ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

วิธีตรวจจักรวาล ภพ ๓ และโลกันต์ และอื่นๆ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 15 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ตาล

ตาล
  • Members
  • 69 โพสต์
  • Location:ดุสิตบุรีวงบุญพิเศษ เขตของบรมโพธิสัตว์

โพสต์เมื่อ 19 May 2006 - 01:12 AM


วิธีตรวจจักรวาล ภพ ๓ และโลกันต์
ลักษณะภพ ๓ และโลกันต์

ก่อนที่จะได้กล่าวถึงภพ ๓ และโลกันต์ ในรายละเอียดต่อไป ก็จะได้กล่าวถึงจักรวาลสักเล็กน้อย พอให้เห็นเค้าโครงหยาบๆ เสียก่อน คือว่า ในจักรวาลหนึ่งๆ นั้นมี ภพ ๓ เป็นที่รองรับสัตว์ที่ประกอบกรรมดีกรรมชั่ว ปานกลาง มี ๓ คือ กามภพ รูปภพ และ อรูปภพ

อรูปภพ
เป็นภูมิหรือที่สถิตของอรูปพรหม มีอยู่ ๔ ชั้นด้วยกัน คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อายตนะของอรูปภพนี้จะดึงดูดสัตว์ที่ประกอบกรรมดีที่สุดของชาวโลกคือผู้ได้อรูปฌาน แล้วทำกาลกิริยาคือตายไปในขณะที่ยังไม่เสื่อมจากอรูปฌานนั้น ไปเสวยสุขอย่างชาวโลกที่ละเอียดประณีตที่สุดในภพนี้ แต่ตราบใดที่ยังมีอวิชชา ตัณหา ราคะ อยู่ ก็ยังไม่พ้นจากสังสารจักรคือการเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีกได้

รูปภพ
เป็นภพที่อยู่รองลงมาก็ได้แก่ เป็นภพของรูปพรหม มีอยู่ ๙ ชั้น ๑๖ ประเภท (ซึ่งมักกล่าวกันว่ามี ๑๖ ชั้น ตามภูมิจิตของรูปพรหม) เป็นที่รองรับหรือดึงดูดสัตว์ที่ประกอบความดีอย่างชาวโลก รองลงมาจากอรูปพรหม คือเป็นผู้ที่ได้ รูปฌาน แล้วทำกาลกิริยาในขณะที่ยังไม่เสื่อมจากรูปฌานนั้นๆ จึงได้มาเสวยสุขที่ละเอียดประณีตรองลงมาจากอรูปพรหม นอกเสียจากพรหมในชั้นสุทธาวาส ๕ ชั้นแล้ว เมื่อจุติคือเคลื่อนหรือตายจากพรหมโลก ก็ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารจักรต่อไปอีก

ที่ว่า ยกเว้นพรหมในชั้นสุทธาวาส ๕ ชั้นซึ่งเป็นพรหมชั้นสูงที่สุดนั้น ก็เพราะว่า รูปภพ ชั้นสุทธาวาสทั้ง ๕ ชั้นนี้ เป็นที่สถิตของพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามีกับชั้นพระอรหัตตมรรค ซึ่งละโลกไปในระหว่างที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล และยังไม่เสื่อมจากปัญจมฌาน จึงได้มาบังเกิดในรูปภพชั้นสุทธาวาส ตามภูมิธรรมของท่าน และเมื่อได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วก็จะปรินิพพานในภพนี้เลยทีเดียว โดยไม่ต้องไปเกิดในภพภูมิอื่นอีก

รองลงมาจากรูปภพ ก็เป็น กามภพ เป็นภูมิหรือที่รองรับสัตว์ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม ได้แก่ ภพทิพย์หรือเทวโลก ซึ่งมี ๖ ชั้นด้วยกัน ความเป็นอยู่ในภพเหล่านี้มีความละเอียดประณีต รองลงมาจากรูปภพ, ที่หยาบกว่าภพทิพย์ลงมาอีกก็ได้แก่ ภพของมนุษย์ หรือที่เรียกว่า มนุษย์โลก แล้วก็มีอบายภูมิทั้ง ๔ คือ ภพของ เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และ สัตว์ดิรัจฉาน

ตั้งแต่ภพมนุษย์ขึ้นไป ตลอดถึงภพของทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหม จัดว่าเป็น สุคติภพ คือ เป็นที่ไปดี ด้วยว่าสัตว์ที่ได้มาบังเกิดในภพเหล่านี้เพราะกรรมดีส่งผล สัตว์ในภพนี้จึงมีความเป็นอยู่สุขสบายตามส่วนแห่งผลบุญกุศลที่ได้เคยสร้างไว้ในอดีต

ส่วนอบายภูมิทั้ง ๔ คือ ภูมิของเปรต อสุรกาย สัตว์นรก และ สัตว์เดรัจฉานนั้น จัดรวมอยู่ในประเภท ทุคคติภพ ซึ่งหมายถึง ที่ไปไม่ดี เป็นภพของสัตว์ที่ประกอบกรรมชั่วเป็นชนกกรรมนำให้ไปบังเกิดในภพหรือภูมิเหล่านี้ ซึ่งมีความเป็นอยู่ที่เป็นความทุกข์เดือดร้อนไปกว่าสุคติภพที่กล่าวมาแล้ว ตามส่วนแห่งอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตว์นรกทั้งหลายนั้นต่างได้รับความทุกข์ทรมานด้วยเครื่องกรรมกรณ์อย่างแสนสาหัส อย่างเช่นใน อเวจีมหานรก ซึ่งเป็นชั้นต่ำที่สุดของกามภพ เป็นที่รองรับสัตว์ผู้ประกอบกรรมชั่วที่สุดอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ อย่าง คือ เป็นผู้ฆ่าบิดา, ฆ่ามารดา, ฆ่าพระอรหันต์, ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต และทำให้ภิกษุสงฆ์แตกแยกกัน เรียกว่า อนันตริยกรรม คือกรรมหนักที่ผู้ใดกระทำลงไปแล้วจะต้องได้รับผลกรรมในทันทีที่ตายลง แม้จะกระทำกรรมดีมาก่อน แต่กรรมดีนั้นก็ไม่มีช่องไม่มีโอกาสที่จะให้ผลได้ คือช่วยไม่ได้ จะต้องมาบังเกิดในอเวจีมหานรกนี้อย่างแน่นอน ให้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ด้วยไฟนรกเผาผลาญให้เร่าร้อนทุรนทุรายอยู่อย่างนั้นถึงชั่วอนันตรกัปป์ทีเดียว อย่างเช่นพระเทวทัตผู้ประกอบกรรมชั่วหลายอย่างในสมัยพุทธกาล ก็ได้ไปบังเกิดในอเวจีมหานรก และขณะนี้ก็ยังอยู่ในนรกชั้นนี้

อายตนะโลกันต์
อยู่นอกภพ ๓ ตั้งแต่ขอบล่างจักรวาลนี้ออกไป เป็นที่รองรับสัตว์ที่ประกอบกรรมชั่วที่สุด ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิอย่างแรงกล้า แม้แต่อเวจีมหานรกก็ไม่สามารถจะรองรับไว้ได้ เมื่อตายลงจึงถูกอายตนะโลกันต์นี้ดึงดูดไป เป็นภพที่อยู่ขอบล่างสุดของจักรวาล คืออยู่ระหว่างล่างที่สุดของจักรวาลทั้งหลาย มีลักษณะที่มืดมิด ไม่เห็นกัน สัตว์โลกันต์นั้นต้องทุกข์ทรมานทั้งด้วยความหิวโหย และทั้งทะเลน้ำกรดเย็นที่กัดกินละลายหมดทั้งร่างของสัตว์นั้นให้ตายลง แล้วก็เกิดใหม่ วนเวียนอยู่นั่นแหละ ตราบชั่วพุทธันดร กล่าวได้ว่า กว่าจะได้มาผุดมาเกิดในภพ ๓ นี้อีกก็ลืมกันได้เลยทีเดียว

ส่วนลักษณะของจักรวาล ตามคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์นั้น ท่านได้แสดงไว้ว่า ตรงกลางจักรวาล มีภูเขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่เป็นแกนกลาง หยั่งลงไปในท้องมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์เท่ากับ ๔ คาวุต หรือ ๔๐๐ เส้น) สูงพ้นน้ำขึ้นไปเบื้องบนอีก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ จักรวาลหนึ่งๆ อันมี สังขารโลก สัตว์โลก โอกาสโลก แม้ทั้งหมด ชื่อว่า “โลกธาตุ” หนึ่งๆ

ลักษณะของจักรวาล เว้นไว้แต่โลกมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน และดาวนพเคราะห์ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ ทั้งหลายแล้ว มีสภาวะที่เป็นทิพย์ทั้งสิ้น คือไม่อาจเห็นได้ด้วยมังสจักษุ หรือ ไม่อาจสัมผัสรู้ได้ด้วยอายตนะหยาบของมนุษย์หรือของสัตว์เดรัจฉานที่อาศัยอยู่ร่วมกับโลกมนุษย์นี้ ดังที่ท่านได้กล่าวว่า

“เหมือนอย่างว่า พระองค์ทรงรู้แจ้งสัตวโลก ฉันใด, แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) ก็ทรงรู้แจ้งแล้ว ฉันนั้น. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงรู้แจ้ง คือได้ทรงทราบ ได้แก่ทรงแทงตลอดแล้ว ซึ่งโลกธาตุ อันไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยพระพุทธญาณอันไม่มีที่สุด ตลอดอนันตจักรวาล อย่างนี้ คือ

จักรวาลหนึ่ง ว่าด้วยส่วนยาวและส่วนกว้าง มีประมาณ ๑,๒๐๓,๔๕๐ โยชน์, ท่านกล่าวประมาณไว้โดยรอบ,

จักรวาลมีปริมณฑลทั้งหมด ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์, แผ่นดินนี้ในจักรวาลนั้น บัณฑิตกล่าวไว้ว่าโดยความหนามีประมาณ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์.

น้ำสำหรับรับรองแผ่นดินซึ่งมีประมาณ ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์นั้นนั่นแลไว้ โดยความหนา ก็มีประมาณเท่านั้น ตั้งอยู่บนลม, ลมสำหรับธารน้ำแม้นั้นไว้ พุ่งขึ้นจดท้องฟ้าสูง ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์, ความตั้งอยู่แห่งโลกเป็นดังนี้.

ก็ในจักรวาลนี้ ที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนี้ มีภูเขาสิเนรุ เยี่ยมกว่าบรรดาภูเขาทั้งหลาย หยั่งลงในห้วงมหรรณพ ถึง ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (เบื้องบน) ก็มีประมาณเท่านั้น เหมือนกัน.

มหาบรรพตใหญ่ทั้ง ๗ เหล่านี้ คือ เขายุคันธร ๑ เขาอิสินธร ๑ เขากรวิกะ ๑ เขาสุทัสสนะ ๑ เขาเนมินธร ๑ เขาวินัตตกะ ๑ เขาอัสสกัณณะ ๑ เป็นของทิพย์ วิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ หยั่งลง (ในห้วงมหรรณพ)

และสูงขึ้นไป (เบื้องบน) ตามลำดับโดยประมาณกึ่งหนึ่งๆ จากประมาณแห่งสิเนรุที่กล่าวแล้ว ทั้งเบื้องล่างและเบื้องบนนั้น เป็นสถานที่อยู่ของท้าวมหาราช (ทั้ง ๔) มีเทวดาและยักษ์อาศัยอยู่แล้ว ตั้งเรียงรายอยู่โดยรอบภูเขาสิเนรุ ด้วยอำนาจเป็นเครื่องล้อม.

หิมวันตบรรพต สูง ๕๐๐ โยชน์ โดยส่วนยาวและกว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด.

ชมพูทวีปท่านประกาศแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งต้นชมพูใด, ต้นชมพูที่ชื่อว่า นคะ นั้น วัดโดยรอบลำต้นประมาณ ๑๕ โยชน์ ความยาวของลำต้นและกิ่งประมาณ ๕๐ โยชน์ ความกว้างโดยรอบประมาณ ๑๐๐ โยชน์ และสูงขึ้นไป (เบื้องบน) ก็มีประมาณเท่านั้น นั่นแล.

จักรวาลบรรพต หยั่งลงในห้วงมหรรณพ ๒๘,๐๐๐ โยชน์ สูงขึ้นไป (เบื้องบน) ก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน, จักรวาลบรรพต นี้ตั้งล้อมรอบโลกธาตุทั้งหมดนั้นอยู่.

ในโลกธาตุนั้น ดวงจันทร์ (วัดโดยตรงโดยส่วนยาวส่วนกว้างและส่วนสูง) ๔๙ โยชน์ ดวงอาทิตย์ประมาณ ๕๐ โยชน์, ภพดาวดึงส์ประมาณ ๑๐,๐๐๐ โยชน์, ภพอสูร อเวจีมหานรก และ ชมพูทวีปก็มีประมาณเท่านั้น, อปรโคยานทวีป ประมาณ ๗,๐๐๐ โยชน์, ปุพพวิเทหทวีป ก็มีประมาณเท่านั้น, อุตตรกุรุทวีป ประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์, ก็แล ทวีปใหญ่ๆ ในโลกธาตุนี้ แต่ละทวีปๆ มีทวีปเล็กๆ เป็นบริวาร ทวีปละ ๕๐๐ๆ, จักรวาลหนึ่งแม้ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า โลกธาตุหนึ่ง. ในระหว่างแห่งจักรวาลนั้น เป็นโลกันตริกนรก

แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้แจ้งแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคนั้นทรงพระนามว่า โลกวิทู เพราะความที่พระองค์ทรงรู้แจ้งโลก โดยประการทั้งปวง แม้ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.”


-----------------------------------------------------

ธรรมกาย คือกายภายในที่มีอยู่ในกายของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่จำกัดว่าจะเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม ล้วนต่างมีธรรมกายอยู่ภายในทั้งสิ้น แต่ภพภูมิที่สามารถเข้าถึง ธรรมกาย ได้นั้น จะต้องเป็นเวไนยสัตว์ที่อยู่ในสุขคติภูมิเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงได้
ซึ่งการจะเข้าถึงธรรมกายได้นั้น จะว่ายากก็ยาก แต่ก็ไม่เหลือวิสัยที่มนุษย์คนหนึ่งจะเข้าถึงได้ เพียงแต่ต้องรู้ ขั้นต้นสองประการคือ หนึ่ง ต้องรู้ว่าธรรมกายนั้นอยู่ที่ไหน และสอง ต้องรู้วิธีที่จะเข้าถึง ให้ได้เสียก่อน ธรรมกายนั้นไม่ได้อยู่ บนท้องฟ้า บรรยาอากาศ หรือภพภูมิวิเศษ ที่ไหน แต่อยู่ภายในของตัวเราเองทุกๆ คน ซึ่งไม่ว่าท่านจะปฏิเสธหรือยอมรับ หรือไม่ก็ตาม ธรรมกาย ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้ว ในตัวท่าน ก็ยังคงอยู่เป็นเช่นนั้นนั่นเอง เหมือนหัวใจ กระเพาะ ลำไส้ ของท่าน แม้มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (หากมิได้ผ่าท้อง) สิ่งเหล่านั้น ก็มีอยู่แล้ว ธรรมกาย ก็เช่นเดียวกัน เป็นกายที่ละเอียดซ้อนอยู่ในกายเนื้อเป็นชั้นๆไป ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถเห็นด้วยญาณทัสสนะ เมื่อเข้าถึงธรรมกาย ก็เป็นในทำนองเดียวกัน
สถานที่สถิตของ ธรรมกาย ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ฯ ได้ค้นพบมาอีกครั้งและนำมาเผยแผ่ จนปัจจุบันมีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายทั้งภายในและต่างประเทศ ได้สอนไว้ว่า ธรรมกาย ท่านสถิตอยู่ที่ ศูนย์กลางกายของเรานี่เอง ศูนย์กลางกายคืออะไร หากกล่าวในทางวิทยาศาสตร์ ศูนย์กลางกายก็คือ จุด CG (Center of Gravity จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง) ของร่างกายเรานั่นเอง ซึ่งเป็นจุดที่สมดุล (Balance) ที่สุด หากกล่าวตามทฤษฎีที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนไว้ ศูนย์กลางกายก็คือ ฐานที่ตั้งของใจ ฐานที่ 7 ตำแหน่งคือ จุดตัดกลางกายเหนือสะดือ 2 นิ้วมือ (ศึกษาเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ วิธีการปฏิธรรมตาม###### มีภาพประกอบ) หากกล่าวด้วยคำบาลีดังที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ ก็คือ "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือที่แปลว่า เส้นทางสายกลางนั่นเอง ซึ่งจริงๆ คำๆนี้ มีความหมายทั้งด้านหยาบและละเอียด ทางหยาบคือการปฏิบัติตน ไม่ให้สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่งจนเกินไป คือ ไม่ใช่ทั้ง อัตตกิลมถานุโยค (การทรมานกาย) หรือ กามสุขัลลิกานุโยค (การใช้ชีวิตเพลิดเพลินอยู่ในกามคุณ 5) ส่วนทางละเอียดก็คือเส้นทางสายกลางอันเป็นทางไปสู่อายตนนิพพานหรือที่อยู่ของธรรมกายนั่นเอง
ดังนั้นการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ เป้าหมายก็เพื่อจะได้มาสอนสั่งเวไนยสัตว์ที่มีอินทรีย์แก่กล้าให้เข้าถึงธรรมกาย เมื่อเข้าถึงธรรมกายได้แล้ว ก็ใช้ญาณของธรรมกายนั้นขจัดกิเลสจนหมดสิ้น จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนพอเข้าถึงธรรมกายแล้วจะเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ธรรมกายเองก็มีหลายระดับตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู (กึ่งกลางระหว่างปุถุชนกับพระอริยะเจ้า) ธรรมกายโสดาบัน ธรรมกายสกิทาคามี ธรรมกายอนาคามี และสุดท้ายคือธรรมกายพระอรหันต์ ซึ่งกายที่มีความบริสุทธิ์กว่าก็อยู่ซ้อนในกายที่หยาบกว่า ไปเรื่อยๆ อันมีจำนวนกายมากมายนับไม่ถ้วนและไม่สิ้นสุด ซึ่งตรงกับของคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตาม สติปัฏฐาน 4 คือ การพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม เข้าไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด จากกายหนึ่งก็ไปอีกกายหนึ่ง เข้าไปเรื่อยๆ เหมือนการวิ่งผลัดที่ส่งไม้ต่อไปกันเป็นทอดๆ ยิ่งกายที่อยู่ลึกเข้าไปเท่าไร ความละเอียด ความบริสุทธิ์ ความสุข ก็มากขึ้นเท่านั้น
ส่วนเมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว จะใช้ญาณของธรรมกายในการขจัดกิเลสออกไป โดยการทำวิปัสสนา พิจารณาอริยสัจ 4 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 ปฏิจสมุปบาท 12 ส่วนทำอย่างไรนั้น ข้าพเจ้าจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ เพราะเป็นวิชชาขั้นสูง ซึ่งป่วยการที่จะนำมาพูดคุยหากผู้ฟังยังเข้าไม่ถึงธรรมกาย และประการสำคัญผมเองก็ตอบไม่ได้ด้วย
ส่วนวิธีเข้าถึง จักได้ขยายความในหัวข้อวิธีปฏิบัติต่อไป แต่จะขอกล่าวคร่าวๆ ในที่นี้ว่า การจะเข้าถึงนั้นจะต้องวางใจให้เป็นสมาธิที่ศูนย์กลางกาย จนเห็นนิมิต ชัดเจน กลมใสสว่าง ซึ่งนิมิตนั้นจะเป็นคนละอันกับนิมิตที่เรานึกขึ้นตอนแรก นิมิตนี้จะ กลม ใส สว่าง ทั้งหลับตาลืมตา ยืน เดิน นั่งนอน นิ่งแน่นไม่คลอนแคลนติดที่ศูนย์กลางกาย นิมิตนี้ เรียกว่า ดวงธรรมเบื้องต้น เป็นปากทางสู่พระนิพพานและกายภายใน เรียกว่า "ดวงปฐมมรรค" หน้าที่ของผู้ปฏิบัติไม่ต้องทำอะไรนอกจากหยุดนิ่งอย่างเดียว ดังที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนไว้ว่า "หยุด คือ ตัวสำเร็จ" นั่นเอง ไม่ต้องคิด พิจารณาในหมวดธรรมใดๆ ทั้งสิ้น จากนั้นพอถูกส่วนเข้า จิตก็จะดำเนินไปสู่กายภายใน ไปตามลำดับ จาก
1. กายมนุษย์
2. กายมนุษย์ละเอียด
3. กายทิพย์
4. กายทิพย์ละเอียด
5. กายรูปพรหม
6. กายรูปพรหมละเอียด
7. กายอรูปพรหม
8. กายอรูปพรหมละเอียด
9. กายธรรมโคตรภู
10. กายธรรมโคตรภูละเอียด
11. กายธรรมโสดาบัน
12. กายธรรมโสดาบันละเอียด
13. กายธรรมสกิทาคามี
14. กายธรรมสกิทาคามีละเอียด
15. กายธรรมอนาคามี
16. กายธรรมอนาคามีละเอียด
17. กายธรรมอรหัตต์
18. กายธรรมอรหัตต์ละเอียด
รวมทั้งสิ้น 18 กาย นี้เป็นแผนผังของทุกๆ ชีวิต ที่มีอยู่ภายในตัวของทุกๆ คน ไม่ว่าชาติไหน ภาษาไหน มีความเชื่ออย่างไร เด็กหรือผู้ใหญ่ หากปฏิบัติถูกต้อง สามารถเข้าถึงได้ทั้งสิ้น ไม่สามารถให้ใครมาช่วยให้เข้าถึงได้ ต้องรู้เห็นด้วยตนเองเท่านั้น ดังคำสรรเสริญพระธรรมคุณที่ว่า เป็น "ปัจจตัง" รู้ได้เฉพาะตน ใครไม่เห็นก็ไม่รู้
โดยกายที่ 1 - 8 ยังเป็นกายที่อยู่ในภพสาม ล้วนยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง) เป็นสังขตธาตุ สังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ยังปรุงแต่ง) เป็นเบญจขันธ์ จึงยังไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้ เพราะดวงตาของกายเหล่านั้น ยังไม่ใช่ ธรรมจักษุ จึงยังไม่เห็นสภาพธรรมไปตามความเป็นจริง
ส่วนกายธรรมหรือธรรมกาย ตั้งแต่กายที่ 9 ถึงกายที่ 18 เป็นกายที่หลุดพ้นจากภพสาม เป็น นิจจัง(เที่ยงแท้) สุขัง(เป็นสุข) อัตตา(เป็นตัวตนที่แท้จริง) เป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม (ธาตุธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่ง) เป็นธรรมขันธ์ที่มีชีวิตจิตใจ กายท่านประกอบขึ้นด้วย 84,000 ธรรมขันธ์อัดแน่นเป็นก้อนกาย กายท่านจึงเป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ล้วนๆ ใสยิ่งกว่าแก้วยิ่งกว่าเพธร มีความสว่างนับจะประมาณไม่ได้ เป็นกายที่ประกอบไปด้วยญาณและธรรมจักษุ การเจริญวิปัสสนา จึงต้องใช้ธรรมกายในการพิจารณาเท่านั้น การใช้กายอื่นๆ นอกจากนี้ไม่อาจเรียกว่า วิปัสสนาได้ เพราะวิปัสสนาแปลว่าการเห็นแจ้ง เห็นวิเศษ เป็นการเห็นที่ไม่ปกติธรรมดา การใช้กายมนุษย์พิจารณาธรรมจึงไม่ใช่การเห็นวิเศษแต่อย่างใด เพราะเป็นการนึกคิดเอา เป็นแค่การปลงอนิจจัง ให้จิตเกิดการเบื่อหน่ายได้เพียงแค่ระดับหนึ่งหรือชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น กิเลสไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ถูกกดไว้เท่านั้น เมื่อใดที่มีสิ่งไปกระตุ้นกิเลสก็จะฟุ้งขึ้นมาอีกได้
ธรรมกายนั้น ท่านเป็นกายที่งดงาม ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน 32 ประการ พร้อมทั้ง อนุพยัญชนะอีก 80 ประการ อยู่ในอริยาบทนั่งสมาธิบัลลังก์หันหน้าไปทางเดียวกับตัวเราตลอดเวลา ลักษณะเหมือนกายเนื้อพระพุทธเจ้าทุกประการ แต่เป็นกายแก้ว บนจอมกระหม่อมมีเกศเป็นรูปดอกบัวตูม เป็นรัตนะภายในที่มีชีวิต เป็นพระรัตนตรัยซึ่งเป็นที่พึ่งอันสูงสุดของชาวพุทธ ตรงนี้เป็นข้อสังเกตว่า ทำไมพระพุทธรูปในสมัยโบราณ จึงมีเกศเป็นดอกบัวตูม เพราะความเป็นพระพุทธเจ้านั้นท่านไม่ได้เป็นด้วย กายเนื้อของสิตธัตถะที่บำเพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวดตลอดระยะเวลา 6 ปี แต่ความเป็นพระพุทธเจ้า เกิดขึ้นจากการเข้าถึงธรรมกายอรหัตต์นั่นเอง ดังนั้นการปั้นพระพุทธรูปเพื่อแสดงการบูชาพระพุทธเจ้าจึงแสดงด้วยกายของ "ธรรมกาย" ส่วนการที่ต่อมามีการปรับปรุงไปเป็นเกศเปลวเพลิงก็เนื่องจากว่า การเข้าถึงธรรมกายได้สูญหายไปเป็นระยะเวลายาวนาน ปฏิมากรยุคต่อมาเมื่อไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมีเกศบัวตูม เมื่อหาคำตอบไม่ได้จึงได้เปลี่ยนไปเป็นเปลวเพลิง ซึ่งมีความหมายถึงความสว่างของฉัพพรรณรังสีหรือพระปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป
และเมื่อใดที่สามารถเข้าถึงกายธรรมอรหัตต์และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวท่านที่เป็น วิราคธาตุวิราคธรรม (ธาตุธรรมที่ปราศจากราคะ) แล้ว เมื่อนั้น เป็นอันเสร็จกิจทางพุทธศาสนา ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เมื่อละสังขารแล้วธรรมกายจะถูกดูดเข้าไปอยู่ในอายตนนิพพานร่วมกับพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ ที่ได้เข้านิพพานล่วงหน้าไปก่อนแล้วมากมายนับไม่ถ้วน เสวยวิมุติสุข เข้านิโรธ มีความสุขอย่างยิ่ง ดังคำพระว่า "นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง "


----------------------------------------------------


ก่อนจะถึงเรื่อง "" ขออธิบายเรื่อง "อัตตา" กับ "อนัตตา" กันก่อน เพราะหากไม่เข้าใจตรงนี้ เรื่อง "ธรรมกาย" ก็จะยิ่งยากที่จะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นอัตตา แล้วอัตตานั้นดีอย่างไร
หลายๆท่านพูดกัน สอนกันแต่ อนัตตา สอนให้รังเกียจ "อัตตา" โดยยังไม่เข้าใจเลยว่า "อนัตตา" กับ "อัตตา" แท้จริงคือ อะไร "อัตตา" แปลได้ว่าคือ "ตัว" หรือ "ตน" สรรพนามที่ใช้แสดงว่าเป็น "อัตตา" เช่น คุณ ผม I You เธอ ฉัน เอ็ง ข้า ฯลฯ ล้วนเป็นคำที่แสดงถึงความเป็นตัวตนทั้งสิ้น เพราะหากไม่มีตัวตนแล้ว ก็ไม่รู้ว่าใครพูดกับใคร เพราะไม่มีตัวตนที่ดำรงอยู่
ทุกคน ล้วนมีตัวตนอยู่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นนาย ก นาย ข ฯ แม้เป็นเพียงชื่อสมมุติ แต่ก็มีตัวตนอยู่ ตัวตนที่ คอยรับความทุกข์ ความสุข เป็นตัวเก็บบุญ บาป และวิบาก ที่จะต้องไปรับกันในภพชาติต่อๆไป เพราะหากทุกคนไม่มีตัวตนอยู่แล้ว การสั่งสมบารมีก็ไม่อาจเป็นไปได้เพราะไม่รู้ว่าบารมีจะไปเก็บอยู่ที่ไหน ใครเป็นคนทำ ใครเป็นผู้ได้รับ การระลึกชาติก็จะทำไม่ได้ เพราะตัวตนไม่มีไม่รู้ไประลึกชาติของใครกัน
และคำว่า "อัตตา" แปลว่า "ตัวตน" เฉยๆ ไม่ได้แปลว่า "มีตัวตน" คราวนี้เมื่อรู้ว่า อัตตา คือ อะไรแล้ว ก็มาดูที่ "อนัตตา" ซึ่งเป็นคำตรงข้ามกับ "อัตตา" เหมือน "อนิจจัง" ตรงข้ามกับ "นิจจัง" อนัตตา หรือ อนิจจัง เป็นคำปฏิเสธ ที่ปฏิเสธอีกฝ่ายหนึ่ง คราวนี้ คำที่ปฏิเสธ เราควรจะแปลอย่างไรดี หากต้องการจะปฏิเสธ "ตัวตน" ก็ต้องบอกว่า "ไม่ใช่ตัวตน" ไม่ใช่ "ไม่มีตัวตน" เพราะอัตตาแปลว่า "ตัวตน" ไม่ได้ แปลว่า "มีตัวตน" เช่นกันหากปฏิเสธ "เที่ยง" ก็คือ "ไม่เที่ยง" ปฏิเสธ "แท้" ก็คือ "ไม่แท้(ปลอม)" ปฏิเสธ "ถูก" ก็คือ "ไม่ถูก(ผิด)" ฯลฯ หรืออาจยกตัวอย่างได้ดังนี้ เข่น มีคนถามว่านี่ใช่(รูป) "คุณ" หรือเปล่า (คุณแสดงความเป็นตัวตน) หากไม่ใช่ เราจะตอบ "ไม่ใช่ฉัน" ไม่มีใครตอบว่า "ไม่มีฉัน" หรือ "ฉันไม่มี" กัน หรือหากใครอุตริ ตอบ ก็ไม่ได้หมายความว่า ฉันไม่มีเลยในโลกนี้ แต่หมายถึง ฉันไม่มีในรูปนั้นต่างหาก ซึ่งอาจมีในรูปอื่น หรืออย่างน้อยก็มีตัวจริงยืนอยู่ที่นั่น
และการที่จะแปล "อนัตตา" ว่า "ไม่มีตัวตน" นอกจากจะผิดแล้วยังเป็นสิ่งที่ล่อแหลมเป็นอย่างมาก เพราะจะนำไปสู่ความเชื่อ เรื่องบุญ บาป ไม่มีจริง กฎแห่งกรรมไม่มี ภพชาติไม่มี นรก-สวรรค์ไม่มี ตายแล้วก็สูญ เพราะ คัวตนไม่มี ร่างกายเป็นแค่ที่ประชุมของธาตุทั้งสี่ แค่นั้นเอง ความตายกับ "นิพพาน" แทบมีความหมายไม่ต่างกัน เป็น อุทเฉททิฏฐิ เป็น มิจฉาทิฏฐิ ชนิดหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามอย่างยิ่ง เพราะหากเป็นมิจฉาทิฏฐิมากๆ นอกจากจะขวางทางมรรคผลนิพพานแล้ว ยังอาจตกนรกอเวจี หรือ นรกโลกันต์ไปเลยได้
เราจะแปล "อนัตตา" ว่า ไม่มีตัวตนไม่ได้ เพราะตัวตนนั้นมีมาอยู่ก่อน ขอยกตัวอย่างดังนี้ หากเราจะกล่าวปฏิเสธสิ่งใด ว่า "ไม่ใช่" หรือ "ไม่มี" ก็ตาม สิ่งที่ "ใช่" หรือสิ่งที่ "มี" นั้นต้องมีมาอยู่ก่อน เพราะไม่อย่างนั้น การปฏิเสธ จะเกิดขึ้นไม่ได้ (การปฏิเสธ เกิดหลัง สิ่งที่ถูกปฏิเสธเสมอ) หากจะแปลว่า "ไม่มี" ก็ต้องตอบให้ได้ว่า "มี" อยู่ที่ไหน ไม่ใช่ บอกว่า "มี" ก็ไม่มี เพราะมีแต่ "ไม่มี" อ่านแล้วสับสนใช่ไหมครับ ความผิดพลาดคือ เราไปยึดแต่คำ "ปฏิเสธ" แต่ละเลยคำ "รับ" ไปเสีย เลยเลื่อนลอยเหลวไหลไป ในตอนต่อไปจึงจะอธิบายให้ทราบว่าทำไมพระสัมสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสอนเรื่อง ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ค่อยกล่าวถึง นิจจัง สุขัง อัตตา ซึ่งเป็นคำรับ ที่ตรงข้ามกัน
สรุปว่า "อนัตตา" ต้องแปลว่า "ไม่ใช่ตัวตน" ไม่ใช่ "ไม่มีตัวตน" อย่างที่หลายท่านเข้าใจกัน คราวนี้ถามว่า ทำไมพระพุทธเจ้า บอกว่า ร่างกายเราซึ่งเป็น "เบญจขันธ์" เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หากแปลได้ง่ายๆ ท่านก็ชี้ว่า " นี่แน่ะ ร่างกายเรานะ มันไม่เที่ยง มันคงสภาพอยู่ไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน นะ" ซึ่งตามปกติ คนทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ก่อนเกิดพระพุทธศาสนา ก็ล้วนเข้าใจว่า ร่างกายขันธ์ห้าเรานั้น เป็นตัวตนของตัวเองทั้งสิ้น เพราะทั้งรักทั้งหวงแหน เอาอกเอาใจ คอยปรนนิบัติ พัดวี สารพัด ใครมาว่าอะไร มาทำอะไรก็ไม่ได้ เป็นต้องโกธรเคืองกันไป เพราะคิดว่า นั่นเป็นตัวตนของตน
หากอยู่ๆ พระพุทธเจ้า เดินไปหาแล้วไปบอกว่า ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ ซิ ปกติคนเรา มักไม่ชอบให้ใครมาสั่งบังคับ กันทั้งนั้น หากจะทำก็อยากทำด้วยตัวตัดสินใจเองเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งควรทำ ทำแล้วเกิดผลดีกับตัว ดังนั้น ศิลปะ ในการเผยแผ่ ธรรมะ ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงใช้วิธีสอนด้วยการกล่าวปฏิเสธก่อนทั้งสิ้น เช่น เจอพราหมณ์ กำลังอาบน้ำล้างบาปในแม่น้ำคงคาอยู่ ก็ถามว่าพราหมฌ์ทำอะไร เมื่อพราหมฌ์ตอบว่า ล้างบาปอยู่ ท่านจึงค่อยสอนว่า ทำอย่างนั้นล้างบาปไม่ได้หรอก ธรรมะของท่านซิชำระล้างให้บริสุทธิ์ได้ แล้วค่อยสอนหมวดธรรมต่างๆไป หรือ ตอนเจอสิงคาลกมาณพ กำลังบูชาเทพเจ้าทั้งหกทิศอยู่ ท่านก็เริ่มด้วยการถามว่าทำอะไร แล้วค่อยบอกว่าทำอย่างนั้นไม่ใช่การบูชาที่ถูกต้องหรอก ที่ถูกต้องบูชาทิศทั้งหกอย่างนี้อย่างนั้น
หากสังเกตวิธีการเผยแผ่ธรรมของพระองค์จะใช้วิธีนี้ทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นการหักดามพร้าด้วยเข่าหรือข่มเขาโคให้กินหญ้า และไม่ได้ไปเปลี่ยนความเชื่อเขาโดยสิ้นเชิงในทันทีทันใด แต่ค่อยๆตะล่อม โดยเริ่มให้ใจของผู้ฟังพร้อมที่จะรับฟังก่อนแล้วจึงค่อยแนะนำสั่งสอน โดยการชี้ให้เห็นก่อนว่าสิ่งที่เคยคิดเคยปฏิบัตินั้นไม่ถูกต้องอย่างไร แล้วจึงเทศน์สอน กรณีไตรลักษณ์ ก็เช่นกัน เมื่อบอกปฏิเสธสิ่งที่เขาเคยยึดถือว่าไม่ใช่ คำถามก็ย่อมเกิดขึ้นในใจว่า แล้วอะไรที่มันใช่ล่ะ เพราะคงไม่มีผู้รู้ท่านใด ไปเที่ยวชี้นิ้ววิจารณ์คนอื่นว่า ไม่ใช่ ไม่ถูก แต่บอกไม่ได้ว่า สิ่งที่ถูกคืออะไร ถ้าเป็นอย่างนั้น คงจะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ เป็นแค่คนชอบติคนหนึ่งเท่านั้น คราวนี้เมื่อผู้ฟังมีใจยอมรับฟังแล้ว ท่านจึงค่อยชี้ในสิ่งที่ถูก สอนวิธีที่จะให้ได้ สิ่งที่เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา (จริงๆ) ให้ ซึ่งก็คือ ธรรมะ ต่างๆ ที่เป็นอริยมรรค เส้นทางสู่มรรคผลนิพพานนั่นเอง
อีกสาเหตุหนึ่งที่ชาวพุทธ ตั้งข้อรังเกียจ "อัตตา" เป็นหนักหนา เพราะพระท่านสอนให้ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น หรือที่ชอบเรียก "ตัวกู-ของกู" นั่นล่ะ คราวนี้ ปัญหา มันไม่ได้อยู่ที่ "กู" หรอก แต่มันอยู่ที่ "ของ" (กู) กับ "เป็น" (กู) ใน "กู" ที่ไม่ใช่ "กูจริง" ซึ่งก็คือ "อุปาทาน" คือการเข้าไปยึดมั่นยึดถือ ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นฉัน เป็นของเรา ในสิ่งที่ไม่ได้เป็นของเราจริงๆ ต่างหาก ลำพัง "กู" เฉยๆ ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่เมื่อเข้าไปยึดในสิ่งที่ไม่ใช่เป็นของตัวว่าเป็นของตัว เมื่อของสิ่งนั้นจากเราไป เราเลยเป็นทุกข์ เพราะ "กู" หรือ "อัตตา" นี่ มันมี "อัตตาแท้" กับ "อัตตาเทียม" หรือ ตนแท้ กับตนสมมุติ ซึ่งก็ใช้ "ตน" เหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน ซึ่ง "อัตตา" นี้ ไม่ว่าจะเป็น อัตตาแท้ หรือ อัตตาเทียม มันก็มีอยู่ของมันมาก่อนแล้ว หลักสำคัญต้องไปยึดหรือพึ่งให้ถูกว่า "ตน" ไหนพึ่งได้ "ตน" ไหนพึ่งไม่ได้ พึ่งผิดก็ทุกข์ พึ่งถูกก็สุข หลักมีแค่นี้ เอง
นอกจากนี้ มักจะเข้าใจผิด ว่า "อัตตา" มีความหมายเดียวกับ "Ego" ในภาษา อังกฤษ จึงยิ่งรังเกียจอัตตา เข้าไปใหญ่ ทั้งๆ ที่ Ego น่า จะใกล้เคียงกับ คำว่า "ทิฏฐิ" กับ "มานะ" เสียมากกว่า ซึ่งแน่นอน ทิฏฐิมานะ เป็นกิเลสอย่างหนึ่ง ที่ควรจะต้องละอย่างแน่นอน
เวลาแทนตัวเองว่า ผม คุณ ฯ ของกายมนุษย์ซึ่งเป็นขันธ์ 5 นี่แสดงถึงตนสมมุติ ในทางวิชชาธรรมกาย ตนสมมุติ คือ กายที่อยู่ในภพทั้งหมด ตั้งแต่กายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม เป็นอัตตาสมมุติทั้งสิ้น ส่วนอัตตาแท้ คือ กายที่อยู่นอกภพ 3 ไปแล้ว คือ ธรรมกาย ที่เป็น ธรรมขันธ์ ไม่ใช่ เบญจขันธ์ อีกต่อไป เป็น อสังขตธรรม ไม่ใช่ สังขตธรรม เป็น วิสังขารธรรม ไม่ใช่สังขารธรรม มีความบริสุทธิ์ เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ล้วนๆ ไม่มีการปรุงแต่ง เป็นตัวของตัวเอง ธรรมกาย จึงเป็น อัตตา นับตั้งแต่ ธรรมกายโคตรภู ธรรมกายโสดาบัน ธรรมกายสกิทาคามี ธรรมกายอนาคามี และ ธรรมการอรหัตต์ ล้วนเป็นอัตตา เป็นตัวตนที่แท้จริงเป็นตัวของตัวเองทั้งสิ้น
เหมือนคนที่เป็นตัวของตัวเอง ไม่มีใครมาคอยบังคับ ย่อมมีอิสรภาพ ที่จะคิดจะทำสิ่งใดก็ได้ ที่คิดอยากจะทำ พระธรรมกาย ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเป็นตัวของตัวเอง จึงมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก จะทำอะไรก็ได้ อยากจะรู้อะไรก็รู้ได้ มีแต่ความสุขอย่างเดียว ไม่มีความทุกข์หรือกิเลสเจือปนเลย
ดังนั้นเวลาพระพุทธเจ้าแทนตัวเอง ตถาคต พระอรหันต์แทนตัวเองว่า อาตมา จึงเป็นการแทน "อัตตาแท้" เพราะท่านเข้าถึงธรรมกายอรหัตต์ บรรลุนิพพานแล้ว หากจะมาบอกกันว่า อัตตาไม่มีเมื่อนิพพาน การที่พระพุทธเจ้ามาแทนตัวท่านเองว่า อาตมาหรือตถาคต ก็ย่อมมีไม่ได้เช่นกัน เพราะพระพุทธเจ้าย่อมกล่าวแต่สัจจธรรมเท่านั้น คำที่ไม่เป็นธรรมจะไม่กล่าวเลย สิ่งที่ไม่มีจะมาบอกว่ามีย่อมไม่ได้ ไม่ใช่วิสัยของพระพุทธเจ้า ดังนั้น นิพพานแล้วไม่ใช่ไม่มี อัตตา แต่ไม่มี "อุปาทาน" หรือความยึดมั่นในขันธ์ 5 ต่างหาก
นอกจากนั้น ยังมีบาลีอีกมากมาย ที่แสดงว่า มี "อัตตา" เช่น ที่เราคุ้นๆ กันก็คือ "อัตตาหิ อัตโนนาโถ" หรือ ที่แปลว่า ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน คาถานี้ คนที่ไม่เข้าใจเรื่องธรรมกายจะเข้าใจได้ยากหรือไม่ลึกซึ้ง เพราะท่านบอกให้ตนพึ่งตนเอง หากตนเองไม่มีแล้วจะไปพึ่งได้อย่างไรกัน อาจารย์ยุคหลังๆ เลยเอาไปใช้แต่ในความหมายทางโลกคือ ให้ขยันทำงาน พึ่งพาลำแข้งของตัวเอง ให้ทำบุญด้วยตนเองเพราะเวลาทุกข์หรือตายล้วนไม่สามารถพึ่งใครได้ ฯ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ความหมายที่ลึกซึ้งจริงๆ คือ ท่านกล่าวถึง "พระธรรมกาย" ซึ่งเป็นรัตนะภายใน เป็นพระรัตนตรัย อันเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ของมนุษย์ เทวดา พรหม ทั้งหลาย เพราะธรรมกายนั้นเป็น นิจจัง (เที่ยงแท้) สุขัง (เป็นสุข) อัตตา (เป็นตัวตนที่แท้จริง) ซึ่ง "ตน" ในคาถา มีสองคำ คือ "ตน" แรก กับ "ตน" หลัง เป็นคนละตนกัน "ตน" แรกใน "ตนนั่นแหละ" หมายถึง ตนแท้ ซึ่งคือ ธรรมกาย ส่วน "ตน" หลังใน "เป็นที่พึ่งแห่งตน" หมายถึง ตนสมมุติ หรือกายที่อยู่ในภพ ท่านบอกว่า ตนแท้นั่นแหละเป็นที่พึ่งของตนเทียม นั่นเอง
ส่วนอีกคาถานึงคือ "อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา นาญฺญสฺสรณา - มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่" ตนในที่นี้ก็หมายถึง "ธรรมกาย" เช่นกัน เพราะสิ่งที่จะพึ่งได้ ต้องเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ ถาวร เป็นตัวของตัวเอง เหมือนคนกำลังจะจมน้ำ ได้ขอนไม้ ได้แพมาก็เกาะไว้ หรือหากขึ้นบนเกาะได้ ก็ปลอดภัย เ



#2 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 May 2006 - 01:32 AM

โมทนาสาธุการกับบทความนี้ด้วยครับสาธุ สุดยอดมากครับแม้เนื้อหาจะยาวไปนิด
แต่ถ้าค่อยๆ อ่านจะพบว่ามีสาระเยอะมากทุกบรรทัดเลยครับ

ยิ่งวิธีการวางใจให้หยุดให้นิ่งนับได้ว่าเป็นเทคนิคที่มีคุณค่ามากครับ

หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#3 ตาล

ตาล
  • Members
  • 69 โพสต์
  • Location:ดุสิตบุรีวงบุญพิเศษ เขตของบรมโพธิสัตว์

โพสต์เมื่อ 19 May 2006 - 01:47 AM

วัตถุประสงค์ ของการตรวจจักรวาล ภพ และโลกันต์ ก็เพื่อให้รู้เห็นธรรมชาติที่เป็นไปในภพ ๓ และโลกันต์ ว่า เป็นสภาพที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร/สังขตธรรม) อย่างไร ได้แก่ปรุงแต่งด้วยบุญ (ปุญญาภิสังขาร) ปรุงแต่งด้วยบาป (อปุญญาภิสังขาร) และปรุงแต่งด้วยฌานสมาบัติที่ไม่หวั่นไหว (อเนญชาภิสังขาร) และเพื่อให้เห็นแจ้งรู้แจ้ง ในสามัญญลักษณะคือสภาวะที่เป็นเองเสมอกันหมดของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวงว่า เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อย่างไร ให้เห็นสัจจธรรม คือ ทุกขสัจ และ สมุทัยสัจ ตามที่เป็นจริง และพัฒนาขึ้นเป็นความเห็นแจ้งรู้แจ้งในอีก ๒ สัจจธรรมที่เหลือ คือ นิโรธสัจ และ มรรคสัจ อันเป็นการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้สภาวธรรมและสัจจธรรม ตามที่เป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง เป็นหนทางให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์

สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกาย เจริญฌานสมาบัติพร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมปฏิโลมหลายๆ เที่ยว ให้ใสละเอียดหมดทุกกาย

หากประสงค์จะตรวจดูความเป็นไปในภพ ๓ ก็ให้น้อมเอาภพ ๓ เข้ามาเป็นกสิณ คือมาไว้ ณ ศูนย์กลางกาย แล้วใช้ตาคือญาณพระธรรมกายตรวจดูความเป็นไปในแต่ละภพ เริ่มตั้งแต่ อรูปภพ ๔ ชั้น รูปภพ ๙ ชั้น (๑๖ ภูมิจิต) ตลอดไปจนถึงกามภพ ทั้งสวรรค์ ๑๖ ชั้น และ นรก ๘ ขุมใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้เขาพระสุเมรุลงไป ให้รู้เห็นความเป็นไปโดยตลอด


( เท่าที่ผมรู้นะครับว่า วิชาธรรมกาย กับวิชาอื่นๆ นั้น ต่างกันอย่างไร หากว่าเวลาเราใช้ธรรมกายนั้น จะตรวจดูความเป็นไปในภพ ๓ ก็ให้น้อมเอาภพ ๓ เข้ามาเป็นกสิณ คือมาไว้ ณ ศูนย์กลางกาย ก็เหมือนกับว่าเราใช้กล้องวงจรปิด ไปแทนเรามีทั้งภาพและเสียงอย่างชัดแจน แต่ ถ้าหากเป็นทางสายอื่นนั้น ในบางสาย เราจะต้องออกไปด้วยตัวเอง ซึ้งนั้นอาจจะเกิดอันตราบได้ถ้าเราไม่เข็งพอ จะเปรียบเหมือนกับว่า ถ้ามีคน จะตีกันที่หน้าปากซอย เราก็ มีกล้องวงจรปิด ตั้งอยู่ที่นั้น เราแค่นั้งดูภายในบ้านเราอย่างปลอดภัย นี้คือ ธรรมกาย แต่ถ้าทางสายอื่น จะต้องไปด้วยตัวเองนั้นก็คือ เราจะต้องวิ้งไปหน้าปากซอย นะจุดที่เกิดเหตุและยืนดู ซึ้งนั้น อันตราย มาก หากเกิดลูกหลง เปรียบเทียบง่ายๆแบบนี้ละครับ ) ผิดผลาดอย่างไรก็ขออภัยด้วยครับ



#4 นิ่งๆ นุ่มๆ

นิ่งๆ นุ่มๆ
  • Members
  • 618 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 May 2006 - 01:57 AM

สุดยอดความรู้ อ่านแล้วมีกำลังใจหา อัตตา จริงๆค่ะ
เอ ว่าแต่ว่า ต้นชมพู ที่ชื่อ นคะ นี่อยู่ที่ไหนเหรอค่ะ
อนุโมทนาบุญกับคุณตาลด้วยค่ะ
อย่าทำตัวเหมือนเรือ ที่เก็บขยะในมหาสมุทร ใครเขาจะพูดอะไร จะว่าอะไรเราให้ใจขุ่น ก็อย่าไปสนใจ ปากก็ของเขา ความคิดก็ของเขา อย่าเอามาแบกไว้ เพราะสุดท้ายเรือจะล่มอยู่กลางมหาสมุทร ไปไม่รอด
น้าจี้

#5 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 19 May 2006 - 01:59 AM

มีข้อคิดสะกิดเตือนใจสักนิดว่า ธรรมบรรยายประเภทนี้ หากข้อมูลที่ถูกนำมาเผยแผ่เป็นข้อมูลที่ถูกต้องก็ไม่เกิดปัญหา แต่ถ้าผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงล่ะก็ ปัญหาเกิดแน่ จะว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนดาบสองคม เพราะฉะนั้น ขอความกรุณาได้ตรวจสอบถึงที่มาที่ไปของข้อมูลนี้เทียบเคียงกับสิ่งที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ท่านได้เคยสอนไว้ด้วยนะครับ ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ...
"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#6 ตาล

ตาล
  • Members
  • 69 โพสต์
  • Location:ดุสิตบุรีวงบุญพิเศษ เขตของบรมโพธิสัตว์

โพสต์เมื่อ 19 May 2006 - 10:49 AM

ดวงในดวง

พระธรรมกาย





#7 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 May 2006 - 09:23 AM

สาธุ...ในบรรยายธรรมที่สละสลวย

ประทับใจเรื่อง อัตตา กับ อนัตตามาก เพราะเคยเสวนากับพระซึ่งเป็นอดีตเพื่อนมหาวิทยาลัย พระรูปนี้ท่านจะกล่าวอ้างบททำวัตรเช้า"สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ"ซึ่งทำให้ท่านเชื่อแบบปักใจว่า"นิพพาน"เป็นอนัตตา

คำว่า "ไม่เห็น" "ไม่ใช่" หรือ "ไม่มี" นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#8 น้ำฝนจ้ะ

น้ำฝนจ้ะ
  • Members
  • 8 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 May 2006 - 11:54 PM

พออ่านตอนแรกที่คุณตาลเขียนเรื่องสวรรค์ชั้นต่างๆ แล้วมีความสงสัยคะ ว่าสวรรค์ชั้นไหนคะที่อยู่ช่วงของเมฆและหนือเมฆ ลักษณะวิมานไม่ใหญ่ใสเมือนดวงแก้ว บริเวณไม่กว้างมีตั่งไม้อยู่ตรงกลางเมื่อนั่งอยู่ที่ตั่งนั้นเมื่อนึกอยากได้อะไรมันก็จปรากฏจากที่ตั่งตัวนั้นคะ อีกชั้นอยู่ต่ำกว่าชั้นที่ถามมาข้างต้นแต่ลักษณะวิมาณเหมือนวังสมัยก่อนคือเป็นหลังคาสูงหลังคากระเบื้อง หรือเหมือนวัดสมัยนี้คือมีหน้าบรรณและช่อฟ้าหน้าต่างประดับ ประดา แต่ที่ชั้นนี้แปลกคะต้นไม้และใบไม้จะเป็นพลอยสีเขียวแก่และอ่อนหรือมรกต แต่ดอกของมันเป็นพลอยและเพชรสีต่างๆ ส่งแสงวูบวาบดสวยงามมาก ส่วนหลังคาของวิมานดูแพราวเพราะกระเบื้องกลับเป็นแผ่นพลอยสีต่างๆ ดูวูวาบคะ เคยพยายามหาข้อมูลแต่ก็ไม่มีสวรรค์ชั้นไหนที่เขาเขียนไว้ในหนังสือมีลักษณะเหมือนที่ดิฉันถามคุณเลย จึงรบกวนคุณตาลหรือผู้รู้ท่านใดช่วยให้ดิฉันได้กระจ่างด้วยคะ ถ้าดิฉันจะค้นคว้าจะค้นได้จากที่ใดหรือหนังสือเล่มใดคะ?

#9 พฤติจิต

พฤติจิต
  • Members
  • 10 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 May 2006 - 03:52 PM

น้องตาล


เอาวิชชามาเปิดเผยให้อ่านกันครรับ.....อ้าวววสาธุๆๆๆ


หาอ่านได้ใน มรรคผลพิศดารคร้าฟฟฟ

#10 pp_072

pp_072
  • Members
  • 209 โพสต์
  • Interests:ดีครับ

โพสต์เมื่อ 24 May 2006 - 08:36 AM

สาธุครับ
พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว

พุทธบริษัท 4 ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนตะวันที่มีดวงเดียว

#11 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 25 May 2006 - 07:52 PM

จะทำงั้นได้ ก็ต้องนั่งธรรมะให้ได้กายธรรมก่อนสิคะ

อ่านไปก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้
นั่งธรรมะดีกว่า
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#12 อมฤตธรรม

อมฤตธรรม
  • Members
  • 3 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 May 2006 - 04:18 PM

หัวข้อธรรมที่คุณตาลนำมาให้อ่านเป็นสิ่งที่ดี อยากให้คุณตาลลองคลิ๊กไปที่ลิงค์ที่คุณนำมาต่อท้าย จะไปเจอเว็บบอร์ด dmc แล้วลองคลิ้กไปจนสุดหน้า จะไปเจอเว็บโฆษณา ภาพสาวสวย ซึ่งไม่ทราบว่าจะช่วยกันแก้ไขอย่างไรดี เพราะดูแล้วไม่เหมาะสมมากๆ

มีการลิงค์เว็บไม่เหมาะสมกับลายเซ็นของคุณตาลแล้วหล่ะ คุณตาลลองตรวจดูด้วย

ลายเซ็นคุณตาลมีคนนำไปลิงค์เว็บไม่เหมาะสมแล้วหล่ะ

#13 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 19 September 2006 - 01:43 PM

ขอถามอะไรหน่อยนะครับเมื่อยมั้ยครับพิมพ์เยอะเลย
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#14 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 September 2006 - 08:19 PM

สาธุ
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#15 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:thailand

โพสต์เมื่อ 05 October 2006 - 09:34 PM

สาธุ แต่ช่วยบอกหน่อยได้ไหมครับ ตรงที่เซ็นเซอร์ ###### เป็นความลับหรือครับ เปิดเผยไม่ได้เหรอ?
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก

#16 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 20 March 2007 - 10:58 AM

สาธุ