ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

ไม่อยากจะถามเลย


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 21 October 2010 - 08:40 PM

มันเกียวกับชื่อเสียง มันเกี่ยวกับความสับสน และข้องใจ พยายามปัดออกไป ๆจากความคิดแต่ก็

ดูเหมือนว่ายิ่งใกล้ออกพรรษา นั่นหมายถึงว่าเทศกาลทอดกฐินบุญที่จำกัดกาลใกล้เข้ามาแล้ว อยาก

ให้ใจใส ใจบริสุทธิ์เหมือนทำบุญกับวัดแม่ ไม่มีเรื่องคั่งค้างคาใจ จึงขอความกรุณาผู้รู้จริงช่วยให้ความกระจ่าง

ด้วยค่ะ ขอกราบขอบพระคุณ/ขอบคุณไว้ ณ ที่นี่ด้วย ที่สงสัยคือ

กฐินแท้กฐินเทียมต่างกันอย่างไร ?

#2 NooF ประตูน้ำ ภาค 7

NooF ประตูน้ำ ภาค 7
  • Members
  • 21 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 October 2010 - 09:56 PM

กฐินแท้เทียม ต่างกันที่ผู้ทำครับ บุญเกิดกับผู้ให้
ถ้าบอกว่า กฐิน ต้องเป็นแบบนี้ 1 2 3 4
ทีนี้ก็จะไปนั่งจับผิดว่า ตรงมั้ย มีอะไรเพี้ยนไปนิดหรือไม่เป็นอย่างที่ตั้งใจ ก็ขุ่นใจ
ความคิดมันห้ามกันไม่ได้ แต่เราฝึกมันได้ ใจที่ฝึกมาดีแล้วย่อมขจัดความสงสัยออกไปได้ ^^

กฏแห่งกรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก แค่สงสัยก้เป็นมโนกรรม
เพราะพระสงฆ์ และพิธีที่ไปร่วม เป็นที่ตั้งของศรัทธา

ถ้าให้แล้วต้องให้ให้ขาด คือ ปัจจัย ออกจากมือ เราให้แล้วไม่ใช่ของเรา แต่บุญเป็นของเรา


ส่วนกฐินคืออะไร ดูได้ที่ link นี้ครับ
http://www.dmc.tv/in...e=kathina01.wmv

#3 PTDL

PTDL
  • Members
  • 175 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Chicago, USA

โพสต์เมื่อ 22 October 2010 - 09:01 AM

QUOTE
ทีนี้ก็จะไปนั่งจับผิดว่า ตรงมั้ย

ถ้ามีพระรูปเดียวคุณประตูน้ำฯจะว่าเป็นกฐินรึเปล่า หรือคนอื่นๆที่ไม่เห็นด้วยคือพวกชอบจับผิด

#4 น้องบัวบุญ

น้องบัวบุญ
  • Members
  • 31 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 October 2010 - 10:51 AM

เมื่องานบุญกฐินเป็นงานมหากุศลที่พุทธศาสนิกชนเลื่อมใสศรัทธา การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดงานบุญประเพณีนี้ต้องทำให้ถูกพระธรรมวินัยจึงจะได้อานิสงส์ ข้อปฏิบัติที่น่าสนใจมีดังนี้

การจองกฐิน
การจองกฐิน ก็คือ การแจ้งล่วงหน้าให้ทางวัดและประชาชนได้ทราบว่าวัดนั้นๆ มีผู้ศรัทธาทอดกฐินกันเป็นจำนวนมากถ้าไม่จองไว้ก่อนอาจไม่มีโอกาส จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นว่าจะทอดกฐินต้องจองล่วงหน้า เพื่อให้มีโอกาสและเพื่อไม่ให้เกิดการทอดซ้ำ วัดหนึ่งวัดปีหนึ่งทอดกฐินได้ครั้งเดียว และในเวลาจำกัด คือหลังจากออกพรรษาแล้วเพียงเดือนเดียวดังได้กล่าวมาแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม กฐินหลวงไม่มีการจองล่วงหน้า เว้นแต่กฐินพระราชทาน ผู้ประสงค์จะขอรับพระราชทานกฐินไปทอดต้องจองล่วงหน้า โดยแจ้งไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวมาแล้ว


ตัวอย่างใบจองกฐิน

ข้าพเจ้าชื่อ ................................................... บ้านเลขที่ ............ ตำบล ...................................... อำเภอ .................................................... จังหวัด ...................................... มีศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐินแก่พระสงฆ์วัดนี้ มีองค์กฐิน .................... มีบริวารกฐิน ....................... กำหนดวัน ............. เดือน ............................................. ปี ..................... เวลา ........................

ขอเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมกุศลด้วยกัน หากท่านผู้ใดมีศรัทธามากกว่ากำหนด ขอผู้นั้นจงได้โอกาสเพื่อทอดเถิด ข้าพเจ้ายินดีอนุโมทนาร่วมกุศลด้วย

ถ้าหากว่ามีผู้ศรัทธามากกว่าจะนำกฐินมาทอด ณ วัดเดียวกัน ก็ต้องทำใบจองดังกล่าวมานี้มาปิดไว้ที่วัดในที่เปิดเผย เช่น ศาลาการเปรียญ เป็นต้น และเป็นธรรมเนียมที่ถือกันว่า การที่มีผู้มาจองทับเช่นนี้ไม่เป็นการเสียมารยาทแต่อย่างใด แต่ถือเป็นเรื่องสนุกสนานในการทำบุญกุศลอย่างหนึ่ง ในภายหลังไม่นิยมจองทับกันแล้ว ถ้ามีศรัทธาวัดเดียวกันก็มักจะรวมกันซึ่งเรียกว่า กฐินสามัคคี

ในการทอดกฐินสามัคคีนี้ ผู้ทอดอาจเชิญชวน ผู้มีจิตศรัทธาให้มาร่วมกันทำบุญ โดยแจกใบบอกบุญหรือเรียกว่า ฎีกา ก็ได้

การทอดกฐิน
เมื่อได้ตระเตรียมพร้อมแล้ว ถึงกำหนดก็นำผ้ากฐินกับบริวารไปยังวัดที่จองไว้ การนำไปนั้นจะไปเงียบๆ หรือจะแห่แหนกันไปก็ได้เมื่อไปถึงแล้ว พักอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งที่สะดวก เช่น ที่ศาลา ท่าน้ำ ศาลาโรงธรรม โรงอุโบสถ หรือที่ใดที่หนึ่งซึ่งทางวัดจัดไว้ เมื่อพระสงฆ์พร้อมแล้วก่อนถวายกฐิน อาราธนาศีล รับศีล เมื่อรับแล้ว ทายกประกาศให้รู้พร้อมกัน หัวหน้าผู้ทอดกฐินหันหน้าไปทางพระพุทธรูป ตั้งนโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์กล่าวถวายเป็นภาษาบาลี ภาษาไทย หรือทั้งสองภาษาก็ได้ ว่าคนเดียวหรือว่านำแล้วคนทั้งหลายว่าตามพร้อมกันก็ได้ การกล่าวคำถวายจะกล่าวเป็นคำๆ หรือจะกล่าวรวมกันเป็นวรรคๆ แล้วแต่ความสะดวก อย่างน้อยการทอกกฐิน ต้องมีพระจำพรรษา ไมน้อยกว่า 5 รูปถึงจะสามารถทอดกฐินได้คะ



#5 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 22 October 2010 - 08:15 PM

ไม่เข้าใจความหมายของกฐินเทียม ครับ
มีคำนี้ด้วยหรือ wacko.gif
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#6 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 22 October 2010 - 08:50 PM


เรียนคุณ Dd2683

ดิฉันเองก็เพิ่งจะได้ยินค่ะจากพระภิกษุ แต่ไม่ขอเอ่ยนามนะคะ

เอาเป็นว่าโดยปกติเมื่อเรารู้จักของแท้แล้ว เราก็จะรู้ว่าอะไรแท้ ขอคุยหลังไมล์ดีกว่ากระมังคะ

#7 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 24 October 2010 - 09:06 PM

....องค์ประกอบกฐินเทียมคงเป็นทางตรงกันข้ามกับแท้กระมัง? เอาเป็นว่า ยายสอนว่า "สร้างบารมีน่ะ ไม่ใข่ของง่ายน่ะ" (เทียมมันเยอะด้วยจิ อิอิ)
..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#8 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 24 October 2010 - 11:07 PM


Thanks PTDL

You get it right idea.

#9 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 23 November 2010 - 01:57 AM

กาลกฐินทานก็หมดลงแล้วปีนี้ สาธุ ๆ ๆ อนุโมทนาบุญกับทุก ๆ คนผู้มีบุญทอดกฐิน



#10 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 24 November 2010 - 09:10 PM

ถึงเวลาเฉลยแล้ว

กฐินแท้ต้องถูกพระธรรมวินัยคือ วัดใด ๆจะรับกฐินได้ต้องมีพระภิกษุจำนวนห้ารูปจำพรรษาครบทั้งสามเดือนในวัดนั้นๆ

ชัดเจนแล้ว นี่คือกฐินทาน จำกัดกาลทั้งเวลาในการทอด และจำกัดด้วยวันเวลาของการเข้าพรรษา และจำกัดด้วยจำนวนของพระภิกษุ
ที่ต้องมีตั่งแต่ห้ารูปขึ้นไป และพระภิกษุทั้งห้าต้องจำพรรษาครบเต็มตลอดพรรษาที่วัดนั้น ๆเพียงวัดเดียว ( ไม่มีการหยิบยืมมาจากวัดอื่น)

การบวชเข้ามาเมื่อเข้าพรรษาแล้วนั่นบวชได้แต่ไม่นับเป็นพระภิกษุที่จะเข้ามาเป็นหนึ่งในห้ารูปที่จะรับกฐินทานกาลได้ในพรรษานั้น แต่สามารถ
นับอายุพรรษาได้หากบวชต่อไปไม่ลาสิกขาอยู่ไปจนกระทั้งถึงวันสุดท้ายของการทอดกฐิน หรืออีกหนึ่งเดือนหลังจากวันออกพรรษาแล้วก็นับ
ว่าได้อายุพรรษาหนึ่ง.