Jump to content


- - - - -

ข้อแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา


  • You cannot start a new topic
  • Please log in to reply
17 replies to this topic

#1 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

Posted 27 July 2009 - 09:33 AM

พระพุทธเจ้าทรงมุ่งแก้ปัญหาขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ยังคงมีความทุกข์ อันเป็นผลมาจากกิเลส ซึ่งคำสอนมุ่งให้ทำลายกำจัดกิเลสที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์ ความรู้อันเป็นความจริงใดๆก็ตามที่ไม่สามารถนำไปสู่การดับทุกข์ตัดกิเลสแล้วพระองค์จะไม่สนพระทัย

พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบกับคนที่ถูกลูกศรอาบยาพิษนอนร้องครวญครางอยู่ต่อหน้าพระองค์ หน้าที่ของพระองค์คือการช่วยถอดลูกศรออก แลัวรักษาเยียวยาบาดแผลให้หาย ถ้าในขณะนั้น คนผู้นั้นจะถูกยุงกัด แมลงตอมบ้างพระองค์ก็ไม่สนพระทัยเช่นกันเพราะเป็นปัญหาเล็กน้อย

ส่วนวิทยาศาสตร์มุ่งแก้ทุกข์ทางกายด้วยกรรมวิธีทางด้านวัตถุมากกว่าไม่สนใจในการดับกิเลส เมื่อดับกิเลสไม่ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่ค้นพบจึงมักจะถูกกิเลสนำไปใช้ในทางทำลาย ก่อให้เกิดความเสียหายและความทุกข์อย่างมหันต์ตามมา

เพราะฉนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสอนวิทยาศาสตร์ทางวัตถุ แต่ทรงสอนวิทยาศาสตร์ทางใจคือ อริยสัจ 4
ทุกข์กับสมุทัย เป็นภาคทฤษฎีที่ควรรู้ให้แจ่มแจ้ง
มรรค เป็นภาคปฏิบัติหรือเป็นเทคโนโลยีทางใจ
นิโรจ เป็นผลที่เกิดจากการดับสมุทัยได้แล้ว เป็นความสว่าง สะอาด สงบอย่างสูงสุด
จากแนวที่ยกมาแสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงมีท่าทีแบบนักปฏิบัติสัจจนิยม ซึ่งเป็นแนวของวิทยาศาสตร์

http://www.nstlearning.com/~km/?p=912



#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2,477 posts
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

Posted 27 July 2009 - 12:12 PM

อนุโมทนา คุณ sky noi ครับ


ขอร่วมสนทนาและแบ่งแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้ศึกษา สักนิดครับ

เท่าที่เคยได้ศึกษาพุทธศาสตร์-ธรรมะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มาบ้าง
สังเกตว่า

วิทยาศาสตร์ เน้นศึกษา ค้นคว้า พิสูจน์ ในเชิงรูป (ธรรม)
เพราะอวิชชา
เพื่อบรรเทาความไม่รู้จริง บรรเทาความไม่รู้แจ่มแจ้ง ได้เท่านั้น

วิทยาศาสตร์ ให้ความรู้ พิสูจน์ได้เพียงสรรพสิ่งที่เป็นธาตุหยาบ และธาตุละเอียดในบางระดับ เท่านั้น

วิทยาศาสตร์ พิสูจน์ได้เพียง สรรพสิ่งที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของมุษย์หยาบ
รวมถึงเครื่องมือประดิษฐ์ทางเทคโนโลยี สัมผัสได้เท่านั้น

วิทยาศาสตร์ ไม่สามารถถึงขนาด พิสูจน์ สัมผัส รู้ถ่องแท้ ในสรรพสิ่งที่เป็นธาตุละเอียด ที่พ้น เหนือสัมผัส ๕

วิทยาศาสตร์ ใช้ได้เพียงในโลกนี้ แต่ใช้ไม่ได้ใน ปรโลก ที่เป็นภพละอียด ธาตุละเอียด

ที่กล่าวอย่างนี้
มิได้ดูหมิ่น และไม่ได้ต้านวิทยาศาสตร์นะครับ

เพราะ
วิทยาศาสตร์ สามารถสร้างอรรถประโยชน์ ให้มวลมนุษย์ อย่างมหาศาล
ซึ่งมนุษย์ทั้งหลาย รวมถึงผมเอง ก็อาศัยวิทยาศาสตร์ ในการดำรงชีพ เช่นกัน

ส่วนพุทธศาสตร์ เน้นศึกษา ค้นคว้า พิสูจน์ ในเชิงนาม (ธรรม)
เพราะอวิชชา และกัณหธรรม
เพื่อ หลุดพ้นจากอวิชชา ดับอวิชชา ดับกัณหธรรม

มีความรู้ในกระทู้เก่า ที่เกี่ยวข้องมาให้ศึกษา กันครับ

ความเหมือนกับความแตกต่าง ระหว่างพระพุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์
ที่มา : พระไตรปิฎกวิจารณ์ (A Critical Study of the Tipitฺaka) / มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=3432


ตัวอย่าง
พระพุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์
ประเด็นที่พึงศึกษา
(๑) จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนากับของวิทยาศาสตร์
(๒) ความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
(๓) ความคิดแบบพุทธกับความคิดแบบวิทยาศาสตร์
(๔) ความสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสตร์กับวิทยาศาสตร์
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#3 ตะกร้าอีกใบ

ตะกร้าอีกใบ
  • Members
  • 1,297 posts

Posted 28 July 2009 - 12:21 AM

ขอกราบอนุโมทนากับเนื้อหาที่ดีครับ
สาธุ
อย่าขาดการปฏิบัติธรรมแม้แต่เพียงวันเดียว
เพราะขาดแม้เพียงวันเดียว ใจเราจะหยาบ ทำให้ผังวิตกกังวลได้ช่อง

7 ส.ค. 48



#4 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3,279 posts
  • Gender:Male

Posted 28 July 2009 - 08:30 AM

อย่ามานั่งใส่ใจกับเรื่องไม่เป็นเรื่องพวกนี้เลยครับ

พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ก็...เรื่องเดียวกันนั่นแหละครับ ไม่ได้แตกต่างกันหรอก ถ้าจะหาสาระพอมาพูดได้ก็คงเป็นแค่ทั้งสองอย่างมี "มุมมอง" ที่ต่างกันเท่านั้น

ศึกษาควบคู่กันไปตามความถนัดของแต่ละท่านเถอะครับ อย่ามานั่งจับผิดจับถูก หาข้อแตกต่างหรือเหมือนกันเลย เสียเวลาเปล่าๆ
สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#5 kissy

kissy
  • Members
  • 589 posts

Posted 28 July 2009 - 04:46 PM

ขออนุโมทนาบุญ ด้วยค่ะ



#6 tnawut

tnawut
  • Moderators
  • 2,398 posts
  • Gender:Male
  • Location:Laksi
  • Interests:Internet, Computer, Electronic, Security, Merit, Meditation, อินเตอร์เน็ต, คอมพิวเตอร์, ทำบุญ, ปล่อยปลา, บูชาเจดีย์, ฝันในฝัน, DOU, หมู่บ้านปฏิบัติธรรม, บวช, บรรพชา, Web, CU, Chula

Posted 30 July 2009 - 08:28 AM

smile.gif

#7 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2,477 posts
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

Posted 30 July 2009 - 09:17 AM

unsure.gif
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#8 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

Posted 31 July 2009 - 06:00 PM

^_^

#9 แสงแห่งชัย แสงแห่งธรรม : )

แสงแห่งชัย แสงแห่งธรรม : )
  • Members
  • 9 posts

Posted 03 August 2009 - 05:47 PM

งับ ให้ความเห็นกันดีมากเลย

คราวหน้า ใครว่างๆก็มาต่อนะครับ

อยากอ่านยาวๆ

รู้สึกว่ามันน่าจะยาวกว่านี้นะครับ

ขออนุโมทนาบูญด้วยนะครับ omg_smile.gif

"สัพพะทุกขะนิสสะระณะ นิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ

อิมัง กาสาวัง คะเหตวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ"


#10 ธรรมะดีดี

ธรรมะดีดี
  • Members
  • 7 posts

Posted 05 August 2009 - 06:54 PM

ขออนุโมทนาดวยนะคะ

#11 จันทร์ยิ้ม

จันทร์ยิ้ม
  • Members
  • 205 posts

Posted 11 August 2009 - 10:12 AM

อนุโมทนา สาธุ สาธุ

#12 usr30679

usr30679
  • Members
  • 1 posts

Posted 19 August 2009 - 10:48 PM

มันน่าจะต่างกันตรง What Why How
พุทธศาสนาเริ่มที่เกิดไ้ด้เพราะ What Why How ที่ทรงถามนายฉันนะ เกี่ยวกับ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณพราห์ม
แล้วก็จุดประเด็นที่จะค้นหาคำตอบในที่จะทำอย่างไรให้พ้นจากทุกข์ เป็นปัญญาล้วน ๆ เกิดจากการสั่งสมถึงแม้จะเป็นจินตมยปัญญาแต่ก็เป็นพลังให้พระองค์ทรงออกค้นหา ความจริง หรือความรู้ ดังนั้นหนทางความรู้ก็เลยมาจากพื้นฐานของปัญญาที่หาหนทางพ้นทุกข์

แต่ในทางวิทยาศาสตร์ What Why How เหมือนกัน แต่เป็น What Why How ที่มาจากฟามสงสัยไง ว่าเอ้อันนั้นเป็นแบบนี้ได้ไง อันโน้นเป็นแบบนั้นได้ไง แล้วก็พยายามหาคำตอบ พอได้คำตอบก็งั้น ๆ เพราะเป็นคำตอบที่แค่เพียงรู้แต่เนื่องจากจุดเริ่มแห่งการค้นคว้านั้นไม่ได้ลึกซึ้งถึงขั้นหลุดพ้น จึงทำให้วิทยาศาสตร์เป็นความรู้แคบอยู่ในโลกและอย่างมากก็จักรวาล ไม่กว้างเท่าพุทธศาสนา ประมาณนี้มั๊งนะ
red_smile.gif

#13 -'๑'-ต:วัu☼สัuติิ-'๑'-

-'๑'-ต:วัu☼สัuติิ-'๑'-
  • Members
  • 61 posts

Posted 14 February 2010 - 02:45 PM

วิทยาศาตร์ ก็มาจาก พุทธศาสตร์ นั่นแหละ ครับ

หลักเหตุและผล

ประกอบเหตุ สังเกตผล

แม่นบ่ๆ


โมทนาบุญ ด้วยครับ happy.gif






+^^ Just You Make ^^+


#14 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1,212 posts

Posted 13 March 2010 - 07:06 PM

นิโรธ สะกดด้วย " ธ ", ไม่ใช่ " จ ".

นิโรธ " ไม่ใช่ " ผลที่เกิดจากการดับสมุทัย,

แต่เป็น " หลักการ " ในการกำจัดสมุทัย,

นิโรธ คือ " หยุด " ( หยุดเป็นตัวสำเร็จ )

หยุดสาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ (หยุดทุกข์และหยุดสมุทัย )

มรรค คือ " วิธีการปฏิบัติ " ที่เป็น " ทางเอกสายเดียว " ในการไปสู่ " นิโรธ ".

อริยสัจ ๔ ได้แก่

๑) ทุกขัง อะริยะสัจจัง

๒) ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง

๓) ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง

๔) ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง

#15 Heart Sutra

Heart Sutra
  • Members
  • 6 posts

Posted 09 May 2010 - 07:57 AM

สิ่งที่พระพุทธองค์สอนนั้น เป็นวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนที่สุดครับ
แม้แต่ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอจะตาย(อิอิ) ยังมีอธิบายในพระไตรปิฎกทั้งเถรวาทและมหายานเลย
ก็อิทัปปัจจยตา แถมอธิบายไว้อย่างลึกซึ้งกว่ามากๆๆๆๆ(เทียบกันไม่ได้) ในนิกายศูนยวาท ก็อธิบายไว้ในเชิงสุญญตา
ฝ่ายมหายานก็อธิบายในเชิงธรรม 3 ระดับ ไอ้สัมพัทธภาพเนี่ย มันจัดอยู่ในธรรมระดับที่ 2 คือ ปรตันตระ
ปรตันตระ ก็คือ ความเป็นเหตุปัจจัยกันของสรรพสิ่ง ก็คือ อิทัปปัจจยตา และ กฏแห่งกรรม นี่เอง

ในทฤษฎีสัมพัทธภาพกล่าวว่า ถ้าขาดสัมพัทธภาพ ระยะจะเป็น0 กาลเวลาจะเป็น0 ....
ในทางพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า
อิมัสมิง สติ, อิทัง โหติ; - เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี
อิมัสสะ อุปปาทา, อิทัง อุปปัชชติ; - เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด
อิมัสมิง อสติ, อิทัง นะ โหติ; - เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนั้นจึงไม่มี
อิมัสสะ นิโรธา, อิทัง นิรุชฌติ; - เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ
แถมยังอธิบายไว้ลึกซึ้งกว่าเยอะมากๆๆๆๆ ถ้าวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาก็ยิ่งลึกเขาไปใหญ่ ความมีและไม่มีเป็นเนื้อเดียวกัน โอ้ววว
แต่ถ้าจะเข้าใจได้อย่างสุดๆ ต้องวิปัสสนา คือเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริงแท้ไปเลย T_T

I'm flowers of emptiness, I'm blossoms of the nameless, It is neither void nor does, The nature haven't first and last.


#16 Mr. Wang

Mr. Wang
  • Members
  • 2 posts

Posted 09 May 2010 - 08:54 AM

ขออนุโมทนาบุนด้วยครับ

พี่ครับผมอยากเขียน case ต้องทำย่างไรบ้างครับ ช่วยสอนผมที่ครับ



#17 ธาตุล้วนธรรมล้วน

ธาตุล้วนธรรมล้วน
  • Members
  • 255 posts

Posted 09 May 2010 - 01:22 PM

ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของไอจะตาย ในห้วงเวลา ง่ายๆสำหรับการนั่งสมาธิก็คือ

การนั่งสมาธิได้สงบๆ ไปแล้วเป็นครึ่งชั่วโมง หรือ หนึ่งชั่วโมง แต่รู้สึกได้ว่าเวลาผ่านไปแค่เพียง 5-15 นาทีเท่านั้นเองครับ

ด้วยวิธีการนี้ คงเป็นเหตุให้ผู้ที่นั่งสมาธิจะแก่ช้าด้วยกระมั้งครับ

เสมือนเราพับ และย่นเวลาได้ ต่อไปใครเจริญฌานเก่งมากๆ นั่งหลับตาแป๊บเดียว ลืมตามาอาจจะอยู่ในยุคพระศรีอาริย์แล้ววว rolleyes.gif


ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ

ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ

เราตถาคต คือธรรมกาย

#18 ์Nee.Sansanee

์Nee.Sansanee
  • Members
  • 73 posts

Posted 14 October 2010 - 10:54 AM

ห้าสะลึงตึงทั้งชาติ คำตอบอยู่นี้เอง