ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ช้างในพุทธศาสนา


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 03:46 PM

พญาช้างฉัททันต์

ในสมัยดึกดำบรรพ์นานมาแล้ว มีสระใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง กว้างยาว 52 โยชน์ ลึกราว 12 โยชน์ สระแห่งนี้มีชื่อว่าฉัททันต์ ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของสระนี้มีต้นไทรใหญ่อยู่ด้านหนึ่ง และทางด้านตะวันตกมีถ้ำทองที่มีชื่อว่า กาญจนคูหา ในครั้งนั้น มีช้างเผือกเชือกหนึ่ง ชื่อว่า พญาฉัททันต์ ได้อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้ๆ สระแห่งนี้ เว้นแต่ในฤดูฝนอันเป็นเวลาที่พญาฉัททันต์ หลบฝนเข้าไปอยู่ในกาญจนคูหา

ลักษณะของพญาฉัททันต์กล่าวว่า สูงถึง 88 ศอก ยาว 120 ศอก งวงยาว 58 ศอก งาวัดโดยรอบโต50 กำ และมีรัศมี 6 อย่าง จึงได้นามว่า ฉัททันต์ ผิวกายมีสีขาวดั่งสีเงิน งาขาวดั่งเงินยวง งวง หาง และ เล็บแดง สันหลังแดง มีพละกำลัง เดินตั้งแต่เช้าไปไม่ทันสายได้ระยะทางถึง 3,610,350 โยชน์ นับว่าเดินเร็วมากทีเดียว พญาช้างฉัททันต์มีบริวารถึง 8,000 เชือก มีมเหสีชื่อ จุลสุภัททาและมหาสุภัททา เป็นช้างเผือกเหมือนกัน

เรื่องราวของพญาช้างฉัททันต์นี้ พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นมาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ในขณะที่เสด็จประทับอยู่ที่เชตุวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี พระองค์ได้ทรงปรารภถึงภิกษุณีสาวรูปหนึ่งซึ่งมาฟังพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดง แล้วมีอาการหัวเราะแล้วร้องไห้ พระองค์จึงแย้มพระโอษฐ์ ให้ปรากฏแก่ภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อพระภิกษุเหล่านั้นทูลถามถึงสาเหตุ พระพุทธเจ้าจึงทรงเล่าเรื่องราว ดังต่อไปนี้

ภิกษุณีรูปนี้เป็นธิดาของผู้มีตระกูลในเมืองสาวัตถี เมื่อออกบวชในพุทธศาสนาแล้วได้มาฟังธรรมเทศนาพร้อมภิกษุณีทั้งหลาย สาเหตุที่ภิกษุณีแสดงอาการเช่นนั้นเนื่องจากในขณะที่นางฟังธรรมเทศนา อยู่นั้น นางได้เพ่งดูความสง่างามผุดผ่องของพระพุทธองค์ แล้วระลึกไปถึงชาติก่อนๆ ว่านางเคยเป็น บาทบริจาริกาของมหาบุรุษนี้หรือไม่ ก็ระลึกได้ว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เป็นช้างฉัททันต์ นางเคยเป็นคู่ครองของพญาช้าง ก็บังเกิดความปิติยินดียิ่งจนไม่อาจสะกดไว้ได้ ถึงกับหัวเราะออกมาดังๆ แต่ครั้นมาหวนคิดได้ว่าอีกชาติหนึ่งนางเคยใช้ให้นายพรานโสณุดร ยิงพญาช้างด้วยลูกศรอาบยาพิษ พร้อมทั้งให้ตัดงาอันมีรัศมี 6 สี ทั้งคู่มาให้นางจนเป็นเหตุให้พญาช้างสิ้นชีวิตลง เพราะความอาฆาตของนาง นางจึงบังเกิดความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ไม่อาจกลั้นความเศร้าโศกไว้ได้ ถึงกับสะอื้นไห้ออกมาดังๆ


- - - -




ช้างเอราวัณ

เอราวัณ เป็นช้างเชือกสำคัญในคติฮินดู เรียกเป็นภาษาบาลีว่าเอราวัณ เป็นสันสกฤตว่า ไอราวตะ ไอราวัต ไอราพต และไอราวัณ ส่วนไทยเรานั้นนิยมเรียกว่า เอราวัณ

เรื่องราวของช้างไอราวัณที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีสันสกฤต เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา

มีผิวกายเผือกผ่อง เมื่อเทียบกับภูเขาไกรลาศซึ่งเป็นภูเขาเงิน ภูเขานั้นจะมีสีหมองคล้ำลง เป็นช้างที่มีพลังอำนาจมาก เป็นเจ้าแห่งโลกทั้งหลาย ในคัมภีร์มหาภารตะกล่าวว่า “ช้างไอราวตะ มีงา 4 งา มีงวง 3 งวง รูปร่างใหญ่มหึมาและเป็นช้างเผือก” แต่ในรูปทั่วไปช้างไอราวตะมีงา 2 งา และ งวง 1 งวง

ช้างไอราวัณเป็นพาหนะของพระอินทร์ เพื่อนำพระอินทร์ท่องเที่ยวไปรอบโลกทั้งบนสวรรค์ และโปรยปรายฝนให้ตกลงมายังโลก และทำหน้าที่ดูดน้ำจากโลกขึ้นไปบนสวรรค์ให้พระอินทร์ทำให้ฝนตก เป็นช้างศึกนำพระอินทร์ออกรบกับอสูร และช้างไอราวัณนี้เป็นต้นเหตุให้เกิดการกวนเกษียรสมุทรของ เทพเจ้าอีกด้วย

เกษียรสมุทรเป็นที่ประทับของพระวิษณุ (พระนารายณ์) บนหลังอนันตนาคราช พระวิษณุตรังให้พระอินทร์เป็นหัวหน้าเทพเจ้า และพลิเป็นหัวหน้าอสูร นำเอาต้นไม้ที่เป็นสมุนไพรทุกชนิดใส่ลงไปในเกษียรสมุทร แล้วปั่นด้วยภูเขามันทรซึ่งเป็นภูเขาที่สำคัญและเป็นภูเขาลูกแรก และใช้พญานาควาสุกิ เจ้าแห่งนาคทั้งหลายแทนเชือก พวกอสูรถือข้างหัวพญานาค พวกเทพเจ้าถือข้างหาง ส่วนพระวิษณุนั้นแบ่งภาคไปเป็นเต่าใหญ่ รองรับภูเขามันทร ซึ่งเป็นหลักในการปั่นกวนเกษียรสมุทรครั้งนั้น


ดังนั้นช้างไอราวัณ จึงนับได้ว่าเกิดใหม่จากการกวนเกษียรสมุทรของเทพเจ้า พระพรหมทรงตั้งให้เป็นเจ้าแห่งช้างทั้งหลาย และมีหน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือ เป็นช้างโลกบาลรักษาทิศตะวันออก ช้างไอราวัณนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่คนไทย ดังปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง และพระราชลัญจกรไอยราพตของไทยที่เป็นตราเก่าก็มีหลายองค์ มีรูปช้างสามเศียรอยู่ในดวงตรา ก็หมายถึงช้างเอราวัณนั่นเอง



ในเรื่องรามายณะ และ ความเชื่อของศาสนาฮินดู กล่าวถึงพระอินทร์มีร่างสีเขียว มีพาหนะเป็นช้าง ๓ เชือก เชือกหนึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้ชื่อว่า เอราวัณ เชือกหนึ่งพระพรหมป็นผู้ประทานให้ชื่อว่า คีรีเมขล์ไตรดายุค และอีกเชือกหนึ่งพระวิษณุเป็นผู้ ประทานให้ชื่อว่า เอกทันต์ ช้างเอราวัณเป็นช้างที่มีพละกำลังมากที่สุดในหมู่ ช้างทั้ง ๓ เชือก และเป็นที่โปรดปรานมากที่สุด ของพระอินทร์ เชื่อกันว่าช้างเชือกนี้เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง เมื่อพระอินทร์ต้องการจะเสด็จ ไปไหนเอราวัณเทพบุตร ก็จะแปลงกายเป็นช้างเผือก ขนาดสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์ มี ๓๓ เศียร แต่ละเศียรมีงา ๗ งา งาแต่ละงายาวถึง ๔ ล้านวา

งาแต่ละงามีสระบัว ๗ สระ แต่ละสระมีดอกบัว ๗ ดอก แต่ละดอกมีกลีบ ๗ กลีบ มี ๗ เกสร แต่ละเกสรมีปราสาทอยู่ ๗ หลัง ปราสาทแต่ละหลังมี ๗ ชั้น แต่ละชั้นมี ๗ ห้อง แต่ละห้องมี ๗ บัลลังค์ แต่ละบัลลังค์มีเทพธิดาสถิต ๗ องค์ เทพธิดาแต่ละองค์มีบริวาร องค์ละ ๗ นาง เทพธิดาบริวารแต่ ละนางมีนางทาสีนางละ ๗ ทาสี รวมทั้งนางเทพอัปสรทั้งหมดประ มาณ ๑๙๐,๒๔๘,๔๓๓ นาง เทพธิดา บริวารรวมกันทั้งหมดประมาณ ๑๓,๓๓๑,๖๖๙,๐๓๑ นาง เศียรทั้ง ๓๓ ของช้างเอราวัณมีอุเปนทเทพยดา สถิตเศียรละ ๑ องค์ โดยปกติศิลปินไทยมักจะทำช้าง เอราวัณ เป็นช้าง ๓ เศียร


- - - -



พระคเณศ

พระคเณศ หรือ วิฆเนศวร หรือ พิฆเนศวร เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู นอกจากจะเป็นที่เคารพนับถือของชาวฮินดูโดยทั่วไปแล้ว ในบรรดาประเทศที่เลี้ยงช้างในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย พระคเณศยังเป็นที่นับถือของพวกหมอเฒ่าซึ่งเป็นครูผู้โพนช้าง คล้องช้าง และฝึกสอนช้าง อีกด้วย

ในการโพนช้าง คล้องช้าง หรือการประกอบพิธีเกี่ยวกับช้าง ผู้กระทำพิธีจะต้องทำการบวงสรวงบูชาและนมัสการพระคเณศก่อน โดยนับถือพระองค์เป็นเทพประจำช้าง นอกจากนี้พระคเณศยังเป็นเทพเจ้าประจำศิลปวิทยาการอีกด้วย

พระคเณศเป็นโอรสองค์แรกของพระอิศวรและพระอุมา ในคัมภีร์ปุราณะต่างๆ กล่าวว่า พระคเณศมิได้คลอดจากพระครรภ์ของพระมารดา แต่ถือกำเนิดโดยความปรารถนาของพระอิศวรและพระอุมา

พระคเณศมีรูปกายเป็นมนุษย์ อ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย หูยาน มีเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว สีกายแดง (บางแห่งว่าผิวเหลือง) นุ่งห่มแดง มี 4 กร (บางแห่งว่ามี 8 กรบาง 2 กรบาง) พระหัตถ์ที่ 1 ทรงถือเปลือกหอย พระหัตถ์ที่ 2 ทรงถือจักร พระหัตถ์ที่ 3 ทรงถือไม้พลองหรือปฏัก พระหัตถ์ที่ 4 ทรงถือดอกบัว

สาเหตุที่พระคเณศมีเศียรเป็นช้างนั้น ในคัมภีร์พรหมไววรรตปุราณะกล่าวว่า เมื่อพระอุมาได้ พระโอรสจากการทำพิธีปันยากพรต คือพิธีบูชาพระนารายณ์ ทวยเทพที่ทราบข่าวก็พากันมาแสดงความยินดี รวมทั้งพระศนิ (พระเสาร์) ซึ่งถ้ามองดูหน้าใครก็จะทำให้ผู้นั้นประสบความร้าย เมื่อพระศนิมองดูกุมาร ทันใดนั้นเศียรของกุมารก็ขาดจากศอกระเด็นหายไป เมื่อพระวิษณุ (พระนารายณ์) ทรงทราบก็เสด็จขึ้นครุฑไปยังแม่น้ำบุษปภัทร ทอดพระเนตรเห็นช้างนอนหลับหันหัวไปทางทิศเหนือ ก็ทรงตัดเศียรช้างนั้นนำกลับมาต่อที่ศอกุมาร

ส่วนสาเหตุที่พระคเณศมีงาข้างเดียวนั้น ในคัมภีร์พรหมไววรรตปุราณะกล่าวว่า พระคเณศทรงทำหน้าที่รักษาพระทวารขณะที่พระอิศวรทรงบรรทม ปรศุรามจะเข้าไปในพระราชฐานชั้นใน พระคเณศเข้า ขัดขวาง ได้มีการถกเถียงและต่อสู้กันขึ้น พระคเณศใช้งวงจับปรศุรามหมุนไปรอบๆ และเหวี่ยงไปจน ปรศุรามมึนศีรษะและหมดสติไป เมื่อปรศุรามรู้สึกตัวก็โกรธแค้นพระคเณศมาก จึงเอาขวานเพชรขว้างไปที่พระคเณศ พระคเณศจำได้ว่าขวานนั้นเป็นอาวุธของพระศิวะซึ่งประทานแก่ปรศุราม พระคเณศจึงน้อมรับด้วยความเคารพ ทันใดนั้นขวานเพชรก็ตัดงานข้างหนึ่งขาดกระเด็นไป พระคเณศจึงเหลืองาข้างเดียวนับแต่บัดนั้น


- - - - -

ช้างปาลิไลยกะ

ช้างปาลิไลยกะ เป็นช้างที่รู้จักกันดีในพระพุทธประวัติ เพราะเป็นช้างที่ได้ปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตลอดพรรษที่ 10 นับตั้งแต่พระพุทธองค์ตรัสรู้ ในขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาที่ป่ารักขิตวัน ใกล้หมู่บ้านปาลิไลยกะ ใกล้เมืองโกสัมพี หมู่บ้านนี้จึงมีความสำคัญในพุทธศาสนา

ช้างปาลิไลยกะเป็นช้างพลายหัวหน้าโขลงที่มีกำลังแข็งแรง ต่อมาเกิดความเบื่อหน่ายต่อการอยู่รวมกับช้างเป็นจำนวนมากในโขลง เพราะช้างเหล่านั้นประพฤติตนไม่อยู่ในระเบียบ ทั้งในเรื่องอาหารการกิน และการดำรงชีวิตอยู่ เช่น แย่งกินหญ้าหมด พญาช้างต้องกินต้นหญ้าที่เหลือ นอกจากนี้ช้างโขลงนั้นยังลงกินน้ำในแอ่งหรือสระก่อน และทำน้ำขุ่น พญาช้างต้องกินน้ำขุ่นๆ ช้างพังก็มักชอบเดินเสียดสีกายพญาช้าง เมื่อต้องลงไปท่าน้ำหรือขึ้นจากน้ำ ช้างปาลิไลยกะจึงตัดสินใจแยกตัวจากโขลงไปเป็นช้างโทนอยู่ตามลำพังเพื่อความสุขสงบของตนเอง

ในเวลาเดียวกันนั้น พระพุทธองค์ทรงเบื่อระอาภิกษุชาวโกสัมพี ที่ทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องเล็กน้อย จึงทรงหลีกออกจากพระภิกษุไปแต่พระองค์เดียว จึงเสด็จไปทางหมู่บ้านปาลิไลยกะ ประทับอยู่ที่บริเวณ ใต้ต้นสาละที่ชายป่ารักขิตวัน จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้น

หลังจากนั้นช้างปาลิไลยกะก็เดินทางไปถึงที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้เข้าไปทำความเคารพด้วยความเลื่อมใสศรัทธา เนื่องจากเป็นช้างที่เฉลียวฉลาด เมื่อเห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่เพียงพระองค์เดียว ไม่มีสิ่งใดจะเป็นเสนาสนะของพระองค์ พญาช้างมีความปรารถนาที่จะปรนนิบัติพระพุทธเจ้า

ช้างปาลิไลยกะได้ปรนนิบัติต่อพระพุทธเจ้าเช่นนี้เป็นประจำตลอดพรรษา คือเป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าจึงออกเดินทางต่อ โดยพญาช้างเดินตามมาขวางทางไว้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พญา-ช้างว่า พระองค์เสด็จไปแล้วไม่กลับมาอีก ขอให้พญาช้างหยุดเพียงนี้ พญาช้างมีความอาลัยจึงสอดงวงเข้าปากแล้วร้องไห้ เดินตามไปข้างหลังจนใกล้เขตหมู่บ้าน พระพุทธองค์ทรงบอกพญาช้างให้กลับเพราะต่อไปจะเป็นที่อยู่ของมนุษย์ จะมีอันตรายอยู่รอบข้าง พญาช้างจึงยืนร้องไห้อยู่ ณ ที่นั้น มองดูพระพุทธองค์ จนกระทั่งเสด็จห่างไปลับสุดสายตาแล้วจึงหัวใจวายสิ้นลงทันใด และเนื่องจากช้างปาลิไลยกะมีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า จึงได้เกิดในสวรรค์เป็นเทพบุตร ชื่อ ปาลิไลยกะเทพบุตร อยู่วิมานทองสูง 30 โยชน์ในสวรรค์ดาวดึงส์ ในท่ามกลางนางอัปสรนับพัน




(คัดจาก ช้างไทย โดย ศ,สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ ,2528)





#2 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 10 April 2006 - 07:56 PM

ช้างในป่าหิมพานต์ มี ๑o ตระกูล ได้แก่
๑. กาฬวกะ ช้างสีดำ มีกำลังเท่ากับบุรุษ ๑o คน
๒. คังเคยยะ (อ่านว่า คัง-ไค-ยะ) ช้างคงคา
๓. ปัณฑระ ช้างเผือก
๔. ตัมพะ ช้างสีแดง
๕. ปิงคละ ช้างสีดำแดง
๖. คันธะ ช้างที่มีกลิ่นหอม
๗. มังคละ ช้างมงคล
๘. เหมะ ช้างสีเทา
๙. อุโปสถะ ช้างสีที่เรียบร้อย
๑o. ฉัททันตะ ช้างที่เกิดในสระฉัททันต์

***โดยช้างชนิดที่ ๒ จะมีกำลังเป็น ๑o เท่าของช้างกาฬวกะ ในลำดับสูงขึ้นก็มีอัตรากำลังเพิ่มขึ้นทีละ ๑o เท่า ในทำนองเดียวกันเรียงลำดับขึ้นไป เพราะฉะนั้น "พญาฉัททันตะ" จะมีกำลังเท่ากับบุรุษ ๑o,ooo ล้านคน องค์สมเด็จพระทศพลทรงมีพระพละกำลังเท่ากับพญาฉัททันตะ ๑o เชือก เพราะฉะนั้น พระองค์จะทรงมีพระพละกำลังเท่ากับบุรุษ ๑oo,ooo ล้านคน ดังนี้


#3 แก้วประเสริฐ

แก้วประเสริฐ
  • Members
  • 513 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 April 2006 - 06:36 PM

ช้างสีแดงเป็นอย่างไรเอ่ย ไม่เคยเห็นจริงๆ

#4 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 12 April 2006 - 03:00 AM

แสนล้านคน
นี่มากมหาศาลขนาดไหนเนี่ย
งง งง งง มากๆครับ
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#5 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 12 April 2006 - 12:38 PM

QUOTE
แสนล้านคน
นี่มากมหาศาลขนาดไหนเนี่ย
งง งง งง มากๆครับ

อจินไตยครับ อจินไตย ท่องไว้นะครับ


#6 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 April 2006 - 01:07 PM

เคยได้ยินมาว่า สมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะยังไม่ออกผนวช ได้ไปเจอศพช้างนอนขวางทางอยู่ พระองค์ใช้มือเพียงข้างเดียวจับช้างตัวนั้นเขวี้ยงทิ้งออกไปได้ไกลลิบเลยครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#7 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 12 April 2006 - 01:16 PM

ขอถามน้อง Ideal บ้างละกัน อยากทราบว่าหนูที่เป็นพระพาหนะของพระพิฆเณศวรมีที่มาอย่างไร? แต่เดิมเขาเคยเป็นอะไรมาก่อนครับ?

#8 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 12 April 2006 - 02:58 PM

T0T อันนี้ ผมไม่ทราบอะคร๊าบบ
ความหมายของหนูกับช้าง

หนูกับช้างเป็นสัญลักษณ์ของการพึ่งพาและปรองดอง ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงอำนาจและความมีชัยของฝ่ายที่อยู่เหนือกว่า

ในทางมนุษยวิทยาแล้วมีผู้วิเคราะห์ไว้ว่า

หนูกับช้างเป็นสัญลักษณ์ของชนเผ่าสองกลุ่ม เผ่าที่มีชัยเหนือกว่าอาจจะเป็นชนกลุ่มที่นับถือช้างอยู่แต่เดิม จึงได้สร้างและยึดเอาประเพณีการนับถือช้างเป็นเทพเจ้ามาเป็นตัวแทนกลุ่ม
หรืออีกอย่างที่เป็นไปได้คือ คนสมัยดั้งเดิมนั้นประกอบอาชีพทางด้านกสิกรรม และแน่นอน หนูย่อมเป็นศัตรูอันร้ายกาจของไร่นา ภาพที่แสดงออกในรูปของช้างและงูที่เป็นสังวาลนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้ทำลายหนูอันเป็นศัตรูสำคัญของผลิตผลทางการเกษตรอย่างชัดเจน ทั้งการนำหนูมาเป็นบริวารนั้น

เนื่องจากหนูขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วเพราะหนูได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีความฉลาดและกัดทุกอย่างให้ขาดได้ ดังนั้นจึงเป็นความเหมาะสมสำหรับการเป็นพาหนะของเทพเจ้าแห่งปัญญา อันมีคุณสมบัติในการขจัดซึ่งอุปสรรค



DMC The only one

ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี้แหละเป็นตัวสำเร็จ
ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย


คติธรรม พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

#9 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 12 April 2006 - 07:02 PM

ขอบคุณน้อง Ideal มากๆ เลยครับ

#10 shotgun

shotgun
  • Members
  • 2 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 September 2006 - 03:25 AM

ช้างเอราวัณ

รูปช้างเอราวัณอื่นๆ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  cos_001.jpg   70.47K   86 ดาวน์โหลด


#11 shotgun

shotgun
  • Members
  • 2 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 November 2007 - 03:44 PM

ดูรูปประกอบได้ที่นี่ครับ


http://www.dfoto.com...r...ls&album=69



happy.gif