ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ท่านธรรมปาละ ผู้พลิกฟื้นศาสนาในอินเดีย


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 January 2008 - 09:19 PM

ท่านธรรมปาละ

ผู้พลิกฟื้นพุทธศาสนาในอินเดีย


หากไม่เห็นด้วยตาก็ไม่อยากเชื่อเลยว่า สถานที่สำคัญยิ่งทางพุทธศาสนายังยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางหมู่ชนชาวฮินดู ทั้งยังเปิดให้พุทธศาสนิกชนไปเคารพสักการะได้อีกต่างหาก


และผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อเรื่องนี้คือ ท่านอนาคาริก ธัมมปาล (Anagarika Dharmapala) ภิกษุชาวศรีลังกา ผู้มีปณิธานแน่วแน่ว่าจะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปทั่วโลก


ท่านธัมมปาล (1864-1933) เดิมชื่อ ดอน เดวิด เป็นชาวสิงหล เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางที่มีฐานะในประเทศศรีลังกา บิดาเป็นผู้เชี่ยวชาญการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ท่านถูกส่งไปเรียนในโรงเรียนของมิชชันนารี และเติบโตมาโดยมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศ ดอน เดวิด รู้สึกหดหู่กับศาสนาและความเสื่อมของประเทศ จึงพัฒนาองค์กรขึ้นมาโดยมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับอำนาจของต่างประเทศที่เข้ามารุกราน


ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น 'อนาคาริก ธัมมปาล' และยังได้แนะนำคนอื่นๆ ให้เปลี่ยนมาใช้ชื่อพื้นเมือง หรือคำในพุทธศาสนาแทนชื่อแบบชาวตะวันตก ซึ่งประชาชนก็ตั้งชื่อลูกๆ ของตนตามแบบที่ท่านธัมมปาลแนะนำ นอกจากนี้ท่านยังเป็นหนึ่งในผู้รณรงค์ให้ใช้คำพื้นเมืองเป็นชื่อประเทศ แทนที่จะใช้ว่า 'ซีลอน' ซึ่งเป็นชื่อตะวันตก


ปี 1893 ท่านธัมมปาลได้รับเลือกจากผู้นำศาสนาพุทธให้เป็นตัวแทนที่ Parliament of world religions ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นท่านก็ได้รับเชิญให้ไปบรรยายเกี่ยวกับศาสนาตามที่ต่างๆ อีกมากมาย


หลังกลับสู่มาตุภูมิ ท่านธัมมปาลได้เยี่ยมเยียนตามหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อปลุกชาวพุทธ-สิงหล ให้ตระหนักถึงอันตรายของวัฒนธรรมชาติ


ท่านเป็นผู้ก่อตั้งมหาโพธิสมาคม ในนิว เดลี ประเทศอินเดีย และมีสาขาในนิวยอร์ก ลอนดอน รวมทั้งริเริ่มทำหนังสือพิมพ์ Sinhala Bauddhaya ด้วย


การก่อตั้ง Buddist Mahavihara ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นับเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งในศตวรรษที่ 20 และได้รับการบันทึกไว้ในรายงานประจำปีของประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธ


แม้ว่าท่านธัมมปาลจะมีชื่อเสียงไปทั่ว แต่ก็มีศัตรูไม่น้อย ทำให้ท่านต้องไปอยู่ที่ประเทศอินเดีย กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตที่มูลคันธกุฎีในชื่อของ ภิกษุเทวมิตต (Devamitta)


กลับมาที่อินเดีย...


ท่านธัมมปาลได้ก่อตั้งมหาโพธิสมาคมแห่งอินเดีย (Mahabodhi Society of India) ในปี ค.ศ.1891 โดยมีเป้าหมายสำคัญคือเชื้อเชิญพระชาวฮินดูที่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา และครอบครองพุทธคยาอยู่ ให้ออกจากพื้นที่ และให้สถานที่แห่งนี้เป็นสิทธิอันชอบธรรมของผู้นับถืออย่างแท้จริง เหตุการณ์ยืดเยื้อถึงวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ.1953 ที่ได้มีการมอบกรรมสิทธิ์ให้กับท่าน Dr.S.Radhakrisshnan ซึ่งภายหลังได้รับเลือกเป็นรองประธานาธิบดีแห่งอินเดีย


อ.เรืองอุไร กุศลาสัย เล่าถึงมหาโพธิสมาคมไว้ในหนังสือ 'วัฒนธรรมสัมพันธ์:ไทย-อินเดีย' ว่าเป็นสมาคมเผยแผ่พระพุทธศาสนา ก่อตั้งโดยภิกษุศรีเทวมิตตธัมมปาล และภายใต้การบริหารงานของท่านธัมมปาลนี้ ทำให้เกิดมูลคันธกุฎีวิหารหลังใหญ่ตระหง่าน ตรงข้ามกับธัมเมกขสถูป เมื่อปี ค.ศ.1924 ตามรอบผนังโบสถ์ด้านในเป็นภาพระบายสีแสดงพระพุทธประวัติไว้โดยตลอด ด้วยฝีมือช่างเขียนชาวญี่ปุ่น ชื่อ Kosetsu Nosu ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นส่งมาช่วยด้วยใจศรัทธา


นอกจากนี้มหาโพธิสมาคมยังสร้างโรงเรียนเป็นที่ศึกษาภาษาบาลี สร้างห้องสมุดของสมาคม อันเป็นที่รวบรวมวรรณคดีพุทธศาสนาทุกชิ้นทุกเรื่อง สร้างถนนให้ชื่อว่าธรรมบาล ฯลฯ มีผู้คนชาวพุทธมามกะทุกชาติทุกภาษา ทั้งญี่ปุ่น จีน ทิเบต เนปาล พม่า ลังกา ไทย ไปนมัสการกันปีละมากๆ...


สมาคมมหาโพธิได้รับความนิยมยกย่องในต่างประเทศมาก มีสาขาของสมาคมแพร่หลายอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ๆ ของอินเดียเอง ตลอดจนในต่างประเทศอีกหลายประเทศ ความเคลื่อนไหวของมหาโพธิสมาคมในอินเดีย ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดียมาก มีการฉลองวันครบรอบปีของมูลคันกุฎีวิหารทุกปี และมีพุทธศาสนิกชนนานาชาติเดินทางมาร่วมงานอย่างพร้อมเพรียง เพราะถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้มาสักการะพระบรมสารีริกธาตุด้วย


อ.เรืองอุไร เล่าด้วยว่า พระบรมสารีริกธาตุนี้มีขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ได้มาจากเมืองตักศิลา บรรจุอยู่ในสถูปทองคำจำลอง ประดิษฐานในพลับพลาเงินจำลอง ฝีมือช่างพม่าประดับลวดลายฝังพลอยและทับทิมอย่างงดงาม ตามธรรมดาจะเก็บไว้ในถ้ำใต้องค์พระพุทธรูปภายในวิหารนี้ ส่วนพระพุทธรูปจำลองใหญ่ 4-5 ศอก ปีหนึ่งจะอัญเชิญออกมาให้ประชาชนได้นมัสการสักครั้งในวันที่ 23-24 พฤศจิกายนของทุกปี


เสียดายที่กระวานไปไม่ตรงกับช่วงที่มีงาน จึงไม่มีโอกาสได้นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ปลอบใจตัวเองว่าไม่เป็นไรหรอก แค่ได้มีโอกาสมาเยือนถิ่นพุทธภูมิ ก็เป็นบุญหนักหนาแล้ว...





(หมายเหตุ : ข้อมูลจากหนังสือ วัฒนธรรมสัมพันธ์:ไทย-อินเดีย โดย ดร.กรุณา-ศ.เรืองอุไร กุศลาสัย, หนังสืออินเดีย:ไม่ไปไม่เชื่อ โดย วิโรจน์ ถิรคุณ


ไฟล์แนบ


พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#2 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 January 2008 - 05:27 AM

Sa Thu Krub

#3 boy_kmutt

boy_kmutt
  • Members
  • 91 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ปทุมธานี
  • Interests:กรรมฐาน

โพสต์เมื่อ 21 January 2008 - 08:35 PM

สาธุๆๆครับผม
http://boybuddhism2008.spaces.live.com


#4 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:thailand

โพสต์เมื่อ 23 January 2008 - 02:41 AM

สาธุๆๆ
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก