Jump to content


koonpatt

Member Since 20 Feb 2006
Offline Last Active Jun 10 2009 02:14 PM
-----

Topics I've Started

ถามเรื่อง...ช่วงเวลาที่ครบองค์แห่งบุญค่ะ

02 April 2009 - 08:45 AM

หลังจากได้อ่านกระทู้

ถ้าตั้งใจทำบุญแล้วไม่ได้ทำจะยังได้บุญอยู่หรือเปล่า

http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=20316

อยู่ดีดี ก็เกิดคำถามขึ้นมาค่ะ ว่า

การทำบุญให้ครบองค์แห่งบุญนั้น (ในกรณีนี้หมายถึง ก่อนทำบุญ ขณะทำบุญ และ หลังทำบุญนะคะ)

เช่น การถวายสังฆทาน และ การหล่อองค์พระที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 22 เมษายนนี้ค่ะ

หากเราทำบุญ วันนี้ จะครบองค์แห่งบุญวันนี้ หรือ ครบองค์แห่งบุญ เมื่อได้มีการถวายสังฆทานเกิดขึ้นแล้ว

หรือ หลังจากเททองหล่อองค์พระแล้ว คะ

หรือ หากเราฝากเงินใครสักคนไปทำบุญ ถ้าเงินนั้นไปไม่ถึง เรียกว่าครบองค์มั๊ยคะ

คือที่ผ่านมา เข้าใจ (เอาเอง) ว่า อยู่ที่ความคิดของเรา หากเราคิดว่าครบแล้ว

หมายถึง เราตั้งใจจะทำ และได้ทำ (หมายถึง ปัจจัยนั้นได้พ้นจากมือเราไปแล้ว) เราจึงมีความสุขที่ได้ทำ

ก็คือ ครบองค์แห่งบุญแล้ว

(ไม่น่าเลยนะคะ อายจัง red_smile.gif พอว่างก็อยากจะเข้ามาอ่าน พออ่านมาก ก็ชักงงงง

แต่อยากเข้าใจให้ถูกต้องน่ะค่ะ เพื่อว่าที่เข้าใจอยู่ตอนนี้จะคลาดเคลื่อน จะได้ปฏิบัติให้ถูก)

ขอบพระคุณมากค่ะ happy.gif

อยากกล้ากว่านี้ แต่....ควรทำอย่างไรดีคะ

30 September 2008 - 11:00 AM

2-3 วันนี้ มีงานแสดงสินค้า OTOP ของทางเหนือ มาจัดที่อุดรค่ะ

เดินผ่านร้านหนึ่ง มีกระจกส่องหน้า แบบมีบานพับ 2 บาน ปิดไว้

กล่องไม้มีฝาปิด ด้านหน้าบานปิด เป็นรูปเขียนพระพักตร์ พระพุทธเจ้า และการจัดวางก็ไม่เหมาะสม :'(

อยากจะไปบอกเค้าว่า อย่าทำอย่างนี้ ไม่ควร แต่คนขายเป็นผู้ชายหลายคน

แล้วตอนนี้ ก็ยังวิ่งเร็วๆ ไม่ได้ เลยไม่กล้าพูดอะไร แต่ยืนอยู่หน้าร้านนานมาก (รวบรวมกำลังใจ )

แต่ก็ไม่กล้า ได้แต่ยืนมอง ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร sad.gif

เคยครั้งนึงค่ะ งาน OTOP เหมือนกัน เค้าจัดวางสินค้าเป็นชั้น ๆ

แต่วาง ม้าแกะสลัก ช้างแกะสลักไว้ ชั้นบน เหนือ พระพุทธรูป

ครั้งนั้นเป็นผู้ชายอายุมากหน่อยค่ะ เฝ้าร้านคนเดียว

เลยเดินเข้าไป ชี้ที่ชั้นวาง ( ไม่ได้ชี้องค์พระนะคะ ) แล้วก็ถามเลยค่ะ ( อันนี้กล้า ไม่กลัวค่ะ ) mad.gif

" ทำไมลุงเอา ม้าไว้ข้างบนพระล่ะคะ บาปนะคะ " ลุงแกก็มองหน้า แล้วตอบว่า

" อ๋อ ยังจัดไม่เสร็จครับไม่ทันดู เดี๋ยวจัดใหม่ " (จริงๆ แกจัดเสร็จแล้วล่ะค่ะ )

ก็เลยขอบคุณลุง เดินออกมา เห็นลุงแกหันไปคุยกับคนที่เดินมาหา บุ้ยๆมาทางเรา

ไม่รู้ว่าเราเพี้ยนรึเปล่าแต่เพี้ยนอย่างนี้ ก็น่าเพี้ยนหรอกเนาะ ว่ามั๊ยคะ

ถ้าเราเจออะไรแบบนี้ ตกลงควรจะทำอย่างไรดีคะ

รบกวนขอคำแนะนำด้วยค่ะ เพราะเวลาเห็นจะรู้สึกอึดอัดมากเลยค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

มีอะไรดีดี มาให้อ่านกันค่ะ

17 September 2008 - 12:54 PM

กระจก.....ไม่เลือกที่จะสะท้อนภาพทุกชนิด ฉันใด

จิตใจ...... จงเอาเยี่ยงอย่างกระจก

กระจก.....รับรู้ แต่ไม่ยึดถือครอบครอง

ดังนั้น......จึงไม่มีภาพใดใดหลงเหลือติดอยู่ในกระจก

สายฝน....ในกระจก หาได้เปียกกระจกไม่

เปลวไฟ...ในกระจก ก็หาได้เผาลนกระจกเช่นกัน

ทั้งนี้.... เพราะกระจกไม่ได้ให้ความสำคัญแก่สายฝน และเปลวไฟ เพียงแต่สะท้อนภาพเท่านั้น

ดังนั้น.... จงทำจิตใจ ให้เป็นดุจดังการรับรู้ของกระจก เพราะถ้าจิตของท่าน
หลงยึดถือหรือตกเป็นทาสของกิเลสเมื่อใด ความทุกข์ ความเศร้าหมองใจย่อมตามมาเมื่อนั้น


นี่คือมรรควิธีแห่งการเพ่งพิจารณาและรับรู้สรรพสิ่งด้วยใจที่สงบบริสุทธิ์ว่างเปล่าจาก
การปรุงแต่งเพื่อปลดปล่อยจิตใจให้ว่างเปล่าหลุดพ้นไปจากภาพมายาธรรมต่าง ๆ ที่
คอยฉุดรั้ง หลอกลวงจิตไม่ให้เห็นถึงความจริง ซึ่งจะต้องพยายามทำจิตใจให้หลุดพ้น
จากการยึดติดในสิ่งทั้งปวงเปรียบเหมือนกระจก ฯ

บทความจากหนังสือธรรม

ข่าวดีค่ะ

10 September 2008 - 07:15 PM

วธ.ประกาศห้ามใช้รูปพระพุทธรูป ธรรมจักร พระสงฆ์ เป็นตราสินค้า

ขณะที่กทม.หามาตรการจัดการแผงพระตั้งพื้นภายใน 1 เดือน เตรียม 3 แนวทางให้ตั้งโต๊ะสูง ออกจากพื้นที่และทำตลาดแผงพระ


(10ก.ย.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า
คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาเชิงพาณิชย์ ซึ่งประกอบด้วย
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที.)
กระทรวงมหาดไทย (มท.)
กรุงเทพมหานคร(กทม.)
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.)
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย(มมร.)
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) และ
องค์การของพุทธศาสนิกชนต่างๆ มีมติเห็นชอบ

ประกาศห้ามใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา 3 สิ่งในเชิงพาณิชย์ ได้แก่
1.รูปพระพุทธรูป
2.ตราธรรมจักร และ
3.พระสงฆ์

เนื่องจากเห็นว่า ที่ผ่านมามีการนำสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม
ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดและประกาศให้ชัดเจนว่า สัญลักษณ์ประเภทไหนไม่ควรนำไปเป็นตราสินค้าต่างๆทุกประเภท

นายวีระ กล่าวว่า ส่วนปัญหาแผงพระที่ตั้งวางอย่างไม่เหมาะสมตามพื้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพ คณะกรรมการ ได้มอบหมายให้ กทม.ศึกษาแนวทาง 3 กรณี ได้แก่
1.ให้อยู่ที่เดิมแต่ควรมีการตั้งโต๊ะสูงขึ้น
2.ให้ออกจากพื้นที่ และ
3.ทำตลาดแผงพระ หรือ
จัดโซนนิ่งให้เกิดความเหมาะสม ให้เสร็จภายใน 1 เดือน
นอกจากนี้ควรให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง
และ ควรให้กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เข้ามาเป็นคณะกรรมการด้วย เพราะเห็นว่า เป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้เด็กและเยาวชนของชาติ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจะทำหนังสือถึงมหาเถรสมาคม(มส.)รับทราบผลการประชุมในครั้งนี้ และจะแจ้งประกาศไปตามหน่วยงานต่างๆทั่วประเทศ เพื่อแจ้งให้ประชาชน ผู้ประกอบการรับทราบต่อไป
“วธ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจัดทำหนังสือคู่มือต่างๆ ตลอดจนแผ่นพับธรรมเนียมปฏิบัติของคนไทยแจกให้ความรู้เด็กและเยาวชน รวมถึงสถานทูตไทยทั่วโลก และด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อนเข้าประเทศไทยให้ชาวต่างชาติได้ศึกษาด้วย ขณะที่ มจร. กับ มมร. จะนำเรื่องนี้ เข้าสู่การประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติกว่า 115 แห่ง จาก 29 ประเทศทั่วโลก ระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน นี้ เพื่อขอความเห็นเรื่องดังกล่าว และประเทศไทยจะนำปัญหานี้หารือกับยูเนสโก เพื่อประกาศให้ชาวพุทธที่อยู่ในประเทศต่างๆช่วยกันดูแลการใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอย่างเหมาะสมอีกด้วย”ปลัดวธ.กล่าว

พระเทพปริยัติวิมล อธิการบดีมมร. กล่าวว่า ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ 3 ข้อ คือ
1.ให้ยึดธรรมเนียมปฏิบัติ
2.แนวทางปฏิบัติในทางเดียวกัน และ
3.ข้อกฏหมาย ที่สำคัญต้องให้ความรู้ประชาชนมากๆ ส่วนมาตรการทางกฎหมายควรนำมาใช้เป็นมาตรการสุดท้าย


น่าจะมีหน่วยงานรับแจ้ง สถานที่ที่มีการตกแต่งอย่างไม่เหมาะสมด้วยนะคะ เห็นเยอะเลย

ไปเจอเรื่องเศร้ามาค่ะ เลยอยากขอคำปรึกษา

10 September 2008 - 01:04 PM

เมื่อวันจันทร์ ได้มีโอกาสร่วมกับพี่ไปเลี้ยงอาหาร ที่บ้านพักคนชรามาค่ะ

ก็ได้คุยกับคุณเสรี ถึงเรื่องของผู้สูงอายุที่จะเข้ามาอยู่ที่นี่

คุณเสรี ก็เล่าให้ฟังว่า คุณยายคนนั้นมาจากไหน

คุณตาคนนี้มาจากไหน แล้วก็มาถึงคุณตาคนหนึ่ง

คุณเสรีเล่าให้ฟังว่า คุณตาคนนี้ อายุ 80 กว่าแล้ว

บวชเป็นพระมาตั้งแต่ยังหนุ่ม เมื่อ 2 ปีก่อน เริ่มที่จะช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้

เพราะแก่มาก ก็เลยต้องสึก แต่พอกลับไปอยู่บ้านกับญาติๆ

ด้วยความที่บวชมานานมากๆ (คงไม่มีความผูกพันมังคะ อันนี้คิดเองนะคะ)

การดูแลในฐานะคนชราในครอบครัว คงไม่สะดวกมังคะ

ก็เลยต้องมาอยู่ที่บ้านพักคนชรา

koonpatt เลยอยากถามว่า

1. วัดธรรมกาย นอกจากหลวงพ่อ และ หลวงพ่อทัตตะ ที่อายุมากๆ แล้ว มีพระที่อายุเยอะๆด้วยหรือเปล่าคะ (เวลาไป เห็นแต่พระอายุไม่เยอะน่ะค่ะ)

2. พอจะมีท่านใดทราบมั๊ยคะว่า อย่างโรงพยาบาลสงฆ์เนี่ย รับเฉพาะ พระสงฆ์อาพาธ หรือ พระสงฆ์ชราภาพด้วยมั๊ยคะ

3. พอจะทราบมั๊ยคะ ว่าปกติองค์กรพุทธศาสนาของบ้านเรา มีที่ไหนที่มีโครงการดูแลพระสงฆ์ที่ชราภาพ แต่ไม่อยากสึกบ้างมั๊ยคะ

คือ โดยทั่วไปที่เห็น พระสงฆ์ที่ชราภาพ หากเป็นพระสงฆ์ที่ เป็นพระผู้ใหญ่ หรือ เป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียง ก็จะมีญาติโยมที่ดูแลเยอะ แต่พระลูกวัดรูปอื่นๆ koonpatt ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ในวัดแต่ละวัด ทำอะไรกันบ้าง และ อย่างไรน่ะค่ะ

อย่างของที่วัดธรรมกาย koonpatt เห็นมีพระสงฆ์ที่บวชถวายชีวิต ก็คงมีการดูแลกันเป็นอย่างดี

พอไปเจอคุณตาคนนั้น( แต่ยังไม่ได้คุยกับคุณตาคนนั้นน่ะค่ะ) เลยเศร้าว่า ถ้าเป็นวัดทั่วไป พระที่อยากบวชแล้วไม่สึกจนมรณภาพในผ้าเหลือง ต้องทำอย่างไรหนอ

และเคยมีคุณยายของเพื่อน บวชชีตั้งแต่ลูกโต จนเพื่อนเรียนจบคุณยายก็แก่มากๆ พอช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ ก็ต้องกลับมาอยู่บ้าน แต่คุณยายเป็นแม่ชีไงคะ ก็เลยยังคงเป็นแม่ชีอยู่ต่อไปได้ และ สิ้นใจในชุดขาว คุณยายถือศีลจนวันสุดท้ายน่ะค่ะ คุณยายน่ารักมาก ใจดีมากๆด้วยค่ะ

แต่พระสงฆ์ หากจะกลับมาให้ญาติดูแล ก็ต้องสึกก่อนเพราะมาอยู่รวมกับฆราวาสก็ไม่ได้

ถ้าท่านใดมีข้อมูลเรื่องนี้ koonpatt ขอคำแนะนำด้วยนะคะ

จะได้บอกต่อๆกันไปหากญาติพี่น้องใคร ที่บวชอยู่แล้วชราภาพมากแล้ว แต่ไม่อยากกลับมาอยู่ที่บ้าน จะได้แนะนำเขาน่ะค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ