความสำคัญต่อผลของการรักษามากครับ เรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางบ้านมีผลกระทบมากทีเดียว
ผู้ดูแลผู้ป่วยควรได้รับการฝึกอบรม เพื่อให้เข้าใจและดูแลผู้ป่วยได้ดี ญาติควรมีความคาดหวังต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสม การคาดหวังมากเกินไปก็จะเสี่ยงต่อความผิดหวัง และเกิดกังวลได้สูงครับ สมาชิกในครอบครัวทุกคนต้องเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี และร่วมกันทั้งกายและใจ เพื่อช่วยให้การรักษาของแพทย์บรรลุผล หลักการง่าย ๆ มีดังนี้ครับ

1.พยายามจัดให้ผู้ป่วยมีกิจวัตรประจำวันที่คงที่สม่ำเสมอ
2.หลีกเลี่ยงเสียงดังอึกทึก หรือสิ่งแวดล้อมที่รบกวน
3.หลีกเลี่ยงการมีคนแปลกหน้าเข้ามาในบ้าน (มาพบผู้ป่วย)
4.พยายามจัดสิ่งแวดล้อม (รวมทั้งคนในบ้าน) ให้คุ้นเคย เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยตื่นกลัวหรือกังวล
5.ให้สมาชิกในบ้านช่วยกิจกรรมง่ายๆ ตามความเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย
6.จัดให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่รื่นรมย์เพลิดเพลิน เช่น เตรียมอาหาร ทำงานสอนง่ายๆ จัดของ จัดแยกรูปภาพ ฯลฯ
7.อย่าคาดหวังสูงเกินไปว่า ผู้ป่วยจะสามารถทำกิจกรรมอะไร (ที่ดูธรรมดา) ได้ทั้งหมด
8.คิดในแง่ดี คิดทางบวก ใช้การชมเชย อย่าตำหนิ หรือว่ากล่าวผู้ป่วย พึงระลึกว่าชมบ่อยๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น-และยังช่วยให้คุณเองดีขึ้นด้วย
9.ดูแลตัวคุณเองในฐานะผู้ดูแลผู้ป่วยให้ดี ด้วยนะครับ เพราะถ้าคุณ เหนื่อยหรือผิดหวังเกินไป คุณก็จะช่วยผู้ป่วยได้น้อยลงไปด้วย
10.ขอความช่วยเหลือจากเพื่อน เพื่อนบ้าน องค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้คุณสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น ครอบครัวที่มีผู้ป่วย เช่นเดียวกับครอบครัวของคุณอาจมีคำแนะนำดี ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่คุณ
11.โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลบางแห่งมีบริการรับดูแลผู้ป่วยแบบนี้ ซึ่งอาจช่วยแบ่งเบาภาระของคุณลงได้บางส่วน อาจฝากผู้ป่วย ไว้เวลากลางวัน แล้วรับกลับมานอนที่บ้าน หรืออาจอยู่ทั้งวัน ในบางระยะที่ต้องการการดูแลให้ยาอย่างใกล้ชิด วิธีนี้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งคุณคงต้องพิจารณาตามความเหมาะสมที่คุณสามารถรับภาระได้ครับ

ขอฝากทิ้งท้ายไว้หน่อยว่า ผู้สูงอายุนอกจากมีโรคที่ผมกล่าวถึง ในฉบับนี้แล้ว ยังมีโรคประจำตัวอื่นๆ อีกที่จะบั่นทอนความรู้สึกนึกคิด และความสามารถทางร่างกายของผู้สูงอายุลง จึงต้องใจเย็น และคิดแต่ด้านบวกนะครับ
คิดได้อย่างนี้คุณก็จะไม่เป็นทุกข์มาก จะสามารถแบกภาระ กดดันต่างๆ ที่รุมเร้าได้ดีขึ้น และที่สำคัญคือ จะไม่เป็นโรคนี้เสียเอง

บทความของ
นพ.อมรชัย หาญผดุงธรรมะ
นิตยสารใกล้หมอ


#2 นิ่งๆ นุ่มๆ

นิ่งๆ นุ่มๆ
  • Members
  • 618 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 February 2006 - 10:13 PM

ลองรักษาด้วย ธรรมะซิคะ
อย่าทำตัวเหมือนเรือ ที่เก็บขยะในมหาสมุทร ใครเขาจะพูดอะไร จะว่าอะไรเราให้ใจขุ่น ก็อย่าไปสนใจ ปากก็ของเขา ความคิดก็ของเขา อย่าเอามาแบกไว้ เพราะสุดท้ายเรือจะล่มอยู่กลางมหาสมุทร ไปไม่รอด
น้าจี้

#3 vas072

vas072
  • Members
  • 58 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 February 2006 - 09:28 PM

โรคอัลไซเมอร์ เป็นกรรมที่โกหกครับ
ภาวะซึมเศร้า เป็นกรรมสุราครับ

#4 PS-Junior

PS-Junior
  • Members
  • 247 โพสต์
  • Location:Bangkok
  • Interests:Meditation

โพสต์เมื่อ 06 February 2006 - 08:26 PM

การดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมมีหลายช่วงค่ะ ตั้งแต่ช่วงที่หลงลืมเล็กน้อย อันนี้คนดูแลก็ไม่เหนื่อยเท่าไหร่ แต่พอหลงลืมมากๆเข้า แต่ยังจำได้ว่าตัวเองลืม ช่วงนี้ผู้ป่วยจะเริ่มหงุดหงิดตัวเอง แล้วก็พาลคนอื่นด้วย บางทีวางของไว้ลืม ก็หาว่าคนอื่นเอาไปก้มี ช่วงนี้คนดูแลต้องเข้าใจผู้ป่วยมากๆ เอาธรรมมะเข้ามาช่วยนะค่ะ อย่าไปหงุดหงิดตอบ จะทำให้แย่ไปอีก ที่สำคัญเดี๋ยวผู้ป่วยก็ลืมอีกว่าเราพูดอะไรไป แต่เราสิจะไม่สบายใจเอง และพร้อมๆกับที่ความจำเสื่อมการช่วยเหลือตัวเองผู้ป่วยก็จะทำเองไม่ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่กินข้าว ไม่อาบน้ำเองเป็นต้น คนฝ้าต้องเหนื่อยหน่อยนะค่ะ
พอเข้าระยะสุดท้ายนี้จะลืมหมดเลย จำไม่ได้ หรือไม่รู้ตัวว่าตัวเองลืมอะไร อาจจะนอนเฉยๆ ไม่รู้เรื่องรู้ราว อันนี้เราก็ไม่ต้องไปคอยบอกอะไรมากแล้วเพราะบอกไปก็ลืมหมด แต่คอยดูแลทางร่างกายให้ดีที่สุดก็พอค่ะ
ส่วนยาที่บอกว่าช่วยบำรุงสมองหรือประสาทที่อพทย์จ่ายกันโดยทั่วไปนั้มี 2 แบบคือ
1 วิตามิน E วิตามินรวม
2 ยาชลอความจำเสื่อม
การรักษาที่ช่วยรักษาโรคความจำเสื่อมจริงๆ ขณะนี้ทางโลก ยังไม่มีค่ะ และยาเหล่านี้ก็แพงมาก เฉลี่ยวันละ 100 ขึ้นไป การกินยาแค่ชลอความเสื่อม ไม่ให้แย่เร็ว แต่ไม่ทำให้ดีขึ้น ถ้าหยุดก็เป็นต่อไป เพราะฉนั้นการจะสั่งยาเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยและคนรอบข้างด้วยนะค่ะ

ที่สำคัญอย่าไปทำกรรมที่จะทำให้ความจำเสื่อมอีกต่อไปจะดีกว่านะค่ะ เป็นการป้องกันดีกว่ามาตามแก้ไขค่ะ สาธุ

#5 extra

extra
  • Members
  • 409 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 February 2006 - 06:01 PM

คุณ xlmen คงจะอยากบอกโดยอ้อมว่า
คนที่มีญาติเป็นโรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ นั้น
ต้องไม่ลืมใช้ธรรมโอสถมารักษาใจของเขาด้วย
และหากโชคดี ตัวผู้ป่วยเองหันมาใช้ธรรมะได้ด้วย ก็นับว่าโชคดีมากขึ้นไปอีก
ซึ่งก็ขึ้นกับกรรมมุสา และกรรมสุรา ของผู้ป่วยแล้วล่ะค่ะ ว่ามากน้อยแค่ไหน
ถ้าบุญของเขามีมากพอ ก็คงจะดีขึ้นได้
แต่อย่างไรก็ตาม ขอเน้นว่าญาติมีส่วนสำคัญมากๆ สำหรับผู้ป่วยค่ะ happy.gif


#6 LiL' Faery

LiL' Faery
  • Members
  • 1160 โพสต์
  • Location:@ Time : Europe
  • Interests:Basic and Advance Meditation;วิชชา ธรรมกาย<br />Birth Day : 19 January

โพสต์เมื่อ 09 February 2006 - 11:46 PM

There for we love to observe the five precepts as life it self!!
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ^_^ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง

#7 O:-) FaiRy

O:-) FaiRy
  • Members
  • 147 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:กรุงเทพมหานคร...

โพสต์เมื่อ 16 February 2006 - 04:19 PM

O;-) บทความดีๆ เยอะแยะ ดีกว่าอ่านหนังสือเรียนเตรียมสอบ!!!
รักษาโดยใช้ธรรมะน่าจะดีที่สุดในโลกแล้วล่ะ...

#8 ป่าน072

ป่าน072
  • Members
  • 371 โพสต์
  • Location:โคราช
  • Interests:การศึกษาต่อในวิชา วิทยาศาสตร์<br />วิศวะปิโตรเคมี

โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 05:14 PM

ไม่เลยนะคะ
เราควรยิ้มกันเยอะๆๆ

จะได้ไม่ซึมเศร้าค่ะ
เมื่อดวงตาปิดสนิมอย่างละมุน
ไม่มีลุ้นเร่งจองมองที่หมาย
ก็จะพบผู้รู้อยู่กลางกาย
ธาตุอ่อนแก่มากมายถึงปลายทาง

#9 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 06:23 PM

ยิ้มกันไว้เถอะ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี