ไปที่เนื้อหา


อู่ต่อเรือ

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 08 Oct 2007
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Nov 19 2010 09:39 AM
-----

กระทู้ที่ฉันเริ่ม

งานตักบาตรที่สุพรรณบุรี จ้า....

10 October 2009 - 09:50 PM

ชมกันเลยจ้า

เอาบุญมาฝากทุกท่าน

สาธุ

ภาพงานอุปสมบทที่วัดมะนาว สุพรรณบุรี

01 September 2009 - 09:14 PM

นำรูปว่าฝากและเอาบุญมาฝากทุกท่านครับ


แนบไฟล์  DSC_0249_forum.JPG   148.66K   113 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  DSC_0243_forum.JPG   159.37K   94 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  DSC_0252_forum.JPG   184.13K   86 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  DSC_0253_forum.JPG   132.9K   100 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  DSC_0255_forum.JPG   161.31K   88 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  DSC_0259_forum.JPG   113.53K   83 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  DSC_0264_forum.JPG   170.3K   99 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  DSC_0263_forum.jpg   125.81K   86 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  ADSC_0257_forum.jpg   328.26K   96 ดาวน์โหลด

หอไตร ...........สถาปัตยกรรมพื้นบ้านกลางน้ำ............

07 July 2009 - 08:55 PM

หอไตร ...........สถาปัตยกรรมพื้นบ้านกลางน้ำ............


หอไตรเป็นที่เรือนหรืออาคารที่เก็บรักษา หนังสือผูก ใบลาน จารึกพระไตรปิฎก ปัจจุบันบ้างเป็นพิพิธภัณฑ์เชิงพุทธ และ เป็นอนุสรณ์รำลึกถึง ภูมิปัญญาของบรรพชนที่ตั้งใจเก็บรักษาจารึกพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้



แนบไฟล์  1.jpg   95.77K   399 ดาวน์โหลด




ส่วนใหญ่หอไตรในอดีตนิยมสร้างเป็นลักษณะงานเครื่องไม้ โดยภูมิปัญญาคนโบราณที่ต้องการจะป้องกันปลวกแลงมากัดกิน คัมภีร์, ป้องกันน้ำท่วมและความชื้น เห็นได้ทั่วไปอยู่ 2 แนวทาง คือ การสร้างหอไตรไว้ในกลางสระน้ำ โดยทั่วไป และ การสร้างหอไตรสูง 2 ชั้น


แนบไฟล์  2.jpg   48.84K   430 ดาวน์โหลด




การสร้างหอไตรสูง 2 ชั้น ชั้นบนเป็นไม้ ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน พบในวัดใหญ่ทางภาคเหนือ

หอไตรในล้านนามีแบบแผนที่ไม่แตกต่างจากภาคกลางมากนัก ด้วยเป็นอาคารขนาดเล็ก สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎกและพระธรรมคัมภีร์ โดยต้องปลอดภัยจากแมลงกินไม้กินกระดาษจำพวกปลวก มอด จะต่างกันเพียงรูปแบบการประดับตกแต่ง และรายละเอียดประกอบอาคาร เป็นอาคารสองชั้น ชั้นบนใช้เก็บคัมภีร์ ชั้นล่างเป็นที่นั่งอ่านธรรม ไม่มีบันไดหรือทางขึ้นที่สะดวกนัก ส่วนใหญ่ใช้พาดขึ้นชั่วคราวและเก็บเมื่อใช้เสร็จ ถ้าเป็นอาคารไม้ก็มักจะสร้างอยู่กลางน้ำ ถ้าอยู่บนบกก็จะสร้างชั้นล่างเป็นเครื่องก่อ ชั้นบนเป็นเครื่องไม้



แนบไฟล์  3.jpg   55.87K   343 ดาวน์โหลด



หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง (อุบลราชธานี)

เป็นหอไตรกลางน้ำ สร้างด้วยไม้ มีลักษณะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว ลักษณะอาคารเป็นแบบไทย เป็นเรือนฝาปะกนขนาด 4 ห้อง เก็บตู้พระธรรมลงรักปิดทอง หลังคามีลักษณะเป็นศิลปะไทยผสมพม่า มีช่อฟ้าใบ ระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้น ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้งสองด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว เป็นสถาปัตยกรรม ของอีสานที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดครับ

ประวัติโดยย่อ : เมื่อพระอริยวงศาจารย์ฯ สร้างหอพระพุทธบาทเสร็จแล้ว ก็ได้สั่งให้ช่าง สร้างหอไตรที่สระกลางน้ำ โดยยมีจุดประสงค์ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกคือ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และปรัชญาพื้นบ้าน รวมถึงตำราต่างๆ มากมาย ส่วนมากเป็นหนังสือใบลานจารึกด้วยอักษรธรรมและสมุดข่อย ไม่ให้แห้งและกรอบและเพื่อกันปลวก มิให้ทำลายพระไตรปิกฎให้เสียหาย


แนบไฟล์  4.jpg   77.35K   97 ดาวน์โหลด




“ ชาวบ้านถือว่าหอไตรเป็นตัวแทนของพระธรรมเจดีย์ และถือเป็นของสูงที่ต้องกราบไหว้บูชา เป็นสิ่งศักดิ์ของชาวบ้านเห็นได้จากบุคคลทั่วไปไม่ควรขึ้นไป โดยผู้ที่จะขึ้นไปบนหอไตรนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณรหรือผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ”



แนบไฟล์  5.jpg   184.64K   298 ดาวน์โหลด




หอไตร ถือเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนในหมู่บ้าน ในการสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจชาวพุทธ
ดังนั้น การอนุรักษ์ และ บูรณะ หอไตรในเชิงสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมชาวพุทธจึงควร รักษาไว้คู่พระพุทธศาสนาไทยต่อไป


แนบไฟล์  6.jpg   131.52K   329 ดาวน์โหลด


ที่มาข้อมูล
สถาสาระ: หอไตรอีสาน : ปองพล ยาศรี 2551
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
เมืองโบราณสมุทรปราการ
สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

พระสัพพัญญูพุทธเจ้า

07 July 2009 - 08:50 PM

พระพุทธเจ้าของเราทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อความเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ตั่งแต่เสวยพระชาติเป็น ดาบสโพธิสัตว์ชื่อสุเมธ ทรงตั้งความปรารถนาครั้งแรกไว้แทบบาทมูลแห่งพระทีปังกรพุทธเจ้า แล้วทรงบำเพ็ญพระบารมี๓๐ทัศตลอดระยะเวลา ๔ อสงไขยแสนกัปจะนับจะประมาณมิได้

แนบไฟล์  1.jpg   58.55K   276 ดาวน์โหลด

หลังจากนั้นไปในสัปดาห์ที่๔ เทวดาทั้งหลายได้เนรมิตเรือนแก้วขึ้นทางด้านทิศประจิม ชื่อรัตนฆรเจดีย์ ทรงนั่งขัดสมาธิ ณ เรือนแก้วนั้นพิจารณาอภิธรรมปิฎก เมื่อถึงสมันตปัฏฐาน ก็ทรงรู้ทั่วถึงพระอภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น อันประกาศความเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าอย่างแท้จริงในสัปดาห์ที่๔ โดยมีพระฉัพพรรณรังสีซ่านออกจากพระวรกายโดยรอบ อันเป็นสัญญลักษณ์รับรองความเป็นพระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า


แนบไฟล์  2.jpg   147.56K   245 ดาวน์โหลด

ฉัพพรรณรังสี คือ รัศมี๖ประการ มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีม่วง และสีเลื่อมพราย แผ่ไปทะลุเบื้องล่าง ทะลุแผ่นดินซึ่งหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ทะลุน้ำรองแผ่นดินซึ่งหนา ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ ทะลุลมรองน้ำหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์ แล้วแล่นซ่านไปสู่อากาศเวิ้งว้าง ส่วนเบื้องบนพระรัศมีทั้งหลายก็พุ่งขึ้นผ่านเทพกามาวจรภูมิ รูปพรหมภูมิ อรูปพรหมภูมิ แล้วแล่นไปสู่อากาศเวิ้งว้างด้านบน


แนบไฟล์  3.jpg   63.54K   105 ดาวน์โหลด

การพิจารณาอริยสัจพร้อมกับการสิ้นไปแห่งกิเลสอาสวะก็ย่อมมีได้แม้แก่ พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ข้อนี้จึงไม่ใช่ความต่างกันแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า รัศมีปกติซึ่งมีประมาณ๑วา มาแต่การประสูติก็เป็นรัสมีปกติที่มีอยู่ทั่วไปแด่ผู้มีบุญสมัยนั้น จึงหาเป็นเครื่องรับรองความเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้าในเบื้องต้นไม่ ต่อเมื่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ได้ทรงพิจารณาพระอภิธรรมโดยเฉพาะ สมันตปัฏฐาน ซึ่งมีนัยละเอียดลึกซึ้งด้วยพระญาณอันไม่ทั่วไปแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวก พระฉัพพรรณรังสีจึงเปล่งออกจากพระสรีระกาย จึงเป็นเครื่องรับรองความเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า อย่างแท้จริงดังกล่าวแล้ว



แนบไฟล์  4.jpg   90.41K   261 ดาวน์โหลด
.............
............
ตักบาตรทุกวัน.......ได้บุญทุกวัน


อ้างอิงเนื้อหาพระธรรมจาก :
พระอภิธรรมจิตปรมัตถ์
สารัตถทีปนี ภาค๑

อ้างอิงภาพจาก :
อินเตอร์เน็ต Everest Base Camp (Blue Planet)
จากคุณ : CoBraGolD/ Through the lens (มือหนึ่งเลยคนนี้)

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา

07 July 2009 - 08:46 PM

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาหรือปางแสดงธรรมจักร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ บางแห่งสร้างเป็นพระอิริยาบถนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวงกลม เป็นเครื่องหมายธรรมจักร พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) บางแบบพระหัตถ์ซ้ายประคองพระหัตถ์ขวา หรือพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นถือชายจีวร

แนบไฟล์  1.jpg   126.58K   293 ดาวน์โหลด

ประวัติความเป็นมา

ส่วนการสร้างพระพุทธรูปมีประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ ตามตำนานพุทธประวิติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่นจันทร์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก
การสร้างพระพุทธรูปดังกล่าวเป็นการสร้างเพื่อระลึกถึงการเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าและพระพุทธคุณ และชาวพุทธเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปประจำเดือน 8

แนบไฟล์  2.jpg   60.07K   238 ดาวน์โหลด

ความเป็นมาของปางปฐมเทศนาหรือปางแสดงธรรมจักร

ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหปุณมี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ มีใจความสำคัญดังนี้ คือ ทรงให้งดเว้นทางสุดโต่ง ๒ สาย คือ กามสุขขัลลิกานุโยค ได้แก่ การประกอบตนให้หมกมุ่นในกาม และอัตตกิลมถานุโยค คือ ทำตนเองให้ลำบาก ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์ และอริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โกณฑัญญพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรมในวันนั้น
แนบไฟล์  3.jpg   81.62K   370 ดาวน์โหลด

ความหมายของ"ธรรมจักร"
........ธรรมจักรหมายถึงวงล้อแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงหมุน เพื่อเผยแผ่พระธรรมที่ทรงตัรสรู้เพื่อให้พุทธศาสนิกชน นำไปปฏิบัติให้พ้นทุกข์
ธรรมะที่ทรงแสดงในธรรมจักรกัปปวัตนสูตร คือ การเดินทางสายกลางไม่ยึดติดในตัวสุดโต่งสังขารปรุงแต่งดี-ชั่ว ,บุญ-บาป, สุข-ทุกข์, อดีต-อนาคต ฯลฯ เพื่อดำเนินสู่การประจักษ์แจ้งด้วยกิจ ๓ แห่ง อริยสัจ๔ อันมี ทุกข์ ,สมุหทัย(อวิชชาและตัณหา-เหตุเกิดทุกข์), นิโรธ(นิพพานคือความดับทุกข์) และหนทางการดำเนินปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มีแปดข้อ คือ มรรคอันมีองค์๘ ประการ


แนบไฟล์  4.jpg   59.27K   331 ดาวน์โหลด

........“.....ดูก่อนภิกษุ บุคคลผู้ยังยึด รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มั่นอยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่ยึดมั่น จึงหลุดพ้นจากมาร....

........“.....ดูก่อนภิกษุ เมื่อบุคคล คิดสร้างภาพ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อยู่ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่คิดสร้าง จึงหลุดพ้นจากบ่วงมาร

........“.....ดูก่อนภิกษุ เมื่อบุคคลเพลิดเพลินรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ อยู่ ก็ต้องถูกมารมัดไว้ เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงพ้นจากมาร....

แนบไฟล์  5.jpg   133.81K   234 ดาวน์โหลด


พระของขวัญ (วัดปากน้ำภาษีเจริญ)
ลักษณะโดยทั่วไปเป็นพระปางสมาธิ “ปฐมเทศนา” หรือบางท่านเรียกกันว่า “ปางดีดน้ำมนต์” มีฐานบัวหงาย-คว่ำ 2 ชั้น
“ เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำ จะเกิดมาทำไม อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตมันเป็นห่วงเป็นใย เลิกอยากลาหยอก รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า "นิพพาน" ก็ได้ ”


แนบไฟล์  6.jpg   36.64K   284 ดาวน์โหลด



การเรียนรู้คติธรรมและความเชื่อจากพระพุทธรูปอันมีที่มา และ ค้นหาคติธรรมที่คนโบราณได้ให้ไว้ แก่ ลูกหลานเพื่อการน้อมนำใจโดยง่าย ให้รำลึกถึง พระพุทธคุณ อันยังใจให้จิตเชื่อมต่อถึงพระธรรมคุณเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามวิถีชาวพุทธ อันมีตัวอย่างปฏิบัติดีแล้วดังพระสงฆ์ที่เป็นนาบุญและต้นบุญในกาลปัจจุบัน นี้

ที่มา ;
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
dhammachak.net
www.dhammathai.org
อุปาทิยสูตร มัญญมานสูตร อภินันทมานสูตร ขันธ. สํ. (๑๓๙, ๑๔๐ ,๑๔๑)
ตบ. ๑๗ : ๙๑-๙๔
ตท. ๑๗ : ๗๙-๘๒
ตอ. K.S. ๓ : ๖๔-๖๕
หนังสือ “รวมพระวัดปากน้ำ”