ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

จักษุ ทั้ง 5


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สาธุธรรม

สาธุธรรม
  • Members
  • 1124 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 September 2009 - 07:36 PM

แนบไฟล์  IMG_1293.JPG   1.85MB   271 ดาวน์โหลด




พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 3



บทว่า จกฺขุ


จกฺขุ ได้แก่จักษุ ๒ คือ ญาณจักษุ ๑ มังสจักษุ ๑.


ในจักษุ ๒ อย่างนั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่าง คือ

1. พุทธจักษุ

2. ธรรมจักษุ

3. สมันตจักษุ

4. ทิพยจักษุ

5. ปัญญาจักษุ.


ในจักษุ ๕ อย่างนั้น


ที่ชื่อว่าพุทธจักษุ ได้แก่ อาสยานุสยญาณและอินทริยปโรปริยัตตญาณ ซึ่งมาในพระบาลีว่า

ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ.



ที่ชี่อธรรมจักษุ ได้แก่มรรคจิต ๓ ผลจิต ๓

ซึ่งมาในพระบาลีว่า วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุ อุทปาทิ ธรรมจักษุ

ปราศจากกิเลสดุจธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น.



ที่ชื่อว่า สมันตจักษุ

ได้แก่ สัพพัญญุตญาณ ที่มาในพระบาลีว่า ปาสาทมารุยฺห สมนฺตจกฺขุ

สมันตจักษุขึ้นสู่ปราสาท.




ที่ชื่อว่า ทิพยจักษุ ได้แก่ ญาณที่เกิดขึ้นด้วยการขยายอาโลกกสิณ

ที่มาในพระบาลีว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน ด้วยทิพยจักษุอันหมดจด.




ที่ชื่อว่า ปัญญาจักษุ ได้แก่ ญาณในการกำหนดสัจจะ ๔

ซึ่งมาในพระบาลีว่า จกฺขุ อุทปาทิ จักษุ ( ธรรมจักษุ )

เกิดขึ้นแล้ว.




มังสจักษุ

มังสจักษุ ก็มี ๒ อย่าง คือ สัมภารจักษุ ๑ ปสาทจักษุ ๑.

ใน ๒ อย่างนั้น ว่าโดยสังเขป ชิ้นเนื้ออันชั้นของตาล้อมไว้ในกระบอกตา มีองค์ประกอบ ๑๓ อย่าง คือ

ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชา

สัมภวรูป ชีวิตรูป ภาวรูป จักษุปสาทรูป กายปสาทรูป.


แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร

รูป ๙ เหล่านี้ คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชา

สัมภวรูป ว่าด้วยอำนาจสมุฏฐาน ๔ (๙ x ๔ ) เป็นรูป ๓๖ รูป ที่มีกรรม

เป็นสมุฏฐาน ๔ เหล่านี้ คือ ชีวิตรูป ๑ ภาวรูป ๑ จักษุปสาทรูป ๑

กายปสาทรูป ๑ จึงรวมเป็นสสัมภารรูป ๔๐ นี้ชื่อว่า สสัมภารจักษุ.

ก็ในสสัมภารจักษุรูปเหล่านี้


รูปใดที่สามารถเพื่ออันเห็นรูปที่ตั้งอยู่ในลูกตาที่เห็นได้แวดล้อมด้วยแววตาดำที่กำหนดไว้ด้วยลูกตาขาว

รูปนี้ ชื่อว่า ปสาทจักษุ.


(สรุปง่ายแบบคุณครูไม่ใหญ่ มังสจักษุ ก็คือ ตาเนื้อ โอ้ _/l\_ ด้วยความเคารพ... อ่านยากจังเลยเจ้าค่ะ ^^' )




----------------------------------



เวลาเราถวายประทีป วัดเราจะอธิษฐาน ขอให้ได้ จักษุ ทั้ง 5 ประการ (เว้น พุทธจักษุ) ด้วยเหตุฉะนี้หนอ สาธู๊
หยุดนิ่งนั้นแหละไซร้ พรหมจรรย์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ

สุนทรพ่อ

#2 ตะกร้าอีกใบ

ตะกร้าอีกใบ
  • Members
  • 1297 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 September 2009 - 08:34 PM

รบกวนสอบถามว่า >> แสดงว่าเวลาอธิษฐานต้องกล่าวแค่4อย่างคือ happy.gif happy.gif

ธรรมจักษุ

สมันตจักษุ

ทิพยจักษุ

ปัญญาจักษุ.

ใช่หรือปล่าวครับ

อย่าขาดการปฏิบัติธรรมแม้แต่เพียงวันเดียว
เพราะขาดแม้เพียงวันเดียว ใจเราจะหยาบ ทำให้ผังวิตกกังวลได้ช่อง

7 ส.ค. 48



#3 สาธุธรรม

สาธุธรรม
  • Members
  • 1124 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 September 2009 - 09:42 PM

ขอเกริ่นก่อนค่ะ เนื่องจาก

หลวงพ่อนำอธิษฐาน ให้ได้ จักษุทั้ง 5 เลยสงสัยว่า สมันตจักษุ คืออะไร จึงเป็นที่มาของการค้นคว้า

ทำใ้ห้ทราบว่า ที่หลวงพ่อนำอธิษฐานนั้น มี จักษุ 5 อย่างค่ะ คือ

มังสจักษุ
ทิพยจักษุ
ปัญญาจักษุ
สมันตจักษุ
ธรรมจักษุ ค่ะ
หยุดนิ่งนั้นแหละไซร้ พรหมจรรย์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ

สุนทรพ่อ

#4 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 06 September 2009 - 10:32 PM

แนบไฟล์  anumothana_sadhu.gif   22.04K   74 ดาวน์โหลด
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#5 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 September 2009 - 01:37 AM

สาธุครับผม

#6 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 10 September 2009 - 10:14 PM

สาธุค่ะ เคยสงสัยเหมือนกันเรื่อง สมันตจักษุ แต่ก็ยังไ่ม่ได้แสวงหาคำตอบ มาบัดนี้มีคนแถลงแจ้งไข ให้แจ้งแก่ใจแล้ว สาธู๊...สาธุ

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#7 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 22 July 2010 - 07:49 AM


อนุโมทนาบุญ สาธุค่ะ