อนึ่ง คำว่า อสงไขย นั้น มาจากภาษาบาลี ว่า อ + สงฺเขยฺย (สันสกฤต : อ + สํขฺย) หมายถึง นับไม่ได้ หรือนับไม่ถ้วน นั่นเอง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542ระบุจำนวน ของอสงไขย ไว้ว่า เท่ากับ โกฏิ ยกกำลัง 20
การคำนวณความยาวนาน
- สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 100 โยชน์ ยาว 100โยชน์ และ สูง 100 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากกล่อง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป
- (บางตำรากล่าวว่า กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์) วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 1600X1600X1600 = 4,096,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร 1 กิโลเมตรเทียบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตรจะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด
- ดังนั้น 1600 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรียงกัน =(1600X2,000,000 = 3,200,000,000) เมล็ด ถ้าเป็นปริมาตร คือ (กว้าง x ยาว x สูง) ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ (3,200,000,000X3,200,000,000X3,200,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000 เมล็ด)
- ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000X100 =3,276,800,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี
- จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามล้านสองแสนเจ็ดหมื่นหกพันแปดร้อยล้านล้านล้านล้าน ปีประมาณ 3.3 X 10 ยกกำลัง 30 ปี
- 1 อสงไขยกัปมีกี่กัปนั้นเป็นจำนวนที่แน่นอน คือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 1 X 10 ยกกำลัง140 กัป
วิธีนับอสงไขย
การนับอสงไขยให้เทียบเอาดังนี้
- สิบ สิบหน เป็น หนึ่งร้อย
- สิบร้อย เป็น หนึ่งพัน
- สิบพัน เป็นหนึ่งหมื่น
- สิบหมื่น เป็น หนึ่งแสน
- ร้อยแสน เป็นหนึ่งโกฏิ
- ร้อยแสนโกฏิ เป็น หนี่งปโกฏิ
- ร้อยแสนปโกฏิ เป็น หนึ่งโกฏิปโกฏิ
- ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น หนึ่งนหุต
- ร้อยแสนนหุต เป็น หนึ่งนินนหุต
- ร้อยแสนนินนหุต เป็น หนึ่งอักโขเภนี
- ร้อยแสนอักโขเภนี เป็น หนึ่งพินทุ
- ร้อยแสนพินทุ เป็น หนึ่งอพุทะ
- ร้อยแสนอพุทะ เป็น หนึ่งนิระพุทะ
- ร้อยแสนนิระพุทะ เป็น หนึ่งอหหะ
- ร้อยแสนอหหะ เป็น หนึ่งอพพะ
- ร้อยแสนอพพะ เป็น หนึ่งอฏฏะ
- ร้อยแสนอฏฏะ เป็น หนึ่งโสคันธิกะ
- ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น หนึ่งอุปละ
- ร้อยแสนอุปละ เป็น หนึ่งกมุทะ
- ร้อยแสนกมุทะ เป็น ปทุมะ
- ร้อยแสนปทุมะ เป็น หนึ่งปุณฑริกะ
- ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็นหนึ่งอกถาน
- ร้อยแสนอกถาน เป็น หนึ่งมหากถาน
- ร้อยแสนมหากถาน เป็น หนึ่งอสงไขย
จำนวนอสงไขย
อสงไขย มี 7 อสงไขย คือ - นันทอสงไขย
- สุนันทอสงไขย
- ปฐวีอสงไขย
- มัณฑอสงไขย
- ธรณีอสงไขย
- สาครอสงไขย
- บุณฑริกอสงไขย