ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ความรู้เรื่องศีล


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Soldier Class One

Soldier Class One
  • Members
  • 130 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 08:22 AM

ศีล แปลได้หลายความหมาย ซึ่งในอรรถกถา นิยมให้ความหมายว่า สีลนะ แล้วให้คำจำกัดความของคำว่า สีลนะ ไว้ ๒ ข้อหลัก คือ

1. สมาทานํ - การสำรวมกายวาจาไว้เรียบร้อยดี
2. อุปธารณํ - รองรับการทำบุญชั้นสูงกว่าศีลขึ้นไป ได้แก่ รองรับการรักษาธุดงค์ การทำสมาธิ การทำวิปัสสนา.

กล่าวโดยสรุป ศีล จึงหมายถึง ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" ด้วย.

ศีลในทางพระพุทธศาสนามี่อยู่หลายอย่างด้วยกัน.

1. ปัญจศีล (ศีล ๕) หรือเรียกว่านิจจศีล(คือถือเนื่องนิจจ์)
2. อาชีวัฏฐมกศีล (ศีลกุศลกรรมบท ๑๐) หรือเรียกว่าอาทิพรหมจริยาศีล
3. อัฏฐศีล (ศีล ๘) หรือเรียกว่าอุโบสถศีล (ศีลอุโบสถ)
4. นวศีล (ศีล ๙)
5. ทสศีล (ศีล ๑๐)
6. ภิกษุณีวินัย (ศีล ๓๑๑)
7. ภิกษุวินัย (ศีล ๒๗๗)

ศีล แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือจุลศีล (ศีลอย่างน้อย) ได้แก่ คหัฏฐศีลทั้ง ๒ คือ ศีล๕ และอาชีวัฏฐมกศีล มัชฌิมศีล (ศีลอย่างกลาง)ได้แก่ บรรพชาศีลทั้ง ๒ คือได้แก่อัฏฐศีล และทสศีล มหาศีล(ศิลอย่างสูง) ได้แก่ อุปสมบททั้ง๒ คือ ภิกษุณีวินัย และภิกษุวินัย

ศีล คือ หลักในการปฏิบัติเพื่อที่จะให้ผู้ปฏิบัติมีกาย วาจา ใจ เป็นอิสระ จากเครื่องเหนี่ยวรั้งทั้งปวง และปกป้องตัวเองจากความเสื่อมทั้งหลาย และพ้นจากกรรมชั่ว ที่จะกลับมาสนองกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติในศีล

อานิสงส์ของการรักษาศีลแต่ละชั้นย่อมแตกต่างกันไป ตอนนี้ขอกล่าวถึงอานิสงส์กว้างๆ จากการรักษาศีล คือ ทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ

http://www.kalyanami.......type=&cid=2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศีลห้า หรือ เบญจศีล เป็นศีลในลำดับเบื้องต้นในพุทธศาสนา ที่ศาสนิกชนพึงถือ ไม่เฉพาะแต่เหล่าสงฆ์เท่านั้น ศีลห้าจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 'นิจศีล' นั่นคือ ศีลที่ยึดถือป็นนิจ (นิตย์) ด้วยเหตุนี้ ในพิธีกรรมทั้งปวงในพุทธศาสนา หลังจากกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยแล้ว พุทธศาสนิกพึงอาราธนาศีล และรับศีลห้าก่อนเสมอ

ศีลห้ามีด้วยกัน 5 ข้อ ดังนี้

1. ปาณาติปาตา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทั้งปวง รวมถึงการทำร้ายสัตว์ หรือมนุษย์ด้วย แม้แต่คิด หรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว
2. อทินฺนาทานา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการลักทรัพย์ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ รวมถึงการเบียดบัง ฉ้อราษฎร์บังหลวง เอาเปรียบคนอื่นด้วย แม้แต่คิด หรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว
3. กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ข้อนี้เพียงแค่คิดก็ผิดแล้ว
4. มุสาวาทา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการพูดเท็จ คำหยาบ หรือพูดส่อเสียด รวมถึงการพูดให้คนแตกสามัคคีกันด้วย
5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ) - เว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ศีลแปดศีลแปด หรือ อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ หมายถึง อุบาสกอุบาสิกาทั่วไป มิใช่สงฆ์ (ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว) โดยมักจะรับศีลแปดในวันพระ นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน

โดยปกติผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลตั้งแต่เช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า "ปกติอุโบสถ" และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า "ปฏิชาครอุโบสถ"

ศีลทั้งแปด

1. ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการฆ่าสัตว์

2. อทินฺนา ทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการลักสิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้

3. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์

4. มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ

5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

6. วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงวันใหม่)

7. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม

8. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ

เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี

ไฟล์แนบ



เป้าหมายชีวิต คือ ที่สุดแห่งธรรม


#2 candle light

candle light
  • Members
  • 31 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 11:15 AM

ขอบพระคุณมากค่ะ ที่ได้แบ่งปันความรู้ในเรื่องของศีลทำให้ได้รับความรู้มากขึ้นมากมากค่ะ

อนุโมทนาบุญ สาธุค่ะ

#3 เด็กผู้น้อย

เด็กผู้น้อย
  • Members
  • 436 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 12:56 PM

ภิกษุวินัย (ศีล 227 ครับ) มิใช่ 277 ครับ

#4 Suk072

Suk072
  • Members
  • 430 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 03:47 PM

อนุโทนาบุญคะ ได้ความรู้เพื่มขึ้นมากค่ะ พรรษานี้อยากจะรักษาศีลแปดให้บริสุทธิมากขึ้นค่ะ จึงอยากได้ความรู้เพิมเติมค่ะเช่น ข้อ6 ทำไมถึงทานมะขามได้ แล้วช็อคโกแล็ค ลูกพรุนแห้ง ทานได้หรือไม่ ข้อ7 ต้องทำงานภายนอกแต่งหน้า ทาแป้ง ได้หรือไม่ ข้อ8ที่นอนต้องไม่มีนุ่นหรือสำลีเลยหรือค่ะ

#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 04:21 PM

ตอบคุณ Suk072

เหตุที่ศีล 8 ต้องบัญญัติศีลเปลี่ยนไป 1 ข้อ และเพื่อมาอีก 3 ข้อ คือ
ข้อ 3 จากสำรวมในกาม เป็น ข้อ 3 ประพฤติพรหมจรรย์
ข้อ 6 ห้ามรับประทานอาหารยามวิกาล ยกเว้น ปานะเพื่อเป็นยา
ข้อ 7 ห้ามแต่งตัว ดูละครที่มีพระเอกนางเอก
ข้อ 8 ห้ามนอนที่นอนสูงใหญ่ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสาลีนั้น

ก็เพราะต้องการให้ประพฤติข้อ 3 คือ ประพฤติพรหมจรรย์ได้อย่างสมบูรณ์ไงล่ะครับ ซึ่งศีลข้อ 6,7,8 ล้วนมีส่วนช่วยให้ประพฤติพรหมจรรย์ได้สมบูรณ์แบบไงล่ะครับ

ดังนั้น ทำไมถึงรับประทานมะขามได้ เพราะมะขามเป็นยาช่วยระบายครับ แต่ก็ไม่ใช่ทานมะขามเป็นกิโลๆ เลยนะครับ อย่างนั้น หลวงพ่อทัตตะท่านบอกว่า ทานข้าวเถิดลูก (คือ รักษาศีล 5 ไปก่อนเถิดลูก)

ส่วนช็อคโกแลต ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากนม ก็พออนุโลม เพราะในสมัยพุทธกาล ท่านอนุญาติให้ทาน เนยใส เนยข้น น้ำอ้อย น้ำผึ้ง เป็นยาได้น่ะครับ แต่ลูกพรุน ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน คงต้องสอบถามจากผู้รู้ท่านอื่นๆ น่ะครับ


ทีนี้มาถึงเรื่อง แต่งหน้า และเรื่องการนอน ทำอย่างนั้นอย่างนี้ได้หรือไม่ ก็ดูที่ Link นี้เลยครับ
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=16419




ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#6 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 04:28 PM

อีกประการหนึ่งพยายามรักษาเจตนาประพฤติพรหมจรรย์ไว้นะครับ ส่วนเรื่องปลีกย่อยก็ต้องปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์
เช่น ผมยกตัวอย่างข้อ 8 อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่ง ที่เท้าสูงเกิน ภายในมีนุ่นหรือสำลี)

ลองพิจารณาดูสิครับ เรื่องนอนไม่น่าจะมีปัญหา จัดเตรียมที่นอนอย่างไรก็ได้ เพราะบ้านเราเอง แต่เรื่องนั่งนี่สิ ถ้าเคร่งมากเกินไปจะทำอย่างไรล่ะครับ สมมุตินั่งรถเมล์ รถยนต์ไปทำงาน อ้าวที่นั่งยัดด้วยนุ่ม สาลี แล้วจะนั่งอย่างไร ถ้าอยู่บนรถเมล์ก็ต้องยืนตลอดกระนั้นหรือ ยิ่งถ้าอยู่บนรถเก๋งล่ะ ต้องไปทำท่านั่งยองๆ คือ ห้ามเอาก้นสัมผัสที่นั่งที่อ่อนนุ่มเพราะกลัวผิดศีลหรือเปล่า แล้วคนอื่นเขาจะมองเราอย่างไร

เอ้ายังไม่จบ มาถึงที่ทำงาน เก้าอี้ที่ทำงานก็นุ่มยัดนุ่นหรือสาลี ด้วยล่ะสิ อ้าวทำไงล่ะทีนี้ ต้องนั่งลงกับพื้นหรือเปล่า แล้วเจ้านายจะมองเราอย่างไร ยังไม่พอ เวลาเขาเชิญไปร่วมงานที่นั่นที่นี่ ตายละสิ เก้าอี้รับแขกก็นั่งไม่ได้ เพราะมั่นนุ่มเกิน เลยลงไปนั่งที่พื้่น แล้วแขกเขาจะมองเราอย่างไร

ดังนั้น ที่สำคัญที่สุดให้ดูเจตนาประพฤติพรหมจรรย์เป็นหลัก เรื่องปลีกย่อยก็ปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์นะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#7 เคียงข้างไปดุสิตเขตใน

เคียงข้างไปดุสิตเขตใน
  • Members
  • 51 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 09:00 PM

ศีลเป็น มืเตอร์วัดถึงความเป็นคน

ศีลหายไปเท่าไรก็ยิ่งใกล้ อบาย เข้า ทุกทีๆ


#8 Suk072

Suk072
  • Members
  • 430 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 23 June 2008 - 01:39 PM

ต้องขออนุโมทนาบุญ สาธุ สาธุ กับคุณหัดฝน ที่เป็นกัลยาณมิตร ช่วยตอบและให้ข้อมูลเรื่องการรักษาศีล8 ค่ะ
รู้สึกสบายใจขึ้น และจะตั้งใจรักษาศีล 8 และนั่งสมาธิ ใส่บาตรทุกวัน ตลอดพรรษานี้ เพื่อปฎิบัติบูชาธรรมหลวงปู่ด้วยคะ
และขอแบ่งบุญนี้ให้เพื่อนๆ กัลยาณมิตรทุกท่านทั่วโลกนะคะ

#9 WB

WB
  • Members
  • 267 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 July 2008 - 10:26 PM

ประพฤติผิดในกาม กะ ผิดในพรหมจรรย์ต่างกันอย่างไรครับ