ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปัญหาของเทวดา


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 March 2008 - 09:33 PM

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
๑๐. เรื่องท้าวสักกเทวราช [๒๔๙]


ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภท้าวสักกเทวราช ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า \"สพฺพทานํ\" เป็นต้น.


ปัญหา ๔ ข้อของเทวดา

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เทพดาในดาวดึงสเทวโลกประชุมกันแล้ว ตั้งปัญหาขึ้น ๔ ข้อว่า

บรรดาทานทั้งหลาย ทานชนิดไหนหนอแล? บัณฑิตกล่าวว่าเยี่ยม,
บรรดารสทั้งหลาย รสชนิดไหน? บัณฑิตกล่าวว่ายอด,
บรรดาความยินดีทั้งหลาย ความยินดีชนิดไหน? บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ,
ความสิ้นไปแห่งตัณหา(ความต้องการ, ความปรารถนา)แล บัณฑิตกล่าวว่าประเสริฐที่สุด เพราะเหตุไร?



แม้เทพดาองค์หนึ่ง ก็มิสามารถจะวินิจฉัยปัญหาเหล่านั้นได้. ก็เทพดาองค์หนึ่งถามกะเทพดาองค์หนึ่ง, แม้เทพดาองค์นั้นก็ถามเทพดาองค์อื่นอีก, ก็เทพดาทั้งหลายถามกันและกันอย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ได้ท่องเที่ยวไปในหมื่นจักรวาลถึง ๑๒ ปี.


เทวดาพากันไปถามปัญหาท้าวมหาราชทั้ง ๔

เทวดาในหมื่นจักรวาล ไม่เห็นเนื้อความแห่งปัญหาโดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้ ประชุมกันแล้ว ไปยังสำนักของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เมื่อท้าวมหาราชกล่าวว่า \"พ่อทั้งหลาย ทำไมจึงมีเทพสันนิบาตกันใหญ่?\" จึงกล่าวว่า \"พวกผมตั้งปัญหาขึ้น ๔ ข้อแล้ว เมื่อไม่สามารถจะวินิจฉัยได้ จึงมายังสำนักของท่าน\"


เมื่อท้าวมหาราชกล่าวว่า \"ชื่อปัญหาอะไรกัน? พ่อ\"
(จึงบอกเนื้อความนั้น) ว่า \"พวกผมไม่สามารถวินิจฉัยปัญหาเหล่านี้ได้ คือ ‘บรรดาทาน รสและความยินดี ทาน รสและความยินดีชนิดไหนหนอแล ประเสริฐสุด? ความสิ้นไปแห่งตัณหาเทียว ประเสริฐสุด เพราะเหตุไร?’ จึงมาหา.\"


ท้าวมหาราชทั้ง ๔ กล่าวว่า \"พ่อทั้งหลาย แม้พวกเราก็หารู้เนื้อความแห่งปัญหาเหล่านี้ไม่ แต่พระราชาของพวกเรา ทรงดำริอรรถที่ชนตั้งพันคิดแล้ว ย่อมทรงทราบโดยขณะเดียวเท่านั้น พระองค์ประเสริฐวิเศษกว่าพวกเราทั้งหลาย ทั้งทางปัญญาและทางบุญ พวกเราจงไปยังสำนักของพระองค์เถิด\" แล้วพาหมู่เทพดานั้นนั่นแลไปยังสำนักของท้าวสักกเทวราช

ถึงเมื่อท้าวสักกเทวราชนั้นตรัสว่า \"พ่อทั้งหลาย ทำไมจึงมีเทพสันนิบาตกันใหญ่?\" ก็กราบทูลเนื้อความนั้น.

ท้าวสักกะทรงพาพวกเทวดาไปเฝ้าพระศาสดา

ท้าวสักกะตรัสว่า \"พ่อทั้งหลาย คนอื่นย่อมไม่สามารถรู้เนื้อความแห่งปัญหาเหล่านี้ได้ ปัญหาเหล่านั่นเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า\" แล้วตรัสถามว่า \"ก็เดี๋ยวนี้ พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ไหน?\" ทรงสดับว่า \"ในพระเชตวันวิหาร\" จึงตรัสว่า \"พวกเธอมาเถิด พวกเราจักไปยังสำนักของพระองค์\" ทรงพร้อมด้วยหมู่เทพดา ให้พระเชตวันทั้งสิ้นสว่างไสวในส่วนแห่งราตรี เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.


เมื่อพระศาสดาตรัสว่า \"มหาบพิตร ทำไมพระองค์จึงเสด็จมาพร้อมกับหมู่เทพดามากมาย?\" จึงกราบทูลว่า \"พระเจ้าข้า หมู่เทพดาพากันตั้งปัญหาชื่อเหล่านี้ คนอื่นที่ชื่อว่าสามารถรู้เนื้อความแห่งปัญหาเหล่านี้ได้ หามีไม่ ขอพระองค์ได้ทรงประกาศเนื้อความแห่งปัญหาเหล่านี้ แก่พวกข้าพระองค์เถิด.\"



พระศาสดาทรงแก้ปัญหา

พระศาสดาตรัสว่า \"ดีละ มหาบพิตร ตถาคตบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ บริจาคมหาบริจาค๑- แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ก็เพื่อตัดความสงสัยของชนผู้เช่นพระองค์นี่แหละ ขอพระองค์จงทรงสดับปัญหาที่พระองค์ถามแล้วเถิด


บรรดาทานทุกชนิด ธรรมทานเป็นเยี่ยม,
บรรดารสทุกชนิด รสแห่งพระธรรมเป็นยอด,
บรรดาความยินดีทุกชนิด ความยินดีในธรรมประเสริฐ
ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหา(ความติดใจ, ความต้องการ)ประเสริฐที่สุดแท้ เพราะความเป็นเหตุให้สัตว์บรรลุพระอรหัต\"


____________________________
๑- หมายถึงบริจาค ๕ คือ:-
๑. องฺคปริจฺจาค บริจาคอวัยวะ. ๒. ธนปริจฺจาค บริจาคทรัพย์.
๓. ปุตฺตปริจฺจาค บริจาคบุตร. ๔. ทารปริจฺจาค บริจาคเมีย.
๕. ชีวิตปริจฺจาค บริจาคชีวิต.


ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๐. สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ
สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อม
ชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้ง
ปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง.




แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพทานํ เป็นต้น ความว่า

ก็ถ้าบุคคลพึงถวายไตรจีวรเช่นกับใบตองอ่อน แด่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้นั่งติดๆ กัน ในห้องจักรวาล ตลอดถึงพรหมโลก.

การอนุโมทนาเทียว ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงทำด้วยพระคาถา ๔ บาทในสมาคมนั้นประเสริฐ; ก็ทานนั้นหามีค่าถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพระคาถานั้นไม่ การแสดงธรรมะก็ดี การกล่าวสอนก็ดี การสดับก็ดี ซึ่งธรรม เป็นของใหญ่ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง บุคคลใดให้ทำการฟังธรรม (คือสอนธรรมะที่ถูกต้องแล้ว)อานิสงส์เป็นอันมากก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้นแท้. ธรรมทานนั่นแหละที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นให้เป็นไปแล้ว แม้ด้วยอำนาจอนุโมทนา โดยที่สุดด้วยพระคาถา ๔ บาท ประเสริฐที่สุดกว่าทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยบิณฑบาต อันประณีตแล้วถวายแก่บริษัทเห็นปานนั้นนั่นแหละบ้าง

กว่าเภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้น แล้วถวายบ้าง
กว่าเสนาสนทานที่ทายกให้สร้างวิหารเช่นกับมหาวิหาร และปราสาทเช่นกับโลหปราสาทตั้งหลายแสน แล้วถวายบ้าง
กว่าการบริจาคที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นปรารภวิหารทั้งหลาย แล้วทำบ้าง.

เพราะเหตุไร?

เพราะว่า ชนทั้งหลายเมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น ต่อฟังธรรมแล้วเท่านั้นจึงทำได้ ไม่ได้ฟังก็หาทำได้ไม่. ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงฟังธรรมไซร้ เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง ภัตประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง เพราะเหตุนี้ ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุดกว่าทานทุกชนิด.


อีกอย่างหนึ่ง เว้นพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเสีย แม้พระสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น ผู้ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งสามารถนับหยาดน้ำได้ ในเมื่อฝนตกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น โดยธรรมดาของตนได้ ต่อฟังธรรมที่พระอัสสชิเถระเป็นต้นแสดงแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และทำให้แจ้งซึ่งสาวกบารมีญาณ ด้วยพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เพราะเหตุแม้นี้ มหาบพิตร ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุด.

เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า \"สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ.\"

อนึ่ง รสมีรสเกิดแต่ลำต้นเป็นต้นทุกชนิด โดยส่วนสูงแม้รสแห่งสุธาโภชน์ของเทพดาทั้งหลาย ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยังสัตว์ให้ตกไปในสังสารวัฏ แล้วเสวยทุกข์โดยแท้.

ส่วนพระธรรมรสกล่าวคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และกล่าวคือโลกุตรธรรม ๙ ประการ( มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ )นี้แหละ ประเสริฐกว่ารสทั้งปวง.

เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า \"สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ.\"

อนึ่ง แม้ความยินดีในบุตร ความยินดีในธิดา ความยินดีในทรัพย์ ความยินดีในสตรี และความยินดีมีประเภทมิใช่อย่างเดียว อันต่างด้วยความยินดีในการฟ้อนการขับการประโคมเป็นต้น ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยังสัตว์ให้ตกไปในสังสารวัฏ แล้วเสวยทุกข์โดยแท้.

ส่วนความอิ่มใจซึ่งเกิดขึ้น ณ ภายในของผู้แสดงก็ดี ผู้ฟังก็ดี ผู้กล่าวสอนก็ดี ซึ่งธรรม ย่อมให้เกิดความเบิกบานใจ ให้น้ำตาไหล ให้เกิดขนชูชัน ความอิ่มใจนั้น ย่อมทำที่สุดแห่งสังสารวัฏ มีพระอรหัตเป็นปริโยสาน, ความยินดีในธรรมเห็นปานนี้แหละ ประเสริฐกว่าความยินดีทั้งปวง.
เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า \"สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ.\"


ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหา คือพระอรหัตซึ่งเกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งตัณหา พระอรหัตนั้นประเสริฐกว่าทุกอย่างแท้ เพราะครอบงำวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า \"ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.\"

เมื่อพระศาสดาตรัสเนื้อความแห่งพระคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้ อยู่นั่นแล ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พันแล้ว.

แม้ท้าวสักกะทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดา แล้วทูลว่า

\"พระเจ้าข้า เพื่อประโยชน์อะไร พระองค์จึงไม่รับสั่งให้ให้ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์ ในธรรมทานอันชื่อว่าเยี่ยมอย่างนี้? จำเดิมแต่นี้ไป ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ภิกษุสงฆ์แล้วรับสั่งให้ๆ ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า.\"


พระศาสดาทรงสดับคำของท้าวเธอแล้ว รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ตรัสว่า

\"ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พวกเธอทำการฟังธรรมใหญ่ก็ดี การฟังธรรมตามปกติก็ดี กล่าวอุปนิสินนกถาก็ดี โดยที่สุดแม้การอนุโมทนา แล้วพึงให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวง.\" (เราเองถ้าสอนธรรมะใครก็ให้ส่วนบุญกับสัตว์ทั้งปวงหรือญาติของเราก็ได้)

เรื่องท้าวสักกเทวราช จบ.


อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
๑๐. เรื่องท้าวสักกเทวราช [๒๔๙]
http://www.84000.org...tha....34&p=10>

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ
สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อม
ชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้ง
ปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง.

หว่านพืชเช่นไรย่อมได้ผลเช่นนั้น ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 12:15 AM

เป็นปัญหาที่ แม้แต่เหล่าเทพเทวา ก็ยังไม่ทราบคำตอบ

อนุโมทนา ครับ

#3 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 March 2008 - 03:02 PM

Sa Thu Krub

#4 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 01:20 PM

เราเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้

#5 Soldier Class One

Soldier Class One
  • Members
  • 130 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 March 2008 - 10:04 PM

แล้วเราจะนับถือเทวดา กันทำไม ครัยมีอยู่เชิญลงพระแม่คงคา เลยนะครับ

เป้าหมายชีวิต คือ ที่สุดแห่งธรรม


#6 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 March 2008 - 12:11 PM

เยี่ยมยอด ทั้งคำถาม และ คำตอบ ค่ะ

อนุโมทนา สาธุ

#7 glouy.

glouy.
  • Members
  • 605 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 March 2008 - 01:50 PM

อนุโมทนา สาธุ

ครับ

ลูกพระธรรม

#8 นักรบเผ่าพันธุ์ตะวัน

นักรบเผ่าพันธุ์ตะวัน
  • Members
  • 380 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 26 March 2008 - 11:55 AM

สาธุ ครับ
เพราะเป้าหมายของพวกเราคือ "ที่สุดแห่งธรรม"

#9 JaiKaeW

JaiKaeW
  • Members
  • 149 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 March 2008 - 01:31 AM

Sadhu ka..